nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

“โปรดลุกขึ้นมาอีกครั้ง” อ่านแล้วเอาไปคิดต่อ


การสรุปบทเรียน ตั้งคำถาม หาคำตอบ ลงมือทำ ในระดับบุคคลทำได้ง่ายๆ และช่วยให้เราลุกขึ้นได้อีกครั้ง แต่ในระดับประเทศนั้น เราต้องการพลังใจ พลังกาย และความร่วมมืออันมหาศาล

คอลัมม์ แท้งค์ความคิด ของคุณนฤตย์ เสกธีระ ในมติชนวันอาทิตย์มักมีอะไรๆ ให้ คิดต่อ เป็นการบริหารสมองเช้าวันอาทิตย์  ได้ฝึกคิด และ เอาไปใช้ในชีวิตจริง 

คุณนฤตย์เขียนชื่อตอนว่า  โปรดลุกขึ้นมาอีกครั้ง  เล่าสิ่งที่อาจารย์ปริญญา

เทวานฤมิตรกุล (คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์) บรรยายเกี่ยวกับประเทศเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ผู้เข้าอบรมหลักสูตร ผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง  สาระสำคัญมีอยู่ว่า  (ข้อความใน วงเล็บเป็นสิ่งที่ฉันเล่าเพิ่มเติม)

         

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์"  เป็นผู้นำเยอรมันที่จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 2  คนทั้งโลก

ขนานนามว่า "จอมเผด็จการ"   ที่น่าสนใจคือ เขาเป็นจอมเผด็จการที่มาจาก "การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

ฮิตเลอร์ เป็นหัวหน้าพรรคนาซี  ชนะการเลือกตั้ง และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี   "พอมีอำนาจอยู่ในมือ ชายหนวดงามคนนี้ก็ตั้งตนเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบ"

(เขาทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเบ็ดเสร็จ วิธีหนึ่งที่ฮิตเลอร์ทำคือ การแก้ไข-ตรากฎหมายต่างๆ เพื่อให้มีอำนาจอยู่ในมือเขาเพียงคนเดียว)

ฮิตเลอร์นำกองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ จุดประกายสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น  ผลให้มีคนตายในยุโรปเป็นสิบล้าน (ฮิตเลอร์เกลียดชังยิวมากถึงกับสั่งการให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวตายไปกว่า 6 ล้านคน)  นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งหนึ่งของโลก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เยอรมันพ่ายแพ้ คนเยอรมันเกิดความสงสัยว่า

เกิดอะไรขึ้นกับระบอบประชาธิปไตยของประเทศ เกิดคำถามสำคัญ 2 คำถาม 

"ทำไมระบอบประชาธิปไตยเยอรมันจึงเลือกคนอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์"

ทำไมประชาธิปไตยในเยอรมันจึงล้มเหลวถึงเพียงนี้ ?”
คนเยอรมันได้คำตอบ 2 ข้อคือ   ประชาธิปไตยของเขาขาดระบบการถ่วงดุลอำนาจที่ดี

"ผู้นำเลยบ้าอำนาจ!"  อีกข้อ คือ  พลเมืองเยอรมันในขณะนั้นยังไม่มีจิตวิญญาณเป็นประชาธิปไตย

หลังจากได้ข้อสรุป เยอรมันก็เริ่มอุดจุดอ่อนของตัวเอง ด้วยการ  สร้างระบบถ่วงดุลอำนาจ  เช่น  สร้างระบบใหม่ๆ  เกิดศาลต่างๆ ขึ้น 5 ศาล เพื่อคานอำนาจ  อีกทางคือ  สร้างพลเมืองคนรุ่นใหม่ที่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เริ่มปลูกฝังตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนกระทั่งจบการศึกษา  สาระของการปลูกฝังต่างกันตามช่วงอายุของเด็ก  (Key ward คือ  ความเห็นต่าง การเคารพสิทธิผู้อื่น การทำงานเป็นทีม การประนีประนอม ประวัติศาสตร์การเมือง  การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น - อยากได้รายละเอียดกรุณาตามไปอ่านเอง)

วันนี้ เยอรมันกลายเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างสมภาคภูมิ  (ไกลลิบจากประเทศไทยของเรา)

 

สิ่งที่อาจารย์ปริญญาเล่า และ คุณนฤตย์นำมาถ่ายทอดต่อ  มีนัยคือ เพื่อต้องการบอกคนไทยว่า  เราต้องทบทวนตัวเองแล้วนะ  ทบทวนด้วยการเรียนรู้จากประเทศอื่นๆ ที่เคย ล้ม มาก่อนแล้วลุกขึ้นยืนได้

ทบทวนด้วยการ สรุปบทเรียน ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมเราจึงล้มเหลว  หาคำตอบ  แล้วลงมือทำ

การสรุปบทเรียน ตั้งคำถาม หาคำตอบ ลงมือทำ ในระดับบุคคลทำได้ง่ายๆ และช่วยให้เราลุกขึ้นได้อีกครั้ง   แต่ในระดับประเทศนั้น  เราต้องการพลังใจ พลังกาย และความร่วมมืออันมหาศาล  ฉันเองก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร  แต่พร้อมจะเริ่มที่ตัวเอง และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ

ไม่อยากเห็นประเทศล้มแล้วไม่ได้ลุก.

อาทิตย์ที่ ๖ ก.ค.๒๕๕๑

ป.ล.  เข้าไปอ่านบทความ โปรดลุกขึ้นมาอีกครั้ง เต็มๆ ได้ที่

 

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01fun03060751&day=2008-07-06&sectionid=0140

หมายเลขบันทึก: 193055เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เป็นหนอนหนังสือจริงๆ นะ
  • ขอบคุณค่ะ เลยได้รับความรู้ไปด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท