ฐานคิดคน...สมดุลคน


ฐานคิดคน...สมดุลคน

กราบสวัสดีครับทุกท่าน

       สบายดีกันไหมครับ  จากบันทึกพี่เหลียง วิธีคิด P สิทธิรักษ์ เลยได้โอกาสมาคิดต่อจากเวอร์ชันของแผนภาพที่นำเสนอในบันทึก วิธีคิด ก็เลยพัฒนาต่อใ้ห้มีรูปร่างคล้ายๆ คนหน่อยครับ จึงได้ภาพแผนภาพดังนี้

 http://gotoknow.org/file/mrschuai/thinking-base5.jpg

    (แผนภาพนำไปใช้ได้ครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใด ตามรอยพระธรรมชาติ ชีวิตนี้มีแต่ให้ไร้ลิขสิทธิ์ทางความรู้)

         จากแผนภาพที่เห็นเราเห็นร่างคร่าวๆ ของคน มีแขน ขา ตัว หัว อาจจะไม่สมบูรณ์มากนัก แต่อาจจะทำให้ระบบคิด บางอย่างของเราสมดุลมากขึ้นหากแขนขาตัวหัว สมดุล

  • หากขาสองข้างไม่สมดุล คนจะยืนอย่างไร  สมองอย่างเดียว ไร้ใจก็ไม่ได้  ใจอย่างเดียวไม่ใช้สมองก็ไม่ดี จะเลือกสมดุลอย่างไรกันดีหนอ
  • หากแขนสองข้างไม่สมดุล คนจะแกว่งอย่างไร ลำตัวจะเสถียรในขณะเคลื่อนที่หรือไม่
  • หากกระบวนการประมวลผลไม่แน่นพอ ระบบการตัดสินใจก่อนทำอะไรจะเป็นอย่างไร แล้วการปฏิบัติการล่ะจะเป็นอย่างไร
  • หากคนนี้้ต้องเดินในสังคม จะเดินอย่างไรให้สมคุณค่าคำว่า  มนุษย์
  • เส้นทางสู่ความรู้ และปัญญา ที่หลายๆ คนปรารถนา คนๆนี้จะเดินอย่างไร
  • อื่นๆ  ร่วมคิด  และถกรายละเอียดเพิ่มเติมเชิงลึกได้ที่  บันทึก วิธีคิด

การตัดสินใจสู่ปฏิบัติการของเราวันนี้ สมดุลแค่ไหนอย่างไร?

หากขาทั้งสองไม่สมดุล หุ่นยนต์นี้ก็จะเป็นโรคเท้าช้างทันที เราจะเลือกให้โตข้างไหนล่ะ?

    กราบขอบพระคุณมากครับ

ขอแสดงความนับถือ

เ้ม้ง

หมายเลขบันทึก: 192614เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2008 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โอ้......สุดยอดน้องเม้ง

ทำตำแหน่งต่างๆได้ถูกใจจริงๆ

ฐานคิดอยู่ลำตัว 

ประมวลผล(สรุป วิพากษ์ กลั่นกรอง เป็นหัวใจ)

แขนขาเกาะเกี่ยวข้อมูล

หน้าหัว ปฏิบัติการ

ดีมากครับ น้องเรา

 

สวัสดีคะ พี่เม้ง

สมอง กับใจ ใช้ร่วมกันอย่างสมดุลสิ่งที่เกิดขึ้นก็คงสวยงาม

สงสัยจังว่าทุกวันนี้คนเรา (รวมทั้งตัวเองในบางครั้ง) จะใช้สมองคิดมากกว่าหัวใจไปหรือเปล่า

"คน กับ วิธีคิด" ของพี่เม้ง แจ่มมากเลยคะ เห็นภาพชัดเจนมาก ขอบคุณนะคะ

---^.^---

 

  • อืมน้องเม้งบางทีหลักการ ก็โหดร้ายเกินไป
  • ใช้หลักธรรม เหมาะสมกว่านะคะ
  • หลักธรรมชาติไง ใช้ได้ตลอดกาล
  • สูงสุดคืนสู่สามัญ หากทุกคนคิดได้แบบนี้เราคงเบียดเบียนกันและกันน้อยลงนะคะ

เหมือนหุ่นยนต์ความคิด

แต่ยังขาด หนวด แว่นตา เจาะหู เขียนคิ้ว และใส่ กกน.

สวัสดีครัีบพี่เหลียง น้องพิมพ์ พี่นารี  และท่านครูฯ

    กราบขอบพระคุณทุกๆ ความเห็นครับผม เอาไปต่อยอดเปลี่ยนอะไหล่กันนะครับ เป็นเพียงตุ๊กตาหุ่นยนต์ครับผม  ปรับใช้กับตนเองประเสริฐที่สุดครับ เราคงต้องกลับมาันั่งทบทวนพิจารณาระบบคิด ฐานคิดของตัวเองกันครับว่า

  • เราคิดอะไรกันอยู่?
  • ทำอะไรให้กับสังคมนี้กันบ้าง?
  • เราจะวางแผนและทำักันอย่างไร?
  • ตรงไหนที่ยังบอดและยังงมกันอยู่?
  • ตรงไหนทีุุ่หุ้นส่วนไ่่ม่ครบจะต่อเติมอันอย่างไร?
  • จะเดินร่วมกันอย่างไรได้บ้างที่เกิดสิ่งที่มีคุณค่าต่อลูกหลานในฐานะที่เราเป็นบรรพบุรุษของเ้ค้าในอนาคต?
  • ..... ผมฟุ้งซ่านมากไปหรือเปล่า? อิอิ

กราบขอบพระคุณมากครับ

คุณเม้งครับ

ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าถ้า diagram แสดงสัดส่วนด้วย จะเห็นความสำคัญของ "ฐานอารมณ์" น้อยไปหน่อย

มีการศึกษาพบว่า ฐานคิด (thinking/ logic/ frontal lobe of brain): ฐานความรู้สึก (feeling/ emotion/ lymbic system) ของแต่ละวันนั้นประมาณ 1:24 หรือ 96% ผลักดันมาจากอารมณ์ และ autopilot

คนเราจำนวนมากนั้น มีพฤติกรรมที่ไม่ได้สอดคล้องกับความรู้ที่ตัวเองมี แต่เป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าเยอะมาก เรารณรงค์แก้ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมาหลายสิบปี ทั้งบุหรี่ หมวกกันน็อก โดยการให้ความรู้ แต่ไม่เคยสำเร็จ เพราะเราไม่ได้ำให้มันสอดคล้องกับอารมณ์

กราบสวัสดีครับท่าน อ.สกล Phoenix

    สบายดีไหมครับ หลังๆ ผมไม่ค่อยได้ไปแวะคุยกับ ท่านอาจารย์เลยครัีบ วันนี้ีใจครัีบที่ อาจารย์เมตตามาคุยด้วยครับ พอวิเคราะห์จากท่านอาจารย์ว่า ทำให้ผมนึกถึง โรคเท้าช้าง เลยครัีบ

ข้างเหตุผลลีบ  ข้างอารมณ์เท้าช้าง  เราจะต้องหาเชื้อยุงให้เจอไหมครัีบหากจะรักษาโรคนี้ จะไ้ด้ทำให้ ต่อมสมองและต่อมใจทำงานร่วมกัน มีจุดศูนย์ถ่วงที่สมดุลไ้ด้ครัีบ

    อาจารย์โยงได้ดีมากครับ โยงมาถึงตัวอย่างการปฏิบัติการถึงกิจกรรมแล้วเห็ภาพชัดเจน แสดงว่าสาัยอารมณ์ส่งผลต่อระบบคิดหนักจริงๆ ฐานเหตุผลมาทีหลัง ฐานความรู้ภายนอกมาทีหลัง  พอปัญหาเข้าระบบปั๊บ อารมณ์จับปุ๊บ แล้วประมวลผลอย่างเร่งรีบ สู่การกระทำปฏิบัติการทันที อาจจะผิดพลาดแล้วจึงจะมาเกิดรอบใหม่เพื่อมาใช้การถ่วงด้วยเหตุผลจากสมองมากขึ้น

ดีใจที่ได้คุยกับอาจารย์ครับผม สนุกในการทำงานนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท