มหาวิทยาลัยชีวิตน่าน


"...กลับเข้าสู่อดีตให้มาก ๆ แล้วจะอยู่เย็นเป็นสุข ต้องให้ความรู้ทำให้คนอยู่เย็นเป็นสุข ..."

เวทีเสวนา มหาวิทยาลัยชีวิต

โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ

ณ องค์บริหารส่วนจังหวัดน่าน

๑๔ มีนาคม ๒๕๔๙ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐–๑๒.๐๐ น.

แนวคิด รบด้วยปัญญา รู้ทัน ชนะด้วยความรู้

  • กำหนดยุทธศาสตร์
    • วิสัยทัศน์
    • บูรณาการ การพัฒนาแบบรอบด้าน
    • มีแผนงานที่เป็นรูปธรรมดำเนินงานได้จริง
    • มียุทธวิธี
  • ปรับแนวคิด
    • เรียนรู้ด้วยวิถีชีวิต
    • รู้จักตัวตน
    • กำหนดอนาคตตัวเอง
    • การเรียนอยู่ในท้องถิ่น มีอยู่มีกิน มีศักดิ์ศรี ในชุมชน
    • ให้อยู่รอดในสังคม
  • แนวการศึกษา
    • เรียนรู้ตัวตนรู้จักตัวเอง
    • เรียนในวิถีชีวิต ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ทุนทางปัญญา
    • เงินแก้ปัญหาความยากจนไม่ได้ ใช้ปัญญาแก้ปัญหา
    • เรียนรู้กับชาวบ้านในชุมชน

- เรียนเพื่ออะไร

  • แก้ปัญหาหาสมองไหล
  • คนออกนอกพื้นที่
  • สร้างคน สร้างความรู้ สร้างทุนปัญญาให้ท้องถิ่น สร้างทุนทางสังคม (รู้เขารู้เรา รู้จักตัวตน)
  • เรียนให้รู้จริง
  • เรียกความเชื่อมั่นในตัวเองคืนมา
  • วางเป้าหมายในชีวิตตนเอง
  • เรียนให้ชีวิตดีขึ้น
  • วางแผนชีวิตเป็น
  • การดำเนินงาน
    • มีเจ้าภาพ องค์กรส่วนท้องถิ่น ( อบจ. เทศบาล อบต. ) งบประมาณดำเนินการ

- ร่วมกันจัดกระบวนการศึกษา

  • จัดการศึกษาโดยชุมชน ศูนย์การเรียนรู้
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎสนับสนุนด้านวิชาการร่วมกับสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
  • มีศักดิ์มีสิทธิ์เท่าเทียมกับหลักสูตรปกติอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย
  • เนื้อหาที่เรียน
    • ป.ตรี ประมาณ ๑๒๐ หน่วยกิจ
    • พื้นฐาน ๓๐ หน่วยกิจ
    • เฉพาะหลักสูตร ๘๐ กว่าหน่วยกิจ
  • วิธีเรียน
    • เรียนร่วมกัน
    • เรียนให้เชื่อมโยงเข้ากับชีวิต
    • ใช้สื่อ CD. หนังสือ
    • เรียนจากประสบการณ์แลกเปลี่ยนความรู้กัน
    • เรียนจากข้อมูลข่าวสาร
    • เรียนแบบสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น ชีวิตจริงในชุมชน

ข้อซักถามและข้อคิดเห็นในที่ประชุม

  • พระอธิการสมคิด ศูนย์การเรียนรู้โป่งคำ อ.สันติสุข
  • ให้คนน่านได้เรียนรู้ในสิ่งใกล้ตัว ใช้ได้กับการดำเนินชีวิตจริง ครั้งแรกจัดเวทีที่ ศรช. โป่งคำ มีคนสนใจเรียนมากพอสมควรโดยกลุ่มผู้ดูแลเด็กและสมาชิก อบต. ให้ความสนใจและอยากเรียน และในที่ประชุมต้องการความชัดเจนในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดย ดร.เสรีฯ มีบางจังหวัด บางชุมชนได้จัดทำได้แล้ว เมืองน่านยังมีสิ่งดีงาม ความที่จะเรียนรู้จากสิ่งดีงามที่มีอยู่ ปลุกฝังความเป็นน่านให้เยาวชน หลักสูตรศึกษาในเรื่องความเสียสละ เรียนโดยกลุ่มวิเคราะห์ร่วมกัน ให้กำลังใจกันและกัน ร่วมกันทำปัญญาองค์ความรู้ เอกลักษณ์ให้คนรุ่นใหม่ ร่วมกันแก้ปัญหาด้วยปัญญาของชุมชน

    • ดร.เสรีฯ
    • ทำให้เกิดความภูมิใจในท้องถิ่น ทุกวันนี้เรารู้ใกล้ตัวไม่รู้ตัวเองไม่รู้จักถิ่นฐานของตัวเองและไม่ได้ปฏิเสธความเจริญก้าวหน้า ในการเปิดการเรียนการสอน ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎ หลักสูตร ป.ตรี ค่าใช้จ่ายถูกจบหลักสูตรค่าใช้จ่ายประมาณ ๕๐,๐๐๐ กว่าบาท ถ้าเรียนในระบบลูกหลานต้องออกจากบ้านใช้ค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า ๒๕๐,๐๐๐ กว่าบาท เมื่อวาน ๑๓ มี.ค. ๒๕๔๙ ได้คุยกับ ม. ราชภัฎ อต. ขอความร่วมมือ และเปิดเรียนให้ได้ในไม่เกิน ก.ค. นี้ ในส่วน หลักสูตร ป.โท เรียนเอง ๓๐ % เรียนจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วประเทศโดยใช้ CD. เรียนอยู่ที่บ้าน และอาจารย์ ๔๐% ทำวิทยานิพน วิจัยและพัฒนาท้องถิ่น ๓๐ % ค่าใช้จ่ายตาม ม.ราชภัฎกำหนด เรียนแบบพัฒนายั่งยืนเรียนอย่างไร เรียนเพื่อสร้างนักพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ ทำข้อมูลท้องถิ่นเป็น วันนี้การเรียนรู้ต้องสร้างนักยุทธศาสตร์ท้องถิ่น

    - คุณนรินทร์ เหล่าอารยะ นายก อบจ.

    ขอขอบท่าน ดร.เสรีฯ ที่มาให้ความรู้ให้ข้อคิด ทุนนิยมอาจไม่เหมาะกับประเทศไทย ถ้าวัดที่วัตถุดีขึ้น แต่ทางทุนสังคมไม่มีแล้วในปัจจุบัน ผมเองอยากกลับไปเหมือนเดิมแต่ต้องไปทั้งระบบ

  • กลับเข้าสู่อดีตให้มาก ๆ แล้วจะอยู่เย็นเป็นสุข ต้องให้ความรู้ทำให้คนอยู่เย็นเป็นสุข รู้ประเพณี รู้จักถิ่นที่อยู่ รู้จักสิ่งที่ใกล้ตัว และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งที่มีอยู่ คำพูดของ ดร.เสรีฯ ความรู้สมัยใหม่ทำให้คนทิ้งถิ่น จะขอนำไปเผยแพร่ ให้คนทั่วไปได้รับทราบ มหาลัยชีวิตกลับไปสู่เหมือนเดิมเรียนรู้องค์ความรู้ในท้องถิ่นให้รู้สิ่งที่ใกล้ตัวรู้ควาามเป็นมาของวิถีชีวิตของตัวเอง คุณค่าทางสังคมให้อธิบายคุณค่าของที่มาได้ จากคุณค่าจะเป็นมูลค่า ที่มหาศาล ผมยินดีที่จะสนับสนุนให้คนน่านรู้คุณค่าของตัวเองและรู้จักตัวตน ผมเห็นด้วยกับโครงการมหาลัยชีวิตให้รู้ถึงถิ่นที่อยู่ของตัวเอง ถ้าเป็นไปได้ถ้าสามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่มีพร้อมทั่งสถานที่และอุปกรณ์สามารถจัดการเรียนการสอนค้นคว้าร่วมกัน องค์ความรู้ที่เรารู้จักตนเองเชื่อได้ว่าน่าจะมีคุณค่าสำหรับชีวิตของผู้เรียน ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ราชภัฎ อต. จะนำเข้าที่ประชุมสภา และในฐานะ นายก อบจ. พร้อมจะสนับสนุน เต็มที่ครับ

ศูนย์การเรียนรู้โป่งคำ อ.สันติสุข

- ดร. เสรีฯ

ทำอย่างไรให้รู้จักตัวเองรู้อดีตของตัวเอง เราจัดหลักสูตรนี้ขึ้นมาจากประสบการณ์ที่ทำงานกับชาวบ้าน เมื่อหลายเดือนก่อนมากับ รองราชเลขาฯ พาไปเยือมชมที่วัดโป่งคำ ท่านราชเลขาฯ กล่าวชมว่าของดี ๆ อยู่ในท้องถิ่น โครงการ ม.ชีวิตต้องการให้รู้ชีวิตตัวตนรู้จักท้องถิ่น ต้องการความร่วมมือทุกภาคส่วน ในวันนี้ทำอย่างไรให้ถูกต้องและดีงามมีเหตุมีผล เชื่อได้ว่า ม.ชีวิต จะเกิดขึ้นให้ได้ในจังหวัดน่าน

นายสำรวย ผัดผล

ศรช. มีมายใน จ.น่าน สถาบันการเรียนรู้ในน่านมีอยู่มายเติมจังหวัด ทางเลือกให้สมศักด์ศรีคนน่านคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ม.ชีวิต เรียนบนฐานความรู้ที่มีอยู่ น่านจะเป็นแหล่งผลิตความรู้ใหม่ ๆการจัดการความรู้ใหม่รวมกับองค์รู้เดิม

- ผู้เข้าร่วมเสวนา

ขอสนับสนุนให้เกิด ม.ชีวิต สิ่งที่เราจะได้จาก ม.ชีวิต คือให้รู้จักตัวเอง ในส่วนราชการที่มีการหมุนเวียนผู้บริหารส่วนราชการทำให้นโยบายตามใจหัวหน้าส่วนราชการทำให้ขาดการจัดการองค์ความรู้ในท้องถิ่นขอความชัดเจนในส่วนของท้องถิ่นในการสนับสนุนในการจัดการเรียนใน ม.ชีวิต

- นายก อบต.ดู่ใต้

ม.ชีวิตให้ไปสร้างองค์รู้เดิม อบต.ยินดีให้การสนับสนุน งบ CEO น่าจะมาสนับสนุนในส่วนนี้ เราจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเรียนเมื่อเทียบกับการเรียนนอกพื้นที่

- ดร.เสรีฯ

จะส่งแนวทางการดำเนินงานที่ อบจ. อบต. ในจังหวัดอื่นที่ได้ดำเนินการสนับสนุนในส่วนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ทั้ง ๑๒ จังหวัด ในส่วน ป.โท อยากให้ อบจ.เป็นเจ้าภาพ ป.ตรี จัดตาม ศรช.ร่วมกับ อบต.ในพื้นที่ จัดตั้งขึ้น

- พระอธิการสมคิด

ณ เวลานี้ ทุกภาคส่วนให้การสนับสนุน อยากฟังตัวแทนจากทาง มหาวิทยาลัยราชภัฎ อต.

- ผศ.ไพสิฐ พรหมรักษา ม.ราชภัฎ.

นับเป็นสิ่งที่ดีและเป็นทางเลือกของคนน่าน จะเป็นการเอื้อประโยชน์ร่วมกัน หมายถึงเรียนรู้ร่วมกัน ทาง ม.ราชภัฎพร้อมสนับสนุนเต็มที่ในโครงการ ม.ชีวิต

- พระอธิการสมคิด

ขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฎในการสนับสนุน

- ดร.เสรีฯ

ในจังหวัดอื่นๆ ต้องทำความเข้าใจให้ชาวบ้านเข้าใจกระบวนการว่ามีความต่างกันอย่างไรกับกระบวนการเรียนรู้ใน ม.ชีวิต ต้องร่วมมือกันทำงาน

  • สถาพร สมศักดิ์
  • สรรหาคณะทำงาน ควรประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น ราชการ ผู้นำชุมชน

    - ในที่ประชุมเสนอ

    คณะทำงาน

    ๑. นายก อบจ. ประธานคณะทำงาน

    ๒. ประธานชมรม อบต. จ.น่าน รองประธานคณะทำงาน

    ๓. ผศ.ไพสิฐ พรหมรักษา รองประธานคณะทำงาน

    ๔. นางชูลี               กรรมการ

    ๕. นายสำรวย ผัดผล               กรรมการ

    ๖. นายชาญ พังจันตา              กรรมการ

    ๗. พระอธิการสมคิด จารณธัมโม กรรมการ

    ๘. กำนันทองผล มหาวงค์นันท์  กรรมการ

    ๙. นายสถาพร สมศักดิ์ กรรมการและเลขาฯ

    ๑๐. นายสุรินทร์ ทำเพียร กรรมการและผู้ช่วยเลขา

    - นายก อบต.ดู่พงษ์

    เสนอ อยากให้จัดเวทีเสวนาที่ อ.สันติสุข

    • คุณสถาพรฯ
    • ขอความเห็นชอบ ในคณะทำงาน

    • ที่ประชุม
    • ให้ความเห็นชอบ ในคณะทำงานและพร้อมร่วมมือให้ ม.ชีวิตเกิดขึ้นให้ได้ในจังหวัดน่าน

      • พระอธิการสมคิด
      • ทำอย่างไรให้ ม.ชีวิต เป็นมหาวิทยาลัยของคนน่าน และกล่าวปิดประชุม

- -

มีผู้สนใจเข้าร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกว่า๕๐ คนบันทึกการเสวนาโดย นายสุรินทร์ ทำเพียร

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19232เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอส่งแรงใจมาเพื่อร่วมสนับสนุน

เชื่อได้แน่ว่ามหาลัยชีวิตเกิดได้แน่นอนของให้คนน่านร่วมมือกันทุกภาคส่วน เอาการเรียนรู้และโอกาสที่ดีที่คนน่านจะได้รับเป็นตัวตั้ง........ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่รักเมืองน่าน

ฝากข่าวการลงนามความร่วมมือ  3  ฝ่ายระหว่าง  อบจ.น่าน  ,  พ่อครูคำผาย  นุปิง   และ  ชุมชน  ในการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้หอศิลปินแห่งชาติ  ในวันที่  20  มี.ค. 49  และ  พิธีลงเสาเอก  2  เม.ย. 49  ขอเชิญทุกท่านร่วมงานในวันดังกล่าว    ขอบคุณครับ

ล่าสุด คุณสุรเชษฐ์ แจ้งว่าจัดทำพื้นที่ให้เราชาวน่าน ได้แลกเปลี่ยนกันได้เกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยชีวิตน่าน ที่อยู่ตามลิงค์ นี้ ขอบพระคุณอย่างยิ่ง  http://www.rulife.net/course/view.php?id=69

ขออนุญาตเข้ามาแนะนำศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตน้องใหม่ครับ นั่นคือ "ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตช้างกลาง" ตั้งอยู่ที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช 80250 เผื่อว่ารุ่นพี่ผู้ผ่านประสบการณ์มาก่อนจะเข้าไปให้คำแนะนำน้อง ๆ ทางปักษ์ใต้บ้างนะครับ ที่อยู่บนเน็ตของเราคือ http://cklifecenter.blogspot.com/

อยากเข้าจังเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท