ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

อบรมเจ้าหน้าที่งานโภชนการ


การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร

         ทบทวนความรู้เรื่องการให้บริการอาหารที่ได้มาตรฐานงานโภชนการ

          3-5 กรกฏาคม 2551 ได้จัดทำโครงการร่วมกันกับงานโภชนาการ อบรมเจ้าหน้าที่งานโภชนการ ที่มีหน้าที่ประกอบอาหาร บริการอาหารให้ผู้ป่วย ซึ่งเป็นโครงการที่เคยอบรมมาก่อนเมื่อ ปี 2548 ปีนี้อบรมบุคลากรทั้งเก่าและคนใหม่ ฟื้นฟูทบทวน  ความรู้กัน มีคนแก่เพิ่มขึ้น ความทรงจำจะน้อย จะต้องใช้สื่อการสอนที่ตัวหญ่มาก ๆ รวมทั้งรูปภาพประกอบให้เห็น

         ทุกคนตั้งใจที่จะเรียนรู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ไม่ให้ผู้รับบริการติดเชื้อ ป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร

          จากการสอน ได้ข้อคิดว่าจะต้องให้คนอื่น ๆ รู้จักป้องกันและฝึกให้เป็นสุขนิสัยในการประกอบอาหารและการเลือกซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว มองดูคนขายด้วยนะคะว่าแต่งตัวได้ตามมาตรฐานหรือไม่ ก่อนจะซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จ  

      ชนิดของโรคอาหารเป็นพิษ
                (1)  ตัวอาหารเองเป็นพิษ เช่น พืชบางอย่าง เห็ด และหอยบางชนิด เม็ดสบู่ดำ
                (2)  แพ้อาหารบางอย่าง อาหารทะเล เช่นกุ้ง
                (3)  จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ได้แก่ แบคทีเรีย หรือท็อกซิน (พิษ) ที่มันสร้าง ขึ้นที่ปรากฏในอาหารหรือเครื่องดื่ม และบางส่วนไม่ถูกทำลายด้วยความร้อนจากการปรุงอาหาร
                (4)  การปนเปื้อนสารเคมีอาจเกิดขึ้นในระหว่างการเตรียมอาหาร  อาหารที่มีสภาพเป็นกรดอาจจะละลายโลหะในภาชนะที่ใส่ เช่นวางแอปเปิลในภาชนะเคลือบสังกะสี   ผู้บริโภคอาจเกิดอาการพิษ จากสังกะสีได้
                (5)  ปรสิตจากสัตว์ที่นำเนื้อมันมาเป็นอาหาร เช่น พยาธิ Trichinella

   สุขนิสัยในการบริการให้ได้ตามมาตรฐาน

 ผู้ประกอบอาหารจะต้องฝึกให้เป็นนิสัยเมื่อจะประกอบอาหารเพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ

1. การรักษาความสะอาดของร่างกาย

  •    แต่งกายให้สะอาด สวมเสื้อมีแขน  ผูกผ้ากันเปื้อน ใส่หมวกหรือ เนทคลุมผม
  •    ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนการประกอบอาหาร
  •    ไม่ไอ จามรดอาหาร
  •    ไม่สูบบุหรี่ในขณะปรุงและบริการอาหาร 
  •    ไม่ใช้มือสัมผัสอาหารโดยตรง ควรใช้ภาชนะแทนมือ
  •    ไม่พูดคุย สูบบุหรี่ หรือ เกาส่วนต่างๆ ของร่างกายในขณะปรุงหรือเสริฟอาหาร
  •    หากต้องการชิมอาหาร ควรใช้ถ้วยแบ่ง

2. ควรจัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมดูแลความสะอาดในครัว

  •   จัดอุปกรณ์ต่างๆ  อย่างเป็นระเบียบ
  •    ควรดูแลไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงมด แมลงวัน  แมลงสาบ หนู 
  •    แสงแดดส่องถึง ไม่อยู่ในมุมอับ มุมมึด
  •    กำจัดขยะให้ถูกต้องทุกวัน ไม่ควรให้มีขยะค้าง
  •    ควรดูแลไม่ให้สิ่งแวดล้อมมีความชื้น บริเวณที่เปียกชื้นควรดูแลทำความสะอาด    เช็ดให้แห้ง

3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ

  • รักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม  มือ เล็บ  ให้สะอาดและตัดเล็บให้สั้น
  •  ล้างมือก่อนการประกอบอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
  • ไม่ ไอ จามรดอาหาร หากมีการไอ จาม ต้องใช้ผ้าปิดปาก-จมูก
  • ถ้ามีแผลที่มือต้องรีบรักษาและปิดพลาสเตอร์ หากมีตุ่มหนอง ไม่ให้ประกอบอาหาร
  • เมื่อเจ็บป่วย ต้องรายงานการเจ็บป่วย

        หลังจากที่อบรมกันเสร็จแล้ว คิดว่าน่าจะนำมาเผยแพร่ให้ได้รียนรู้และทบทวนจริงๆ  แล้วเป็นเรื่องที่ง่าย ๆ และใกล้ตัว แต่บางครั้งก็จะลืม สิ่งที่ง่ายและใกล้ตัว

       รอชมภาพการประกอบอาหารของเจ้าหน้าที่งานโภชาการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่ให้บริการตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร   ในตอนต่อไปนะคะ

 
หมายเลขบันทึก: 192296เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์หมอประกาย

กิจกรรมน่าสนใจมากครับ

ตรงกับผมที่กำลังดำเนินการอยู่นะครับ เกี่ยวกับโภชนาการด้านอาหาร

พอดีมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณในการดำเนินการ จาก สสส เป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ

คงต้องขอคำชี้แนะจากอาจารย์ด้วยครับ ตอนนี้กำลังทำมาตรฐานผู้ประกอบการอาหารใมหาวิทยาลัยและจะมีการตรวจร้านประกอบการ 15 ก.ค. 51 นี้นะครับ

สวัสดีคะอาจารย์ ก้อง

ยินดีให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำแนะนำ ประสบการณ์นะคะ โรงพยาบาลของเรามีการตรวจร้านอาหารและเยี่ยมบ้านผู้ประกอบการหลายครั้งแล้ว แนะนำให้ปรับปรุงบริเวณประกอบอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท