โครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (รุ่น 2)


ผู้นำและผู้บริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ

 

สวัสดีครับลูกศิษย์กรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 2 และชาว Blog

            ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บรรยากาศของการเรียนรู้กับโครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 2 ซึ่งนอกจากบุคลากรระดับ 8 ของกรมวิทยาศาสตร์บริการแล้วยังมีแนวร่วมจากหน่วยงานอื่นอีก 7 ท่าน

            ผมทำงานครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 2 แล้ว ซึ่งได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น ผมก็ได้เปิด Blog นี้และคาดหวังว่าทุกท่านจะใช้ Blog เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้กัน และเป็นคลังสมองของพวกเรา และก็คงจะเป็นประโยชน์สำหรับชาว Blog ที่สนใจด้วย

                                                                        จีระ หงส์ลดารมภ์

 

บรรยากาศการเรียนรู้ระหว่างวันที่ 5 และ 6 ก.ค. 51 ณ โรงแรมเดอะไทด์ จังหวัดชลบุรี

ในสัปดาห์นี้เป็นส่วนของการเปิดโครงการเเละปฐมนิเทศ ซึ่งในช่วงเช้าหลังจากที่ที่ผู้เข้าอบรมได้เดินทางมาถึงคุณจันทร์เพ็ญ ใจธีรภาพกุล ผู้อำนวยการโครงการเคมีและยังเป็นประธานของผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกรมวิทยาศาสตร์บริการรุ่นที่ 1 ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการฯ จากนั้นเป็นการกล่าวเปิดงานโดยคุณธิดา เกิดกำไร รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ

003004

 

005006

 

 001002

 

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ระหว่างวันที่ 8 และ 10 ก.ค. 51 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ 

ในวันที่ 8 ก.ค. 51 ได้มีการทำสัญญาร่วมกันในการจัดทำ"โครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" โดยมีท่านอธิบดีปฐม แย้มเกตุ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ลงนามร่วมกัน

 004005

 

006

001

 

002003

 

หมายเลขบันทึก: 192292เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (131)

เรียน ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่างสูง

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ท่านอธิบดี ท่านรองอธิบดี ธิดา เกิดรำไร และทีมงานทุกท่าน ที่เปิดโอกาสให้ ตัวแทนของ สวทช.และหน่วยงานอื่นๆ ในกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำฯ ในครั้งนี้ ผมคิดว่า เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มากครับ

สำหรับเนื้อหาวิชา ที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2551 ณ โรงแรมเดอะไทด์ บางแสน ชลบุรี ....เสมือนหนึ่งว่าได้..ไปบางแสนดินแดน สุขขี...เสียดายที่ไม่ได้...ดูพระจันทร์ตกน้ำ...เมื่อตอนราตรี...เพราะข้าน้อยมัวแต่นอนป่วยอยู่...

เริ่มจากการปฐมนิเทศ...ที่ไม่เหมือนใคร...

ประเด็นที่สัมผัสได้คือ...

ความตั้งใจและความคาดหวังที่สูงมากของท่านอาจารย์...ที่ต้องการเป็นผู้ให้...

ศิลปะการจูงใจที่ไม่เหมือนใคร...ออกแนวตรงไปตรงมา...ผมว่าจริงใจดีครับ..

ส่วนเนื้อหาที่ได้ ก็เริ่มจากการพูดถึง ทุนมนุษย์ โดยการยกตัวอย่าง ผู้นำแห่งการพัฒนาทุนมนุษย์หลายท่าน...โดยเฉพาะท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ถือว่าเป็น บุคคลตัวอย่าง ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ...(ขออนุญาตไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนครับ)

สุดท้ายก่อนจาก...ผมคิดว่ายังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายเรื่องครับ เช่นเรื่อง...

การวางแผนที่ดี

การสร้างวิสัยทัศน์

การตั้งเป้าหมาย

การใฝ่เรียนรู้

การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

การวิเคราะห์ปัญหาและการเรียนรู้

การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎีทุนมนุษย์

ทฤษฎี 3 วงกลม

การดึงเอาศักยภาพของตนเองออกมาใช้

ฯลฯ

บัญญัติ

เรียนท่านอาจารย์ จีระ ที่เคารพ

ผมประทับใจกับแนวคิดของอาจารย์ในหลายๆ เรื่อง (จริงๆ แล้วก็ทุกเรื่องแหละครับ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง CUV ที่ผมคิดว่าจะต้องพยายามเพิ่มตัว V ให้มากขึ้นในทุกๆเรื่องที่ผม "ต้อง" เข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งการทำงานในปัจจุบันที่มีลักษณะ Multi-lateral มากขึ้นและมากขึ้น ต้องประสมประสาน ความรู้ความเชี่ยวชาญและศาสตร์ในหลายด้านเข้าด้วยกัน ถ้ามีแค่ C และ U ก็คงไม่มีทางทำได้ดีไปกว่า ต้นฉบับแน่ๆ และถ้าเราทำได้แค่ต้นฉบับ หรือคนที่เอาต้นฉบับมาเล่าให้เราฟัง เราคงจะก้าวหน้าไปถึงจุดที่จะเรียกได้ว่า มี "สภาวะผู้นำ" ได้ยากยิ่ง

อย่างไรก็ดี ผมนั่งฟังและคิดตามทั้งสองวัน ความรู้สึกหดหู่ก็ยังคงอยู่กับผมอยู่ดี ซึ่งก็ยังคงเป็นความรู้สึกเช่นเดียวกับที่ผมได้อภิปรายในช่วงใกล้เที่ยงของวันเสาร์ ผมหดหู่มิได้หมายความว่าผมมองโลกในแง่ไม่ดีหรอกนะครับ แต่ผมหดหู่เพราะรู้สึกว่าความคิดของอาจารย์ และวิทยากรทุกท่านที่ได้เสียสละมาบรรยายให้ผมได้ฟังและคิดตามนั้น เป็นเรื่องที่ผมเคยคิดเคยอ่านเจออยู่บ้าง และเคยพยายามจะนำไปเผยแพร่และปฏิบัติ แต่แทบทุกคน (แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ) ที่ผมคุยด้วยก็จะพูดว่าเป็นไปไม่ได้ ใจเย็นๆ ไม่มีทาง... แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มิได้หมายความว่าผมจะมองว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ ผมคิดอยู่เสมอว่าถ้าอะไรที่เราคิดว่าเป็นไปได้ มันก็จะเป็นไปได้ เพียงแต่จะช้าหรือเร็ว หรือจะเป็นไปอย่างเหน็ดเหนื่อย สาหัส หรือสบายเท่านั้นเอง ผมเข้าใจครับว่า โลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรี

ผมมีประเด็นอีกประเด็นที่คิดว่าอยากจะอภิปรายช่วงอาจารย์อรพินท์ แต่ไม่มีโอกาส ก็ขออนุญาตเขียนในที่ตรงนี้นะครับ ผมอยากอภิปรายเรื่อง Accountability กับระบบราชการในปัจจุบัน ผมเคยคิดเล่นๆว่า ถ้าร้านค้า/หจก. หรือ บมจ. ที่มีเงินหมุนเวียน (Revenue) ปีละ 500 ล้านบาท คนที่เค้าเป็น ผู้จัดการใหญ่หรือกรรมการผู้จัดการจะต้องมี Accountability ขนาดไหน แล้วเค้าได้รับค่าตอบแทนขนาดไหนที่จะ "คุ้มค่า" กับ Accountability ที่เค้าต้องแบกรับ ลองคิดดูเล่นๆ ว่าผู้จัดการที่ได้เงินเดือน 30,000 - 40,000 บาท เค้าดูแลเงิน/ทรัพยากรแค่ไหน คนที่ได้เงินเดือน 10,000 - 20,000 บาท เค้าดูแลเงิน/ทรัพยากรขนาดไหน แล้วถ้าลองมาเปรียบเทียบในลักษณะนี้กับระบบราชการ แล้วจะให้มี Accountability เทียบเท่ากับ "มาตรฐาน" สากล คงจะคาดหวังลำบาก เงินขนาด 500 ล้านบาท นี่ ก็ประมาณกรมขนาดเล็กค่อนไปขนาดกลางแล้วนะ (ประมาณกรมผมเนี่ยะแหละ) คิดดูแล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรมขนาดไหน ที่จะคาดหวังให้พวกเรามีความรับผิดชอบขนาดนั้น

ผมไม่แน่ใจว่าที่เขียนมาเป็นลักษณะการระบายไหม ถ้าเป็นผมก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ เพราะการระบาย ก็ไม่ค่อยทำให้ เกิด V กับคนอ่านสักเท่าไรนัก

เดช บัวคลี่

เรียน ท่าน อ.จีระ ที่เคารพ

คิดว่าหลักสูตรของอาจารย์ และเนื้อหาที่ท่านอาจารย์ต่าง ๆ ถ่ายทอดทำให้ผู้เข้าอบรมมีความชัดเจนในเรื่องความเป็นผู้นำมากขึ้น ว่ามีหลายมิติที่จะต้องมอง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ ซึ่งตอนนี้กำลังนำบางส่วนที่อาจารย์ถ่ายทอดและวิธีการที่อาจารย์ให้เราได้คิดมา มาใช้งานอยู่ค่ะ

ปัทมา นพรัตน์

เรียนท่านอาจารย์จีระที่เคารพ

จากการที่อาจารย์เริ่มหลักสูตรโครงการพัฒนาภาวะผู้นำฯ ด้วยหัวข้อ "ทุนมนุษย์กับการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ในช่วงเช้าวันแรก เป็นการเปิดโครงการที่ทำให้ดิฉันจับทางไม่ถูกว่าอาจารย์ต้องการชี้นำในแนวทางใด ดูเผินๆ เหมือนการบรรยายการบริหารจัดการทั่วๆไปที่เคยเรียน/ฟังจากอาจารย์หลายๆท่านมาแล้ว ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้สำหรับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ น่าจะมีอะไรเคลือบแฝงอยู่ แต่เมื่อได้คุยกับท่านอาจารย์ที่โต๊อาหารกลางวัน และได้ฟังการบรรยายในช่วงบ่ายวันที่สอง ความคิด ความเข้าใจก็เปิดกว้างขึ้นทันที ความสงสัย คลุมเครือในช่วงเช้าวันแรกหายไป ดิฉันคิดว่าสามารถจับหลักการในการถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์ได้ไม่มากก็น้อย การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ตามแนวทางการสอนของอาจารย์ ผู้เรียนจะต้องใช้ความคิด วิเคราะห์ เพื่อที่จะเข้าใจในหลักการแต่ละเรื่อง มิใช่การเรียนรู้ที่จะบอกกล่าวให้ฟังหรือให้จำ ทฤษฎีของ guru ต่างประเทศท่านต่างๆ ที่อาจารย์ยกมาให้ ใช้เพื่อเป็นแนวศึกษาเพื่อให้เข้าใจแนวทางความคิดของ guru เหล่านั้น และยิ่งได้การ coaching และอธิบายเพิ่มเติมจากอาจารย์จีระ จะทำให้เข้าใจในหลักการและมีแนวความคิดที่ถูกต้องยิ่งขึ้น สิ่งนี้เป็นประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากการอบรมในโครงการนี้ คือคิดเป็น จัดการเป็น ดังเช่นที่ต้องการ "Fishing" ไม่ใช่ต้องการ "Fish"

ในสองวันแรกของหลักสูตรทำให้เกิดความอยากรู้ อยากเรียนต่อ เหมือนกำลังติดหนังสือที่อยากอ่านให้จบในคืนเดียว ขอบพระคุณอาจารย์อย่างยิ่งสำหรับการจุดประกายความอยากเรียนรู้ และความรู้ที่จะได้รับต่อไปค่ะ

สุดา นันทวิทยา

สวัสดีครับอาจารย์จิระ และพี่ๆเพื่อนๆผู้เข้าอบรมฯ

ตอนแรกผมคิดว่าจะเป็นคนแรกที่ได้เข้ามาร่วมใน blog ของอาจารย์ แต่แล้วก็มีพี่ๆน้องๆหลายคนที่เร็วกว่า.. การอบรมในวันเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาประทับใจผมมากครับ โดยเฉพาะได้รับการจุดประกาย Energize จากท่านอาจารย์จิระ ทำให้รู้สึกฮึกเหิมในการปรับปรุงและพัฒนาตัวเองให้มีภาวะผู้นำ จริงๆแล้วผมได้รับการอบรมในหลักสูตรพัฒนาผู้นำคลื่นลูกใหม่ราชการไทย รุ่นที่ 4 หรือ New Wave 4.. ซึ่งเป็นการอบรมที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาภาวะผู้นำในข้าราชการระดับซี 4 ถึง 7.. ลักษณะการอบรมเป็นการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายในหัวข้อเกี่ยวกับการบริหาร การสร้างภาวะผู้นำ การบริหารระบบราชการ และเอกชน และอื่นๆอีกมาก เป็นเวลา 1 เดือน โดยในกลุ่มผู้รับการอบรมจะเป็นข้าราชการรุ่นใหม่จากหลายๆหน่วยงานในกระทรวงต่างๆ และในรุ่นของผมนั้นได้เชิญตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าร่วมรับการอบรมด้วยจำนวนหนึ่ง กิจกรรมที่น่าสนใจในระหว่างการอบรมคือ CEO Visit คือการไปเข้าเยี่ยมพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ และเอกชน ซึ่งหากการอบรมในหลักสูตรของ วศ. ที่ท่านอาจารย์ได้ดำเนินการอยู่นี้มีกิจกรรมเช่นนี้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ เพราะจะได้เรียนรู้สไตล์การบริหาร และภาวะผู้นำของผู้บริหารหลายๆท่าน อย่างถ้าได้เข้าเยี่ยม ลี กวนยู ได้ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากๆนะครับ =) ส่วนกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งระหว่างการอบรม New Wave คือการลงพื้นที่ กินนอนกับชาวบ้านในชนบท รับรู้ปัญหาท้องถิ่น 2 วัน แล้วมาเขียนรายงานแนะนำการพัฒนาปรับปรุงท้องถิ่นให้เขา ตอนนั้นผมได้ลงพื้นที่ที่ บ้านศรีมูล จังหวัดลำพูน กับเพื่อนๆกลุ่มผมรวม 7 คน เป็นการที่ลงมาจากหอคอยงาช้าง แล้วดูว่ารากหญ้านั้น จริงๆแล้วเขาอยู่กันอย่างไร หากเราข้าราชการในส่วนกลางไม่รู้ถึงภาพที่แท้จริงตรงนี้ ก็คงจะวางนโยบาย หรือปฏิบัติการจากส่วนกลางไม่ได้ตรงตามความต้องการ หรือตรงกับปัญหาของชาวบ้าน.. การอบรมภาวะผู้นำของ วศ. ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ เพียง 60 ช.ม. ผมคิดว่าน่าจะมีกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากที่จบการอบรมแล้ว และเชื่อแน่ว่ากิจกรรมต่อเนื่องโดยประสานกับท่านอาจารย์จิระก็จะทำให้การพัฒนาภาวะผู้นำในวศ.ได้อย่างยั่งยืนทางหนึ่งครับ.. คราวนี้คงไว้เท่านี้ก่อนครับ.. ต้องไปร่วมกิจกรรม KM ของ วศ. แล้วครับ...

กรธรรม สถิรกุล

สายพิณ สืบสันติกุล

เรียน อาจารย์จิระที่นับถือ

จากการเรียนกับอาจารย์ และคณะ ทำให้เกิดความคิดว่าการที่จะเป็นผู้นำนั้น positive thinking เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมิฉนั้นเราจะไม่สามารถคิดอะไรต่อไปได้อีก และการมองในภาพรวมก็จะทำให้มองเห็นได้กว้างมากกว่าที่จะมองเป็นจุดๆ มีหลายๆประโยคที่โดนใจและคิดว่าสิ่งที่เราได้ยึดถือนั้นค่อนข้างถูกต้องแต่ก็ทำให้ต้องสำรวจตัวเองว่าใช่หรือไม่ อาจารย์คงจะให้ข้อคิดที่จะนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในการที่ได้รับฟังในชั่วโมงต่อๆไป นั้นหมายถึงการอยากเรียนรู้ และจะรู้ในสิ่งที่ควรรู้ต่อไปค่ะ

สายพิณ สืบสันติกุล

 

เรียน คุณสายพิณ สืบสันติกุล

            ขอบคุณมากครับที่ส่งข้อมูลผ่าน Blog ขอบคุณที่คิดว่าหลักสูตรนี้ดี ทำให้ผมมีกำลังใจ แต่ก็ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อง ๆ ครับ

                                                                       จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เรียน คุณเดช บัวคลี่

            ส่งมาเร็วเช่นกัน ขอบคุณที่ให้กำลังใจผม ผมอยู่ได้เพราะผมมี Energy  ซึ่งแปลว่า มีความคิดสร้างสรรค์และได้สัมผัสกับคนเก่ง ๆ ที่ยังไม่ได้ดึงศักยภาพเขาออกมา

                                                                      จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เรียน คุณสุดา นันทวิทยา

            เป็นประธานที่ให้ความสนใจเร็วมากครับ ผมว่ารุ่น 2 Blog น่าจะสนุก ขอให้สนุกกับการเรียนครับ เพราะมีการโต้ตอบแบบสร้างด้วยเยอะ ๆ

                                                                     จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เรียน คุณบัญญัติ   บุญญา

            2 ทุ่ม กว่า ๆ คุณบัญญัติก็เขียน blog แล้ว เร็วมาก ขอบคุณอย่างยิ่ง อ่านแล้วดีใจที่มีคนไทยแบบนี้ กรมวิทย์ฯ มีผู้นำดีทุก ๆ ระดับ ตั้งแต่ อธิบดีปฐม ลงมา ขอให้ช่วยผมพัฒนาคนในประเทศไทยต่อไปครับ ใครที่อ่าน Blog จะเห็นว่ามีหัวข้อหลาย ๆ เรื่องที่น่าสนใจ ขอให้ช่วยสร้าง Blog ให้ที่ราชการ กลุ่มได้สนใจด้วย ช่วยเน้นทฤษฎีตัว V ของผมมากขึ้น

                                                                       จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เรียน ดร.กรธรรม สถิรกุล

            ผมประทับใจมากในการนำเสนอ เรื่อง ภาวะผู้นำอย่าเพิ่งท้อใจในการเป็นข้าราชการ มีอะไรที่ ผมช่วยได้ ผมยินดี ผมโชคดี อยู่ในองค์กรที่ได้รับโอกาส แต่งานสมัยหนุ่ม ผมมีคู่แข่งไม่มาก และมีคนช่วยเยอะ ผมจะเป็นผู้ผลักดันให้ คุณกรธรรมไปสู่ความเป็นเลิศให้ได้

                                                                      จีระ  หงส์ลดารมภ์

กราบเรียนท่านอาจารย์จีระที่เคารพอย่างสูง

ดิฉันได้ยินชื่อเสียงและแนวการอบรมของท่านอาจารย์มาตั้งแต่หลักสูตรแรกของวศ. และสนใจอยากได้โอกาสอย่างนั้นบ้างคอยติดตาม เหมือนร่วมอยู่ในองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นด้วยบ้างเท่าที่จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน แต่ไม่คาดคิดว่าจะได้สัมผัสกับอาจารย์และที่มงานที่ให้แนวคิดและกระตุ้นศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของพวกเราชาว วศ ออกมา ไฟที่เรามีอยู่รู้สึกจะโหมแรงขึ้นและมองภาพภายนอกได้กว่างขึ้นอะไรที่เคยคิดว่าไม่น่าจะได้ จะดีหรือ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่รู้ว่าดี น่าทำแต่จะชี้นำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นด้วย หนู(ขออนุญาตแทนตัวว่าหนูนะคะเพราะว่ารู้สึกถึงความเป็นลูกศิษย์ จริงๆค่ะ)คิดว่าเราชาว วศ.มาถูกทางแล้วและรวมพลังให้ยิ่งใหญ่ไปพร้อมๆกันโดยมีท่านกุนซือขงเบ้ง ช่วยชี้แนะและเราจะเป็นทหารกล้า (นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักวิชาการจริ๊ง จริง)นำทัพไปสู่ชัยชนะ สิ่งที่อาจารย์กระทำนับเป็นภารกิจของปูชนียบุคคลที่น่าจดจำไว้เป็นแบบอย่างสำหรับคนรุ่นต่อๆไปค่ะ ต่อไปนี้ชาว วศ. อาจมีประเด็นคำถามหรือปัญหาที่จะให้ท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะหรือ discuss กันแน่ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

ดุษฎี มั่นความดี

เรียน ท่านอาจารย์จีระที่เคารพ พี่ เพื่อน และน้องๆ ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการรุ่นที่ 2

มาช้าแต่...ก็ขอร่วมด้วยครับ ก่อนอื่นผมขอขอบคุณทางเจ้าภาพ วศ. ที่ได้ให้โอกาสผมได้เข้าร่วมรับอบรมครั้งนี้ และได้รับความรู้มากมายจากคณะอาจารย์ผู้บรรยาย โดยเฉพาะจากท่านอาจารย์จีระ ซึ่งผมได้เรียนเสนอท่านผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยที่ท่านเองก็เคยได้รับฟังการบรรยายจากท่านอาจารย์มาก่อนหน้านี้เช่นเดียวกัน และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผมขออนุญาตนำเสนอทฤษฎีภาวะผู้นำ เผื่อเพื่อนสมาชิกจะได้นำไปใช้ประกอบการศึกษาเพิ่มเติมกันนะครับ

 

                        ภาวะผู้นำ (Leadership)

L = Liberal                           ใจกว้าง มีเมตตา

E = Excellence                          เป็นเลิศ

A = Aspiration                            มีแรงบันดาลใจ

D = Devotion                             ต้องอุทิศตน

E = Enhance                             รู้จักการส่งเสริม เพิ่มพูน

R = Reason                              มีเหตุ มีผล

S = Self-Confidence          มีความเชื่อมั่น

H = Human                          มีความเข้าใจมนุษย์

I  = Innovation                     มีนวัตกรรม

P = Personality                   มีบุคลิกภาพ

 

สุวรงค์ วงษ์ศิริ

เรียนท่านอาจารย์ จีระ ที่เคารพ และ พี่ๆ ที่น่ารักที่ร่วมในโครงการทุกท่าน

วันนี้เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับการทำ PR และก็มีเรื่องแบรนดิ้งเล็กๆ กับ อ. ลักขณา จำปาเลยมีความรู้สึกอยากแชร์ความรู้สึกร่วมกับทุกท่าน เพราะว่าได้อ่านหนังสือ "HAPPY คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน" ของ คุณธนา เธียรอัจฉริยะ แล้วรู้สึกว่าเรื่อง Branding ของ HAPPY ก็เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะในกรณีของ "มวยรอง" ที่สามารถสร้าง Brand ขึ้นมาสู้กับเจ้าตลาด ได้อย่างน่าสูสีภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยนัก ผมอ่านรวดเดียวจบแล้วก็มีความรู้สึกว่า ทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าเราลงมือทำ และความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งกับการทำงาน อยากแนะนำให้ทุกท่านถ้ามีโอกาสให้ไปหาอ่านกัน เล่มของผมบังเอิญว่าหยิบยืมให้คนรู้ใจไปอ่านอยู่ บังเอิญว่าอยู่กลุ่มเดียวกับพี่สมโภชน์ เลยมีนิสัยคล้ายๆกัน ว่าไม่ค่อยอยากไปรบกวนถ้าไม่จำเป็น

ส่วนในช่วงเช้ากับท่านอาจารย์ สมภพ มานะรังสรรค์ เป็น 3 ชั่วโมงที่ดีมากๆ ซึ่งผมคิดว่าทุกคนในห้องคงคิดเช่นเดียวกับผม สำหรับผมแล้วเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมากกับหลายๆ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่ท่านวาดภาพแสดงความเชื่อมโยงได้อย่างน่าตื่นเต้นมากครับ ฟังแล้วอยากกลับไปเรียนเศรษฐศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เปรียบเทียบจริงๆ เลยครับ

ขอบคุณมากครับ

เดช บัวคลี่

จันทรัตน์ วรสรรพวิทย์

เรียน ท่าน อ.จีระ ที่เคารพ

ดิฉันมีโอกาสได้เข้าอบรมหลักสูตรนี้ รู้สึกกลับมาสร้างพลังให้ตัวเองอีกครั้ง หลังจากออกจากบริษัทเอกชนมานานร่วม 10 ปี ซึ่งแต่ก่อนก้อเป็นผู้นำตัวน้อยๆ ในองค์กรเอกชน แต่พอมารับราชการก้อกลับเป็นเด็กอีก รับฟังหลักสูตรที่ผ่านมาร่วม 3 วันทำให้นึกไปว่าเราต้องสร้างพลังให้ตัวเอง และต้องเป็นแรงผลักดันให้องค์กรต่อไปในอนาคตคะ ขณะนั่งฟังแต่ละเรื่อง ก้อคิดเหมือนกันคะว่าจะพัฒนากรมวิทยาศาสตร์บริการให้เป็นรูปธรรมได้ยังไง เห็นทีจะต้องปรึกษา อาจารย์เป็นระยะๆ นะคะ อยากให้องค์กรเป็นที่มีชื่อเสียงทางด้าน วและท อย่างแท้จริงคะ

ด้วยความนับถืออย่างสูง

จันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ (กลุ่ม 4)

สวัสดีครับ

ก่อนอื่นผมต้องขอขอบพระคุณท่านดร.จิระ มากครับที่ให้กำลังใจในการทำงานในราชการ และในความมุ่งมั่นของอาจารย์ที่จะผลักดันพวกเราชาว วศ รวมถึงผมด้วยในการดึงเอาศักยภาพภายในตัวและพัฒนาภาวะผู้นำอย่างแท้จริง สำหรับการอบรมเมื่อวานนี้ (อังคารที่ 8 ก.ค.'51) ทำให้ผมเข้าใจในเรื่องของหลักเศรษฐศาสตร์ในภาพรวมได้ดีขึ้น และเกี่ยวพันธ์กับการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนทำให้ผมเองเกิดความกระตือรือล้นในการจะหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีกับการพัฒนาเศรษฐกิจ อันที่จริงแล้วผมมีหนังสืออยู่ 2-3 เล่มที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา แต่ไม่มีเวลาและโอกาสได้ลงมืออ่านอย่างจริงจัง เลยวางอยู่บนชั้นหนังสือจนฝุ่นจับ ตอนนี้คงได้เวลาหยิบมันมาปัดฝุ่นและลงมืออ่านศึกษาอย่างจริงจังเสียทีครับ

ส่วนในวิชาสื่อสารองค์กร หรือประชาสัมพันธ์นั้น ฟังวิทยากรพูดสนุกดีครับ เป็นเรื่องที่ผมเองไม่ค่อยมีความรู้ แต่พอได้ฟังที่วิทยากรได้ให้เทคนิคในการประชาสัมพันธ์ และบอกเล่าประสบการณ์ของวิทยากร ทำให้เข้าใจ และจริงๆแล้วมันก็เป็น common sense นั่นเอง ก็อย่างที่ท่านวิทยากรว่า หากจะประชาสัมพันธ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากมาย มันไม่ใช่การโฆษณาที่ต้องใช้เงินซื้อสื่อมากมาย และคิดว่า วศ สามารถนำเทคนิคของวิทยากรมาใช้ได้เลยไม่ยากนักครับ

สำหรับคราวนี้ขอเขียนไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ

กรธรรม

เรียน ดร.จีระ ที่เคารพ

ดิฉันเป็นหนึ่งในแนวร่วมที่อยู่นอกสังกัดกรมวิทยาศาสตร์บริการ ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ให้โอกาสเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นเข้าร่วมด้วย ขอบคุณมากค่ะ

ดิฉันได้อ่านรายวิชาและบรรดาคณาจารย์ในหลักสูตรนี้แล้วยิ่งดีใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย มีหลายเรื่องที่น่าสนใจมาก ยิ่งหน่วยงานที่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาใหม่อย่าง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)ที่ต้องมีการพัฒนางานวิจัยบางส่วนไปสู่ระบบธุรกิจ ซึ่งดิฉันจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอท่านผู้อำนวยการสถาบันฯ เพื่อจัดหลักสูตรที่เหมาะสมในการพัฒนาองค์กร ซึ่งคงต้องเรียนขอคำปรึกษาจากอาจารย์ในโอกาสต่อไป

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

อรรจยา มาลากรอง

ถึง   ผู้รับการอบรมทุกท่าน และชาว Blog

 

            Blog เราก้าวหน้าไปมากกว่า รุ่นที่ 1 เยอะ ผมจะพยายามให้กำลังใจ และตอบกลับถึงทุกท่านนะครับ

            เมื่อวานนี้เป็นบรรยากาศที่ดีมาก และเป็นวันที่ผมได้ลงนามร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการครับ แต่ในวันพฤหัสบดีนี้ จะไม่ได้เจอผม เพราะผมต้องเดินทางไปพูดให้กับ กฟภ. (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ที่อุบลราชธานี กฟภ.มีข้อดีคือ ทำตามทฤษฎี 3 ต.  คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง  ผมเห็นว่าการพัฒนาบุคลากร ทำจริงและเป็นผล ทาง กฟภ. จัดทำโครงการดังกล่าว เดือนละ 2 ครั้ง ในหัวข้อเรื่อง องค์การแห่งการเรียนรู้ เหมือนที่ผมพูดในวันแรกของกรมวิทยาศาสตร์ แต่เวลาน้อยเกินไป ถ้าท่านมีเวลาก็สามารถเข้าไปคลิกอ่านในบทความแนวหน้าได้

            KM  ไปสู่    LC  ไปสู่  LO  ไปสู่   LN 

ขออภัยด้วยที่ไม่ได้มาเยี่ยมเยียน ขอให้เข้าติดต่อกับผมทาง Blog  ด้วยนะครับ

                                               

จีระ หงส์ลดารมภ์

สายพิณ สืบสันติกุล

เรียน อาจารย์จิระที่นับถือ

เป็นครั้งที่2ที่ได้เรียนรู้จาก Team งานของอาจารย์ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งซึ่งไม่เคยได้เรียนจากที่ไหนมาก่อนแต่อาจารย์ทั้ง2ท่านก็ได้ให้เกร็ดความรู้ได้อย่างน่าสนใจ ทั้ง2 course เป็นอะไรที่น่าติดตามและคิดว่าไม่งายหนักสำหรับการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แต่ทำให้ต้องคิดและศึกษาต่อไป การเรียนรู้สำหรับภาวะผู้นำอาจจะไม่ยากนักแต่ยากสำหรับปฏิบัติและเป็นผู้นำที่ดี ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสอนของอาจารย็จะทำให้เราได้พิจารณาว่าถึงตัวเองว่าควรปฏิบัติอย่างไร และเจะป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

ขอบคุณค่ะ

สายพิณ

<p>เรียน ศ.ดร.จีระ

ดิฉันต้องขอขอบคุณอาจารย์และทีมงานเป็นอย่างสูงที่ได้ร่วมสร้างหลักสูตรที่มีประโยชน์ต่อผู้เข้าอบรมในครั้งนี้ รู้สึกประทับใจมากกับวิทยากรทุกท่าน การเปิดสัมมนาในวันเสาร์ สัมผัสได้ถึงความทุ่มเทของอาจารย์ที่จะช่วยส่งเสริมสร้างผู้นำ ผู้บริหารมืออาชีพที่จะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ นั่นหมายถึงทำให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจดี และประเทศชาติอยู่รอด ทั้งนี้อาจารย์เน้นยำเสมอว่า เป็นคนเก่งแต่อย่าลืมเป็นคนดีด้วย นั่นก็คือผู้นำที่สมบูรณ์แบบต้องเป็นทั้งคนเก่งและคนดี อาจารย์เป็นคนที่มีพลังในตนสูง จากเทคนิกการบรรยายที่มีลักษณะโดดเด่น สื่อถึ่งการทุ่มเทในการทำงาน และมีการทำงานอย่างมีเป้าหมายมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน นับว่าเป็นต้นแบบที่ดีมากๆ ฟังอาจารย์บรรยายแล้ว รู้สึกเหมือนการเติมพลังที่จะทำงานสร้างสรรค์ผลงานให้ดีมากขึ้น

การอบรมที่ผ่าน 3 วัน ได้เนื้อหาสาระดีมากและส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนวทางในการประยุกต์ได้กับงานที่ปฏิบัติ เช่น การคิดในเชิงบวก คิดสร้างสรร เพื่อจะพัฒนาศักภาพของตน ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต ทำงานอย่างมีความสุข

แนวทางการเป็นผู้นำที่ดีคงต้องใช้หลายๆศาสตร์นำมาผสมผสานกัน คงไม่มีสูตรสำเร็จรูปที่เดียว ทั้งนี้อยู่ที่ใครจะประยุกต์ใช้ รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการบริหารคน บริหารงาน บริหารทรัพยากร บริหารเวลา ซึ่งจะมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง(ปัจจัยภายในองค์กร และปัจจัยภายนอก) แต่ที่ได้เรียนรู้จากวิทยากรแต่ละท่านก็นับได้ว่ามีประโยชน์ ได้เห็นแนวทางปฏิบัติ มุมมองต่างๆ การเรียนเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ทำให้เห็นว่า ภาพลักษณ์ขององค์กรมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จขององค์กร มีส่วนที่จะประชาสัมพันธ์องค์กรให้เป็นที่รู้จักเป็นที่ยอมรับของลูกค้า

การบรรยายของ อ.สมภพ มานะรังสรรค์ บรรยายได้ดีมาก ทำให้เห็นภาพได้ว่า ถ้าเรามองอนาคตให้ออก วางเป้าหมาย ใช้กลยุทธ์ที่จะผลักดันใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและมีผลกระทบต่อมวลรวมสูง จะมีผลทำให้เศรษฐกิจของชาติสามารถที่จะแข่งขันได้กับประเทศที่เจริญ

แต่ทั้งนี้ดิฉันเห็นว่าต้องมีปัจจัยเสริมในด้านนโยบายของชาติ นโยบายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนโยบายอื่นๆ เช่น นโยบายทางด้านพลังงาน นโยบายการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรเพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อที่จะร่วมผลักดันส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนการวิจัยเป็นไปอย่างมีระบบ รวดเร็วและทันเหตุการณ์

ดิฉันมีข้อเสนอฝากให้อาจารย์ทำหลักสูตรอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน(ผู้ปฏิบัติงานที่ดี ผู้สนับสนุน การเป็นทีมงานที่ดี) เพราะถ้าผู้นำดีร่วมกับการมีทีมงานที่ดี การทำงานจะมีผลสัมฤทธิ์สูง ทั้งนี้น่าจะมีการฝึกอบรมเพื่อการคิดสร้างสรรค์ สร้างเจตคติที่ดีต่อองค์กร กระตุ้นให้ทุกคนรักองค์กร ร่วมพัฒนาองค์กร เห็นความสำคัญของการพัฒนาตน ใฝ่รู้ ร่วมสร้างเครือข่ายความรู้ ขอขอบคุณค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์จีระที่เคารพ พี่ เพื่อน และน้องๆ ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการรุ่นที

อาจารย์ ลืมไปหรือเปล่าคะที่ได้เกริ่นเรื่อง buddy ไว้แล้วพวกเรายังถามกันอยู่เลยว่ากิจกรรมนี้คืออะไร ทำอย่างไร เมื่อไร เพื่อนๆเห็นด้วยกับดิฉันไม๊คะว่ายิ่งเรียนรู้มากขึ้นเราก็ตื่นเต้นทั้งในส่วนที่ ดร.สมภพ บรรยายทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องออกนอกกะลาและมองไปให้ไกลจากกะลาให้มากขึ้นอีก เช่นเดียวกับการบรรยายและชี้แนวทางด้าน PR ของ อ.ลักขณา ทำให้เราพอจะเห็นลู่ทางในการทำ PR ของวศ ได้ไม่ยาก ขอบคุณค่ะ คิดว่าพรุ่งนี้คงมีบทเรียนที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกนะคะ และเช่นเดียวกับเพื่อนๆ เครือข่าย วท. ของเราคงได้ร่วมงานกันในอนาคตนะคะ

006  

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์จีระ และเพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคน

เมื่อวานนี้เป็นการอบรมวันที่ 3 ดิฉันมั่นใจว่าทุกคนเห็นด้วยว่าเนื้อหาการอบรมเข้มข้นยิ่งขึ้น  หลายคนฟังการบรรยายช่วงเช้าของอาจารย์ ดร.สมภพ แบบไม่กระพริบตาทีเดียว ดิฉันได้ข้อคิดจากการบรรยายนี้คือการที่เราจะกำหนดทิศทางการบริหารจัดการหรือ การลงทุนใดๆ การวิเคระห์ข้อมูลและการศึกษาความเป็นมาหรืออาจเรียกว่าประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง น่าจะทำให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้และคาดการณ์ในอนาคตได้ และการบรรยายในภาคบ่ายของอาจารย์ลักขณา ทำให้พอมองเห็นจุดอ่อนในเรื่องการประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมา ยังมีอีกหลายช่องทางที่ยังไม่ได้ทำและน่าจะทำได้อย่างต่อเนื่อง แต่เราอาจจะชะล่าใจไปหน่อย คิดว่าปีปีหนึ่งได้ประชาสัมพันธ์บ้างก็พอเพียงแล้ว ที่จริงยังต้องใช้พลังทุ่มเทอีกมากค่ะ หากต้องการภาพลักษณ์ที่เด่นชัดของกรมวิทยาศาสตร์ หรือกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในสังคมไทย 

การอบรมวันที่ 4 ดิฉันได้ประสานงานทุกกลุ่มแล้ว เห็นชอบที่เราจะมีการสรุปในเนื้อหาการอบรมวันก่อนหน้า โดยผลัดกันแต่ละกลุ่มสรุปสั้นๆหน้าชั้นเรียนในช่วง morning coffee และดิฉันจะสำเนาเนื้อหาที่แต่ละกลุ่มสรุปให้ทุกท่านค่ะ  เนื่องจากเราอยากเก็บความรู้ ความคิดดีๆ ที่ได้รับจากท่านอาจารย์ทั้งหลายไว้ไม่ให้เลือนหายไป  อีกอย่างเรามีทีมงานของรุ่น 2 แล้วนะคะ ทุกคนได้เลือกสายงานที่ตัวเองถนัด(มีบ้างบางคนที่เพื่อนเลือกให้) และดิฉันจะแจกสำเนาให้ทุกคน ตอนนี้ทุกคนกำลังมีไฟลุกโชนอยู่ ช่วยเสนอดูว่าเราจะใช้พลังของเราร่วมกันทำอะไรดีคะ  เรามีทั้งฝ่ายวิชาการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์  IT เหรัญญิก และเลขา ค่ะ  เท่าที่สังเกตจากการประชุมต่างๆ ท่านอวศ.มักจะทำทุกเรื่องที่เห็นว่ามีประโยชน์และพอจะทำได้ โดยไม่ใส่ใจว่าเป็นงานชิ้นเล็กหรือใหญ่ เราน่าจะยึดแนวท่านได้นะคะ

 

 

ถึงดร.จีระ , คณาจารย์ ,คณะรุ่น2และคณะทำงานน้องทุกท่าน

สวัสดีค่ะ เช้าวันนี้ฝนตกปรอยๆ ได้มีโอกาส ส่งกลุ่มเพื่อนๆ น้องๆ รุ่น2 ขึ้นรถมาเรียน ทีหน้าตึก วศ. อยากจะบอกว่า รุ่น1 ที่อาจารย์ว่าไม่ค่อยได้เข้าเยี่ยมBlog ของรุ่นตนเอง เข้าค่ะ อ่อนไท้ไงคะ เข้านำเบอร์ต้นๆ แล้วเงียบหาย เพราะจะบอกว่าช่วงที่เรียนน่ะจริงจังมาก มาวันนี้ ได้ใช้วิทยายุทธ์ ของท่านคณาจารย์ ทุกกระบวนท่าค่ะ คำที่ติดหูติดปากรุ่น1 คือ ทรัพยากรมนุษย์ค่ะ ขณะนี้อรทัยระลึกถึงความรู้เหล่านี้ที่ได้รับมาค่ะ ช่วยเปิดสมอง ด้วยพลังที่จะชักชวนให้ ชาว วศ. ไปให้ถึงแก่นที่แท้จริงของผู้มีปัญญาในทางที่ถูกที่ควร เพื่อประเทศไทยค่ะ วันนี้ แอบมาทักทายค่ะ อยากเรียนอาจารย์อีกข้อคือ พวกรุ่น 1 ใช้แนวทางนี้ติดต่อกันค่ะ พวกเราแนบแน่นมาก เรื่องระดมสมองทางผ่าน IT. สวัสดีค่ะ อรทัย

เรียน ท่าน อ.จีระ และ เพื่อนร่วมรุ่นทุกท่าน

วันนี้เป็นสัปดาห์ที่สองของการเรียน เนื้อหาหลักสูตรยังคงเข้มข้นอยู่ครับ

รายชื่อคณะทำงานรุ่นที่ 2

1. ประธาน สุดา

2. เลขา ฯ สายพิณ บังอร/ชลัย ชุติมา/นงนุช เดช

3. รองประธานด้านเหรัญญิก ธีรชัย

คณะทำงาน สุรินทร์ สุจินต์ ดาเรศ พิศมัย

4. รองประธานด้านประชาสัมพันธ์ & สันทนาการ สมโภชน์

คณะทำงาน สุทัศน์ สุวรงค์ อรรจยา ปัญญา/อภินันท์วินัต/เกรียงไกร

5. รองประธานด้านวิชาการ ธีรภัทร

คณะทำงาน อัจฉรา ดุษฏี มานพ/กรธรรม กานดา/วรรณดี

6. รองประธานด้าน IT บัญญัติ

คณะทำงาน นภดล ปัทมา จันทรัตน์

วันที่1: วันเสาร์ที่ 5 กรกฏาคม 2551

1. ทุนมนุษย์กับการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โดย ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์)

ทฤษฎีที่สำคัญของการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎี 4 L’s ได้แก่ Methodology/Environment/Opportunities/

communities, กฎของ Peter Senge พูดถึงการรู้จริง มีแบบอย่างทางความคิด มีเป้าหมายร่วมกัน เรียนรู้เป็นทีม และมีระบบการคิด, ทฤษฎี 2 R’s ได้แก่ การมองความจริงและตรงประเด็น, ทฤษฎีทุน 8 ประเภท ได้แก่ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา จริยธรรม ความสุข สังคม ความยั่งยืน IT ความรู้และทัศนะคติ, ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ ได้แก่ การสร้างสรรค์ ความรู้ นวัตกรรม อารมณ์ และวัฒนธรรมม การเปรียบเทียบ 8 K’s ของจีระและ 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี สุดท้ายเป็นทฤษฎีวงกลมได้แก่ context competencies และ motivation ซึ่งยังขาด networking, ทฤษฎี Learning Loop และทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม

2. ผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง(โดย อ.ประกาย ชลหาญ)

Jack Welch กล่าวว่า “Change before you are forced to change” ใน Human Performance Framework ส่วนที่เล็กสุดคือ individual มี performance ที่สำคัญคือ Ability และ Motivation ในสังคมธุรกิจปัจจุบัน สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาจากภายนอกและภายใน ต้องมีการวางแผน และคิดเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลง มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง ใช้กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลง มีบทเรียนที่พึงระวังจากการนำการเปลี่ยนแปลง และความผิดพลาดจากการบริหารการเปลี่ยนแปลง

3. การสร้างและบริหารทีมเพื่อประสิทธิภาพ(โดย อ.รศ ดร. มนตรี บุญเสนอ)

การสร้างทีม ผู้นำต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็น สามารถหยั่งรู้ธรรมชาติของคน เป็นคนเก่ง เก่งคิด เก่งงาน มี sense of service มีทักษะในการสื่อสารในความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องสมบูรณ์ ความชัดเจน ความกระชับ ความสุภาพ ช่องทางสื่อสารและความสามารถ

วันที่2: วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฏาคม 2551

1. การสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลสำหรับการบริหารแบบมืออาชีพ

(โดย อ. ดร.อรพินท์ สพโชค)

ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ต้องการความโปร่งใส การแข่งขันทางเศรษฐกิจและกระแสกดดันจากเวทีนานาชาติให้ไปสู่การบริหารจัดการตามหลักประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล ก่อให้เกิดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของภาครัฐ การปรับปรุงระบบราชการ การประเมินผลงานตามคำรับรอง ผู้บริหารยุคใหม่ต้องมีใจเปิดกว้าง คิดเป็นธรรม สร้างองค์กรแลการบริหารที่มีธรรมาภิบาล

2. ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง(โดย ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์)

ผู้นำที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่(Macro) ภาวะผู้นำคือการที่ผู้นำสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร

โดยกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมและทุ่มเทให้แก่องค์กร โดยเน้น Influence องค์กรต้องกำหนด วิสัยทัศน์แล้วจึงกำหนดภารกิจ และกลยุทธ์ พิจารณาตัวอย่างผู้นำที่ดี วิเคราะห์และนำมา ดัดแปลงใช้ในองค์กร การพัฒนาผู้นำมีได้หลายแบบ 5 E ของ Center for creative of leadership ได้แก่ Example Experience Education Environment Evaluation แนวทางจากการวิเคราะห์ที่ University of Washington ได้แก่ Character, Leadership skill, Leadership process, และ Leadership value แนวทาง 4 E ของ Jack Welch ได้แก่ Energy, Energize, Edge , Execution วิธีการสร้างผู้นำแบบ Ram Charan โดยดูว่าเขาเก่งเรื่องอะไร พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ ดูแลไม่ให้ตกราง

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ

ดิฉันมีความพึงพอใจกับเนื้อหาหลักสูตรในการอบรมครั้งนี้มากๆค่ะ มีองค์ความรู้ทุกๆมิติ รวมทั้งวิทยากรแต่ละท่านนับได้ว่าอยู่ในระดับมืออาชีพอย่างแท้จริง

ในวันปฐมนิเทศ ก็เป็นการปูพื้นให้ทุกคนได้ตระหนักว่าทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าต่อองค์กร การพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรอย่างต่อเนื่องก็เป็นการเพิ่มความสำเร็จได้สูง ให้ประเมินตนเอง และผู้อื่นในเชิงบวกเพื่อนำข้อเด่น ดีงศักยภาพมาใช้ให้เกิดผลสูงสุด สอดคล้องกับ ที่ว่า put the right man on the right job

ใช่เลยค่ะองค์กรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ก้จะต้องมีผู้นำ/ผู้บริหารที่ดี เป็นไปตามหลัก 4 L, 2R 8K อาจารย์ทำให้เข้าใจหลักพื้นฐานผุ้นำที่ดีได้ดีมากค่ะ

ซึ่งในความคิดของดิฉันเห็นว่าโดยรวมๆ ก็จะอยู่ในหลักที่ว่าผู้บริหารที่ดี มีวิสัยทัศน์กว้างไกล วิเคราะห์ โดยใช้แม่บทของเศรษฐศาสตร์มาเป็นตัวกำหนด คือ วิเคราะห์จุดแข็ง(strength)จุดอ่อน(weakness) โอกาส และอุปสรรค เพื่อพัฒนาจุดแข็งขององค์กร ลดจุดอ่อน และขจัดอุปสรรค และใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องคิดอย่างวิเคราะห์มีระบบ บนหลักเหตุและผล มีข้อมูลวิชาการเชิงลึก รวมทั้งมีขับเคลื่อนระบบของการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ในวันที่ 4 นี้ วิทยากรคือ อ.ศิริลักษณ์ก็ชี้ให้เห็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารประสิทธิภาพของคนภายในองค์กร ชี้ให้เห้นว่าการเพิ่มทุนมนุษย์ ทำได้โดยยึดหลักพัฒนาบุคคลากรในองค์กรด้วย การเพิ่ม skill, knowledge,Abilityj Experience แล้วต้องมีการประเมินติดตามผล เป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กร และต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องเริ่มจากการกำหนดให้เป็นนโยบายการบริหารและพัฒนาบุคลากร ซึ่งก็คล้ายกับคณะผู้เข้าอบรมในรุ่นที่ 1 และ 2 นี้นับว่าเป็นโอกาศดีที่อธิบดีของ วศ. ท่าน ปฐม ฯ และคณะผู้บริหารสนับสนุนให้เกิดโครงการเช่นนี้ขึ้นเท่ากับเป็นการวางนโยบาย และผลักดันสู่การปฏิบัติจริง ถึงแม้ลึกๆอาจจะเป็นเหตุผลที่ว่าพัฒนาบุคลากรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบขององค์การมหาชน แต่ในภาพรวมก็คิดว่าเกิดประโยชน์ได้สูงค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์จีระ และทีมงานที่ทำงานสร้างมนุษย์พันธ์ใหม่ที่รู้จักพัฒนาดึงศักยภาพของคน และทีมงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอันจะเป็นกำลังสำคัญของชาติได้ค่ะ

ด้วยความนับถือ

วรรณดี (ทช.)

006 สวัสดีค่ะท่านอาจารย์จีระ และเพื่อนพ้องน้องพี่ 

สัปดาห์ที่ 2 ผ่านไปด้วยความเข้มข้นในหลักสูตรและการบรรยายของวิทยากรชั้นแนวหน้า  วันนี้พวกเรามีกิจกรรมเพิ่มคือช่วง morning coffee มีการสรุปเนื้อหาที่เรียนในวันที่ผ่านมา โดยกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 และ วันอังคารหน้าจะมีการสรุปเช่นกันโดยกลุ่มที่ 3 ขอเรียนว่าผู้ที่ตัวแทนกลุ่มโปรดนำข้อความที่สรุปลงใน blog ด้วยตัวท่านเองได้เลยค่ะ และหากต้องการให้สุดาทำสำเนาแจกผู้ฟังเช่นเช้าวันนี้ ก็ยินดีค่ะ โปรดลงใน blog ก่อนการสรุปในช่วงเช้า จะได้ทำสำเนาได้ทันค่ะ 

วันนี้ได้คุยกับ Buddy:คุณบัญญัติ พอมองเห็นอีกหนึ่งงานสำหรับกิจกรรมของรุ่น 2 หลังการการอบรม นอกเหนือจากกิจกรรมของกรมวิทยาศาสตร์บริการแล้ว คือการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมร่วมกับสโมสรโรตารี่  ที่คุณบัญญัติเป็นประธานอยู่   รายละเอียดคงต้องปรึกษาคุยกันในสัปดาห์หน้าเผื่อผู้นำท่านใดจะมี idea อื่นๆ ที่โดนใจสมาชิกกลุ่ม 

สุรินทร์ อรรถกิจการค้า

สวัสดีครับ อาจารย์จีระ

ผมเป็นนักเรียนอีกคนหนึ่งที่ทึ่งในศาสตร์และศิลป์แห่งการบริหารจัดการทุนมนุษย์ที่ได้รับรู้จากอาจารย์ที่มีประสบการณ์สูงหลาย ๆท่านในหลักสูตรนี้คล้ายกับเพื่อนหลายๆคนข้างบนที่กล่าวมาอยู่มาก จึงรู้สึกได้ว่าคนเป็นพลังที่ไร้ขีดจำกัดจริงๆที่จะสร้างสรรค์อะไรก็ได้ตามปราถนา

อาจเพราะว่าผมและเพื่อนๆส่วนใหญ่เรียนมาทางสายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ โดยเฉพาะตัวผมเองมีความอ่อนด้อยทางความเข้าใจในการจัดการเรื่องคนและสังคม อย่างมาก ผมเห็นด้วยกับการเรียนวิชาชีพทุกสาขาควรจะมีความเชื่อมโยงกับวิชาที่ว่าด้วยคน และสังคมเพราะว่าทุกอาชีพจะต้องนำความรู้ที่มีกลับมาให้บริการคนในสังคมอ ยู่ดี จึงสมควรยิ่งที่จะต้องรู้จักสานประโยชน์กับคนอย่างเหมาะสม

การเรียนทางวิทยาศาสตร์จะมีภาคทฤษฏี(WHY) และ ภาคปฏิบัติ(HOW) ควบคู่กันไปจึงจะทำให้เรียนรู้เข้าใจจริง ่ในหลักสูตรนี้คงมีเวลาที่จำกัด และมีเนื้อหาที่อัดแน่นมาก จึงมี ภาคปฏิบัติที่ดูจะน้อยไป  ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการปฏิบัติ case study ในบางหัวข้อที่สำคัญ ๆ  เพื่อเพิ่มความเข้าใจได้ลึกซึ้งขึ้น ครับ

ง่วงนอนแล้ว ขอไว้เท่านี้ก่อนครับ

ด้วยความเคารพ 

สุรินทร์

สวัสดีครับท่านอาจารย์จิระ และพี่ๆเพื่อนๆผู้เข้าอบรมฯ

ผมเข้าใจว่าท่านอาจารย์จิระถึงแม้ว่าจะมีความตั้งใจทุ่มเทปลูกฝังลูกศิษย์อย่างพวกเราชาว วศ. ทั้งที่อบรมในรุ่น 1 และ รุ่น 2 (และน่าจะมีรุ่น 3 ตามมา) แต่ท่านอาจารย์ก็คงมีภาระกิจอื่นๆอีกมาก ในขณะที่เวลามีจำกัด เพื่อเป็นการประหยัดเวลาอันมีค่าของท่านอาจารย์ คราวนี้และคราวต่อๆไปสำหรับผม จะขอโพสต์ข้อความที่สั้น กระชับ และเข้าถึงประเด็นเลยแล้วกันนะครับ

ประเด็นสำหรับการโพสต์ของผมในคราวนี้

1. ผมกลัวการอบรมนี้จะเป็นเหมือนน้ำเซาะทราย จึงขอเสนอให้มีการระดมสมอง กำหนดกิจกรรมที่ท้าทาย เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน มีเป้าหมายชัดเจน ให้กลุ่มผู้เข้าอบรมฯได้ร่วมกันทำ

2. กิจกรรม CEO Visit ที่ผมเคยได้กลาวถึงในข้อความแรก เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ หากเป็นไปได้อยากให้จัดเพื่อจะได้มีโอกาสได้ศึกษาภาวะผู้นำของ living CEO ตัวเป็นๆ

3. ถ้าเป็นไปได้ ผมสนับสนุนให้จัดรุ่นที่ 3 ด้วย รุ่นนี้น่าจะให้โอกาสเจ้าหน้าที่ วศ. ที่ทำงานระดับต้นที่ "รุ่นใหม่ไฟแรง" ที่คัดสรรแล้ว เพราะภาวะผู้นำควรให้มีในทุกระดับขององค์กร

จบประเด็น

กรธรรม

เรียน ดร.จีระ ที่เคารพ

ตั้งแต่รับราชการมา 10 กว่าปี เพิ่งรู้สึกว่าครั้งนี้ วศ. ลงทุนในการให้ความรู้กับข้าราชการของกรมฯ มากที่สุด เพราะเท่าที่ได้อ่านข้อเขียนของเพื่อนร่วมรุ่นที่ได้เข้ามาเยี่ยม blog และจากความรู้สึกของตัวดิฉันเองก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับทุกท่านว่าการอบรมครั้งนี้คุ้มค่ามาก ๆ ค่ะ เหมือนเป็นการเปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ ๆ ให้กับพวกเราซึ่งไม่ค่อยได้มีโอกาสรับความรู้ในลักษณะนี้ การอบรมที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการบรรยายเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ได้บรรยายเป็นแบบองค์รวมเหมือนหลักสูตรของอาจารย์ ต้องขอแสดงความชื่นชมท่าน ดร.จีระด้วยค่ะว่าสามารถนำวิทยากรระดับ Top ในแต่ละด้านมาบรรยายให้พวกเราฟัง เพราะหากไม่ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรนี้ก็คิดว่าคงไม่มีโอกาสได้รับความรู้จาก Guru ที่มาจากหลากหลายสาขาเช่นนี้ในคราวเดียวกัน ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ

กานดา

สรุปการบรรยายในวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ของกลุ่ม 2

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคของการเปลี่ยนแปลง

ดร.สมภพ  มานะรังสรรค์

ประเทศ Original Brand/Deign Manufacturer (OBM/ODM) คือการมี brand name เป็นของตัวเอง การรักษาให้ brand name ของตัวเองอยู่ได้นานต้องทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกแตกต่าง โดยใช้กระบวนการ R&D ช่วยทำให้สินค้ามีคุณภาพดี และเป็นสินค้าประเภท high technology สามารถขายได้ในราคาที่สูง และเป็นผู้กำหนดราคาเองได้ (Price Setter) อยู่ในฐานะ Market Leader

ประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างรวดเร็ว โดยใช้การวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจโดยอาศัยปัจจัยร่วม (Common Factors of Development) เช่น การพัฒนาเส้นทางคมนาคม   การสื่อสาร  การส่งเสริม การลงทุนของต่างชาติ ในการดำเนินการวางแผนพัฒนาประเทศ ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศจีนเป็นแบบ production economy ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเคลื่อนไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ Service-Based Economy ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นเร็ว ลงเร็ว มีความคล่องตัวสูง ต้องมีการวางแผนในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทันกับการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย

สิ่งที่จะต้องตระหนักถึงในการแข่งขันทางธุรกิจในสภาพปัจจุบันว่าประเทศไทยมีอะไรจะเข้าไปมีส่วนร่วม (contribution) ในเวทีโลก เมื่อประเทศจีนและอินเดียมีการขยายตัวด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

ผู้นำกับการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร

(Leader and Brand Image)”

อาจารย์ลักขณา  จำปา

บุคลิกของผู้นำเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดศรัทธาและจดจำได้ เช่นเดียวกับหน่วยงานก็ต้องมีบุคลิกและภาพลักษณ์เฉพาะที่ต้องการจะนำเสนอต่อสังคมภายนอก

            

การสร้างภาพลักษณ์โดยรวมขององค์กร Corporation Public Relation (CPR) เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กร ทำให้สังคมมีการรับรู้ว่าองค์กรของเราเป็นอย่างไร และทำให้เกิดความเชื่อมั่น การทำ CPR จะทำเมื่อองค์กรมีการเปลี่ยนแปลง, เข้าสู่ตลาดใหม่หรือมีโครงการใหม่ หรือเมื่อเกิดปัญหาต่อภาพลักษณ์ขององค์กร

            

การสร้าง CPR ให้ได้ผลต้องมีกระบวนการสร้าง CPR ที่ดำเนินการอย่างจริงจังโดยที่บุคลการทุกคนต้องให้ความร่วมมือ ผสมผสานกับการสื่อสารแบบมืออาชีพ

             กระบวนการสร้าง CPR

             1.  วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้านภาพลักษณ์                          

             2.  วางแผนการดำเนินงาน

             3.  ลงมือปฏิบัติ และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ                             

             4.  ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนที่ตั้งไว้

             ขั้นตอนการสื่อสาร

             1.  รวบรวมข้อมูล / สังเคราะห์ / วิเคราะห์ หาจุดเด่น                     

             2.  วางแผนกลยุทธ์

             3.  วางแผนการใช้เครื่องมือเพื่อสื่อสารแบบบูรณาการ                 

             4.  ปฏิบัติตามแผน

 

กานดา

สวัสดีครับท่านอาจารย์จีระที่เคารพ และขอสวัสดีพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆร่วมรุ่น 2ทุกท่าน

ผมขอขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้พวกเราชาว วศ.ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอีกมากมาย นอกเหนือจากความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พวกเราได้สัมผัสอยู่ทุกวัน

ผมชอบคำว่าทุนมนุษย์ของอาจารย์มากครับ มันทำให้รู้สึกว่าทุกคนมีคุณค่าสมควรแก่การพัฒนาในทุกระดับชั้น ทำให้ทุกคนมีจิตสำนึกที่ดี คิดเชิงบวก เท่านี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 ที่ช่วยสรุปสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในสัปดาห์แรกที่เราพบกัน

ผมอยากให้อาจารย์สานต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์ เหมือนที่คุณกรธรรมเสนอ ผมอยากให้เพิ่มเรื่อง coaching และ competency เพราะผมยังไม่เคยรู้มาก่อนเลย (สำหรับท่านอื่นอาจเป็นเรื่องเก่าไปแล้วก้ได้)

ผมชอบเรียนเรื่องเศรษฐศาสตร์มากครับ แต่คงไม่ลึกขนาดนักเศรษฐศาสตร์อย่างอาจารย์หรือ อาจารย์สมภพ ฟังอาจารย์สมภพแล้วอยากเรียนเพิ่ม

ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ช่วยสอนและเล่าประสบการณ์ให้ฟัง

เกรียงไกร

วินัต สุนทรวุฒิคุณ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ จีระ ที่เคารพอย่างสูง และสวัสดีครับเพื่อนๆรุ่น2ทุกท่าน

แทบไม่น่าเชื่อ ข้าราชการกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้มีโอกาสเข้าเรียนในหลักสูตรที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ซึ่งเปี่ยมล้นด้วยคุณภาพของท่านอาจารย์จีระและท่านอาจารย์ทุกๆท่านที่มีความรู้และประสบการณ์จริง เป็นที่ยอมรับของจอมยุทธ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ นำมาถ่ายทอด ทำให้กระผมรู้สึกว่า"ต้วเรานี้ช่างน้อยนิดเสียเหลือเกิน"

การจัดการเรียนรู้เรื่อง HR.ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสพิเศษของพวกเราจริงๆ ที่จะได้เรียนรู้วิธีการจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองและผู้ร่วมงานในองค์กรให้มีขีดความสามารถที่จะร่วมกันพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศได้จริง

กระผมขอขอบพระคุณ ท่านอธิบดี ท่านรองอธิบดี กรมวิทยาศาสตร์บริการ ท่านอาจารย์ จีระและทีมงาน ตลอดจนผู้ประสานงานด้านต่างๆที่ทำให้กิจกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นได้จริงๆ

ชอบคำบรรยายของท่านอาจารย์ จีระ มากๆเลยครับ ที่อาจารย์กล่าวว่า"ใช้งบประมาณซ่อมคนดีกว่าใช้งบประมาณซ่อมเครื่องจักรเก่าๆ"

ขอขอบพระคุณทุกๆท่านมากเลยครับ

นายวินัต สุนทรวุฒิคุณ

สวัสดีครับ

·       Weekend นี้ผมเขียนบทความในแนวหน้าแล้ว กรุณาเปิด Web: www.naewna.com และอ่านบทความของผมด้วย

·       ถ้ามีเวลา 6 โมงเช้าวันอาทิตย์ก็เปิดวิทยุ F.M. 96.5 ฟังด้วยว่าพูดเรื่องอะไร

·       วันพุธ 4 ทุ่ม ลองติดตามรายการ TV ทางช่อง TNN2

                                                                        ขอบคุณครับ

                                                                   จีระ หงส์ลดารมภ์

สวัสดีครับ ดร.กรธรรม

            ผมชอบ ideas ที่ทำต่อเนื่อง แต่ถ้าจะสำเร็จ ผมจะต้อง Follow up รุ่น 1 ว่าได้อะไร รุ่น 2 ได้อะไร และถ้ามีรุ่น 3 ก็ต้องเน้น Young Turks แต่ต้องต่อเนื่อง

            ผมเคยทำที่กระทรวงวัฒนธรรม 200 คนใช้เงินไป 6 ล้าน ยังไม่สำเร็จเพราะขาด Follow up มีแนวทางก็คือเน้นว่าจบไปแล้วมีมูลค่าเพิ่มอะไร

            ผมอยากมีตำแหน่งใหม่ Inspector – General เกี่ยวกับมูลค่าเพิ่มทางความรู้ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

สวัสดีครับคุณดุษฎี

มีเป้าหมายสำหรับ Buddies

1.      เวลาฟังอาจารย์แต่ละ Session ช่วยกันวิเคราะห์แบบ 2 หัวดีกว่าหัวเดียว

2.      แต่จะให้ผม Assign ก็ได้ เนื่องจากเราเรียนเรื่องผู้นำมาแล้ว คุณดุษฎีและ Buddy ลองวิเคราะห์

·       Reagan – Carter

·       Brown – Blair

·       Medvedev  – Putin

·       ทักษิณ - สมัคร

3.      ขอให้ Buddy ส่งการบ้านทาง Internet ด้วย

จีระ หงส์ลดารมภ์

006  เรียนท่านอาจารย์จีระ และเพื่อนพ้องน้องพี่

ได้ฟังรายการของอาจารย์ที่คลื่นวิทยุ FM 96.5 Mz รายการHuman Talk เช้าวันนี้แล้ว ขอวิจารณ์รายการนี้ในฐานะคนฟังรายการทั่วไปนะคะ  เห็นว่าเป็นรายการที่ดีให้ข้อคิดเห็นยามเช้าอย่างลุ่มลึกและนิ่มนวล ไม่ชวนทะเลาะกับใคร แต่ไม่ได้เกรงกลัวหรือประจบนักการเมือง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติอย่างยิ่งในยามที่ประเทศไทยต้องการความรู้รักสามัคคี  อาจารย์มีวิธีพูดและเตือนคนฟังให้หันมาตั้งสติในการดำเนินชีวิตเสียสละเพื่อชาติบ้าง เห็นด้วยกับอาจารย์ที่ว่า คนรุ่นใหม่มักคิดถึงแต่เรื่องเงิน  จะเห็นได้ว่าเวลาคนรุ่นใหม่คุยกันเขาจะเปรียบเทียบความเก่งกันโดยดูที่รายได้ ใครยิ่งหาเงินได้มาก หรือสามารถซิ้อคอนโด unit แพงๆ หรือออกรถยี่ห้อดังๆ ได้เท่าไร ก็จะยกย่องว่าเป็นคนเก่งค่ะ  ต้องช่วยกันดึงสติคนรุ่นใหม่กลับมาบ้าง      นอกจากนั้นฟังรายการวันนี้แล้วทำให้เข้าใจเจตนา Buddies ของอาจารย์ น่าจะเป็นการขยายพันธุ์ มนุษย์พันธ์แท้   แต่ในรายการวันนี้เหมือนเวลาจะหมดก่อนที่อาจารย์จะฝากข้อความได้หมดใจความค่ะ  จะติดตามฟังในอาทิตย์หน้าค่ะ

สุดา นันทวิทยา

 

นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์

ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้

อัจฉรา เจริญสุข

                        ได้เรียนรู้ บทบาทของผู้นำที่จะต้องบริหารจัดการ ในภาวะที่สังคมและสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานทั้งในภาวะเชิงรุก และเชิงรับ ยอมรับและอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความสุข

 

-         กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

-         การทำงานเป็นทีม

-         ภาวการณ์เป็นผู้นำที่ดี

นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้

ทราบว่าเรื่องคนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหนรวมไปถึงการที่จะเป็นผู้นำที่ดี จะต้องเป็นอย่างไร ทำอย่างไร ผู้นำสามารถสร้างได้ องค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมของคน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กรในระยะสั้นและระยะยาว

                                                            ปัทมา นพรัตน์

 

 

 

 

นายธีระชัย รัตนโรจน์มงคล

 ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้

-         การคิดเชิงบวก/ลบ

-         ภาวะผุ้นำ ควรดำเนินการอะไร

-         วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ควรทำอะไร

                       นายธีระชัย รัตนโรจน์มงคล

 

นายวินัต สุนทรวุฒิคุณ

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้  

1.      เรียนรู้ถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบเดิมๆ

2.      เรียนรู้การทำงานร่วมกัน และรู้จักผู้ร่วมโครงการฯมากขึ้น

3.      ได้เรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ๆ และการนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างมั่นใจ

นายวินัต สุนทรวุฒิคุณ

 

นายสมโภชน์ บุญสนิท

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้  

 

-         ได้เรียนรู้องค์ประกอบของการเป็นผู้นำ องค์ประกอบของการจัดการบุคลากรใต้บังคับบัญชา ได้รับรู้ปัญหาของการบริหารจากผู้เข้าอบรมท่านอื่น ๆ หลักการบริหารองค์กรที่ดี

-         ได้สำรวจตัวเองว่าขาดภาวะผู้นำข้อใดบ้าง

นายสมโภชน์ บุญสนิท

 

 

 

 

1.      ภาวะผู้นำลักษณะของผู้นำทีดี ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหารและการสร้างผู้นำ

2.      หลักคุณธรรม จริยธรรม การบริหารหลักธรรมาภิบาล

3.      แนวทางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

4.      การทำงานเป็นทีม

นายปัญญา  สงวนสุข

 

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้

ท่านวิทยากร ได้เสนอแนวคิดของการพัฒนาภาวะผู้นำการการบริหารงานค้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเน้นทุนทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนการบริหารงานของผู้นำ

            การนำเสนอแนวคิดของครู มีชื่อเสียงของโลกเพื่อจุดประกายให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักแนวการบริหารแบบมืออาชีพที่สามารถรับมือกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เช่นทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

                                                                        บังอร  บุญชู

นางสายพิณ สืบสันติกุล

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้

สำรวจตัวเองว่าเป็นอย่างไร ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำที่มีอยู่ในตัวเอง แต่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ การเป็นผู้ฟังที่ดี การคิดอย่างภาพรวม

                                                            นางสายพิณ  สืบสันติกุล

คุณสุทัศน์ อู่ศิริจันทร์

การเป็นผู้นำไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เรียนรู้ได้ปรับตัวให้ดีขึ้นได้

                                                                  คุณสุทัศน์ อู่ศิริจันทร์

นายอภินันท์ อุปภาระกุล

 

-         การทำงานเป็นทีม

-         แนวคิดเรื่อง Leadership

-         การบริหารความเปลี่ยนแปลง

-         ความรู้เกี่ยวกับ กพร.

 -   วิธีการคิดและการเป็นผู้นำ

                              นายอภินันท์  อุปภาระกุล

นางสุจินต์ พราวพันธุ์

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ 

 

1.      การเปิดโลกทัศน์ โดยการต้องอ่านหนังสือเยอะๆ เพื่อที่จะได้รับรู้ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง และทำอย่างไร และทำอย่างไร มีผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.      เรียนรู้เกี่ยวกับผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดี และการบริหารจัดการต้องทำอย่างไรบ้าง

3.      การทำงานเป็นทีม รวมทั้งเทคนิคต่าง ๆ ในการทำ

4.      คุณธรรม จริยธรรม ในการทำงาน

นางสุจินต์ พราวพันธุ์

 

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ 

“Change before you’re forced to Change”

                                                            นายเดช บัวคลี่

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้  

 

-         ภาวะผู้นำสร้างได้ ถ้าเริ่มพร้อมจะปรับเปลี่ยน

-         ความสามัคคี ทำงานเป็นทีม สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นไปได้

-         ธรรมาภิบาลควรเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน

                      นางพิสมัย เลิศวัฒนะพงษ์ชัย

 

นางสาวอรรจยา มาลากรอง

ได้เรียนรู้ว่า มนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจ และมั่นคงได้ยาก ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีและถูกต้องรวมถึงการเป็นผู้นำทีดี สามารถสร้างได้

                                                       นางสาวอรรจยา มาลากรอง

 

นายนภดล แก้วบรรพต

ได้ทราบทฤษฎีต่าง ๆ สำหรับการบริหาร บทบาท ผู้นำที่ดีการบริหารการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีมมีหลักอย่างไร ได้ทราบถึงหลักการธรรมาภิบาล ว่าควรจะนำมาใช้ในช่วงเวลาใดให้เหมาะสมและให้เกิดการยอมรับได้ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน

                                                                นายนภดล แก้วบรรพต

 

จุดประกายในการเปลี่ยนแปลง

-         ค้นหาศักยภาพในตัวเองเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำ

-         สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตน

-         สร้าง Network ในการทำงาน

-         Leadership at all Levels

                      

กรธรรม สถิรกุล

 

สังคมการเรียนรู้ ความคิดเชิงบวก ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างเครือข่ายการเผชิญ ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลง การบริหารการเปลี่ยนแปลง ลักษณะของผู้นำวัฒนธรรมองค์กร ความเป็นผู้นำ ตัวอย่างของผู้นำทีดี การสร้างภาวะผู้นำอย่างเป็นรูปแบบ ธรรมาภิบาล ของระบบราชการ แนวคิดในการนำระบบธรรมาภิบาลมาใช้ในการระบบราชการ

                                                            เกรียงไกร นาคะเกศ

นงนุช เมธียนต์พิริยะ

ได้สำรวจตัวเอง ถึงภาวการณ์เป็นผู้นำ ว่ามีอะไรและขาดอะไร

                                                            นงนุช เมธียนต์พิริยะ

 

 

-         หลักเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

-         การพัฒนา บุคลิกภาพ การประชาสัมพันธ์ และการสร้าง Brand

-         หลักการ HRD HRM

-         การคิดเชิง นวัตกรรม และหลักการใช้ชีวิต ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ

นายเดช บัวคลี่

 

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้   

 

-         การทำงานเป็นทีม

-         การเปลี่ยนแปลงภาวการณ์ต่างที่มีต่อองค์กร

-         ลักษณะที่ดีของผู้นำ

-         คุณธรรมและธรรมาภิบาล มีผลต่อองค์กรอย่างไรกานดา  โกมลวัฒนชัย

 

 

R&D เป็นเป้าหมายที่สำคัญของวิทยาศาสตร์ไทย

HR  เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กร

การบริหารคนตรงอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์

                                                                     สมโภชน์  บุญสนิท

 

-         ได้เรียนรู้ว่าคนที่จะเป็นผู้นำได้ควรจะมีคุณลักษณะประจำตัวอย่างไร

-         ได้เรียนรู้ว่าการมีภาวะผู้นำนั้นสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนา การทำงานได้ อย่างไรในประสบความสำเร็จ

-         ได้ตัวอย่างและแบบอย่างในการทำงานที่จะสามารถนำมาปรับเปลี่ยนการทำงานแบบเดิม ๆ ให้พัฒนาและเปลี่ยนแปลง

-         ผู้นำควรทำอะไร อย่างไร ที่จะทำให้หน่วยงานทำงานในหน้าที่ของตนทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศ

นางชลัย ศรีสุข

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้

-change before forced to change

-การทำงานเป็นทีม ทำให้แก้ปัญหาในสิ่งที่คิดว่ายากได้ง่าย

-ผู้นำที่ดีต้องมีธรรมาภิบาล

-การพัฒนาคน เริ่มจากการกำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาบุคลากร

-การคิดอย่างเป็นเหตุเป้นผลช่วยให้เผชิญกับสภาวะสังคมที่เสียสมดุลได้อย่างเข้มแข็ง

-กระบวนการคิกเชิงกลยุทธ์ทำให้รู้จักมองทุกอย่างเป็นเชิงบวก มีเป้าหมายชัดเจ

วิเคราะห์ปัญหาทำให้รู้จักตนเอง และหาวิธีแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น รวมทั้งทำให้เกิดการพัฒนาอย่างตอเนื่อง

-ทุกกิจกรรมจะต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงเป้าหมาย

เรียน ดร.จีระที่เคารพ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้เรียนรู้เรื่องราวมากมาย ซึ่งมีทั้งเรื่องที่พอทราบมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่ถ่องแท้ และเรื่องใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย แต่ได้ผู้ชี้นำที่มีความรู้และประสบการณ์ที่กว้างขวาง ทำให้ได้เปิดสมองรับสิ่งใหม่ๆได้มาก แต่มีอยู่ท่านหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ ดร.เฉลิมพล ด้วยความที่ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์แท้ๆ แต่ในขณะที่ท่านบรรยายเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์นั้นได้สอดแทรกหลักธรรมเข้ามาเป็นระยะๆ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนานั้นไม่มีความแตกต่างกันเลย ทุกเรื่องราวมีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป สามารถพิสูจน์ได้ ไม่ใช่การหลงเชื่อแบบงมงาย ซึ่งดิฉันเชื่อว่าถ้าผู้นำรุ่นใหม่เข้าใจหลักของทั้งสองอย่างแล้ว คงจะสามารถลบคำพูดที่ว่า "ไม่เชื่ออย่าหลบหลู่" แต่ให้เป็น "ไม่เชื่อต้องพิสูจน์" ได้

ด้วยความเคารพ

อรรจยา

สายพิณ สืบสันติกุล

เรียนอาจารย์จิระ ที่เคารพ

จากการเรียนกับคณะอาจารย์ในทีมงานของอาจารย์ใน week ที่ 2 รู้สึกว่าเข้มข้นขึ้นและได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาคน ซึ่งเป็นเรื่องยาก และต้องพัฒนาตนเองควบคู่กันไป และ เรื่องความเข้าใจในกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลึก และต้องมี vission ที่ยาวไกล อย่างไรก็ตามก็เป็นเรื่องที่ต้องรู้ ต้องทำความเข้าใจ และศึกษาต่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะที่นำรูปที่กลุ่มไปลงใน web นะค่ะ

ด้วยความเคารพ

สายพิณ สืบสันติกุล

เรียน ท่านอาจาร์จีระที่เคารพ

ในโอกาสแรกผมขอขอบคุณกรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งของกรมวิทยาศาสตร์ฯในการสร้างเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระและทีมงานเป็นอย่างสูงที่ได้สร้างสรรค์โครงการนี้ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์ฯซึ่งมีประโยชน์มากต่อผู้ได้เข้ารับการอบรมและหน่วยงานต้นสังกัด (จะถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการเรียนรู้อย่างหนึ่งได้หรือไม่ครับ)

ก่อนหน้านี้ผมได้ทราบชื่อเสียงและผลงานของอาจารย์จีระอยู่บ้างแต่ยังไม่เคยพบตัวจริง เมื่อได้พบตัวจริงเสียงจริงรวมทั้งทีมงานแล้วขอชื่นชมว่าอาจารย์และทีมงานอยู่ในระดับมืออาชีพที่ถือเป็นต้นแบบได้จริงๆครับ เมื่อผมได้เรียนรู้ถึงหัวข้อผู้นำกับการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร (Leader and Brand Image)แล้วทำให้ผมมีแนวคิดที่จะขออนุญาตเสนอแนะอาจารย์ว่า หากเพิ่มหัวข้อที่สำคัญอีกหัวข้อหนึ่งคือ "การพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำ"โดยลงรายละเอียดเจาะลึกบุคลิกในตัวผู้นำ เช่น การแต่งกาย การเดิน การนั่ง การพูด การรับประทานอาหาร ฯลฯ ก็น่าจะมีความสมบูรณืมากยิ่งขึ้นครับ

สวัสดีค่ะเพื่อนพ้องน้องพี่

หลายท่านไม่ได้อ่านบทความและฟังรายการทางวิทยุของอาจารย์ ดร.จีระจึงใคร่สรุปให้ฟังค่ะ (รายการวิทยุจะสรุปตามมาค่ะ)

สรุปบทความของ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ลงหนังสือพิมพ์แนวหน้าประจำวันที่ 12 กรกฎาคม 2551 "Creativity แนวจีระ (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)"

ดร.จีระกล่าวว่า กำลังทำ V (value added) ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ในหลายหน่วยงาน เช่น ที่ คือ กฟภ. ต้องสร้าง Brand จากการลงทุนเรื่อง LO ให้สาธารณชนได้ทราบ ผู้นำสูงสุดต้องมาร่วมและเอาจริง การลงทุนเรื่องคนกว่า 200 ล้านบาท สังคมควรจะรับทราบ ได้ตกลงกันจะให้ผู้ว่าฯ อดิศร กับ ดร.จีระ ร่วมมือกันอย่างเป็นทางการ และประชาสัมพันธ์อย่างจริงจัง โดยเน้นการผ่านสื่อที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ที่หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ หน้า 4 และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ คือ Bangkok Post กับ Nation และตัว "V" อีกตัวหนึ่งที่ย้ำคือ กรมวิทยาศาสตร์บริการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรต่อเนื่องจากรุ่น 1 มาถึงรุ่น 2 โดยเฉพาะการจัดโครงการต่อเนื่องเพื่อช่วยพัฒนาชนบท เช่น โครงการศิลปาชีพ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์อย่างอธิบดีปฐม แหยมเกตุ สนใจการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกรมวิทยาศาสตร์บริการผ่านรายการโทรทัศน์ของดร.จีระ เพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยสนใจ Brand ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งก็เป็นงานที่ต่อเนื่อง ท่านอธิบดีปฐมฯ เป็น Role Model ที่ใฝ่รู้ ทำงานต่อเนื่อง และดึงมืออาชีพมาร่วมดำเนินการให้ไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนั้นจากการอบรมที่กรมวิทยาศาสตร์บริการและมีหน่วยงานที่มาร่วมอีก 7 แห่ง ทำให้มีหลายหน่วยงานสนใจที่จะทำงานต่อเนื่องเรื่องคน ตัว "V" ของการเรียนการสอนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ก็เริ่มเห็นได้ชัดขึ้นจากการเขียน Blog ที่มีประโยชน์และมีคุณค่า ในเวลาแค่ 3 อาทิตย์ คือ ภายในวันเสาร์นี้จะมีคนคลิกเข้าไปอ่าน Blog กว่า 1,100 คน มีหลายประเด็นที่ท่านยังไม่รู้เพราะท่าน"Learn from students"

ดร.จีระกล่าวถึง Concept หนึ่งที่ท่านชอบและดำเนินชีวิตด้วยแนวนี้มาตลอด คือ "Creativity" ท่านกล่าวที่การบรรยายที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยกตัวอย่างเปรียบเทียบฟุตบอลบราซิลกับฟุตบอลอังกฤษใครประสบความสำเร็จมากกว่ากัน? คนไทยชื่นชมใคร? เพราะอะไร? คำตอบแบบไม่มีข้อโต้แย้งก็คือ บราซิล ที่บราซิลเก่งกว่าเพราะ Creativity ท่านสนใจเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity มานานแล้ว และก็เขียนไว้ในแนวคิด 5 K's ใหม่ที่เป็นทุนของทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ท่านได้พบและแลกเปลี่ยนความคิดกับกูรูหลายคนในชีวิต เช่น Edward De Bono และมักจะเชิญอาจารย์รัศมี ธันยธร ลูกศิษย์ของ Edward De Bono มาร่วมอยู่เสมอ มีคำพูดหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ "ฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง" แปลว่าชีวิตเราเกิดมาด้วยความเคยชิน Creativity แปลว่า ทำอะไรที่สวนทางกับสิ่งที่ได้ทำมานาน ท่านเสนอแนวคิดในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity ซึ่งอาจจะสรุป ได้แก่ วิธีการเรียน ประสบการณ์การเรียนในครอบครัว ตั้งแต่อยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และไปเรียนต่อต่างประเทศ สอนให้คิดซึ่งบางคนไม่ชอบเพราะติดนิสัยท่องหรือซีรอค วิธีเรียนแบบคิดข้ามศาสตร์นั้นช่วยได้มาก การมีความคิดสร้างสรรค์น่าจะมาจากความคิดริเริ่มด้วย คืออยากทำอะไรใหม่ ๆ เสมอ ยกตัวอย่าง 3 เรื่อง คือ การทำ Knowledge Camping ให้เด็กเทพศิรินทร์ มาครบ 10 ครั้ง 10 ปี แล้ว แค่เด็กที่เรียนหนังสือเก่งกับเด็กที่เก่งเรื่องอื่น ๆ เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะควรจะได้มีโอกาสมาปะทะกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ดี ท่านจัด Leadership Forum ระดับ Inter ให้มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 5 ครั้ง ติดต่อกันเลยเป็นที่มาของ Brand เรื่อโลกาภิวัตน์กับผลกระทบต่อมนุษย์ โครงการดึงเอาสมองของคนไทยในอเมริกากลับประเทศไทย และหลักสูตร 60 ชั่วโมง เรื่องภาวะผู้นำและการบริหารมืออาชีพมีผู้สนใจจัดในองค์กรใหญ่มาแล้วกว่า 40 แห่ง ซึ่งก็วัดผลได้แน่นอน แต่การมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) หรือจินตนาการ (Imagination) ก็ไม่พอ คนจบ สถาปัตย์ฯจุฬาฯ ก็มี Creativity มากมาย คนจบศิลปากรหรือจบเพาะช่างก็มีมาก แต่ก็ไม่สำเร็จทุกคน จุดที่สำคัญก็คือ ต้องทำ ต้องทดลอง ต้องเจ็บปวด และต้องมีความถ่อมตนอยู่เสมอว่าเรายังไม่สำเร็จ ท่านภูมิใจที่ได้ไปเสนองานเรื่องอาชีวะ กับ Social Context ในการประชุมนานาชาติ หน่วยงานใดจัดงานระดับ Inter และเห็นว่าควรจะหาคนไทย ที่เก่ง ๆ ไปพูดเพราะทำให้ต่างชาติ เขาชื่นชมเรา รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้เชิญท่านไปร่วมงาน ได้เรียนรู้ ได้เห็นว่าต่างชาติมีความคิดกว้างไกล ท่านเรียกวิธีนี้ว่า Global Networking

ท่านเริ่มงานพัฒนาผู้นำของสันติบาตรสหกรณ์ รุ่น 2 เป็นโครงการเรียนรู้ 100 ชั่วโมงเพื่อสร้างผู้นำอย่างแท้จริง สำหรับกรมวิทยาศาสตร์บริการ การเรียนรู้ผ่านไปแค่ 4 ครั้ง แต่ท่านได้ความรู้มากมาย ท่านชอบฝึกนักวิทยาศาสตร์ (Scientist) เพราะหากเขาเชื่อหรือศรัทธาเราเมื่อไหร่ เขาก็จะเรียนรู้ได้มากและประเทศก็จะได้ประโยชน์มาก

เรียนท่านอาจารย์จิระ และชาว วศ

4 ประเด็นครับ

1. สัปดาห์นี้เนื้อหาการอบรมเข้มข้นขึ้นอีก โดยเฉพาะเรื่องความคิดสร้างสรรค์เมื่อวานนี้ที่วิทยากรให้วิธีการ เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน ส่วนในวันนี้ก็ได้รับความรู้ที่ดีเกี่ยวกับการบริหารการเงินและความเสี่ยง และเรื่องของการวางแผนยุทธศาสตร์ workshop ที่ให้ใช้ BCG Matrix ในการวางแผนยุทธศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการที่แต่ละกลุ่มทำมาได้ดี และอาจจะนำมาใช้ได้จริง

2. วันนี้ดีใจครับที่ได้รับ ENERGY จากท่านอาจารย์จิระอีก ทำให้ผมได้คิดว่าในชีวิตนี้ค้องตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ทำประโยชน์ให้กับสังคม และฝากชื่อไว้บนแผ่นดิน ผมเองอยากจะทำชีวิตให้มีความหมายแบบนี้บ้าง และจะพยายามพัฒนาตัวเองให้บรรลุให้ได้

3. ผมอยากจะเปิดประเด็นหนึ่ง และหากได้รับคำแนะนำจะดีใจมากครับ คือผมคิดว่าการเป็นผู้นำที่ดีได้นั้นจะต้องสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นต่อลูกน้อง หากลูกน้องขาดศรัทธาในผู้นำแล้ว ผู้นำก็ไม่อาจจะนำไปสู่ความสำเร็จของภารกิจได้ คำถามคือเราจะสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

4. วันนี้ดร.จิระได้ให้ผมได้ลองวิเคราะห์ภาวะผู้นำของ Brown เปรียบเทียบกับ Blair ผมต้องขอติดท่านอาจารย์ไว้ก่อนในครั้งนี้ ผมคงต้องขอเวลาในการค้นคว้าข้อมูลก่อนนะครับ แต่ที่สนใจที่ท่านอาจารย์จิระได้กล่าวถึงคือ กฎ 8 ข้อของ เนลสัน แมนเดลล่า ไม่ทราบว่ามาจากวารสาร TIME ฉบับไหนครับกะจะนำมาศึกษาภาวะผู้นำครับ รบกวนท่านช่วยให้ข้อมูลด้วยครับ

นับถือ

กรธรรม สถิรกุล

เจอบทความเกี่ยวกับ แมนเดลล่าในเว็บของวารสารไทม์ดังข้างล่างนี้ครับ

กรธรรม

Mandela: His 8 Lessons of LeadershipWednesday, Jul. 09, 2008 By RICHARD STENGEL

Nelson Mandela has always felt most at ease around children, and in some ways his greatest deprivation was that he spent 27 years without hearing a baby cry or holding a child's hand. Last month, when I visited Mandela in Johannesburg — a frailer, foggier Mandela than the one I used to know — his first instinct was to spread his arms to my two boys. Within seconds they were hugging the friendly old man who asked them what sports they liked to play and what they'd had for breakfast. While we talked, he held my son Gabriel, whose complicated middle name is Rolihlahla, Nelson Mandela's real first name. He told Gabriel the story of that name, how in Xhosa it translates as "pulling down the branch of a tree" but that its real meaning is "troublemaker."

Photos

As he celebrates his 90th birthday next week, Nelson Mandela has made enough trouble for several lifetimes. He liberated a country from a system of violent prejudice and helped unite white and black, oppressor and oppressed, in a way that had never been done before. In the 1990s I worked with Mandela for almost two years on his autobiography, Long Walk to Freedom. After all that time spent in his company, I felt a terrible sense of withdrawal when the book was done; it was like the sun going out of one's life. We have seen each other occasionally over the years, but I wanted to make what might be a final visit and have my sons meet him one more time.

Mandela is no longer comfortable with inquiries or favors. He's fearful that he may not be able to summon what people expect when they visit a living deity, and vain enough to care that they not think him diminished. But the world has never needed Mandela's gifts — as a tactician, as an activist and, yes, as a politician — more, as he showed again in London on June 25, when he rose to condemn the savagery of Zimbabwe's Robert Mugabe. As we enter the main stretch of a historic presidential campaign in America, there is much that he can teach the two candidates. I've always thought of what you are about to read as Madiba's Rules (Madiba, his clan name, is what everyone close to him calls him), and they are cobbled together from our conversations old and new and from observing him up close and from afar. They are mostly practical. Many of them stem directly from his personal experience. All of them are calibrated to cause the best kind of trouble: the trouble that forces us to ask how we can make the world a better place.

No. 1

Courage is not the absence of fear — it's inspiring others to move beyond it

In 1994, during the presidential-election campaign, Mandela got on a tiny propeller plane to fly down to the killing fields of Natal and give a speech to his Zulu supporters. I agreed to meet him at the airport, where we would continue our work after his speech. When the plane was 20 minutes from landing, one of its engines failed. Some on the plane began to panic. The only thing that calmed them was looking at Mandela, who quietly read his newspaper as if he were a commuter on his morning train to the office. The airport prepared for an emergency landing, and the pilot managed to land the plane safely. When Mandela and I got in the backseat of his bulletproof BMW that would take us to the rally, he turned to me and said, "Man, I was terrified up there!"

Mandela was often afraid during his time underground, during the Rivonia trial that led to his imprisonment, during his time on Robben Island. "Of course I was afraid!" he would tell me later. It would have been irrational, he suggested, not to be. "I can't pretend that I'm brave and that I can beat the whole world." But as a leader, you cannot let people know. "You must put up a front."

And that's precisely what he learned to do: pretend and, through the act of appearing fearless, inspire others. It was a pantomime Mandela perfected on Robben Island, where there was much to fear. Prisoners who were with him said watching Mandela walk across the courtyard, upright and proud, was enough to keep them going for days. He knew that he was a model for others, and that gave him the strength to triumph over his own fear.

No. 2

Lead from the front — but don't leave your base behind

Mandela is cagey. in 1985 he was operated on for an enlarged prostate. When he was returned to prison, he was separated from his colleagues and friends for the first time in 21 years. They protested. But as his longtime friend Ahmed Kathrada recalls, he said to them, "Wait a minute, chaps. Some good may come of this."

The good that came of it was that Mandela on his own launched negotiations with the apartheid government. This was anathema to the African National Congress (ANC). After decades of saying "prisoners cannot negotiate" and after advocating an armed struggle that would bring the government to its knees, he decided that the time was right to begin to talk to his oppressors.

When he initiated his negotiations with the government in 1985, there were many who thought he had lost it. "We thought he was selling out," says Cyril Ramaphosa, then the powerful and fiery leader of the National Union of Mineworkers. "I went to see him to tell him, What are you doing? It was an unbelievable initiative. He took a massive risk."

Mandela launched a campaign to persuade the ANC that his was the correct course. His reputation was on the line. He went to each of his comrades in prison, Kathrada remembers, and explained what he was doing. Slowly and deliberately, he brought them along. "You take your support base along with you," says Ramaphosa, who was secretary-general of the ANC and is now a business mogul. "Once you arrive at the beachhead, then you allow the people to move on. He's not a bubble-gum leader — chew it now and throw it away."

For Mandela, refusing to negotiate was about tactics, not principles. Throughout his life, he has always made that distinction. His unwavering principle — the overthrow of apartheid and the achievement of one man, one vote — was immutable, but almost anything that helped him get to that goal he regarded as a tactic. He is the most pragmatic of idealists.

"He's a historical man," says Ramaphosa. "He was thinking way ahead of us. He has posterity in mind: How will they view what we've done?" Prison gave him the ability to take the long view. It had to; there was no other view possible. He was thinking in terms of not days and weeks but decades. He knew history was on his side, that the result was inevitable; it was just a question of how soon and how it would be achieved. "Things will be better in the long run," he sometimes said. He always played for the long run.

No. 3

Lead from the back — and let others believe they are in front

Mandela loved to reminisce about his boyhood and his lazy afternoons herding cattle. "You know," he would say, "you can only lead them from behind." He would then raise his eyebrows to make sure I got the analogy.

As a boy, Mandela was greatly influenced by Jongintaba, the tribal king who raised him. When Jongintaba had meetings of his court, the men gathered in a circle, and only after all had spoken did the king begin to speak. The chief's job, Mandela said, was not to tell people what to do but to form a consensus. "Don't enter the debate too early," he used to say.

During the time I worked with Mandela, he often called meetings of his kitchen cabinet at his home in Houghton, a lovely old suburb of Johannesburg. He would gather half a dozen men, Ramaphosa, Thabo Mbeki (who is now the South African President) and others around the dining-room table or sometimes in a circle in his driveway. Some of his colleagues would shout at him — to move faster, to be more radical — and Mandela would simply listen. When he finally did speak at those meetings, he slowly and methodically summarized everyone's points of view and then unfurled his own thoughts, subtly steering the decision in the direction he wanted without imposing it. The trick of leadership is allowing yourself to be led too. "It is wise," he said, "to persuade people to do things and make them think it was their own idea."

No. 4

Know your enemy — and learn about his favorite sport

As far back as the 1960s, Mandela began studying Afrikaans, the language of the white South Africans who created apartheid. His comrades in the ANC teased him about it, but he wanted to understand the Afrikaner's worldview; he knew that one day he would be fighting them or negotiating with them, and either way, his destiny was tied to theirs.

This was strategic in two senses: by speaking his opponents' language, he might understand their strengths and weaknesses and formulate tactics accordingly. But he would also be ingratiating himself with his enemy. Everyone from ordinary jailers to P.W. Botha was impressed by Mandela's willingness to speak Afrikaans and his knowledge of Afrikaner history. He even brushed up on his knowledge of rugby, the Afrikaners' beloved sport, so he would be able to compare notes on teams and players.

Mandela understood that blacks and Afrikaners had something fundamental in common: Afrikaners believed themselves to be Africans as deeply as blacks did. He knew, too, that Afrikaners had been the victims of prejudice themselves: the British government and the white English settlers looked down on them. Afrikaners suffered from a cultural inferiority complex almost as much as blacks did.

Mandela was a lawyer, and in prison he helped the warders with their legal problems. They were far less educated and worldly than he, and it was extraordinary to them that a black man was willing and able to help them. These were "the most ruthless and brutal of the apartheid regime's characters," says Allister Sparks, the great South African historian, and he "realized that even the worst and crudest could be negotiated with."

No. 5

Keep your friends close — and your rivals even closer

Many of the guests Mandela invited to the house he built in Qunu were people whom, he intimated to me, he did not wholly trust. He had them to dinner; he called to consult with them; he flattered them and gave them gifts. Mandela is a man of invincible charm — and he has often used that charm to even greater effect on his rivals than on his allies.

On Robben Island, Mandela would always include in his brain trust men he neither liked nor relied on. One person he became close to was Chris Hani, the fiery chief of staff of the ANC's military wing. There were some who thought Hani was conspiring against Mandela, but Mandela cozied up to him. "It wasn't just Hani," says Ramaphosa. "It was also the big industrialists, the mining families, the opposition. He would pick up the phone and call them on their birthdays. He would go to family funerals. He saw it as an opportunity." When Mandela emerged from prison, he famously included his jailers among his friends and put leaders who had kept him in prison in his first Cabinet. Yet I well knew that he despised some of these men.

There were times he washed his hands of people — and times when, like so many people of great charm, he allowed himself to be charmed. Mandela initially developed a quick rapport with South African President F.W. de Klerk, which is why he later felt so betrayed when De Klerk attacked him in public.

Mandela believed that embracing his rivals was a way of controlling them: they were more dangerous on their own than within his circle of influence. He cherished loyalty, but he was never obsessed by it. After all, he used to say, "people act in their own interest." It was simply a fact of human nature, not a flaw or a defect. The flip side of being an optimist — and he is one — is trusting people too much. But Mandela recognized that the way to deal with those he didn't trust was to neutralize them with charm.

No. 6

Appearances matter — and remember to smile

When Mandela was a poor law student in Johannesburg wearing his one threadbare suit, he was taken to see Walter Sisulu. Sisulu was a real estate agent and a young leader of the ANC. Mandela saw a sophisticated and successful black man whom he could emulate. Sisulu saw the future.

Sisulu once told me that his great quest in the 1950s was to turn the ANC into a mass movement; and then one day, he recalled with a smile, "a mass leader walked into my office." Mandela was tall and handsome, an amateur boxer who carried himself with the regal air of a chief's son. And he had a smile that was like the sun coming out on a cloudy day.

We sometimes forget the historical correlation between leadership and physicality. George Washington was the tallest and probably the strongest man in every room he entered. Size and strength have more to do with DNA than with leadership manuals, but Mandela understood how his appearance could advance his cause. As leader of the ANC's underground military wing, he insisted that he be photographed in the proper fatigues and with a beard, and throughout his career he has been concerned about dressing appropriately for his position. George Bizos, his lawyer, remembers that he first met Mandela at an Indian tailor's shop in the 1950s and that Mandela was the first black South African he had ever seen being fitted for a suit. Now Mandela's uniform is a series of exuberant-print shirts that declare him the joyous grandfather of modern Africa.

When Mandela was running for the presidency in 1994, he knew that symbols mattered as much as substance. He was never a great public speaker, and people often tuned out what he was saying after the first few minutes. But it was the iconography that people understood. When he was on a platform, he would always do the toyi-toyi, the township dance that was an emblem of the struggle. But more important was that dazzling, beatific, all-inclusive smile. For white South Africans, the smile symbolized Mandela's lack of bitterness and suggested that he was sympathetic to them. To black voters, it said, I am the happy warrior, and we will triumph. The ubiquitous ANC election poster was simply his smiling face. "The smile," says Ramaphosa, "was the message."

After he emerged from prison, people would say, over and over, It is amazing that he is not bitter. There are a thousand things Nelson Mandela was bitter about, but he knew that more than anything else, he had to project the exact opposite emotion. He always said, "Forget the past" — but I knew he never did.

No. 7

Nothing is black or white

When we began our series of interviews, I would often ask Mandela questions like this one: When you decided to suspend the armed struggle, was it because you realized you did not have the strength to overthrow the government or because you knew you could win over international opinion by choosing nonviolence? He would then give me a curious glance and say, "Why not both?"

I did start asking smarter questions, but the message was clear: Life is never either/or. Decisions are complex, and there are always competing factors. To look for simple explanations is the bias of the human brain, but it doesn't correspond to reality. Nothing is ever as straightforward as it appears.

Mandela is comfortable with contradiction. As a politician, he was a pragmatist who saw the world as infinitely nuanced. Much of this, I believe, came from living as a black man under an apartheid system that offered a daily regimen of excruciating and debilitating moral choices: Do I defer to the white boss to get the job I want and avoid a punishment? Do I carry my pass?

As a statesman, Mandela was uncommonly loyal to Muammar Gaddafi and Fidel Castro. They had helped the ANC when the U.S. still branded Mandela as a terrorist. When I asked him about Gaddafi and Castro, he suggested that Americans tend to see things in black and white, and he would upbraid me for my lack of nuance. Every problem has many causes. While he was indisputably and clearly against apartheid, the causes of apartheid were complex. They were historical, sociological and psychological. Mandela's calculus was always, What is the end that I seek, and what is the most practical way to get there?

No. 8

Quitting is leading too

In 1993, Mandela asked me if I knew of any countries where the minimum voting age was under 18. I did some research and presented him with a rather undistinguished list: Indonesia, Cuba, Nicaragua, North Korea and Iran. He nodded and uttered his highest praise: "Very good, very good." Two weeks later, Mandela went on South African television and proposed that the voting age be lowered to 14. "He tried to sell us the idea," recalls Ramaphosa, "but he was the only [supporter]. And he had to face the reality that it would not win the day. He accepted it with great humility. He doesn't sulk. That was also a lesson in leadership."

Knowing how to abandon a failed idea, task or relationship is often the most difficult kind of decision a leader has to make. In many ways, Mandela's greatest legacy as President of South Africa is the way he chose to leave it. When he was elected in 1994, Mandela probably could have pressed to be President for life — and there were many who felt that in return for his years in prison, that was the least South Africa could do.

In the history of Africa, there have been only a handful of democratically elected leaders who willingly stood down from office. Mandela was determined to set a precedent for all who followed him — not only in South Africa but across the rest of the continent. He would be the anti-Mugabe, the man who gave birth to his country and refused to hold it hostage. "His job was to set the course," says Ramaphosa, "not to steer the ship." He knows that leaders lead as much by what they choose not to do as what they do.

Ultimately, the key to understanding Mandela is those 27 years in prison. The man who walked onto Robben Island in 1964 was emotional, headstrong, easily stung. The man who emerged was balanced and disciplined. He is not and never has been introspective. I often asked him how the man who emerged from prison differed from the willful young man who had entered it. He hated this question. Finally, in exasperation one day, he said, "I came out mature." There is nothing so rare — or so valuable — as a mature man. Happy birthday, Madiba.

สวัสดีทุกท่านค่ะ

มีเพื่อนๆบางคนสนใจแต่พลาดรายการวิทยุของอาจารย์ ดร.จีระ จึงขอสรุปดังนี้ค่ะ

สรุปรายการวิทยุ FM 96.5 MHz คลื่นความคิด ในรายการ Human Talk วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2551 เวลา 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า กับศ.ดร.จีระ

หงส์ลดารมภ์ และคุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ

ดร.จีระคุยกับคุณจีรวัฒน์ว่า ในการฟังวิทยุหรือดูทีวีเรื่องใดที่เข้าใจแล้วให้คิดและเปลี่ยนเป็น value added เช้าวันนี้ดร.จีระยกย่องคุณธงชัย ใจดีที่เป็นข่าวในการแข่งขันกอล์ฟ รายการ Scottish Open ว่าเป็นคนเก่ง อยากให้คนไทยภาคภูมิใจ แต่คนไทยมักให้เวลากับข่าวการเมือง ท่านเล่าว่ากำลังเขียนคอลัมน์ในหนังสือสยามกีฬา เรื่องเรียนรู้จากกีฬากับดร.จีระ โดยพูดถึงความสามารถและความสำเร็จของ Tiger Wood ว่าเก่งเพราะอะไรจะได้เป็นตัวอย่างแก่นักเรียนได้ ดร.จีระได้คุยถึงข่าวการเมือง เรื่องคุณนพดล และคุณยงยุทธ ท่านพูดถึงพฤติกรรมของคนที่ไม่กลัวกฎหมาย โดยกล่าวว่าทรัพยากรมนุษย์ต้องมีคุณภาพด้วย เด็กรุ่นใหม่ๆ คิดแต่จะหาเงินอย่างไร ต้องคิดถึงการคืนกำไรให้ประเทศด้วย และนักการเมืองอย่าคิดแต่พวกพ้อง เอาเปรียบสังคม ท่านกล่าวถึงน้ำมันเชื้อเพลิงในปัจจุบัน และการผลิต E 85 และผลกระทบด้านอาหาร สุดท้ายท่านได้ฝากไว้ในเรื่องคนพันธุ์แท้และการทำงานต่อเนื่อง ยกตัวอย่างโครงการปริญญาเอก ม.ราชภัฎสวนสุนันทา มีผู้เข้าไปใน blog ถึง 1200 ครั้งภายใน 3 อาทิตย์

สุดา นันทวิทยา

เรียนอาจารย์จิระ ที่เคารพ และเพื่อนร่วมรุ่นทุกท่าน

สำหรับสัปดาห์นี้ แน่นอนอยู่แล้วว่าเราได้ความรู้และพลังเพิ่มขึ้นอีก ทั้งด้าน IT การคิดเชิงบวกซึ่งนำหลักพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้อย่างลึกซึ้งโดยเฉพาะนิวรณ์ 5 ให้ข้อคิดที่ดีและทุกคนได้ทบทวนการปฏิบัติตนให้มีความสุข เป็นชีวิตที่อิ่มบุญมากกว่าบาป ส่วนเรื่องการเงินและการบริหารความเสี่ยง เป็นเรื่องใกล้ตัวและได้นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เราได้รู้ในสิ่งที่ควรรู้แต่ไม่รู้มาตั้งนานแล้ว สุดท้ายคือ BOSTON MODEL ทำให้เราได้สำรวจองค์กรอีกครั้ง และมีแนวคิดสำหรับการที่จะปรับองค์กร ค่ะ ตื่นเต้น ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาค่ะ

ดุษฎี (คนเดียวกับผู้ไม่แสดงตนลำดับที่61...ลืมลงชื่อ)

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระ และเพื่อนๆ

เมื่อวานนี้ได้ติดตามชมรายการโทรทัศน์ของอาจารย์ ดร.จีระ ที่ช่อง UBC8 สถานี TNN2 เวลา 22.00น.ทุกวันพุธ รายการ”คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ“ ขอสรุปให้เพื่อนๆ ที่สนใจแต่พลาดรายการค่ะ

ในช่วงแรกเป็นช่วง คิดเพื่อก้าว“ดร.จีระพบคุณพารณ ภาค3” ท่าน ดร.จีระคุยกับท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ในหลายๆเรื่อง ท่านดร.จีระกล่าวว่ายิ่งนานไปท่านพารณยิ่งมีพลังในการให้ความรู้ซึ่งท่านพารณเล่าว่าปัจจุบันท่านดำเนินชีวิตโดยการให้ความรู้เป็นทาน พัฒนาเด็กไทย ท่านพารณเล่าถึงการพัฒนาด้านการศึกษาที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ที่เป็นโรงเรียนของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ และตั้งโรงเรียนโดยใช้งบมูลนิธิศึกษาพัฒน์ มีการพัฒนาการเรียนโดยใช้แนวความคิดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และตัวโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นับเป็นโรงเรียนนวตกรรม ท่านดร.จีระได้แนะนำให้ครูโรงเรียนประถมและอาจารย์มหาวิทยาลัยทำหนังสือขอมาดูงาน ท่านพารณได้คุยต่อถึงการพัฒนาการศึกษาด้านอาชีวะ

สาขาปิโตรเคมี ที่มาตพุต จังหวัดระยอง โดยเป็นการเรียนครึ่งวัน และฝึกงาน ครึ่งวัน เพื่อเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สุดท้ายท่านพารณได้กล่าวถึงการใช้พลังงาน ท่านให้ข้อคิดเห็นว่าไม่ควรไปยุ่งกับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ จะเสียเวลา ให้หันมาใช้พลังงานทางเลือกอื่น ในช่วงที่สอง ช่วงเป็นแนวทาง เป็นการสนทนาของดร.จีระ กับพิธีการร่วม คุณชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ โดยคุยกันในเรื่องข่าวการเมืองกรณีคุณนพดล และคุณ ท่านกล่าวว่านักการเมืองต้องมีคุณธรรมและอุดมการณ์ ถ้ายอมตามพวกมากลากไปจะมีปัญหา และความศรัทธาไม่ได้มาจากตำแหน่งรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามท่านกล่าวว่าต้องเห็นใจคนที่เจ็บปวด เรื่องต่อมาท่าพูดถึงการเปรียบเทียบนักการเมืองหนุ่มระหว่างเมดเวเดฟ โอบามา และคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ช่วงสุดท้ายต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร. จีระเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้ออกข่าวถึงการอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 2 เล่าถึงกิจกรรมและภาพประกอบเป็นการประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์อย่างดียิ่ง หากเรานำส่วนนี้มาผนวกกับรายละเอียดการให้บริการของกรมฯ จะยิ่งสมบูรณ์และประชาสัมพันธ์ได้ดียิ่งขึ้น ต้องฝากคุณธารทิพย์ค่ะ

สุดา นันทวิทยา

ถึงคุณสุดา

ขอขอบคุณครับที่กระจายข้อมูลเกี่ยวกับงานของผมด้านต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบทั้งโทรทัศน์ วิทยุ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายการฯ จะมีคุณค่าและประโยชน์ต่อสาธารณชนครับ

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ถึงคุณกรธรรม

ขอบคุณครับที่เอาแนวคิดของคุณ Nelson Mandela มาบอกเล่าทั้ง 8 เรื่อง ผมชอบแนวคิดของคุณ Mandela มากครับ ซึ่งผมก็ได้เขียนไว้ในบทความแนวหน้า เช่นกัน

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ รุ่น2

ช่วงวันหยุดยาวนี้ ได้เห็นข่าว Birthday ของท่าน Nelson Mandela ในหน้า1 หนังสือพิมพ์ และข่าวโทรทัศน์หลายๆ ช่อง น่าสนใจมาก หลังออกจากคุกที่ติดอยู่ 27 ปี ท่านได้รางวัล Nobel Prize ด้านสันติภาพ และได้เป็นประธานาธิบดีผิวดำ คนแรกของประเทศ South Africa เพื่อนๆ คงได้อ่านแนวตวามคิดของท่านจาก วารสาร Times ที่ดร.กรธรรมคัดลอกมาให้แล้ว แต่ถ้าอยากอ่านบทวิจารณ์แนวคิดของ ท่าน Nelson Mandela ที่ท่านอาจารย์ ดร.จีระ เขียนในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ดิฉันคัดลอกมาให้ด้านล่างค่ะ

บทความของ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ลงหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์ "บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ" ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2551 "8 บทเรียนผู้นำของ Mandela"

"หวังว่าแนวทางการเขียนบทความของผมในหนังสือพิมพ์แนวหน้ายุคใหม่ จะทำให้ท่านผู้อ่านได้รับประโยชน์มากขึ้น ย้ำอีกทีว่า ผมได้เสนอแนวคิดเมื่อ 2 อาทิตย์ ที่แล้ว 2 เรื่อง คือ

- Coaching

- Creativity

ทั้งสองประเด็นเป็นเรื่องสำคัญ Coaching คือ ทักษะที่ผู้นำทุกคนต้องมี คือจะต้อง รู้ปัญหาต่าง ๆ ของลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานในงานที่ทำ และหาทางแก้ไข ปรับปรุง ผู้นำไม่ใช่นั่งและสั่งการ ผู้นำต้องฝึกฝนให้ลูกน้อง หรือ ผู้ร่วมงานไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น

ส่วนเรื่องความคิดสร้างสรรค์ Creativity เป็นเรื่องที่จำเป็นมากเพราะองค์กรไหน ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ และเสนอวิธีการที่จะทำให้องค์กรโดดเด่น และนำไปปฏิบัติ องค์กรเหล่านั้น ก็จะทำงานแบบตัว R เป็นหลัก คือ งาน Routine ประจำวัน เคยทำอย่างไร ก็ทำแบบเดิม Creativity ทำให้คนในองค์กรมีพลัง มี Energy และถ้ามี Energy คนในองค์กรทั้งหมดก็ถูก Energize ขึ้นมา

อาทิตย์นี้มีวันหยุดยาว ผู้อ่านคงจะสบายๆ อยู่บ้าน หรืออยู่กับครอบครัว หรือไปวัดเพื่อแสวงหาคุณธรรม และธรรมะ

ผมจึงขอเสนอแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นของอดีตประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ Mr. Nelson Mandela ซึ่งโลกชื่นชมมาก ช่วงนี้เป็นช่วงที่ Mandela อายุครบ 90 ปี หนังสือ Time เล่มใหม่สุด ได้ลงหน้าปกยกย่อง ฉลอง 90 ปี ของ Mandela ซึ่งได้ให้ Wisdom (ความลึกซึ้ง) อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ท่านได้สะสมมาจวบจนทุกวันนี้ 8 เรื่อง

ในฐานะที่ผมพัฒนาผู้นำอยู่ทุกวัน ได้อ่านแล้ว บอกตัวเองว่า ลึกซึ้งมาก และมาจากประสบการณ์ที่สะสมมานาน เพราะ Mandela มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 เรื่อง

- ช่วงทำงานเริ่มแรกในฐานะนักกฎหมาย มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยคนผิวดำแอฟริกาใต้ให้หลุดพ้นจากการเหยียดผิวของรัฐบาลผิวขาว

- สู้จนต้องเข้าคุก 27 ปี ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่าในช่วง 27 ปี คุณ Mandela มีความมุ่งมั่นที่จะแสวงหา สติและปัญญา อย่างไร

- การเรียนรู้ในช่วงอยู่ในคุก 27 ปี และดำรงชีวิตให้อยู่รอดช่วง 27 ปี แทนการคิดล้างแค้นคนผิวขาว แต่ได้สร้างความปรองดองระหว่างผิวขาวกับผิวดำและเกิดสันติภาพขึ้นอย่างถาวรในประเทศของเขา

ผมว่าแค่ 3 ประเด็นนี้ ก็พอเพียงที่จะให้คนไทยทุกคนได้เข้าใจ และนำไปคิด โดยเฉพาะคนที่บ้าคลั่งอำนาจเงิน และอำนาจการเมือง และคิดว่าผู้นำจะต้องเป็นแบบนั้น

ใน 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ Mandela มีดังต่อไปนี้

1. ความกล้าหาญ ไม่ใช่ ไม่มีความกลัว แต่เป็นความสามารถที่จะจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้ ตัวอย่างของ Mandela ก็คือเห็นความเจ็บปวด ความอดทน ที่อยู่ในคุก 27 ปี ทำให้คนอีกเป็นจำนวนมาก มีความหวัง ผมชอบมุมมองแบบนี้ เพราะแปลว่า ความกล้าหาญ ไม่ใช่แค่ เป็นทหารกล้าตาย แต่กล้าที่จุดประกายและเป็น Role Model ให้คนอื่น ๆ เป็นเลิศ

2. การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ก็จำเป็น แต่อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ ซึ่งจุดนี้ดีมาก คือ ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับ และไม่ประมาท

3. การนำอยู่ข้างหลัง จะต้องแน่ใจว่า คนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจ และสมศักดิ์ศรี อย่างเช่น การเมืองไทยยุคปัจจุบัน คุณทักษิณ คุณเนวิน อยู่เบื้องหลัง คนที่อยู่ข้างหน้าแทนทั้งสองท่าน ต้องสร้างความรู้สึกว่าเขานำจริง ไม่ใช่ทำแบบ "นอมินี"

4. ข้อนี้ ผมชอบ ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักเขาดีว่า เขาชอบอะไร คุณ Mandela เน้นว่า จะศึกษาศัตรูให้ดี ต้องรู้ว่า เขาบ้าคลั่งกีฬาอะไร ผมกำลังเริ่มเขียนบทความ "เรียนรู้กีฬา กับ ดร.จีระ" ในหนังสือพิมพ์สยามกีฬาทุกวันพุธ ประจวบเหมาะเลยว่า ต้องศึกษาคู่ต่อสู้ว่า "เขาชอบกีฬาอะไร" อย่างใครที่อยากรู้จักผมลึก ๆ ต้องรู้ว่าผมบ้าทีมสเปอร์ส ใครจะพูดเรื่องแมนยูฯ หรือ ลิเวอร์พูล ผมก็เฉย ๆ

5. การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อนแน่นอน แต่กับคู่แข่ง หรือคนที่เราไม่ชอบ ต้องใกล้ชิดมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ชีวิตคนเราจะคบแต่คนสนิท และคนที่ชอบพอ และไม่สนใจคู่แข่งหรือศัตรูไม่ได้ แนวทางแบบนี้ น่าจะใช้ในวงการธุรกิจ วงการบันเทิง วงการกีฬา และวงการการเมืองได้ดี

6. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ เวลาพบผู้คน ต้องยิ้ม และมีความเป็นกันเอง ซึ่งปัจจุบันคนให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ บางองค์กร มีหลักสูตร พัฒนาบุคลิกภาพ หรือ การสอนให้เข้าสังคม หรือ มารยาทในการรับประทานอาหารหรือการแต่งตัวที่เหมาะสม ผมเรียกผู้นำแบบนี้ว่า "Charismatic Leadership" ตัวอย่างที่ดีก็คือ ประธานาธิบดี John F. Kennedy

7. การเป็นผู้นำแนว Mandela อย่าไปเน้น ถูกหรือผิด แบบ 100% หรืออย่าไปเน้น ขาวหรือดำ 100% บางครั้ง เราต้องมีทางออกที่พบกันครึ่งทาง มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win - Win

8. การเป็นผู้นำที่ดี ต้องรู้ว่าจังหวะไหน จะ "พอ" หรือ จะ "ถอย" ตัวอย่างก็คือ คุณจำลอง กับคุณทักษิณ ดูว่า ผู้นำทั้งคู่ว่า จุดใดที่ชนะแล้ว ควรถอย การถอย ไม่ได้แปลว่า แพ้ อย่างในประวัติศาสตร์การเมืองจะเห็นว่า จอมพล ป. อยู่ไม่ได้ เพราะไม่รู้จักพอ นายกฯเปรม ได้เป็นรัฐบุรุษ เพราะนายกฯ เปรม รู้จักพอ คุณทักษิณ น่าจะอ่าน Time Magazine เล่มหน้าปก Mandela อ่านแล้วต้องเข้าใจและเริ่มเรียนรู้ว่า มนุษย์ทุกคนต้องเรียนรู้ หากคิดว่าสิ่งที่เราคิดต้องถูกเสมอ เพราะเชื่อคนใกล้ชิดเสนอแนะอะไรที่คิดว่าเราชอบ หรือพอใจ ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์แบบ 360 องศา (รอบด้าน) เพื่อปรับวิธีคิดและวิธีการทำงาน

ผมจึงขอฝากแนวคิดของ Mandela ไว้ให้ทุกๆ ท่านได้นำไปคิด แต่อย่า Copy ต้องเข้าใจ understanding ว่า Mandela มาถึงจุดนี้เพราะอะไร และสร้าง Value (คุณค่า) ให้เกิดขึ้นในแต่ละท่าน คือ นำไปสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่ใครจะทำได้แค่ไหน ก็อยู่ที่ความคิด และทัศนคติ และคุณค่า (Value) ที่ทุกๆ คนมองว่าคุณค่าของการเป็นมนุษย์ที่ดีคืออะไร ในเมืองไทยผู้นำหลายๆ คนต้องกลับไปศึกษาทฤษฎีของ Maslow ด้วย ซึ่งเน้นสุดยอดของมนุษย์ คือ ตอนตาย ใครจะพูดถึงเขาหรือไม่ และพูดว่าอะไร ?"

สิ่งที่ดิฉันทึ่งมากคือ ในภาวะที่ท่าน Mandela ต้องอยู่ในคุกนานถึง 27 ปี ซึ่งน่าจะเป็นภาวะที่ต่ำสุดๆ ของมนุษย์แล้ว แต่ท่านยังมีพลังที่จะทำสิ่งดีๆ ได้ตลอดเวลา จนท่านได้รางวัล Nobel Prize ดังนั้นหลายๆ ท่านที่บ่นท้อแท้กับภาวะที่เป็นอยู่และอุปสรรคต่างๆ ต้องดูท่าน Mandela เป็นตัวอย่างและมีเรียกพลังเดินหน้าต่อได้แล้วค่ะ

สุดา นันทวิทยา

เรียนอาจารย์จีระและผู้ร่วมเรียนรู้ภาวะผู้นำรุ่นที่ 2 ทุกท่าน

ผมอ่านประเด็นความเป็นผู้นำ 8 ข้อของท่าน Nelson Mandela แล้ว มีประโยชน์มาก สามารถนำไปใช้ได้จริงในทุกสถานการณ์ ดีใจที่ได้รู้เรื่องของท่านในขณะนี้ เมื่อท่านมีอายุ 90 ปี ขอให้ท่านยืนหยัดต่อไปเพื่อเป็นพลังให้ประชาชนชาวโลก

้Happy birthday to Nelson Mandela, wishing you healthy brave and strong for energizing people of the world.

มองดูท่านแล้วก็ย้อนดูเรา ผมขอร่วมให้ความคิดเห็นในการเป็นผู้นำเพื่อทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

1.เริ่มจากพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความคิดบวก คิดสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้

2.สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎี 4L

3.วางแผนกลยุทธ์ สร้างวิสัยทัศน์ว่าองค์กรจะเป็นอะไร แบบใด ใช้หลัก 2R มองความจริงและตรงประเด็น

4.บริหารจัดการตามแผนที่วางไว้ ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ต้องมองภาพ macro แล้วค่อยลงไปสู่ micro ได้แก่

- บริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ (HRM)

- บริหารจัดการด้านเทคโนโลยี และการสื่อสาร (ICT Management)

- บริหารจัดการด้านการเงิน (Financial Management)

5.นำไปสู่ goal ที่ตั้งไว้

6. สร้าง brand ให้ติดตลาด

และทำอย่างต่อเนื่องจะทำให้องค์กรเราประสบความสำเร็จ

เกรียงไกร

วินัต สุนทรวุฒิคุณ

เรียน ท่านอาจารย์ จีระ ที่เคารพ และเพื่อนๆ รุ่น2 ที่รักทุกท่าน

"คนที่สามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ จะต้องทั้งเก่งทั้งดี ไม่ใช่เก่งอย่างเดียว อาจพาเข้ารกเข้าพงหรือโกงบริษัท เพราะใช้ความเก่งในทางที่ไม่ถูก หรือดีอย่างเดียวซึ่งก็จะไม่ทันคนอื่ยเขา"

อยากให้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้อ่าน "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ของท่าน พารณ และท่านอาจารย์ จีระ เปิดอ่านดูจะได้แนวคิดที่เป็นหลักการที่มีคุณค่ายิ่ง

และท่าน พารณ ได้ศึกษา และสรุปออกมา 4 ข้อ คือ "เก่ง 4 ดี 4"

เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน

"เก่งดิด" ท่านอาจารย์ จีระกล่าวว่า "เก่งคิดนี่สำคัญนะ คนไทยไม่ค่อยคิด"

ดี 4 ได้แก่ "ประพฤติดี มีนำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม"

เพื่อนๆลองเปิดอ่านแล้วนำแนวคิดซึ่งทรงคุณค่ายิ่งของท่านอาจารย์ทั้งสอง มาเล่าสู่กันฟังนะครับ

สวัสดี

วินัต สุนทรวุฒิคุณ

สวัสดีครับคุณสุดา

ขอขอบคุณที่นำบทความที่ผมเขียนเกี่ยวกับ 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela” มาเผยแพร่ต่อให้เพื่อน ๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน ผมก็ขอให้คุณสุดาช่วยกระตุ้นให้เพื่อน ๆ ในห้องสนใจและใช้ Blog ให้เป็นประโยชน์ และนำไปสร้างให้เกิดเป็นมูลค่าเพิ่มกันต่อไป

เวลาที่เรียนรู้ร่วมกันของพวกเรา รุ่น 2 ผ่านไปเร็วมาก และในวันอังคารที่จะถึงนี้ผมต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้ไปร่วมกับพวกเรา เนื่องจากติดภารกิจซึ่งทางกระทรวง I.C.T. เชิญผ่านอธิบดีกรมอุตุฯ ซึ่งท่านเป็นแนวร่วมของผมจึงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ก็เลยมอบหมายให้คุณภักดิพรทำหน้าที่แทน แต่ในหัวข้อที่เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 Habits นั้น ทั้งคุณประกาย และคุณพจนารถก็มีความรู้และประสบการณ์มาที่จะมาแลกเปลี่ยนกับพวกเรา ก็ขอให้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ทั้งกับตนเองและองค์กรดู ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย และถ้ามีประเด็นดี ๆ ก็อย่าลืมนำมาแลกเปลี่ยนกันที่นี่นะครับ

 

จีระ หงส์ลดารมภ์

 

วินัต สุนทรวุฒิคุณ

เรียน ท่านอาจารย์ จีระและเพื่อนๆทุกท่าน

ขอขอบพระคุณ ท่านประธานรุ่น2(คุณสุดา)และดร.กรธรรม ที่ได้นำบทความสาระต่างๆทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษาไทย นำมาลงใน Blog ให้สมาชิกรุ่น2 ได้อ่านกันเต็มๆ ทันต่อเหตุการณ์ ไม่มีใครตกข่าว

ขอบพระคุณท่านผู้นำทั้งสองมากๆๆๆๆๆ ครับ

วินัต สุนทรวุฒิคุณ

ได้อะไรจากการเรียนในสองสัปดาห์ นอกจากการมีเพื่อนมากขึ้น?

- การเป็นผู้นำที่ดี นอกจากมีความรู้ ความสามารถแล้ว ยังต้องต้องอาศัยทักษะในการสร้างทีมเวิร์ค และการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานมีแนวคิด เป้าหมาย และความรู้สึกร่วมกันในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

การคิดเชิงบวกทำให้คนเราทำงานอย่างมีความสุข คำสอนของพระพุทธองค์เป็นความจริงนิรันดร์ แต่ก็ต้องรู้เท่าทันIT นะจ๊ะเพื่อนๆจะได้ไม่ตกยุคและช้าเป็นเต่า ขอให้เพื่อนๆมีความสุขกับทุกๆวันของชีวิตนะ

สวัสดีค่ะ

ดุษฎี

นายธีระชัย รัตนโรจน์มงคล

สวัสดีครับท่านอาจารย์จิระ และพี่ๆเพื่อนๆผู้เข้าอบรมฯ

ความจริงผมลงข้อความใน blog ไปแล้วแต่ก็หาไม่เจอ มันเป็นยังไงกัน

แต่การที่ได้มาเรียน ถือเป็นสิ่งที่ดี ได้แนวคิดในการปฏฺบัติงาน ข้อสำคัญ ใจเย็นขึ้น

ไม่มีวิชาการเลยสำหรับครั้งนี้ เพียงแต่ขอลง blog และจะเหมือนคราวที่แล้วไม๊

สวัสดีครับท่านอาจารย์จีระและเพื่อนสมาชิกรุ่นที่ 2 ผมเคยส่งข้อความครั้งที่ 2 เมื่อสัปดาห์ที่ 2 หายไปเหมือนกับตุณธีระชัย ครับ วันนี้ผมขอ Share เรื่องการสร้าง Network สักเล็กน้อยนะครับ ราว 5 ปีที่แล้ว พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ริเริ่มโครงการนิทรรศการไฟฟ้าไทย โดยแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายองค์กรและสถาบันเป็นอนุกรรมการ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาวิชาการและรูปแบบของการจัดแสดงนิทรรศการแล้ว ยังรวมถึงการขอความอนุเคราะห์ Objects หรือ Collections ที่ต้องนำมาใช้ประกอบการจัดแสดง เหตุนี้ทำให้ อพ. ได้รับ Runner หรือกังหันน้ำชุดแรก (พ.ศ. 2508) น้ำหนัก 40 ตัน จากเขื่อนภูมิพล และชุดสาธิต High Voltage มูลค่าหลายล้านบาท จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันนี้จะเรียกว่าเป็นเทคนิค 2R’s คือ Reality และ Relevance รวมทั้งการสร้าง Network เพื่อความสำเร็จของงานและความร่วมมือที่เกิดขึ้นในอนาคตได้หรือไม่ครับ เพราะว่าในอีก 3 ปี ต่อมา ทาง EGAT ได้มอบงบประมาณ 4 ล้านบาท เพื่อให้ อพ. Renovate นิทรรศการชุดนี้ให้ดูทันสมัย และเนื้อหาให้ตรงประเด็นมากขึ้น ประเด็นที่ว่านี้คือ การอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน รวมทั้ง Green Technology ที่จะมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเราต้องใช้ Creativity, New Ideas และ Knowledge เพื่อสร้าง Innovation หรือตัวอย่างของ อพ. คือนิทรรศการใหม่ๆ หรือที่เราต้องปรับปรุงใหม่ เพื่อให้ดูมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ขอบคุณครับ สุวรงค์ วงษ์ศิริ

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.จีระ และผู้ร่วมโครงการฯ รุ่นที่ 2

เข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ของโครงการแล้ว ดิฉันได้เรียนรู้จากโครงการนี้เพิ่มขึ้นมากมาย จากพื้นฐานเดิมที่ไม่ค่อยมีความรู้ในด้านนี้นัก เพราะโดยทั่วไปนอกจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานแล้วจะอ่าน/ศึกษาในด้านพุทธศาสนาเป็นหลัก ดิฉันขอแชร์ความรู้ใน Blog ในส่วนของการนำหลักการด้านพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และองค์กร/สังคม ให้ไปสู่ความสำเร็จและสันติสุข ได้ดังนี้

1. หลักการครองตน อาทิ :

- ศีล 5 (ควรยกให้ถึงกุศลกรรมบท 10 อันประกอบด้วย กายสุจริต 3

วจีสุจริต 4 มโนสุจริต 3)

- หิริโอตตัปปธรรม (ความละอายและเกรงกลัวต่อความประพฤติชั่ว)

- สัมมัปปธาน 4 (รักษาความดีที่มีอยู่/สร้างความดีที่ยังไม่มี/ละความไม่ดี/

ระวังความไม่ดีไม่ให้เข้ามาในชีวิต)

2. หลักการครองคน อาทิ :

- พรหมวิหาร 4 (เมตตา/กรุณา/มุทิตา/อุเบกขา)

- สังคหวัตถุ 4 (ทาน/ปิยวาจา/อัตถจริยา/สมานัตตา)

- ไม่ให้อคติ 4 ครอบงำ (ฉันทาคติ-ลำเอียงเพราะรัก/โทสาคติ-ลำเอียง

เพราะชัง/โมหาคติ-ลำเอียงเพราะหลง/ภยาคติ-ลำเอียงเพราะกลัว)

3. หลักการครองงาน อาทิ :

- อิทธิบาท 4 (ฉันทะ/วิริยะ/จิตตะ/วิมังสา)

- อินทรีย์ 5 (ศรัทธาเสมอกับปัญญา/วิริยะเสมอกับสมาธิ/มีสตินำ)-->

พละ 5 เมื่อองค์ธรรมทั้ง 5 มีกำลังมากขึ้น)

4. เมื่อมีปัญหาหรือมีทุกข์ ใช้หลัก :

- อริยสัจ 4

- ไตรลักษณ์

---------------------------------

ดิฉันได้อ่านหนังสือ "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" และประทับใจแนวคิดต่าง ๆ

ในหนังสือ เช่น

- การพัฒนาเป็นการลงทุนที่ไม่ใช่ต้นทุน (หน้า 29)

- ใครหลงยึดติดกับความเก่งของตัวเอง ผมว่าอันตราย...ชีวิตผมวันนี้มีแต่คำว่าไม่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้ (หน้า 47-48)

- การสอนให้คนรู้หนังสือ รู้ในเรื่องศาสตร์ต่าง ๆ เป็น educated person นั้นสำคัญก็จริง แต่การทำให้คนมี educated mind สำคัญกว่า (หน้า 103)

- ทุกอย่างในโลกนี้ดีไม่ได้ ถ้าคนไม่ดี (หน้า 116)

ขอบคุณค่ะ

ดาเรศ บรรเทิงจิตร

ดาเรศ บรรเทิงจิตร (กลุ่ม 1)

สัปดาห์ 3

-ICT เป็นปัจจัยสำคัญต่อทุกเรื่อง ตั้งแต่การศึกษาเรียนรู้ จนถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เราสามารถใช้ ICT สร้างมูลค่าเพิ่มในด้านต่าง ๆ ได้

-ความสำเร็จของมนุษย์ขึ้นกับความคิดมากกว่าความรู้ โดยต้องคิดอย่างCreative และ Positive หรือ เรียกว่า eresitive

-รู้จักเรื่องของการเงิน การลงทุน และการบริหารความเสี่ยง

-การวิเคราะห์และจัดทำกลยุทธ์แบบ Boston Model และการประยุกต์ใช้ BCG Matrix กับหน่วยงาน

วินัต สุนทรวุฒิคุณ

เรียน ท่านอาจารย์ จีระที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกท่าน

วันที่ 22 ก.ค.51 ช่วงเช้าได้เรียนเรื่อง 7HABITS OF HIGHLY EFFECTIVE PEOPLE จากท่านอาจารย์ ประกาย และ ท่านอาจารย์ พจนาถร เนื่องจากหลักสูตรนี้มีเวลาจำกัด ทำให้การเรียนรู้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกงงๆ กลับมาถึงที่ทำงานรึบเปิดเนตดู พบหลากหลายบทสรุปที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น จึงนำมาลงใน Blog ให้เพื่อนๆได้อ่านโดยทั่วกัน

อุปนิสัย 7 ประการของผู้มีประสิทธิผลสูง

1.1 การพัฒนาอุปนิสัย (Developing Habits:

ประกอบด้วย 3 สิ่งคือ : Knowledge / Skill / Desire (ความอยาก) สิ่งที่ยากในการพัฒนาอุปนิสัย คือการสร้างความอยากที่จะทำ

1.2 คุณลักษณะ (Character) / บุคลิกภาพ (Personality)

- Character : เป็นสิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งมองไม่เห็น เช่น ความเป็นคนมี Service mind , ความเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (ความเป็นคนดี)

- บุคลิกภาพ : เป็นสิ่งที่มองเห็นจากภายนอก เป็นภาพพจน์ ความรู้ความสามารถ (ความเป็นคนเก่ง)

แม้ว่าภาพพจน์ เทคนิค และ ทักษะ สามารถส่งผลให้เกิดความสำเร็จภายนอกก็ตาม แต่น้ำหนักของความมีประสิทธิผลที่แท้จริงจะอยู่ใน คุณลักษณะที่ดี (ไม่ฝืนธรรมชาติ)

1.3 Four Levels of Leadership (4 ระดับแห่งภาวะผู้นำ)

- Personal Trustworthiness

- Interpersonal Trust

- Managerial Empowerment

- Organizational Alignment

การสร้าง Leadership ต้องเริ่มที่ การสร้างความไว้วางใจในตัวบุคคลเองก่อน ซึ่งการที่จะสร้างความไว้วางใจได้ ต้องประกอบด้วย Character และ Competence ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความสมดุล ก็จะมีภาพที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความไว้วางใจ และ จะนำไปสู่ การไว้วางใจระหว่างบุคคล (Interpersonal Trust) และเมื่อเรามีความไว้วางใจกันระหว่างบุคคล ก็สามารถมอบหมายอำนาจในการบริหารให้ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนนั้นได้ และ เมื่อมีการกกระจายอำนาจ และทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน ก็จะเกิดผลในการบริหารงานขององค์กรที่มีประสิทธิผล ต่อไป

สำหรับหลักสูตร The 7 Habits เป็นการสอนให้เกิดในเรื่องของการสร้าง Level ที่ 1 และ 2 คือเป็นการสร้างให้เกิดความไว้วางใจในตัวบุคคล และนำไปสู่ความไว้วางใจต่อกันกับผู้อื่น ซึ่งประเด็นนี้ จะเห็นได้ว่า คำว่า Empowerment จะต้องมีการพัฒนาผู้ความรู้ความสามารถของคนที่จะมารับมอบอำนาจก่อน การกระจายอำนาจจึงจะเกิดประโยชน์แก่องค์กร และเมื่อคนที่รับมอบอำนาจมีความสามารถและไว้วางใจได้ ก็จะเกิดการพัฒนาความคิดในการทำงาน ไม่ใช้ทำงานเฉพาะตาม Job ที่ได้รับมอบหมาย

1.4 วงจรวุฒิภาวะ (The Maturity Contunuum) : เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง 7 อุปนิสัย โดยแบ่งเป็น

ชัยชนะส่วนตน (Private Victory) ประกอบด้วย 3 อุปนิสัย ;

1 Be Proactive

2 Begin with the end in Mind (เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ)

3 Put First Things First (ทำสิ่งทีสำคัญก่อน)

ถ้าเราสามารถฝึก 3 อุปนิสัยแรกทั้ง 3ได้ จะทำให้นำไปสู่ การที่เราสามารถพึงพาตนเองได้ (Independence) และหลุดพ้นจากการพึ่งพาผู้อื่น (Dependence) เป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ ซึ่งทั้ง 3 นิสัยดังกล่าว เป็นการเรียนรู้การฝึกตนเอง เพื่อให้เกิดการสร้างวินัยให้ตนเอง

ชัยชนะในสังคม (Public Victory) ประกอบด้วย 3 อุปนิสัย :

4 Think Win-Win (คิดแบบ ชนะ-ชนะ)

5 Seek First to Understand Then to Be Understood (เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา)

6 Synergie (ผนึกพลังประสานความต่าง)

เมื่อเรามีความน่าไว้วางใจและสามารถพึงพาตนเองได้ (dependence) และ มีการฝึกฝนอุปนิสัยที่ 4-6 จะนำไปสู่ความไว้วางใจระหว่างบุคคลและเกิดการพึงพาซึ่งกันและกัน (Interdependence) และจะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุคคลที่ยืนยาว

การฝึกฝน โดยใช้อุปนิสัยสุดท้าย

7 Sharpen the Saw (ลับเลื่อยให้คม)

สำหรับอุปนิสัยที่ 7 เป็นการฝึกฝนในการปฏิบัติอุปนิสัยทั้ง 6 อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ไม่มีใครที่จะสามารถฝึกให้บรรลุ อุปนิสัยทั้ง 7 ได้ตลอดเวลา จะมีการกลับไปกลับมาของนิสัยเสมอ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอก แต่ถ้ามีการฝึกฝนอยู่เสมอ การเบี่ยงเบนของอุปนิสัย ต่อสิ่งเร้าก็จะเกิดขึ้นน้อย

1.5 Three-Person Teaching : เป็นหลักที่น่าสนใจและนำมาปฏิบัติในองค์กร กล่าวคือ การเรียนรู้สิ่งใดให้เกิดความเข้าใจ ในขณะเรียน จะต้องสมมุติเสมอว่า เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องนำสิ่งที่เราเรียนรู้หรือเข้าใจไปสอนต่อให้ผู้อื่น / และในทางปฏิบัติ มีหลักในการปฏิบัติดังนี้

- Capture : จับประเด็นแนวคิดพื้นฐาน

- Expand : เพิ่มประสบการณ์ หรือความรู้ของตนเองเข้าไป เพื่อเพิ่มความเข้าใจ

- Apply : การนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน และถ่ายทอดตัวอย่างต่างๆ ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้

1.6 Basic Change Model : (แบบจำลองพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง)

- See : what we see drive what we do / การมองที่แตกต่างกัน ของแต่ละคน ทำให้เกิดการกระทำ (Do) ที่แตกต่างกัน

- DO : เป็นการกระทำที่เกิดจากการมอง

- GET : ผลที่ได้จากการกระทำ / ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการมองและทัศนะคติใหม่ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยน พฤติกรรม

1.7 องค์ประกอบพื้นฐานของอุปนิสัยทั้ง 7

- Principle (หลักการ) : กฎธรรมชาติหรือความจริงขั้นพื้นฐานอยู่ภายนอกตัวเรา ซึ่งมาคู่กับคำว่า ค่านิยม (Value) ซึ่งเป็นความเชื่อหรืออุคมคติที่เราเลือกขึ้นเอง ซึ่งสิ่งสำคัญในการพัฒนาอุปนิสัยที่ดี ต้องเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นค่านิยมที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ (Value บางอย่างเป็น Principle บางอย่างไม่เป็น )

- Paradigms (กรอบความคิด) : เป็นตัวที่ทำให้คนเรามองสิ่งเดียวกันแตกต่างกัน ถ้าเราเปลี่ยนกรอบความคิดจะนำไปสู่การมองที่แตกต่างไป ในวงจร See / Do / Get และมีคำกล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกือบทุกครั้งทางวิทยาศาสตร์ ก่อนอื่นต้องเป็นการฉีกออกจากแนวเดิม วิธีการคิดแบบเดิมๆ หรือ กรอบความคิดแบบเก่านั่นเอง" นอกจากนี้ในเรื่องของกรอบความคิดจะมีอิฐธิพลพลมาจาก กระจกเงาสังคม (The Social Mirror) ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจากความทรงจำของการที่ผู้อื่นมองเห็นเราอย่างไร และ ความเชื้อที่กลายเป็นความจริง (Self-Fulfilling Prophecy) เช่น การทีเราคิดว่าคนๆหนึ่งไม่มีความสามารถ เราจะคอยช่วยเหลือเขาและคอยปกป้องเขามากเกินควร ด้วยความกลัวว่าเขาจะล้มเหลว ทำให้ขาดการให้โอกาสที่จะให้เขาทำอะไรด้วยตนเอง

- Processes (กระบวนการ) ชุดของกิจกรรมทางความคิดหรือกายภาพซึ่งเชื่อมโยงกัน

1.8 ความสมดุลของ Production (P) และ Production Capability (PC) : เราจะต้องรักษาสมดุลระหว่าง P/PC เช่น ดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีสภาพดี จึงจะสามารถให้ ผลผลิตที่ดีได้ และคำว่า PC รวมไปถึงบุคลากรในองค์กรด้วยซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กร

1.9 The Emotional Bank Account (บัญชีออมใจ) / เป็นการเปรียบเทียบสำหรับปริมาณของความไว้วางใจที่คนอื่นมีต่อเรา ซึง การกระทำของเรา มีผลกับ การฝาก หรือ ถอน ความมั่นใจในตัวเรา ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องทำเสอม คือ การเติมบัญชีออมใจของเรากับ เพื่อนๆ หรือบุคคลรอบข้างของเรา

2. The 7 Habits (อุปนิสัย 7 อย่าง)

อุปนิสัยที่ 1 Be Proactive ( Individuals are responsible for their own choices and have the freedom to choose.)

- ตอบสนองตามค่านิยม โดยไม่ยอมให้ อิทธิพลภายนอก (อารมณ์ ความรู้สึก หรือ สภาวการณ์) มาควบคุมการตอบสนองของตน

- รับผิดชอบต่อ พฤติกรรมของตนเอง (ทุกคนมีอิสระในการเลือกที่จะทำอะไร แต่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตามมาจากสิ่งที่เราเลือก)

- มุ่งเน้นที่ Circle of Influence (หาทางแก้ไขปัญหาเพื่อกำจัดความกังวล หรือ ไม่มองหรือคิดกังวลแต่เรื่องปัญหา) และถ้าฝึกไปเรื่อยๆ จะนำไปสู่ระดับ ให้อภัยต่อผู้อื่น (Transition Figure)

อุปนิสัยที่ 2 Begin with the End in Mind (Mental creation precedes physical creation)

- การเริ่มต้นที่จุดมุ่งหมายในใจ คือ การสร้างหรือวางแผน การออกแบบ และ วางโครงร่างสำหรับสิ่งที่เราต้องการจะเป็น ก่อน โดยคิดหลายๆ ทางเลือก และ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดในใจก่อน แล้วค่อยนำความคิดนั้นมาปฏิบัติ ให้เกิดผล ตามความคิดหรือสิ่งที่เราคาดหวังไว้

- การฝึกฝน อุปนิสัยที่ 2 นี้ ต้องเริ่มต้นที่ ต้องตั้ง Personal Mission ก่อน แล้ว จาก Personal Mission ค่อยๆ แตกมาเป็น Activity ย่อยๆ ในการทำอะไรในแต่ละช่วงของชีวิต และ ทบทวนสิ่งที่เรากระทำว่า support หรือ เป็นไปตาม Mission ที่เราอยากได้ หรือ อยากเป็น หรือไม่

- นิสัยข้อนี้เป็นการสร้าง ความปรารถนา และแรงจูงใจ ให้ทำในสิ่งที่เราควรจะทำ แต่เรามัก ผลัดวันกับตัวเอง เสมอ

อุปนิสัยที่ 3 Put First Things First (Effectiveness requires balancing important relationships, roles, and activities.)

- อุปนิสัยนี้เป็นการฝึก การบริหารเวลา โดยต้องจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยจะโยงมาจาก Personal Mission คือทำในสิ่งที่ support mission

- ใช้หลักในการแบ่ง สิ่งที่ต้องทำออกเป็น 4 ส่วนคือ

I. สำคัญ และ เร่งด่วน (Emergency Job)

II. สำคัญ แต่ ไม่เร่งด่วน (Planing Job) ถ้า Plan ไม่ดี จะกลายไปเป็น ข้อ I

III. ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Yes Man คือ ใครชวนทำอะไร ทำหมด)

IV. ไม่สำคัญ และ ไม่เร่งด่วน (สิ่งบันเทิง ที่เกินความจำเป็นในชีวิต ) ต้องเลิกทำ

- สรุป คือต้องเลือกทำในข้อ I & II และ พยายามอย่าปล่อยให้ ข้อ II กลายมาเป็นข้อ I (Try to Keep Schedule)

อุปนิสัยที่ 4 Think Win-Win (Effective long-term relationships require mutual benefit)

- แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน

- ให้ความร่วมมือ ไม่ใช่แข่งขันชิงดีกัน

- เน้นการฟัง ใช้เวลาในการสื่อสารกันให้ยาวนานขึ้น และ พูดคุยกันด้วยความกล้าแสดงออก

- จุดประสงค์ ของ การฝึกนิสัยที่ 4 คือ การสร้าง ความเชื่อซึ่งกันและกัน (Interpersonal Thrust )

อุปนิสัยที่ 5 Seek First to Understand , Then to Be Understood (การวินิจฉัยโรคต้องมาก่อนการจ่ายยา ความเข้าใจได้มาจากการฟัง)

- อุปนิสัยนี้ เป็นการฝึก การฟัง โดยพยายามให้เป็นการฟังแบบ เข้าอกเข้าใจกัน

- มักจะพบว่าในองค์กร มีคนที่มักจะ ตัดสินใจ หรือ ออกคำสั่ง โดยยังไม่ได้ ทำความเข้าใจกับ สิ่ง ที่ผู้สื่อสาร ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ เพื่อนร่วมงาน ต้องการให้เราเข้าใจ

อุปนิสัยที่ 6 Synergize (ผลรวมที่ได้รับทั้งหมดมีค่ามากกว่าการเอา แต่ละส่วนมาร่วมกัน)

- ถ้าเราสามารถ ฝึก อุปนิสัยที่ 4 และ 5 ผ่านแล้ว จะทำให้เราสามารถ ผนึกพลังแนวความคิด ที่แตกต่างของแต่ละคน มาช่วยกันเป็นจุดเสริม เป็นทางเลือกใหม่ ทีมีประสิทธิผลมากขึ้น

- ผลรวมทั้งปวงจะมากกว่าการเอาแต่ละส่วนประกอบมาบวกกัน เช่น การเกิด Synergize ไม่ใช้การหารือร่วมกันเพื่อเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งของแต่ละคน แต่เป็นการนำ ข้อดีของแนวทางของแต่ละคน มารวมกันเป็นทางเลือกใหม่ ให้มีประสิทธิผลการขึ้น กว่าการนำแนวทางของแต่ละคนมารวมกัน

อุปนิสัยที่ 7 Sharpen the Saw (Production (results) requires development of Production Capability (resources) )

- เป็นการฝึกฝนอุปนิสัยทั้ง 6 ให้คมอยู่เสมอ โดยแบ่งเป็น

การฝึกฝน ด้านกายภาพ (ทำร่างกายให้สมบูรณ์)

การฝึกฝน ด้านสติปัญญา (อ่าน หนังสือ หาความรู้ใหม่อยู่เสมอ)

การฝึกฝน ด้านจิตวิญญาณ ( ทำสมาธิ หรือ การใช้เวลากับธรรมชาติ)

การฝึกฝน ด้านสังคม / อารมณ์ (เพิ่มบัญชีเงินฝาก ใน บัญชีออมใจ กับ คนรอบๆ ข้างเรา เป็นประจำ)

อ่านจบแล้วเจอกันพรุ่งนี้นะครับ

วินัต สุนทรวุฒิคุณ

ข้างล่างนี้เป็น blog ที่ผมได้ส่งไปใน blog เรืยนรู้จากกีฬากับ ดร.จิระ สยามกีฬาครับ

สวัสดีครับดร.จิระ และสวัสดีชาว blog นี้ทุกท่าน

ผมเป็นคนหนึ่งครับที่ชอบเล่นกีฬา และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเราสามารถเรียนรู้หลักในการดำเนินชีวิต ส่วนตัวและการงานได้จากการเล่นกีฬาครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ เรื่องของความอดทน ฝึกฝนมุ่งมั่น เรื่องของกลยุทธในการเอาชนะในการแข่งขัน เรื่องของการทำงานเขาขากันเป็นทีม เรื่องของการให้อภัยกันหากเกิดความผิดพลาดในการแข่งขัน แม้ในเรื่องการทำใจให้ยอมรับกับความอ่อนด้อยพ่ายแพ้ และกลับไปฝึกฝนใหม่เพื่อการแข่งขันในคราวต่อไป อย่างที่เขาว่า รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ผมเล่นกีฬา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เก่งจนเป็นนักกีฬาทีมโรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัยก็ตาม ตอนอยู่โรงเรียนมัธยมสาธิตจุฬาฯ ผมมักจะเล่นบาสเก็ตบอล ถึงแม้ว่ารูปร่างจะไม่อำนวยให้เพราะเป็นคนขาดแคลนความสูง มักจะชอบซ้อมชูทห่วงระยะไกลๆ แข่งกับพี่ชาย และแข่งกับเพื่อนตอนพักเที่ยง หรือตอนเลิกเรียนแล้ว และยังชอบเล่นวอลเล่ย์บอลมาก อันนี้เล่นมาตลอดจนกระทั่งทำงานแล้วก็ยังเล่นกับพี่ๆน้องๆที่ที่ทำงานอยู่หากมีเวลา กีฬาแต่ละชนิด มีลักณะกฏเกณฑ์ที่ต่างกัน และเราสามารถเรียนรู้ปรัชญาต่างๆกันจากกีฬาต่างชนิดกันได้ ผมเองในปัจจุบันได้ค้นพบตัวเองว่ากำลังอินกับการเล่นกีฬาเรือใบอย่างมากครับ ใครที่ไม่เคยสัมผัสกับกีฬาประเภทนี้อาจจะเห็นว่าเป็นกีฬาไฮโซ เล่นยาก หรืออะไรทำนองนั้น ผมเองก็คิดอย่างนั้นก่อนหน้านี้ แต่ก็มีความสนใจใคร่จะลองกีฬาประเภทนี้มานานแล้วจนวันหนึ่งโอกาสที่ให้ได้เข้ามาสู่วงการกีฬานี้เมื่อราว 3 - 4 ปีที่แล้ว ผมจะไม่เล่าในรายละเอียดว่าผมมาเข้าสู่วงการกีฬาเรือใบนี้ได้อย่างไร แต่อยากจะเล่าในเรื่องที่ว่าผมได้เรียนรู้อะไรจากกีฬานี้บ้าง และอยากจะได้เชิญชวนผู้อ่านให้ลองเล่นกีฬาต่างๆที่ยังไม่เคยลอง อย่างเช่นกีฬาเรือใบ ถือว่าเป็นการค้นหาตัวเอง ผมได้อะไรจากกีฬาเรือใบบ้าง กีฬาเรือใบเป็นกีฬาที่นอกจากจะต้องเข้าใจหลักการ และต้องฝึกฝนการใช้เครื่องมือ คือเรือใบแล้ว เนื่องจากว่าเรือใบไปด้วยกระแสลม และกระแสน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมมันไม่ได้ แต่ต้องเข้าใจว่าจะใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร กีฬาเรือใบเป็นกีฬาที่ต้องใช้การวางแผนล่วงหน้า ต้องมีการวางกลยุทธ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบกว่าเรือลำอื่น ต้องแม่นในกฏกติกามารยาท เพราะเวลาแข่งขันจะมีเรือร่วมแข่งอยู่หลายสิบลำ ซึ่งมีโอกาสกระทบกระทั่งกันมาก นอกจากนี้เรือใบชนิด keel boat ใช้คนทำงานเป็นทีม อย่างเช่นเรือใบประเภท Platu เป็นเรือขนาด 25 ฟุต ใช้ผู้เล่น 5 คนต่อลำ แต่ละคนมีตำแหน่งหน้าที่ต่างๆกันซึ่งต้องทำงานสัมพันธ์กันอย่างดีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ให้เกิดการ ผิดพลาดได้ เพราะหากพลาดในจังหวะและโอกาสที่เราได้เปรียบ สถานการณ์ก็จะกลายเป็นเสียเปรียบทันที นั่นหมายถึงการฝึกฝนทำงานเข้าขากันอย่างดีในทีม และการวางแผนกลยุทธที่ดี โดยต้องดูทางลม ทางกระแสน้ำ และการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของลม และกระแสน้ำ ใครรู้และคาดการณ์ได้ดีกว่า ก็จะวางแผนการแข่งขันได้ดีกว่า และนำไปสู่โอกาสความได้เปรียบคู่แข่ง แต่แน่นอนว่ามันก็มีความไม่แน่นอนในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง

ของทิศทางลม และน้ำ กีฬาเรือใบจึงเป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถของนักกีฬาส่วนหนึ่ง และความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่นักกีฬาควบคุมไม่ได้อีกส่วนหนึ่งด้วย อยู่ที่ว่าเมื่อเราประสบกับความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงที่ทำให้เราเสียเปรียบแล้วนั้น เราจะแก้ไขสถานการณ์ประคับประคองกันไปอย่างไรให้ดีที่สุดได้อย่างไร กำลังใจของทีมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ใช้สติ และสมาธิของทุกคนในทีม ผมชอบที่เรือใบมันไปโดยแรงของธรรมชาติ แสดงถึงความฉลาดของคนที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ นอกจากนี้ยังได้ใกล้ชิดกับน้ำ กับทะเล ผมชอบเวลาสิ้นสุดการแข่งขันของแต่ละวัน นักกีฬาจะมาร่วมวงสนทนา กินเลี้ยงกัน วิภากษ์วิจารณ์ถึงการแข่งขันที่ผ่านมา ให้คำแนะนำซึ่งกันและกันในทีม และระหว่างทีม เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นในการแข่งขันครั้งต่อไป กินเลี้ยงกันกับกลุ่มคนที่ชอบสิ่งเดียวกัน รสชาติอาหารทะเลที่อร่อย และบรรยากาศยามเย็นที่มีลมเย็นๆ และดูพระอาทิตย์ตกน้ำ รอวันรุ่งขึ้นที่จะมีโอกาสได้ปรับปรุงตัวเองในการแข่งขันครั้งต่อไป

ผมว่ากีฬาเรือใบก็เป็นกีฬาหนึ่งเช่นกันที่ต้องใช้ head heart guts และ execution อย่างที่ท่านดร.จิระได้เขียนไว้ในบทความในสยามกีฬา ผมเขียนมายืดยาวก็อยากให้ผู้อ่านได้มีโอกาส ลองสัมผัสกับกีฬาเรือใบดูนะครับ แล้วจะเข้าใจครับว่าที่ผมได้กล่าวว่าได้เรียนรู้อะไรต่างๆมากมายจากกีฬานี้เป็นอย่างไรครับ

กรธรรม สถิรกุล

เรียนอาจารย์ ดร.จีระ และเพื่อนๆ รุ่น 2

มีหลายเรื่องที่ติดค้างอยากรายงานชาว blog และเพื่อนๆ รุ่น 2 ให้ทราบค่ะ

ข้อแรก เอกสาร The Entrepreneur ของ Willium E.Heinecke และ เอกสาร บทที่ 9 The manager as Innovatior จากหนังสือ Leading Change Innovation and Transformation ที่ท่านอาจารย์ ดร.จีระ มอบให้อ่านกลุ่มละ 1 ชุด บัดนี้ได้รับความกรุณาจากคุณธีระชัย ช่วยจัดทำสำเนา ให้ทุกคนได้รับคนละชุดแล้ว ในนามเพื่อนๆ รุ่น 2 จึงขอขอบคุณ คุณะธีระชัยอย่างยิ่ง และเพื่อนๆ โปรดรับเอกสารดังกล่าวได้ที่คุณะธีระชัยค่ะ

ข้อที่สอง เหมือนกับที่คุณกรธรรมได้แจ้งไว้ อยากให้เพื่อนๆ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบการกีฬา ลองเข้าไปใน blog ล่าสุดของ อาจารย์ ดร.จีระ ใน Chira Academy คือ "เรียนรู้จากกีฬากับ ดร.จีระ : สยามกีฬา" อาจารย์ได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทุนมนุษย์ ที่พวกเรากำลังศึกษา ในการวิเคราะห์ วิจารณ์การกีฬา เป็นการข้ามศาสตร์อีกศาสตร์หนึ่ง และอ่านได้ความเพลิดเพลินด้วยค่ะ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบการกีฬา

ข้อที่สาม เป็นอีกรายการหนึ่งของอาจารย์ ดร.จีระที่ฟังได้ความเพลิดเพลินและมีสาระ ที่เพื่อนๆบางคนสนใจแต่พลาดรายการวิทยุ FM 96.5 MHz คลื่นความคิด โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐในรายการ Human Talk วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม 2551 เวลา 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า จึงขอสรุปดังนี้ค่ะ

ในอาทิตย์นี้ ดร.จีระได้พูดถึงทุนทางจริยธรรม คนเราจะต้องดีด้วยและเก่งด้วย โดยดีต้องมาก่อน ส่วนเก่งนั้นสามารถฝึกได้ ท่านยกตัวอย่างการที่ท่านไม่รับเป็นนายธนาคารแต่เลือกเป็นอาจารย์ที่ ม.ธรรมศาสตร์ และยกตัวอย่างท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ในการปลูกฝังความดีแก่เด็กนักเรียนที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ด้วยการให้นั่งสมาธิทุกเช้า 10-15 นาที เพื่อให้รู้ตัวเอง ท่านยังเล่าถึงการเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ทำให้เด็กได้ใกล้วัด รัฐควรพัฒนาเด็กให้มากขึ้น เช่นในการทำโพล มีเวทีให้เด็กเล่น ให้ทีวีมีรายการเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น ไม่ควรมีแหล่งเพาะความคิดที่รุนแรงและสิ่งที่ไม่ดีแก่เด็กและนักศึกษา เช่น ร้านเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ และร้านเหล้าหน้าประตูมหาวิทยาลัย ต่อมาท่านวิจารณ์มาตรการ 6 ข้อที่ออกใหม่ของรัฐบาลที่มีทั้งข้อดีในเรื่องประชานิยมและข้อเสียที่ประชาชนจะติดนิสัยไม่พึ่งตนเองและต้องขยายเวลาการใช้มาตรการ 6ข้อนี้ต่ออีก สุดท้ายจบลงที่ท่านได้พูดถึง 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ Nelson Mandela (ตามที่ได้คัดลอกให้แล้ว ในบทความของ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ลงหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์ "บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ" ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2551 "8 บทเรียนผู้นำของ Mandela")

ดิฉันเชื่อว่าในการเรียนรู้เรื่องใดๆ ก็ตาม เพื่อให้เข้าใจหลักการตามแนวทางของผู้สอน เราควร Tracking ผลงานและแนวความคิดของท่าน นอกเหนือจากที่ท่านสอนในห้องเรียน ในที่สุดเราจะสามารถเข้าใจและคิดเองเป็นตามแนวทางที่ถูกต้องกับเรื่องใหม่ๆ ที่เข้ามาและยังไม่เคยมีใครสอน ดังนั้นในระหว่างการอบรมนี้ดิฉันจึงพยายาม Tacking ผลงานและแนวความคิดของอาจารย์ ดร. จีระ ถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ทราบมากที่สุดค่ะ

สุดา นันทวิทยา

สวัสดีครับ วันนี้ขอ share เรื่องกระบวนการสร้างคนดีและเก่ง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคนอีกสักเล็กน้อยนะครับ

1.ให้ทำงานที่ชอบ (Do what they like)เช่น designer ก็มอบหมายงานออกแบบผลิตภัณฑ์หรือนิทรรศการ ดูเรื่องรูปแบบและความสวยงาม

2.ให้มีโอกาสพัฒนา (Opportunity to develop) ทุกคนมีความสามารถและถนัดอย่างใดอย่างหนึ่งติตตัวมา ก็เปิดโอกาสให้พัฒนากระบวนการสร้างสื่อหรือผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ เช่น หุ่นยนต์ต้อนรับ

3.ให้การยอมรับ (Recognition) หุ่นยนต์ที่ทำออกมาอาจทำงานได้ไม่ 100% เพราะมีข้อจำกัดบางอย่างก็เปิดโอกาสให้พัฒนาเป็น หุ่นรุ่น 2, 3 ต่อไป โดยเพิ่มเทคโนโลยีให้มากขึ้น

4.มีจิตใจบริการ (Service minded)

5.ทำงานเป็นทีมได้ (Team work)

6.สร้างความไว้วางใจ (Built trust)

7.ทำงานให้สนุก(Work with fun)

8.ทำงานมีประสิทธิภาพ (Effectiveness)

เวลาน้อยแต่ลองใช้ดูกันนะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

กลุ่ม 5 ขอส่งการบ้านครับ เกี่ยวกับความคิดเห็นในบทความ เรื่อง "The Manager as Innovator" ครับ

บทความนี้เป็นบทความที่น่าสนใจมากครับ เป็นผลจากการวิจัยสำรวจการบริหารจัดการของผู้จัดการที่เป็นหัวกระทิในบริษัทที่ว่าเป็นบริษัทที่สร้างนวัตกรรม ถึงแม้ว่าหน่วยงานที่ผู้เขียนได้ทำสำรวจจะเป็นกลุ่มบริษัทที่เป็นผู้ผลิตสินค้า บริษัทด้านการเงิน และบริษัทธุรกิจสื่อสาร ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชน กรมวิทยาศาสตร์บริการในฐานะหน่วยงานของรัฐอาจจะนำบทเรียนประเด็นต่างๆในบทความนี้ไปปฏิบัติได้ ประเด็นที่น่าสนใจที่ได้จากการอ่านบทความนี้ดังที่จะได้กล่าวต่อไปนี้

ในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้เกิดนวัตกรรมนั้นความสำคัญอยู่ที่ 2 ประเด็นคือ การสร้างบรรยากาศของการสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างฟังก์ชั่นต่างๆในองค์กรในการสร้างนวัตกรรมนั้นๆอย่างเข้มแข็ง ซึ่งโดยมากแล้วการสร้างนวัตกรรมในองค์กรนั้น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ บริการใหม่ หรือกระบวนการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในองค์กรใหม่ มักจะเป็นการดำเนินการในลักษณะริเริ่มดำเนินการโครงการ และต้องการทรัพยกรในการทำให้นวัตกรรมนั้นสำเร็จ จะทำให้เกิดและดำเนินการโครงการเช่นนี้ได้จำต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหารในการบริหารจัดการองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ข้อมูลข่าวสาร (information) ทรัพยากร (resources) และ การสนับสนุน (support)

ข้อมูลข่าวสาร: ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันระหว่าฟังก์ชั่นต่างๆในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆในองค์กรและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะข้อมูลในเรื่องการตลาด และผลการวิจัย และในเรื่องของการแลกเปลี่ยนไอเดียความคิดใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในนวัตกรรมที่จะริเริ่มสร้างขึ้น นอกจากนี้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในการบริหารและดำเนินโครงการนวัตกรรมเพื่อให้สามารถบรรลุความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม

ทรัพยากร: การทำโครงการนวัตกรรมต้องใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ เครื่องมือ บุคลากรต่างๆ ต้องมีให้เหมาะสมสำหรับการดำเนินโครงการ

การสนับสนุน: เนื่องจากว่าเป็นโครงการใหม่ และเป็นนวัตกรรม ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนหนึ่ง จะให้ได้มาซึ่งการอนุมัติโครงการ การอนุมัติทรัพยากรเพื่อมาใช้ในโครงการ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และนอกจากนี้การสนับสนุนจากผู้ร่วมโครงการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกับการดำเนินโครงการ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารให้เกิดนวัตกรรมต้องจัดการให้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ขั้นตอนในการสร้างนวัตกรรมตามที่ในบทความกล่าวถึงมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ

1. การกำหนดโครงการ (Defining the project) ต้องมีการบริหารจัดการในเรื่องของข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนความคิดไอเดียใหม่ๆโดยให้อิสระในการคิดแก่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่องค์กรทุกคน ผู้บริหารจัดการต้องพูดคุยและฟังคนอื่นๆให้มากทั้งในและนอกองค์กร เพื่อให้ได้ไอเดียนวัตกรรมที่ดี

2. การสร้างความร่วมมือ (Building a coalition)ผู้บริหารจัดการต้องหาการสนับสนุนเห็นชอบของผู้มีอำนาจสั่งการ หรือผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารระดับสูงต้องให้อำนาจในการจัดการแก่ผู้บริหารระดับล่าง และพนักงานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการ เพื่อจะดึงคน และดึงทรัพยากรมาใช้ในการทำโครงการ

3. ลงมือดำเนินการให้เกิดขึ้นจริง (Moving into action) ต้องมีการวางแผน จัดการดำเนินการ และตรวจสอบประเมินความก้าวหน้าของโครงการให้ดำเนินการได้อย่างราบรื่น และสำเร็จ โดยผู้บริหารจัดการนวัตกรรมต้อง เตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับอุปสรรคข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น (handle interference) รักษาโมเมนตัมในการดำเนินโครงการให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการนวัตกรรมนี้มีความมุ่งมั่นในการดำเนินสู่เป้าหมายความสำเร็จของโครงการร่วมกัน (maintain momentum) ให้เตรียมแผนสำรองหากเกิดการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายไว้ (secondary redesign) และการประชาสัมพันธ์สื่อสารให้กับหน่วยงานภายนอกองค์กร เพื่อประกาศถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จของโครงการ ซึ่งจะเป็นผลดีในการดึงทรัพยากร หรือการสนับสนุนสู่โครงการ และเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่ทั้งโครงการนวัตกรรมนี้ และแก่องค์กร นอกจากนี้ยังมีผลดีแก่ขวัญและกำลังใจของพนักงานที่มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

สไตล์การบริหารของผู้บริหารจัดการนวัตกรรมที่บทความได้แสดงให้เห็นคือ

1. ใช้การชักชวนให้พนักงานทำ มากกว่าการสั่งการ

2. สามารถสร้างทีมที่เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลอย่างอิสระ

3. เป็นผู้ที่ศึกษาหาข้อมูลข่าวสารอย่างมาก เปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานลูกน้อง

4. ชมเชยยกย่องพนักงานที่ร่วมดำเนินโครงการ ผู้ที่มีส่วนก่อให้เกิดประโยชน์ ความก้าวหน้าของโครงการ

5. แบ่งปันความรู้สึกยินดี และความปรารถนาความก้าวหน้าในเป้าหมายของโครงการร่วมกันทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

การให้โอกาสในการเสนอความคิดไอเดีย และการกระตุ้นส่งเสริมในพนักงานทุกคนคิดทำในสิ่งใหม่อื่นๆที่นอกเหนือจากงานในหน้าที่ประจำ เป็นสิ่งที่ดีในการบริหารจัดการให้เกิดนวัตกรรม

กลุ่ม 5 คิดว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทความนี้น่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานของหน่วยงานรัฐด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เช่น วศ. ได้เป็นอย่างดี

จบข้อคิดเห็นในบทความเรื่อง "The Manager as Innovator" สำหรับข้อคิดเห็นในสิ่งที่เรียนรู้จากหนังสือ "The Entrepreneur" จะนำมาโพสต์ใน Blog ในเร็วๆนี้

กลุ่ม 5 รายงาน

=)

นงนุช เมธียนต์พิริยะ

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ และเพื่อนรุ่น 2

คงไม่สายเกินไปที่กลุ่ม 2 จะขอส่งสรุปการเรียนกับ อจ. รัศมี เรื่อง Crestive thinking เนื่องด้วยมีการร้องขอจากประธานฯ รุ่น 2 ที่นอกจากจะสรุปในที่ประชุมฟังแล้วควรลงบล็อกด้วย แต่เข้าใจผิดคิกดว่าว่าจะมีคนลงให้ แต่เมื่อเปิดดูพบว่าไม่มี จึงขอสรุปการเรียนดังนี้

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงบวก หรือ Cresitive Thinking มาจากCreative + Positive ซึ่งคิดค้นคำโดย อจ.รัศมี

การจะประสบความสำเร็จได้ต้องมี ปัจจัย 3 อย่าง คือ Technical skill (ความรู้) Thinking skill (ความคิด) และ Human skill (คน หรือ พฤติกรรม -behavior) ทั้งนี้ พฤติกรรมจะบ่งบอกถึงความคิด และ ความคิด ไม่ใช่ ความรู้ ถ้าเปรียบความคิด เป็น 100% ความคิดที่เป็นเชิงบวก เท่ากับ 95% และความคิดเชิงลบ 5% แต่คนส่วนมากมักจะเคยชินกับความคิดเชิงลบ ซึ่งมาจากการสั่งสอนหรือการอบรมที่ได้รับมา และ “คนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง” ไม่ชอบทำอะไรนอกกรอบที่เคยทำ ดังนั้นการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความคิดสร้างสรรค์ได้จำเป็นที่จะต้องฝึกฝนใหม่ ให้สามารถคิดนอกกรอบและเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ จึงจะเรียกว่า ความคิดเชิงบวกได้

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ทำให้เราไม่สามารถคิดนอกกรอบ เช่น

1. หลุมพรางทางความคิด (Intelligence trap) ซึ่งมีลักษณะดังนี้

- Defensive (ชอบโต้แย้ง หรือคัดค้านความคิดเห็นคนอื่น)

- Superior (คิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น หรือแน่กว่าคนอื่น)

- Arrogant (หยิ่ง หรือ ทะนงตน)

- Skeptical (ชอบสงสัย ลังเล)

2. ความเสื่อม ซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางการทำความดีงาม 5 ประการ (หรือนิวรณ์ 5) คือ

- อารมณ์เป็นใหญ่ (รักเกิน)

- ไม่พอใจ โกรธโมโห (ชังเกิน)

- ขี้เกียจ ง่วงเหงาหาวนอน ซึม หดหู่ ท้อแท้ (อ่อนแอเกิน)

- คิดมาก ฟุ้งซ่าน วิตกกังกล (ฉลาดเกิน)

- ช่างสงสัย ไม่เชื่อ สอนยาก (โง่เกิน)

จากลักษณะข้างต้น คนที่สามารถสร้างความคิดนอกกรอบเชิงบวกได้จะต้องเป็นคนที่ สามารถสอนได้ (be teachable)และยอมทิ้งสิ่งเดิมๆ ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ดังที่กล่าวไว้ว่า “Complete the Past” เพื่อ “Embrace the Future” ดังนั้น ชีวิต “เลือกได้” ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือก จุ่มมือไปในกาวแบบใด !!!

<p>สวัสดีครับ วันนี้ขอประชาสัมพันธ์โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "อีราโตสทีเนส" วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว เป็นวิธีการของนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่ชื่อ Eratosthenes ที่ใช้หลักคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และการสังเกตุปรากฏการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์แล้วทำให้ทราบว่าในวันที่ 23 กันยายน โลกจะตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ ทำให้กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน และถือว่าเป็นวันครึ่งปีดาราศาสตร์ การทดลองของนักคณิตศาสตร์ในยุคโบราณนี้ ทำให้เราทราบขนาดเส้นรอบวงของโลก ด้วยการใช้ไม้ขนาดแท่งดินสอแท่งเดียวในการวัด ซึ่งได้ทำการทดลองนี้เมื่อราว 2,200 ปี ก่อนคริสตกาล และท่านอาจารย์สรรค์สนธิ บุณโยทยาน จากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร จะเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดกระบวนการทดลองครั้งนี้ครับ

ที่อธิบายมาเสียยืดยาว เพียงแต่จะเล่าให้เพื่อนสมาชิก รุ่น 2 ทราบว่าท่านอาจารย์สรรค์สนธิ เป็นตัวอย่างของบุคลากรที่มี ทักษะ (Skill) และ ความสามารถ (Competent)เกี่ยวกับดาราศาสตร์ในเชิงบูรณาการ เช่น มีความรู้และสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์สำคํญทางดาราศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ตัวอย่างการปลูกข้าวหอมมะลิควรปลูกในวันแม่แล้วเก็บเกี่ยวในวันพ่อ เนื่องจากข้าวหอมมะลิเป็นพืชที่เรียกว่า ข้าวไวแสงกินอร่อย(Photosensitive rice) ถ้าปลูกช่วงอื่นอาจจะไม่ค่อยหอมครับ อันนี้อาศัยหลักการปีสุริยะปฏิทิน อีกตัวอย่างหนึ่งในวันที่เราจะเดินทางไปเกาหลีใต้ สมาชิกทุกท่านลองดู sculture ขนาดใหญ่ที่จัดแสดงอยู่ก่อนถึงโซน DUTY free เรียกว่าเป็นพิธีที่เหล่าทวยเทพกำลังทำพิธีกวนน้ำอมฤต มีลักษณะประกอบด้วยเหล่าทวยเทพ พญานาค กำลังทำพิธีที่สะท้อนความเชื่อในศาสนาฮินดู และใช้น้ำอมฤตนี้ดื่มกินเพื่อให้มีกำละงชนะมาร อันเป็นการส่งเสริมมงคลของสนามบินให้แข็งรุ่งเรืองและแคล้วคลาดอย่างสุดๆ แต่ของจริงจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า สมาชิกลองวิเคราะห์ดูแล้วกันนะครับ อันนี้ก็เป็นวิชาโหราศาสตร์ที่มาเกี่ยวข้องกับดาราศาตร์ และยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกหลายเรื่องครับ โดยอาจารย์ได้ศึกษา เรียนรู้ ถ่ายทอด ความรู้ด้านนี้มานานหลายปีแล้ว รวมทั้งมีประสบการณ์ไปดูงานพร้อมหาประสบการณ์จริงด้านดาราศาสตร์มาเกือบทั่วโลก เช่น ทราบว่าประเทศแถบสแกนดิเนเวียซึ่งมีที่ตั้งบนเส้นรุ้งที่ 65 จะมี Midnight Sun ตลอด 24 ชั่วโมง ในเดือนมิถุนายน คือเห็นพระอาทิตย์สีแดงที่ขอบฟ้านั่นเองครับ

จากตัวอย่างข้างต้น แสดงให้เห็นว่าทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร สภาพแวดล้อมของการควบคุมที่ดีขององค์กรใดจะเกิดมีขึ้นได้เมื่อองค์กรนั้นต้องมีคนดี มีความรู้ และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่การงานทั้งหลายทั้งปวงให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ความสำเร็จของกิจการงาน เกิดขึ้นได้โดยอาศัยปัจจัยที่สำคัญด้าน

1) ทักษะ (Skill) ของผู้ปฏิบัติงาน ที่หมายถึงความชำนิชำนาญในการทำงานแต่ละหน้าที่ๆ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ ซึ่งเกิดจากการฝึกปรือและสั่งสมประสบการณ์ในการทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านั้น

2) ความสามารถ (Competent) ของผู้ปฏิบัติงาน ความสามารถเกิดจากการมีสติปัญญา โดยการใช้สมองในการทำงานประกอบกับความตั้งใจในการทำงานด้วยความขยันขันแข็ง และการใช้ความเพียรพยายามในการทำกิจการงานนั้นให้สัมฤทธิผล ความสามารถของคนวัดได้จากผลของงานที่ปฏิบัติออกมา ครับ

ขอยคุณครับ

เรียนท่านอาจารย์จีระ ผู้เรียนรู้ภาวะผู้นำรุ่นที่ 2 และผู้เข้าชม blog ทุกท่าน

ผมเพิ่งกลับจากการปลูกป่าที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยความร่วมมือระหว่าง

1.กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

การไปครั้งนี้ได้แง่คิดหลายอย่าง และได้รับความร่วมจากหน่วยงานราชการถึง 3 หน่วยงาน นับว่าเป็นสิ่งที่ดี

จากการไปสัมผัสชีวิตชาวกะเหรี่ยง ผมพบว่าเขาทำไร่เพื่อใช้บริโภคภายในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ มีการปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด เป็นหลัก นั่นหมายความว่าพื้นที่ป่าส่วนหนึ่งถูกทำให้เป็นพื้นที่เพาะปลูก

หากมีการวางแผนที่ดี ประเทศไทยจะมีพื้นที่ป่าเพียงพอ ผมถาม ดร.กนิษฐ์ จากกรมอุทยานฯ เขาตอบว่า อย่างน้อยต้องมีพื้นที่ 40% ของพื้นที่ทั้งหมด จะสามารถบรรเทาภาวะโลกร้อนได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับทำเกษตรเพื่อเป็นอาหารของไทยและของโลก เรายังปลูกพืชพลังงานได้อีกด้วย

การจัดการด้านการเกษตรต้องเริ่มต้นจากให้ความรู้แก่ชาวบ้านเป็นทุนมนุษย์ให้เขารักป่าและทำไร่ให้ได้ผลผลิตสูงๆโดยไม่เพิ่งสารเคมี (ตลอดทางที่ผมผ่านเห็นแต่ชาวบ้านกำลังเทปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับพืชผลของตนเอง)การวิจัยน่าจะช่วยเขาได้

ปัจจุบันนี้ ดร.กนิษฐ์ เขาก็ใช้มวลชน โรงเรียนและวัดร่วมมือกัน เพื่อให้ชาวบ้านช่วยดูแลป่าที่พวกเราช่วยกันปลูก อนาคตคงมีผืนป่าที่สมบูรณ์และมีพืชผลรับประทานตลอดปี

ผมขอจบแค่นี้ก่อน สวัสดีครับ

เกรียงไกร

สุจินต์ พราวพันธุ์

เรียนอาจารย์จีระ ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆรุ่น 2 ที่รักทุกท่าน

ชาวกลุ่มที่ 1 ได้ร่วมด้วยช่วยกันอ่านและสรุปกฏ 21 ข้อจากหนังสือ THE ENTREPRENEUR ซึ่งเขียนโดย WILLIAM E. HEINECKE

ได้ความดังต่อไปนี้ค่ะ

กฎข้อที่ 1 : ฝึกฝนตนเองให้มองเห็นโอกาส

ในการทำธุรกิจต้องฝึกฝนตนเองเพื่อมองให้เห็นโอกาสหรือช่องทาง(ส่วนแบ่ง)ในตลาด และรีบดำเนินการเพื่อเติมเต็มช่องว่างนั้นให้เร็วที่สุดก่อนคนอื่น

กฎข้อที่ 2 : ทำการบ้าน

ความคิดหลายอย่างอาจเกิดขึ้นด้วยการสังเกตอย่างไม่เป็นทางการ แล้วนำไปสู่การศึกษาอย่างจริงจังในเวลาต่อมา โดยเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ เช่น การทำเอง หรือการเป็นแฟรนไชส์ การแยกแยะปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในเชิงการตลาด ทำการวิจัยทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก คิดถึงสิ่งที่อาจเกิดตามมาด้วย เช่น ถ้ามีโครงการนี้แล้วควรมีอะไรเพิ่มเติมได้อีกบ้าง คำนึงถึงขีดความสามารถและทรัพยากรที่ต้องการใช้ ศึกษามิติทางการเงินของโครงการด้วย ถ้าคิดอย่างถี่ถ้วนรอบคอบและมีข้อมูลครบถ้วนธุรกิจก็สามารถที่จะรุดต่อไปข้างหน้าได้

กฎข้อที่ 3 : ให้หยุดอย่าถลำลึกถ้าไม่สนุกกับงาน

ถ้าไม่สนุกกับงาน ก็อย่าถลำลึกด้วยการทุ่มเทเวลาและพลังงานลงไป อีกทั้งอย่าทำงานเพื่อหวังเงินและอำนาจ ไม่มีใครประสบความสำเร็จถ้าคิดว่าต้องทำงานที่น่าเบื่อ

กฎข้อที่ 4 : ทำงานหนักและสนุกไปพร้อมกัน

ผู้ประกอบการควรมีความสมดุลด้านการงาน ชีวิตส่วนตัวและครอบครัวโดยการวางแผนในเรื่องเวลาของการทำงานหนักและสนุกไปพร้อมกัน ผสมผสานธุรกิจกับความพอใจเข้าด้วยกัน ดังนั้น ยิ่งทำงานหนักก็จะยิ่งรู้คุณค่าของการพักผ่อน ซึ่งความสมดุลจะทำให้พบกับความโชคดีมากขึ้น

กฎข้อที่ 5 : ทำงานด้วยสมองของคนอื่น

ในการทำธุรกิจจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงเทคนิคหรือ know how แต่ถ้าผู้ประกอบการมีโอกาสแต่ยังขาดความรู้ด้านเทคนิคหรือ know how ก็สามารถจ้างคนที่มีความรู้ความสามารถสูงมาทำงานให้ได้ โดยเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีทำงาน แต่ผู้ประกอบการก็ต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้ที่เราจ้างมาได้

กฎข้อที่ 6 : ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์

เป้าหมายจะเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจก้าวรุดไปได้ ควรทำธุรกิจโดยการวางเป้าหมายเริ่มเรื่องเล็ก ๆ ก่อนเพื่อให้ธุรกิจอยู่บนฐานที่มั่นคง ถ้าสำเร็จก็ค่อยๆขยายเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละ step ซึ่งการตั้งเป้าหมายควรจะเป็นเป้าหมายที่เป็นฐานรองรับกับวิสัยทัศน์ เพระถ้ามีวิสัยทัศน์โดยปราศจากเป้าหมายรองรับก็จะเป็นวิสัยทัศน์ที่ว่างเปล่า

กฎข้อที่ 7 : เชื่อในสัญชาตญาณ

สัญชาตญาณเป็นความเข้าใจโดยการใช้ความรู้สึกในทันทีทันใดโดยปราศจากเหตุผลหรือเป็นความเข้าใจในภาพแรกที่เห็น ในบางครั้งผู้ประกอบการอาจตัดสินใจบนพื้นฐานของการเชื่อในความรู้สึกนั้นแล้วประสบความสำเร็จกว่าการตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลหรือวิชาการ เพราะฉะนั้นจงเชื่อในสัญชาตญาณของตนเอง

กฎข้อที่ 8 : ไปให้ถึงท้องฟ้า

ผู้ประกอบการต้องคิดการใหญ่แล้วพยายามทำให้สำเร็จด้วยความตั้งใจจริงโดยไม่ต้องกลัวยักษ์ใหญ่ ถึงแม้ว่าบางครั้งจะต้องก้าวอย่างอาจหาญ เพื่อให้ไปถึงท้องฟ้าและคว้าดาวให้ได้แม้เพียงครั้งเดียวก็ยังดี

กฎข้อที่ 9 : เรียนรู้การขาย

ก่อนที่จะเป็นเจ้าของกิจการที่ดีผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ที่จะเป็นนักขายที่ดีก่อน เพราะการเป็นนักขายที่ดีสามารถที่จะโน้มน้าวผู้อื่นให้คล้อยตามได้ดี นักขายที่ดีจะต้องมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวสินค้าที่จะขายต้องเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีรวมทั้งต้องมีความขยันขันแข็ง ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่เกิดจากการขายสินค้าอย่างเดียวแต่ได้มาจากการขายความคิดด้วย

กฎข้อที่ 10 : การเป็นผู้นำ

ผู้ประกอบการคือผู้นำที่ต้องตัดสินใจ การเป็นผู้นำประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น การเป็นผู้ฟังที่ดี การสร้างแรงจูงใจ เชื่อมั่นในทีมงาน มีมารยาท เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นต้น ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จบางครั้งก็ต้องใช้ความเป็นเผด็จการบ้าง และต้องมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้ตัดสินใจไปแม้ว่าบางครั้งจะผิดพลาดก็ตาม

กฎข้อที่ 11 : จดจำความล้มเหลวแล้วดำเนินการต่อไป

ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจะต้องถือว่าความล้มเหลวคือจุดเริ่มต้นหรือเป็นสิ่งกระตุ้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เมื่อเกิดความผิดพลาดต้องถือเป็นประสบการณ์ที่ต้องเรียนรู้แล้วดำเนินการต่อไป อย่ากลัวความผิดพลาดเพราะนั่นจะเป็นเส้นทางในการเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

กฎข้อที่ 12 : ทำเพื่อให้ได้โชคดีมากที่สุด

โชคคือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงจังหวะและเวลาที่เหมาะสม ผู้ที่โชคดีอยู่เสมอคือผู้ที่สร้างโอกาสที่ดีที่อยู่ตรงหน้า

โชคอาจเกิดได้จากโอกาสทางธุรกิจ ความสัมพันธ์ส่วนตัว การจ้างคนเข้ามาร่วมงาน เป็นต้น โชคจึงเป็นสิ่งที่ไม่ต้องรอแต่เป็นสิ่งที่เราสามารถเตรียมพร้อมที่จะไขว่คว้าและยึดมาให้ได้

กฎข้อที่ 13 : ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นวิถีของการดำเนินชีวิต

ผู้ประกอบการต้องมีความยืดหยุ่น เปิดรับความคิดใหม่ ๆ และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ต้องมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิตสินค้าตลอดเวลา และต้องมีความเชื่อว่า เมื่อได้ใช้วิธีการใหม่ใด ๆ แล้ว ในไม่ช้ามันก็จะล้าสมัย การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ต้องทำงานบนความเปลี่ยนแปลงให้ได้

กฎข้อที่ 14 : สร้างสัมพันธภาพ

ไม่มีใครประสบความสำเร็จได้ในสุญญากาศ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จต้องมีสัมพันธภาพกับสังคม ต้องสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังคม เช่น นายธนาคาร นักกฎหมาย นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ และลูกค้าที่สำคัญ ๆ ต้องนึกเสมอว่าสันถวไมตรีเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่สามารถซื้อ แต่ต้องหาให้ได้โดยการหว่านและเก็บเกี่ยว

กฎข้อที่ 15 : ใช้เวลาอย่างฉลาด

เวลาเป็นสิ่งที่มีจำกัด และเวลาของผู้ประกอบการ หมายถึงเงิน จึงต้องรู้จักจัดการเรื่องเวลาอย่างเหมาะสม อาจลองวิเคราะห์ดูว่าเวลาที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ไปอยู่ที่ส่วนใดบ้าง และแก้ปัญหาในส่วนนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจ

กฎข้อที่ 16 : วัดผลเพื่อประเมินผล

การใช้ Benchmarking ในการวัดผลหรือประเมินผลการทำงานเพื่อการเปรียบเทียบผลระหว่างบุคคลหรือระหว่างหน่วยงาน เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ เพราะ Benchmarking เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับการพัฒนาบุคลากรในทุกระดับ

กฎข้อที่ 17 : อย่าสร้างธุรกิจด้วยคนธรรมดาๆ

ในบางครั้งผู้ประกอบการต้องยอมเจ็บปวดในการที่จะต้องไล่คนที่ไม่มีผลงานออกไป ถึงแม้ว่าจะไม่อยากทำก็ตาม แต่เพื่อความแข็งแรงของธุรกิจจำเป็นต้องทำ แต่ต้องรักษาคนที่เก่งมีความสามารถมีผลงานดีให้อยู่สร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจ ดีกว่าที่จะคิดที่จะพยายามรักษาพนักงานทุกคนไว้ เพราะฉะนั้นจะยิ่งทำให้ธุรกิจอ่อนแอลงไปอีก

กฎข้อที่ 18 : เน้นคุณภาพไม่ใช่เงิน

ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จไม่ควรมุ่งแต่หาเงินแต่ควรมุ่งเน้นไปในการพัฒนาคุณภาพเพื่อเข้าสู่ภาวการณ์แข็งขัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่า ในช่วงเหตุการณ์วิกฤตผู้ประกอบการไม่ควรลดคุณภาพสินค้าเพื่อรักษาเงินให้ได้เท่าเดิม แต่ควรควบคุมค่าใช้จ่ายแต่คงคุณภาพสินค้าไว้ ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่จะได้เปรียบคู่แข่งในการแข่งขัน

กฎข้อที่ 19 : รีบลงมือทันทีในช่วงวิกฤต

ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาต่าง ๆ ควรจะพลิกวิกฤตที่เผชิญอยู่ให้เป็นโอกาสในด้านต่าง ๆ โดยเมื่อประสบปัญหาต้องตั้งสติค่อย ๆ พิจารณาสถานการณ์อย่างรอบคอบแล้ววางแผนการทำงานและลงมือทำด้วยความมั่นใจแน่วแน่ไม่ย่อท้อ ซึ่งต้องอาศัยความเชื่อมั่นในตนเองและเชื่อมั่นในลูกทีมตลอดเวลา จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ ซึ่งอันดับแรกก็คือ การอยู่รอด มีความมั่นคงและเติบโตต่อไปของธุรกิจ

กฎข้อที่ 20 : เมื่อตกม้าต้องรีบกระโดดขึ้นใหม่ทันที

ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาด้านใดก็แล้วแต่ต้องพร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่ทันทีโดยใช้ความรู้ทั้งหมดที่มีและใช้กฎทุกข้อที่กล่าวมาแล้วรวมทั้งการเชื่อมั่นในสัญชาตญาณ กำหนดกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและเพื่อพิสูจน์ความสามารถในการดำเนินธุรกิจต่อไป

กฎข้อที่ 21 : จงพอใจ

การดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการจะต้องทุ่มเททุกอย่างทั้งแรงกายแรงใจ แต่ความสำเร็จทางธุรกิจจะต้องสมดุลกับคุณภาพด้านอื่น ๆ แต่ถ้าชีวิตไม่มีความสมดุลก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตตัวเองและครอบครัว เพราะฉะนั้นจะพึงพอใจกับทุกสิ่งที่มีในชีวิต เพราะความสุขที่แท้จริงไม่ได้มาจากการได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ แ ต่มาจากความพึงพอใจในสิ่งที่มีอยู่

บทสรุปสุดท้าย

วิลเลียม ไฮเนคกี้ กล่าวว่าสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอนคือการเปลี่ยนแปลง กฎทั้ง 21 ข้อที่กล่าวมาไม่ใช่สูตรสำเร็จสำหรับนักธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จ กฎทั้งหมดนี้ไม่ใช่กฎที่ต้องปฏิบัติตาม เป็นเพียงกฎที่ใช้เป็นแนวทางซึ่งจะปฏิบัติตามเท่านั้น

หวังว่าผู้ที่ต้องการเป็นเถ้าแก่ทั้งหลายคงจะได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

สวัสดีค่ะ

สุจินต์ ตัวแทนจากกลุ่มหนึ่งค่ะ

เรียนท่านอาจารย์จีระ ผู้เรียนรู้ภาวะผู้นำรุ่นที่ 2 และผู้เข้าชม blog ทุกท่าน

อาทิตย์นี้ผมได้เรียนรู้เรื่องสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์

ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าการจดสิทธิบัตรต้องเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ของที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ ต้องเป็นของใหม่ ทันที่ที่จดสิทธิบัตร ผลงานชิ้นนั้นกลายเป็นของเก่าทันที จะจดสิทธิบัตรเรื่องนี้อีกไม่ได้แล้ว สิทธิบัตรมีอายุ 20 ปี อนุสิทธิบัตรมีอายุ 10 ปี

ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีที่เจ้าของผลงานผลิตผลงานนั้นออกมา ไม่ต้องลงจดทะเบียน คุ้มครองทั่วโลก

สำหรับเศรษฐกิจไทย ปีนี้จากการคาดการณ์ของ อ.สมชาย จากข้อมูลที่มีอยู่ ทำให้คาดการณ์ได้ว่า GDP ของไทยไม่น่าต่ำกว่าร้อยละ 5.5 ถือว่าเศรษฐกิจไทยยังดีพอควร แต่มีการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้นำต้องรู้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกเพื่อเป็นข้อมูลเพื่อจะได้คาดการณ์ทิศทางขององค์กรในอนาคต

การบริหารความขัดแย้ง โดยการขัดแย้งมี 3 แบบ

1.บุคคลกับบุคคล

2.บุคคลกับองค์การ

3.หน่วยงานกับหน่วยงาน

แบบแรกต้องป้องกันไม่ให้เกิด หากเกิดแล้วแก้ไขได้ยาก

แบบสองหากเกิดต้องทำความเข้าใจกับลูกน้อง

แบบสามต้องเป็นผู้บริหารที่ดีคือไม่ทำตัวเป็นตัวแทนของหน่วยงานเท่านั้น ยังต้องเป็นตัวแทนขององค์การในการทำความเข้าใจกับลูกน้องและหน่วยงานอื่นด้วย

การตัดสินใจของผู้บริหารต้องถูกต้อง ถูกใจและถูกจังหวะจึงจะทำให้องค์การประสบความสำเร็จ

รายละเอียดอื่นๆ ท่านอื่นๆจะมา share idea เพิ่มเติม

ขอบคุณครับ

เกรียงไกร

กลุ่ม 5 ขอเสนอเรื่อง Boston Model ดังนี้

Strategy Roadmap Focus on Boston Model

ยุทธศาสตร์คืออะไร

ยุทธศาสตร์คือทิศทางหรือแผนระยะยาวที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามภารกิจและวัตถุประสงค์ที่วางไว้

การทำแผนยุทธศาสตร์ จัดทำโดย

- ตั้งวัตถุประสงค์ในระยะยาว

- สร้างหลายยุทธศาสตร์ แล้วเลือกยุทธศาสตร์ที่จะนำไปปฏิบัติ

- ยุทธศาสตร์จะต้องนำไปสู่ภารกิจและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

การสร้างแผนยุทธศาสตร์ ต้องมาจาก

- วิสัยทัศน์ขององค์กร กำหนดว่าองค์กรจะเป็นอะไร

- ภารกิจขององค์กร กำหนดว่าจะทำอย่างไร

- วัตถุประสงค์ขององค์กร

- ปัจจัยภายนอก

- ปัจจัยภายใน

- แผนยุทธศาสตร์ที่สำเร็จในอดีต

กรอบการทำงานของการสร้างแผนยุทธศาสตร์ มี 3 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นตอนการใส่ข้อมูล

2. ขั้นตอนการจับคู่

3. ขั้นตอนการตัดสินใจ

1. ขั้นตอนการใส่ข้อมูล มาจาก

- ปัจจัยภายใน ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร

- ปัจจัยภายนอก ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นโอกาสและอุปสรรค

- ข้อมูลของคู่แข่ง ได้มาจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จขั้นวิกฤต (Critical Success Factors) โดยให้คะแนนขององค์กรเทียบกับคะแนนของคู่แข่ง

2. ขั้นตอนการจับคู่ มีหลายวิธี เช่น

- SWOT Matrix

- BCG Matrix (Boston Consulting Group Matrix)

- IE Matrix

- Other Matrix

BCG Matrix

High Stars Question Marks

Market Growth Rate

Low Cash Cows Dogs

High Low

Relative Market Share

Stars มีการเติบโตทางธุรกิจสูง และมีส่วนแบ่งในตลาดสูง

Cash Cows มีการเติบโตทางธุรกิจต่ำ แต่มีส่วนแบ่งในตลาดสูง

Question Marks มีการเติบโตทางธุรกิจสูง แต่มีส่วนแบ่งในตลาดต่ำ

Dogs มีการเติบโตทางธุรกิจต่ำ และมีส่วนแบ่งในตลาดต่ำ

นำข้อมูลจากขั้นตอนแรกแล้วมาวิเคราะห์ว่าองค์กรอยู่ในตำแหน่งใดตาม BCG Matrix (Stars, Cash Cows, Question Marks หรือ Dogs)แล้วจะพัฒนาหน่วยงานไปเป็นอะไรในอนาคต

หลักของ BCG Matrix

ยึดแนวคิดที่ว่ายิ่งมีส่วนแบ่งในตลาดมากยิ่งดีต่อธุรกิจที่ดำเนินอยู่ โดย

1. พิจารณา ส่วนแบ่งในตลาดและการเติบโตทางธุรกิจ

2. เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีหลากหลายผลิตภัณฑ์

3. วิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่ควรให้ความสำคัญอันดับแรก

4. ประวัติของผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึง ผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่เข้าสู่ตลาดและการสนับสนุนที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไร

5. แต่ละแผนกต้องดูการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน

3. ขั้นตอนการตัดสินใจ

- ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณ โดยอาศัย

- ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

- ปัจจัยภายในที่สำคัญ เช่น การบริหารจัดการขององค์กร การตลาด การเงิน

นำมาคิดคะแนนเทียบกับคู่แข่ง แล้วนำไปใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์และกำหนดกลยุทธ์ต่อไป

ขอบคุณครับ

สุทัศน์ อู่ศิริจันทร์

เรียน ท่านอาจารย์จีระ และเพื่อน ๆ ผู้เข้ารับการอบรมฯ รุ่นที่ 2 ทุกท่าน

ผมเพิ่งมีโอกาสได้เขียนลง blog กับเขาบ้างก็เมื่อเวลาผ่านไปจนเกือบจะสาย คือ พรุ่งนี้เป็นวันสุดท้ายของหลักสูตร เนื่องจากมีงานอื่นมาแทรกตลอดเวลา แต่เมื่อมีเวลาได้อ่าน blog แล้ว ผมก็ทึ่งในความสามารถและความสนใจของเพื่อน ๆ หลายคนที่ขยันแสดงความคิดเห็นและทำท่าว่าจะเป็นคลื่นลูกใหม่ของกรมวิทยาศาสตร์บริการได้อย่างชัดเจน จากการที่ผมทำงานอยู่ในสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้มีการติดต่อประสานงานกับบุคลากรหลาย ๆ คนของกรมวิทยาศาสตร์บริการมานานไม่ต่ำกว่า 15 ปี ทำให้ผมมีความเชื่อมั่นว่า ข้าราชการของกรมวิทยาศาสตร์บริการทำงานเชิงรับมาโดยตลอด และไม่ค่อยยอมรับความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ดังที่ผมเคยกล่าวในห้องเรียนเมื่อวันเสาร์และอาทิตย์แรกของการอบรมที่โรงแรมเดอะไทด์ บางแสนว่า จุดแข็งของกรมวิทยาศาสตร์บริการ คือ คือ ความยึดมั่นในหลักการและเหตุผล จนบางครั้งดูเสมือนว่า คนบางคนในกรมวิทยาศาสตร์บริการไม่ค่อยเปิดใจกว้าง และยอมรับว่า หนึ่งบวกหนึ่ง ผลลัพธ์ไม่จำเป็นต้องได้แค่สองเท่านั้น การอบรมในครั้งนี้ ทำให้หลายคนเข้าใจแล้วว่า หนึ่งบวกหนึ่ง อาจได้ผลลัพธ์มากกว่าสองก็ได้

ดังนั้น จึงต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอธิบดี(ปฐม)ที่ได้นำสิ่งดี ๆ ที่เป็นคุณูประโยชน์นานัปการให้กับองค์กร ด้วยการพัฒนาบุคลากรให้มีวิสัยทัศน์ และกระตุ้นศักยภาพของสมาชิกองค์กรออกมาได้มากมาย จนเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน ขอแสดงความยินดีกับพี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ กรมวิทยาศาสตรบริการที่ได้ก้าวมาสู่จุดเปลี่ยนและพร้อมขับเคลื่อนองค์กรให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป ขอแสดงความยินดีกับท่านอธิบดีที่กำลังจะมีบุคลากรที่มีความสามารถสูงและทรงคุณค่ายิ่งเป็นสมาชิกขององค์กร ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ ที่ได้นำสิ่งดี ๆ มาให้พวกเรา จนประทับใจมิรู้ลืม ขอบคุณทีมงานของจีระอคาเดมี่ทุกคนที่ช่วยเหลือพวกเราทุกคนอย่างดีด้วยความชื่นชม ไม่มีอะไรจะตำหนิได้เลย(จริง ๆ ครับ)

ผมไม่มีอะไรจะวิจารณ์หลักสูตรของท่านอาจารย์จีระ เพราะมันสุดยอดจริง ๆ พวกเราจะไม่เป็นพวกฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทางอีกต่อไปแล้ว และหวังว่า blog นี้จะเป็นช่องทางหนึ่งที่รุ่น 1 และ รุ่น 2 จะได้มาผนึกกำลังร่วมกันเพื่อองค์กร ให้สามารถรับใช้สังคมและประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

ขอบคุณครับ

สุทัศน์ (สมาชิกกลุ่ม 1)

เรียน ท่าน อจ.จีระ และเพื่อนรุ่น 2

กลุ่ม 4 อยากร่วมส่งสรุปกฏ 21 ข้อจากหนังสือ THE ENTREPRENEUR ซึ่งเขียนโดย WILLIAM E. HEINECKE ดังนี้

กฎข้อที่ 1 มองหาโอกาสในขณะที่ผู้อื่นมองไม่เห็น คว้ามันไว้ แล้วใช้โอกาสนั้นให้เป็นประโยชน์ โดยฝึกฝนให้มองทะลุจนเห็นโอกาส มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งอาจสร้างวิสัยทัศน์ได้จาก งานที่ทำอยู่ งานอดิเรก ความสนใจอื่นๆ หรือ จากการสังเกตรอบๆ ตัว

กฎข้อที่ 2 เตรียมตัวให้พร้อมเสมอเมื่อโอกาสมาถึง ต้องทำการบ้านก่อน เพราะถ้ามีข้อมูลอยู่แล้ว ก็พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า เคล็ดลับการเตรียมพร้อม มีดังนี้

-เริ่มจากเล็ก และเรียบง่าย จากหนึ่งความคิดดีๆที่เลือกแล้ว และมุ่งทำตามความคิดนั้น

-หาแฟรนไชส์ เพื่อช่วยให้เข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูล แทนการลงทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณเอง

-ตระหนักถึงปัญหาล่วงหน้า

-วิจัย เพื่อดูกลุ่มเป้าหมาย

-การต่อยอดจากความคิดแรก ความคิดรวบยอด เช่น ทำอย่างหนึ่งพ่วงอีกอย่างหนึ่ง

-ประเมินศักยภาพและทรัพยากรให้เหมาะสม

-ประมาณการงบการเงิน คำนึงเสมอว่าจะต้องอยู่รอดให้ได้

กฎข้อที่ 3 อย่าดันทุรังถ้าไม่สนุกกับงาน คือ ทำในสิ่งที่ตัวเรารู้ดี สนุกกับสิ่งที่ทำและทุ่มสุดตัวกับงานนั้นๆ ความมุ่งมั่นที่จะรอดเป็นสิ่งที่จำเป็น

กฎข้อที่ 4 ทำจริง เล่นจริง ทั้งงานและงานอดิเรกต้องทำด้วยความมุ่งมั่นเหมือนกัน ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด

กฎข้อที่ 5 ทำงานด้วยสมองคนอื่น โดยจ้างคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และเชี่ยวชาญโดยตรง มีความกระตือรือร้น มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นๆ มุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถ

กฎข้อที่ 6 กำหนดเป้าหมายสอดคล้องกับวิสัยทัศน์เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานและเป็นแรงผลักดันให้ไปถึงวิสัยทัศน์ เรียนรู้วิธีบริหารธุรกิจให้ได้ผลในทางปฏิบัติ

กฎข้อที่ 7 จงเชื่อมั่นในสัญชาตญาณของตนเอง

กฎข้อที่ 8 เอื้อมมือไขว่คว้าดวงดาว (อย่างน้อยสักครั้ง)เช่น คิดการณ์ใหญ่และพยายามทำให้ได้

กฎข้อที่ 9 เรียนรู้การขาย ถ้าจะให้ใครเชื่อตาม เราจะต้องเชื่อในสิ่งนั้นก่อน ดังนั้น จึงต้องรู้จักวิธีการขายหรือศิลปะการขายซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ พัฒนาโอกาสและช่องทางเข้าให้ถูกทาง เทคนิคการนำเสนอ ต้องขายให้ได้ และการติดตามผล

กฎข้อที่ 10 การเป็นผู้นำ คือ ความสามารถที่ทำให้คนอื่นลงมือทำแม้ไม่อยากจะทำและหันมาชอบในงานที่ทำ การเป็นผู้นำต้องปฏิบัติดังนี้ สร้างแรงจูงใจ ให้พนักงานทราบว่างานที่ได้มอบหมายให้มีความสำคัญแค่ไหน เชื่อมั่นในทีมงาน ต้องรู้จักพูดขอบคุณ มีมารยาท ร่าเริง ใจดี ไม่หงุดหงิด ไม่มุ่งร้าย เงี่ยหูฟัง ยืดหยุ่น สุขุมภายใต้แรงกดดัน เป็นตัวอย่างที่ดี ให้คนอื่นรู้ว่าคุณรู้ในสิ่งที่พูดอยู่ ถ่อมตัว มีอารมณ์ขัน และมีการเลี้ยงฉลองเมื่องานสำเร็จ

กฎข้อที่ 11 ยอมรับความผิดพลาดแล้วก้าวเดินต่อไป อย่าบ่นว่าความล้มเหลว เพราะนั่นหมายถึงคุณได้ตัดความผิดพลาดออกไปแล้วข้อหนึ่ง

กฎข้อที่ 12 สร้างโชควาสนาที่ดีที่สุดขึ้นมา โชควาสนาก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อการเตรียมพร้อมมาบรรจบกับโอกาส

กฎข้อที่ 13 ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผู้ประกอบการต้องรู้จักเปิดกว้างรับความคิดใหม่ๆ ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงให้ดีที่สุดและชิงลงมือก่อนเสมอ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาดังนั้นจึงต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้ทันกับกระแสโลก หาโอกาสนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ รวมทั้งรู้จักจังหวะและติดตามให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้น

กฎข้อที่ 14 สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ของธุรกิจ/สังคมกับทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องจนถึงลูกค้า ไมตรีจิตสำคัญมากเพราะหาซื้อไม่ได้แต่สร้างได้ สายสัมพันธ์ที่ดีจะเป็นตัวช่วยที่จะใช้ประโยชน์ได้ในภายภาคหน้า เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้สายสัมพันธ์กับสื่อมวลชนจะช่วยให้เป็นข่าวในเชิงบวก

กฎข้อที่ 15 ใช้เวลาอย่างชาญฉลาด ทุกคนมีเวลาเท่ากันในแต่ละวัน คือ 24 ชม. ขึ้นอยู่ที่ว่าคุณจะใช้เวลาให้มีค่าอย่างไร เวลาของผู้ประกอบการเป็นเงินเป็นทอง การวางแผนการทำงานล่วงหน้าในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ และแต่ละเดือน จะทำให้งานดำเนินไปอย่างที่วางแผนไว้ นอกจากนี้ควรทำในสิ่งที่คุณถนัดและทำได้ดี แล้วปล่อยให้คนอื่นทำงานในส่วนที่เป็นจุดอ่อนของคุณแทน ความสำเร็จของผู้ประกอบการจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับ การนำจุดแข็งมาใช้ ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด

กฎข้อที่ 16 ประเมินแล้วประเมินอีก ทำให้ทราบว่าตัวเองอยู่ ณ จุดไหน ในขณะนั้นและต้องการให้ถึงจุดไหน การวัดสมรรถนะของบุคคลจะวัดจากผลงาน และผลงานของแต่ละคน/แต่ละแผนกจะเป็นการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรในระบบ

กฎข้อที่ 17 อย่ามีแต่คนพื้นๆ ธรรมดาสามัญ ควรมีคนเก่งด้วย ธุรกิจจึงจะอยู่รอด ดังนั้นต้องจูงใจคนของเรา ท้าทายให้เขาพัฒนาตัวเองอย่างไม่รู้ตัว เพราะการฝึกอบรมและพัฒนาคนเป็นหัวใจหลักของการเพิ่มความสามารถของบุคคลในองค์กร การมีแผนกพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เข้มแข็ง จะช่วยพัฒนาจุดแข็งและแก้ไขจุดอ่อนให้ทุกคนได้พัฒนาตัวเองให้เป็นคนเก่งได้

กฎข้อที่ 18 มุ่งหาคุณภาพมากกว่าเงิน คุณภาพไม่ใช่เรื่องของอุบัติเหตุ แต่เป็นผลพวงจากการตั้งจุดหมาย มีความพยายามอย่างไม่ลดละ มีทิศทาง เข้าใจง่าย ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดบนทางเลือกที่หลากหลาย

กฎข้อที่ 19 รีบลงมือทันทีในช่วงวิกฤติ ใช้วิกฤติให้เป็นการเรียนรู้ ทุกคนจะต้องดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อผ่านพ้นวิกฤตแล้ว เมื่อเจอวิกฤติผู้นำต้องมีสติ คิดและลงมือทำ อ่านสถานการณ์ให้ขาด ชิงลงมือปฏิบัติ ก่อนที่เหตุการณ์จะลุกลามไปมากกว่าเดิม จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำแล้วลงมือปฏิบัติการทันที และเชื่อมั่นในลูกทีม

กฎข้อที่ 20 เมื่อตกม้าแล้วรีบกระโดดขึ้นอานทันที เมื่อผ่านพ้นวิกฤตแล้วและโอกาสมาถึงอย่างที่เคยวาดฝันไว้ การกระโดดเข้าประลองยุทธกับงานที่ท้าทายเป็นสิ่งที่ควรทำ

กฎข้อที่ 21 “จงพึงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่มีใครเป็นที่หนึ่งในทุกสิ่งทุกอย่าง” - อิสป ความสุขของชีวิตไม่ใช่ได้มาจากการได้ทุกอย่างที่ต้องการ แต่เป็นความพึงพอใจในสิ่งที่มีอยู่โดยการทำชีวิตการงานและชีวิตส่วนตัวให้สมดุล

ทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำ ไม่ใช่กฎตายตัว ผู้ฉลาดต้องนำไปปรับใช้

กลุ่ม 4

เรียน ท่าน อ.จีระ และพี่น้องร่วมรุ่นทุกท่าน

พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันสุดท้ายสำหรับการเรียนรู้ในหลักสูตรแล้วนะครับ...

ผมคิดว่าพวกเราโชคดีมากที่ ได้รับสิ่งดีๆ จากทีมงานวิทยากรมืออาชีพหลายท่าน

นับเป็นความท้าทายสำหรับพวกเรา ที่ต้องคิดต่อว่า เราพวกจะนำเอา วิชาความรู้ต่างๆ

ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับองค์กรของพวกเราได้อย่างไร...

วันก่อนผมได้ยิน ท่าน อ.จีระ พูดถึงเรื่อง Crucial Conversation

เลยนำข้อมูลมาเผยแพร่ เพื่อประโยชน์กับพวกเราครับ...

Crucial Conversation

หมายถึง การสนทนาในเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง …….. เคยหรือไม่ ?? ที่เราหลีกเลี่ยงที่จะคุยเรื่องสำคัญบางเรื่อง อาทิ

......อยากบอกความในใจ แต่ก็ไม่กล้า

......อยากเตือน แต่ก็ไม่กล้าพูดหมด

......อยากเสนอความเห็นที่แตกต่างจากหัวหน้า

......อยากปฏิเสธ แต่ก็ไม่กล้า เพราะกลัวไม่เป็นที่รัก

......กังวลกับการให้ Feedback

......สอนงานอย่างไร ให้รู้สึกว่าเค้าไม่ได้โง่ ......และอีกหลายเรื่อง

แล้วทราบหรือไม่ว่า การที่เราไม่คุยเรื่องสำคัญในขณะนั้น จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงในอนาคต

การสนทนาแบบใดจึงเรียกได้ว่าเป็นการสนทนาในเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง (Crucial Conversation)

เมื่อ....มีความเห็นตรงข้าม (Opposing Opinions)

เมื่อ....มีอารมณ์รุนแรง (Strong Emotions)

เมื่อ....มีผลได้ผลเสียสูง (High Stakes)

ซึ่งหากมีลางบอกเหตุดัง 3 ประการข้างต้น.....นั่นหมายความว่าการสนทนาต่อไปเราจะต้องหยิบเครื่องมือต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไปมาใช้ เพื่อให้การสนทนาที่สำคัญอย่างยิ่งนั้นประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ทางเลือกของคู่สนทนาขณะเกิด Crucial Conversation

เมื่อการสนทนามาถึงจุดที่เป็น Crucial Conversation คู่สนทนาจะเกิดการสนองตอบ 2 แนวทาง คือ

แนวทางที่ 1 พูดออกมา

แนวทางที่ 2 แสดงออกมา แบ่งเป็น

1. ความเงียบ (Silence) เช่น กลบเกลื่อน หลีกเลี่ยง ถอยออก

2. ความรุนแรง (Violence) เช่น ควบคุม ตราหน้า โจมตี

ลองสังเกตกันดูนะว่าเรามีการสนองตอบแบบไหน

ซึ่งสาเหตุที่คนเราแสดงออกไม่ว่าจะเป็นความเงียบ หรือ ความรุนแรง ก็เพราะเรารู้สึกว่า “ ไม่ปลอดภัย ”

เครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้การสนทนาในเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถพูดความจริงอย่างเปิดเผยในเรื่องราวที่ละเอียดอ่อนได้

ก่อนการสนทนาให้วิเคราะห์ว่าเรื่องที่เราจะสนทนาในวันนี้เป็นปัญหาในระดับใด

ระดับ C : Content เรื่องนั้นเพิ่งเคยเกิดขึ้นครั้งแรก

ระดับ P : Pattern เรื่องนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและหลายครั้ง....อีกแล้วเหรอ

ระดับ R : Relation เรื่องนั้นมีผลต่อความสัมพันธ์.....ชักไม่ชอบ เสียใจ

จากระดับของปัญหาก็จะนำมาซึ่งคำพูดที่เราจะใช้ เช่น ลูกน้องไม่เข้าประชุมตามที่ได้รับมอบหมาย

ระดับ C : “วันนี้คุณไม่เข้าประชุม”

ระดับ P : “คุณไม่เข้าประชุมมา 3 ครั้งแล้วนะ”

ระดับ R : “คุณไม่เข้าประชุมหลายครั้ง เรื่องนี้ทำให้ผมไม่สบายใจ.....”

แต่เมื่อคุยแล้วหาทางออกไม่ได้ หรือ เริ่มเกิดวิกฤต เช่น เราเริ่มลืมบทบาทของตัวเอง (ประมาณว่าอารมณ์ปริ๊ดแตก) หรือ มูลเหตุจูงใจของเราเปลี่ยนไป (จากที่ตั้งใจว่าจะคุยด้วยดีๆ กลายเป็น..ตายซะเถอะ) หรือ เราเริ่มจำกัดทางเลือก *ที่จะเป็นผลลัพธ์จากการสนทนาหรือที่จะให้คู่สนทนาปฏิบัติ* ( Yes or No เท่านั้น)...ให้หยุด การสนทนาสืบเนื่องต่อไป....แล้วสังเกต ดูซิว่า “มีอะไรที่เราไม่ได้พูดออกไป หรือพูดออกไปแล้วไม่ดีพอ”

เริ่มต้นจากใจ (Start with Heart)

พยายามอ่านสถานการณ์ให้ออก (Learn to Look)

สร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับคู่สนทนา (Make it Safe)

จัดการกับเรื่องที่เราแต่งขึ้น..... (Master My Stories)

บอกเส้นทางของตัวเอง (STATE MY PATH)

สำรวจเส้นทางของคู่สนทนา (EXPLORE OTHERS' PATHS)

สิ่งเหล่านี้คือเครื่องมือที่เราสามารถนำมาใช้ในการสนทนาในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่จำเป็นที่ต้องใช้ทุกข้อ ไม่ต้องใช้เรียงตามลำดับ แต่ขึ้นอยู่กับบริบทของการสนทนาที่เกิดขึ้นกับวัฒนธรรมของสังคมที่เราอยู่...เลือกและปรับใช้ให้เหมาะสม เพราะเพียง " แค่เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน "

เรียนท่านอาจารย์จีระ และผู้เรียนรู้ภาวะผู้นำรุ่นที่ 2 ตลอดจนผู้เข้าชม blog ทุกท่าน

กลุ่ม 3 ขอร่วมส่งบทสรุบ 21 กฎทองสำหรับการเป็นผู้บริหารธุรกิจในระดับโลก จากหนังสือ THE ENTREPRENEUR ซึ่งเขียนโดย William Heineke มาดังนี้ ครับ

การเป็นเจ้าของธุรกิจเปรียบเสมือนการเป็นเจ้านายตัวเอง ซึ่งจะต้องมีการตัดสินใจและลงทุนเพื่อจะก้าวไปสู่จุดสูงสุดของธุรกิจในระดับโลก ผู้ที่เปิดเผยถึงกฎทอง 21 ข้อ คือ Mr. Bill Heinecke ซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นในการทำธุรกิจขนาดย่อมและได้ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจในช่วงขาลง ทำให้เขาได้เรียนรู้ในหลักการทำธุรกิจและนำมาใช้ในการทำธุรกิจของตัวเองจนผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆไปด้วยดี และได้นำหลักการนั้นมาเป็นกฎทอง 21 ข้อ สำหรับให้ผู้ทำธุรกิจใช้ในการประกอบการธุรกิจของตนเองเพื่อให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จต่อไป

สำหรับเจ้าของธุรกิจ คือ ผู้ที่ประกอบธุรกิจโดยต้องใช้ความคิด การจัดการ การจัดการองค์กร การใช้มุมมองในแง่ต่างๆเข้ามาสมทบกับการทำธุรกิจเพื่อให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการทำธุรกิจต้องมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับการลงทุน นักธุรกิจทั่วไปมีกุญแจสำคัญอยู่ 2 อย่าง ประกอบด้วยความเสี่ยงและธุรกิจที่ทำ โดย 21 กฎทองสำหรับการเป็นผู้จัดการระดับโลก มีดังนี้

กฎข้อที่ 1 Find a vacuum and Fill IT

การจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องรู้จักมองหาโอกาส หรือช่องว่างที่คนอื่นยังมองไม่เห็นแล้วใช้สมองคิดฉกฉวยโอกาสนั้นมาทำก่อนคนอื่น เช่น ถ้าเราสามารถรู้ก่อนว่าภายหน้าผู้คนต้องการสิ่ง่ใด แล้วเราสามารถเสนอสิ่งนั้นก่อนใครเราก็จะประสบความสำเร็จ การมองหาช่องทางของโอกาสนั้นสามารถมองได้จากสิ่งรอบตัวเรา เช่น มาจากงานที่ทำอยู่ มาจากงานอดิเรกหรือสิ่งที่เราสนใจอยู่ และมาจากการได้พบปะคนอื่นๆ ในชีวิต

กฎข้อที่ 2 Do your homework

การจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า หาข้อมูล มองดูความต้องการของตลาด มองถึงปัญหาที่จะเกิดในภายหน้า พร้อมทั้งมองวิธี แก้ไขไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ต้องเริ่มลงทุนจากเล็กไปใหญ่ ต้องคำนึงถึงต้นทุนความเหมาะสม ประเมินสถานการณ์และถ้าประสบความสำเร็จก็มองหาเครือข่ายเพื่อขยายต่อไป

กฎข้อที่ 3 You won’ t be committed if you’re not having fun

คุณจะไม่สำเร็จกับการทำงานถ้าคุณไม่สนุกกับการทำงาน ต้องทำงานให้มีความสุข อย่าทำงานเพียงเพื่อเงินหรืออำนาจ ในขณะเดียวกันต้องมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานที่ชอบ

กฎข้อที่ 4 Work hard , play hard

การทำงานต้องทำอย่างจริงจัง แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทำตลอดเวลา โดยไม่พักผ่อนและคลายเครียด ถึงเวลาเล่นก็ต้องเล่น ใช้เวลาให้คุ้มค่ากับชีวิตที่มีอยู่เพื่อความสุข

กฎข้อที่ 5 Work with other people’ s brains

การทำงานร่วมกับคนอื่นที่มีความสามารถในด้านหนึ่งซึ่งเป็นด้านที่เราไม่มี ทำให้ทีมงานมีความแข็งแกร่งและเราก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถของเพื่อนร่วมงานนั้นและได้เรียนรู้และมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น

กฎข้อที่ 6 Set goals (but go easy on the “vision” thing)

การทำงานจะต้องตั้งเป้าหมายและทำให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

กฎข้อที่ 7 Trust your intuition

การเชื่อในสัณชาตญาณของตนเอง ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องนำมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ

กฎข้อที่ 8 Reach for the sky (at least on)

การทำงานเพื่อให้ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้

กฎข้อที่ 9 Learn to Sell

การเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะขายสินค้าได้

กฎข้อที่ 10. Become a leader

การทำงานอย่างเป็นผู้นำ, ก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางธุรกิจ

กฎข้อที่ 11 Recognize a failure and move on

การยอมรับความผิดพลาด แล้วก้าวเดินต่อไป ผู้นำต้องมองหาโอกาสใหม่ในการดำเนินธุรกิจ โดยไม่ยอมแพ้ต่อความล้มเหลวในอดีตมากมาย การปรับโฉมใหม่ของร้านสะดวกซื้อ เซเว่น*อีเลฟเว่น เป็นตัวอย่างที่ดี ในการคิดและคว้าโอกาส ใหม่ แม้ว่ารูปแบบของธุรกิจลักษณะร้านขายของชำที่มีอยู่เดิมๆ จะมีอยู่แล้ว

กฎข้อที่ 12 Make the most of lucky breaks

การสร้างโชคที่ดีที่สุดขึ้นมา เมื่อต้องพบกับปัญหาในการบุกเบิกงานใหม่ การหาทางออกของผู้นำคือประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องและอาจโชคดีที่จะมีโอกาสได้พบคนดีกว่าให้คำแนะนำช่วยเหลือจนสามารถผ่ายอุปสรรคไปได้และประสบความสำเร็จ เราสามารถสร้างโชคหรือความสำเร็จได้ด้วยการเตรียมพร้อม เมื่อมีโอกาสที่ดีมาถึง

กฎข้อที่ 13 Embrace change as a way of life

การยอมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นวิถีหนึ่งของชีวิต โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี การรีบแสวงหาโอกาสเพื่อพลิกธุรกิจเดิมด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีกว่า ของผู้นำ เป็นช่องทางสร้างงานบริการใหม่ที่ถูกใจลูกค้าและสามารถทำเงินได้มหาศาล Amezon.com เป็นตัวอย่างที่ดี ของธุรกิจ E-Commerce ที่ประสบความสำเร็จ

กฏข้อที่ 14. Develop your contacts

การสร้างเครือข่ายสัมพันธ์ การพัฒนาการติดต่อ การสร้างเครือข่าย การหาลูกค้าใหม่ พัฒนาเพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ผู้นำต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์ทั้ง ธุรกิจและทางสังคม เต็มความสามารถให้ครอบคลุมรวมถึงสื่อมวลชน เนื่องจากการเริ่มงานใหม่ต้องขยายการติดต่อด้านต่างๆ และต้องประสานกับธนาคาร นักการเมือง นักลงทุน ทนายความ เป็นต้น ต้องเตรียมพร้อมเพื่อหาคนเก่ง และเป็นที่ประทับใจมาช่วยงาน การพัฒนาการติดต่อ การสร้างเครือข่าย การหาลูกค้าใหม่ พัฒนาเพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ

กฏข้อที่ 15. Use your time wisely

ต้องบริหารเวลาอย่างชาญฉลาดผู้นำต้องรู้จักการบริหารเวลา โดยจัดลำดับความสำคัญของงานและสร้างวินัยตามที่กำหนดไว้ และต้องวางแผนเช่น เมื่อมีช่วงเวลาว่าง เช่นขณะเดินทางบนเครื่องบินจะทำอะได้บ้าง หรือ มอบหมายงานแก่ผู้อื่นดำเนินการแทนในกรณีที่เป็นงานที่ต้องใช้คนที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะจะได้ทำให้

กฏข้อที่ 16. Measure for Measure

ต้องมีการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ หรือ Benchmarking ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบว่าเราอยู่ ณ จุดไหน คู่แข่งอยู่ ณ จุดไหน ทำให้เกิดความพยายามที่จะหาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพหรือสมรรถนะของบุคลากร แผนก หรือองค์กร ให้ดียิ่งขึ้น สมาชิกที่ดีขององค์กรควรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสมรรถนะในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งกระบวนการพัฒนานี้ไม่มีวันสิ้นสุด

กฏข้อที่ 17. Don't put up with mediocrity

การรักษาหรือการมีบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ อย่ามีแต่คนพื้นๆธรรมดาสามัญในองค์กร และให้ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคลากร ทั้งนี้เพื่อให้สามารถสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง

กฏข้อที่ 18. Chase Quality, Not Dollars

การให้ความสำคัญกับคุณภาพหรือกระบวนการหาเงิน มากกว่าการมุ่งแต่หาเงิน ผู้ที่ต้องการจะให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ จำเป็นจะต้องมีสายตาที่กว้างไกล ไม่ควรมุ่งหวังที่จะหาประโยชน์ในระยะสั้นเท่านั้น

กฏข้อที่ 19. Act quickly in a crisis

ต้องรีบลงมือทันทีในช่วงวิกฤต ในสภาวะวิกฤตผู้นำจะต้องมีสติ ไม่ตกใจ ให้วิเคราะห์สถานการณ์อย่างรอบคอบ ตีโจทย์ให้แตก และลงมือปฏิบัติอย่างฉับไวก่อนที่สถานการณ์จะลุกลามบานปลาย

กฏข้อที่ 20. After a fall, get back in the saddle quickly

เมื่อเกิดธุรกิจล้มก็สามารถฟื้นตัวกลับมาสู่สภาพปกติได้เร็ว เมื่อพลาดแล้วต้องไม่ย่อท้อ ต้องต่อสู้ต่อไป ในบางสนามของการประลองยุทธ์ เราอาจจำเป็นต้องระดมทั้งสรรพความรู้และสรรพสิ่งตลอดจนประสบการณ์ต่างๆออกมาใช้แก้ไขปัญหาที่ท้าทาย

กฏข้อที่ 21. Be Content

จงพึงพอใจกับสิ่งที่มี กับความสำเร็จที่ได้รับ เนื่องจากไม่มีโครเป็นที่หนึ่งในทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยแนวคิดนี้ทำให้คนเราสามารถหาความสุข ความสนุกสนาน และเสริมสร้างพลังให้กับชีวิตได้

กลุ่ม 3

เรียนดร.จิระ และเพื่อนๆชาว วศ และชาว blog

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการอบรมภาคทฤษฎี 60 ชั่วโมง ก่อนที่จะไปดูงานกันที่ประเทศเกาหลีสัปดาห์หน้า ช่วงเช้าวันนี้ที่ดร.จิระเป็นวิทยากรสอน สรุปการอบรมภาคทฤษฎี และอีกเช่นเคยที่เราได้ชาร์จพลังจากอาจารย์ ผมชอบการสรุปของอาจารย์ในวันนี้มากครับ โดยเฉพาะที่อาจารย์ได้เน้นให้เราอีกครั้งว่าการที่เรามาพัฒนาภาวะผู้นำตัวเองนี้ ที่สำคัญคือการ follow up คือการที่ได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมมาใช้จริงจากการทำโครงการ ซึ่งอาจารย์ก็ให้เราได้คิดโครงการนวัตกรรม และนำเสนอโครงการ โดยอาจารย์อยากให้เน้นเรือง นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างเครือข่าย เสียดายที่วันนี้มีเวลาให้คิดโครงการน้อยไปหน่อยครับ แต่ถึงอย่างไรกลุ่มแต่ละกลุ่มก็มีโครงการที่น่าสนใจทั้งนั้น สำหรับกลุ่มผม กลุ่มที่ 5 คิดว่าเราจะได้พูดคุยออกแบบโครงการกันให้มากกว่านี้ครับ ผมมีความคิดว่าอย่างแรกสุดคงจะต้องรักษาความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผมมีหน่วยงานอีกสองหน่วยงานเข้าร่วมด้วย การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีส่วนตัวเป็นการรักษาเครือข่ายให้เหนียวแน่นก่อนอื่นใด จากนั้นก็คิดว่าน่าจะมีโครงการที่ไม่ใหญ่นัก แต่มีความเป็นไปได้สำเร็จได้เร็วและไม่ยากจนเกินไปเพื่อสร้าง Small win หรือ Quick win และหากทำหลายๆ small win ก็จะนำมาสู่ big win ต่อมา ผมมีความเห็นว่าโครงการที่น่าจะทำคือโครงการในลักษณะจุดประกายและส่งเสริมเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนที่ด้อยโอกาสได้มีความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ การประดิษฐ์ ซึ่งหน่วยงานในกระทรวงวิทย์ฯหลายๆหน่วยงานได้มีกิจกรรมมุ่งเน้นเยาวชนอยู่เกือบทุกหน่วยงาน แต่ไม่ได้รวมกำลังกัน หรือ synergize กัน อาจจะเป็นไปได้ว่าหากหน่วยงานทั้ง 7 ของเราได้หาจุดยืนร่วมกัน อาจจะมีการเซ็น MOU กัน และดึงความร่วมมือจากมูลนิธิของดร.จิระ เรื่องของการจัดการนั้น ท่านประธานรุ่นก็ได้จัดวางโครงสร้างทีมงานรุ่นที่ 2 ไว้แล้วด้วยซึ่งเป็นโครงสร้างที่เหมาะสมอยู่ในตัว เพียงแต่ว่าออกแบบโครงการ แล้ว execute กัน ผมเชื่อแน่ว่าท่านอธิบดีคงสนับสนุนอย่างเต็มที่ management involvement ไม่เป็นปัญหาแน่นอนครับ ผมอยากจะทราบเหมือนกันว่ามูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นานาชาติของดร.จิระนั้นมีภารกิจอะไรบ้าง และโครงการของ วศ จะเข้ารับตวามร่วมมือได้อย่างไรบ้าง คงต้องขอถามท่านดร.จิระด้วยครับ ผมอยากเห็นเด็กไทยมีความสนใจ และความฝันที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร นักประดิษฐ์ คิดสร้างสรรค์ให้มาก ไม่ใช่ว่าอยากเป็นนักร้อง หรือ ดาราอย่างที่นิยมในขณะนี้ สุดท้ายสำหรับคราวนี้ ผมต้องขอขอบคุณดร.จิระในความตั้งใจจริงที่จะติดตามการพัฒนาตนเองของพวกเราชาว วศ ที่เข้าอบรม Chief of knowledge development อาจารย์ได้สร้างความมั่นใจให้ผมว่าการอบรมของ ชาว วศ นี้จะไม่เป็นอย่างน้ำเซาะทรายอย่างที่ผมเกรง และกังวลแต่แรก ผมขอยอมรับว่าสิ่งที่ผมได้มากที่สุดจากการอบรมครั้งนี้คือการได้รับการจุดประกายในการพัฒนาภาวะผู้นำในตัวเอง และได้พลังจากอาจารย์มากครับ นอกจากนี้มุมมองใหม่ที่ต่างจากมุมมองเดิมๆที่นักวิทย์ฯเคยชิน ผมขอขอบคุณดร.จิระอีกครั้ง และเชื่อมั่นว่าจะได้รับความกรุณาจากอาจารย์อีก และจะได้ทำงานร่วมกันในฐานะ partner กันในอนาคตอันใกล้ครับ

นับถือ

กรธรรม

เรียนท่านอาจารย์ จีระ และสมาชิกรุ่น 2 ทุกท่านครับ

ผมขอขยายความเรื่อง KN (Knowledge Ntework) เมื่อวานของกลุ่ม 5 อีกสักเล็กน้อย พวกเราเห็นตรงกันว่าการเรียนรู้และพ้ฒนาด้าน ว & ท ของประเทศควรทำอย่างไม่มีที่สิ้นสุดหรือเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น การสร้างเครือข่ายความรู้ของหน่วยงานต่างๆ ใน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้ พ้ฒนา ถ่านทอดเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งความจริงเราก็ดำเนินการโครงการต่างๆ อยู่บ้างแล้ว เช่น สมัชชาวิทยาศาสตร์ คาราวานวิทยาศาสตร์ คลีนิคเทคโนโลยี เพียงแต่การดำเนินงานในรายละเอียดเหล่านั้น มี Impact พอที่จะไปกระตุ้นต่อมผู้บริหารในระดับประเทศที่จะหันกลับมาดูพร้อมส่งเสริมสนับสนุนงานของหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้นหรือยังนะครับ ส่วนตัวอย่างงานที่ทางกลุ่มของเราได้พูดคุยเรื่องความเป็นไปได้ในการแลกเปลี่ยนและร่วมการจัดแสดงนิทรรศการ ขอยกเรื่องที่เกี่ยวกับ วศ. ก่อนนะครับ ได้คุยกับ ดร.กรธรรม ว่าอาจประสานงานขอนำชิ้นงาน interactives จาก อพ. ที่มี Theme เรื่องที่สามารถนำมาจัดแสดงเพื่อช่วยอธิบายหลักการทำงานของอุปรณ์/เตรื่องมือที่ วศ.ได้ทำวิจัยขึ้นมาใช้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานในห้องปฏิบัติการ อาจใช้พื้นที่บางส่วนของโถงต้อนรับหรือห้องสมุดที่อาจออกแบบปรับปรุงขยับขยายให้มีลักษณะคล้าย คลีนิคเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นหรือผลงานวิจัยรูปแบบหนึ่ง หรือจะร่วมเดินทางไปกับ อพ.ในโครงการคาราวานวิทยาศาสตร์ในส่วนภูมิภาคโดยพิจารณา Target groups เช่น ถ้าเป็นเรื่องเซรามิคน่าจะไปร่วมกันที่จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น ขณะเดียวกัน วศ.ก็ได้มอบ collection ประเภทวัสดุหรือครุภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแต่ยังคงคุณค่าทางวิชาการให้กับ อพ.ไปใช้ประกอบการจัดแสดงนิทรรศการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น แสงและการมองเห็น โครงสร้างผลึก ก็เข้าทำนองร่วมด้วยช่วยกันนะครับ รวมทั้งยังมีหน่วยงานอืนๆ ที่ผมและทีมงานเคยร่วมจัดนิทรรศการและยังไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดไม่ว่าจะเป็น วว. สทน. สทอภ. มว. และ สวทช. ซึ่งถ้าเราจับกลุ่มกันเป็น Network ถึงจะเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ แต่มีความมั่นคงสูงกว่าเพราะเรารู้จักกันแล้ว ผมว่าเราน่าจะขยายกิจการของกลุ่มไปได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นนะครับ ขอบคุณครับ

ตัวแทนกลุ่ม 5

สวัสดีครับ

ขอบคุณพี่โน๊ต สุวรงค์มากครับที่ได้ขยายความโครงการของกลุ่ม 5 ในข้อความข้างบนนี้ ผมว่าเราควรเน้นการทำโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นเครือข่ายให้มาก synergy ให้มาก ทั้งกับหน่วยงานในและนอกกระทรวงวิทย์ฯ โดยอาจจะเริ่มจากกิจกรรมหรือโครงการที่สามารถทำได้ง่าย และทำได้เร็ว เพื่อทำให้เกิดความสำเร็จและจุดประกายริเริ่มโครงการที่ใหญ่ขึ้นต่อไป โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยิ่งถ้าเป็นการให้โอกาสกับเยาวชนที่ด้อยโอกาสด้วยแล้ว น่าจะเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ และเชื่อว่ามูลนิธิของท่านอาจารย์จิระจะยินดีเป็น partner ด้วยใช่ไหมครับ กลุ่มที่ 5 กับกลุ่มอื่นๆจะลองปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการริเริ่มโครงการในลักษณะเครือข่ายความรู้เช่นนี้ในขณะที่ไปทัศนะศึกษาที่ประเทศเกาหลีในสัปดาห์หน้าครับ

กรธรรม

กลุ่ม 5

สุรินทร์ อรรถกิจการค้า

เรียนท่านอาจารย์จีระ และเพื่อนร่วมรุ่น 2 ทุกท่าน

เมื่อวานนี้เป็นวันสุดท้ายของ 60 ชั่วโมงของการฝึกอบรมภาวะผู้นำ ฯ วศ.รุ่น 2 จึงมีการสรุปกลั่นกรองความคิดรวบยอด จากความรู้และประสบการณ์การทำงานทั้ง tacit และ explicit knowledge ที่สั่งสมอยู่ในตัวทุกคนมาหลายปี ประสานกับการอบรมบ่มความรู้ที่เกิดจากการทำงานจริงของกูรูทางด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจะแสดงพลังความคิดที่ว่า เปลี่ยนความคิด กรมวิทย์ก็เปลี่ยนได้ โดยนำเสนอโครงการที่เป็นรูปธรรม เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชื่อ โครงการปรับเปลี่ยนภารกิจของ วศ. จากที่เดิมทำงานเชิงรับ ทางด้านบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ และอื่น ๆ มาเป็นการทำงานเชิงรุก ด้านกำกับดูแลห้องปฏิบัติการ

ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการในประเทศไทย มีมากมาย ทั่งในภาคราชการและเอกชน ประมาณ สองสามหมื่นแห่ง ซึ่งเกิดขึ้นมาตามความต้องการของทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ และภาคการศึกษา แบบไร้ทิศทางขาดการควบคุม ส่งเสริม และพัฒนาจากภาครัฐ ไม่มีการจัดการให้เป็นระบบให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของประเทศ และการไร้การควบคุมนี้เอง ทำให้การจัดตั้งห้องปฏิบัติการ หย่อนมาตรฐาน มองในด้านทำประโยชน์ด้านเดียวโดยขาดการมองด้านผลกระทบอื่น ๆ เช่น สถานที่ก่อตั้งอยู่ในเขตชุมชนที่อยู่อาศัยหนาแน่น ลักษณะอาคารไม่เหมาะสมในกิจกรรมที่ทำ ไม่มีเกณฑ์ความปลอดภัยในการทำงานทั้งด้านระบบไฟฟ้า แสงสว่าง การระบายอากาศ ไม่มีระบบกำจัดของเสียที่เป็นผลจากกิจกรรม ที่อาจเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น น้ำล้างหลอดทดลองทางเคมี จะมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มากมายหลายชนิดทิ้งลงในระบบท่อระบายน้ำเสีย ไม่มีการคัดกรองออกก่อนทิ้ง รวมไหลลงตามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งมีผลต่อระบบนิเวศในระยะยาว และ ยิ่งกว่านั้น ถ้าเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายสามารถแพร่ขยายต่อไปได้ก็จะยิ่งเกิดความเสียหายที่ไม่อาจจะคาดคิดได้

กลุ่มเราจึงเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วน เสนอโครงการปรับเปลี่ยนภารกิจของ วศ. ทำงานกำกับดูแลห้องปฏิบัติการเชิงกฎหมายกำหนด เพื่อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ ควบคุม พัฒนา ส่งเสริม ห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ผลที่จะได้รับ อาจมูลค่าเพิ่มมากกว่ายกกำลัง 5 เพราะมีผลกระทบกับทั้ง ผู้ปฏิบัติงานห้องทดลองทุกคน ข้าราชการ วศ. ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในวงจรการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ ซึ่งผลแห่งความสำเร็จในการ ดำเนินการได้จริง ทำให้ประเทศ มีระบบควบคุมห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน เป็นที่เชื่อถือของทั้งคนไทย และต่างประเทศ และ ความภาคภูมิใจที่จะเกิดขึ้นนี้ คงไม่พ้นไปจากสถาบัน Chira academy

ด้วยความเคารพ

สุรินทร์.

เกรียงไกร นาคะเกศ

เรียนท่านอาจารย์จีระ ผู้เรียนรู้ภาวะผู้นำรุ่นที่ 2 และผู้เข้าชม blog ทุกท่าน

ผมขอแจ้งรายละเอียดอายุสิทธิบัตร สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มีอายุ 10 ปี อนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี

หลังจากเรียนจบ 60 ชั่วโมงแล้วผมขอขอบพระคุณอาจารย์อย่างมาก อาจารย์ให้ข้อคิดกับพวกเราและองค์กรไว้มากจริงๆครับ โดยเฉพาะการมองจากบุคคลภายนอกซึ่งมีประสบการณ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ทำให้เรามองเห็นว่าตัวเราเป็นเช่นไร อาจารย์มองเห็นชัดเจนว่ากรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นหน่วยราชการ ติดขัดด้วยระเบียบ การจะทำให้เกิด motivation ทำได้ยาก เช่นเดียวกับความเห็นจากพี่สุทัศน์ซึ่งพวกเราต้องขอบคุณจากใจจริง ขอบคุณท่าน อวศ.ปฐม และท่านผู้บริหารทุกท่านที่ทำให้พวกเราได้พัฒนาตนเองและได้รู้จักบุคคลจากวงการวิทยาศาสตร์ และขณะนี้เราได้นำเสนอองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยโดยผ่าน blog ของท่านอาจารย์จีระ ซึ่งท่านอาจารย์เองยินดีที่จะช่วยพวกเราอย่างมาก ผมเห็นด้วยกับความคิดของคุณสุวรงค์และคุณกรธรรม ที่ได้นำเสนอโครงการ KN ของ STOT (Science and Technological Organizations in Thailand) ไม่เฉพาะกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้นยังรวมถึงประชาชนทั่วประเทศด้วย หากคิดเป็นแบบวิทยาศาสตร์ โดยมีเหตุมีผล จะทำให้มองปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง ตัดเหตุผลที่ไม่น่าเชื่อถือออกไป จะทำให้แก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ควรเริ่มจากเด็กเล็กๆก็จะดีอย่างยิ่ง เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นหากพัฒนาได้ถูกทางเขาจะเข้าใจวิทยาศาสตร์ดียิ่งขึ้น เมื่อทำงานเป็นผู้ใหญ่ไม่ว่าสาขาอาชีพไหนเขาก็จะเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ได้ตลอดชีวิต เขาจะรู้ว่าทำไมน้ำมันแพง ทำไมโลกร้อน ทำไมน้ำท่วม เขาจะช่วยแก้ปัญหาได้ดี ปัญหาแก้ได้จากตัวเราและค่อยๆขยายไปสู่ประเทศชาติในอนาคต

หลังจากนี้ผมใคร่ขอเชิญท่านอื่นๆมา share idea กันได้นะครับ แม้ว่าจะไม่ได้มีบทเรียนที่จะต้องเรียนรู้ในห้องแล้ว ต่อไปจะเป็นบทเรียนนอกห้องและการปฏิบัติจริง มีการ follow up และจะมี inspector คือท่านอาจารย์จีระคอยตรวจสอบพวกเราอยู่ตลอด

ขอบคุณครับ

เกรียงไกร

เรียนท่านอาจารย์จีระและเพื่อนๆ ทุกท่าน

ขออภัยท่านอาจารย์และเพื่อนๆทุกท่านด้วยที่ต้องไปราชการที่ไต้หวัน เพิ่งกลับมาเย็นวันนี้อดไม่ได้ที่จะรีบเข้า blog ดูความเคลื่อนไหวของชาว blog และข้อคิดเห็นของเพื่อนๆ รวมทั้ง blog กีฬาที่ชอบด้วย เมื่ออยู่ที่ไต้หวันเข้า e- mailได้ แต่เข้า blog ไม่ได้มีแต่ตัวอักษรจีนอ่านไม่ออก แต่ดีใจที่เพื่อนๆ หลายท่านเริ่มมีอาการติด blog เหมือนกัน น่าจะเป็นสิ่งที่ดีในการใฝ่เรียนรู้ และวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ

คนไต้หวันมีวัฒนธรรมการใฝ่เรียนรู้ที่ดีมาก ทำให้ประเทศพัฒนาไปได้เร็วอยู่อันดับ top five ในหลายๆ เรื่องตามที่ท่านอาจารย์หลายท่านได้แสดงข้อมูลให้เห็น ไปครั้งนี้มีรถไฟด่วนวิ่ง 300 กม./ชม.แบบ shinkansen ที่ญี่ปุ่นเพิ่มมาอีก) ทั้งนี้ท่านอธิบดีปฐมฯ มีวิสัยทัศน์มองเห็นแนวทางที่จะดึงประสบการณ์ ความรู้จากคนไต้หวันมาเป็นประโยชน์แก่ประเทศ และผู้บริหารที่ไต้หวันยินดีรับคำเชิญมาบรรยายถ่ายทอดประสบการณ์ การบริหารงานแก่ผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์บริการ และแสดงความสนใจยินดีทำความร่วมมือในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่วศ.ต่อไป เป็นโอกาสดีที่เพื่อนๆ รุ่น 2 อาจจะเสนอเรื่องที่จะทำความร่วมมือกับไต้หวันในโครงการที่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศได้

เห็นด้วยกับ ดร.กรธรรมที่ว่าท่านอาจารย์จีระได้จุดประกายในการพัฒนาภาวะผู้นำในพวกเรา ที่ต้องทำต่อไปคือการนำไปปฏิบัติให้ได้ผลงาน หลายๆท่านให้ความคิดดีๆ ในโครงการต่างๆ ดังนั้นสัปดาห์หน้ารุ่น2จะมีโอกาสพร้อมเพรียงกันอีกที่ประเทศเกาหลี คงจะหาเวลาสั้นๆ ประชุมรุ่น2ปรึกษาโครงการที่จะเสนอแก่ท่านอธิบดีปฐมได้

สุดา นันทวิทยา

สวัสดีครับ

ผมมีโอกาสได้ส่ง blog มาเพราะคิดว่าระหว่างที่พวกเรารุ่น 2 กำลังศึกษาดูงานอยู่ที่ประเทศเกาหลีนี้จะไม่มีใครเข้ามาส่ง blog แล้วทำให้ blog นี้มันเงียบๆไป ผมเลยถือโอกาสส่ง blog เข้ามาให้ พอดีผมได้ขน notebook มาด้วย และที่โรงแรม Yousung นี้เขามีสาย LAN ให้ต่อเข้า internet ฟรีครับ วันนี้ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม KRISS ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันมาตรวิทยาของเกาหลี เราได้ฟังการบรรยายจากผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่ของ KRISS หลังจากที่ทาง DSS โดยมีท่านอธิบดีนำเสนอข้อมูลกิิจการของ วศ. หลังจากนั้นก็ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของ KRISS ซึ่งก็มีเครื่องไม้เครื่องมือมากมาย องค์กรในลักษณะของ KRISS นั้นถึงแม้ว่าจะให้บริการสอบเทียบให้แก่สาธารณชนแล้วเขายังทำงานวิจัย และมีระบบคุณภาพระบบงานด้วย เขา claim ว่าเขาเป็น Top 7 ของสถาบันมาตรในโลก ผมว่าที่เขากล้าพูดได้นั้นเป็นเพราะเขาได้เอางานวิจัยนำ แล้วเรื่องการให้บริการเป็นสิ่งที่รองๆตามมา เขาใช้เงินครึ่งหนึ่งของงบประมาณในการทำวิจัย ซึ่งเมื่อเทียบกับ วศ. แล้วต่างกับลิบลับ ผมสนใจในเรื่องของการบริหารจัดการงาน และเรื่องของคน มากกว่าเรื่องของเทคนิค เพราะทางเทคนิคนั้นเราสามารถตามทันได้ไม่ยากหากมีงบฯ ที่สังเกตจากการเยี่ยมชม lab นั้นคือ เขาจะมีผู้รับผิดชอบห้องปฏิบัติการมักจะเป็นผู้ที่จบปริญญาเอกตรงสาขา และหน้าที่หลักคือการทำงานวิจัยพัฒนาระบบการสอบเทียบให้ละเอียดดีขึ้น และเขาจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัคิของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติกา ร (technicians) ในการให้บริการสอบเทียบซึ่งเป็นงาน routine เช่นนี้ KRISS จึงสามารถมีงานวิจัยออกมาได้ในขณะที่ยังให้บริการงานอยู่ได้ไม่เสียงาน การจัดระบบการบริหารแบบที่ว่านี้อย่างไร วศ. อาจจะมองไว้เป้นตัวอย่างในการปรับกระบวนการบริหารจัดการคนและจัดการงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอาจจะสังเกตได้ว่าผมเริ่มจะเขียนอะไรวกวน เพราะตอนนี้ที่เกาหลีก็ดึกแล้ว และผมก็เหนื่อยจากการเดินทางด้วยครับ ก็ขอให้ทุกคนในรุ่นได้คิดกันเรื่อง followup ให้ดีด้วยเพื่อประโยชน์แก่ประชาขนชาวไทยด้วยครับ

ฝันดีนะครับ

กรธรรม

ดร.กรธรรมครับ

            ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล ผมอ่าน Blog จากเกาหลีแล้ว ได้บรรยากาศมาก เพราะรุ่นที่ 1 ผมพาไปเกาหลี อยากให้ท่านประธานฯ สุดา สมาชิก รุ่นที่ 2 ส่ง Blog เล่าถึงการไปดูงานที่เกาหลีมากขึ้น

            อย่าให้ Blog ตายไปเพราะจบหลักสูตร ต้อง Follow up ต้องสร้าง Value added

                                                                        จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียน ดร.จีระ เพื่อนร่วมรุ่นที่ 2 ตลอดจนผู้เข้าชม blog ทุกท่าน

ผมขอเล่าเรื่องบางส่วนของการไปดูงานที่เกาหลีมาดังนี้ครับ ในระหว่างที่ผมเดินทางกลับจากการศึกษาดูงานที่เกาหลีของรุ่นที่ 2 โดยสายการบิน Asiana Airlines ในวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์รายวันของประเทศเกาหลีชื่อ The Korea Herald ฉบับประจำวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ได้เจอบทความหนึ่งกล่าวถึงกรุงโซลมีโครงการที่จะเพิ่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ อีก 10 โรง ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญอย่างมากเนื่องจากเราเพิ่งได้มีการศึกษาดูงานที่สถาบันวิจัยพลังงานนิวเคลียร์ของเกาหลีชื่อ Korea Atomic Energy Research Institute ซึ่งเรียกย่อๆว่า KARERI ในวันที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมาภายใต้การนำของท่านอธิบดีปฐม แหยมเกตุ และท่านรองอธิบดีธิดา เกิดกำไร ในการเข้าเยี่ยมชม Dr. Myung Seung Yang ซึ่งเป็น President ของ KAERI ได้กล่าวต้อนรับคณะดูงาน สถาบันไ ด้นำเสนอกิจกรรมและความก้าวหน้าของสถาบัน และมีการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน โดยสถาบันได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ 1959 โดยปัจจุบันมีบุคคลากรประมาณ 1200 คน และยังร่วมกับหลายมหาวิทยาลัยในการผลิต บัณทิตในสาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์ จากนั้นสถาบันได้เปิดโอกาสให้คณะดูงานได้เยี่ยมชม HANARO Research Reactor, Thermal-Hydraulic Test Facility (ATLAS) และ International Nuclear Training & Education Center ในการดูงานที่ HANARO Research Reactor สถาบันได้อธิบายการทำงานของ Reactor ณ Show Room จากรูปไดอะแกรมการทำงาน ของ Reactor ทำให้ทราบว่าสถาบันมีความก้าวหน้าในงานวิจัยด้านนิวเคลียร์เป็นอย่างมาก โดยมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของ Sodium-cooled Fast Reactor, Very High Temperature Gas-cooled Reactor และ System-integrated Modular Advanced ReacTor เพื่อเป้าหมายให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ทางด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย นอกจากนี้สถาบันยังมีวิจัยทางด้าน Nuclear Fusion Technology, Pyroprocess technology และการผลิตแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ก้าวหน้าที่สามารถนำไปใช้ใน research reactor ทั่วโลกรวมทั้งที่ HANARO เอง สถาบันยังมีงานบริการและการศึกษาวิจัยทางด้านการใช้รังสีและการผลิตธาตุไอโซโทปเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม การเกษตรและในทางการแพทย์ และคณะดูงานยังได้มีโอกาสเห็นภาพกิจกรรมการทำงานของบุคคลากรที่ประจำอยู่ ณ HANARO Research Reactor ในลักษณะของ Real-time video ขนาดใหญ่ จากการเยี่ยมชมและศึกษาดูงานที่ Thermal-Hydraulic Test Facility ทำให้ทราบถึงความก้าวหน้าในงานวิจัยของสถาบันในการออกแบบ Reactor ให้มีความปลอดภัยซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ สถาบันยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติด้านนิวเคลียร์อีกด้วย

ดังที่ได้กล่าวถึงในตอนเริ่มต้นว่าผมเจอบทความในหนังสือพิมพ์รายวันของเกาหลีที่ได้กล่าวถึงกรุงโซลมีโครงการที่จะเพิ่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ อีก 10 โรง ซึ่งผมได้แปลและเรียบเรียงมาฝากสมาชิกดังนี้ครับ

กรุงโซลมีโครงการที่จะเพิ่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ อีก 10 โรง

ประเทศเกาหลีมีโครงการที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มอีก 6 โรงภายในปี ค.ศ 2030 ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจถึงเสถียรภาพทางด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในราคาน้ำมันปิโตรเลียมของโลก โดยกระทรวงความรู้เศรษฐกิจ (The Ministry of Knowledge Economy) ได้เปิดเผยถึงร่างแผนพลังงานระยะยาว ในวันที่ 7 สิงหาคม ว่าประกอบด้วยการเพิ่มสัดส่วนของการผลิตพลังงานจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นร้อยละ 29 ของการผลิตพลังงานรวมของประเทศภายในปี ค.ศ 2020 โดยในปัจจุบันประเทศเกาหลีใช้พลังงานนิวเคลียร์อยู่ที่ร้อยละ 26 กระทรวง Knowledge Economy ของเกาหลีคาดหวังจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ให้อยู่ในระดับร้อยละ 36 ถึงร้อยละ 41 ให้ได้ภายในปี ค.ศ 2030 ซึ่งการจะได้ตามเป้าหมายดังกล่าวคุณ Kim Jin-woo จากหน่วยงานรัฐบาล Korea Energy Economics Institute ได้แถลงข่าวในโอกาสชี้แจงถึงแผนพลังงานของรัฐบาลต่อสาธารณชน ณ กรุงโซลว่ารัฐจำเป็นที่จะต้องสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มอีกประมาณ 7-10 โรง

ในร่างของแผนด้านพลังงานของเกาหลีที่เปิดเผยก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน รัฐบาลได้กำหนดให้มีการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานโดยใช้พลังงานนิวเคลีร์อยู่ที่ร้อยละ 37- 42 ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลได้มีการปรับเป้าหมายของการเพิ่มด้านพลังงานจากพลังงานนิวเคลียร์ลดลงเล็กน้อยอันเนื่องมาจากความกังวลที่แพร่หลายของสาธารณชนต่อความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์ โดยคุณ Kim ได้แถลงข่าวว่าเป้าหมายสำหรับพลังงานนิวเคลียร์ได้ลดลงเล็กน้อยขณะที่การใช้พลังงานทางเลือก (alternative energy) จะเพิ่มขึ้น โดยแผนพลังงานของกระทรวงฯมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการใช้พลังงานทางเลือกสูงถึงร้อยละ 11 ของกำลังการผลิตพลังงานรวมของประเทศภายในปี ค.ศ 2030 จากร้อย 2.39 ซึ่งเป็นตัวเลขในปลายปีทีผ่านมา รัฐบาลมีแผนที่จะแถลงและรับฟังความคิดเห็นต่อ สาธารชน (public hearing) อีกครั้ง ก่อนที่จะนำเสนอเป็นแผนพลังงานขั้นสุดท้ายที่จะนำเสนอและได้รับการลงนามโดยคณะกรรมการด้านพลังงานประมาณปลายเดือนสิงหาคมนี้ โดยทั้งนี้ประเทศเกาหลีจะมีการกำหนดแผนพลังงานแห่งชาติทุกๆ 5 ปี

เกาหลีเป็นประเทศที่มีปริมาณการใช้พลังงานสูงอันดับที่ 10 ของโลกโดยร้อยละ 97 ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศได้มาจากการนำเข้าของพลังงาน ในปัจจุบันประเทศเกาหลีผลิตพลังงานจากงานไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 20 โรงซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 35.5 ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศ

[ที่มา: บทความ " Seoul eyes 10 new nuclear plants" by Lee Sun-young, The Korea Herald, Friday August 8, 2008, Business section, p.5]

สวัสดีครับ

มาณพ สิทธิเดช

เรียนอาจารย์ ดร.จีระ

ผมขออนุญาต แสดงความคิดเห็น เพราะ Blog นี้มีองค์ความรู้ที่น่าสนใจมาก

ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีนะครับที่มีการอบรมหลักสูตรนี้ แต่จะดียิ่งขึ้นถ้าได้นำองค์ความรู้ที่

ได้ไปปฏิบัติในองค์กร ผมหวังว่าคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงกับวงการข้าราชการไทย ในไม่ช้านี้ มิใช่เพียงแค่สายลม ที่พัดผ่านไปตามกาลเวลา

สวัสดีครับดร.จิระและชาว blog

ดีใจครับที่มีคนภายนอกสังเกตการ blog ของเราด้วย นอกเหนือจากผู้เข้าอบรม วศ. ผมเองก็มีความกังวลเช่นเดียวกับท่านครับว่าการ follow up หลังการอบรมจะไม่เป็นไปตามที่ได้คาดหวังไว้ มันอาจจะมีบ้างที่ผู้เข้าอบรมบางรายไม่ใช่เฉพาะการอบรมในหลักสูตรนี้เท่านั้นที่ เมื่อสิ้นสุดหลักสูตรแล้วก็เท่านั้น แต่สำหรับการอบรมในกลุ่มของเรานี้ ผมขอรับรองได้เลยว่ามีคนที่ active อยู่มาก และกำลังปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับโครงการที่จะ follow up หลังจากเสร็จสิ้นอบรมหลักสูตรนี้ เช่นเดียวกับกิจกรรม follow up ลงพื้นที่จังหวัดอ่างทองของรุ่นที่ 1 ผมก็เห็นว่าค่อนข้าง active ครับ และดังที่ดร.จิระมักจะกล่าวอยู่บ่อยๆว่ารุ่นหลังๆจะต้องดีกว่ารุ่นแรกๆครับ ผมเองพอกลับมาจากการดูงานที่ประเทศเกาหลีนั้น ผมก็ได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศเกาหลีครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมสนใจเกี่ยวกับโครงการ IFEZ หรือ International Free Economy Zone ที่เป็นเมืองใหม่ที่เกาหลีถมทะเลทำเป็นเมืองเขตธุรกิจสากล ดีที่เกาหลีมีเว็บไซดืที่ประชาสัมพันธ์ประเทศและโครงการต่างๆของรัฐที่เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ศึกษาได้ เอาไว้หากผมได้ข้อมูลที่น่าสนใจแล้วจะนำเสนอให้ครับ นอกจากนี้ผมยังสนใจการเกิดขึ้นของบริษัทเกาหลี อย่าง Hundai Samsung LG และ Lotte ที่ พัฒนาเติบโตได้รวดเร็ว แม้ว่าประเทศเขาจะพังทลายในระหว่างสงคราม และก่อนหน้านั้นเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นที่เอาแต่จะดูดเอาแต่ประโยชน์จากเกาหลีโดยไม่ได้พัฒนาอะไรให้ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับในการพัฒนาประเทศของไทย ประเทศเกาหลีจริงๆแล้วเคยเป็นประเทศที่ติดอันดับยากจนที่สุดในโลก ขนาดต้องมาดูงานการพัฒนาประเทศในไทย แต่ตอนนี้ ไทยต้องไปดูงานที่เกาหลีครับ...

กรธรรม

เรียน จีระ และ พี่น้อง รุ่น 2

ผมอยากเชิญชวนทุกท่านร่วมกันทำกิจกรรม follow up ตามที่เคยตกลงกัน โดยเริ่มจาก...

1.การจัดทำรายงานการฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน ส่งหัวหน้าและ อ.จีระ

2.การส่งรูปถ่ายแลกเปลี่ยนกัน (ในกล้องผมก็มีรูปเกือบทุกท่าน)

3.การเสนอข้อคิดเห็นการศึกษาดูงานในประเทศ

4.การฝึกอบรมต่อยอดการพัฒนาภาวะผู้นำ

ด้วยความเคารพ

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระและเพื่อนๆ รุ่น 2 ทุกท่าน

ขออภัยที่ส่งข่าวล่าช้า เนื่องจากรอ ประสานงานและ confirm วันดูงานในประเทส และ วันรับใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม ตกลงนัดได้ดังนี้ค่ะ

1.วันที่ 4 กันยายน 2551 ดูงาน ปตท.ที่วังน้อย

08.00 น. เดินทางด้วยรถบัส จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ

09.00-12.00 น. ดูงาน ปตท. ที่วังน้อย

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. เดินทางกลับจาก ปตท. วังน้อย

2.วันที่ 18 กันยายน 2551 พิธีมอบใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม และประชุมรุ่น 2

09.00-10.00 น. พิธีมอบใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม ที่ห้องปณะชุม

ชั้น 6 อาคาร ตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

10.00-12.00 น. ประชุมผู้เข้าอบรม รุ่น 2พิจารณาโครงการของรุ่น 2

12.00-13.00 น. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน

โปรดตอบรับทาง e- mail ที่สุดาว่าสามารถเข้าร่วมได้หรือไม่ทั้ง 2 รายการ ด่วนนะคะ ขอบคุณค่ะ

สุดา นันทวิทยา

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์จีระ พี่และเพื่อนรุ่น 2 พอดีอ่านเจอเรื่องที่เกี่ยวกับบริษัท Samsung ซึ่งเป็น Brand ดังของเกาหลี เลยถือโอกาสนำมาฝากกันนะครับ

เรียน ผอ.บัญญัติ เดี๋ยวผม resize รูปแล้วส่งไปให้นะครับ

 

Internal Organization ของ SAMSUNG Electronics’
โดย ดั่งชนก ตรีรัตน์ศิริกุล


Innovation
Samsung ต้องการเป็นผู้นำ Trends โดย Samsung เลือกใช้กลยุทธ์การสร้าง Innovation ในผลิตภัณฑ์และบริการเป็นแนวทางที่จะทำให้ก้าวไปสู่ตำแหน่งของผู้นำ Trends นั้นให้ได้ การดำเนินนโยบายและกลยุทธ์การบริหารงานของ Samsung จึงเน้นหนักไปที่ R&D และ Design

Analyzing the internal organization
• Global mind-set
ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจภายใต้การดำเนินงานของ Samsung มีการกระจายตัวอยู่ในหลายธุรกิจ และในธุรกิจเหล่านั้นก็มีการเชื่อมต่อกัน ก่อเกิดเป็น Synergy ส่งผลให้การดำเนินงานของ Samsung ประสบความสำเร็จในระดับโลก อีกทั้งยังใช้ความได้เปรียบจากการมี
แบรนด์เดียวกันในการตอกย้ำความสำเร็จภายใต้ชื่อ Samsung ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก และเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากกระแส Globalization โดยตั้งเป้าหมายเพื่อเป็น “World's best” โดยเฉพาะในเรื่อง Digital

• Creating value
Samsung สร้างคุณค่าให้กับสินค้าของตนเองด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยการทุ่มงบกว่า 9% ของรายได้บริษัทเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อคุณภาพชีวิตของลูกค้าที่ดีกว่า ตามปรัชญาการจัดการของ Samsungที่ว่าเราจะอุทิศทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีของเราเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการที่ดีเลิศเพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนสังคมโลกที่ดีกว่า

• Resource
1. Tangible
- Financial:
Samsung ถือว่าเป็นบริษัทที่ฐานะการเงินอยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นการระดมเงินทุนจึงไม่ใช่เรื่องยาก ในปี 2006 ธุรกิจโทรคมนาคมของ Samsung Electronics มีผลกำไรงานการดำเนินการถึง 1.73 แสนล้านวอน หรือประมาณ 6.92 พันล้านบาท ซึ่งนี่เป็นเพียงผลกำไรของหน่วยธุรกิจเดียวเท่านั้น

- Organizational:
Samsung Electronics แบ่งธุรกิจออกเป็น 6 หน่วยธุรกิจหลัก ได้แก่
1. ธุรกิจสื่อดิจิตอล (Digital Media Business) ประกอบด้วยธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอล จอมอนิเตอร์สี เครื่องเล่นดีวีดี คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พรินเตอร์ และแคมคอร์เดอร์
2. เครือข่ายธุรกิจโทรคมนาคม (Telecommunication Network Business) ประกอบด้วยธุรกิจระบบโทรคมนาคมและโทรศัพท์มือถือ
3. เครือข่ายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าดิจิตอล (Digital Appliance Business) ประกอบด้วยธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ได้แก่ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปรับอากาศ และเครื่องฟอกอากาศ
4. ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Business) ประกอบธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
5. ธุรกิจ LCD (Liquid Crystal Displays Business) ประกอบด้วยธุรกิจชิ้นส่วนแอลซีดี สำหรับผลิตจอภาพในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร
6. งานเทคโนโลยีองค์กร (Corporate Technology Operations) ดูแลการดำเนินงานเทคโนโลยีแห่งอนาคตสำหรับทุกหน่วยธุรกิจ

- Physical:
บริษัทSamsung มีรากฐานมาจากบริษัทชิ้นส่วนอะไหล่ OEM (Original Equipment Manufacturing) ทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตสินค้าได้มากกว่าคู่แข่งเพราะสามารถผลิตวัตถุดิบบางส่วนได้เอง Raw materialที่มีชื่อเสียงของSamsung ได้แก่ ชิป ว่ากันว่าในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ 1 ใน 4 ของโลกใช้ชิปของSamsung ถึงแม้ผู้บริโภคจะไม่ได้ใช้สินค้าของSamsung แต่ชิ้นส่วนของSamsungก็ฝังอยู่ภายในอุปกรณ์เหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว
บริษัทSamsung มีหน่วยงาน R&D ในเกาหลี 6 แห่งและกระจายทั่วโลกอีก 8 ประเทศ จำนวน 10 แห่ง
บริษัทSamsung มีศูนย์บริการและจัดจำหน่ายกระจายอยู่ทั่วโลก

-Technology
บริษัทSamsung เน้นการพัฒนา R&D เพื่อสร้าง Innovation ใหม่ๆอยู่เสมอ โดยแต่ละปี มีการลงทุนในด้าน R&D อย่างน้อย 9% จากรายรับที่ได้ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการเป็นผู้นำอย่างแท้จริงของเทคโนโลยีที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรมทั่วโลก
บริษัทSamsungได้ชื่อว่าเป็น innovative company ลำดับที่ 17 ของโลก ในปี 2007 มี patent citation index เท่ากับ 1,000
(อ้างอิง : http://bwnt.businessweek.com/interactive_reports/most_innovative/index.asp)

2. Intangible
- Human Resources:
บริษัทSamsungมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมาก เนื่องจากมีการพัฒนาคุณภาพของพนักงานเสมอเพราะถือว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญของบริษัท ในปี 2005 มีนักวิจัยประมาณ 32,000 คน ในจำนวนนี้นักวิจัยกว่า 2,700 คน จบการศึกษาระดับปริญญาเอก และประมาณ 9,000 คนจบการศึกษาระดับปริญญาโท

- Innovation:
บริษัทSamsungได้ชื่อว่าเป็น innovative company ลำดับที่ 17 ของโลก ในปี 2007 มี patent citation index เท่ากับ 1,000
(อ้างอิง : http://bwnt.businessweek.com/interactive_reports/most_innovative/index.asp)
บริษัทSamsungถือได้ว่าเป็นบริษัทที่มีอัตรางบวิจัยและรายได้สูงที่สุดในโลก นั่นก็เพราะว่าเป้าหมายของบริษัทSamsungคือต้องการที่จะเป็นผู้นำของเทคโนโลยีในตลาดโลก ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับด้าน R&D มากเป็นพิเศษ ทำให้บริษัทSamsungมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆมาก

- Reputational Resources:
สินค้าภายใต้แบรนด์Samsung ลูกค้ามักจะยอมรับในเรื่องสไตล์การออกแบบที่โดดเด่น อีกทั้งคุณภาพของสินค้า พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะเป้าหมายสูงสุดของ Samsung คือ Global Premium Brand

• Capabilities
SAMSUNG Electronics ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กรคือ การเป็นผู้นำในการปฏิวัติเพื่อการผสมผสานในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งบริษัทจะเป็นเครือข่ายให้กับส่วนประกอบหลักเช่น ชิปหน่วยความจำ, system-LSI จอภาพ LCD A/V คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและผลิตภัณฑ์ Stand-alone อื่นๆ เข้าในโซลูชั่นสำหรับยุคของการผสมผสานในรูปแบบ ทั้งนี้ บริษัทได้เป็นผู้บุกเบิกในผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งจะทำให้ SAMSUNG Electronics กลายเป็นบริษัทผู้จัดหาโซลูชั่นที่มีศักยภาพทางการแข่งขันสูงสุด สำหรับการผสมผสานในรูปแบบดิจิตอล

- Distribution:
Samsung มีแหล่งกระจายสินค้า ทั่วโลก แบ่งเป็น 8 ภูมิภาค ได้แก่ North America, Europe, China, Southeast Asia, Japan, CIS, Middle East Asia&Africa, Middle & South America มีสำนักงานกว่า 90 แห่ง ใน 51 ประเทศทั่วโลก

- Marketing:
บริษัทSamsung มีความสามารถในการสร้างแบรนด์อย่างมาก จากเดิมSamsungเคยเป็นสินค้าราคาถูก ไม่มีเทคโนโลยี แต่ก็สามารถสร้างแบรนด์ขึ้นใหม่โดยให้ความสำคัญไปที่คุณภาพ เทคโนโลยี และดีไซน์ จนได้รับการยอมรับระดับสากล สรุปได้ว่าSamsungได้เปลี่ยนตัวเองจาก Me-too Producer of Electronics and Appliances เข้าสู่ One of The World’s Leading Brands ในปัจจุบันSamsung มีเป้าหมายที่จะเป็น Global Premium Brand

- Management:
บริษัท Samsung มีการวางระบบตามลำดับชั้นการบริหารได้ดี มีการให้ความสำคัญกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ R&D และ Design innovation เป็นอย่างมาก มีการแยก Design Center ออกจาก Headquarters และใน Design Center นั้นจะเป็นสถานที่ที่ไม่มีชุดฟอร์มการแต่งตัว พนักงานอายุน้อย บางคนทำสีผมเขียวหรือชมพู และที่แห่งนี้ทุกคนถูกสนับสนุนให้แสดงออกทางความคิด และท้าทาย ถือได้ว่าเป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆ ทำให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพตามที่ได้วางไว้

- Manufacturing:
การผลิตของ Samsung เน้นเรื่องการควบคุมคุณภาพ เพราะต้องการที่เจาะตลาดกลุ่มบนดังนั้นเรื่องคุณภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ทั้งนี้หากบริษัทไม่สามารถห่อหุ้มเทคโนโลยีที่มีคุณภาพนั้นด้วยรูปแบบที่ผู้บริโภคปรารถนาแล้ว คุณภาพที่ผลิตได้มาก็จะไม่มีคุณค่าอะไร ดังนั้น Samsung จึงเน้นด้านดีไซต์ผลิตภัณฑ์ควบคู่กันไปด้วย

- Research & Development:
Samsung ต้องการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก ดังนั้นทางบริษัทจึงทุ่มเงินทุนจำนวนมากไปกับ R&D
ความรวดเร็วคือที่สิ่งที่จำเป็นในการรักษาศักยภาพในการแข่งขันในยุคดิจิตอล เราต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอยู่เสมอ มีความมุ่งมั่นเพื่อเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการก่อนคู่แข่งขัน ปรับความคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบด้วยนวัตกรรมเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่นเดียวกับการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อการเป็นผู้นำในตลาดเพื่ออนาคต
ในแต่ละปี มีการลงทุนอย่างน้อย 9% จากรายรับที่ได้เพื่อการวิจัยและการพัฒนา และในปี 2006 ตัวเลขการลงทุนมีมากถึง 5.6 ล้านล้านวอน งบเพื่อการวิจัยและการพัฒนาในปี 2007 ได้ถูกตั้งไว้มากกว่า 6.14 ล้านล้านวอน เพื่อให้ครอบคลุมธุรกิจทั้งหมดซึ่งรวมถึงเซมิคอนดักเตอร์และจอ LCD นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการด้านวัตกรรมเครื่องพิมพ์และผลิตภัณฑ์อื่นที่มีความโดดเด่น เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับ Bordeaux LCD TV เมื่อปี 2006 และในขณะเดียวกันเรายังดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งต้นแบบของเทคโนโลยีสำหรับอนาคตที่สามารถทำให้เราได้มีส่วนแบ่งในตลาดไอทีทั่วโลก เรามีเป้าหมายที่มั่นคงในการเป็นผู้นำอย่างแท้จริงของเทคโนโลยีที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรมทั่วโลก

• Core competencies
Core competencies ของ Samsung คือ
- เน้นงบประมาณไปที่ R&D จำนวนมาก ทำให้มีนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่เสมอ
- เป็นผู้ผลิต semi-conductor และ LCD ทำให้ลดต้นทุนการผลิตจำนวนมหาศาล
- เน้นงบประมาณไปที่ Product Design ทำให้ผลิตภัณฑ์ของSamsungได้รับการยอมรับเรื่องการออกแบบ
- ชื่อเสียงแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
- เป็นผู้ผลิต ชิป ที่ได้รับการยอมรับด้านคุณภาพ
- มีรากฐานมาจากผู้รับจ้างผลิต OEM-Original Equipment Manufacturing
- มีทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ
สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็น competitive advantage ที่สำคัญของSamsung

• Four Criteria of Sustainable Competitive Advantage

- Valuable: ผลิตภัณฑ์ของ Samsung สามารถสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงและได้รับการออกแบบมาอย่างดี
- Rare: Semi-conductor ,LCD หรือ ชิ้นส่วนอะไหล่OEMอื่นๆ ที่บริษัท Samsung สามารถผลิตเองได้นั้นถือว่าเป็นวัตถุดิบที่หายากในตลาดหรือต้องใช้ต้นทุนสูงในการผลิต ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อเสียงอื่นๆบางชนิดยังมีส่วนประกอบภายในเป็นผลิตภัณฑ์ของSamsungอยู่ด้วย
- Costly to imitate: ใช้ต้นทุนสูงในการลอกเลียนแบบ เนื่องจากเทคโนโลยีของซัมซุงเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากหากต้องการจะเลียนแบบหรือทำให้ล้ำสมัยกว่าจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนด้าน R&D จำนวนมหาศาล อีกทั้งเทคโนโลยีที่Samsung คิดขึ้นมานั้นจะถูกจดสิทธิบัตร นั่นก็หมายความว่า ผู้อื่นนอกจากบริษัทSamsungแล้ว ไม่มีสิทธิ์ในการใช้เทคโนโลยีนั้น หรือหากต้องการจะผลิตสินค้าที่เหมือนกันก็จำเป็นที่จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลเช่นกัน
- Nonsubstitutable capabilities: สินค้าของSamsung สามารถทดแทนได้ด้วยสินค้าจากยี่ห้ออื่น แต่ทั้งนี้ชื่อเสียงที่ยาวนาน ความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ และการออกแบบที่ทันสมัย ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของSamsung

Value Chain Analysis
Primary activities
•Inbound logistics
ซัมซุงจับมือกับเอไอเอสพัฒนาบริการใหม่ที่เรียกว่าซัมซุง เรียลไทม์ ซิมด้วยเทคโนโลยี Sim Tool Kit ที่ให้พนักงานขายของซัมซุงทั่วประเทศสามารถส่งข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการขายผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือได้แบบเรียลไทม์ ช่วยประหยัดเวลาพร้อมเพิ่มศักยภาพการบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้รู้ข้อมูลสินค้ารุ่นที่ขายดี ตัดปัญหาไม่มีของขายและการแบกสต๊อกผิดรุ่น
ซัปพลายเชนส์ของซัมซุงมีการเชื่อมโยงข้อมูลใน 3 ระดับคือ 1.ระหว่างสำนักงานใหญ่ซัมซุงในประเทศเกาหลีกับบริษัท ไทยซัมซุงฯในประเทศไทย 2.ระหว่างไทยซัมซุงกับดีลเลอร์ทั่วประเทศ และ 3.ระหว่างดีลเลอร์ทั่วประเทศกับพนักงานขายในส่วนที่ใกล้ชิดกับผู้บริโภค ซึ่งซัมซุงมีการวิเคราะห์โครงสร้างการจัดจำหน่าย ยอดขายแบบเรียลไทม์ ด้วยระบบ SCSI (Samsung Channel Sales Information) แต่อยู่ในการเชื่อมโยงระดับที่ 1 และ 2 เท่านั้น ข้อมูลที่ได้รับเร็วขึ้นจะทำให้เราปรับราคาสู้กับคู่แข่งได้ทันเวลา บริการ ซัมซุง เรียลไทม์ ซิม ใช้เทคโนโลยี Sim Tool Kit ที่อำนวยความสะดวกให้พนักงานขายสามารถส่งรายงานการขายหรือตรวจสอบยอดต่างๆได้ เช่น พนักงานขายหน้าร้าน (PC) สามารถส่งรายงานการขายที่ประกอบด้วย รายงานยอดขายประจำวัน, ตรวจสอบยอดขายของตนเอง, ตรวจสอบสินค้าชุดโชว์ประจำสัปดาห์พนักงานขาย (Sales) นอกเหนือจากการตรวจสอบได้เช่นเดียวกับข้างต้นแล้ว ยังสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทันทีด้วยเช่นกันเราเชื่อว่าซัมซุง เรียลไทม์ ซิมจะเพิ่มโอกาสในการขายอีก 20-30% เพราะข้อมูลจากหน้าร้านจะทำให้เรารู้ว่าสินค้ารุ่นไหนขายดีมากน้อยแค่ไหน ทำให้โอกาสที่ลูกค้ามาที่ร้านแล้วเราไม่มีสินค้ารุ่นที่ลูกค้าต้องการ ลดน้อยลง

•Operations
- มีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ให้ความใส่ใจด้านคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต

•Outbound logistics
- ศูนย์กระจายสินค้าของ Samsung มีแหล่งกระจายสินค้า ทั่วโลก แบ่งเป็น 8 ภูมิภาค ได้แก่ North America, Europe, China, Southeast Asia, Japan, CIS, Middle East Asia&Africa, Middle & South America

•Marketing and sales
- Samsung มีการจัด Event เพื่อโปรโมตสินค้า นอกจากนี้ยังมีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายอีกด้วย
- โฆษณาทุกชิ้นของ Samsung ใน 4-5 ปีที่ผ่านมาเน้นใช้ Presenter เป็นชาวต่างชาติหรือลูกครึ่ง เพื่อสลัดภาพความเป็น Korea Brand และเข้าสู่ความเป็น Global Brand อย่างเต็มตัว
- นอกจากนี้เพื่อย้ำให้ชัดมากขึ้นว่าซัมซุงจะเป็น Global Brand ซัมซุงจึงเป็นผู้สนับสนุนกีฬาโอลิมปิค Sydney2000 , Olympic Athens 2004 เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ในการสื่อสารไร้สายของ Olympic ฤดูหนาว Torino 2006 ประเทศอิตาลี ต่อเนื่องไปยัง Olympic Beijing 2008 ณ จีนแผ่นดินใหญ่ ดีลครั้งมโหฬารที่ผ่านมาก็คือ Samsung เอา logo Samsung mobile เข้าไปติดที่อกเสื้อของทีมเชลซี อีกหนึ่งสุดยอดทีมพรีเมียลีก ด้วยเม็ดเงินสูงถึง 50 ล้านปอนด์ในระยะเวลา 5 ปี
- ส่วนทางด้าน Entertainment marketing ซัมซุงก็เคยสร้างปรากฎการณ์ครั้งสำคัญด้วยการออกแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่น The Matrix Phone เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง The Matrix Reloaded
- เน้น Quality และการ Design Product ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Samsung

•Services
- มีสำนักงานให้บริการของ Samsung ตั้งอยู่ทั่วโลกเพื่อให้บริการลูกค้า

Supporting activities
•Firm infrastructure
-สำนักงานใหญ่เป็นเสมือนศูนย์รวมอำนาจของกลุ่ม โดยจะเป็นผู้กำหนดภาพรวมของการก้าวเดินของกลุ่ม สิ่งที่ Samsung Groupกระทำก็จะส่งผลต่อทุกบริษัทในเครือ

•Human resource management
- Samsung ให้ความสำคัญด้านทรัพยากรมนุษย์มาก เพราะถือว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์
- มีการจัดตั้ง Samsung Human Resources Development Institute (สถาบันพัฒนาบุคคลากร)
- Samsung ให้ความสำคัญกับ ความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น พนักงานทุกคนมีสิทธิแสดงความเห็นได้
- Samsung มีการคัดสรรพนักงานที่มีคุณภาพ เพื่อขับเคลื่อนให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดได้

•Technology development
- Samsung ให้ความสำคัญกับแผนก R&D มากเห็นได้จากการที่มีสถาบันวิจัย ถึง 16 แห่งทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นบริษัทที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่เสมอ
- ยกตัวอย่างเทคโนโลยีด้านภาพและเสียง DNie (Digital Natural Image Engine) คือเทคโนโลยีเฉพาะของซัมซุง ชิปอัจฉริยะที่ทำให้ภาพปรากฎบนจอโทรทัศน์มีสีสันชัดเจน คมชัด ละเอียด และงดงามเป็นธรรมชาติกว่าทุกระบบที่ผ่านมา
- ยกตัวอย่างเทคโนโลยีหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน Silver Nano Health System เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือนมีคุณสมบัติช่วยลดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย

•Procurement มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ suppliers เช่น Microsoft เป็นต้น

Strength
- ได้รับการจัดอันดับเครดิตโดย Moody’s Baa1 และ Standard & Poors A- ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของบริษัทในระดับโลก ถือเป็นระดับสูงสุดเท่าที่ Samsung เคยได้รับมา
- การเป็นผู้นำตลาดของ Samsung ในหลายๆธุรกิจ เช่น flash memory technology, DRAMs, SRAMs, colorTVs monitors and DVD Combos เป็นอันดับหนึ่งในยุโรปและสองในอเมริกาในตลาดของ LCD Tv เป็นอันดับสามของโลกในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับหนึ่งสำหรับ LDI Samsung Heavy Industries ครองตลาด 60% ของ LNG ships ของโลก Samsung Life Insurance ยังรกษาความเป็นผู้นำด้านมีสินทรัพย์สูงสุด Samsung Card เป็นบริษัทเครดิตการ์ดอิสระที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ เป็นต้น
- เนื่องจากการมีธุรกิจที่หลากหลายทำให้ลดความเสี่ยงลงได้มาก และเป็นความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของบริษัท
- การที่ Samsung มีธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิคส์ที่ครบวงจร ตั้งแต่ชิปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำออกขาย ดังนั้นจึงมีข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่า และยังได้สินค้าก่อน ทำให้สามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้เร็วกว่าคู่แข่ง
- มี Design สวยงาม ดูทันสมัย เป็นเอกลักษณ์
- มีพนักงานในการทำ R&D ที่มีประสิทธิภาพ

Weakness
- ธุรกิจSemi-conductor โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DRAMs-Dynamic Random Access Memory Chips กำลังอยู่ในช่วงขาลง เนื่องจาก Supply ขยับขยายใหญ่โตกว่า Demand ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อรายได้ของ Samsung Electro-mechanic และทำให้กำไรของ Samsung ในปี 2005 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แม้บริษัทจะมีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ผลประกอบการคงยังไม่สามารถกลับมาได้อย่างรวดเร็ว
- เนื่องจากธุรกิจหลักอย่างหนึ่งของ Samsung คือธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่(ที่ทำครบวงจร) แต่แนวโน้มตลาดนี้กำลังจะอิ่มตัว ความต้องการซื้อเป็นไปเพื่อทดแทน ซึ่งเป็นความต้องการที่ผันผวนอย่างมาก และอาจส่งผลต่อรายได้
- Samsung Securities และ Samsung Life Insurance ประสบปัญหาการลดลงของรายได้ และส่วนแบ่งการตลาด แม้จะยังยืนเป็นผู้นำในตลาดเกาหลีอยู่ก็ตาม
- Samsung Corporation ประสบผลขาดทุนจากการไปลงทุนที่ Kazakmus กว่า KRW 141.6 billion ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของกลุ่ม
- จุดอ่อนของSamsung คือการถูกต่อต้านจากหลายองค์กรในเกาหลีใต้ในเรื่องการก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการให้ท้ายของรัฐบาลที่ไม่บังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด


อ้างอิง
http://www.samsung.com/th/aboutsamsung/companyprofile/businessarea/CompanyProfile_TelecommunicationNetworkBusiness.html
http://www.samsung.com
http://www.mantech.co.th/hotnews_detail.php?id_type=8
หนังสือ Brandage Essential Subdivision 2 2008

 

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระและเพื่อนๆ รุ่น 2 ทุกท่าน

ขออภัยค่ะ มีการเปลี่ยนแปลงวันดูงานที่ ปตท.วังน้อย เป็นวันที่ 11ก.ย.51 ตามที่ ปตท. สะดวกค่ะ ส่วนวันรับใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม เป็นวันเดิมค่ะ

สำหรับผู้เข้าอบรมจากหน่วยงานนอกวศ. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม  และคุณธารทิพย์จะส่งหนังสือเชิญแก่ต้นสังกัดทุกท่านค่ะ

กำหนดการใหม่เป็นดังนี้ดังนี้ค่ะ

วันที่ 11 กันยายน 2551 ดูงาน ปตท.ที่วังน้อย

08.00 น. เดินทางด้วยรถบัส จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ

09.00-12.00 น. ดูงาน ปตท. ที่วังน้อย

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. เดินทางกลับจาก ปตท. วังน้อย

วันที่ 18 กันยายน 2551 พิธีมอบใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม และประชุมรุ่น 2 ที่ห้องประชุม ชั้น 6 อาคาร ตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

09.00-10.00 น. พิธีมอบใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม 

10.00-12.00 น. ประชุมผู้เข้าอบรม รุ่น 2พิจารณาโครงการของรุ่น 2

12.00-13.00 น. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน

โปรดตอบรับอีกครั้งสำหรับวันที่ 11 ก.ย.51 ทาง e- mail ที่สุดาขอบคุณค่ะ

สุดา นันทวิทยา

เรียน อ.จีระ และทุกท่าน ต่อไปนี้ คือส่วนหนึ่งของการ กิจกรรม follow up 1.การประสัมพันธ์ของท่านประธาน ขอขอบคุณ พี่สุดา ที่กรุณาแจ้งข่าวให้ทราบครับ 2.การส่งรูปถ่ายและบทความดีๆ ผมขอขอบคุณ ผอ.สุวรงค์ และ พี่สมโภชน์ ที่ส่งรูปมาให้ครับ 3.ฝากน้องเดชและคุณนภดล ช่วยคิดหน่อยครับว่า จะมีวิธีไหนที่จะส่งรูปได้ครบถ้วน ไม่ทราบว่ามีใครทำรายงานเสร็จแล้วบ้างครับ...? 4.การมอบสิ่งดีๆให้กัน มีท่านใดต้องการชุดคู่มือการทำนายลักษณะที่แม่นยำ (นพลักษณ์) บ้างครับ

 

เรียนท่านอาจารย์จีระและเพื่อนๆ รุ่น 2ทุกท่าน

วันนี้ได้สำเนา รายชื่อคณะทำงานรุ่นที่ 2 ที่เคยได้จัดทีมงานกันแล้ว มาลงอีกครั้ง บัดนี้ท่านจะได้เริ่มงานในส่วนที่ท่านสนใจรับผิดชอบ ทั้งนี้ประธานใคร่ขอให้ฝ่ายเลขาฯ และ รองประธานประสานงานกับผู้ร่วมทีมงานของท่านโดยขอทำความตกลง ให้ทุกท่านใช้ e- mail แจ้งสมาชิกว่ามีข่าวใหม่ แต่รายละเอียดให้ลงใน blog โดยพิมพ์ URL ใน e-mail เพื่อความสะดวกแก่สมาชิกในการ link    http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/19229

ทั้งนี้เป็นกุศโลบายให้สมาชิกทุกท่านเข้าดูข้อมูลใน blog และจะได้อ่านความรู้ บทความใหม่ที่หลายท่านที่ไฟแรงส่งเข้าใน blog ด้วย จะเห็นว่าจำนวนผู้เข้า blog ใน 2-3 วันนี้ rating ไม่เลววันละ 30-40 ครั้ง

ใคร่ขอเรียนว่างานที่จะต้องประสานในเบื้องต้นได้แก่

1.ประธาน (สุดา) ประสานงานในข้อมูลและภาพรวมกับรองประธานและสมาชิกรุ่น 2   ประสานด้านนโยบายกับท่านอวศ. ท่านรองฯ ธิดา ท่านอาจารย์ ดร. จีระ ท่านเลขาฯ วศ.และประสานงานกับผู้รับผิดชอบโครงการ  คุณยุพา และคุณธารทิพย์ และประสานกับสมาชิกรุ่น 2 ผ่านท่านประธานรุ่น 1 

 2. ฝ่ายเลขา ฯ (สายพิณ: บังอร/ชลัย/ชุติมา/นงนุช เดช)  ประสานกับคุณธารทิพย์ในการเตรียมงานดูงานที่ ปตท.วังน้อย ต้องการทำป้ายผ้าโครงการอบรมรุ่น 2 ใช้ถ่ายรูปและเก็บไว้ใช้ในโครงการต่อเนื่องของรุ่น2 ภายหน้าด้วยหรือไม่(หลังจาก รุ่น2 พลาดไปเมื่อไปเกาหลี) และประสานการจัดห้องประชุมในวันมอบใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม ประสานการจัดทำตัวอักษรหน้าเวที การจองห้องประชุม ฯลฯ

 3. รองประธานด้านเหรัญญิก (ธีรชัย: สุรินทร์ สุจินต์ ดาเรศ พิศมัย) มีค่าใช้จ่ายใดที่ต้องเรียกเก็บสมาชิกหรือไม่เช่น ของขวัญ ของที่ระลึกประจำรุ่น ฯลฯ หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่ฝ่ายสันทนาการต้องการใช้

4. รองประธานด้านประชาสัมพันธ์ & สันทนาการ (สมโภชน์: สุทัศน์ สุวรงค์/อรรจยา/ปัญญา/อภินันท์วินัต/เกรียงไกร) แจ้งข่าวหรือลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ ใน website วศ. และที่อื่นๆ เช่นลงรูปที่ไปดูงานที่เกาหลี ฯลฯ  เตรียมงานสันทนาการ ในงานมอบใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม มีคาราโอเกะระหว่างรับประทานอาหารหรือไม่ มีกิจกรรมใดร่วมกับรุ่น1 เช่นเลี้ยงรับน้องหรือคารวะรุ่นพี่หรือไม่

5. รองประธานด้านวิชาการ (ธีรภัทร: อัจฉรา/ดุษฏี/มานพ/กรธรรม กานดา/วรรณดี) รวบรวมและเสนอตัวอย่างแนวทางความเป็นไปได้เพื่อประชุมในวันที่ 18 กันยายน 2551 พิจารณาโครงการต่อเนื่องของรุ่น 2   

6. รองประธานด้าน IT (บัญญัติ: นภดล ปัทมา จันทรัตน์) รวบรวม file รูปภาพของรุ่น 2 ตั้งแต่การอบรมที่ชลบุรี โรงแรมรอยัลริเวอร์ การดูงานที่เกาหลี(แจ้งให้ทุกท่านนำfileของท่านมาให้ในวันดูงานที่ปตท.)  และ write รวมกันลง CD แจกคืนให้ทุกท่านในงานมอบใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม ส่วนงานด้าน IT อื่นๆ มีหรือไม่

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมมือ ร่วมใจ ค่ะ

สุดา นันทวิทยา

เรียนท่านอาจารย์จีระและเพื่อนๆ รุ่น 2ทุกท่าน

ขอแก้ไขข้อความ blog ที่ 115 พิมพ์ผิดในข้อ 1 "ประสานกับสมาชิกรุ่น 2 ผ่านท่านประธานรุ่น 1" แก้เป็น "ประสานกับสมาชิกรุ่น 1 ผ่านทางท่านประธานรุ่น 1"

ขออภัยค่ะ

สุดา นันทวิทยา

เรียนท่านอาจารย์จีระ ผู้เรียนรู้ภาวะผู้นำรุ่นที่ 2 และผู้เข้าชม blog ทุกท่าน

ผมขอบคุณ ผอ.สุวรงค์ที่ส่งบทความดีๆมาให้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรต่างๆได้เป็นอย่างดี ขอบคุณสำหรับข่าวของดร.มาณพ ขอบคุณท่านประธานที่ช่วยประสานงานให้ ขอบคุณคุณบัญญัติและดร.กรธรรมผู้สนับสนุนการ follow up อย่างเป็นทางการ หลังจากกลับจากเกาหลีแล้วตอนนี้คิดว่าทุกคนคงจัดการกับงานที่ค้างๆอยู่ หลังจากนี้คงได้คุยกันใน blog เหมือนเคย

ตอนไปเกาหลีเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของปี บางวันอากาศ 42 องศาเซลเซียส รู้สึกสงสารคนเกาหลีที่เจอสภาพอากาศแบบสุดขั้ว หน้าร้อนก็ร้อนจัด หน้าหนาวก้เย็นขนาดหิมะตก แต่คนเกาหลีเขาก็ไม่ย่อท้อ ยังสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีสามารถจนทัดเทียมกับประเทศตะวันตกได้ ประเทศไทยเราโชคดีที่ไม่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เลวร้าย อยากให้คนไทยดูเกาหลีเป็นตัวอย่าง ผู้นำเขามีวิสัยทัศน์ไกลขนาดรื้อทางด่วนใจกลางกรุงโซล แล้วสร้างเป็นคลองชองเกชอนโดยนำน้ำมาจากแม่น้ำฮัน สร้างเป็นที่พักผ่อนและคืนธรรมชาติให้กับชาวเกาหลี ซึ่งเป็นความภูมิใจของคนเกาหลีมาก รัฐบาลต้องเจราจากับชาวบ้านถึง 4,000 ครั้งถึงจะยอมตกลงให้สร้างคลองนี้ได้ นับว่าเป็นความพยายามอันยิ่งใหญ่และที่สำคัญคือเรื่อง communication ต้องทำให้ชาวบ้านเข้าใจข้อดีข้อเสียของการเปลี่ยนแปลง

อีกอย่างที่ผมชอบคือเมื่อตอนไปชมสถานที่ต่างๆในเกาหลีจะเห็นว่าเขามีพิพิธภัณฑ์อยู่ด้านหน้า เช่นคลองชองเกชอน โรงผลิตพลังงานจากขยะ Mapo พระราชวังเคียงบ็อก ผู้ที่เข้าชมส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก เขาปลูกฝังให้เด็กเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเอง รวมทั้งบทบาทของแต่ละองค์กรได้เป็นอย่างดี ในเกาหลีมีพิพิธภัณฑ์เยอะมากเป็นร้อยแห่ง มีทั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับหน่วยงาน พิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ ผมว่าน่าสนใจจริงๆ เราได้อะไรอีกหลายอย่างจากการไปเกาหลีครั้งนี้และคงได้อะไรดีๆในการชมงานที่ ปตท.วังน้อย ผมขอจบแค่นี้ก่อนนะครับ

เกรียงไกร นาคะเกศ

สายพิณ สืบสันติกุล

เรียน อ.จิระที่เคารพ

อ่าน blog ของอาจารย์ที่ลูกศิษย์จาก วศ.เขียนจนเพลินแลได้สาระมากเลยค่ะแต่จะขอเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการไปเกาหลีค่ะในช่วงเวลาอันสั้นหลังจากเลิกสงคราม เกาหลีสามารถพัฒนาประเทศได้ถึงขนาดนี้ได้ ทำให้เห็นว่าการเป็น unity และการรักประเทศชาติและต้องการให้ชาติเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงความรักสามัคคีระหว่างคนในชาติ ทำให้ชาติเจริญการที่ผู้นำสามารถบริหารงานภายใต้ความลำบากของคนในชาติคงจะต้องใช้วิธีที่ผู้นำปกครองด้วยคุณธรรมและจริยธรรมนำการปกครอง

ขอแสดงความนับถือ

สายพิณ

อ้า เรียน พี่สุดา ครับ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว วันที่ 11 ก.ย. ยัง OK อยู่หรือเปล่า ครับ

ขอบคุณครับ สุวรงค์

เรียนท่านอาจารย์จีระและเพื่อนๆ รุ่น 2 ทุกท่าน

1. ก่อนอื่นขอตอบคำถามคุณสุวรงค์ blog ที่ 119 ก่อนนะคะ ได้สอบถามแล้ว ยังคงเดินทางไปดูงานได้ค่ะ เช่นวันที่ 5 ก.ย.นี้ ข้าราชการวศ.จะเดินทางรถบัสไปสัมมนาต่างจังหวัดเช่นกันค่ะ สำหรับวันที่ 11 ก.ย.นี้ ยังคงกำหนดการเดิมค่ะ หากมีเปลี่ยนแปลงจะรีบแจ้งนะคะ

2.ท่านใดที่มีรูปอยาก share ให้เพื่อนๆ กรุณา write ลง CD นำมาให้วันที่ 11 ก.ย.ด้วยนะคะ จะได้นำมารวมกันค่ะ 

3.ได้เรียนปรึกษาท่านอวศ.และประสานคุณธารทิพย์แล้ว กำหนดการวันที่ 18 ก.ย.51 เป็นดังนี้ค่ะ

กำหนดการ

พิธีมอบประกาศนียบัตรแก่

ผู้รับการอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการ

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่  18  กันยายน  2551  เวลา  9.00 13.00 น.

  ห้องประชุมชั้น  6  อาคารตั้ว

----------------------------------------------------

9.00  - 9.15  น.                     -   อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการกล่าวเปิด

                                                       และให้นโยบาย

9.15  -  9.30  น.                      -   ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ให้โอวาท

9.30  -  10.00 น.                     -  นางสุดา  นันทวิทยา ประธานผู้รับการอบรม

                                                       โครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการ

                                                       ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานสรุป

                                                       การอบรมและการดูงาน ณ ประเทศเกาหลี    

10.00 - 10.30 น.                    -   พิธีมอบใบประกาศนียบัตร

10.30 - 12.00 น.                    -   ผู้รับการอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำ

                                                       การบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และ

                                                       เทคโนโลยีร่วมประชุมปรึกษาหารือการดำเนิน

                                                       งานต่อเนื่อง  ตามนโยบายอธิบดีฯ  

12.00 - 13.00 น.                      -  ผู้บริหาร    ผู้รับการอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้

                                                       นำและผู้บริหารมืออาชีพและผู้รับการอบรม

                                                        โครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการด้าน

                                                       วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   รับประทานอาหาร

                                                        ร่วมกัน

(ชื่อโครงการอบรมรุ่นที่ 1 คือ โครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ)

4. สำหรับรายงานสรุปการอบรมและการดูงาน ณ ประเทศเกาหลี   ถ้าทำเสร็จอาจลง blogให้เพื่อนๆ ช่วยปรับปรุงค่ะ

สุดา นันทวิทยา

 

                                                      

เรียนท่านอาจารย์จีระและ”พี่น้อง” รุ่น 2ทุกท่าน

“พี่น้อง”คะ ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ blog ของเรามีผู้เข้าชมเกิน 1000 ครั้งแล้ว โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นถึง 123 ครั้ง สำหรับดิฉันเห็นว่าลำพังจำนวนผู้เข้าชม blog ยังไม่มีนัยสำคัญมากนัก เพราะสื่อแค่ว่ามีผู้ click เข้ามาใน blog กี่ครั้ง แต่สัดส่วนผู้แสดงความคิดเห็นต่อจำนวนผู้เข้าชม blog มีนัยสำคัญมากกว่า แสดงถึง ผู้ที่ click เข้ามาใน blog ได้อ่านข้อมูล ความรู้ใน blog จริง มีการวิเคราะห์ โต้ตอบ แสดงความคิดเห็น และต่อยอดให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเดียวกันหรือเรื่องอื่นๆ วันนี้ blog ของเรามีผู้แสดงความคิดเห็นต่อจำนวนผู้เข้าชม blog ด้วยสัดส่วน 121:1011= 1:8 แสดงว่า ทุกๆ จำนวนผู้เข้าชม blog 8 ครั้ง จะมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น 1 ครั้ง อัตราการแลกเปลี่ยนความรู้ไม่เลวนะคะ หากเทียบกับ blog ที่มีผู้เข้าชมเกิน 1000 ครั้งด้วยกัน สัดส่วนพอๆ กับ blog ของ นักศึกษาปริญญาเอกม.ราชภัฎสวนสุนันทารุ่นที่2(สัดส่วน391:3085=1:8) และ blog ของ ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่2 (สัดส่วน259:1883=1:7) หวังว่าอัตราการแลกเปลี่ยนความรู้ใน blog ของเราจะดีขึ้นอีกโดยไม่หยุดนิ่งเพราะรุ่น 2 ยังมีโครงการต่อเนื่องที่จะทำกันอีก

ปกติเช้าวันอาทิตย์ 06.00 น. ดิฉันจะฟังรายการวิทยุที่ FM 96.5 MHz คลื่นความคิด ในรายการ Human Talk เป็นประจำ เพราะวันอาทิตย์มักต้องตื่นแต่เช้าขับรถไปส่งลูกคนหนึ่งคนใดไปขึ้น ward ที่รพ. เลยเป็นตัวแทนของรุ่น 2 มาเล่าให้ฟังแทน “พี่น้อง” ที่ยังหลับอยู่ค่ะ วันนี้อยากแสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คุณไพลิน ที่อาจารย์ ดร.จีระ พูดในรายการ ก่อนหน้านี้หลายสัปดาห์อาจารย์จะคุยเกี่ยวกับ กีฬาโอลิมปิคและต่อมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับบ้านเมือง ซึ่งค่อนข้างห่วงใยอาจารย์ ดร.จีระ ที่นอกจากจะเหน็ดเหนื่อยกับการมุ่งมั่นพัฒนาคนไทยกลุ่มต่างๆ ให้ใฝ่รู้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ยังต้องเพิ่มความห่วงใยในเหตุการณ์บ้านเมืองที่หาจุดจบไม่ได้ มีแต่จะขยายวงความแตกแยกมากขึ้นทุกที แต่ในรายการวิทยุเช้านี้ อาจารย์พูดถึงความตั้งใจตัวเองในการที่จะรับใช้แผ่นดิน แสดงว่ายังมีพลังอีกมากที่จะเดินหน้าต่อไป

ในรายการเช้าวันนี้ ช่วงหนึ่งพูดถึง Ms. Sarah Palin ที่อาจารย์ให้ชื่อเป็นไทยว่าคุณไพลิน คุณไพลินเป็นสุภาพสตรีอเมริกัน อดีตผู้ว่ารัฐ Alaska อายุ 44 ที่สวยและเป็น candidate ในตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐ คู่ mate กับ John McCain ที่เป็น candidate ในตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ตรงกันข้ามกับ Barak Obama ที่ไปเลือกคู่ mate กับผู้อาวุโส Joe Biden แทนที่จะเลือก Ms. Hillary Clinton (ในวันนี้ถือเป็นความเพลี่ยงพล้ำยกแรกของหนุ่ม Obama) คุณไพลินสร้างคะแนนเสียงได้ดีใน speech เปิดตัวเธอไม่กี่วันมานี้ ทำสถิติมีผู้ฟังจำนวนมากใกล้เคียงกับ speech ของ Obama อาจารย์ ดร.จีระ ชอบสำนวนที่ใช้คำคมใน speech ของเธอ ที่ว่า Obama ต้องการ Change เพื่อ Career แต่ McCain มี Career เพื่อ Change เป็นการกล่าวข่ม Obama

ไปในตัว

กรณี speech ของคุณไพลินนี้ ดิฉันอยากเพิ่มเติมความประทับใจในความเป็นผู้นำของเธออีกส่วนหนึ่งค่ะ กรณีที่ถูกผู้สื่อข่าวโจมตีขุดคุ้ยเรื่องที่บุตรสาวของคุณไพลินกำลังตั้งครรภ์ด้วยอายุ 17 ปี คุณไพลินยอมรับและกล่าวว่าเธอเป็นผู้คัดค้านไม่ให้บุตรสาวทำแท้ง ด้วยคิดว่าในช่วงชีวิตของคนเรามีทั้งช่วงที่ดีและช่วงที่ไม่ดี แต่เธอเลือกที่จะเผชิญหน้าและแก้ไขปัญหาในช่วงชีวิตที่ไม่ดี ซึ่งบุตรสาวกำลังจะแต่งงานกับแฟนหนุ่มในไม่ช้า ความคิดที่เข้มแข็งของเธอนอกจากจะเป็นหลักพึ่งพิงของลูกเธอขณะที่กำลังมีปัญหาแล้ว ยังทำให้มองเห็นความเป็นผู้นำที่ชาวอเมริกันจะพึ่งพิงได้ยามมีปัญหาเช่นกัน จะเห็นว่า speech ของเธอนี้สามารถเปลี่ยนวิกฤตจากประเด็นที่ถูกสื่อมวลชนโจมตีขุดคุ้ย กลับเป็นโอกาสแสดงให้เห็นถึงแนวคิดความเป็นผู้นำสหรัฐได้ดี

ในรายการเช้าวันนี้ยังมีข่าวดีสำหรับผู้อยู่ต่างจังหวัดและไม่มีโอกาสชมรายการคิดเป็น ก้าวเป็น ของอาจารย์ ดร.จีระ ทาง UBC cable TV ช่อง TNN2 ข่าวดีคือบัดนี้อาจารย์ ดร.จีระ จะออกอากาศทาง cable ท้องถิ่น MTV Thailand ให้ได้ชมกัน ทั้ง ศุกร์/ เสาร์/ อาทิตย์ อาจารย์ ดร.จีระ จะได้ส่งความรู้ไห้แพร่หลายยิ่งขึ้นยิ่งขึ้นค่ะ“พี่น้อง”

สุดา นันทวิทยา

เรียนท่านอาจารย์จีระและพี่น้อง รุ่น 2ทุกท่าน

วันที่ 11 กันยายน2551 ที่ผ่านมา ผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำ รุ่น 2หลายท่านได้ไปเยี่ยมชม สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ที่วังน้อย แต่บางท่านก็พลาดโอกาส ไม่ได้ไป

จึงนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ด้วยดิฉันมีพื้นประสบการณ์การทำงานด้านปิโตรเลียม ที่ วศ.เกือบ 20 ปี ก่อนมาทำงานด้านการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ รู้จักดีกับเจ้าหน้าที่ ปตท.หลายท่าน จึงเคยไปเยี่ยมชมสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.ที่วังน้อย นี้ 2-3 ครั้งแล้ว ก่อนไปคิดว่าครั้งนี้ก็คงจะเหมือนกับทุกๆ ครั้งที่เคยมา แต่ผิดคาดค่ะ มาวิเคราะห์ดู ก็พบว่าสิ่งที่ทำให้การเยี่ยมชมครั้งนี้แตกต่างออกไปไม่ใช่ที่ตัวสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.ที่มีการเปลี่ยนแปลงในการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม เพื่อรองรับการวิจัยด้าน petrochemicals แต่ที่เปลี่ยนไปคือแนวความคิดในเรื่องของการบริหารงานด้านการวิจัย ด้วยการไปเยี่ยมชมครั้งนี้ตัวเองมีทุนความรู้จากการอบรมภาวะผู้นำติดตัวไปด้วย เมื่อฟังท่านรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บรรยายการบริหารงานด้านการวิจัย และเยี่ยมชมหน่วยงานที่ปฏิบัติงานจริง ทำให้เห็นชัดเจน ว่า ปตท.ได้นำหลักความคิดตามที่คณาจารย์ทีมของท่านอาจารย์ ดร. จีระ ได้อบรมในหลักสูตรภาวะผู้นำ หลายๆ เรื่องมาใช้บริหารจัดการได้ผลดี เช่นในเรื่อง Entrepreneurship ขอยกตัวอย่างเป็นบางข้อค่ะ

กฎข้อที่ 1 Find a vacuum and fill it ปตท. ทราบว่าสังคมต้องการน้ำมันที่สะอาดไม่ก่อมลพิษ การทำงานด้านวิจัยจึงต้องให้เร็วกว่าความต้องการของตลาด ปตท.จึงทำวิจัยและเป็นผู้เสนอน้ำมันไร้สารตะกั่วออกขายก่อนใคร จากจุดนี้ทำให้ลำดับ brand name ของ ปตท.ขยับมาทัน บ.น้ำมันสาขาของ บ.ต่างชาติ และแซงหน้าได้ในปัจจุบัน

กฎข้อที่ 2 Do your homework การหาข้อมูล และความต้องการของตลาด

มีการวิเคราะห์ด้านการตลาดเพื่อดูข้อมูลและ feasibility study บางโครงการก็เดินหน้าแต่บางโครงการก็หยุด ไม่ทำต่อ ด้วย ปตท.จำเป็นต้องเลือกวิจัยเป็นบางเรื่องเนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่มากพอที่จะทำทุกเรื่องได้ จึงต้องเลือกแต่เรื่องที่สำคัญและมีความเป็นไปได้เชิงธุรกิจก่อน

กฎข้อที่ 5 Work with other people’s brains การทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่น ในการวิจัยแต่ละเรื่อง ปตท.ไม่ได้ให้ทำวิจัยเพียงลำพังคนเดียว แต่จัดเป็นทีมงานวิจัยที่ประกอบด้วย นักวิเคราะห์ด้านการตลาด นักวิจัยในห้องปฏิบัติการ นักวิจัยที่ศึกษาใน pilot plant หรือการทำ stimulation เลียนแบบการทำงานจริง และผู้ที่จะนำผลการวิจัยออกสู่ท้องตลาด

นอกจาก ทฤษฎี Entrepreneurship แล้ว ปตท. ยังนำ Boston Model มาใช้อย่างจริงจัง ทั้งหมดนี้สามารถสรุปได้ว่า ปตท.ประสบความสำเร็จและเดินมาถูกทางด้วยการเรียนรู้ทฤษฎี ต่างๆ ที่มีประโยชน์ และที่สำคัญคือผู้บริหารสามารถจัดการให้นำทฤษฎีเหล่านี้มาใช้ปฏิบัติอย่างจริงจังในทุกระดับ

ดังนั้นสำหรับผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำ รุ่นที่2 จึงหวังว่าจะมีโอกาสนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาใช้ปฏิบัติจริงให้ต่อเนื่อง ไม่ได้จบแค่ความเข้าใจในโครงการฝึกอบรม

เท่านั้นค่ะ แล้วพบกันวันมอบใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรมวันที่ 18กันยายน 2551ค่ะ

สุดา นันทวิทยา

สวัสดีครับทุกคน

            ยินดีด้วยที่ Blog ของ รุ่น 2 ก้าวหน้าไปมากและยังมีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ผมขอชื่นชมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสุดา ท่านประธานรุ่น 2 ของเราท่านนำความรู้มาแลกเปลี่ยนที่นี่เสมอ ๆ ผมเองก็ติดตามตลอดและคิดว่าโอกาสที่ Blog นี้จะเกิดประโยชน์ต่อการทำงานของพวกเราก็คงจะมีแน่นอน

            ขอประชาสัมพันธ์ให้ติดตามแนวคิดของ John Wooden ซึ่งผมนำมาเขียนไว้ในบทความสยามกีฬาวันพุธนี้ หรือติดตามอ่านทางเว็บไซต์ที่ www.siamsport.co.th ครับ

            แล้วพบกันวันที่ 18 ครับ

                                                                        จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียนท่านอาจารย์จีระ พี่ๆ และเพื่อนๆ ทุกท่าน

สำหรับผมแล้วส่วนตัวชอบวิธีการทำงานของสถาบันวิจัยและเทคโนโลยีของ ปตท.วังน้อย ในด้านการวิจัยการตลาดควบคู่ไปกับการวิจัยทาง ว&ท เพื่อค้นหา ยกระดับ มาตรฐานและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้หลักการคาดการ trend ของเศรษฐกิจโลกและ รักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เช่น งานวิจัยเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ Hybrid ที่กำลังจะเข้ามาทดแทนรถยนต์ที่ใช้แต่พลังงานจากเชื้อเพลิงซากฟอสซิลอย่างเดียวในปัจจุบัน ทำให้รถยนต์ที่จะผลิตออกมาในเชิงอุตสาหกรรมในอีก 2 ปี ข้างหน้ามีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า 20 กม./ลิตร และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกและสภาพบรรยากาศของโลกที่ร้อนขึ้นเป็นอย่างมาก และอีกส่วนหนึ่งคือการวิจัย Catalyst ที่จะช่วยในการทำ Products ใหม่ๆ เพื่อความคุ้มค่าของก๊าซธรรมชาติที่นับวันจะมีน้อยลงไปเรื่อยๆ สำหรับที่ อพ. กำลังจัดแสดงนิทรรศการเรื่องพลังงานทดแทนและหมุนเวียน อยู่นะครับเป็นนิทรรศการชั่วคราวก็มีส่วนที่พูดถึง ปตท.อยู่เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างนิทรรศการเรื่องพลังงานที่ย้ายมาจากงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2551 และนิทรรศการเรื่องการสำรวจหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากซากฟอสซิล โดย ปตท.สผ. มียาน Time machine แสดงด้วยระบบ Multimedia พาพี่น้องย้อนกลับไปสมัยโลกดึกดำบรรพ์ เมื่อราว 250 ล้านปี ก่อนถ้าพี่น้องมีเวลาก็ขอเชิญแวะมาเยี่ยมเยียนได้นะครับ

ขอบคุณครับ

สุวรงค์ วงษ์ศิริ

เรียนท่านอาจารย์ดร.จีระและพี่น้อง รุ่น 2 ทุกท่าน

ยังไม่ได้เล่ารายการวิทยุที่ FM 96.5 MHz คลื่นความคิด รายการ Human Talk สำหรับวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2551 นี้ ท่านอาจารย์ดร.จีระ และวิทยากรร่วม คุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ คุยกันเรื่องบ้านเมืองด้วยน้ำเสียงสดใสขึ้น แบบมีความหวังว่าจะได้มีทางออกทางหนึ่งทางใดสำหรับเหตุการณ์ที่พันกันยุ่งๆ อยู่นี้ และสิ่งที่เรียกร้องในรายการตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วคือการยกเลิก พรก.ภาวะฉุกเฉิน ก็เป็นจริงแล้วค่ะ

สำหรับในวันที่ 18 กันยายน 2551 โครงการของรุ่น 2 ที่จะทำต่อ เท่าที่คุยกันในรถบัสเมื่อไปเยี่ยมชม ปตท. วังน้อย มีข้อเสนอแนะเบื้องต้น ที่ต้องประชุมปรึกษากันต่อในวันที่ 18 ก.ย.51 ดังนี้ค่ะ

1. ลงพื้นที่ จ. อ่างทอง ขยายร่างแหต่อจากโครงการของ รุ่น 1 ตามที่ท่าน อวศ.มีดำริ แต่จัดที่อำเภออื่น ที่อาจมีความต้องการความช่วยเหลือต่างออกไป เพื่อให้ชุมชน จ. อ่างทอง เข้มแข็งขึ้นโดยกระจายพิ้นที่ ทั้งนี้ได้ปรึกษากับคุณจรวย สมาชิกรุ่น 1 แล้ว ยินดีช่วยประสานกับ อบต. เช่นเดียวกับรุ่น1 ด้วยคุณจรวยเป็นคนอ่างทองและคุ้นเคยกับ อบต.ที่นั่น รวมทั้งมีประสบการณ์จากโครงการรุ่น 1 ด้วย

2. กิจกรรมย่อย: การทำป้ายบอกทางตามแยกถนนภายในบริเวณตึกต่างๆ ของ วศ.และที่ติดกับเพื่อนบ้าน วท.และ อก.ชี้บอกทางไปตึกต่างๆ

3. กิจกรรมย่อยอื่นๆ ร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่นเข้าร่วมบำเพ็ญประโยชน์กับสโมสรโรตารี ที่คุณบัญญัติเคยชวนให้ร่วมกิจกรรมด้วย ยังเป็นไปได้หรือไม่ หรือที่ท่านสมาชิกจากหน่วยงานในวท. มีเรื่องใดน่าสนใจโปรดนำเสนอนะคะ

อย่างไรก็คงปรึกษากันในวันที่ 18 กันยายน นี้ค่ะ รายละเอียดกำหนดการวันที่ 18 เป็นตามเดิมใน blog ที่ 120 ค่ะ

**คำเชิญชวนของคุณสุวรงค์ใน blog ที่ 124 เรื่องที่ อพ. กำลังจัดแสดงนิทรรศการเรื่องพลังงานทดแทนและหมุนเวียน น่าสนใจนะคะ

สุดา นันทวิทยา

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระ และพี่น้องรุ่น 2ทุกท่าน

มีข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสุขภาพค่ะ

สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ฯ และคณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดงานสัมมนาและนิทรรศการวิชาการเรื่อง "รู้เร็ว รักษาไว ใส่ใจสมองเสื่อม" ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลราชวิถี ในวันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2551

ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาฟรี ค่ะ ลงทะเบียน 8.00-8.30 น.

9.00-10.30 น. เสวนา "ลืมเร็ว ลืมไว เอ๊ะ หรือใช่สมองเสื่อม "

โดย อ.นพ.วรพงษ์ เธียรอุกฤษฎ์ และ อ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน

10.30-12.00 น. เสวนา "ร่วมมือ ร่วมใจ สังคมไทยกับปัญหาสมองเสื่อม

13.00-15.00 เสวนา "เสริมพลัง ฝึกปัญญาเพื่อพัฒนาสมอง

โดย อ.ดร.วิเชียร สิทธิประภาพร และ อ.พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์

ปัจจุบันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีผู้สูงอายุป่วยเป็นโลกสมองเสื่อม(Alzheimer)จากเนื้อสมองฝ่อ ขาดสารนำสื่อประสาทในสมอง หรือเกิดมีสารประเภทพลั๊ก หรือกลุ่มอมัลลอย(อาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และส่วนหนึ่งทางการแพทย์เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับอาหารที่เราบริโภค)ไปห่อหุ้มทำให้การส่งผ่านของเซลล์ประสาทไม่ดีพอ

ผู้ป่วยอัลไซม์เมอร์จะค่อยๆ สูญเสียความทรงจำ เมื่อเป็นขั้นรุนแรงจะจำญาติพี่น้อง ลูกหลานไม่ได้ ไม่สามารถทำกิจธุระตามปกติได้ต้องมีผู้ดูแลตลอดไป แต่ถ้าญาติใกล้ชิดสามารถรู้ว่ามีอาการป่วยเข้าข่ายโรคนี้ และพบแพทย์เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ(เช่นโรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลอื่นๆ) ก็จะได้การบำบัดรักษาเพื่อชลอการเสื่อมของสมอง โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งมีอายุสูงมากขึ้น โดยเฉพาะ อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้น

โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซม์เมอร์ (โดยแท้จริงแล้วสมองเสื่อมเกิดได้หลายสาเหตุค่ะ)ผู้ที่ยังไม่ป่วยในขณะนี้ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ถ้าท่านมีเวลาว่างที่สามารถมาฟังสัมมนาหรือเข้าชมนิทรรศการในงานนี้คิดว่าจะเป็นประโยชน์มาก หรือถ้าไม่สามารถมาในงานนี้ก็โปรดศึกษาข้อมูลจากเวบไซต์ เพื่อได้ทราบสาเหตุปัจจัยเสี่ยงของโรค และการเฝ้าระวัง หรือการบรรเทารักษา เพื่อให้ตัวท่าน และเครื่อญาติ(โดยเฉพาะญาติผู้สูงอายุ คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า)มีสุขภาพดีตลอดไป

ดิฉันเองมีคุณแม่ป่วยในอาการโรคนี้ป่วยมานาน ไม่น้อยกว่า 15 ปี เริ่มแรกแค่มีอาการหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ แต่เมือประมาณ ที่ 10 กว่าปีที่แล้วยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ และคนในครอบครัว ก็เข้าใจผิดว่าคุณแม่หลงลืมเพราะสูงอายุ (หลงลืมไปตามวัย) และมีครั้งหนึ่งมีการเดินหลงหายออกจากบ้าน (หลังจากเริ่มมีอาการหลงลืมประมาณ 10 ปีเศษ) และเมื่อนำไปพบแพทย์เพื่อรักษา ก็ทราบว่าช้าเกินกว่าที่จะทำให้มีอาการดีขึ้น และมีอีกหนึ่งตัวอย่างคือข้าราชการเกษียณอายุของกรมวิทยาศาสตร์บริการท่านหนึ่ง ดิฉันเคยเล่าอาการป่วยของคุณแม่ให้ท่านฟังเพื่อขอคำปรึกษา แต่หลังจากนั้นประมาณ 3 ปี ท่านผู้นี้ก็มีอาการป่วยสมองเสื่อมจำลูกหลานไม่ได้ ซึ่งท่านอายุปัจจุบันเพียง 70เศษ นั่นคือท่านเริ่มป่วย ที่อายุหลังเกษียณงานไป ประมาณ 10 ปี จึงเห็นได้ว่าจากข้อมูลทางการแพทย์ที่กล่าวว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมขั้นรุนแรงจะใช้เวลา การดำเนินของโรคประมาณ 10-15 ปี ซึ่งขั้นนี้ผู้ป่วยจะหลงลืมมากเดินหลงหายจากบ้าน จำลูกหลาน คนใกล้ชิดไม่ได้ แต่จากกรณีตัวอย่างข้าราชการเกษียณอายุดังกล่าว เห็นได้ว่าท่านเริ่มป่วยประมาณ 3 ปีเศษก็เข้าขั้นรุนแรงเริ่มจำคนใกล้ชิดไม่ได้(เรียกชื่อหลาน ผู้ที่เคยร่วมงานไม่ได้)รวมทั้งการสื่อสารเริ่มมีปัญหา ถามอย่าง ตอบอย่าง

จากที่ดิฉันได้เคยไปร่วมงานก็ได้ทราบข้อมูลว่าการที่จะดูแลให้มีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคนี้ คือ

-บริโภคอาหารดี ไม่บริโภคไขมันตัวร้าย (ไขมันอิ่มตัว)บริโภคปลา ไขมันปลา (fish oil) บริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผักผลไม้ที่มีสีเขียว เลือง ส้ม แดง (จะได้คลอโรฟิลล์ และสารเบต้าแคโรทีน) ใบบัวบก และผลหม่อน(สองรายการนี้ได้จากการค้นคว้าเอง ข้อมูลทางเวบไซต์มีงานวิจัยทางเภสัชพบว่ามีประโยชน์ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ จึงเชื่อว่าจะมีส่วนยับยั้งการเสื่อมของเซลล์สมองด้วย)

-พักผ่อนให้เพียงพอ

-ดูแลให้มีสุขภาพจิตดี ไม่เครียดมากเกินไป

-ออกกำลังกายสมำเสมอ

-บริหารสมอง การอ่านหนังสือ การเล่นเกมหรือการออกกำลังกายที่มีการฝึกสติ สมองให้ระลึกรู้ เช่น เกมการก้าวขาเป็นจังหวะไปบนช่องในตารางตามลำดับ

การดูแลตัวเราให้สมองดี ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ ก็จะทำให้เราบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับสุขภาพได้ดี ทำให้มีพลังที่จะทำให้การทำงานประสบความสำเร็จพร้อมกับมีชีวิตที่มีความสุขดีเมื่อสูงอายุ

ในโอกาสหน้าจะแลกเปลี่ยนความรู้มุมองการใช้ความคิดค่ะ คือได้ไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับ IQ และ EQ มีบทความบางส่วนที่น่าสนใจ คือผู้ที่ฉลาดคิดหรือที่จะมีลักษณะเป็นผู้นำ ผู้บริหารที่ดี ต้องมีการคิดแบบมีวิจารญาณ คือมีการไตร่ตรองในเหตุและผล สามารถรู้ได้ว่า สิ่งใดควรเชื่อถือได้ (มีฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้สนับสนุน) สิ่งควรปฏิบัติ หนังสือนี้เป็นหนังสือแปลแต่มีหลักวิชาการดีคล้านเป็นศาสตร์ของการคิดและแนวทางการพัฒนาสมอง ผู้ที่สนใจแลกเปลี่ยนแนวคิดโปรดติดตามอ่านในครั้งต่อไปค่ะ

วรรณดี(ทช)

เรียนท่านอาจารย์จีระ พี่สุดา พี่ๆ และเพื่อนรุ่น 2 ทุกท่าน

ก่อนอื่นขอแสดงความเสียใจกับ ดร.กรธรรม ที่สูญเสียคุณพ่อไปด้วยนะครับ และขอแสดงความยินดีกับ สทอภ ที่ดาวเทียมธีออสถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเป็นที่เรียบร้อยเมื่อคืนนี้ ผมมีเรื่องรายงานสมาชิกเล็กน้อยครับ คือวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ทางโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ จัดงาน "วันนิทรรศการวิชาการ" ครับ การนี้ เป็นงานแสดงผลงาน Projects ของนักเรียนนายร้อย โดยพลเอกสมเด็จพระเทพรัตนฯ เสด็จเป็นองค์ประธานฯ เปิดงานและทอดพระเนตรผลงานของนักเรียนฯ โดยมีสถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ฯ แลอื่นๆ อีกราว 16 สถาบัน รวมทั้ง อพ.และ สวทช.ร่วมออกบูธนิทรรศการแสดงผลงานในเชิงงานวิจัย ไม่ทราบว่าทาง วศ. มีความสนใจที่จะเป็นภาคีกับ ทาง จปร.ในอนาคตหรือไม่อย่างไร เพราะทราบว่าทางโรงเรียนมีห้องปฏิบัติการสำหรับนักเรียนอยู่ ซึ่งผมจะได้ช่วยประสานงานทางวาจาสอบถามกับท่าน พอ.ณัฏฐพัชร์ เยือกเย็น ผู้ประสานงานของโรงเรียนนายร้อยฯ จปร. ให้ก่อนว่าหากในการจัดงานครั้งต่อไปหรือจะมีความร่วมมือด้านอื่นใด จะได้ประสานงานมาทาง วศ. ด้วย

ขอบคุณครับ

สุวรงค์ วงษ์ศิริ

สวัสดีครับ พี่ๆ เพื่อนๆ รุ่น 2

เมื่อวันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2551 ผมได้มีโอกาสไปร่วมฟังการเสวนาเรื่อง “Super Human Capital for Globalization” จัดโดย มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และนักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา โดยมีท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา และมีวิทยากร 3 ท่าน โดยแต่ละท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับหัวข้อของการเสวนาครั้งนี้ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง ซึ่งพอจะสรุปให้ดังต่อไปนี้

·        คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์                  ท่านได้กล่าวถึงทุนมนุษย์ในเชิงการเป็นผู้นำจะต้องมีคุณลักษณะ 12 ข้อ

1.       มีเป้าหมายในชีวิต ต้องคิดใหญ่ไม่ใช่คิดเล็ก

2.       มีความคิดที่เป็นระบบ (คิดเร็ว คิดเป็น)

3.       มีศิลปะในการสื่อความ (ฟังก่อน พูดเป็น เขียนได้) ฟังมากกว่าพูดจะได้รู้ปัญหา

4.       สื่อสารให้ดี

5.       มีคุณธรรม เป็นคนดี

6.       มีมารยาท (สำรวม รู้จักกาลเทศะ)

7.       มีความเสียสละ

8.       มีความอดทนและรับความบกพร่องใดๆ ได้

9.       มีความกล้าหาญ กล้าแบบนักรบ

10.     มีสัมผัสที่หกรู้จักสังหรณ์ใจหรือสร้างมโนภาพว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในอนาคต

11.    ต้องตัดสินใจ ต้องลงมือทำ

12.    มีความรับผิดชอบ เช่น แอ่นอกรับผิดแทนลูกน้อง

·      รศ.ดร.สมชาย ภคภาศวิวัฒน์            ความจริงท่านได้บรรยายมากพอสมควรแต่ผมขอเลือกมาส่วนหนึ่งนะครับ คือท่านได้กล่าวว่าโลกเรามันแบน เราต้องเตรียมตัวอย่างไร

1.       เราต้องเร็ว Speed และเป็นรูปธรรม

2.       เราต้องรู้ลึก และ ต้อง Forward Thinking

3.       เราต้องรู้กว้าง รู้ว่าจะทำมาหากินอะไรแล้วสร้างฐานะความมั่นคงได้

4.       เราต้องพอเพียงแต่ต้องรู้ด้วยว่าเราถนัดหรือชำนาญอะไร เข้าทำนอง รู้อะไรรู้ให้จริงสักเรื่องหนึ่งเถิดจะบังเกิดผล

·   คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย                      เน้นว่าผู้นำต้องมี integrity และควรมี 5 ข้อนี้อยู่ด้วยคือ

1.      ต้องนอบน้อมถ่อมตน

2.      ต้องกล้าหาญ

3.      ต้องซื่อตรง คงความเป็นตัวตนที่ดีและซื่อตรงไว้

4.      ต้องรู้จักตนเอง

5.      ต้องใจกว้าง

จะเห็นได้ว่าทั้งสามท่านได้พูดถึงเรื่องทุนมนุษย์และการเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างน่าสนใจ ความจริงมีรายละเอียดหรือตัวอย่างในแต่ละหัวข้อค่อนข้างมากและเป็นประสบการณ์จริง แต่ผมจดไม่ค่อยทันมัวแต่ขำอยู่ แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองของบ้านเราที่ท่านอาจารย์จีระกล่าวไว้ว่าทุกๆ อย่างมันเน่ามาก ผมก็ได้แต่ฝากสมาชิกรุ่น 2 พยายามรักษาสิ่งต่างๆ ที่ท่านมีดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงานและทรัพย์สมบัติเอาไว้ให้ดีนะครับ เพราะเข้าใจว่าปีนี้เผาจริง ส่วนปีหน้าลอยอังคารแน่ๆ ขอบคุณครับ สุวรงค์ วงษ์ศิริ กลุ่ม 5

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระและเพื่อนๆ รุ่น 2 ทุกท่าน

ขออภัยด้วยค่ะที่ผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำฯ รุ่น 2 ห่างการส่งข่าวทาง blog ไปช่วงหนึ่ง เพื่อนๆ รุ่น 2 คงทราบดีว่าเรามีการติดต่อ ทาง e-mail ตลอดเวลาและมีการประชุมของรุ่น 2 ที่ทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้นอยู่ขณะนี้ในภาคปฏิบัติ ด้วยความรู้ทีได้รับจากการอบรมหลักสูตรภาวะผู้นำฯ ที่ท่านอาจารย์จีระ และทีมงาน ได้ถ่ายทอดภาวะความเป็นผู้นำและปลุกความคิดริเริ่มและจิตสำนึกในการพัฒนาทุนมนุษย์ ประกอบกับแนวนโยบายของท่านอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ท่านปฐม แหยมเกตุ ในการนำวิทยาศาสตร์และเทตโนโลยีสูชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ คนใหม่ ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช ในการการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างงาน เพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส และแก้ปัญหาความยากจน

ผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำฯ รุ่น2 จึงร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ่ายทอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตและผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ชนบท ได้มีการประชุมร่วมกันแล้ว 4 ครั้ง และร่วมกับอพวช.อีก 2ครั้ง และไปสำรวจพื้นที่จังหวัดอ่างทอง 2 ครั้งตั้งแต่เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา และมีนัดประชุมในวันที่ 19 และ 27 ม.ค.52 อีก เพื่อติดตามงานและดูความพร้อมก่อนการลงพิ้นที่จริง (เพื่อนๆ บางท่านที่งานยุ่งมาก ไม่ควรพลาดการประชุม 2 ครั้งสุดท้ายก่อนลงพื้นที่)

จากการประชุมทำงานร่วมกันมา บัดนี้ผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำฯ รุ่น2 ได้กำหนดกิจกรรมตามโครงการ “การบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชน จังหวัดอ่างทอง” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2552 โดยในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นการประชุม/สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ โรงเรียนสตรีอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง วันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นเปิดศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศและเทคโนโลยีเครือข่ายกรมวิทยาศาสตร์บริการส่วนภูมิภาค และทอดผ้าป่าหนังสือ ณ อำเภอวิเศษชัยชาญ การประชุมรับฟังปัญหาชุมชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการอบรมหลักสูตรการถนอมอาหาร ณ เทศบาลตำบลอำเภอแสวงหา การอบรมหลักสูตรการทำเครื่องปั้นดินเผา ณ อำเภอป่าโมก

เนื่องจากผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำฯ รุ่น2 ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากวศ.แล้วยังมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ อีก 7 หน่วยงาน การลงพื้นที่ที่จังหวัดอ่างทองครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีและได้บูรณาการร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และกิจกรรมต่อเนื่องของผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำฯ รุ่น 1 ด้วย รวมเป็นโครงการร่วม"คาราวานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ สู่ชาวอ่างทอง" กิจกรรมครั้งนี้จึงประกอบด้วยนิทรรศการและกิจกรรมการทดลองของคาราวานวิทยาศาสตร์ เป้าหมายคือเด็กนักเรียนชาวอ่างทองและพื้นที่ใกล้เคียง อีกส่วนเป็นกิจกรรมภาคปฏิบัติของผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำฯ รุ่น2 เป้าหมายคือผู้ใหญ่ ได้แก่ ชุมชนและผู้ประกอบการชาวอ่างทอง ดังนั้นเป้าหมายงานครั้งนี้เป้นสมาชิกทั้งบ้านของชาวอ่างทอง พ่อ แม่ ลูก มาร่วมงานที่เดียวกัน ณ โรงเรียนสตรีอ่างทอง อำเภอเมือง

ในกิจกรรมนี้ท่านอาจารย์ ดร.จีระและท่านปฐม แหยมเกตุ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เกียรติร่วมบรรยายพิเศษด้วย กำหนดการทั้งหมดจะส่งให้ทาง e- mail ค่ะ

ขอสรุปกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมหลังการอบรมภาวะผู้นำฯ รุ่น2ให้ทราบแค่นี้ก่อนค่ะ

สุดา นันทวิทยา

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท