ทำความเข้าในระบบส่งเสริมการเกษตร เพื่อทำงานวิจัย


ทำงานหลายคน..ก็จะได้ความรู้ที่หลากหลายประสบการณ์....

     เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ดิฉันได้ไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เกี่ยวกับการทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร

     การดำเนินงานในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างทีมงาน จำนวน 4 ทีม คือ

       ทีมที่ 1 ทีมพี่เลี้ยง "ระบบส่งเสริมการเกษตร ของกรมส่งเสริมการเกษตร" ปี 2551

       ทีมที่ 2 ทีมงานวิจัยระบบส่งเสริมการเกษตร ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2551

       ทีมที่ 3 ทีมงานระบบส่งเสริมการเกษตร ของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2551 

       ทีมที่ 4 ทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2551

     ความร่วมมือที่เกิดขึ้น ได้เริ่มต้นจาก

       1) การให้แนวคิด/หลักการ และเป้าหมาย ในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ของจังหวัดสุพรรณบุรี โดย นายไพรัช หวังดี (เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี)

       2) ปัญหาในการทำงาน ที่ผ่านมาและความคาดหวังของงานวิจัย โดย นายสุพจน์ แสงประทุม (ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี)

       3) การนำเสนอผล/เป้าหมาย ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ของทีมงานวิจัยจากกรมส่งเสริมการเกษตร

       4) สนทนา "การปฏิบัติงานที่เป็นจริง" ของเจ้าหน้าที่ในการทำงานส่งเสริมการเกษตร โดยใช้เทคนิคการตั้งประเด็นคำถาม การเล่าให้ฟัง การจับประเด็น และการสรุปความ

       5) การสอบทวนข้อเท็จจริงของข้อมูล ที่เกิดขึ้นจากการสนทนา ที่วิทยากรกระบวนการร่วมกันจับประเด็น โดยใช้เทคนิคการสะท้อนความ การเล่าให้ฟัง การเชื่อมโยง และการตั้งประเด็นคำถามเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเนื้อหา

       6) การสรุปผล โดยการเชื่อมโยงข้อมูลและเนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นจากการสนทนา และการจัดเก็บ/บันทึก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ตัดสินใจ เช่น เป้าหมายงาน วิธีการ/กระบวนการ งานที่ปฏิบัติ ผลสำเร็จ/ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และข้อตกลง/กติกา ที่จะปฏิบัติร่วมกัน

     ผลที่เกิดขึ้นพบว่า สถานการณ์การดำเนินงานส่งเสรมการเกษตรที่เป็นอยู่นั้น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทำงานที่หลากหลายภารกิจและหลากหลายความรับผิดชอบ มีการบริหารจัดการงานที่ปฏิบัติตามคำสั่งจากเบื้องบนเป็นหลัก การดำเนินงานในบางเรื่องมีการสั่งการที่ซ้ำซ้อน เช่น การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น เจ้าหน้าที่ค้นหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาในการทำงานส่งเสริมการเกษตรด้วยตนเองเป็นหลัก การทำงานมีการปรึกษาหารือ/ร่วมกันคิดภายในหน่วยงานโดยใช้เวที DM เป็นหลัก มีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร/แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานส่งเสิมการเกษตรโดยใช้เวทีประชุมเจ้าหน้าที่ตามระบบส่งเสริมการเกษตร (DM) งานส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ตามกลุ่มอาชีพการเกษตรต่าง ๆ เช่น กลุ่มข้าว วิสาหกิจชุมชน และอื่น ๆ เจ้าหน้าที่มีการจัดสรรงาน/มอบหมายงานเฉพาะบุคคลและเฉพาะพื้นที่เป็นตำบล ๆ ให้แต่ละคนรับผิดชอบ/ดูแล กรอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานอำเภอที่เป็นอยู่ในขณะนี้นั้น ได้มีการวางแนวทางการทำงานคือ ระบบส่งเสริมการเกษตร 6 องค์ประกอบ เพื่อให้ปฏิบัติร่วมกัน ของ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าหน้าที่ได้มีสร้างผลงานส่งเสริมการเกษตรที่ได้ผลเป็นของตนเองตามกลุ่มอาชีพต่าง ๆ (Best Practice)เพื่อใช้ในการทำงานของแต่ละคน เจ้าหน้าที่มีการเชื่อมโยงการทำงานส่งเสริมการเกษตรเข้าสู่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ/ความร่วมมือ/การปฏิบัติ ที่มุ่งผลประโยชน์กับเกษตรกรที่เป็นรูปธรรม และเจ้าหน้าที่มีการจัดการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร ได้แก่ การรวมเกษตรกร/ประชุม การนำเสนอ/หารือประเด็นปัญหาที่พบในการทำการเกษตร (ทำนา) การกำหนดความต้องการพัฒนาอาชีพการเกษตร (ทำนา) การพาเกษตรกรไปศึกษาดูงานจากเกษตรกรที่นำนาด้วยกันแล้วประสบผลสำเร็จ การประชุมเกษตรกรเพื่อสรุปผลการดูงาน การกระตุ้นเพื่อให้เกษตรกรตัดสินใจปรับปรุงและพัฒนาอาชีพการเกษตร (ทำนา)ด้วยตนเอง การวางแผนถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร (ทำนา) การประเมินผล/สรุปผลการเรียนรู้ของเกษตรกร และการขยายเครือข่ายการเรียนรู้สู่เกษตรกรที่ทำอาชีพเดียวกัน (ทำนา) การปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ สำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้สนทนาเพื่อรวบรวม/จัดเก็บข้อมูลสถานการณีเบื้องต้นนั้น จะเห็นได้ว่า

       1) เจ้าหน้าที่มีการสร้างการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร ภายใต้โครงการ/ภารกิจงาน/ปัญหาความต้องการของเกษตรกรที่เกิดขึ้นในอาชีพต่าง ๆ

       2) เจ้าหน้าที่ได้แก้ไขปัญหาในการทำงานส่งเสริมการเกษตร ตามที่ได้รับมอบหมายจากการปรึกษาหารือ/การประชุม/อื่น ๆ ภายใต้ประสบการณ์ของตนเองและเพื่อนร่วมงานที่นำมาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

       3) เจ้าหน้าที่ได้ค้นคว้าวิธีการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกษตรกรได้พัฒนาอาชีพของตนเอง โดยใช้วิธีการเกษตรกรสอนเกษตรกร หรือ เกษตรกรถ่ายทอดความรู้ระหว่างเกษตรกรด้วยกันเอง พาเกษตรกรไปดูของจริง และอื่น ๆ สิ่งเป็นการใช้เทคนิคและวิธีการของการประสมสื่อที่หลากหลาย จนทำให้เกษตรกรยอมทดลองทำ/ปฏิบัติ และยอมรับการพัฒนาอาชีพ

       4) เจ้าหน้าที่มีการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยการออกแบบกระบวนการทำงานที่เป็นนโยบาย/งานที่ได้รับมอบหมาย มาสู่การปฏิบัติ ที่เป็นลักษณะของการทดลองทำ/วิเคราะห์/สรุปผล 

       5) เจ้าหน้าที่มีองค์ความรู้ ทางด้านวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับกลุ่มอาชีพที่ได้ผล เป็นของตนเอง และเจ้าหน้าที่มีกลุ่มอาชีพการเกษตร/เกษตรกรรายคนที่ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพการเกษตรในด้านต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม/สามารถนำเสนอได้

     ทั้งนี้ ปัญหาในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ ที่เกิดขึ้นก็คือ

       1) การทำงานของหน่วยเหนือที่เป็นระบบ "การสั่งการให้ปฏิบัติ" ของโครงการต่าง ๆ นั้นเป็นการสั่งการแบบซ้ำซ้อนในเรื่องเดิมหลาย ๆ ครั้ง จึงทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ

       2) การสรุปมูลค่างานส่งเสริมการเกษตร

       3) การกำหนดเป้าหมายและแนวทางการปฏิบัติงานจากหน่วยเหนือขาดความชัดเจน

       4) ความร่วมมือ/การช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานมีค่อนข้างน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่จะต้องดำเนินการกันเองเป็นหลัก 

       5) อื่น ๆ

     ดังนั้น ทางออกในการทำงานที่ควรจะเป็น ไปได้ก็คือ

       1) สร้างเวทีการทำงานร่วมกัน

       2) สร้างพี่เลี้ยงขึ้นมาร่วมดำเนินการ

       3) พัฒนาเจ้าหน้าที่โดยใช้แนวคิดการพัฒนางาน 

       4) เรียนรู้จากงานที่ทำสำเร็จ หรือ ได้ผลเป็นรูปธรรม

     สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลและเนื้อหาคร่าว ๆ ที่ดิฉันได้สรุปความตามแนวคิดและประสบการณ์ของตนเองจากการจัดกระบวนการแบบมีส่วนร่วม แล้วนำมาเชื่อมโยงสู่การสรุปสถานณืการงานที่ตนเองต้อดำเนินการและรับผิดชอบในพื้นที่แห่งนี้ตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานนั่นเองค่ะ.

หมายเลขบันทึก: 191423เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2008 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แอบมาเที่ยวบ้านผม ขอบคุณที่มาพัฒนา สุพรรณ

P  ขอบคุณค่ะที่แวะเยี่ยม  ทำงานเพื่อมุ่งสู่เกษตรกรค่ะ

  • ตามมาเรียนรู้ด้วยคน
  • ขอบคุณมากครับ
  • อิอิ....คนสุพรรณก็ต้องพัฒนาสุพรรณนะครับ

หวัดดีครับ

  • อยากทำงานวิจัย ในพื้นที่ ในงาน แต่ ความคล่องตัว ยังไม่น้อย ยังติดนิดติดหน่อย อยู่ร่ำไป
  • จึงต้องมาเก็บเกี่ยว เอาจาก ประสบการณ์ ของผู้ที่ได้ปฏิบัติจริง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท