แลกเปลี่ยนเรียนรู้คุณอำนวย : 28.ออกแบบกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาของการดำเนินกระบวนการก็คือ การประเมินประเมิน 360 องศา

          ผมขอออกตัวก่อนว่าไม่ใช่เป็นผู้รู้หรือผู้ชำนาญการอะไรมากมายในการทำหน้าที่คุณอำนวย  โดยเฉพาะกิจกรรมที่ใช้เป็นชื่อของบันทึกนี้  แต่จะขอบันทึกจากประสบการณ์เท่าที่ได้เคยลงมือปฏิบัติ  ลองผิดลองถูก  สำเร็จบ้าง สะดุดหกล้มไปบ้าง  อาจจะไม่สมบูรณ์สำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญ  แต่กับผู้ที่อยากรู้เพิ่มเติม  ก็คงจะพอเป็นแนวทางในการนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ-พัฒนาในโอกาสต่อไปได้บ้าง

          ทุกคนสามารถทำหน้าที่ในบทบาทของคุณอำนวย  และทุกคงก็ได้เคยทำหน้าที่นี้มาบ้างแล้ว  ทั้งในงาน  ในครับครัว  หรือแม้แต่กับตนเอง  เพียงแต่เราเรียกชื่อหรือให้ความหมายที่แตกต่างกัน  ในเบื้องต้นก่อนที่จะกล้าวถึงการออกแบบกระบวนการเรียนรู้   ผู้ที่จะเดินถนนสายนี้คงต้องกลับไปทบทวนตนเองดูก่อน  ปรับฐานความเข้าใจในเบื้องต้น  ต้องสรุปบทเรียนจากสวนป่า ในการทำหน้าที่คุณอำนวย - กระบวนกร  คงต้องเข้าใจธรรมชาติของทุกสิ่ง และธรรมชาติของหลายสิ่งหลายอย่างรอบตัว ดังบันทึกสรุปบทเรียนจากสวนป่า

     ตอนที่ 1 http://gotoknow.org/blog/yutkpp/183450 และ

     ตอนที่ 2 http://gotoknow.org/blog/yutkpp/183694 

         ซึ่งเป็นการปรับฐานคิดจากข้างในของเราก่อน  แล้วการจะออกแบบหรือกำหนดแนวทางในการดำเนินการ หรือจัดกระบวนการเพื่อให้คนได้มา ลปรร.กันนั้น ก็ใช่จะเป็นปัญหาหรือเป็นเรื่องยากเย็นแต่อย่างใด

 

 

          เมื่อคิดว่าพร้อมแล้ว  หรือจะต้องทำหน้าที่ในการออกแบบ (เป็นกระบวนกร)  สิ่งที่ควรคำนึงในเบื้องต้นก็คือ

  • เราจะจัดกระบวนการไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด 

        อยากให้เกิดอะไร...ข้อนี้คงต้องชัด หากไม่ชัดอาจเดินหลงทางได้

        เมื่อมีจุดประสงค์เป้าหมายหรือทิศที่จะไปแล้ว ก็ต้อง   "รู้เขา" ให้ได้มากที่สุดโดยเริ่มจาก

  • มีเป้าหมาย(คน)ที่เราจะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเราคือใคร 

        จำนวน 

         อาชีพ 

         ภูมิหลัง (ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม)

         เพศ 

         อายุ 

        ฯลฯ 

หากทราบข้อมูลมากเท่าใด  จะทำให้เราออกแบบได้รัดกุมและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

  • "เวลา"  จากนั้นก็ต้องมาดูว่าเรามี "เวลา" อยู่เท่าไร  เวลาจะเป็นตัวกำหนดว่าเราควรจะออกแบบให้หยาบ-ละเอียด หรือมีกระบวนการที่หลากหลายแตกต่างกัน 

  • ฯลฯ

  • ทุนและทรัพยากร  เมื่อรู้เขาแล้วตอนนี้ก็ต้องหันกลับมา  "รู้เรา"  ว่าตัวเรามีทุนและทรัพยากรอยู่เท่าใด  คือเรามีกำลังคน  มีทรัพยากร  และมีความสามารถในการนำกิจกรรมเข้ามาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน 

  • ฯลฯ

  • ทีมงาน  

        กระบวนการนั้นไม่สามารถทำได้ดีด้วยคนเพียงคนเดียว  ดังนั้นกอดคอกันมาเพื่อออกแบบในลำดับต่อไป

  • การออกแบบ.......

        โดยผสมผสานทุกสิ่งที่มีอยู่และที่กำลังจะนำมาเพิ่มเติม   จัดส่วนผสมให้สอดคล้องกันให้มากที่สุด 

         ไม่ต้องกังวลว่าจะออกแบบแล้วนำไปทำไม่สำเร็จ   

         ให้ออกแบบให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด  และ

          อยู่บนฐานของความรู้(ทุน)ที่เรามีอยู่ก่อน (หาเพิ่มได้ในภายหลัง)

         ไม่ต้องกังวลว่าจะออกแบบได้ไม่ดี  เพราะต้องเข้าใจว่ากระบวนการที่ดีนั้น ไม่มีรูปแบบตายตัว 

          แต่เราจะออกแบบให้ดีที่สุดก็เพียงพอแล้ว

  • เตรียมพร้อม 

        เมื่อออกแบบและก่อนที่จะนำไปสู่การดำเนินกระบวนการ 

        ต้องเตรียมทุกอย่างไว้ให้พร้อมสถานที่ วัสดุ-อุปกรณ์ต่างๆ ไว้ให้พร้อมที่สุด 

  • ฯลฯ

 

  • ดำเนินกระบวนการ  จำไว้ว่า 

      เรียบง่าย 

      ช้าๆ สบายๆ

      ไปเรื่อยๆ  ไม่เร่งรัด

      อย่างเป็นธรรมชาติ

      หากไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้......ไม่เป็นไร   เท่าที่ได้ก็ดีแล้ว

                  

  • ประเมินประเมิน  360 องศา 

        ระหว่างดำเนินกระบวนการ  สิ่งที่กระบวนกรต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาของการดำเนินกระบวนการก็คือ 

        การประเมินประเมิน  360 องศา  ตั้งแต่ต้นจบจบกระบวนการ  ในประเด็นต่างๆ อาทิเช่น   

        ผลที่เกิดขึ้นกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้   

        อากาศ  

        อารมณ์ 

       บรรยากาศของการการ ลปรร.

       เวลาที่เหลืออยู่และใช้ไป  

       สิ่งไหนตกไปหรือสิ่งไหนที่ควรเสริม 

       กระบวนการไหนควรลด-เพิ่ม-ปรับปรุง

  • สุดท้ายก็คือการประเมินทั้งผลการดำเนินกระบวนการ   และส่วนของตัวกระบวนกร

  • ฯลฯ

       กระบวนกรต้องระลึกอยู่เสมอว่า

       เรายังไม่เก่ง  การเรียนรู้และพัฒนาจึงจะตามมา 

       ฝึกบ่อยๆ หยิบฉวยทุกสิ่งรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 

       พึ่งตนเองอย่างไม่มีขีดจำกัด 

       ทำและฝึกไปเรื่อยๆ   

       ฟังคำติ   

       แต่ไม่ต้องรอคำชมหรือรอจนเจ้านายมาเข้าใจ  

       เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนคิดเหมื่อนกันทุกคน  

       ไม่ติดกรอบ-หากขึ้นอยู่กับคนอื่นทั้งปีทั้งชาติเราคงหมดโอกาสที่จะได้พัฒนาตนเอง   

       และที่บันทึกมานี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อยากนำมาแลกเปลี่ยน  ใครมีอะไรดีๆ ก็ช่วยนำมาต่อเติมให้ด้วยนะครับ  

 

      ไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัวนะ...จะบอกฮื้อ 

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. 

สิงห์ป่าสัก  27  มิ.ย.  51

หมายเลขบันทึก: 190793เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2008 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ตามมาดูกระบวนการ อิอิอิ อยู่สุพรรณบุรี

สวัสดีค่ะท่านสิงห์ป่าสัก

  • การจะเป็นกระบวนกรได้ต้องมีความอดทนสูงมากๆ
  • อ่านแล้วรู้สึกว่าต้องหาทีมที่เข้มแข็งและเป็นพันธมิตร
  • จึงจะทำงานร่วมกันอย่างมีพลังและไม่เกิดความท้อแท้เมื่อเจอปัญหา
  • ต้องอ่านบทความของท่านสิงห์ป่าสัก ให้ช่วยเตือนใจหลายๆรอบ
  • ขอบคุณจริงๆสำหรับสิ่งที่มีประโยชน์อย่างบทความนี้ค่ะและบทความอื่นๆอีกมากมาย ขอคารวะ
  • ขอบคุณค่ะ.

มาเรียนรู้ด้วยคนครับอาจารย์สิงห์ป่าสัก

เรียบง่าย

ช้าๆ สบายๆ

ไปเรื่อยๆ ไม่เร่งรัด

อย่างเป็นธรรมชาติ

* ขอบคุณค่ะ ท่านสิงห์สุดเท่ห์

  • มาเป็นนักเรียนค่ะ
  • น้องสิงห์ค่ะ มีเพื่อนทางด้านเกษตรอยู่กระบี่มั่งเปล่าค่ะ  เผื่อพี่จะไปผูกไมตรีค่ะ
  • ใช่แล้วครับ  ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไม่เป็นไร  อย่าหมดกำลังใจ   มันเป็นบทเรียนที่มีค่า

มาอ่านค่ะ...ชื่นชมด้วยคน..

  • ยอดเยี่ยมครับคุณ น้องชาย
  • หากอยู่ใกล้จะชวนไปนิเทศนักศึกษาฝึกสอนด้วยกัน
  • ที่ทำๆกันอยู่ในระบบการศึกษา ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆที่เรียกว่า ห้องเรียน มักเป็นไสยศาสตร์เสียมาก
  • เรียนทำไม จะไปให้ถึงไหน ดูเหมือนทั้งคนสอน คนเรียนต่างก็ไม่รู้ชัด
  • ที่ร้ายอีกแบบหนึ่งก็คือ เขียนฝัน คือจุดประสงค์ไว้ชัด และสวยงาม แต่พอดูการปฏิบัติในกระบวนการกลับไปอีกทาง  ร้ายกว่านั้นพอตามไปดูตอนประเมินผลก็ไปอีกอย่าง ไม่เห็นจะตอบโจทย์ หรือสอดคล้องต้องกันตลอดสายแต่ประการใด
  • ส่วนมากก็จะมาวนเวียนอยู่แถวๆ "ท่องจำ และ บอกต่อ" เท่านั้นเอง
  • ขอบคุณ และ คิดถึงมากครับ

เห็นว่าท่านเขียนมีประโยชน์มาก ผฝเลยขออนุญาต อยู่ชุมชนเมืองเพชร ครับ

ขออนุญาตร่วมชื่นชม และซึมซับ พร้อมรับไป "ขบ" ต่อค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ วีรยุทธ

ไม่ได้เข้ามานานมาก เลยแวะมาทักทาย

ยังเป็นพี่ที่มีสาระดีๆ มาฝากน้องๆ อยู่เสมอนะคะ

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ขจิต
  • ขออภัยที่เข้ามาตอบความคิดเห็นล่าช้า
  • ตามไปดูบันทึกอาจารย์แล้วครับ 
  • อิอิ...ไปบางลี่นี่เอง

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ขจิต
  • ขออภัยที่เข้ามาตอบความคิดเห็นล่าช้า
  • ตามไปดูบันทึกอาจารย์แล้วครับ 
  • อิอิ...ไปบางลี่นี่เอง

P

 

  • สวัสดีครับคุณผึ้งงาน
  • การจะเป็นกระบวนกรได้ต้องมีความอดทนสูงมากๆ
  • อ่านแล้วรู้สึกว่าต้องหาทีมที่เข้มแข็งและเป็นพันธมิตร
  • จึงจะทำงานร่วมกันอย่างมีพลังและไม่เกิดความท้อแท้เมื่อเจอปัญหา
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมา ลปรร.

P

 

  • ตามไปดูร่องรอยแล้วครับ
  • เก็บภาพมาจากข้อคิด ของกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองกอง ต.นาบ่อคำ อ.เมืองกำแพงเพชรมาอีกต่อหนึ่งครับ

P

 

  • สวัสดีครับพี่เบิร์ด
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ครับ
  • ทุกๆ ครั้งที่ได้ ไปร่วมวง ลปรร.กับทีมงานของส่วนกลาง
  • ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มเติมมากเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับคุณปู
  • ช้าๆ  สบายๆ   ผ่อนคลาย  ไม่รีบเร่ง
  • นำมาปรับใช้ได้กับทุกสถานการณ์นะครับ
  • อิอิ...

P

 

  • สวัสดีครับคุณหมอเจ๊
  • วันนั้นที่สวนป่าได้พูดไว้กลัวจะลืม
  • เลยนำมาบันทึกไว้ครับ
  • ที่กระบี่ก็มีนักส่งเสริมที่เก่งๆ นะครับ (แต่ผมไม่สนิทกับใครเลย) เลยไม่กล้าแนะนำ
  • แต่ว่าที่เข้ามา ลปรร.ผ่านบล็อกยังมีไม่กี่ท่าน
  • โอกาสต่อไปเมื่อผูกมิตรไมตรีได้แล้วค่อยแนะนำนะครับ
  • หรือว่าทีมเกษตรของกระบี่จะแนะนำตัวเอง..เชิญเลยนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับพี่สำราญ
  • เรียนรู้ร่วมกัน  สร้างสรรค์สังคมนะครับ

P.

 

  • สวัสดีครับท่านพี่เมตตา
  • อิอิ....ลปรร.ครับ

P

 

  • สวัสดีครับท่านพระอาจารย์  handy
  • เสียดายเหมือนกันครับ ที่อยู่ไกลเลยขาดโอกาสในการไปเรียนรู้
  • จากประสบการณ์ก็พอจะคิดและเขียนจากที่ทำมาได้ประมาณนี้  หลายๆ ท่านอาจมีสิ่งดีๆ อีกมากหลาย
  • กระบวนกรหรือผู้ที่จะจัดกระบวนการให้เกิดการ ลปรร. หากไม่ติดกับรูปแบบหรือกรอบที่ตายตัวจนเกินไป  เราอาจจะได้เรียนรู้อะไรที่ใหม่และเกิดนวัตกรรมขึ้นในทุกๆ วัน
  • แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น  ทุกๆ ฝ่ายก็คงจะต้องคิดและปฏิบัติไปในแนวทางเปิดโอกาส-เปิดใจกว้างเช่นกัน
  • เพราะทุกอย่างล้วนต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  • หากปรับก็คงต้องปรับไปพร้อมๆ กันหลายๆ ด้าน จึงจะเกิดพลังขับเคลื่อน
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

P

 

  • สวัสดีครับท่านเขยเมืองเพชร
  • ยินดีมากเลยครับท่าน

P

 

  • สวัสดีครับครูปู
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน และ ลปรร.

P

 

  • สวัสดีครับน้อง  TuDToo
  • หายไปนานมากเลยนะครับ
  • เดี๋ยวก็เข้าบล็อกไม่ถูกหรอก เพราะเขาปรับเปลี่ยนไปมาก
  • วันก่อนไปที่กรมฯ เจอน้องวิศรุตก็กำลังวุ่นเรื่องงาน-เรียน บล็อกก็เลยร้างราไปเช่นกัน
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • อิอิ....อย่าลืมแวะไปเขียนบันทึกบ้างนะครับ 

สวัสดีค่ะ

เข้ามาศึกษาความรู้ด้วยอีกคนนะคะ ขั้นตอนการทำงานที่เล่าสู่กันเป็นการให้ความรู้และประสบการณ์ที่ตรงไปตรงมาทุกขั้นตอน ได้ข้อคิดที่ดีๆ ที่สำคัญเมื่อจะทำงานใหญ่ใดๆเชื่อแล้วค่ะว่าเราจะไม่โดดเดี่ยวหากเรามีทีมงานที่ดี และเตรียมงานอย่างมั่นใจ ขอชมเชยผลงานการเขียนสู่กันนะคะ เขียนได้ชัดเจนเข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้ ขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่บอกเล่าสู่กัน

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ปรีดา
  • เป็นประสบการณ์เล็กๆ ที่ได้ลงมือและเชื่อมโยง แล้วนำมาบอกต่อ
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ผ่านบล็อกครับ
  • และขอบคุณอาจารย์มากครับที่แวะมา ลปรร.และให้กำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท