ปุ๋ย เพื่อ ใคร?


สวัสดีครับเกษตรกรไทยทุกท่าน

    สบายดีกันไหมครับ....เมื่อวานได้ันั่งฟังการอภิปรายสะท้อนผลงานรัฐบาล เลยได้รับรู้ว่ามีการนำเข้าปุ๋ยเคมี เข้าในประเทศไทยเยอะมากๆเลยครับ ผมจำตัวเลขไม่่ได้ครับ ทำให้ผมย้อนกลับไปนั่งคิดว่า แท้ที่จริงแล้ว เราจำเป็นไหมที่จะต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ

    เมื่อสองสามวันก่อน ก็ได้ฟังคุณลุงทองเหมาะ มาออกทีวี ท่านบอกว่า ท่านทำนาโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แล้วนาข้าวก็ได้ผลดี ข้าวงาม ผลผลิตดี

    แล้วเรายังจำเป็นไหมครัีบที่จะต้องซื้อปุ๋ย  หลายๆท่านบอกว่า เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช ซึ่งก็คือการทำให้ดินสมบูรณ์ มีสารอาหารครบถ้วน ไม่ว่าเมล็ดพันธุ์พืชใดตกลงมาก็พร้อมจะงอก

การทำดินให้พร้อมนั้น มีอะไรบ้าง

  • พร้อมด้วยโครงสร้างของดิน
  • พร้อมด้วยสารอาหาร
  • พร้อมด้วยน้ำ
  • พร้อมด้วยอากาศ
  • พร้อมด้วยอุณหภูมิ
  • พร้อมด้วยความเป็นกรดเป็นด่าง
  • พร้อมด้วยผู้ย่อยสลายอินทรียวัตถุ
  • อื่น...ๆ

    การปลูกพืช เชิงเดี่ยว และการตัดตอนการสร้างปุ๋ย ที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุจากจุลินทรีย์ในดินนั้นทำให้เราไปติดอยู่กับปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ไม่มีชีวิตเป็นเสมือนน้ำเกลือที่พร้อมจะฉีดเข้าร่างกายคนเพียงแต่เราใส่ลงไปในดิน หวังว่าพืชจะนำเข้าไปใช้ได้เลย จริงๆ หากเราใ่ส่ปุ๋ยเคมีโดยไม่เข้าใจ เราเสียมากกว่าได้อีกครัีบคือ ซื้อปุ๋ยมาทิ้งนะครับ จริงๆ แล้วปุ๋ยเคมีก็ไม่ได้ผิดหรอกนะครับ เพราะว่าไม่ว่าเราจะใส่ปุ๋ยเคมีหรืออินทรีย์ ท้ายที่สุดรากพืชก็นำเข้าแบบเคมีครับ เพียงแต่กระบวนการของสารเคมีที่ได้นั้น อยู่ในรูปประจุต่างๆนั้น จะเอามาจากโรงงานโดยตรงแล้วมาใช้การทำละลายในสารละลายดิน หรือเอาซากพืชสัตว์มาแล้วให้ผู้ย่อยสลาย สลายแล้วให้พืชดูดนำไปใช้ ผมเคยเทียบการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสมือนกับการกินข้าว ต้องย่อยด้วยกระเพาะก่อนและใส่ปุ๋ยเคมีเสมือนว่าฉีดน้ำเกลือเข้าร่างกายตอนเราป่วยครับ

    หากเราลดการนำเข้าปุ๋ย โดยที่พี่น้องเกษตรกร ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงเพราะตอนนี้คือโอกาสเหมาะมากๆคือ ไม่ใช้ปุ๋ย เพราะราคาแพงมากๆ แม่บอกว่ากระสอบละพันกว่าบาทแล้วครับ หากเราไม่ยึดติดว่าหากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว พืชไม่โตหรอก ผมว่ามันก็โตนะครับ แต่จะให้สู้และเร็วเหมือนกับการฉีดน้ำเกลือเข้าสู่เส้นเลือดได้ก็ไม่ขนาดนั้นครับ  เราจะให้รีบเร็วไปขนาดไหน ลองมองในอดีตก่อนคนในโลกนี้รู้จักปุ๋ยเคมีูดูซิครับ การเกษตรก็เกิดมาก่อนครับ ทำไมคนสมัยนั้นอยู่กันได้ล่ะครับ  หากจะถามกันให้ชัดๆ คือ

    ป่าไม้เขาใหญ่  เขาหลวง เทือกเขาต่างๆ ที่ยังพอจะีมีต้นไม้อยู่นั้น ใครใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้เหล่านั้น  เลี้ยงดูกันเองโดยธรรมชาติ เกื้อกูลกันเอง คนก็ยังมีหน่อไม้กิน เพราะเราต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเหตุผลทางธุรกิจมากกว่าครับ จึงต้องเร่งรีบ ให้ผลผลิตออกเร็ว สวยงาม ตามความต้องการผู้บริโภค หรือทำให้เกินงาม เกินความพอดีที่ควรจะเป็น

    ต้นไผ่ หน่อไม้ไผ่ข้างบ้าน ใครใส่ปุ๋ยให้ละครับ  วัชพืชที่คันนา ใครละครับใส่ปุ๋ยให้  การทำให้ต้นพืชที่เราปลูกนั้นอ่อนแอ ทำให้เราต้องโอ๋ๆๆๆๆ พืชชนิดนั้นมากเกินไป เหมือนกับคนเราเลี้ยงลูกนะครับ ปล่อยให้กินดิน กินทราย เล่นดิน ชิมฉี่บ้างก็ได้ครับ  อิๆๆๆ

    เพราะเราคิดว่า เราต้องใส่ปุ๋ย ทำให้พืชชนิดนั้นขาดการดูแลและคิดหาระบบในการอยู่รอดด้วยตัวเอง ผมจะบอกว่าจริงๆแล้วเรานี่ล่ะคือผู้ไม่รู้จริง ต้นไม้เค้าเป็นผู้ผลิตครัีบ จะต้องหากินเองตามสภาพคือ มีสภาพความพอเพียงสูงมากๆ ครับ แต่คนเรามองว่าพืชมีปุ๋ยไม่พอเพียงเลยต้องให้ปุ๋ยตามที่คิด ตามที่จะบำรุงครับ

หากสิ่งต่อไปนี้เราซื้อหมด แล้วเราจะเหลือเก็บไหม?

  • เมล็ดพันธุ์ (ทุนนิยม ปลูกครั้งเดียว ครั้งหน้าซื้อใหม่ เมล็ดที่ได้ปลูกเองไม่ขึ้น)
  • ปุ๋ย (ทุนนิยม อาจจะมีอะไรมากกว่าธาตุอาหารหลักติดมาในส่วนผสม)
  • ฮอร์โมน (ทุนนิยม บำรุง กิ่งก้านสาขา ดอกใบรากผล ตลอดสู่การเร่ง)
  • กระบวนการการผลิตก็ืซื้อแรงงาน เครื่องมือทางการเกษตร และอื่นๆ
  • การจัดการเรื่องการตลาด
  • อื่นๆ

หักลบแล้วเราจะเหลืออะไรครับ?  ทำนาปรังไ้ด้ซังแถมหนี้ ทำนาปีได้หนี้แถมซัง  นับว่ายังโชคดีนะครับที่มีซัง เพียงแต่ซังคือไม่ใช่เป้าหมายหลักในการทำนาเพราะคนเราไม่ได้กินซังเป็นอาหาร

    ผมจะบอกให้คิดว่า ทำไมต้นไม้ในป่าอยู่ได้เอง เพราะธรรมชาติเค้าเติมปุ๋ยให้ตัวเองผ่านระบบการปล่อยเปลือก ลอกเปลือก สลัดใบทิ้ง สลัดกิ่งก้านทิ้ง สิ่งเหล่านี้ จะโดนน้ำ อากาศ แมลงย่อยสลายให้กลายเป็นปุ๋ยให้ซึมลงสู่ดินผ่านการนำพาด้วยน้ำฝน แม้รากพืชเองก็มีส่วนที่ตาย โตและตายเช่นกันครัีบ คือฝังดินและตายก็ย่อยลงดินไปเลยครัีบ เป็นการเติมอาหารให้ดินเช่นกันครัีบ  ธรรมชาติฉลาดกว่าที่เราจะคิดได้นะครัีบ เพียงแต่คนเราชอบลักไก่ คือชอบทำอะไรลัดๆ ให้ได้เร็วๆแต่ไม่อยากจ่ายแพง มีคราบของกิเลส อยากได้อยากมีเหมือนคนอื่นมากไปนะครับ ตรงนี้อยู่ที่เราครับ ว่าจะยอมรับกันได้ไหมครับ

    ลองคิดเล่นๆ ครับ ปุ๋ยเคมี กระสอบละ 50 ก.ก. ราคา 1350 บาท กิโลกรัมละ 27 บาท ราคาข้าว ก.ก. ละ 40 บาท  ปุ๋ยที่ใส่ข้าว 1 กิโลกรัม ที่ใส่ในนา ได้ข้าวคืนมากี่กิโลกรัม?

    หากเราลดต้นทุนเหล่านี้ได้ เกษตรกรไทยจะอยู่ได้ครับ นอกจากปลูกพืชแล้วเมืองไทยมีเลี้ยงสัตว์ เรามีของเสียที่ได้จากการขับถ่ายของสัตว์ ก็นำมาให้พืช  มองสัตว์เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยให้ได้ซิครับ เหมือนเราขนก้อนเกลือก้อนหินเข้าโรงงาน  กับการให้วัวควายกินหญ้า หมูกินหยวกกล้วย  มองสัตว์เหล่านี้ให้เป็นโรงงานทำปุ๋ยให้ได้ซิครับ แม้แต่ตัวเราก็เป็นโรงงานทำปุ๋ย แล้วเราจะลดอะไรหลายๆ อย่าง แม้แต่ปลาก็ยังเป็นโรงงานทำปุ๋ยได้เช่นกันครัีบ

    กระบวนการแรกที่เราจะกู้ชาติได้คือ หยุด....เพื่อคิด....หยุดไม่ใช้....หันไปใช้อย่างอื่นทดแทนบนฐานของธรรมชาติ...เราจะได้คำตอบที่สวยๆ ได้ครับ

    บทความนี้ไปไม่ถึงพี่้น้องเกษตรกรหรอกครัีบ...แต่เชื่อว่าอย่างน้อยคนที่มา่อ่านเจอ ได้พบอ่านแล้วอาจจะเจอจุดคิดบ้าง เอาไปคุยกันต่อ หรือเอาไปทำต่ออย่างน้อยได้คิดก็ถือว่าเกิดประโยชน์ได้แล้วครับ ส่วนหากอ่านแล้วไม่มีอะไรก็ผ่านไปนะครับ....

ของเสียในสายตาเรา คือปุ๋ยในสายตาคน(พืช  สัตว์) อื่น?

ปุ๋ยที่นำเข้าประเทศบ้านเรา ปุ๋ยเพื่อใคร?

จะมีัรัฐบาลไหนไหมที่เน้นปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ให้ความรู้แบบจริงใจ?

    ยินดีแลกเปลี่ยนกับทุกท่านครัีบ

กราบขอบพระคุณมากครัีบ

เ้ม้งครัีบ

หมายเลขบันทึก: 190589เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • เพื่อคนบางกลุ่ม
  • เพื่อนายทุน
  • เพื่อพ่อค้า
  • เพื่อเอาของเสียจากจากต่างประเทศมาทิ้งในบ้านเรา ทิ้งและได้ราคางาม
  • เพื่อทำลายเกษตรกรไทย
  • เพิ่มเพิ่มต้นทุนให้เกษตรกร
  • ...

เมื่อก่อนไม่มีปุ๋ยเคมีเห็น ทวดอยู่ได้ ปู่ย่าไม่แน่ใจ

ดุรายการเดียวกันเลยค่ะ และกำลังจะต้องซื้อปุ๋ยสูตร 23- อะไรก็ไม่ทราบเพื่อบำรุงต้นปาลม์ที่เพิ่งปลูก ขอคำแนะนำเลยค่ะว่าควรเตรียมตัวทำปุ๋ยหมักอย่างไรดี

ตอนดูก็คิดอยู่เหมือนกันว่า จะทำตามคุณลุงท่านได้อย่างไรนี่

กลับไปอ่านอีกครั้งก็ เอ หรือยังไม่ต้องใส่

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะไม่มีการนำเข้าปุ๋ยเคมี รัฐบาลต้องส่งเสริมการเกษตรแบบพอเพียง ไม่ใช่ปากว่าตาขยิบเหมือนปัจจุบัน ถึงเวลาที่ประชาชนอย่างเราๆต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น เพราะไม่สามารถคาดหวังได้จากภาครัฐอีกต่อไป

สวัสดีครับโสบ้านสวนพอเพียง

    บายดีหม้ายครับ ขอบคุณมากๆ ครับที่แวะมาเยี่ยมในฐานะเกษตรกรคนหนึ่งครัีบ และปฏิบัติจริงครัีบ  ทำให้ผมนึกถึงตอนโสฯไปอบรมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติครับ ว่าไปก็เหมือนๆ ครีมบำรุงผิวที่ประชาสัมพันธ์อยู่นะครัีบเป็นการทำให้เราหลงไหลว่าต้องใช้ จริงๆ แล้วเราจำเป็นจริงหรือที่จะนำเข้า เราเสียกลต่างชาติหรือเปล่า? เน้นทุนนิยมมากไปหรือเปล่า?

    มีใครบ้างที่ปลูกผักบุ้งต้องใส่ปุ๋ยเคมี?  อันนี้พืชชนิดที่จบปริญญาเอกเลยก็ว่าได้ครัีบ คือปลูกแล้วให้แค่น้ำก็ได้กิน ใบสวยงามได้

นั่นล่ะครับ ปุ๋ยเพื่อใคร?

ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดีครัีบคุณ 2. daranee

    ขอบคุณมากๆ เลยครัีบ ดีใจจังครับ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนนะครัีบ กำลังปลูกปาล์มน้ำัมันหรือครัีบ

การใส่ปุ๋ยให้พืชนะครับ ผมขอแลกเปลี่ยนว่า

  • สาัรอาหารในดินที่เราปลูกมีอะไร สารอะไรบ้าง
  • พืชที่เราปลูกต้องการสารอาหารอะไรบ้าง
  • ปัจจัยอื่นๆ น้ำ ความเป็นกรดด่างลักษณะของดิน ฯลฯ
  • เราควรจะเติมเต็มให้ต้นไม้ตามความต้องการในพืชอายุต่างๆ ได้อย่างไร
  • ใส่ปุ๋ยในช่วงที่พืชไม่ได้ต้องการ ก็เปลืองปุ๋ยเปล่าๆ ครัีบ
  • บำรุงดอกตอนยังเป็นต้นเล็ก บำรุงดอกให้กับพืชกินหัว
  • ดังนั้นเราต้องรู้จักพืชต้นนั้นๆ ซึ่งนักวิชาการเกษตรมีหน้าที่นี้ที่จะให้ความรู้กับเกษตรกรครัีบ
  • อื่นๆ

เคยเลี้ยงปลาไหมครัีบ แล้วเอาอาหารไปให้ปลาไหมครับ?

โยนไปหนึ่งกำ ปลาก็กินอาหารจนหมด จึงโยนลงไปอีกหนึ่งกำ

กินหมดไหม หากหมดก็โยนให้อีกหนึ่งกำ  หากกำหนดอาหารลอยปลาอิ่ม ก็ให้พอแค่นั้น แม้อาหารในกะลาเหลืออยู่ก็ตาม เพราะนั่นหากเราฝืนใส่ไป ก็เสียของครับ เกิดเป็นพิษให้กับน้ำและดินได้อีก

จะเห็นว่าให้ให้พอเพียงนั้นสำคัญ ไหมครัีบ?

ต่อมา...ต้นตาลโตนดในนา มีใครใส่ปุ๋ยให้เค้าบ้างครับจำเป็นไหมว่าเราปลูกไปเลี้ยงไปแบบให้ถึงน้ำที่เค้าต้องการ  น้ำนั้นสำคัญกว่าปุ๋ยนะครับ เพราะหากน้ำไม่พอปุ๋ยก็ไร้ค่า ปุ๋ยจะกลายเป็นเกลือ แต่หากน้ำพอไม่มีปุ๋ย ต้นไม้อยู่ได้ครับ แต่อาจจะแสดงออกทางใบให้เห็นบ้างครับ แต่ต้นไม้ไม่ได้ตายง่ายๆ ครัีบ

ผมกำลังจะบอกว่า เรากำลังคิดแทนต้นไม้ที่เราปลูกหรือเปล่าครัีบ ว่าต้องใส่นั่นนี่ ตามที่มีคนที่เราคิดว่าเป็นผู้รู้บอกมา? ไม่ว่าจะรากฐานมาจากธุรกิจหรือนักวิจัย  อย่างน้อยลุงทองเหมาะได้พิสูจน์ทำนามาแล้วสิบปี ก็น่าจะหันกลับมาคิดกันได้นะครับผมว่า การทำนาของท่านเสถียรมากพอที่จะให้ชาวนาไทยคิดครัีบ

แต่ท้ายทีุ่สุดอยู่ที่เกษตรกรไทยนะครัีบ???

ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดีครัีบคุณข้าหนาน

    ขอบคุณมากๆ เลยครับ ยินดีต้อนรับด้วยนะครับ ในฐานะสมาชิกใหม่แห่งชุมชนโกทูโนว์นะครับ มาแลกเปลี่ยนกันเป็นเืรื่องที่ดีนะครับ

    ผมว่าคนไทยอาจจะต้องหันมาพิจารณาร่วมกันนะครับ ว่าจะพึ่งพาตนเองได้อย่างไร ยืนบนขาตัวเองให้ได้เกินครึ่ง เช่น 80% ที่เหลือพึ่งรัฐบาล ไม่งั้นผิดหวังมากครับ ขอเพียงแต่ให้มีพื้นฐานที่จะพัฒนา สู้กับปัญหาที่เราเจอครัีบ

    บ้านเมืองเราโดยครอบงำในเรื่องระบบทุนเยอะนะครับเป็นเรื่องที่น่ากังวลนะครับ ไม่ใช่ว่าทุนนิยมไม่ดีนะครับ แต่ไม่ควรสุดโต่งครับ ให้ผสมเข้ากับสังคมนิยมให้พอเหมาะบนรากของสังคมไทยครับ

ทุนนิยม กับ คุณธรรม  เหมือนกับ ความรู้ คู่คุณธรรมนะครัีบ

ต้องมีคุณธรรมกำกับครับ ไม่งั้นลำบากครัีบ

    เราจะระยับความอยากของเราให้ลดลงที่จะมีแต่ให้เป็นพอใจในสิ่งที่เราพอมีได้อย่างไรครับ  เริ่มที่ตัวเรานี่ล่ะครับ ทุกคนก็อยากเป็นคนดีกันนะครัีบอยากพอมีพอกินกันทุกๆ คนครัีบ

มาแลกเปลี่ยนกันอีกนะครัีบผม

สนุกในการทำงาน  ทางเหนืออากาศเป็นไงบ้างครัีบ

ขอบคุณมากครัีบ

 

สวัสดีครับ

เมื่อเช้าผมเพิ่งจะได้พูดคุยกับป้า/ลุง เกษตรกรในตำบลที่รับผิดชอบ

ด้วยเรื่องปุ๋ยเคมีที่ อ.เม้ง พูดถึง

พบว่าตอนนี้มีเกษตรกรอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรกเสพย์ติดปุ๋ยเคมี และเชื่อตลอดเวลา (อย่างมั่นคง) ว่าปุ๋ยเคมีคือสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ไม่งั้นจะไม่ได้ผลผลิต (ตามที่ต้องการ) และการใช้ปุ๋ยคอกต้องใช้แรงงานเยอะ...

เกษตรกรอีกกลุ่มมีความเชื่อตรงกันข้าม เขาเชื่อว่า เมื่อปุ๋ยมีราคาแพงขึ้นเกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยคอกทดแทน/ชดเชยได้ (เกษตรกรจะต้องเลี้ยงสัตว์ จึงจะมีปุ๋ยคอกของตนเอง) ซึ่งอาจจำเป็นต้องใส่ในปริมาณมากในปีแรกๆ เพื่อการฟื้นฟูปรับสภาพโครงสร้างของดิน หลังจาก 3 ปีไปแล้ว แทบจะไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี และจากการลดการใช้ปุ๋ยเคมีเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

เกษตรกรกลุ่มนี้แหล่ะครับที่จะเป็นเกษตรกรต้นแบบเพื่อการขยายผลแก่เกษตรกรในชุมชนใกล้เคียงต่อไป

...

ขอบคุณครับ

พี่เคยมีโอกาสสนทนากับคุณเดชา ศิริภัทร มูลนิธิข้าวขวัญ อาจารย์พูดว่า เคยมีนักการเมืองแสดงวิสัยทัศน์ว่าเมืองไทยยังทำการเกษตรสู้หลายๆประเทศไม่ได้เพราะดูได้จากปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใช้ ปีหนึ่งๆนำเข้่าและใช้ปุ๋ยเคมีน้อยมาก อย่างนี้มันจะไปแข่งขันปริมาณผลผลิตกับประเทศอื่นๆเขาได้อย่างไร ฟังแล้วสังเวชใจที่คนในระดับนโยบายก็ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจและความศรัทธาในการทำเกษตรอินทรีย์

อาจารย์เดชา ทำโรงเรียนชาวนา มุ่งเกษตรอินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ค่ะ สิ่งดีๆมีตัวอย่างทำอยู่แล้วมากมายแต่เมื่อกระบวนทัศน์ไม่เปลี่ยนเขาก็มองไม่เห็นสิ่งดีๆว่าเป็นแนวทางที่ควรทำและทำได้ผลจริงค่ะ

สวัสดีครับคุณพิทักษ์

    สบายดีนะครับ ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ สำหรัีบข้อมูลที่ดีมากๆ เลยครัีบ ผมว่าเป็นโอกาสดีนะครับ ที่มีเกษตรสองกลุ่มแล้วให้เค้าทำเพื่อชี้ให้เห็นกันเองอย่างธรรมชาตินะครัีบ ต่อๆ ไปหาคนที่ซื้อ หรือชาวบ้านนิยมบริโภคผักปลอดสารพิษ ปลอดสารเคมีจากปุ๋ยเคมี ชาวบ้านจะหันมาปรับตัวเองครับ ที่บ้านผมก็ใช้ปุ๋ยเคมีมาก่อนเช่นกันครัีบ ตามหลักแล้วเค้าบอกว่า ให้ใช้ผสมๆ กันครัีบ แต่หากไม่ใช้เลยได้ก็ยิ่งดีครัีบ เพราะไม่เปลืองครับ เพราะปุ๋ยคอกก็มีเคมีในตัวอยู่ดีครับ ปุ๋ยคอกใ่ส่ไว้ก็อยู่ได้นานครัีบ เคมีต้องฉีดเข้าเส้นเลือดทุกๆ ช่วงครัีบผม

    หากคิดระยะไกลแล้วเราจะเป็นว่า เราตกเป็นทาสของธุรกิจเสียเต็มเหนี่ยวเลยครัีบ เพียงแต่เราจะตื่นและทำกันต่อไหนครับ พอคนไทยไม่ใช้มากๆ คนนำเข้าก็จะคิดหนัก คนขายก็คิดหนักครับ ในที่สุดก็เจ๊งไปเองครับ เอาไว้ใช้ในห้องทดลองก็พอครัีบ ไม่ต้องเอามาให้ชาวบ้านเป็นหนี้ครับ  ที่มาของปุ๋ยเคมีก็มาจากห้องทดลองนะครัีบ พอเค้าพบว่าดีก็เลยแปลงจาก ห้องทดลองลงพื้นที่จริง ถึงเวลาแล้วหรือยังครับ ที่จะคืนกลับให้ไปเก็บไว้ในห้องทดลองครัีบ

ถึงเวลาหรือไม่อยู่ที่พวกเรา เหล่าเกษตรกรครับ

ขอบคุณมากๆ เลยนะครัีบ ฝากให้กำลังใจทีมเกษตรอินทรีย์ชีวภาพด้วยนะครัีบ ส่วนทางทีมเคมีก็ลองบอกให้ทำการทดลองกันเองในครัวเรือนก่อนก็ได้ครับ มาหลังๆ จะยอมรับเองครับ บางทีคนเรากลัวเสียหน้า กลัวเสียฟอร์ม กลัวเสียศักดิ์ศรีนะครับ เพราะใช้กันมาจนชินนะครัีบ

สวัสดีครับพี่นุชคุณนายดอกเตอร์

    ขอบพระคุณมากๆ เลยครัีบพี่ พี่สบายดีนะครับ ข้อมูลดีๆมากเลยครัีบ อย่างน้อยเราได้เห็นมุมมองนะครัีบ เืมื่อคืนผมก็ฟังการถกในประเด็นนี้ในสภาครัีบ เพียงแต่เราไม่กล้าที่จะทำนะครับ ไ่่ม่กล้าที่จะใช้ จริงๆ เราคิดเองเออเองแทนพิษทั้งนั้นครับ เช่น

  • สมุนไพรที่ไม่รู้จัก เรามองว่ามันคือวัชพืช  (มองมุมกลับโดยศึกษาสรรพคุณได้ไหม ให้วัชพืชเป็นสมุนไพร?)
  • เราคิดว่าพืชต้องการสารอาหารนั่นนี่ เลยต้องโอ๋ๆๆๆด้วยปุ๋ย ทั้งๆที่พืชเค้าจะมีการประท้วงว่าเค้าขาดสารอาหารอะไร จากธาตุอาหารหลักๆ 16 ตัวนะครัีบ หากเราปรับสมดุลของดินได้ การแสดงออกโดยการประท้วงออกมาทางใบ ใบเหลือง ใบซีด ก็จะไม่เกิดครับ
  • ในธรรมชาติมีเทวดาอยู่เพียบครับ ที่จะช่วยหล่อเลี้ยงอุ้มชูพืชนะครับ จริงๆ หากเราลองถามพืชรอบบ้าน แล้วถามว่า ใครใส่ปุ๋ยให้เธอล่ะ ถึงสวยงาม หากงอกเองตามธรรมชาติ พระธรรมชาติก็ดูแลครัีบ ชาวบ้านจึงนิยมหว่านเมล็ดแล้วปล่อยให้งอกเอง ต้นไหนงอกแสดงว่าผ่าน ต้นไหนไม่งอกแสดงว่าเมล็ดสอบไม่ผ่าน  เป็นกระบวนการคัดเลือกพันธุ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งในเรื่องของการงอกของเมล็ดครับ
  • การเกษตรบ้านเรา นิยมเพิ่มต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรจริงๆ ด้วยล่ะครับ เหมือนเราซื้อคอมพ์มาหนึ่งเครื่อง อุปกรณ์เสริมเต็มเลยครับ  เครื่องรางมันเยอะครัีบ
  • สำหรับแนวคิดของนักนโยบายนั้น เราคงทำไรไม่ได้มากครับ ทำได้แค่พูดคุยและอบรมให้คนที่อยากตื่น อยากสำเร็จวิชาครับ ให้กับคนที่อยากเรียนรู้ครับ  ส่วนที่ยังหลงลึกๆ ก็หาทางกันดูนะครับ แต่หากมืดมากก็ปล่อยให้รอดบ้าง ไม่รอดบ้างก็ได้ครัีบ เป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาตินะครับ เราให้ใครไม่ได้ทุกคนหรอกนะครับ ให้เท่าที่ให้ได้ครับ
  • ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ ฝากชื่นชมอาจารย์เดชาด้วยนะครัีบเป็นกำลังใจให้เดินและทำต่อไปครัีบ

ขอบคุณมากๆ นะครับ

ปุ๋ยเอยปุ๋ยเพื่อใคร

หากด้วยใจคงไร้ซี่งปัญหา

แต่ด้วยเงินกิเลสที่ตามมา

สุดพรรณาก่อเกิดปัญหาตาม

สงสารดินแมลงเกษตรกร

ต้องคอยผ่อนหนี้สินไม่ต้องถาม

ทุกข์ที่เกิดต่อมายิ่งลุกลาม

ทั่วเขตคามเพราะกิเลสของใครเอย

....................

สวัสดีครับคุณCK

    ขอบคุณมากๆ เลยครัีบที่มาเยี่ยมเยียนกันอีกนะครัีบ พร้อมกลอนดีๆ ได้เนื้อหาเด็ดๆ และเป็นจริงตามนั้นจริงๆครัีบ

ท้ายที่สุดก็จริงและจบที่ว่า

ทุกข์ที่เกิดต่อมายิ่งลุกลาม

ทั่วเขตคามเพราะกิเลสของใครเอย

ขอบคุณมากๆ นะครับ  นี่แค่ปุ๋ยนะครับ ยังไม่รวมถึงการทำลายระบบนิเวศที่เราโดนหลอกเรื่อง ยาฆ่าแมลงครัีบ

ขอบคุณมากครัีบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท