kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

AAR : จากการเยี่ยมเสริมพลัง (KM) จากกรมอนามัยสู่ศูนย์อนามัยที่ 8


จุดอ่อนของทีม KM ของศูนย์อนามัยที่ 8 คือการบันทึก และการประชาสัมพันธ์

จากการหมอนน และคุณศรีวิภา มาเยี่ยมดู KM ของศูนย์อนามัยที่ 8 ตามบันทึก http://gotoknow.org/blog/kongkiet/189964 นั้น พอจะทบทวนด้วยตัวเองได้คือ

  • การเตรียมรับการเยี่ยมนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการไม่เตรียมอะไรเลย เพราะหากทำงานได้จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะดูที่จุดไหน ก็จะเห็นเนื้องานทั้งหมดที่มีอยู่ สิ่งที่มีก็จะมี สิ่งไม่มี ถึงจะปลูกผักชีให้ดีอย่างไร ผักชีก็ยังแสดงให้เห็นว่าเป็นผักชีที่ปลูกขึ้นมาใหม่ หรือบางครั้งปลูกไม่ดีผักชีก็จะแสดงอาการเหี่ยวเฉาให้เห็น
  • ผู้มาเยี่ยมเป็นผู้ให้  เราเป็นผู้รับ แต่ในความเป็นจริงผู้เยี่ยมและผู้รับทั้งสองฝ่ายต้องเป็นผู้ให้และรับไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งในการเยี่ยมครั้งนี้เรามีการให้และรับกันจริง ๆ
  • จากการเข้าเยี่ยมของทีม KM กรมอนามัย ทำให้ทราบว่าจุดอ่อนของทีม KM ของศูนย์อนามัยที่ 8 คือการบันทึก และการประชาสัมพันธ์ 
  • เราทำ KM ให้เนียนไปกับเนื้องานก็จริง แต่หากเราคิดว่าการบันทึกไม่ใช่กิจกรรมที่เราคิดว่าเป็นการเนียนในเนื้องาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะไม่เกิด  ขุมความรู้ที่เราต้องการเอาออกมาจากตัวคน ก็คงเป็นไปไม่ได้
  • การประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หากองค์กรเรียนเอง รู้เอง ความรู้ก็จะไม่แตก อันนี้อาจเป็นเหมือนกบในกะลา (คิดเอาเองครับ)
  • วิธีการทำ KM ซึ่งเราบอกว่าไร้รูปแบบ แต่จริง ๆ แล้วการใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง ซึ่งศูนย์ ฯ ได้ทำให้ดูในเรื่อง "ก้าวเดินสะสม" ในโครงการไร้พุง ก็ยังไม่เนียนนัก  ผู้เล่ายังเล่าด้วยความเกร็ง (อาจเนื่องจากมีคนแปลกหน้าเข้ามาในกลุ่มด้วย)  อีกทั้งยังมีรูปแบบที่ตายตัวคือการเล่าทีละคน และประเด็นเรื่องเล่าที่กว้าง จนจับประเด็นไม่ได้  
  • การสกัดความรู้ที่ได้จากการเล่ายังเป็นสิ่งที่เป็นข้อด้อย เพราะถ้าหาก FA หรือ Note taker ตั้งธงไว้ว่าจะให้ผลประชุมออกมาเป็นรูปแบบใดตั้งแต่แรกแล้ว  ความรู้ได้ก็อาจไม่ใช้ความรู้ที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มอย่างแท้จริง  
  • การฟังเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากไม่ฟังก็จะไม่รู้ แต่บางคนฟังอย่างเดียว อันนี้ก็ไม่ใช่ KM เพราะหัวใจของ KM คือ Give and Take นั้นคือฟัง แล้วต้องพูดด้วย
  • บางคนจะรู้จัด AAR (After action review) เท่านั้น จริง ๆ แล้วการทำ BAR (Before action review) และ BwAR (Between action review) ก็มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการทำ KM แต่การทำ BAR นั้นอาจลือว่าไม่ใช่การตั้งธงไว้ล่วงหน้า
  • FA เป็นบุคคลสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ต้องเป็นคนที่รู้เขา รู้เรา  รู้จังหวะในการซัก ในการเบรค เมื่อหลุดประเด็น หรือเวลาเกิน รู้ว่าใครจะเป็นผู้เล่าคนต่อไป ใครยังไม่ได้เล่า รู้จักสร้างบรรยากาศในการเล่า
  • Note taker ก็เป็นคนสำคัญที่ขาดไม่ได้ การบันทึกมีหลากหลายวิธี แต่หัวใจสำคัญก็คือบันทึกแล้วไม่เปลี่ยนความหมายและไม่ครบถ้วน  หลังจากบันทึกแล้วอาจต้องทวนข้อความให้ผู้เล่า และกลุ่มฟังว่า OK หรือไม่ ขาดสิ่งใดไปหรือไม่ และต้องการเพิ่มสิ่งใดอีก ที่สำคัญ Note taker ไม่ใช่คนที่จะสรุปผลการประชุมในครั้งนั้น ๆ (ผู้สรุปที่แท้จริงคือคนทุกคนในกลุ่ม)
  • AAR เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ส่วนใหญ่การทำ AAR คือขอให้ได้ชื่อว่าทำ AAR แต่เอาผลการทำ AAR ไปใช้ประโยชน์หรือไม่นั้น ยังไม่รู้ และยังไม่เห็น  (อันนี้ต้อง AAR ของ AAR อีกที)
  • AAR คนเดียวไม่สนุก คงต้องรอให้ AAR ทั้งกลุ่ม KM teams  แต่ตอนนี้งานเข้าจริง ๆ เวลาไม่มีเลย
  • ขอบคุณครับ       
หมายเลขบันทึก: 190582เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณหมอก้องที่จับประเด็นได้ดีเยี่ยม สมแล้วที่เป็นCKOศูนย์ฯ8 ขอร่วมปรบมือดังๆด้วยคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท