ทุน IPUS 51 ของนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ มน.


โครงงานวิชาชีพของนิสิตชั้นปีที่ 4  คณะสหเวชศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร  ปีการศึกษา 2551 ซึ่งส่งไปเสนอขอรับทุนสนับสนุน จาก โครงการให้ทุนสนับสนุนโครงงานอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี: IRPUS ของสกว. รอบ 1  ได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนแล้ว  ดังนี้  


โครงงานประเภท IPUS2 ที่ได้รับทุน IRPUS ประจำปี 2551 รอบ 1 แบบไม่มีเงื่อนไข   

  1. การประดิษฐ์อุปกรณ์วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจอย่างง่าย
    อาจารย์ วีระพงษ์ ชิดนอก
    (สาขากายภาพบำบัด)
  2. การออกแบบ และการประดิษฐ์อุปกรณ์แผ่นรองสำหรับถ่ายภาพรังสีผู้ป่วยฉุกเฉินในท่า Antero-Posterior Projection และ ท่า Lateral Projection
    อาจารย์ ศุภวิทู สุขเพ็ง
    (สาขารังสีเทคนิค)

โครงงานประเภท IPUS3 ที่ได้รับทุน IRPUS ประจำปี 2551 รอบ 1 แบบไม่มีเงื่อนไข    

  1. การหาสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง ลิเทียมเฮพาริน และกลีเซอรอลดีไฮด์ เพื่อใช้เป็นสารกันเลือดแข็งสำหรับในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก
    อาจารย์ วันวิสาข์ บุญเลิศ
    (สาขาเทคนิคการแพทย์)
  2. การพัฒนาอุปกรณ์ช่วยจัดท่าถ่ายภาพรังสีของกระดูกข้อเข่าในท่ายืนรับน้ำหนักด้วยระบบไฮโดรลิค รองศาสตราจารย์ มาลินี ธนารุณ (สาขารังสีเทคนิค)

หมายเหตุ

IPUS คือโครงงานที่สนับสนุนการศึกษาโดยคงหลักการเดิมไว้ คือ ทำโครงงานที่อุตสาหกรรมต้องการและมีส่วนร่วมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงงานด้าน engineering and development ที่ค่อนไปทางส่วนปลายของกระบวนการวิจัยโดยสนองตอบยุทธศาสตร์ของ สกว. ที่เน้นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่การผลิตลงไปถึงระดับฐานรากของการผลิตในประเทศ  โดยแบ่งการสนับสนุนจากทุน IPUS เดิมออกเป็น IPUS1, IPUS2 และ IPUS3

  • IPUS1 เป็นทุนที่สนับสนุนการทำโครงงานจากโจทย์ที่เสนอโดยผู้ประกอบการ โดย สกว. ประสานงานหาโจทย์จากผู้ประกอบการและประกาศให้อาจารย์เสนอโครงงานเข้ารับการคัดเลือก
  • IPUS2 เป็นทุนที่สนับสนุนการทำโครงงานจากโจทย์ที่ได้จากการฝึกงานภาคฤดูร้อนของนักศึกษาหรืออาจารย์ได้โจทย์จากอุตสาหกรรม
  • IPUS3 เป็นทุนที่สนับสนุนให้คิดนวัตกรรมใหม่ที่คาดว่าจะพัฒนาต่อเพื่อให้เข้าใกล้การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์มากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมเป็น partner

วัตถุประสงค์

  1. สร้างบัณฑิตระดับปริญญาตรีให้มีทักษะในการนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโรงงานอุตสาหกรรม
  2. กระตุ้นให้อาจารย์ในสถาบันการศึกษาได้ทราบและเข้าใจปัญหาที่เกิดในอุตสาหกรรมเพื่อนำไปสู่งานวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
  3. ผลิตงานวิจัยและพัฒนาเบื้องต้นซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ดีระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว อันจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมของประเทศในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

ขอบเขตของโครงการ

  1. เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์
  2. เป็นการแก้ปัญหาเทคนิคของกระบวนการผลิต
  3. เป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือระบบการผลิตให้สามารถแข่งขันได้
คำสำคัญ (Tags): #ipus#ทุนวิจัยป.ตรี
หมายเลขบันทึก: 189852เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท