การเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องเด็กหูหนวกสามารถทำได้


การพัฒนาการเขียน-การอ่านภาษาไทยของเด็กหูหนวกเพื่อการนำไปสู่การอ่านออก - เขียนได้

ทำไม?.......

การสอนแบบสองภาษาสำหรับเด็กหูหนวกตามแนววอลดอร์ฟ

สามารถแก้ปัญหาการเขียน  - การอ่านภาษาไทยให้กับเด็กหูหนวกได้

 

 

จากการที่เด็กได้เรียนรู้การใช้ภาษามืออย่างมากมายในระดับชั้นอนุบาล1   และ2   (เหมือนกับที่เด็กปกติเรียนรู้คำศัพท์เพื่อการสื่อสารมาตั้งแต่เกิด    แต่เด็กหูหนวกจะได้ภาษามือเมื่อมาสู่ระบบโรงเรียน)  จากนั้นเมื่อเขาเริ่มเรียนการเขียนในระดับชั้นป.1   โดยฝึกฝีมือจากลีลาเส้นก่อน(เป็นการฝึกการลากเส้นที่ไม่ใช้เส้นประ   เพื่อฝึกกล้ามเนื้อ  ฝึกการกะจังหวะ  ฝึกความพลิ้วของนิ้วมือ  ฝึกจังหวะการลากเส้นต่างๆ)   จึงจะไปสู่การเขียนตัวอักษร      การเขียนคำศัพท์จากตัวอักษรที่เรียนในแต่ละครั้ง    เช่น     ตัวอักษร          ก็จะเพิ่มคำศัพท์จำนวน  3   คำ     คือ   ไก่     กบ    กุ้ง    ตัวอักษร           จะเพิ่มคำศัพท์จำนวน  3  คำ  คือ     เด็ก     ดาว    ดิน       ตัวอักษร        จะเพิ่มคำศัพท์    เสือ    สิงโต  ส้ม   เป็นต้น   

เมื่อนักเรียนเลื่อนชั้นไปที่  ป.2    จะทบทวนตัวอักษรและคำที่เรียนไปแล้วทั้งหมด   และเพิ่มคำศัพท์ใหม่อีก  5  คำ   เช่น ตัวอักษร     มีคำศัพท์เดิมอยู่   คือ   ม้า   มด   แมว   ก็จะเพิ่มคำใหม่  คือ    ม้าลาย               ม้ากินหญ้า   แข่งม้า   ม้ากระโดด   ขี่ม้า   เป็นต้น

จนบัดนี้นักเรียนอยู่ในระดับชั้น  ป.3  แล้ว  ได้ทวนคำศัพท์ทั้งหมดที่เรียนไป   พบว่านักเรียนยังคงจำคำศัพท์เหล่านั้นได้  ทั้งภาษามือ    การสะกดนิ้วมือ   และการเขียน

จึงเขียนมาเพราะอยากเล่าให้เพื่อนครูทราบว่า   เราสามารถทำให้ความรู้คงอยู่กับเด็กได้   ถ้าหากเราไม่ยัดเยียดให้เขา   พัฒนาเขาไปอย่างมีกระบวนการ ตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน   และใช้กระบวนการอย่างต่อเนื่องโดยไม่หวังผลเร็วจนเกินไป.

ตัวอย่าง   

เด็กหญิงชลิตา  ราษี  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3  โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช

 การสอนเพิ่มคำที่มีตัวอักษร     วันแรก   จะทบทวนคำที่สอนที่เรียนไปแล้ว ป.1ก่อน

และ เพิ่มคำใหม่    โดยดารวาดภาพประกอบคำ    ฝึกเขียนแบบมีเส้นและไม่มีเส้น

ทั้งนี้ก่อนเขียนลงในสมุดแบบฝึก  ครูหูหนวกเป็นตัวอย่างการใช้ภาษามือและสะกดนิ้วมือ  

ต่อมานักเรียนฝึกการใช้ภาษามือและสะกดนิ้วมือก่อนทุกครั้งการลงมือเขียน

                  

 

                    

                                                     สรุปคำที่ได้เรียนเพิ่ม

                                             

 

เพิ่มวลี                 ฝึกภาษามือ  สะกดนิ้วมือ       วาดภาพตามวลี   และฝึกการเขียนแบบมีเส้นและไม่มีเส้นตามลำดับ

      

 

     

 

 

นี้คือผลงาน       สำหรับเด็ก  1  คน   เพื่อนำเสนอเป็นตัวอย่าง   ส่วนเด็กคนอื่นๆก็มีผลงานแบบนี้ทุกคนในชั้นเรียน  ป.3  ในปัจจุบันนี้(ปีการศึกษา  2551)..

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 189851เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท