มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

สี่ระดับของการต่อสู้ | เขียนโดยคุณหมอวิธาน ฐานะวุฑฒ์


มาหาทาง เตรียมพร้อม รอจังหวะ"ปลดอาวุธ"คู่ต่อสู้ไม่ดีกว่าเหรอ


สี่ระดับของการต่อสู้

บทความเต็ม โดย นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ื 7 มิถุนายน 2551

via  บล็อกจิตวิวัฒน์ > ย่อความโดยผู้เขียน (ส่วนที่เป็นตัวเอียงเท่านั้นที่ผู้เขียนเขียนเองค่ะ)

สี่ระดับของการแก้ปัญหาแบบ Theory U ได้แก่

1.  การตอบกลับอย่างรวดเร็ว (Reacting)

คือการดาวน์โหลด (Downloading) เพื่อนำข้อมูลเก่ามาใช้แบบอัตโนมัติ ไม่มีการคิดใหม่ ไม่มีการสร้างสรรค์ใหม่
ในแง่ของการต่อสู้นั้น เราจะพยายามแยกแยะมองมิตรและศัตรูแยกจากกันอย่างเด็ดขาด ประมาณว่า "ถ้าไม่ใช่พวกฉันก็เป็นศัตรูของฉัน" เห็นท่าที(หรือแค่หน้าตา)ปุ๊บก็คิดไปเองเลยว่านี่ศัตรู

จริยธรรมในระดับที่หนึ่งนี้ เราจะเข้าไปไล่ล่าโจมตีคนที่เราคิดว่าเป็นศัตรูของเราเลย เพราะคิดว่าโจมตีก่อนได้เปรียบ ทำลายล้างไปก่อน เราจะได้อยู่รอด เราเลือกที่จะใช้ "ความกลัว" เป็นที่ตั้ง เป็นฐานในการกระทำการต่างๆ ของเรา

(ไม่ทันขันธ์ 5 ตัวเอง ยึดสัญญาแล้วสังขารปรุงแต่งไปไม่มีสติ)

2. เป็นระดับของการออกแบบใหม่ (Redesigning)

พยายามหาหนทางใหม่ๆ แต่ยังเป็นกรอบคิดแบบเดียวกันกับระดับที่หนึ่ง คือ ยังแยกแยะมิตรและศัตรูอย่างชัดเจน อาจจะมีการทดสอบมิตรว่าจะคิดแบบเดียวกันกับเราหรือไม่ ถ้ามิตรไม่คิดเหมือนเราตามที่เราได้ทดสอบ มิตรคนนั้นก็จะต้องกลายไปเป็นศัตรู

จริยธรรมของการต่อสู้ในระดับที่สองนี้ เราจะไม่โจมตีฝ่ายตรงข้ามก่อน แต่จะหาหนทางในการแยกแยะความเป็นมิตรความเป็นศัตรูให้ชัดเจน หาหนทางใหม่ๆ ในการยั่วยุให้ฝ่ายตรงกันข้ามโกรธ เมื่อเกิดการต่อสู้ขึ้นก็จะมุ่งทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามด้วยความรุนแรง

(คิดดูว่าคนที่คุณคิดว่าเป็นศัตรูเค้าใช่วิธีนี้อยู่รึเปล่า ถ้าเราไปตอบโต้แบบระดับ 1 react กับสิ่งที่เค้ายั่วมา มันก็เข้าทางเค้าอ่ะดิ!)

3. เป็นระดับของ "กรอบคิดใหม่" (Reframing)


เป็นระดับสำคัญที่เราเริ่ม "มองเห็น" ว่า "ไม่มีมิตรไม่มีศัตรู" มีแต่ "เพื่อนมนุษย์" เริ่มมองเห็น "ความเป็นคนอื่น" ในตัวเรา เรื่องราวที่เราเคยด่าเคยว่าคนอื่นนั้นบางทีเราเองก็ทำเหมือนเขานั่นแหละ

เราเริ่มมองเห็นแล้วว่าการโจมตีก่อนนั้นไม่มีประโยชน์อะไร เป็นการทำลาย เป็นการสร้างศัตรูมากกว่าการที่จะได้ประโยชน์ร่วมกัน การต่อสู้ในระดับนี้เราเริ่มเข้าใจคู่ต่อสู้หรือศัตรูของเรามากขึ้น (ฟังมากขึ้น มองให้กว้างขึ้น)

(ระดับนี้คือการพยายามเข้าใจ หาข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์)

4. เป็นระดับของ "การก่อเกิดตัวตนใหม่" ของเรา (Regenerating)


ในระดับนี้เรากับเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน การต่อสู้ในระดับนี้ เราจะเป็นฝ่ายเฝ้าดู สังเกต ตั้งรับ เราจะไม่เป็นฝ่ายโจมตีคู่ต่อสู้ของเราก่อน

ถ้าคู่ต่อสู้ทำอะไรไม่ดีโจมตีมา เราถึงจะ "ปลดอาวุธ"  ของคู่ต่อสู้

ในไอคิโดมีคำพูดอยู่คำหนึ่งคือ "Protect the attacker" คือเราจะปกป้องดูแลผู้ที่มาโจมตีเราไม่ให้เขาบาดเจ็บได้อย่างไร และนี่คือจริยธรรมระดับลึกที่สุดของศิลปะการต่อสู้

การต่อสู้ในระดับที่สี่ "มีความเป็นไปได้" ที่จะเกิดขึ้น และได้เกิดขึ้นแล้ว ในศิลปะการต่อสู้ชั้นสูงต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็น ไอคิโด คาราเต้ ไท้ฉีฉวน
ผู้โจมตีจะถูกปลดอาวุธโดยไม่ได้รับอันตรายใดๆ

--------------------------------------------------------------
ลองย้อนมาดูตัวเรานะความเป็นจริงมีอยู่ว่า "ความขัดแย้ง" เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตมนุษย์ ในทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ไม่สถานที่ใดก็สถานที่หนึ่ง เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่มีความขัดแย้งในชีวิตนี้

แต่คำถามก็คือ "เราเลือกที่จะ 'จัดการดูแลความขัดแย้ง' เหล่านั้นอย่างไร?"

"เราใช้ระดับไหนของศิลปะการต่อสู้ในการจัดการดูแลความขัดแย้งเหล่านั้น?"

มนุษย์ส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างทุกเรื่องในระดับที่หนึ่งและสอง แต่ความเข้าใจเรื่อง "สี่ระดับ" แบบนี้จะช่วยทำให้มองเห็นว่า "เรายังมีหนทาง" และ "เรายังมีทางเลือก" ที่จะใช้ "ระดับการแก้ไขปัญหา" ที่ลึกซึ้งมากขึ้นกว่าเดิม

--------------------------------------------------------------

เราควรปลดอาวุธไม่ให้คนคิดไม่ดีทำในสิ่งที่เป็นโทษต่อผู้อื่นได้

ไม่ใช่ว่าจะไปทำร้ายไปกำจัด "ตัวเค้า" ให้เค้าหมดไปจากโลก คิดแบบนั้นมันก็ไม่ต่างอะไรกับ genocide นั่นแหละ คิดแบบนั้นมันก็มีแต่ความโกรธ ขาดสติ ไม่คิดยาวๆคิดแต่ว่าขอให้มันไปไกลๆก่อน

เรามาช่วยกันหาทางบีบให้เค้่าไม่สามารถใช้อาวุธ(อำนาจ/เงิน/ข้อมูล)ในทางไม่ชอบได้ พลังเรามีขนาดนี้แล้ว

แบบไอคิโด้ คือ ถ้าเค้าแรงมา แรงเค้าเองแหละที่จะทำให้เค้าแพ้ ยิ่งเค้าแรงมาเราก็มีหลักฐานมัดตัวเค้าได้มากขึ้น ถ้าเราไป react แรงแบบไม่คิดหาทางให้แยบยล เราก็ไม่ทีทางแก้ปัญหาได้เลย มีแต่จะทำร้ายตัวเองให้เค้ามาอ้างได้ว่าเราเองก็ทำผิด!

-------------------------------------------------------

แค่เรื่องง่ายๆ อย่างการฟัง คนส่วนใหญ่ก็ยังใช้ระดับที่ "ยังไม่ฟังกันจริงๆ ด้วยหัวใจ"

เรื่องที่เขียนนี้ ผมยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องอุดมคติ เป็นเรื่องที่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ สามารถปฏิบัติได้จริง ถ้า "เรามองเห็น" และ "เราเลือก"

ผมเชื่อว่าไม่เคยมี "เหยื่อของสถานการณ์" นะครับ มีแต่ว่าเราเลือกที่จะเป็นอย่างนั้นเท่านั้นจริงๆ ต่างหาก

(วิธาน ฐานะวุฑฒ์)

-------------------------------------------------------

 

หมายเลขบันทึก: 189087เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ติดตามผลงานของคุณหมอวิธานมานานแล้ว  เคยไปคุยกับ อ. วิศิษฐ์ วังวิญญู  ที่เชียงรายหลายครั้ง  แต่ยังไม่มีโอกาสพบคุณหมอวิธาน  อิอิ

ขอบคุณมากครับที่แนะนำบทความดีๆ  จะได้นำไปฝึกฝน

 

เป็นบทความที่น่าอ่านมากครับ

ได้ทบทวนตัวตนของเราว่าจริงๆแล้วเราอยู่ระดับไหน บางทีเราก็ยังไม่ถึงไหนครับk

ขอบคุณคุณหมอสุธีและท่านอัยการมากๆค่ะที่แวะมา : )

เป็นบทความที่เรียกสติให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนตัวเองได้ดีมากค่ะ ประทับใจอีกแล้ว

ขอบคุณคุณหมอมัทมาก ๆ เลยนะคะ ^_^

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ป้าแดงเห็นด้วยเลยว่า เรายังไม่ได้ฟังอย่างตั้งใจ และจริงจังด้วยใจที่ที่คิดบวก
  • ขอบคุณอาจารย์สำหรับเรื่องราวที่ให้ข้อคิด
  • อยาอกให้สังคมเป็นสุขค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครัีบน้องมัท

    สบายดีนะครัีบ กระบวนการนี้มีประโยชน์มากๆ เลยครับ การฟังด้วยหัวใจ เข้าใจ เข้าถึง รอบด้าน ช่วยได้เยอะครัีบ 

จะนำไปปรับใช้ด้วยครับ

ก่อนเราจะปลดอาวุธคนอื่น เราต้องปลดอาวุธตัวเองก่อนเนอะครับ...

ใจเราต้องกว้างและใหญ่พอ ถึงจะเรียกว่าเราได้ใจคนอื่น และอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

ขอบคุณมากๆ เลยครับผม

ขอบคุณมากๆค่ะ

สิ่งที่มัทหวังก็คือการ"เรียกสติ"คนที่กำลังโกรธ (และกลัวอยู่ลึกๆแต่ไม่รู้ว่าตัวเองกลัว) นี่แหละค่ะ อยากให้มีกำลังใจด้วยว่าปัญหามีทางแก้ ต้องใช้เวลาเราจะรีบไปไม่ได้ เดี๋ยวพังกันหมดเพราะ ความโกรธ

ต้องขอบคุณคุณหมอวิธานที่เขียนบทความนี้ขึ้นมากค่ะ : )

แล้วก็ต้องขอบคุณกลุ่มคนที่คิดเรื่อง Theory U ขึ้นมาด้วยค่ะ : )

 

 

กลับมาตอบคุณเม้งอีกที : )

"ก่อนเราจะปลดอาวุธคนอื่น เราต้องปลดอาวุธตัวเองก่อนเนอะครับ"

มัทลองไปคิดดู เราต้องปลดอาวุธเทียมๆเปลือกๆของตัวเอง

แล้วพัฒนาอาวุธที่แท้ของเราขึ้นมา ถ้าเทียบกับศิลปะการต่อสู้ เราต้องพัฒนา ki หรือ Chi หรือ พลังลมปราณ ซึ่งจะมีได้ต่อเมื่อมีสติ (mindfulness)

เราต้องพัฒนาปัญญา เมื่อเรามีปัญญาเป็นอาวุธแล้ว เราก็แค่ใช้แรงที่คู่ต่อสู้ส่งมากลับไปปลดอาวุธของเค้าเอง เหมือนไอคิโด้

ใช้อำนาจ ข้อมูล การใช้เงิน อย่างมีปัญญาให้ย้อนกลับไปปลดอาวุธเค้าเอง?

ประมาณนี่รึเปล่าค่ะ? : )

 

รู้จักอาจารย์วิธาน ตอนที่ไปอบรม transformative coaching อาจารย์ทำให้ผมเห็นกระจ่างในเรื่องชีวิตมากขึ้นครับ

ดีจัง

ขอบคุณ น้องมัทค่ะ

คุณหมอ วิธาน คนนี้ ไม่ธรรมดา

บันทึกนี้ ต้องอ่าน อ่านช้า ๆ คิดตาม

และสุดท้ายพยายามฝึกตน ให้ได้

มีประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่น สังคม ความขัดแย้ง

กับคนในครอบครัว ก็ต้อง"ฝึกตน" เช่นกัน ขอบคุณหลายเด้อ

มาอ่านอีกครั้ง หลังไปเดินแถวสะพานกับเขามา

อยากให้หลาย ๆ คนได้อ่านแนวคิดแบบนี้

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

ที่แม่ฮ่องสอน ผมประยุกต์ใช้ไอคิโดในการฝึกเด็ก เยาวชนกับงานพัฒนาชุมชน ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชม แลกเปลี่ยน ให้ข้อเสนอแนะกันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท