กราบสวัสดีทุกท่านครัีบ
สบายดีกันไหมครัีบ... วันนี้อยากจะมาคุยเรื่องอีโก้หน่อยครับ ทุกคนคงรู้จักคำนี้ดีครัีบ และได้ยินมาแน่นอนครัีบ เช่น คนนี้อีโก้สูงจัง อย่าอีโก้สูงมากนัก ฯลฯ เราคงได้ยินกันมาเยอะนะครับ ส่วนใหญ่ผมจะได้ยินแต่ในทางลบ จนเข้าใจว่าคำว่า มีอีโก้ นี่เป็นคนไม่ดีไปเลยครัีบ เหมือนกับตอนเด็กๆ เค้าบอกกันว่า ผักชีโรยหน้าไม่ดีนะ อย่าทำ คุณเชื่อไหมครัีบ มันฝังหัวจนผมนะรู้สึกเป็นภาพลบกับผักชีไปเลยล่ะครับ แต่ผมเพิ่งมาพบว่า ใครจะต่อว่าผักชีอย่างที่ผมเคยรู้สึกนั้น ผมกล้าถกด้วยหนึ่งวันเลยเอาครัีบ ผมพบว่าแท้จริงแล้วผักชีนั้นอร่อยมากครับ และผมไม่คิดว่าเธอจะเป็นพืชโรยหน้าสำหรับอาหารของผมอีกต่อไป แต่เธอจะมีคุณค่ามากกว่าการโรยหน้านะจ๊ะ ผักชี....
ผมไม่ได้เชี่ยวชาญจิตวิทยา แต่วันนี้สงสัยเลยมาลองดูคำว่า อีโก้... คนบอกกันว่า เรียนสูงๆ ระัวังนะ อีโก้สูง เชื่อมั่นในตนเองสูง แล้วจะเสียคน ยิ่งเรียนจบนอกด้วยนะ ให้พึงระวังให้มากๆ คำเหล่านี้อยู่ในใจผมมาตลอด และเฝ้าสังเกตตัวเองมาตลอด เรามาดูนิยามที่เค้าคิดเรื่องอีโก้กันดูไหมครัีบ ว่าอีโก้นี่ มันแย่อย่างไร หรือว่ามันดีอย่างไร ... ไม่แน่ ผมอาจจะค้นพบกว่า แท้ที่จริงแล้ว อีโก้ ก็คือ ผักชีที่ผมค้นพบในอีกความหมายนึงก็ได้ครับ
มาดูต้นตำรับก่อนนะครัีบ... ขออนุญาตคัดลอกและให้เครดิตครัีบ มา
จาก... http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=whitespace&month=05-2006&date=27&group=1&gblog=4
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
บิดาแห่งวิชาจิตวิเคราะห์ (Psycho-analysis) เชื่อว่าจิตประกอบด้วยพลังจิต
3 ส่วนคือ
อิด (Id) = เป็นแรงขับให้เกิดความต้องการ เช่น ความหิว ความรัก เป็นต้น
อีโก้ (Ego) = เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ
ซูเปอร์อีโก้ (Super Ego) = เป็นส่วนที่ได้รับการอบรมแล้ว รู้จักรับผิดชอบ รู้จักควบคุมอารมณ์และความรู้สึก
ฟรอยด์
สรุปว่า สัญชาตญาณความต้องการตามธรรมชาติ เช่น ต้องการอาหาร การนอน
การขับถ่าย และการสืบพันธุ์ ฯลฯ เรียกว่า “อิด” (id)
เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันจึงได้สร้าง “กติกา” ทางสังคมขึ้น เช่น วัฒนธรรม
ศีลธรรม ศาสนา และกฎหมาย ฯลฯ
จะได้จำกัดความต้องการตามสัญชาตญาณของตนเองลงเพื่อความสงบสุขเป็นระเบียบ
ของสังคมและตนเอง ฟรอยด์เรียกกติกาทางสังคมนี้ว่า “ซูเปอร์อีโก้”
(super-ego) มนุษย์แต่ละคนจะประนีประนอมระหว่าง “อิด” กับ “ซูเปอร์อีโก้”
ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน กลายเป็นบุคคลิกภาพหรือความเป็น “ตัวตน” ของคน ๆ
นั้น ซึ่งฟรอยด์เรียกว่า “อีโก้” (ego)
จิตวิทยาวิเคราะห์ของฟรอยด์
เชื่อว่ามนุษย์รับรู้โลกภายนอกโดยผ่าน “จิตสำนึก” (conscious mind)
ประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในจิตสำนึกตั้งแต่เด็ก ที่สุดแล้วมิได้หายไปไหน
แต่ถูกเก็บไว้ในก้นบึ้งของจิตที่เรียกว่า “จิตใต้สำนึก” (subconscious
mind) โดยเฉพาะประสบการณ์ที่มีผลกระทบกับเราอย่างรุนแรง
ไม่ว่าทางดีหรือทางร้าย จะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกยาวนานเป็นพิเศษ
การควบคุมจิตใต้สำนึก ต้องฝึกการใช้จิตเหนือสำนึก (superconscious mind)
เพื่อให้จิตสำนึกเป็นไปในทิศทางที่เป็นด้านบวก
คราวนี้ดูศิษย์จากท่านข้างบนบ้างนะครัีบ ผมขออนุญาตคัดลอกอีกส่วนนะครับ เกี่ยวกับ พลังอีโก้ เพราะเกรงว่าหลักการจะผิดหากเขียนเอง.....
จาก... http://pirun.ku.ac.th/~b4808079/page4.htm
"พลังอีโก้ (Ego strength)
Ego ตามความหมายของแอริคสัน หมายถึงคุณสมบัติที่พึงมีพึงเป็น เมื่อบุคคลสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติ
ทางด้านจิตวิทยาสังคมในแต่ละขั้นตอนของชีวิตทั้ง 8 ขั้นตอนได้ด้วยดี ดังนั้นอีโก้ของแอริคสันได้แก่
ความมีกำลังวังชา การมีความหวัง การรู้จักควบคุมตนเอง การมีความตั้งมั่น การมีแนวทางและเห็นความหมาย
ของภารกิจที่ตนกำลังทำอยู่ การรู้จักวิธีจัดการ การมีสมรรถภาพ การมีความบริสุทธิ์ใจ การมีความจงรักภักดีต่อ
คุณค่าหรืออุดมคติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือต่อกลุ่ม หรือต่อสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งที่ตนสังกัดอยู่
การรู้จักสร้างไมตรีกับผู้อื่น การรู้จักรักและสนิทสนมกับผู้อื่น การมีผลงานสร้างสรรค์ การให้ความอนุเคราะห์อาทรบุคคลอื่น
การรู้จักปล่อยวางและความฉลาดรู้เท่าทันโลกเท่าทันชีวิต
แอริคสันตระหนักดีว่า คุณสมบัติต่างๆที่กล่าวมาค่อนข้างเป็น “อุดมคติอันสูง”อยู่มาก แต่ก็เป็น
คุณสมบัติ ‘ความเป็นมนุษย์’ ซึ่งมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาและทุกสมัย ปรารถนาสร้างสรรค์ให้พึงมีพึงเป็นในความ
เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามอุดมคติของตน ดังนั้น Ego ของแอริคสันจึงมีชื่อเรียกว่า ‘อีโก้ที่สร้างสรรค์’ (Creative Ego) แม้คำว่า อีโก้ที่สร้างสรรค์มิใช่คำที่แอริคสันเป็นผู้ใช้เอง แต่นักแต่งตำราผู้ให้ความหมายนี้ตีความหมายจาก
คุณสมบัติและวิวัฒนาการของ Ego ตามที่แอริคสันกล่าวถึง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นลักษณะ พัฒนาการจากขั้นหนึ่งสู่
ขั้นสอง สาม สี่ จนถึงแปด ตามลำดับที่แสดงไว้ขั้นต้นนี้
แอริคสันยังอธิบายด้วยว่า Ego หมายความครอบคลุมถึงคุณสมบัติที่บุคคลพยายามต่อสู้ดิ้นรน
เพื่อเอาชนะความขัดแย้งและภาวะวิกฤติทางสังคมจิตวิทยา
จากประสบการณ์อันยาวนานในฐานะนักจิตวิเคราะห์ผู้ช่ำชองหลายสิบปี แอริคสันยอมรับว่า
มนุษย์มีส่วนของความไร้เหตุผล ความอ่อนแอ การเสแสร้งแกล้งทำ มีความกลัว ความกังวล ความสำนึกผิด (บาป)
แต่แอริคสันเชื่อมั่นเสมอว่าลักษณะต่างๆเหล่านี้สามารถลบล้างหรือลดหย่อนลงได้ด้วยพลังอีโก้ ที่สร้างสรรค์
มนุษย์ทุกคนมีพลังนี้แต่ถูกบดบัง ลักษณะบุคลิกภาพทางลบจึงมีพลังเหนือความคิด จิตใจและพฤติกรรม หากได้รับความช่วยเหลือจากนักจิตวิเคราะห์ พลังอีโก้สร้างสรรค์ก็จะถูกสร้างขึ้นมามีอิทธิพลเหนือลักษณะทางลบด้านต่างๆ
บุคคลก็จะเปลี่ยนบุคลิกภาพจากความอ่อนแอมาเป็นบุคลิกภาพที่เข้มแข็งได้ ข้อเขียนต่างๆของแอริคสันได้เน้นพลังอัน
แข็งแกร่งของอีโก้ ซึ่งสามารถนำมาใช้แก้ภาวะวิกฤติของชีวิตและข้อขัดแย้งทางจิตใจของมนุษย์แทบทั้งสิ้น"
จากปรมารย์ และ ศิษย์ ทำให้เราเห็นอะไรที่น่าสนใจครับ มาอ่านในฉบับลูกศิษย์ แล้วทำให้คิดว่า พลังอีโก้ นั้นมีผลทางด้านบวกเยอะมากๆ เป็นส่วนที่ดีๆ เลยครัีบ แต่ในลักษณะความเชื่อมั่นในตัวตน ตนเองนั้น มันก็มีสองด้านเช่นกันนะครัีบ มีด้านมืด ด้านสว่าง
สิ่งที่ต้องระวังมากๆ ก็คือ... ลักษณะบุคลิกภาพทางลบมีพลังเหนือความคิด จิตใจและพฤติกรรม นั่นคือ ส่วนของความไร้เหตุผล ความอ่อนแอ การเสแสร้งแกล้งทำ มีความกลัว ความกังวล ความสำนึกผิด (บาป) ... ผมคิดว่าส่วนนี้นี่เองที่อาจจะทำให้ คำว่าอีโก้ที่เราใช้ๆ กันอยู่เป็นลบในคำว่า อีโก้ ในความรู้สึกของผม
คราวนี้เรามาลองมองย้อนดูตัวเราดูกันไหมครัีบ ว่าเรามีอีโก้ ตามที่ว่านั้นกันแค่ไหนในตัวเรา... และเราจะนำพลังอีโก้ มาใช้ให้เป็น ‘อีโก้ที่สร้างสรรค์’ (Creative Ego) ได้อย่างไร
คราวนี้ผมจะมามองตัวผมให้คุณดู ในสิ่งที่ผมเป็นที่ผมสัมผัสได้ ข้อเสียต่างๆ นะครัีบ
- ผมมองย้อนดูตัวเองแล้ว ก็มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงเช่นกันครับ หากคิดว่าในเรื่องนั้นเรารู้และเคยผ่านมาแล้ว เพราะมันอาจจะเคยเกิดขึ้นจริง เลยคิดว่าต้องทำได้ และไปได้ จนบางทีผมโดนว่าเพ้อฝันไปบ่อยๆ หรือบางทีโดนว่าึยึดแต่ทฤษฏีมากไป หรือว่าล่องลอยอยู่ในอากาศ ผมเลยไม่ในใจว่าเราผิดมากไหมที่อยากเห็นสังคมดี สังคมวิ่งไปในทางที่ดีสงบสุข แล้วดึงจากภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่วิ่งไปสู่จุดที่เราฝันหวานเอาไว้....
- ผมเป็นคนชอบถกประเด็น ชอบตั้งคำถาม ถามความเห็น คราวนี้ก็มาถกกัน เวลาถกกันนี่งัดออกมาเต็มๆ ครับ ตามเหตุผลที่พอมีี จนบางทีก็หลุดแหกโค้งบ้าง แต่ภาวะทางอารมณ์ยังอยู่ ไม่หนีไปไหนง่ายๆ เว้นแต่คู่สนทนาจะเบื่อไปเสียก่อนครัีบ แต่ไม่ได้จะเอาชนะครับ แต่ยอมรับกันตามเหตุผล เพราะเชื่อว่าเราพูดคุยกันได้ ต่อให้ขัดแย้งก็ไม่ได้จะนำไปสู่การฆ่าแกงกัน ตรงนี้ใครไม่ชอบถก ใครไ่ม่ชอบตอบ ไม่ชอบสังเกตุ ก็อาจจะเบื่อผมได้ง่ายๆ ผมต้องปรับตัวเอง ว่าใครควรคุยและถกในเรื่องใด....และควรคุยในเรื่องไหน....
- ด้วยเรื่องบางอย่างพิสูจน์ได้ด้วยมือตัวเอง อันนี้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่คำว่าสังคมนั้นเราปั้นคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมกันปั้นจากทุกๆ คนในสังคม
- ผมชอบหยอกคน...โดยเฉพาะคนที่เอาแต่ใจตัวเอง...เชื่อมั่นในตัวเองสูง...หรือไม่ฟังใครเลย เข้ามาถึงด่าๆ ตำหนิอย่างเดียว แบบนี้ผมจะไม่ค่อยถอยครัีบ การหยอกที่ว่านี้คือการย้อนทางอ้อมครับ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาตน เพราะเราสอนใครไม่ได้ครัีบ แต่การย้อนบ้างหยอกบ้างผมเชื่อว่าทำได้ และเราก็ต้องพร้อมให้คนอื่นมาหยอก และย้อนเราเช่นกัน ถือว่าเสมอภาค ไม่ใช่งอนไปเสียเอง แบบนี้ก็ไ่ม่ไหวครัีบ หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น การขอโทษ รอยยิ้ม และคำขอบคุณ นั้นจำเป็น เพราะเราต้องอยู่ร่วมกันครัีบ
- ข้อเสียอีกอย่างของผมคือ ไ่ม่ชอบให้ใครชม ยกยอ ประจบ หรือคาดหวังมาก เพราะคำชมจะทำให้ผมเหลิง นิสัยเสีย แล้วท้ายสุดผมจะเสียคน หากใครคาดหวังผมมาก ผมจะทำตัวให้เค้าผิดหวังเพื่อลดความคาดหวังของเค้า ให้ผมเป็นคนธรรมดาในสายตาเค้า ผมจะได้ไม่กดดันตัวเองด้วย อีกอย่างคือ หากผมเป็นคนธรรมดา และีีมีอิสระ งานที่เค้าหวังอยู่ลึกๆ จะมีประิสิทธิภาพมากขึ้น เพราะทำให้อย่างศรัทธา และออกมาจากใจที่อยากจะทำให้ นับว่าแปลกพิลึกคน
- ผมอยากทำงานเบื้องหลัง โดยเฉพาะงานวิจัย...เพราะจะมีเวลาในการทำงานมาก
- อื่นๆ คุณเห็นอะไรบ้าง ข้อที่คุณคิดว่าผมควรปรับปรุง ญาติพี่น้องบอกกันได้ครัีบ
ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ ส่วนข้อดีหากผมพอจะมีก็ญาติพี่น้องคงจะสัมผัสกันเอาเองนะครัีบ
วันนี้ดีใจครัีบ ที่ได้พบคำว่า ‘อีโก้ที่สร้างสรรค์’ (Creative Ego) เพื่อมองดูตัวเองกันต่อไปครัีบ
อื่นๆ เชิญคุณบรรเลงครัีบ
ด้วยมิตรภาพครัีบ
เ้้ม้ง