พัฒนาศักยภาพนักวิจัย : นักวิจัยใหม่ ได้อะไรกับโครงการนี้


ตราบใดที่มีปัญหา เราต้องมาทำวิจัย เพื่อไขปัญหา และพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์

เริ่มแล้ว หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพนักวิจัย

"โครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2551"

กิจกรรมแรก

วันที่ 12 มิถุนายน 2551 สำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดให้มีการปฐมนิเทศ โครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2551 ณ ตึกเพียรวิจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 ดังภาพกิจกรรม

 Vj01

เจ้าหน้าที่สำนักบริหารการวิจัย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รับลงทะเบียน วันที่ 12 มิถุนายน 2551 ตั้งแต่เวลา 08.00-08.30 น.

วัตถุประสงค์ของโครงการตามหลักสูตร

 

            1.   เพื่อสร้าง   และพัฒนานักวิจัยทั้งนักวิจัยใหม่   นักวิจัยที่มีประสบการณ์วิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง   ที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้   ความสามารถ   และประสบการณ์ในด้านการวิจัย   เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยไปพร้อมกัน

            2.   เพื่อกระตุ้นให้เกิดงานวิจัย  ที่สอดคล้องกับทิศทางและนโยบาย     ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  มากยิ่งขึ้น

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

        1.  นักวิจัยใหม่และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง   มีความรู้และความสามารถในการดำเนินโครงการวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ  สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

        2.  เกิดงานวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางและนโยบายด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นมากยิ่งขึ้น

 

 

มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการตามคุณสมบัติที่ผ่านการคัดเลือก  รวมทั้งสิ้น  91 คน (ซึ่งเป็นบุคลากร มข.ที่มีภารกิจด้านเกี่ยวข้องด้านการวิจัย จากคณะ/หน่วยงานต่างๆ หลากหลายสาขา)  คณะกรรมการ/อาจารย์ที่ปรึกษา (Mentor) 30 คน และผู้สังเกตการณ์ อีก 20 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่จัดงานที่เกี่ยวข้อง รวมผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น  150  คน

 

เริ่มพิธีเปิดงาน  09.00 น.

 

สรุปผลการปฐมนิเทศ ดังนี้

 

 Pt01

บรรยากาศการลงทะเบียน และพิธีเปิดการปฐมนิเทศ

Pt02

พิธีเปิดงาน โดย ผศ.ดร.ดารณี  หอมดี

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

พร้อมทั้ง ท่านให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ

"นโยบาย/ทิศทางการวิจัยและการพัฒนานักวิจัยของมหาวิทยาลัย

จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ

Pt03

บรรยายพิเศษ โดย

ท่าน ศ.ดร.อารันต์  พัฒโนทัย

คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Pt04

 

 

พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.45 น.

Pt05

เวลา  11.00 น.

นายภูมิภักดิ์  พิทักษ์เขื่อนขันธ์

ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชี้แจง ขั้นตอน/กระบวนการโครงการพัฒนานักวิจัยใหม่

  

สรุปกิจกรรมภาคเช้า

บรรยายพิเศษ

  • พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.ดารณี  หอมดี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • บรรยายพิเศษ โดย ผศ.ดร.ดารณี  หอมดี หัวข้อ"นโยบาย/ทิศทางการวิจัยและการพัฒนานักวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น"  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ดังนั้น การวิจัยในทุกสาขาวิชา มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่บุคลากรคือปัจจัยสำคัญที่มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดควมสามารถและเพิ่มความเข้มแข็งให้กับบุคลากรโดยเฉพาะด้านการวิจัย และเน้นให้ บุคลากรสนใจทำการวิจัยมากขึ้น และงานวิจัยที่ดี จะต้องตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง งานวิจัยที่ดีและเป็นตัวอย่างจะต้องได้รับการยอมรับและมีผลงานที่ดี พร้อมการตีพิมพ์เผยแพร่สู่ระดับมาตรฐานสากล 
  • การบรรยายพิเศษ หัวข้อ "การวิจัยในยุคสังคมฐานความรู้" โดย ศ.ดร.อารันต์  พัฒโนทัย  คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาระสำคัญคือ การวิจัยเป็นเรื่องที่ไม่มีที่สิ้นสุด มีการต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ ขอให้นักวิจัยตั้งใจ มุ่งมั่น เรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดจากผลงานวิจัยที่คนอื่นทำไว้ก็ดี หรือยังไม่มีใครทำไว้ก็ดี ดังนั้น งานวิจัยเป็นงานที่ไม่มีวันจบสิ้น ต้องศึกษาและพัฒนาไปเรื่อย ๆ เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ สิ่งสำคัญคือ การทำวิจัยนั้น จะต้องเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ในภาวะปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และต้องนำผลงานวิจัยที่ทำไปเผยแพร่ ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ เพื่อการต่อยอดผลงานวิจัย อีกนัยหนึ่งคือ การวิจัยใหม่หรือเก่า สามารถนำไปเผยแพร่สู่ระดับมาตรฐานสากลได้ หากผลงานวิจัยนั้น ดีและเป็นที่ยอมรับ

  •  นายภูมิภักดิ์ พิทักษ์เขื่อนขันธ์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย : ชี้แจงขั้นตอนกระบวนการโครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2551 ตลอดหลักสูตร (เม.ย.51- ส.ค.52)

 

สรุปกิจกรรม ภาคบ่าย  เวลา  13.30-16.30 น.

ภาคบ่าย

อภิปราย หัวข้อ "กลเม็ด เคล็ดลับของนักวิจัยที่ประสบผลสำเร็จ"  โดย

1. รศ.บรรจบ ศรีภา                    คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

2. รศ.ตรีเพชร  กาญจนภูมิ           คณะเภสัชศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3. ผศ.ดุษฎี  อายุวัฒน์                คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดำเนินรายการโดย

4. นายภูมิภักดิ์  พิทักษ์เขื่อนขันธ์   ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย

Pt06

Pt07

 

 

 Pt08

เปิดซักถาม แลกเปลี่ยน ระหว่างผู้ร่วมโครงการ (นักวิจัยใหม่) กับ วิทยากร

และอาจารยที่ปรึกษา/อาจารย์พี่เลี้ยง (Mentor)

 

  

 สรุปผลการอภิปรายในช่วงบ่าย

 

·      วิทยากร ให้แง่คิดเรื่องการทำวิจัย ในอดีต กับปัจจุบัน แตกต่างกันมาก อาทิ สมัยก่อน ไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์พี่เลี้ยง (Mentor) มาคอยให้คำปรึกษา นักวิจัยต้องศึกษา ค้นคว้าเองทุกเรื่อง และการวิจัยในอดีต ยังไม่ใช่สาระสำคัญเท่าที่ควร บุคลากรที่เข้าบรรจุใหม่ ยังให้ความสนใจในเรื่องวิจัยค่อนข้างน้อยมาก

·      ในปัจจุบัน "งานวิจัย" เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่ง ที่บุคลากรทุกระดับต้องหันหน้าเข้ามาศึกษา เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น งานวิจัยสถาบัน งานวิจัยระดับกลาง งานวิจัยระดับอาวุโส (เมธีวิจัย) ฯลฯ

·      นักวิจัยใหม่ ในปัจจุบัน มีความโชคดีมาก ที่มีอาจารย์พี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา เสนอแนะ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ ที่ทุกคนควรจะต้องนำปฏิบัติด้านงานวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก้าวทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันต้องพัฒนาตนเอง พัฒนาผลงานให้ทันต่อเหตุการณ์ที่แปรเปลี่ยนไป เพื่อให้ก้าวทันกับยุคสมัยนี้

·      การเผยแพร่ผลงานตีพิมพ์ นั้น งานวิจัยทุกสาขา ล้วนแล้วแต่ต้องมีการพัฒนาให้มีผลงานวิจัยดี เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ย่อมได้รับการสนับสนุนเผยแพร่เป็นอย่างยิ่ง

·      ดังนั้น การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ให้ตระหนักถึงผลงานวิจัยนั้น ควรเป็นการคิดริเริ่มนวัตกรรมใหม่ จะเป็นของสิ่งใหม่ ที่ไม่มีใครทำ หรือเป็นการต่อยอดจากผลงานวิจัยที่มีคนทำมาแล้ว แต่ไม่ซ้ำแบบใคร นั่นคือ เป้าหมายของนักวิจัยทุกคนที่ควรคิด สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่ดี 

·      นักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการทุกคน ต่างก็ยินดี และพอใจในการเสนอแนะของท่านวิทยากรทุกท่าน ก่อนปิดการประชุม เปิดให้ซักถาม แลกเปลี่ยน ซึ่งได้รับความรู้และการแลกเปลี่ยนจากวิทยากรเป็นอย่างดี

     

  

นักวิจัยใหม่เหล่านี้ จะต้องเข้าร่วมประชุมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อฝึกวิเคราะห์ประเด็น/โจทย์วิจัย และฝึกการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยแบ่งกลุ่มย่อย ให้นักวิจัยได้เลือกเข้ากลุ่มตามประเด็นที่สนใจ (กลุ่มสาขา 3 กลุ่ม ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ  สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  ในระหว่าง ว้นที่ 27-28 มิถุนายน 2551 ณ.โรงแรมแม่โขงรอยัล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

 

กิจกรรม workshop 2 (27-28 มิ.ย.51) ตามวันข้างต้น มีการแบ่งกลุ่มย่อย และมีวิทยากรประจำกลุ่มเพื่อฝึกวิเคราะห์โจทย์วิจัย และฝึกการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

เพื่อนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ จะได้นำเสนอโครงการวิจัยที่ชัดเจน ถูกต้อง พร้อมการยื่นเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับการสนับสนุนทุนจากมหาวิทยาลัย ในเดือน ก่อนกันยายน 2551 นี้

ผลจากการจัด workshop จะเป็นอย่างไร

นักวิจัยได้อะไรกับการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

จะนำมารายงานให้ทราบ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  

หมายเลขบันทึก: 188223เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2008 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ คงสร้างงานวิจัยที่ให้ประโยชน์ในการพัฒนาชาติไทยได้มากขึ้นค่ะ

P

1. แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช
เมื่อ อา. 15 มิ.ย. 2551 @ 19:18
701786 [ลบ]
ขอบคุณค่ะ พี่แก้ว คะ
หลักสูตร 1 ปี ค่ะ ก็ช่วยพัฒนานักวิจัยใหม่ ให้เข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยที่ดีขึ้นค่ะ
ขอบคุณค่ะ
  • P
    2. amp
    เมื่อ อา. 15 มิ.ย. 2551 @ 20:29
    701906 [ลบ]

หวังไว้เช่นนั้น เหมือนกันว่า เราคงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ ต่อไป ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อยากไปดูจังครับ

ไปเพิ่มพูนความรู้ได้ไหมหนอ

P

5. ออต
เมื่อ จ. 16 มิ.ย. 2551 @ 19:00
703011 [ลบ]

สวัสดีค่ะ น้องออต 
สบายดีนะคะ
ไปสิ ยินดีต้อนรับ ไป workshop ที่หนองคาย 2 วัน (27-28 มิย 51) ค่ะ ยินดีนะ
แต่ต้องแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการ ว่าไปแน่นอน จะได้สำรองที่นั่งให้
ค่ะl

แวะมาดูกัลยาณมิตรกะปุ๋มค่ะ... รศ.ดร.ตรีเพชร  กาญจนภูมิค่ะ

เห็นเล่าให้ฟังว่า...ถูกเชิญไปพูดในกวิจัยใหม่ฟัง..

(^___^)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท