ตอนที่ 4


แรงจูงใจตรงข้ามกับแรงบันดาลใจ

แรงจูงใจ

·        แรงจูงใจ หรือ Motivation คือด้านตรงข้ามกับจิตวิญญาณ เป็นการหันเหตนเองออกจากแสงสว่างแห่งความรุ่งเรืองของชีวิต แรงจูงใจ เป็นการขับเคลื่อนด้วยการหวังผลตอบแทน เพื่อมาสร้างอำนาจให้กับอัตตาของตนเอง และใช้การกระตุ้นก้านสมอง อันเป็นส่วนการทำงานของสัญชาติญาณ ที่สัตว์โลกทั้งหลายใช้ดำเนินชีวิต

·        จิตที่เป็นอัตตามองโลกแบบแยกเป็นส่วน ๆ จิตที่เข้าถึงจิตวิญญาณจะมองโลกแบบสัมพันธ์กันทั้งหมด แรงจูงใจ Motivation มองออกนอก พึ่งพาคนอื่น ต้องมีสิ่งจูงใจภายนอกจึงจะทำ ความสุขอยู่ที่ผลสำเร็จ จะทำตามเงื่อนไขของเวลา จะยุติเมื่อเจออุปสรรค หากจะทำมากกว่าที่กำหนด ต้องเพิ่มการจูงใจด้านวัตถุ ต้องการผลตอบแทนเป็นรางวัล ความสำเร็จเป็นผลพลอยได้

·        แรงบันดาลใจ หรือ Inspiration มองเข้าสู่ภายใน พึ่งพาตนเอง ทำตามความรู้สึกมุ่งมั่นจากภายใน ความสุขอยู่ที่การกระทำ ทำจนกว่าจะสำเร็จ ไม่ยึดในกรอบเวลา เจออุปสรรคจะไม่ย่อท้อ จะทำจนกว่าจะสำเร็จด้วยความเชื่อมั่น ต้องการความสำเร็จ รางวัล ผลตอบแทนเป็นผลพลอยได้

·        ตัวอย่างของผู้ใช้แรงจูงใจ Motivation เช่น พนักงานบริษัทที่ทำงานกินเงินเดือน พวกเขาจะทำงานเพื่อเงินมากกว่าความสำเร็จของงาน และทำงานภายใต้เงื่อนไขของเวลา เช่น เริ่มงาน 9 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น หากจะทำงานเลยเวลา ต้องมีค่าจ้างเพิ่ม คือ ทำ OT ขณะที่ทำงานมักจะไม่มีความสุข แต่เมื่อเลิกงานจะยินดี และรอคอยวันหยุด จะได้ไปเที่ยวหรือพักผ่อน และรอคอยวันเงินเดือนออก และหวังโบนัสเพิ่ม เมื่อองค์กรมีปัญหา มักจะไม่สนใจมากนัก แต่หากไม่ได้รับค่าจ้างจากองค์กร จะไม่พอใจ แทบจะไม่รู้สึกผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กรที่ทำอยู่ มององค์กรเป็นเหมือนบันไดเพื่อตัวเองก้าวขึ้นไปหาความสำเร็จ จะเห็นได้ว่าผู้ที่ใช้แรงจูงใจขับเคลื่อนชีวิตในสังคมปัจจุบันมีมากมาย และมากกว่าผู้ใช้แรงบันดาลใจ ทำให้คนที่ร่ำรวย เป็นนายตัวเอง มีน้อยกว่าผู้มีฐานะการเงินปานกลาง หรือยากจน

·        หากคุณอายุ 35 ขึ้นไปแล้วยังเป็นพนักงานกินเงินเดือน หากไม่ได้อยู่ในตำแหน่งสูง หรือเป็นหัวหน้าหน่วยงานแล้ว แสดงว่าคุณใช้แรงจูงใจจนเคยชินไปแล้ว ผู้ใช้แรงจูงใจเลี้ยงชีวิต จะเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความกลัว กลัวล้มเหลว จึงยึดอยู่กับองค์กรด้วยเหตุผลว่าเขารู้สึกปลอดภัย ยอมขาดอิสรภาพในการคิด แสดงออก แม้จะได้ผลตอบแทนไม่มากนัก

·        อีกตัวอย่างของผู้ที่เข้าถึงแรงบันดาลใจในตนเอง เขาคือชายชาวจีนคนหนึ่ง ชื่อว่า "จงเหลียนหยง" ได้อพยพจากแผ่นดินจีนไปตั้งรกรากอยู่ที่ฮ่องกง และได้ทำงานด้านหนังสือพิมพ์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แล้วเขาได้เดินตามเสียงเรียกจากจิตวิญญาณภายในด้วยแรงบันดาลใจของเขา จึงได้ผันตัวเองมาเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายใน ด้วยภาษาที่สละสลวย และสอดแทรกประวัติศาสตร์ สร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านตั้งแต่เรื่องแรก จากนั้นเขาได้เขียนเรื่องต่อมา ด้วยแรงบันดาลใจที่เพิ่มมากขึ้น จนนิยายเรื่องต่อมาของเขาโด่งดังคับฟ้า ผลงานของเขาจึงเป็นที่กล่าวขวัญอย่างมาก เขาผู้นี้ใช้นามปากกาว่า "กิมย้ง" และนิยายเรื่องที่สร้างชื่อให้เขามากมาย เช่น มังกรหยก ดาบมังกรหยก เพ็กฮ่วยเกี่ยม จิ้งจอกภูเขาหิมะ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า กระบี่เย้ยยุทธจักร และเรื่องสุดท้ายของเขาคือ อุ้ยเสี่ยวป้อ หากเราจะสังเกตผลงานของผู้ที่สร้างสรรค์ด้วยจิตวิญญาณ ผลงานนั้นจะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และไม่ซ้ำแบบใคร เพราะเป็นการเขียนจากภายในใจ และผลงานจะออกมาแบบองค์รวม เช่น กิมย้งเขียนเรื่องมังกรหยกภาค 1

·        การแน่วแน่ในแรงบันดาลใจนี้ เหมือนการจับราวรถเมล์ เมื่อเราโดยสารรถเมล์ที่กำลังแล่นไป เราจะต้องโหนจับราวบนรถเมล์เพื่อพยุงเราไม่ให้เสียหลักล้มลง เมื่อรถเมล์เลี้ยวซ้าย ขวา หรือเบรคกระทันหัน วิธีที่เราจะไม่ล้มเสียหลักไป คือการจับราวนั้นให้แน่น

ผู้แต่ง: รักไร้พ่าย www.palungjit.com

 

คำสำคัญ (Tags): #แรงจูงใจ
หมายเลขบันทึก: 188218เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2008 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ แรงจูงใจ เป็นตัวเปรียบเทียบผลที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในเวลาต่อมาหรือไม่ค่ะ

จะว่าอย่างนั้นก็ได้ค่ะ หากคำถามนี้จะหมายความว่า หากเราจะเปรียบเทียบแรงจูงใจกับเหตุที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ และส่งผลให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ตามมาจากการใช้แรง 2 อย่างที่ต่างขั้วกัน ส่วนใหญ่เราจะใช้แรงจูงใจในการดำเนินชีวิต ในการทำงาน ต่อเมื่อได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ได้ทำงานด้วยแรงบันดาลใจ ก็จะมีตัวเปรียบเทียบ เห็นความแตกต่าง ก็จะเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นถึงผลลัพธ์ที่ได้รับจากการใช้เหตุ 2 อย่างนี้ค่ะ แต่ก็มีอัจฉริยะจำพวกหนึ่งหรือคนส่วนหนึ่งที่ได้ใช้แรงบันดาลใจเป็นเหตุแต่แรกในการสร้างผลงานของพวกเค้า บางคนก็รวมไปถึงการใช้ชีวิต

ซึ่งหากจะแบ่งปันจากประสบการณ์ของตนเอง ก็มีสลับกันทั้ง 2 อย่าง ซึ่งได้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนถึงการใช้แรงบันดาลใจในการทำงาน ความสุข สงบที่ได้รับ แค่เห็นผลงานที่ตัวเองทำออกมาก็มีความสุขแล้ว ซึ่งไม่อาจซื้อหาความรู้สึกนั้นได้ด้วยเงินทองจริง ๆ ไม่ว่าผลงานนั้นจะออกมาเลิศเลอเพอร์เฟ็คหรือดูแสนธรรมดาหรือต่ำต้อยยอดแย่ในสายตาผู้อื่น แต่ก็แปลกนะคะ ทุกครั้งที่ใช้แรงบันดาลใจ ดูเหมือนเราจะเข้าถึงแหล่งความรู้อะไรสักอย่างที่สวนใหญ่ก็ไม่ได้ร่ำเรียนมาก่อน แต่จะออกมาเองและงานก็ออกมาดีด้วย ทั้งในสายตาของตนเองและผู้อื่น

ถ้าหากใครมีประสบการณ์ก็เชิญร่วมแบ่งปันนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท