ครูวิชัยคนเดิม


นิเทศ ดีอย่างไร

ในอดีตที่ผ่านมามีผู้ให้ความหมายของการนิเทศ ไว้มากมาย  เช่น

 

การนิเทศการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโรงเรียน  ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง

ในการให้บริการทางการศึกษา เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอน เกิดผลสัมฤทธิ์ตามความคาดหมาย (Eye and Netzer; 1965)

การนิเทศการศึกษา  หมายถึง การประสาน  การกระตุ้น  และการนำไปสู่ความ

งอกงามของครู  (วินัย เกษมเศรษฐ, ...)

การนิเทศการศึกษา คือ ความพยายามทุกอย่างของเจ้าหน้าที่ผู้จัดการศึกษา ในการ

แนะนำครูหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  ให้รู้จักปรับปรุงวิธีสอน     ช่วยให้เกิดความงอกงามทางวิชาชีพทางการศึกษา ช่วยในการพัฒนาครู ช่วยในการเลือก   และปรับปรุง  วัตถุประสงค์ ของการศึกษา   ช่วยในการปรับปรุงวัสดุ และเนื้อหาการสอน ปรับปรุงวิธีสอนและช่วยปรับปรุงการประเมินผลการสอน  (Good, 1959)

การนิเทศการศึกษา  หมายถึงการประสานงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการ

ศึกษาเพื่อเร่งรัดให้กำลังใจ ชี้ทางให้ได้เจริญงอกงามในอาชีพ (Briggs and Justman, 1952)

การนิเทศการศึกษาคือความพยายามอย่างหนึ่ง  หรือ หลาย ๆ อย่าง  ที่จะช่วย

ส่งเสริมให้การศึกษา มีคุณภาพทั้งด้านการเรียนการสอน (สายภาณุรัตน์, 2511)

หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาในปี 2542 ที่กำหนดให้มีระบบการประกัน

คุณภาพการศึกษาโดยการกำหนดให้โรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐาน

การศึกษาแล้วมีการประเมินและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือปรับปรุงมาตรฐานให้สูงขึ้น  พร้อมที่จะรับการประเมินภายใน และภายนอก ความหมายของการนิเทศการศึกษาจึงควรความหมาย ดังนี้

การนิเทศการศึกษา ที่รวมถึงการนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง  การดำเนินการใดๆ ที่ทำให้ครูมีความพึงพอใจ และมีกำลังใจ ที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาการดำเนินงานใดๆ ของโรงเรียน  ให้เป็นไปตามมาตรฐานใดๆ ของโรงเรียนและของบุคลากรให้สูงขึ้นและรักษาไว้ จนส่งผลให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของ

ผู้รับประโยชน์จากโรงเรียนทุกฝ่าย อีกทั้งผ่านการประเมินทั้งภายใน และภายนอก 

หลักการนิเทศ

            มีผู้ให้หลักการในการนิเทศการศึกษา ไว้หลายท่าน  เช่น

 

การนิเทศการศึกษา   จะต้องเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นความร่วมมือ 

ร่วมใจ ในการดำเนินงาน   ใช้ความรู้  ความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานนั้นไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  (Burton and Brueckner,  1955)

การนิเทศการศึกษา   ควรเป็นการแสวงหาความสามารถพิเศษ  ของแต่ละบุคคล

แล้วเปิดโอกาสให้ ได้แสดงออกและพัฒนาความสามารถเหล่านั้นอย่าง เต็มที่ (Burton and  Brueckner,  1955)

การนิเทศการศึกษา   มุ่งให้ครูรู้จักวิธี  คิดค้นการทำงานด้วยตนเอง  มีความสามารถ

ในการนำตนเอง  และสามารถตัดสินปัญหาของตนเองได้  (Adams and Dickey, 1953)

การนิเทศที่ดี   จะต้องสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง   ยั่วยุและสร้างความเข้าใจอันดี

ต่อกันและต้องทำให้ครูรู้สึกว่า   จะช่วยให้เขาพบวิธีที่ดีกว่า ในการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์  (Franseth 1961 : 23 - 28)

การนิเทศการศึกษา ควรเป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตอง (Briggs and Justman,

1952)

 

หากนำความหมายของการนิเทศ หลักการนิเทศดั้งเดิมมาผสมผสานกับแนวคิดการประกัน

คุณภาพการศึกษา แนวคิดที่เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวคิดว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู และระดับคุณภาพครู/ผู้บริหาร (NTQ/EMQ) หลักการนิเทศในยุคใหม่ที่ควรจะเป็นก็คือ

 

การนิเทศการศึกษา รวมทั้งการนิเทศภายในเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้รับการนิเทศ

มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีขวัญกำลังใจและมีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด  รักษาไว้ และยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นอยู่เสมอ

·       เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบและรองรับด้วยข้อมูล

สารสนเทศ

 

 

 ·       เป็นกิจกรรมที่อยู่ในบรรยากาศของความร่วมมือร่วมใจเข้าใจอันดีต่อกันระหว่าง

ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ

·       เป็นกิจกรรมที่เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้รับการนิเทศ

·       เป็นกิจกรรมที่ดึงศักยภาพของผู้รับการนิเทศมาใช้ และให้การยกย่อง

·       เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาตนเองให้อยู่ในระดับ 

มาตรฐานวิชาชีพหรือระดับคุณภาพครูของคุรุสภาให้สูงขึ้น และรักษา ไว้ได้ 

 จุดมุ่งหมาย 

 ดร. สาย ภาณุรัตน์  (สาย ภาณุรัตน์, 2521) หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์คนแรกของประเทศไทย

ได้เสนอจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้หลายข้อ  ดังนี้

·       ช่วยสร้างคุณลักษณะแห่งความเป็นผู้นำให้แก่ครู

·       ช่วยส่งเสริมขวัญของครูให้อยู่ในสภาพที่ดีและเข้มแข็ง  รวมหมู่คณะได้

·       ช่วยให้ครูพัฒนาการสอนของตน  โดยมีคำแนะนำ  2  ประการ คือ

- อย่าได้พยายามยัดเยียดความคิดเห็น ที่คนนิยมให้ครูจำต้องรับ

                                    - อย่าได้ฝืนให้ครูทำตามแผนหรือแบบที่ตนทำ

- จงพยายามหลีกเลี่ยงการกรอกคำแนะนำสั่งสอนให้ครู  จนครูรับไม่ไหว  

 

·       ช่วยฝึกครูใหม่ให้เข้าใจงานในโรงเรียนและงาน ของอาชีพครู     ช่วยหยิบยกปัญหาต่างๆ

ของโรงเรียนที่ทางโรงเรียนไม่สามารถจะแก้ไขได้โดยลำพัง

·       ช่วยให้ครูรู้จักค้นหาจุดลำบากในการเรียนรู้ของเด็ก

·       ช่วยในด้านประชาสัมพันธ์ถึงความเคลื่อนไหวของการศึกษาที่โรงเรียนในท้องถิ่นได้จัด

ดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรเข้าใจเด็กแต่ละคน และช่วยครู  วางแผนการสอนให้เหมาะสม       

 

จากความหมาย หลักการนิเทศการศึกษาที่กล่าวไว้ข้างต้น  ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาดั้งเดิม และการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในปัจจุบัน  ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา  รวมทั้งการนิเทศภายในโรงเรียน จึงควรจะได้แก่

เพื่อสนับสนุนส่งเสริม กระตุ้นให้ครู และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดการศึกษา

ทุกฝ่ายเป็นรายบุคคล หรือหลายคน ร่วมมือ ร่วมใจกันปฏิรูปวิธีการจัดการเรียนการสอน

วิธีการบริหารจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความสำเร็จตามมาตรฐานใดๆของโรงเรียนและ

ของบุคลากรของโรงเรียน ให้สูงขึ้น และรักษาไว้ได้ อย่างต่อเนื่องด้วยความเต็มใจ

 กระบวนการในการนิเทศ

 

กระบวนการของเลฮ์แมน

ขั้นที่ 1

การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need)

ขั้นที่ 2 

การกำหนดจุดประสงค์ที่วัดได้  (Measurable Goals)    

ขั้นที่ 3 

การกำหนดอุปสรรคและข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)

ขั้นที่ 4 

การกำหนดวิธีการที่เป็นทางเลือกใน การแก้ปัญหา (Alternatives)

ขั้นที่ 5 

การเลือกทางเลือกในขั้นที่ 4 มาปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา (Selection)

 

กระบวนการนิเทศเป็นกระบวนการ

        โดยทั่วไปที่นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับ

        วัตถุประสงค์และกิจกรรมการนิเทศ  

        ดังแนวทางข้างล่างนี้

กระบวนการของเดมมิ่ง

ขั้นที่ 8 

การปรับปรุงแก้ไข

ส่วนที่บกพร่องหลังจากทดลองดูแล้ว(Modification)

                                             A              P

                          C             D

 

ขั้นที่ 6  การนำทางเลือกที่เลือกแล้วไปทดลองใช้ (Implementation)

ขั้นที่ 7 การประเมินผลการทดลอง เพื่อพิจารณาดูว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่(Evaluation)

 

กิจกรรมการนิเทศ

กิจกรรมการนิเทศในที่นี้หมายถึงหัวข้อกิจกรรมที่จะนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบวิธีการนิเทศตามวัตถุประสงค์ของการนิเทศ หรือพิจารณากำหนดรายละเอียดในการดำเนินการนิเทศในแต่ละครั้ง หรือแต่ละรายการให้เป็นไปตามหลักการและกระบวนการนิเทศ   เช่น 

เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ใหม่

จัดประชุมชี้แจงเรื่องใหม่ๆ

สาธิตการสอน โดยครูในโรงเรียน หรือจากโรงเรียนอื่น ๆ  ที่เชิญมา

การสัมมนาเสนอแผนการสอน แผนงาน โครงการ ประจำภาคเรียนหรือประจำปีของหมวดวิชา ฝ่าย งาน

การสัมมนาเสนอผลงานของหมวดวิชา ฝ่าย งานประจำภาคเรียน  หรือประจำปี

การสัมมนาสรุปผลการสอน  หรือผลงานใดๆ ของครู  หรือบุคลากรอื่น ๆ  ในโรงเรียน

ศึกษาดูงาน  ดูนิทรรศการ

จัดประกวดหรือนิทรรศการผลงานของครู

ส่งครูไปฝึกงาน

สังเกตการสอนในห้องเรียน   (การวางแผนการสอนที่พบว่ามีปัญหาแล้วทดลองสอนตามแผน และสังเกตการสอนร่วมกัน)

เยี่ยมชั้นเรียน

ให้คำปรึกษาแนะนำ

การประชุมอบรม ประชุมปฏิบัติการในเรื่องใดๆ ร่วมกัน

การร่วมกันวิจัยในชั้นเรียน หรือวิจัยเชิงปฏิบัติการอื่นๆ

ผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ครูอ่านฯลฯ 

 

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศดีอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 188042เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 04:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จากบันทึกของครูวิชัย จันทร์ส่อง ทำให้พบข้อเท็จจริงทางวิชาการในเรื่องการนิเทศการศึกษา และเป็นปัจจัยหลักของการบริหารการศึกษา หลักสูตรและการเรียนการสอน และการวิจัย ภายในสถานศึกษาของตนได้อย่างถูกต้อง และทำให้เรียนรู้สภาพการศึกษาทั้งในด้านสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การนิเทศการศึกษา จะต้องอาศัยบุคลากรทางการศึกษาที่มีความถนัดทางด้านการศึกษาเป็นอย่างดี มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงมิติทางการศึกษา และสามารถขยายผลให้ผู้ที่ได้รับการนิเทศการศึกษา มีการแตกฉานองค์ความรู้ที่ได้รับจากการนิเทศการศึกษาอย่างถูกต้อง และมีการตกผลึกองค์ความรู้จนเรียกได้ว่า "ผู้เชี่ยวชาญ" หรือ "ครูวิชาชีพ" นั่นเอง ที่เข้าใจถึงการบริหารจัดการศึกษาหรือความรู้ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

บันทึกของครูวิชัย จันทร์ส่อง นิสิตปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้กับการพัฒนาครู และอาจารย์ในสถาบันการศึกษาในระดับต่าง ๆ เข้ามาอ่านประเด็นฯ ดังกล่าว และสามารถเข้าใจวิธีการของการนิเทศการศึกษาได้อย่างถูกต้อง และเป็นเสมือนแผนการแนะแนวให้กับครูผู้สอนในกลุ่มสาระรายวิชาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะครู และอาจารย์ จึงเป็นบุคคลแรกที่จะต้องเข้าใจถึงสภาพปัญหาและความต้องการของตนเองและนักเรียน นิสิตนักศึกษา เพราะท่านเองนั้น ก้อคือ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเขามากที่สุด โดยเฉพาะทั้งทางธรรมชาติและการอบรมทางการศึกษานั่นเอง

อ.จิตรกร เอมพันธ์

ภาควิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

สวัสดีครับ คุณครู ยังจำผมได้ไหมครับ ผมชื่อเล่นว่าอั๋ง เด็กน้อยนักเรียนที่เคยพักอยู่ บ้านพักครู กับครู

ตอนนี้ผมกำลังจะจบวิศวเครื่องกล ที่ ม.เกษตร และอีกไม่นานผมคงจะได้ไปหางานที่ จ. ระยอง คับ

หวังว่าครูคงสบายดีนะครับ เเล้วนกเป็นอย่างไรบ้างคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท