Knowledge Sharing 1/2551 สรุปงานและแก้ไขคลังความรู้


ปรับปรุง K. assets

หลังจากกลุ่มเราห่างหายไปนาน ชุมชนนักปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดก็มีโอกาสมาพูดคุยกันเป็นครั้งแรกใน ปี 2551 ในวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ซึ่งน้องสมฤดี  ศรีนาก็ได้สรุปรายงานส่งมาให้ค่ะ

หลังจากดิฉัน สรุปงานทั้งหมด ของ CoP เคมีบำบัดแล้ว เราก็ปรับปรุงคลังความรู้เพื่อจะได้ส่งข้อมูลต่างๆไปไว้ใน Web KM คณะแพทย์

สมาชิกตั้งอกตั้งใจพูดคัยกัน และปรับคลังความรู้และคุยประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพิ่มเติมค่ะ

                  สรุปการประชุมเตรียมนำเสนอผลงาน COP เคมีบำบัด

                   วัน อังคาร ที่ 3 มิถุนายน 2551  เวลา 14.00-15.00 น.

                                ณ ห้องประชุม หอผู้ป่วย 5จ

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางอุบล   จ๋วงพานิช              พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 5จ

2. นางอภิญญา    คารมปราชญ์       พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 6ข

3. นางสาวรัชนีพร   คนชุม                พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 5จ

4. นางคณิตา    ชาดี                   พยาบาลประจำ ห้องตรวจเบอร์ 4

5. นางธนิดา  แปลกลำยอง           พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 3ง

6. นางสาวพิณรัตน์     จำปาแฮม        พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 3ค

7. นางสมฤดี  ติวารี                            พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 5จ

 

เนื้อหาการประชุม

1.   แนะนำสมาชิก COP เคมีบำบัด

2.   เล่าสู่ฟัง รางวัลที่ได้รับของ CoP เคมีบำบัด  การประชุมของกลุ่ม    การนำเสนอผลงาน และภาพกิจกรรม

3.   สนทนาเรื่อง Knowledge asset ในการให้ข้อมูลผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด  ของ

3.1   OPD 4 ขอเพิ่มเติม ในการทำงานร่วมกับทีมสาขา โดยการทำโปรแกรมสำเร็จของ  Regimen  ยาเคมีบำบัดที่มาให้ยาเคมีบำบัดที่ Day Chemotherapy   และการเตรียมความพร้อมในการรับยาเคมีบำบัดของผู้ป่วยเบื้องต้น

            3.2   Daychemo การให้ข้อมูลพร้อมกับการให้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยทราบชนิด อาการข้างเคียงและการดูแลตนเองจากยาเคมีที่ผู้ป่วยได้รับ แจกคู่มือเพื่อบันทึกการรับยาการดูแลตนเองหลังรับยาเคมีบำบัด

            3.3   หอผู้ป่วย 3ค  ให้ผู้ป่วยอ่านคู่มือ ร่วมพูดคุยเฉพาะบุคคล บันทึกRegimenที่ใช้ นัดจองเตียงเพื่อรับเคมีบำบัดต่อเนื่อง

            3.4    หอผู้ป่วย 6ข   การให้ข้อมูลเฉพาะราย ร่วมพูดคุยจากพยาบาลที่รับผิดชอบ

 

 4. Knowledge asset การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

            4.1   หอผู้ป่วย 5จ แพทย์พูดคุยกับญาติ ตัดสินใจการประคับประคองอาการผู้ป่วย ใส่ tube หรือไม่ใส่ tube พยาบาลจะมีหน้าที่เตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติ การส่งต่อดูแลโรงพยาบาล ใกล้บ้านหรือการที่ผู้ป่วยได้กลับบ้านอยู่ใกล้ญาติในระยะสุดท้ายของชีวิต ให้ PCU มีส่วนร่วมการดูแลต่อ มีบริการการให้คำแนะนำทางโทรศัพท์

            4.2    หอผู้ป่วย 6ข  ให้การรักษาตามอาการจนกระทั่งเสียชีวิต ส่วนใหญ่ไม่นำผู้ป่วยกลับบ้าน

            4.3   หอผู้ป่วย 3ข   มีการส่งต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน เตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติในการดูแลผู้ป่วย

 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย  

การดูแลในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5  รพ ศรีนครินทร์

1. เมื่อผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด จนกระทั่งยาเคมีบำบัดไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์และพยาบาลและเภสัชกรร่วมกันวางแผนการดูแลผู้ป่วย

2. แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบ

3. พยาบาลจะเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติ โดย

3.1 ประเมินการรับรู้ของผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่   ความสามารถของญาติในการดูแลผู้ป่วยและจัดการกับอาการต่างๆที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย และร่วมกันตัดสินใจว่าจะรักษาต่อที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือกลับไปดูแลต่อที่บ้าน

3.2 ขณะอยู่ในโรงพยาบาล  พยาบาลและทีม จะให้การดูแลผู้ป่วยด้านร่างกาย  ให้ผู้ป่วยให้สุขสบายและไม่มีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด  และเตรียมสอนญาติให้สามารถดูแลผู้ป่วยต่อที่บ้านได้

 

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดระยะสุดท้าย: การดูแลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ

1. สนใจเอาใจใส่ผู้ป่วยและญาติ  เอาใจเขามาใส่ใจเรา   พยาบาลสามารถทำสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับผู้ป่วยเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่  เช่น เอื้ออาทรต่อผู้ป่วยโดยให้ญาติที่เขารักมาอยู่ดูแลใกล้ชิด  หรืออนุญาตให้ญาติทำพิธีกรรมตามความเชื่อ  ประเมินผู้ป่วยและญาติว่าต้องการให้พระ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิที่เขาเชื่อถือ  ถ้าต้องการสิ่งใดเราควรตอบสนอง หรือนิมนต์พระสงฆ์มาแนะนำการปฏิบัติ

2. ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยส่วนมากจะมีความกลัว เช่น กลัวตาย  กลัวถูกทอดทิ้ง  กลัวที่จะตายอย่างโดดเดี่ยว หรือกลัวความเจ็บปวด  ความรักจากญาติพี่น้องเป็นสิ่งสำคัญ   เราควรให้โอกาสญาติได้ดูแลอย่างใกล้ชิด  โดยพยาบาลจะต้องดูแลให้ผู้ป่วยและญาติ   ให้สามารถผ่านห้วงความทุกข์และเผชิญกับปัญหาให้ได้

3. พยาบาลควรดูแลให้กำลังใจ  สัมผัสผู้ป่วยอย่างอ่อนโยน พร้อมทั้งแผ่ความปรารถนาดีให้กับผู้ป่วย ขณะสัมผัสตัวผู้ป่วย พยาบาลต้องมีจิตใจสงบและมีสมาธิ  ซึ่งสัมผัสเหล่านี้จะมีพลังจนผู้ป่วยสัมผัสได้

 

 

  การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดระยะสุดท้าย: การดูแลช่วงสุดท้ายของชีวิต 

1. การแนะนำญาติและบุตรหลานของผู้ป่วยมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ โดยหาช่วงเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ  การปฏิเสธความตาย ขัดขืนไม่ยอมรับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย และเหตุที่เป็นเช่นนี้ อาจเพราะยึดติดกับบางสิ่งบางอย่างที่ค้างคาใจ  กลัวพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รัก พยาบาลจะต้องเตรียมผู้ป่วยให้มั่นใจได้ว่า เขาสามารถดูแลตนเอง

2. การช่วยเหลือทางด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยใกล้ตาย การน้อมจิตผู้ป่วยให้ระลึกและศรัทธาในพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์

3. เมื่อผู้ป่วยจะถูกนำพากลับบ้าน พยาบาลแนะนำญาติให้เรียกขวัญผู้ป่วยกลับบ้านด้วย

4. พยาบาลประสานงานเรื่องการนำส่งผู้ป่วยกลับบ้าน ทั้งกับ โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน

5. เมื่อผู้ป่วยและญาติพร้อม พยาบาลดูแลและให้กำลังใจญาติในการดูแลผู้ป่วยระหว่างกลับบ้าน

 

 

หมายเลขบันทึก: 188038เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราตกลงกันว่า สมาชิก CoP เคมีบำบัดและ CoP IV chemotherapy จะเป็นคนกลุ่มเดียวกันเพื่อสะดวกในการคุยกัน และเราจะคุยกันไปเรื่อยๆทีละประเด็นค่ะ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

                      อุบล จ๋วงพานิช ผู้บันทึก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท