ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

6ใครบ้างควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่


วัคซีนไข้หวัดใหญ่

    ใครบ้างที่ควรจะได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ?

             จากที่ได้ให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และบุคลากรทางการแพทย์ มีคำถามมากมายว่าใครบ้างควรจะได้รับวัคซีน นอกเหนือจากที่ กระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.กำหนดเป้าหมายให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อายุ 65 ปี และบุคลากรในสถานพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยแล้ว ใครควรจะต้องได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และจะมีบริการให้หรือไม่

             เนื้อหานี้ได้มาจากเรื่องเด่น  ประเด็นร้อน    สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น  http://dpc6.ddc.moph.go.th/  

ที่มาจาก 

*  Inactivated Influenza Vaccine (5/24/04), Vaccine information Statement, Department of Health and Human Services Centers for Disease Control and Prevention National Immunization Program  แปลโดย สุกัลยาณี  เทพภูธร

* CDC.gov/flu   แปลโดย ราณี  วงศ์คงเดช   สคร. 6 ขอนแก่น 

             ผู้ที่ควรจะได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ เด็กแรกเกิดอายุ 6 เดือน ขึ้นไป และผู้สูงอายุ ที่มีความเสี่ยง และผู้ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

                การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปีนั้นแนะนำใน

-          เด็กเล็ก อายุ 6-23 เดือน

-          เด็กเล็กแรกเกิดถึง 23 เดือน ที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กทั้งแบบประจำและแบบ   ไป-กลับ

-          ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

-          แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เรื้อรัง

-          ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต เบาหวาน หอบหืด โลหิตจาง  

-          ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานานๆ เช่น ยาพวก Steroid  ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ทำการรักษาโดยใช้การฉายรังสี หรือเคมีบำบัด เป็นต้น

-          ผู้ที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 18 ปีที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยา Aspirin

-          หญิงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่

-          แพทย์ พยาบาล สมาชิกในครอบครัว หรือใครก็ตามที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่

-          ผู้ที่ต้องการจะลดความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัดใหญ่

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

     คุณควรจะปรึกษากับแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน ถ้าคุณเป็นบุคคลดังต่อไปนี้

-          เคยมีอาการแพ้ไข่อย่างรุนแรง หรือเคยมีอาการแพ้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่เคยฉีดมาก่อนหน้านี้

-          เคยมีประวัติการเกิด Guillain-Barre’Syndrome (GBS)

ถ้าคุณมีอาการเป็นไข้ หรือเป็นโรคที่มีอาการรุนแรง ในช่วงที่ต้องให้วัคซีน ถ้าเป็นไปได้ควรจะรอจนกระทั่งหายดี ก่อนที่จะฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ต่อไป โดยให้บอกกับแพทย์และพยาบาลเพื่อจะได้กำหนดโปรแกรมสำหรับฉีดวัคซีนใหม่

.  ความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีอะไรบ้าง ?

            วัคซีน ก็เหมือนยาอื่นๆ ทั่วไป สามารถทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงได้ อย่างเช่น การแพ้วัคซีนอย่างเฉียบพลัน แต่ความเสี่ยงของวัคซีนที่จะเกิดอันตรายร้ายแรง หรือเกิดการตายนั้นอาจเกิดขึ้นได้บ้าง แต่พบน้อยมาก

ปัญหาที่รุนแรงจากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดขึ้นน้อยมาก เนื่องจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในวัคซีนนั้นถูกทำลายหมด เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ดังนั้นคุณจะไม่มีทางเป็นโรคไข้หวัดใหญ่จากวัคซีนที่ฉีดเข้าไป แน่นอน

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการฉีดวัคซีน

-          อาการเจ็บ บวมแดงบริเวณที่ฉีด

-          เป็นไข้

-          ปวด

ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นทันที หรือ 1-2 วัน หลังการฉีดวัคซีน

อาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

-          อาการแพ้วัคซีนที่รุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้นั้น เกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งถ้าเกิด อาจจะเกิดภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง หลังการฉีดวัคซีน

-      จะทำอย่างไรถ้ามีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง ถึงรุนแรง หลังการฉีดวัคซีน ?

       อะไรที่เราควรระวังเป็นพิเศษ

-          ความผิดปกติทุกอย่างที่เกิดหลังจากการฉีดวัคซีน เช่น มีไข้สูง หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป การมีอาการคล้ายเกิดการแพ้ เช่น หายใจลำบาก เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงหวีด ลมพิษ ตัวซีด อ่อนแอ หัวใจเต้นเร็ว หรือเวียนศีรษะ

เมื่อมีอาการควรทำอย่างไร

-          รีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

-          บอกแพทย์ถึงอาการที่เกิดขึ้น ระบุวันเวลาที่มีอาการข้างเคียง รวมทั้งวันเวลาที่ฉีดวัคซีนด้วย

-          บอกแพทย์ พยาบาล หรือหน่วยงานสาธารณสุขที่รับผิดชอบเพื่อรายงานผลข้างเคียงที่เกิดจากวัคซีนที่ฉีด ลงในแบบฟอร์ม Vaccine Adverse Event Reporting System (VAERS) หรือคุณสามารถรายงานได้โดยผ่านทางเวบไซท์  vaers.org             

        โรงพยาบาลจะให้แบบฟอร์มสำหรับบันทึกอาการภายหลังได้รับวัคซีน ขอให้ตอบกลับด้วยนะคะ จะได้ใช้เป็นข้อมูลที่     เป็นประโยขน์ต่อไปสำหรับวางแผนให้บริการต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 187782เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2008 05:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เคยได้ยินว่า  มีวัคซีน  ไข้หวัดใหญ่
  • แต่จะ  ฉีดให้สำหรับคนที่  มีความจำเป็น เท่านั้น ใช่ไหมคะ
  • คนทั่วๆ ไป ไม่ควรฉีด  ใช่ไหมคะ
  • ที่ครูอ้อยถาม  จะได้ไปเล่าให้เพื่อนฟังค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณแม่มะนาวหวานก็เพิ่งได้ไปฉีดมาเมื่อ ๓ วันก่อนนี้เองค่ะ แม่ไม่ค่อยแข็งแรง เพิ่งรับเคมีบำบัดหลังจากผ่าตัดมะเร็งเต้านมค่ะ

แหม ต้องขอบพระคุณมากๆเลยค่ะที่ให้ความรู้เพิ่มเติม เรื่องนี้มา

แต่โชคดีแม่ของมะนาวหวานไม่แพ้ค่ะ แต่มีไข้รุมๆ หลายวันก่อนฉีดแล้วค่ะ ตอนนี้ก็รักษาอยู่ที่ โรงพยาบาลค่ะ

สปสช.เตรียมวัคซีนให้ ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี ที่ป่วยเป็นโรค เบาหวาน หัวใจ หอบหืดและถุงลมโป่งพอง ไตวาย และระหว่างให้เคมีบำบัดครับ

โปรโมชั่นนี้ เฉพาะในเดือน มิถุนายน 2551 เท่านั้น

สวัสดีคะ ครูอ้อย

ขอตอบคำถามนะคะ วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีฉีดให้กับเจ้าหน้าที่ที่ให้การดูแลผู้ป่วย ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีโอกาสรับเชื้อไข้หวัดใหญ่จากผู้ป่วย หรือเมื่อบุคลากรป่วยมีโอกาสแพร่เชื้อให้กับผู้ป่วยและญาติ มาหลายปีแล้วคะ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องสอบสวนโรคติดต่อ

ส่วนประชาชนทั่วไปแต่เดิมยังไม่มีบริการทั่วไปในโรงพยาบาลของรัฐ มีเฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ หรือคลินิกเอกชนนะคะ

ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้เตรียมวัคซีนไว้ให้กับผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ขึ้นไป และป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้แก่ โรคปอดอุดกั้น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย โรคหอบหืด ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด ซึ่งโรงพยาบาลต่าง ๆ จะให้บริการในช่วงวันที่ 1- 30 มิถุนายน 2551 เท่านั้นนะคะ ติดต่อขอรับบริการได้ถ้าท่านมีประวัคิการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล

ผู้ป่วยและผู้สูงอายุมีความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนคะ เพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเป็น ไข้หวัดใหญ่ ในช่วงที่คาดว่าจะมีการระบาด

บุคคลทั่วไป ที่แข็งแรงดี มีความจำเป็นหรือไม่ ไม่จำเป็นที่จะต้องฉีด แต่ถ้าจะต้องใหการดูแลผู้ป่วย หรือให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่บ้าน ก็ควรจะได้รับวัคซีน

ส่วนเด็กขอให้ปรึกษากับกุมารแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน

สวัสดีคะ คุณมะนาวหวาน

คุณแม่อาการดีขึ้นยังคะ ขอให้หายไว ๆ นะคะ

ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และอยู่ในกลุ่มที่จะต้องได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้ให้บริการก็มีความกังวลเหมือนกันนะคะว่าหลังฉีดยาแล้วจะมีไข้สูงกว่าผู้ป่วยทั่วไปหรือไม่ เพราะว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ภูมิต้านทานจะต่ำนะคะ

ไก่ พี่ฉีดแล้วไม่มีไข้ แต่ปวดบริเวณที่ฉีด 1 วัน แต่ดีค่ะเดี๋ยวนี้ไม่เป็นหวัด

สวีสดีคะพี่แก้ว ช่วยบอก น้องๆ มารับบริการในรอบสองนะคะจะแจ้งวันเวลาอีกครั้ง ถ้าใครยังไม่มา เพราะว่าบุคลากรกลุ่มเสี่ยงยังมารับวัคซีนไม่ครบตามกลุ่ม เป้าหมาย รวมทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรังก็ยังไม่ครบตามเป้าหมาย

จะขอเรียนปรึกษาว่าผู้ป่วยพี่แก้วที่ได้รัยาเคมีบำบัดจะอยู่ในกลุ่มที่จำเป็นจะต้องได้รับวัคซีน จะมีวิธีบริหารจัดการอย่างไรบ้างคะ ซึ่งทางผู้บริหารจะได้เชิญผู้เกี่ยวข้องประชุมกันอีกครั้ง

ฉีดวัคซีน ปวดมาก เป็นไข้ด้วย แต่ไผลค่ะ ไม่เป็นหวัดตลอดปี

สวัสดีคะ คุณเกศ

หายหรือยังคะ จริงแล้วก็มีหลายคนคะที่มีอาการAEFI กำลังรวบรวมข้อมูล ถ้าผลออกมาแล้วจะนำมาเล่าให้ฟังนะคะ เพราะว่ามีโรงพยาบาลของเราที่เก็บข้อมูลได้

ไก่

เมื่อวานนี้เพื่อนเล่าให้ฟังว่า

มีผู้ได้รับวัคซีน ในปี49 แล้วหลังจากนั้นเป็นอัมพาท

ตกใจมากเลยครับ เพราะคุณแม่เพิ่งไปฉีดมา

แต่ผมก็ไม่ได้ดูข่าวนี้เองนะครับ ไม่มั่นใจในข้อมูลเท่าไหร่

ขอความกรุณาผู้รู้ตอบด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท