รวมพลคน(เคย)เล่นของ


Kapook_29895มีโอกาสฝึกหัดทำกลุ่มให้การปรึกษากับผู้ป่วยIDU/AIDSเนื่องจากป้านิตยาติดภารกิจไปอบรม2วัน อีกทั้งใกล้งวดเข้ามาเต็มทีกับการเข้าคอร์สKMครั้งที่4ที่ทางสถาบันจัดการขึ้น ดังนั้นการหาคำตอบและทดสอบแนวคิดการจัดการความรู้จึงแทรกเข้ามาในเกือบทุกครั้งที่จะได้มีโอกาสฝึกหัดเป็นคุณอำนวยและคุณลิขิต...

.Kapook_29895Kapook_29895Kapook_29895Kapook_29895Kapook_29895Kapook_29895

อย่างในกลุ่มผู้ป่วยยาเสพติด หรือ คน(เคย)เล่นของที่ได้มีโอกาสเข้าไปทำกิจกรรมด้วยกัน จริงๆมีทั้งหมด54คนแบ่งเป็น2ผลัดและบางสัปดาห์มากันไม่ครบเพราะบางคนติดทำงานและเริ่มควบคุมปริมาณการใช้ยาเมทาโดนได้ดีแล้ว แต่ก็จะมีขาประจำมาทุกสัปดาห์อยู่ประมาณ28-30 รายซึ่งหลายคนเริ่มกินยาต้าน และบางคนก็เปลี่ยนสูตรยาไปแล้ว แต่ก็มีหลายคนที่ยังไม่ได้กินยาเลยเพราะสุขภาพยังแข็งแรง หรือ เพราะว่าไม่ได้ไปติดต่อลงทะเบียนขอรับยาก็มี

ที่บำราศฯนอกเหนือไปจากการดูแลควบคุมการใช้ยาเมทาโดนและยาอื่นๆให้เหมาะสมแล้ว เรายังมีพันธกิจที่ต้องช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้เข้าถึงสิทธิการรักษาที่จำเป็นกับการเจ็บป่วยของเขาด้วยโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ป่วยจะต้องมาร่วมประชุมพร้อมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ1.30ชั่วโมงก่อนกลับบ้าน ดังนั้นปัญหาสารทุกข์สุกดิบในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงเป็นประเด็นและหัวข้อที่จะพูดคุยกันอยู่เสมอในกลุ่ม

จากประสบการณ์Kapook_30275ฉันพบว่าถ้าวันไหนผู้ป่วยรับรู้ว่าป้านิตไม่อยู่ หลายคนก็จะเบี้ยว มาสาย หรือ ไม่ค่อยตื่นตัวในการทำกลุ่มร่วมกันมากนัก ทั้งๆที่เมื่อช่วงตอนซักประวัติการใช้ยาและประเมินปัญหาก่อนเข้ากลุ่มเขาก็มีอัธทยาศัยไมตรีดีกันกับเรา...ประเด็นมันอยู่ที่ไหนหนอ?Kapook_30275

เริ่มสืบค้นและจับสังเกตก็พบว่า นอกจากการที่เป็นคนละคนกับพี่นิตยาซึ่งเป็นเหมือนคนที่ผู้ป่วยรู้จักคุ้นเคยมานานแล้ว การจดจำและเข้าใจภูมิหลังความเป็นมาของผู้ป่วยแต่ละรายของฉันก็ยังไม่แม่นยำนัก เรียกชื่อสลับกันก็มีบ่อย แถมบางทีเจอปาฏิหารย์ผู้ป่วยแกล้งทะเลาะกันในกลุ่ม หรือ ถามรวนๆก็นิ่งเฉย ไม่ค่อยไปจัดการ ทำให้ผู้ป่วยบางคนย่ามใจเข้ามาครอบงำบรรยากาศการคุยในกลุ่มไปซะยังงั้น มีผลให้ผู้ป่วยบางคนรู้สึกว่าเราอาจไม่สนใจเขา เขาก็เลยเงียบไม่พูด แต่ฉันเป็นคนไม่ชอบถามไล่เรียงทีละคนเพราะรู้สึกว่าเหมือนกับเป็นการบีบบังคับให้คนพูด ซึ่งไม่เป็นธรรมชาติและนานๆไปการขาดความร่วมมือก็จะเด่นชัดมากขึ้น...

เอ!Kapook_30279ถ้ายังงั้นแล้วจะทำอย่างไรให้บรรยากาศการพูดในกลุ่มนี้ดีขึ้นมาได้อย่างไร

เริ่มต้นจากการปรับตัวเองKapook_935 พยายามเก็บรายละเอียดไว้ให้มาก เวลาที่ป้านิตอยู่ให้สังเกตถึงวิธีการและข้อมูลของผู้ป่วย..พบว่าถ้าเราพูดในศัพท์ภาษาเดียวกันกับเขาได้(ศัพท์เฉพาะกลุ่ม)เขาก็เริ่มที่จะยอมรับและเห็นว่าเรารู้จักข้อมูลเกี่ยวกับเขาได้ดีเพียงพอ....จดจำหน้าตาและชื่อให้แม่นยำ แม้บางคนดูหุ่นและสีผิวหน้าตาดูคล้ายคลึงกันก็ตาม หรือ บางคนก็มีชื่อเหมือนกันเสียอีก ก็ต้องมองหาจุดเด่นที่จะจำแนกตัวตนของเขาออกมาให้ได้ โดยเฉพาะกับคนที่เงียบที่สุด กับคนที่พูดมากที่สุดในการทำกลุ่ม เพราะเป็นคนที่เวลาทำกลุ่มแล้วสามารถทำให้ปวดหัว หรือ กดดันกลุ่มได้พอๆกัน

...และยังมีวิธีการอะไรในการกระตุ้นกลุ่มให้สดชื่นเพิ่มขึ้นมาได้อีก?Kapook_935Kapook_935Kapook_935

นอกเหนือไปจากการมีน้ำและขนมเล็กๆน้อยๆรองรับไว้เวลาที่เสร็จสิ้นจากกลุ่มแล้ว การสร้างอารมณ์ขัน หรือ การให้กำลังใจ แสดงความชื่นชมกับข่าวดีๆของสมาชิกกลุ่มก็เป็นสิ่งที่พึงต้องนำมาใช้

 อาทิเช่น มีสมาชิกหลายคนที่ประกาศเจตนาลดการสูบบุหรี่ ซึ่งบางคนก็เพิ่งทำได้ประมาณ10กว่าวันก็ต้องอาศัยกลุ่มเป็นผู้ให้กำลังใจโดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้กลุ่มรับทราบและให้กำลังใจหรือข้อคิดดีๆ ซึ่งหลายคนที่แม้ยังสูบบุหรี่อยู่แต่ก็ไม่ได้ใช้เพิ่มเติมขึ้นไปจากตอนที่เขาแจ้งให้เพื่อนในกลุ่มได้รับรู้

     Kapook_19737Kapook_19737Kapook_19737Kapook_19737Kapook_19737Kapook_19737

อีกสิ่งหนึ่งก็คือ การกำหนดประเด็น จากครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่ากลุ่มดำเนินไปได้ดีมาก ผู้ป่วยทุกคนให้ความสนใจและตื่นตัวในการแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม ไม่แบ่งแยกเป็นกลุ่มย่อยเหมือนอย่างครั้งก่อน..สำรวจดูย้อนหลัง พบว่าน่าจะมาจาก การใช้เทคนิคการโหวตเลือกหัวข้อที่จะพูดคุย และการช่วยสรุปประเด็นเป็นระยะของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งเวลาที่จะจัดการกับตัวป่วนในกลุ่มก็อาศัยการขอความเห็นกลุ่มและจัดการทันทีที่เขาแสดงพฤติกรรมนั้น

Kapook_613Kapook_613Kapook_613 ผลที่ได้รับนอกจากการได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของผู้ป่วย(สมาชิก)แต่ละคนแล้วยังได้เห็นภาพน่ารักๆของผู้ป่วยที่กอดคอให้กำลังใจกันในการที่เขาจะตัดสินใจ เลิกปกปิดเพื่อนหญิงเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของตัวเขา หลังจากที่เก็บเอาไว้นานเกือบ7เดือน ซึ่งเพื่อนๆรวมถึงเจ้าหน้าที่ก็เพิ่งจะทราบจากในกลุ่มว่าเขากำลังเริ่มคบหากับผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะกลัวถูกล้อเลียน หรือ หาว่าสติเสื่อม โชคดีที่ผู้ป่วยรายนี้เป็นคนที่มีน้ำใจกับเพื่อนๆมาโดยตลอด จึงไม่ได้มีใครตำหนิ หรือ ล้อเล่นกับความทุกข์ใจของเขาเลย กลับแสดงความเห็นใจและมองเห็นว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ และช่วยกันเสนอแนะความคิดเห็นหรือพูดให้กำลังใจ...

จนในที่สุดเจ้าของปัญหาก็ตอบกับเพื่อนว่าเขาตัดสินใจได้แล้วว่าเขาคงจะต้องบอกให้เพื่อนหญิงของเขารับรู้แม้ว่าเขาไม่แน่ใจว่าจะต้องสูญเสียเธอไปหรือเปล่าแต่เขาได้กำลังใจและคำแนะนำจากเพื่อนๆแล้วมันทำให้เขาจะลองเสี่ยงดู.

..ก็คงต้องมาลุ้นต่อในสัปดาห์หน้าว่าเป็นอย่างไร.Kapook_613..ทั้งนี้เป็นข้อแนะนำที่จะต้องทำใจว่าผู้ป่วยนี้มีอารมณ์หวั่นไหวสูงมากและหลายหนที่เขามักวิตกและท้อใจไม่ยอมเดินไปตามเป้าหมาย หรือ เลิกเดินเอาซะเฉยๆ การที่เขากล้าประกาศขึ้นมาในกลุ่มด้วยตนเองอย่างน้อยก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าเขาไม่คิดที่จะแอบซ่อน/ปกปิดปัญหา  หากแต่กำลังพยายามช่วยเหลือตนเองโดยการขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากคนอื่นๆอยู่..ซึ่งถ้าแรงฮึดที่มากพอที่สุดแล้วผู้ป่วยก็จะลงมือด้วยตนเองได้สำเร็จKapook_613

         

หมายเลขบันทึก: 187139เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท