เมื่อวันที่ 28 กพ. ฝ่ายการพยาบาล รพ.จุฬาลงกรณ์ได้รับความกรุณาจากอ.
ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
เป็นวิทยากรในการบรรยายในการประชุมวิชาการ เรื่อง Sharing for Learning
ซึ่งเป็นการจัดประชุมวิชาการเพื่อเป็นบริการวิชาการสำหรับเพื่อนสมาชิกที่เป็นองค์กร
หรือสถาบันที่ให้บริการรักษาพยาบาล
นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสต้อนรับวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เรื่อง
KM ให้กับบุคลากรทางด้านสาธารณสุข
ซึ่งผลการประเมินประชุมเป็นที่ชื่นชมของผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ยังได้รับความกรุณาจาก อ.ประพนธ์
แล้วยังได้รับความกรุณาจากท่านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ซึ่งกรุณามาให้มุมมองเกี่ยวกับการใช้กระบวนการ
KM เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรในกรมราชทัณฑ์
เป็นมุมมองที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ในตอนท้ายของรายการทุกท่านที่เข้าประชุม
ยังได้แง่คิดในการดำเนิน KM
ในสถาบันของท่านที่เหมาะสมกับบริบท กระบวนการ KM
ที่ฝ่ายการพยาบาลฯ ได้ดำเนินการมาโดยใช้กระบวนการ Dialogue
เป็นเพียงการเริ่มต้นเพื่อจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล การเริ่มต้นกระบวนการ KM
ด้วยวิธีการ Dialogue
เนื่องจากต้องการใช้คนเป็นฐานในการปรับพฤติกรรม
หรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ หรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักของ
BSC ที่เรากำหนดไว้
โดยความเป็นจริงแทบจะกล่าวได้ว่าในทุกสถาบันทางด้านสาธารณสุขจะมีการใช้กระบวนการของ
KM อยู่ โดยที่บางสถาบันอาจจะไม่รู้และไม่เข้าใจ
ถ้าจะลองกลับไปนึกถึงกิจกรรม/โครงการ กระบวนการต่างๆ
ที่ผ่านมาในการพัฒนาการดำเนินการต่างๆ จะพบว่าได้มีกระบวนการของ
KM แทรกอยู่ในโครงการเหล่านั้น
ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าการจะใช้กระบวนการ KM
ในองค์การต่างๆ ผู้บริหารต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดว่าจะทำ KM
หรือใช้กระบวนการ KM โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
แต่ไม่ควรคิดว่าจำเป็นต้องสร้างกระบวนการ KM ให้เกิดในองค์กร
เนื่องจากองค์การอื่นๆ มี เค้ามีอะไร เราควรจะมีอะไรอย่างนั้น
ประเด็นสำคัญต้องวิเคราะห์แนวทางดำเนินการให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร
เรามีอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดกระบวนการ KM
ที่ทำให้บุคลากรในองค์กรยอมรับและร่วมมือร่วมใจกับเราในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ
หรือการพัฒนานำองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้
โดยเฉพาะผู้บริหารทางการพยาบาล
คงจะต้องมองว่าคนของท่านพร้อมที่จะรับกระบวนการเข้าไปดำเนินการหรือไม่
สิ่งสำคัญคือ
เราคงต้องรู้จักคนของเราอย่างเพียงพอว่าเราจะใช้กระบวนการอย่างไรในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจ
และให้คนของเรานำกระบวนการ KM
ไปใช้ให้เหมาะกับบรรยากาศขององค์กร หรือนำกระบวนการ
KM ไปใช้เพื่อพัฒนาบรรยากาศขององค์การ
และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น