ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

3 AEFI สำคัญอย่างไร


การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน

  

           การเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยภายหลังไดรับวัคซีนจะสำคัญมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จากประสบการณ์การทำงาน ปี2550 พบว่ามีผู้ป่วยที่refer มาจากต่างจังหวัดได้รับวัคซีนแล้วป่วย ซั่งจะต้องดำเนินการสอบสวนโรค ความรู้ยังมีไม่มาก ทำให้การทำงาน เกิดความยุ่งยากและจะต้องติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลานาน ข้อมูลที่ได้ไม่ครบถ้วน ต้องติดตามสอบสวนหลายครั้ง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บทเรียนที่ได้ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้และเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้วย

         

     จึงได้ขอเข้าอบรมเรื่อง AEFI สำหรับเจ้าหน้าทีระดับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ในวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2551 ที่โรงแรมโซฟิเทล  ได้รับประโยชน์มาก และจะขอนำข้อมูลและเนื้อหาจากที่อาจารย์  ถ่ายทอดนำมาเล่าให้ฟัง ซึ่งสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำเป็นซีดีแจกผุ้เข้ารับการอบรม 

         

ความหมายของอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ความหมายของอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Events Following Immunization : AEFI)   จาก  Surveillance of adverse events following immunization : Field Guide for Managers of Immunization Programmes, WHO Geneva 1997  กล่าวไว้ว่า “An adverse events following immunization  is a medical incident that takes place after an immunization and is believed to be caused by the immunization.”

สาเหตุของการเกิดอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

         สาเหตุของการเกิดอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อาจเกิดขึ้นเนื่องจากวัคซีน (Vaccine reaction) หรือจากการบริหารจัดการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Programmatic error) หรือเกิดขึ้นเนื่องจากความกังวลหรือความกลัวต่อการฉีดวัคซีน (Injection reaction) หรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ (Coincidental events) หรือเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Unknown)

         

1. เกิดขึ้นเนื่องจากวัคซีน (Vaccine reactions)

โดยปกติเมื่อร่างกายได้รับวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย (Immune system) จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีนนั้น ทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ได้ เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด หรือเกิดอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาต่อระบบอื่นๆ (systemic reaction) เช่น อาการไข้ แต่อาจจะมีอาการมากน้อยแล้วแต่บุคคล นอกจากนั้นสารที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นตัวเชื้อ  สารหยุดยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย (antibiotic) สารเพิ่มประสิทธิภาพ (adjuvant) หรือ สารกันเสีย (preservative)  ก็อาจจะทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ แต่การเกิดอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเป็นเฉพาะบางบุคคลและบางวัคซีน อาการที่เกิดส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง ส่วนน้อยอาจมีอาการรุนแรง แบ่งออกได้ ดังนี้

1.1 อาการที่ไม่รุนแรง (Mild, common vaccine reactions)  

จะพบได้มากหลังได้รับวัคซีนได้แก่ อาการเฉพาะที่ และอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาต่อระบบอื่นๆ (systemic reaction)   อาการเฉพาะที่  เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด มักเกิดขึ้นภายใน 5 วัน หลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยกเว้นวัคซีน BCG จะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หรือมากกว่า  อาการที่เกิดจากปฏิกิริยาต่อระบบอื่นๆ เช่น อาการไข้  มักเกิดขึ้นภายใน 1 หรือ 2 วัน หลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยกเว้นในวัคซีน measles/MMR จะเกิดขึ้นภายใน 5 – 12 วัน ประมาณ 10 % ของผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีอาการไข้  หรืออาการที่เกิดจากปฏิกิริยาต่อระบบอื่นๆ  ยกเว้นในวัคซีน DTP (whole cell) จะมีอาการไข้หรืออาการที่เกิดจากปฏิกิริยาต่อระบบอื่นๆ ประมาณ 50 % ของผู้ได้รับวัคซีน

 

ตารางที่ 1  อาการที่ไม่รุนแรงที่มีสาเหตุจากวัคซีน

วัคซีน

อาการเฉพาะที่ (ปวด, บวม, แดง)

ไข้

อาการที่เกิดจากปฏิกิริยาต่อระบบอื่นๆ

อาการ

ร้อยละ

BCG

90-95 %

-

-

-

Hib

5 – 15 %

  2 – 10 %

-

-

Hepatitis B

ผู้ใหญ่เกิดได้ถึง 30 %

เด็กเกิดได้ถึง 5 %

1 – 6 %

-

-

Measles/MMR

10 %

 5-15 %

ผื่น

  5 %

Oral Polio Vaccine(OPV)

ไม่มี

<1 %

อุจจาระร่วง

ปวดศีรษะ

ปวดกล้ามเนื้อ

<1 %

Tetanus/DT

  10 % *

10 %

-

25 %

DTP

50 %

50 %

-

55 %

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อควรรู้ :  * อัตราการเกิดอาการเฉพาะที่จะเพิ่มขึ้น 50 - 85 % ในเข็มกระตุ้นของวัคซีน Tetanus/DT

แหล่งที่มา: Immunization Safety Surveillance: Part 2: Adverse events following immunization   (AEFIs). WHO Regional Office for the Western Pacific, 1999.

 

 

1.2 อาการที่รุนแรง (More serious, rare vaccine reactions) จะพบได้น้อย ส่วนใหญ่ของอาการที่พบ มักจะเป็นอาการที่ไม่มีผลของอาการในระยะยาว เช่น อาการชัก, เกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopaenia), อาการหน้ามืด/เป็นลม (Hypotonic Hyporesponsive Episodes), กรีดร้องนาน (Persistent screaming 

2. เกิดขึ้นเนื่องจากการบริหารจัดการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค  (Programmatic error)

เกิดจากการเก็บ การขนส่ง และการฉีดวัคซีน ซึ่งอาจจะเกิดการป่วยเพียงรายเดียว หรือเป็นกลุ่ม (cluster) และพบว่ามีความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการวัคซีน   หรือวัคซีนที่ให้ในขวดเดียวกันนั้น  หรือจากวัคซีนหลายขวด  ซึ่งอาจจะเกิดจากความบกพร่องของระบบลูกโซ่ความเย็น   ความผิดพลาดที่พบ   ได้แก่

·       การให้วัคซีนมากกว่าในขนาดที่กำหนด

·       การฉีดวัคซีนผิดตำแหน่ง

·       การใช้เข็มและกระบอกฉีดที่ไม่สะอาด<

หมายเลขบันทึก: 186778เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2008 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีจังเลยครับผม พอดีผมรับเรื่องนี้ด้วยครับ แหล่มครับ

ขอบคุณคะพี่แก้ว พอดีนำมาลงยังไม่หมดมีต่อ

อบรมเรืองนี้ด้วยและอยู่ร.พ.ท.เป็นคนฉีด

ก็ระวังมากขึ้น (กลัวพลาดเหมือนกัน)

ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนเราบ้าง

สวัสดีคะ

ดีใจมากคะที่มีผู้เข้าร่วมอบรมเหมือนกัน ขณะนี้กำลังให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จัดเป็นสัปดาห์รณรงค์ ให้บริการ 7 วัน ทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และบุคลากรกลุ่มเสี่ยง บุคลากรทางการแพทย์ วันแรกที่ให้บริการการจัดระบบยังมีปัญหาเหมือนกัน ต้องระวังมากทั้งเรื่องระบบความเย็น เรื่องขวดวัคซีน ต้องตรวจสอบให้ละเอียด เราใช้วิธีให้งานเภสัชกรรม เขียน No ของขวดวัคซีนมาให้ และบันทึกใน ประวัติผู้ป่วยว่าฉีดขวดที่เท่าใด เพราะว่า Lot No จะเดียวกันทั้งหมด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท