ฟิสิกส์1 สำหรับวิศวกร(01-024-107)


วิชาฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร Physics I for Engineers  ( 01 – 024 – 107)

ประจำภาคเรียนที่ 1 /2551

 

1. ผู้สอน                                อาจารย์มริสา   ไกรนรา

2. สภาพรายวิชา                  หมวดศึกษาทั่วไปในหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

3. พื้นฐาน                             -

4.เวลาศึกษา                         48 คาบเรียน (16 สัปดาห์) ทฤษฎี 3 คาบ/สัปดาห์ และ นักศึกษาต้องใช้เวลาค้นคว้านอก

เวลา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

5. จำนวนหน่วยกิต            3  หน่วยกิต

6. จุดมุ่งหมายรายวิชา       1. เข้าใจเรื่องเวคเตอร์  แรง  การเคลื่อนที่แบบต่างๆ โมเมนตัม  และพลังงาน

 สมบัติเชิงกลของสาร และกลศาสตร์ของไหล

                                                2. เข้าใจเรื่องความร้อนและอุณหพลศาสตร์เบื้องต้น  คลื่นและคลื่นเสียง

                                                3. มีทักษะในการแก้ปัญหาโจทย์ทางฟิสิกส์

4. ประยุกต์วิชาฟิสิกส์  1 สำหรับวิศวกรกับชีวิตประจำวันวิชาชีพหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้

5. มีเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ความรู้ทางฟิสิกส์

 

7. คำอธิบายรายวิชา               ศึกษาเกี่ยวกับเวคเตอร์  แรงและการเคลื่อนที่  โมเมนตัม และพลังงาน   สมบัติเชิงกลของสาร  การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งเกร็ง   การเคลื่อนที่แบบออสซิเลต  กลศาสตร์ของไหล  ความร้อนและอุณหพลศาสตร์เบื้องต้น   คลื่นและคลื่นเสียง

หมายเลขบันทึก: 186340เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

ตามมาดูรุ่นน้อง อิอิๆๆ สบายดีไหม

อาจารย์ เอาข้อสอบมาลงในบันทึกด้วยนะครับ

ดีคับ อาจารย์ ทำไมออกข้อสอบยากจัง วิชาฟิสิกส์1 เวลาสอนอาจารย์ต้อง อธิบายโจทย์ที่เป็นคำศัพ ด้วยนะคับบางครั้งไม่เข้าใจโจทย์คับ และยังไม่เข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของ อนุภาคคับ แบบ1และ2 มิติคับ ขอบคุณคับ

สวัสดี คะ...

ก่อนอื่นครู ดีใจมากที่มีนักศึกษาเข้ามาแสดงความคิดเห็น สำหรับคำถามยอดฮิตที่สุดคือ ยังไม่ค่อยเข้าใจในบางเรื่องที่ครูสอนไป แต่ทางที่ดีครูว่าเธอควรจะมาถามครูแบบตัวต่อตัวน่าจะดีกว่า หรือว่าถามในห้องเรียนก็ได้ ครูต็มใจตอบคำมเธอเสมอ ถ้าสงสัยก็อย่าเก็บไว้ ถามโดยการโพสต์ มาแบบนี้ มันก็อธิบายกันลำบากคะ ดังนั้น สรุปก็คือ เข้ามาถามครูเลยดีกว่า เพราะถ้าในเวลาเรียนแล้วไม่มีใครถาม ครูก็เข้าใจว่าพวกเธอเขาใจกันแล้วซิ...

อาจารย์มริสา

สวัสดีคับอาจารย์ เรื่องการออกข้อสอบคับ

ในการสอนของอาจารย์ ต้องอธิบายแบบคำธรรมดา คำธรรมดานั้นก็คือคำที่ นักศึกษาเข้าใจง่าย

ถ้าเกิดใช้ คำที่เป็นทางการมากเกินไป เด็กอาจไม่เข้าใจได้ อาจทำให้ยากต่อความเข้าใจ

หรือไม่ก็ สรุปให้ครอบคลุม ถี่ถ้วนเนื้อหาที่ออกสอบ กรณีไหนเป็นยังไง แบบนั้นต้องทำแบบนี้นะ

สูตรนั้นใช้ตอนนี้นะ กรณีนี้นะ บางครั้งพื้นฐานของเด็กแต่ละคนต่างกัน สภาวะต่างกัน ไม่ว่าจิตใจ

ความขยัน หรืออื่นๆ เวลาเรียนน้อย เนื้อหาเยอะอาจไม่ทันเหมือนกัน(จิตวิทยา) ดั้งนั้นสังเกตุ

เพราะฟิสิกส์ ในความรู้สึกของเด็กส่วนมาก บอกว่ายาก ดังนั้นในฐานะเป็นอาจารย์ ลองปรับเปลี่ยนการสอนยังไงดี

ให้ความรู้สึกของอาจารย์ว่า เด็กเราเก่งขึ้นนะ ถ้าเราเปลี่ยนวิธีสอนแบบนี้ ทำให้เกิดการยกระดับการเรียนรู้ที่ดีของเด็กด้วย

สรุปว่า ต้องทำเรื่องยากๆ ในความคิดให้ง่ายดีไหมเอ๋ย แต่ที่อาจารย์สอนตอนนี้ก็ดีในระดับดีแล้วแต่ต้องเป็นที่กล่าวมาน่าจะดีกว่า

จาก (ผู้ตรวจราชการ)

ขอ ตอบผู้ตรวจราชการนะคะ

ก่อนอืน ครูต้องขอโทษ friend club ทุกคนนะคะ ช่วงนี้ ครูยุ่งๆ เลยไม่ได้เข้ามาตอบคำถาม ตอนนี้ เริ่มเครียงานได้บ้าง ก็ เข้ามาแวะเวียนทักทายคะ

สำหรับ " ท่านผู้ตรวจราชการ" คะ ก็ ดีนะคะคอมเม้นการสอน ครูจะได้ปรับปรุงวิธีการสอนของตัวเอง คำธรรมดา ครูเข้าใจความหมายของ นศ. คืออยากให้ครูพูดแล้วฟังเข้าใจง่ายๆ ใช่มั้ยคะ และพื้นฐานของ นศ. ก็ต่างกันคะ ก็สอนยากนะ เพราะบางคน(สายวิทย์) เค้ารู้เรื่องแล้วเค้าก็เบื่อ แต่ นศ. บางคน(สายวิชาชีพ) ไม่เคยเรียนฟิสิกส์เลยแล้ว อยู่ดีๆ ก็ มาเรียนฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร มันก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว สำหรับเค้าคะ ซ้ำ นศ. บางคนยังมีเจตคติที่ไม่ค่อยดีกับวิชานี้ด้วยแล้ว ยิ่งแล้วใหญ่ ครูก็พยายามสอนช้าๆ ยิ้มไปบ้าง(ให้นศ.ชอบ) ถามไปบ้างคะ อธิบายช้าๆ ชัดๆ ให้เข้าใจกันทุกคนนะคะ ส่วนเรื่องข้อสอบ ครูบอกตรงๆ เลยว่า ครูมักจะออกข้อสอบคล้ายๆกับแบบฝึกหัดท้ายบทคะ เพราะอะไรหรือคะ เพราะว่าจะกำจัดจุดอ่อน นศ. พวกที่ชอบลอกการบ้านของเพื่อน ประมาณว่า ลอกแบบไม่คิด คือลอกให้ได้ส่งงานทันเวลาที่ครู สั่ง แต่ไม่เคยไปทบทวนเลยว่าที่ลอกเพื่อนไปหนะ เข้าใจมั้ย??

สุดท้ายนี้ ครู ขอทิ้งท้ายว่า คนเราไม่มีอะไรจะยากไปกว่าความขยัน อดทน และมุ่งมั่นหรอกคะ...

อาจารย์มริสา

ผมเป็นนักศึกษาใหม่ครูใจดีหรือเปล่าครับ

นายสุทธิพงษ์ คงจุ้ย

สวัสดีคับอาจารย์ผมหัวหน้าห้องโยธาเทียบโอนปี1คับ

ผมลองทำแนวข้อสอบของบทที่1แล้วคับอาจารย์

ผมก็พอทำได้บ้างคับ

ผมอย่ากถามอาจารย์ว่าข้อสอบที่จะออกมันคล้ายกับแนวข้อสอบที่ผมทำประมาณกี่เปอร์เซ็นต์

นายสุทธิพงษ์ คงจุ้ย โยธา เทียบโอนปี1

สวัสดีครับ อาจารย์ครับ

ผมมีข้อสงสัยมาถามอาจารย์ว่าการเขียนทฤษฏีเพิ่มเติมจากการทำรายงาน กับขั้นตอนการทดลอง หรือต้องทำความเข้าใจแล้วนำมาเขียนเองครับผม

ผมสามารถหาข้อมูลต่างๆได้จาก www. อะไรบ้างครับ

สวัสดีคะ...

ตอบคำถามนักศึกษาที่สงสัย สำหรับแนวข้อสอบจะคล้ายๆ กับที่อยู่ในเอกสารคะ คล้ายๆแต่ไม่เหมือนนะคะ ถ้าเธอทำแนวข้อสอบของครูได้ ข้อสอบเธอก็ทำได้คะ

ต่อไปตอบเรื่อง วิชาปฏิบัติการฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร ในการเขียนหลักการทฤษฎีเพิ่มเติมนั้น นศ.สามารถหาเพิ่มเติมได้จากหนังสือฟิสิกส์ 1 หรือให้web ฟิสิกส์ราชมงคล ได้ หรือในแหล่งความรู้ใดๆ ก็ได้ คะ

อ.มริสา

นาย สุทธิพงษ์ คงจุ้ย โยธาเทียบโอน

ขอบคุณ ครับอาจารย์ ผมจะพยายามทำข้อสอบให้ได้ นะ

สวัสดีคะ....

ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับนักศึกษาที่มีความทุ่งมั่นและตั้งใจทุกคนนะคะ

อ.มริสา

สุทธิพงษ์ คงจุ้ย โยธาเทียบโอน1/2

อาจารย์ครับ

ผมกลัวทำข้อสอบไม่ได้ครับเพราะครั้งที่แล้วก่อนสอบผมได้ติวกับเพื่อนๆคิดว่าทำได้

แต่พอเอาเข้าจริงเพื่อนที่ผมติวให้บางคนก็ทำได้บางคนก็ทำไม่ได้เลย

ผมลองถามเพื่อนๆว่าทำไมถึงทำไม่ได้เลยเพื่อนๆก็บอกว่าข้อสอบออกแบบคาดไม่ถึง

อาจารย์ครับอย่าออกข้อสอบให้ยากเกินไปนะครับ

สวัสดีครับ...

ได้ข่าวว่าอาจารย์ช่วงนี้งานยุ่งหรือคับ

แล้วข้อสอบอาทิตย์หน้ายังมีข้อสอบหลายชุดไหมครับ

อันนี้เพื่อนฝากมาถามนะครับ พอดียังเหลือไม่กี่คนเเล้ว

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ขอให้อาจารย์อวยพรให้พวกผม

ให้ได้ผ่านฟิสิกส์1 ทุกคนเลยครับ

ขอบคุณครับ...

อาจารย์ครับเดี๋ยวนี้ทำไมอาจารย์สวยจัง

อาจารย์ไปทำอะไรมาเหรอครับ

อาจารย์ (สา) สอนจนนักเรียนอย่างผมเขาจะงอกแระ ยังมึนๆเหมือนเดิม ???

(

วศบ.โยธา ภาคสมทบ รุ่น2)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท