เพลงอีแซวนักเรียน แหล่งเรียนรู้ปรากฏร่องรอยในสิ่งพิมพ์ ตอนที่ 2


ภาพและเรื่องราวที่แสดงร่องรอยการเดินทางของครูและลูกศิษย์ในวงเพลง ได้เห็นเส้นทางที่ย่ำเดินมาอย่างช้า ๆ ในช่วงเวลาที่ยาวนานแต่มีความมั่นคงเหนียวแน่น จากหนังสือพิมพ์ วารสารและเว็บไซต์หลายฉบับ

 

เพลงอีแซวนักเรียน

โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1

สพท. สุพรรณบุรี เขต 2

(ตอนที่ 2) แหล่งเรียนรู้เพลงพื้นบ้าน ปรากฏร่องรอยในวารสาร สิ่งพิมพ์

ตลอดระยะเวลา 17 ปี (พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2551)

 

          ในตอนที่ 2 นี้ ผมยังมีร่องรอยที่บันทึกเอาไว้ในสิ่งพิมพ์อีกเป็นจำนวนมาก ด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะท้องถิ่น เพลงพื้นบ้าน ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ที่ได้สืบสานมายาวนาน จึงขอนำเอาบันทึกบางส่วนมาลงไว้ในบล็อกเพลงอีแซวต่อไปอีกตอนหนึ่ง ครับ  แต่ก็ยังมีอีกหลายฉบับ ที่ผมจัดเก็บไม่ทัน เพราะเราไม่ทราบว่า เอกสาร สิ่งพิมพ์นั้นมาเอาข่าว เรื่องราวไปจากเรา หรือจากใคร และลงข่าวเผยแพร่ผลงาน เรื่องราวให้เมื่อไร  หนังสือพิมพ์บางฉบับ ได้ลูกศิษย์ที่ไปเรียนอยู่ ม.เชียงใหม่ ซื้อแล้วส่งมาให้อีกตอนหนึ่ง

 

          ผมได้นำเอาประสบการณ์จริงทั้งหมด ที่ผมได้ประสบมาด้วยตนเอง  เก็บตะกอนเก่า ๆ ที่ตกผลึกฝังแน่นอยู่ในหัวใจของคนแก่ ๆ คนหนึ่ง โดยที่ไม่มีโอกาสได้เผยแพร่ หรือบอกเล่าให้ใครต่อใครได้รับทราบเลย ผ่านมาเป็นเวลา 57 ปี กำลังจะเข้าสู่ปีที่ 58 และอีกไม่นานเรื่องราวที่ผมได้เผชิญมา ทั้งตัวคนเดียว ครอบครัว และพาเด็ก ๆ จำนวน 15-20 คน ไปสู่เวทีการแสดง โลกมายาที่ตื่นเต้นเร้าใจมายาวนาน  ภาพที่ปรากฏยอยู่ในหนังสือพิมพ์ วารสาร เว็บไซต์หลายต่อหลายฉบับ มิใช่ความสามารถของผมเพียงคนเดียว  หากแต่ว่า เป็นความร่วมมือ ร่วมงานกันหลายฝ่าย

 

          ลูกศิษย์คนแล้วคนเล่า รุ่นแล้วรุ่นเล่าที่ผมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ศิลปะ (ทัศนศิลป์) การแสดงเพลงพื้นบ้าน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เทคโนโลยีการศึกษา  กิจกรรม/ชุมนุมอาชีพการแสดงที่มีงานมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จากครูเพลงเป็นผู้สอนความรู้ เป็นผู้ฝึกหัดเพียงคนเดียว  ต่อมากลายเป็นรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง จนเป็นวงเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านที่มีความเป็นมาตรฐานมีเวทีเคลื่อนที่ มีฉากไฟแสงสีเสียง มีชุดนักแสดงที่สามารถสวมใส่เล่นได้หลายคืนต่อเนื่องกัน มีนักแสดงที่มีความสามารถนำเสนอผลงานได้คืนละ (งานละ 3 - 4 ชั่วโมง)

 

          เพลงอีแซวนักเรียน วงนี้มีผู้แสดงหมุนเวียนเปลี่ยนกันเข้ามา ออกไปตามกาลเวลา เพราะเด็ก ๆ เหล่านั้น เข้ามาเพื่อการศึกษาเล่าเรียนในระดับชั้นละ 3 ปี อยู่นานที่สุดก็ 6 ปี (ม.1- ม.6) ในแต่ละปี จึงมีผู้แสดงที่จบการศึกษาไป และครูจะต้องจัดหาคนเข้ามาแสดงแทนคนเก่า เป็นอยู่อย่างนี้ทุกปี (เป็นเรื่องปกติเสียแล้วสำหรับผม) แต่ว่าถึงแม้ในแต่ละปี จะมีลูกศิษย์จบการศึกษาไป ลูกศิษย์ที่เป็นทายาททางเพลงของวงยังคงเป็นห่วงเป็นใยคณะเพลงอยู่อย่างเหนียวแน่น  พวกเขายังคงกลับมาช่วยเหลืองานแสดงต่อไปจนมีความมั่นใจในตัวนักแสดงรุ่นน้อง ๆ จึงจะวางมือ

 

          นางสาวรัตนา  ผัดแสน เป็นนักแสดงที่มีคุณภาพสูงมากของวง เขาถอดแบบการแสดงมาจากครูเพลง สายป้าอ้น จันทร์สว่าง ครูเพลงของผมได้อย่างสมบูรณ์ ผมคิดว่าหาได้ยาก ที่เยาวชนรุ่นใหม่ แสดงเพลงพื้นบ้านได้สมบูรณ์แบบทั้งร้องรำทำท่าทางที่มีความหมายได้เท่า รัตนา ผัดแสน ในปีการศึกษา 2551 นี้  นางสาวรัตนา ผัดแสน ยุ้ย  ศึกษาต่อที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ซึ่งตั้งอยู่ที่ 118 หมู่ 1 ตำบลสนามชัย  อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

 

          นางสาวหทัยกาญจน์ เมืองมูล เป็นยอดนักแสดงอีกคนที่มีความสามารถหลายด้าน อิม เป็นคนที่มีน้ำเสียงนุ่ม เสียงหวาน เมื่อเวลาเขาขึ้นต้นร้องสุดคำขับเสภา สามารถสะกดผู้ชมให้นั่งนิ่งได้จนจบบทกลอน จากความสามารถในการร้องเพลง ด้นกลอนสด ร้องเพลงแหล่ที่ไพเราะจนได้รับรางวัล จากรายการโทรทัศน์ถึง  8 ครั้ง ในปีการศึกษา 2551 นี้ อิม จบการศึกษาชั้น ม.6 แล้ว ไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  สาขานิเทศศาสตร์ ที่เขาชอบที่สุด ส่วนหน้าที่การงานในอนาคต ผมพอมีลูกศิษย์ที่เป็นรุ่นพี่ของเขาเปิดบริษัทรองรับงานอยู่แล้ว

 

          ผมได้นำเอาภาพ และเรื่องราวที่แสดงร่องรอยการเดินทางของผมและลูกศิษย์ในวงเพลงมาให้ท่านผู้อ่าน ได้เห็นเส้นทางที่ย่ำเดินมาอย่างช้า ๆ ในช่วงเวลาที่ยาวนาน แต่มีความมั่นคงเหนียวแน่น จากหนังสือพิมพ์ วารสารและเว็บไซต์หลายฉบับ ครับ

          

          

              

               

               

                

               

               

               

               

 

                         

                 

     

ชำเลือง  มณีวงษ์ : ผู้มีผลงานดีเด่น (ศิลปิน) ด้านเพลงพื้นบ้าน รางวัลราชมงคลสรรเสริญ ปี 2547

 

หมายเลขบันทึก: 186007เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ ท่านพี่

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ สู้ต่อไปเพื่อเด็กไทยของเรานะคะ

            

ขอมอบดอกไม้ยามเข้าให้ค่ะ

   กลับมาอีกครั้งของยุคแห่งความรุ่งเรื่องของเพลงพื้นบ้าน
หลังจากที่เงียบหายไปนาน เพราะขาดคนสืบทอด

แต่

   ตอนนี้คุณครูชำเลือง ได้นำเอาการแสดงพื้นบ้าน มาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

   น่าชื่นชมจริงๆ ครับ ขอเป็นกำลังใจให้ตลอดไปน่ะครับคุณครู

ขอบพระคุณ ผอ.ประจักษ์

น้ำใจไมตรี ที่ท่านมีต่อเพื่อนสมาชิกทุกคน มากล้นจริง ๆ ก็ขอให้ท่าน ผอ.ประจักษ์ มีสุขภาพแข็งแรงเช่นกัน ติดตามร่องรอยที่ปรากฏต่อไป นะครับ เป็นเส้นทางที่ผมเดินมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง (เรื่องจริง ๆ)

สวัสดี ครับ อ.นงเยาว์

ช่วงนี้มีงานซ้อนกันเข้ามาหลายด้าน (ส่วนตัว,งานวงเพลง,งานของสถานศึกษา)แต่ยังสู้ (โรคคนแก่)ไหว ครับ วันที่ 7 มิถุนายน 2551 วงเพลงเล่นอยู่ที่สนามก็อล์ฟ ทบ. ถนนรามอินทรา

ได้รับดอกไม้ยามเช้าแล้ว สดชื่นขึ้นมากเลย (ว๊าว !!)

สวัสดี ครูบรรเจิด พุ่มพันธ์สน

  • วันที่ครูสืบสานเพลงในโรงเรียน วันนั้น ปี 2534 ยังไม่มีใครทำกันอย่างจริงจังเลย
  • โชคดี ที่สื่อสารมวลชนหลายแขนงให้ความสนใจ มาตามเก็บร่องรอยและเผยแพร่ ครูเก็บเอาไว้ได้เพียงส่วนน้อย
  • ขอบใจครูบรรเจิกมาก ที่ติดตามและเป็นกำลังใจให้คนที่เก็บรักษาภูมิปัญญาของเก่าอย่างครู เสมอมา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท