บรรยายเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง Toyota Business Practices ซึ่งก็คือ 8 ขั้นตอนในการแก้ปัญหา หรือ How to (ทำอย่างไร) โปรดดูใจความสำคัญดังข้อความข้างล่างนี้
|
|
Toyota Business Practices
|
|
|
(8 steps ในการแก้ปัญหา How to)
|
|
|
1. Clerity the Problem |
|
|
2. Breakdown in Problem |
P |
|
3. Target seting |
|
|
4. Root Cause Analysis |
|
|
5. Develop Countermeasure |
D |
|
6. See Countermeasure though |
C |
|
7. Monitor Both Result & Process |
A |
|
8. Standadize Successful Process |
|
|
|
หากดูให้ดีแล้ว ก็คือวงจร PDCA ที่หลายท่านคงรู้จักกันดี ซึ่งย่อมาจากคำว่า Plan-Do-Check-Action ดังภาพที่ผมนำมาให้ดูข้างล่างนี้
ที่โตโยต้า เขาเล่าว่า โครงการต่างๆ จะทำงานแค่ A3 (น่าจะเป็นกระดาษขนาด A3) 1 แผ่น ก็สมบูรณ์แล้ว เขาบริหารงานด้วยการเอาปัญหาขึ้นมาเป็นตัวตั้ง และการหาคำตอบต้องใช้ 5 Why คือถามว่า ทำไม 5 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าคำตอบของปัญหานั้นถูกต้อง (ผมคิดว่านี่คือการประยุกต์ใช้ "อิทัปปัจจยตา" นั่นเอง)
ช่วงนี้ Lecture เร็ว เก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้
สุดท้ายเขา Summary ว่า Toyota way = Universally National หรือ Universally Appicable
*********************
เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยของโตโยต้า ที่เก็บมาฝาก
- ที่โตโยต้า เงินเดือนไม่สูงแต่ก็สู้คนอื่นได้ โดยเฉพาะสวัสดิการและอื่นๆ ปีที่ผ่านมาพนักงานได้ Bonus 6.5 เท่าของเงินเดือน
- Toyota มีพนักงานทั้งหมด ประมาณ 30,000 คน
- ปีนี้โตโยต้ามีกำลังผลิต 500,000 คันต่อปี อีก 2-3 ปีจะเพิ่มเป็น 6-7 แสนคันต่อปี ...เพื่อการส่งออก
- สถาบัน Toyota สอน Toyota way ให้กับ Dealer ทั่วประเทศ
- หาก Dealer ทำตามนโยบายของบริษัทไม่ได้ ก็จะ Panaly เช่นตัดสิทธิ์บางประการหรือลดโควต้า เป็นต้น
- โตโยต้า เติบโตเร็ว ต้องการผู้ร่วมงานมาก Basic Requirement คือ ภาษาอังกฤษ (ไม่ยักมีภาษาญี่ปุ่น) และ คอมพิวเตอร์
- หาก Dealer ทำดี ก็จะเสนอให้ Benefit หรือ Incentive เช่น เพิ่มโควต้า ให้รางวัล เป็นต้น
- พนักงานใหม่ (new comer) ต้องไปเรียนรู้เรื่อง Toyota way ที่สถาบันโตโยต้า 1 สัปดาห์ ต่อด้วย Team work 2 วัน 1 คืน และไป Genchi (เกนจิ) คือไปดูงานที่เขาปฏิบัติกันจริงๆ (go to see) และอื่นๆ อีก จึงจะผ่านขั้นตอนของการทดลองงาน (เขาใส่ใจให้การศึกษา โดยใช้เวลาของการทำงานที่ยังให้เงินเดือน)
- OJT = on the job Training = yokoten
- ระบบการทำงานหรือบริหารแบบ Toyota way ไม่ได้มาจากบนลงล่าง, ล่างขึ้นบน หรือแบบแนวราบ แต่เป็นระบบ "โยนลูกบอล" คือ ต้นปีจะมีนโยบาย ที่จะโยนมา (เหมือนลูกฟุตบอล) ให้พนักงานช่วยกันคิด ในแต่ละระดับ และโยนกลับไปให้ผู้บริหาร..
###############
หมายเหตุ คำคม ที่ได้จากผู้คน 60 ชีวิต
-
ทำ Kaizen = ทำ KM = ประสบการณ์ที่น่าทึ่ง
-
พนักงานทุกระดับทำงานเหมือนเป็นเจ้าของบริษัทจริงๆ มี Toyota way ที่เข้มแข็งมาก ดังนั้น Toyota way ก็คือ "วัฒนธรรมขององค์กร"
-
หากเกิดปัญหา ผู้บริหารต้องไปดูที่หน้างาน
-
วางระบบดีๆ ก็ทำงานได้ดี
-
ทำงานแบบญี่ปุ่น เป็นการทำงานแบบง่ายๆ หรือ simplicity
-
บริหารด้วยปัญหา ยกระดับคุณภาพขององค์กร
-
กระตุ้นให้อยาก แล้วจากไป (CKO ปัจจุบัน)
-
ผลิต 1 นาที ผ่อน 4-5 ปี
-
คิดช้า ทำเร็ว
-
Toyota way = 2 เสาหลัก 5 หลักการ 8 ขั้นตอนปฏิบัติ (2 Pillars 5 principle 8 step Business practices)
************************