สืบสานดนตรีไทย


ดนตรีไทย

 

แบบเสนอกิจกรรม/โครงการจัดการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ  ( Best Practice )

ของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2

 

 

1.   ชื่อโรงเรียน     บ้านกำแพงเพชร  โรงเรียนในฝันรุ่นที่  1

       ชื่อผู้บริหารโรงเรียน  นายป้วน  มนตรี  โทร. 074 – 389196

2.    ชื่อ  Best  Practice  สืบสานดนตรีไทย

3.    ตอบสนองกลยุทธ์      -   ลยุทธ์ที่ 1,2  นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิต มีสุขภาพอนามัยดี มี

                                               คุณธรรม มั่นใจในตัวเอง กล้าแสดงออก

                                           -  ยุทธ์ที่ 2,3 โรงเรียนพัฒนาหักสูตรแกระบวนการจัดการเรียนการ

                                               สอนที่ยืดหยุ่น เน้นการบูรณาการและการเรียนรู้การดำรงชีวิต

4.   ลักษณะสำคัญ/รูปแบบของ Best Practice 

                มีลักษณะเป็นโครงการจัดการศึกษา ในระดับประถมศึกษา  แผนงานวิชาการในรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถพิเศษ โดยใช้เวาว่างที่ไม่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียน ตอนเช้า เที่ยง เย็น และวันหยุดราชการ วันละประมาณ 30 – 60  นาที ฝึกฝนให้นักเรียนได้เข้าใจปฏิบัติหลักดุริยางคศาสตร์ของดนตรีไทย(Thai Classical  Music)  ละหลักของเครื่องดนตรีไทย (Thai Instrument ) ตอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นองค์ความรู้   สืบทอดของศาสตร์แขนงนี้  จนสามารถพัฒนา ยกระดับและจัดตั้งเป็นวงดนตรีไทย ประเภทวงเครื่องสายเครื่องสายผสมขิม ออกเผย แพร่สู่สาธารณชน

 

5.   แนวความคิด หลักการ ทฤษฎีที่ใช้     

                กิจกรรมดังกล่าว  ผู้รับผิดชอบได้ยึดเอาหลักแนวทฤษฎี การ ศึกษาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism)   ของ จอห์น ดิวอี้ (John  Dewey ) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

                ทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น อุปกรณ์นิยม(Instrumentalism) ประสบการณ์นิยม ( Experimentalism)  นอกจากนี้ยังมีตำราบางเล่มเรียกว่า อนุกรรมวาท  หรือก้าวหน้านิยมการศึกษาแผนใหม่ ( New Education) เป็นต้น ความหมายโดยรวมคือ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่ง โดยมีแนวความคิดว่า การจัดการศึกษาต้องปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกันกับความเปลี่ยนแปลง จึงได้ชื่อว่าแนวทางแห่งความอิสระ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปรับปรุง  วัฒนธรรม และสังคมดังนั้นรูปแบบ การให้การศึกษาจึงเน้น ต้องได้ปฏิบัติ  ได้เห็นของจริง  ได้ใช้ประสาททั้งห้า  ให้มากที่สุด  และหลักสำคัญในการนำทฤษฎีนี้มาใช้กับกิจกรรมสืบสานดนตรีไทย คือ

1.       ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง เด็กเป็นฝ่ายกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมและริเริ่ม

กิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูเป็นผู้แนะนำ และจัดเตรียมอุปกรณ์ ไม่เน้น

เนื้อหา   แต่มุ่งให้เด็กพัฒนาทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

2.       เน้นการทดลอง และการปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการฝึกแก้ปัญหา

3.       ถือว่าการศึกษาคือ ชีวิต เป็นการพัฒนาเด็กในทุกด้าน มุ่งให้เด็กเกิด

ความเจริญงอกงามและเพิ่มพูนสติปัญญาสำหรับการดำเนินชีวิต

4.       เน้นการร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน เน้นความรับผิดชอบ

5.     มุ่งเสริมวิถีทางประชาธิปไตย สอนให้นักเรียนรู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ รู้จักเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ฝึกให้รู้จักแสดงความคิดเห็น

6.  วัตถุประสงค์

                1.   เพื่อให้นักเรียนฝึกปฏิบัติการเล่นดนตรีไทย

                2.   เพื่ออบรมกริยามารยาทความเป็นไทยรวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

และเอกลักษณ์ ไทยให้แก่นักเรียน

                3.   เพื่อจัดตั้งวงดนตรีไทยประเภทวงเครื่องสายผสม ของโรงเรียน

                4.   เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักเรียน

7.   ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาของ Best Practice

                ขั้นที่ 1  รับสมัครนักเรียนที่มีความประสงค์จะฝึกฝนดนตรีไทย

                ขั้นที่ 2  ให้นักเรียนเลือกเครื่องดนตรีที่คิดว่าถนัดและเหมาะสมกับสรีระของตัวเอง

                ขั้นที่ 3  ฝึกหลักพื้นฐานของการฝึกเล่นเครื่องดนตรีไทยแต่ละประเภท

                ขั้นที่ 4  ฝึกการบรรเลงเพลงไทยตามลักษณะของโน้ต โดยเริ่มจากเพลงอัตรา

จังหวะ 2 ชั้น สั้น ๆ ง่าย ๆ แล้วพัฒนาไปสู่เพลงที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น

                ขั้นที่ 5  ฝึกให้นักเรียนบรรเลงผสมวง

                ขั้นที่ 6  นำวงดนตรีไทยของโรงเรียนออกเผยแพร่สู่สาธารณชน

8.   ผลการดำเนินงาน

                เริ่มโครงการในปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป ผลที่ได้รับมีดังนี้

1.     นักเรียนชั้น ป. 4 – ป. 6 ที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 45 คน มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยได้คนละ 1 ประเภท

2.     สามารถคัดเลือกนักเรียน 20 คน ที่มีความสามารถยอดเยี่ยมทางด้านดนตรีไทย แล้วจัดตั้งเป็นวงดนตรีไทยประเภท วงเครื่องสายผสมขิมของโรงเรียนบ้านกำแพงเพชรได้

3.       นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนดนตรีไทย ในระดับเป็นที่น่าพอใจ

4.       โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชนมากขึ้น

9.   ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายธีรชาติ  ชูโสต โทร. 084-1990235

คำสำคัญ (Tags): #kmobec#kmska2#kumpangphet
หมายเลขบันทึก: 184712เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

หวัดดีค่ะ

เป็นกำลังใจให้น้องๆวงดนตรีไทยทุกคนนะ

จาก

ศิษย์เก่ากำแพงเพชร

เดะรร.KBS

หวัดดี

เดะกาญจนาฯกระบี่ ค่ะ

ทฤษฎีแนวมาก

แล้วจะเข้ามาใหม่

เพื่อนบ.

หวัดดี

บาย

สร้างสรรค์ครับ

ขอให้ทำสำเร็จครับผม

หวัดดีค่ะ

นู๋บีเองนะค่ะ

ช่วงนี้ยุ่งมากเลย

พอดีอยู่ในช่วงกีฬาสีนะค่ะ

ไม่ค่อยได้มาเม้นให้บ่อยๆ

ก้อเหมือนเดิม

เปนกำลังจัยให้

น้องๆทุกคนเหมือนเดิมนะ

แล้วจะกลับไปเยี่ยมล่ะ

บาย

รัก เรียนเพียรหมั่นซ้อม ฝึกฝน

ดน ตรีกล่อมเกลาตน ชื่นไซร้

ตรี สามสายพิณปน หย่อนตึง พอดี

ไทย สืบต่อเอาไว้ หนึ่งแท้รองใคร

:: เทพแห่งดุริยางคดนตรี ุ ::

การศิลปของไทยเราทุกๆแขนง ย่อมต้องมีพิธีไหว้ครูประจำปีครั้งหนึ่ง และเมื่อเริ่มเรียนอีกครั้งหนึ่ง

การไหว้ครูก่อนการเริ่มเรียนศิลปต่างๆนั้น ก็เป็นการกระทำโดยย่อ เพียงแต่เคารพครูหรือถวายตัวเป็นศิษย์แห่ง

เทพเจ้าผู้ถือว่าเป็นครูในศิลปนั้นๆ ส่วนการไหว้ครูประจำปีโดยมากจะทำเป็นพิธีการที่ใหญ่โตขึ้น ชื่อเทพเจ้าแห่ง

ดุริยางคดนตรีนี้ ในโองการไหว้ครูจะปรากฏอยู่ ๓ องค์ คือ พระปัญจสีขร พระวิศวกรรม(พระวิษณุกรรมหรือ

พระเพชฉลูกรรม) และพระปรคนธรรพ (พระประโคนธรรพ) พระวิศวกรรม (พระวิษณุกรรมหรือพระเพชฉลู

กรรม) เป็นนายช่างใหญ่ของเทวดา นับเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปการช่าง ซึ่งโองการไหว้ครูกล่าวไว้ว่า "พระวิศว

กรรมผู้เรืองฤทธิ์ ท่านประสิทธิ์สาปสรรค์ เครื่องเล่นสิ่งสารพันในใต้หล้า"จะเห็นได้ว่าเครื่องดุริยางคดนตรี

ต่างๆ ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใช้บรรเลงนี้ ย่อมต้องใช้วิชาช่างเข้าประกอบทั้งสิ้น จึงถือกันว่าการสร้างเครื่อง

ดนตรีขึ้นได้นี้ ก็ด้วยอำนาจแห่งพระวิศวกรรม ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการช่างได้บันดาลให้เป็นไปโดยถูกต้องตาม

ลักษณะ และบังเกิดเสียงขึ้นได้ หรืออาจถือว่าพระวิศวกรรมเป็นผู้สร้างเครื่องดนตรีขึ้นก่อน และประทานมาเป็น

แบบฉบับให้มนุษย์เราได้ใช้บรรเลงสืบต่อกันมา ฉะนั้นพระวิศวกรรมจึงเป็นเทพเจ้าแห่งดุริยางคดนตรีอีกองค

หนึ่ง ตามที่ปรากฏในโองการไหว้ครู

พระปรคนธรรพ นามที่แท้จริงว่า "พระนารท (นา-รด)" ซึ่งเป็นคนธรรพหรือพวกมีภูษณ (ผู้มีกำเนิด)

จำพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าพวกเทวดาก็ได้ เข้าพวกมนุษย์ก็ได้ เพราะมีทั้งที่อยู่บนสวรรค์ และอยู่โลกมนุษย์ หรืออีกนัย

หนึ่งว่ามีโลกต่างหากเรียกว่า"คนธรรพโลก" อยู่ระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ มีหน้าที่รักษาโสม ชำนาญในการ

ปรุงโอสถ เป็นหมอดูผู้รอบรู้กิจการทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทั้งยังเป็นผู้ชำนาญในการขับร้อง และดุริยางค

ดนตรี เป็นพนักงานขับร้อง และบรรเลงดนตรีขับกล่อมพระเป็นเจ้า และเทพยนิกร ผู้ที่เป็นครูผู้เฒ่าของการ

ขับร้อง และดนตรีนี้คือ "พระนารทมุนี" ซึ่งเป็นผู้คิดทำพิณขึ้นเป็นอันแรก จึงได้นามว่า "ปรคนธรรพ"

แปลว่ายอดของคนธรรพ บางทีก็เรียกว่า มหาคนธรรพ, เทพคนธรรพ, คนธรรพราช

พระนารทนี้เป็นพรหมฤาษี เป็นประชาบดี และเป็นตนหนึ่งในทศฤาษี (ประชาบดีทั้งสิบ หรือมหาฤาษี

ทั้งสิบ) นัยหนึ่งว่าเกิดจากพระนลาฏของพระพรหมา แต่คัมภีร์วิษณุปุราณะกล่าวว่าเป็นโอรสพระกัศยป

ประชาบดี ด้วยเหตุนี้พระนารทจึงถือเป็นเทพเจ้าแห่งดุริยางคดนตรีองค์หนึ่ง เรียกว่า "พระปรคนธรรพ"

พระปัญจสีขร ในภาษาบาลีเรียกว่า "ปัญจสิข" เดิมเป็นเด็กเลี้ยงโค มีผม ๕ แหยม ได้สร้างสิ่งที่เป็น

สาธารณะประโยชน์คือ ศาลา สระน้ำ ถนน และยานพาหนะ ได้เสียชีวิตลงตั้งแต่วัยหนุ่ม และไปบังเกิดเป็น

เทพบุตรในชั้นจาตุมหาราช ชื่อว่า "ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร" มี ๕ ยอด ร่างกายเป็นสีทอง มีกุณฑล ทรง

อาภรณ์ประดับด้วยนิลรัตน์ ทรงภูษาสีแดง มีความสามารถในเชิงดีดพิณ และขับลำนำ ตามสักกปัญหสูตร

กล่าวว่า เมื่อพระอินทร์จะไปทูลถามปัญหาพระพุทธเจ้า ซึ่งเสด็จประทับอยู่ ณ ถ้ำอินทสาลคูหาหว่างเขา

เวทิยกบรรพต กรุงราชคฤห์ ก็ต้องให้ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรเป็นผู้นำเข้าเฝ้าทูลขอโอกาสให้ก่อน เพราะ

"ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรเป็นพระพุทธอุปัฏฐากคุ้นเคยสนิทในพระพุทธบาทยุคล คิดจะทำอันใดก็ทำได้

แม้ถามปริศนาแล้วก็ฟังพระธรรมเทศนาเล่า อาจทำได้ดังนั้น ในขณะพระองค์ปรารถนา และไม่ปรารถนา

เทพยดาอื่นๆไม่คุ้นเคยเหมือนปัญจสิขคนธรรพนี้" ก่อนที่จะกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอประทานโอกาสแก่

พระอินทร์ในครั้งนั้น ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรได้ดีดพิณ และขับลำนำ พรรณนาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ

พระสังฆคุณ เป็นข้ออุปมาเปรียบด้วยกามคุณ ดังที่เคยขับประโลมนางสุริยวัจฉสา (ราชธิดาพระเจ้าติมพรุคน

ธรรพเทวราช) มาแล้ว การขับลำ และดีดพิณครั้งนี้ พระพุทธองค์ทรงชมเชยว่า "เสียงพิณ และเสียงขับแห่งท่าน

สัณหน่าฟังนัก กลมกล่อมกันไป ไม่แตกไม่แยกกันเลย เสียงพิณก็เข้ากับเสียงขับ เสียงขับกับเสียงพิณมีลีลาศอัน

ละมุนละม่อม เสมอสมานกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว" ครั้นเมื่อปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรสนทนากับพระพุทธองค์

ตามสมควรแล้ว จึงทูลขอประทานโอกาสให้แก่พระอินทร์ พระพุทธองค์ก็ทรงประทานพุทธานุญาตพระอินทร์

กับบริวารจึงได้เข้าเฝ้าทูลถามปัญหาตามประสงค์

เมื่อพระอินทร์ได้ทูลถามปัญหา และฟังพระธรรมเทศนาเสร็จแล้ว จึงมีเทวโองการว่า "ดูกรพ่อปัญจสิข

เทพบุตร เจ้ามีคุณูปการแก่เราครั้งนี้นักหนา ตัวเจ้านี้ยังสมเด็จพระผู้มีพระภาคให้เลื่อมใสก่อนแล้วเราจึงได้เข้ามา

ทัศนาการกราบถวายมนัสการ ให้ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเราต่อเมื่อภายหลัง เราจะตั้งเจ้าไว้ในที่อันเป็น

บิดา เจ้าจงเป็นสมเด็จพระเจ้าปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรราช เราประสาทซึ่งนางสุริยวัจฉสา อันเป็นนางเทวธิดา

ปรากฎให้เป็นมเหสีสำหรับยศแห่งท่าน" อันพิณของพระปัญจสีขร (ปัญจสิข) นี้ ตามบาลีแห่งพระสูตรนี้ว่ามี

พรรณเลื่อมเหลือง ดุจผลมะตูมสุกสะอาด ตระพองพิณนั้นแล้วด้วยทองทิพย์ธรรมดา คันนั้นแล้วด้วยแก้วอินทนิล

มณี มีสาย ๕๐ สาย แล้วด้วยเงินงาม เวทกะ (ลูกบิด) ที่สอดสายเสียบอยู่ปลายคันนั้นแล้วด้วยแก้วประพาฬดังนี้

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็เป็นข้ออ้างอันสมควรที่สุดที่จะยก "พระปัญจสีขร" เป็นเทพแห่งดุริยางคดนตรี

องค์หนึ่ง

เก่งที่สุด

ถ้ามีงานอะไรฝากบอกถึงครู ธีรชาติ ด้วยนะครับ

ว่าสามารถมาขอช่วยได้เสมอ

บาย

คุณเก่งมากคะ่

ครูธัญ อนุบาลมุกดาหาร

ดนตรีคืออะไร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท