ไม่ทราบชื่อ สาบแร้งสาบกา


ช่วงแนะนำดอกไม้ข้างบ้าน

 

 

ดอกนี้ ผมไม่ทราบชื่อจริงๆ

แต่เห็นว่าดอกสีสวยดี ที่บ้านมีแค่กระถางเดียว

เป็นดังนี้ครับ

 

 

.............................

 

ส่วนดอกนี้ เป็นดอกหญ้าเป็นพวกวัชพืช

วันนั้นตอนกำลังถือกรรไกรเตรียมจะตัดหญ้า

พอนั่งลงใกล้ๆ เห็นว่าดอกมันก็น่าสนใจเหมือนกัน

ก็เลย เดินขึ้นบ้านหยิบกล้อง

ถ้าจำไม่ผิด  สมัยเรียนจำได้ว่ามันชื่อ สาบแร้งสาบกา

ดังนี้เลย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 184554เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2008 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • ต้นแรกที่บ้านก็มีเหมือนกันค่ะ  มีแค่กระถางเดียว  แต่ไม่ทราบว่าชื่ออะไร ยังคิดว่าอยู่ในตระกูลว่านสี่ทิศ
  • ส่วนดอกหญ้าสีม่วง เพิ่งไปถ่ายรูปที่บุรีรัมย์มาค่ะ เห็นสวยดี แต่ก็ไม่รู้จักเช่นกัน
  • สวัสดีครับ
  • ภาพดอกไม้สวยงามมากครับ
  • แต่เอ...ไม่ทราบชื่อเหมือนกันครับ

ภาพบนเป็น บัวฝรั่งครับ บ้านผมมีสีที่นำมาเสนอนี้ แต่ผมเคยเห็นดอกสีเหลืองนะครับ สวย น่ารักมากครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Nynphaea spp. And hybrid
ชื่อวงศ์  NYMPHAEACEAE

 

ส่วน ดอกข้างล่างเป็นสาบเเร้งสาบกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ageratum conyzoides L.
ชื่อสามัญ T
ropical white weed, tropical ageratum,
billy goat weed


ตัวนี้จำได้แม่นในสมัยที่ผมทำ Thesis ปริญญาโท ผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับ "สมุนไพรชนเผ่า" สาบเเร้งสาบกาก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ จำได้ว่าใช้ห้ามเลือด

 

สวัสดีครับ

  • แวะมาทักทายครับ
  • มาดูดอกไม้
  • สวย มาก ครับ
  • แต่ไม่รู้ว่าดอกอะไรเหมือนกันครับ
  • ขอบคุณครับ

ที่บ้านก็มีเหมือนกัน แต่ไม่แน่ว่าเป็น"บัวสวรรค์"หรือ"บัว"อะไรซักอย่าง แต่ว่าปลูกง่าย ตายยากมาก มีหัวอยู่ในดิน ลืมรดน้ำพากันตาย พอฝนตกก็เกิดขึ้นมาใหม่ ดอกสวย

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

ตอนแรกผมยังคิดอยู่ว่า จะมีใครมีปลูกอยู่บ้างไหม ก็เลยนำมาให้ดูก่อนดีกว่า จะได้ถามด้วยว่าชื่อต้นอะไร อย่างน้อยวันนี้ได้รู้แล้วอย่างน้อยก็มีอาจารย์ลูกหว้าคนหนึ่งล่ะ ที่มี แม้จะยังไม่รู้จักชื่อ

ธรรมชาติ มีอะไรให้ค้นหาเยอะนะครับ สนุก สวยงาม ตื่นเต้น น่ากลัว แต่ว่ามันให้ความเป็นจริงดี การได้ท่องเที่ยวชมธรรมชาติ ผมถือว่าเป็นรางวัลชีวิตอย่างหนึ่ง แต่ถ้าการทำงานของเราไม่เอื้ออำนวยให้ทำอย่างนั้นได้บ่อยๆ  ผมว่าการได้อยู่บ้านในวันหยุด ชื่นชมต้นไม้ ดอกไม้ ที่เราปลูกเอาไว้ หาอะไรมานั่งทำที่ระเบียง หรือสวนข้างบ้าน ไม่ต้องออกไปไหนให้เปลืองน้ำมันรถ เปลืองตังค์ มันก็มีความสุขอีกแบบหนึ่ง  สุขแบบพอเพียง ยิ่งอาจารย์นำไปคำนวนค่าทางเศรษฐศาสตร์ดู  ผมว่าคงกำไรเยอะเลย อาจารย์ว่าไหมครับ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ

********************************

สวัสดีครับ

คุณสิงห์ป่าสัก

พักนี้ผมไม่ได้ไปเยี่ยมท่านเลย มัวแต่ยุ่งอยู่กับ 2-3 เรื่อง อันที่จริงผมทราบว่าที่บ้านท่านก็มีต้นไม้ ดอกไม้สวยๆเยอะเหมือนกัน ขอบคุณมากครับ ที่แวะมาทักทาย *******************************

อาจารย์ จตุพร

สวัสดีครับ และต้องขอบคุณมากที่มาช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนที่ผมขาดหายไป ทำให้สมบูรณ์ขึ้นมาเลย ทั้งชื่อไทย ชื่อวงศ์ ชื่อวิทย์ ผมเที่ยวถามใครต่อใครอยู่ตั้งนานยังไม่มีใครรู้จักชื่อสักที ที่แท้ก็เป็น บัวฝรั่ง ต้นนี้นี่เอง รวมทั้ง สาบแร้งสาบกา นั่นด้วย

บัวฝรั่งสีเหลืองคงสวยน่าดู เห็นพี่อยู่ทำงานด้วยกันกับผมเขาบอกว่ามันยังมีสีขาวอีกหนึ่งสี แต่ผมยังไม่เคยเห็นเลย

ขอบคุณอีกครั้งครับ

**********************************

อ.นงเยาว์ สวัสดีครับผม

ถึงตอนนี้ท่านก็เป็นคนที่ 3 แล้ว ที่มีต้นบัวฝรั่ง  นอกจาก อ.ลูกหว้า และอ.จตุพร  อย่าลืมนะครับ ที่บอกว่าจะเอาดอกไม้ที่บ้านมาอวดบ้าง อยากจะชมนะครับ  ขอบคุณครับ

**************************

สวัสดีครับคุณครูโย่ง

วิเศษมาก ที่ครูโย่งมาเยี่ยมชมดอกไม้บ้านผม ผมชอบมากเลย

ผมว่าดอกไม้ก็มีลีลาหลากหลายเป็นแบบเฉพาะตนเอง ไม่แพ้ดนตรีเหมือนกันนะครับ

ขอบคุณมากที่มาดู

**************************

น.ส. จิราภรณ์ เด็ชพุฒ

สาบแร้งสาบกาสามารถสะกัดสารสารออกซินได้คะ

สวัสดีครับคุณจิราภรณ์ เด็ชพุฒ

  • ขอบคุณนะครับที่ช่วยแนะนำเพิ่มเติมให้เกี่ยวกับสาร ออกซิน
  • ก็พอจะทราบอยู่บ้างว่ามันมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการการเจริญเติบโตให้กับพืชซึ่งจะมีมากอยู่ตรงส่วนยอดหรือหน่อของพืช และขณะเดียวกันก็ควบคุมการเจริญในบางส่วนของพืชด้วยหากมีปริมาณที่ไม่เหมาะสม  เท่าที่รู้จักกันทั่วไปก็จะมาในรูปของฮอร์โมน  และบางครั้งใช้เป็นยากำจัดวัชพืช
  • ซึ่งหากท่านใดที่อ่านถึงตรงนี้แล้ว สนใจรายละเอียดเรื่อง auxins ก็ขอแนะนำให้เข้าไปอ่านที่ ลิงค์นี้

 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

  • แต่ถ้าเป็นเรื่องการสกัดสาร หรือแยกสารอะไรอย่างที่ว่าโดยกรรมวิธีต่างๆ ผมต้องยกธงขาวก่อนเลย  ไม่เก่งเรื่องนี้เลยครับ
  • หากคุณจิราภรณ์ จะช่วยเพิ่มเติมไว้ในบันนี้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งนะครับ
  • ขอบคุณล่วงหน้าไว้ ณ โอกาสนี้

สวัสดีค่ะ บัวสวรรค์สวยจังค่ะ...

ดอกต่อมาที่บ้านเรียกดอก สาบเสือ....ค่ะ

 

สวัสดีครับ คุณ

P แดง

ไม่ได้ไปทักทานท่านนานแล้ว ช่วงนี้ผมไม่ค่อยได้เข้ามา มัวแต่ยุ่งอยู่กับงานพอกลับถึงบ้านก็เหนื่อย เลยนอนดูทีวีเสียส่วนใหญ่

ดอกต่อมา ที่เรียกว่าสาบเสือ อันที่จริง เป็น สาบแร้งสาบกา ครับ 

2 สาบนี้มีบางอย่างที่คล้ายๆกันที่ชัดๆเลยคือดอก  แต่อันที่จริงมีหลายอย่างที่ต่างอยู่พอสมควร เช่น ลักษณะใบ ขนที่ใบสาบเสือก็จะดูว่าสั้นกว่า และหากขยี้ใบดมกลิ่นยิ่งเห็นความต่างของทั้ง2 และคิดว่ากลิ่นสาบนี่เองที่ทำให้เรียกชื่อต่างกันออกไป

ส่วนสาบเสือที่บ้านผมเรียก เมืองฮ่าง  เลาฮ่าง ลำฮ่าง

ขอบคุณที่ยังคิดถึงครับ

พูดถึงสาบแร้งสาบกา มีพืชที่มีลักษณะดอกและใบคล้ายกันมาก เพราะอยู่ในสกุลเดียวกัน คือ Family: Asteraceae/Compositae (aster/daisy Family จะต่างกันที่รูปลักษณ์ของใบ ขน สีของต้น นั่นก็คือ วัชชพืชทีมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Conoclinium coelestinum(L.) DC มีชื่อสามัญว่าว่า mistflower, blue mistflower, wild ageratum, pink eupatorium, hardy ageratum, blue boneset

ต้นจะเตี้ยกว่าต้นสาบหมา(สูงประมาณ 30-90 ซ.ม) บางคนเรียกวัชชพืชชนิดนี้ว่า สาบแมวบ้าง หญ้าดอกม่วงบ้าง ในรูป ผมว่าน่าจะเป็น Conoclinium coelestinum(L.) DC ที่มีชื่อสามัญว่าว่า mistflower, blue mistflower, wild ageratum, ชื่อไทยผมสับสนจริงๆ แต่ละที่ เรียกเหมือนกัน แต่เมื่อดูต้น เห็นดอกจริงๆ กลับไม่ใช่ต้นเดียวกัน

สวัสดีครับคุณสามสัก

ขอบคุณมากครับที่ท่านมาช่วยเพิ่มเติมข้อมูลให้

เริ่มแรกเลยก็เพื่อจะนำเสนอในมุมมองด้านความสวยงามของดอกไม้ แบบสบายๆตามแนวคิดของบล็อก จึงไม่ได้เน้นถ่ายรายละเอียดส่วนอื่นของต้นมากนัก แต่ด้วยภูมิรู้เดิมก็เข้าใจว่าเป็นดอกของสาบแร้งสาบกา ซึ่งเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง

ต่อมาก็มี อ.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร มาช่วยเพิ่มเติมชื่อวิทย์ ชื่อสามัญให้

พอมาวันนี้เห็นคุณสามสักบอกว่าพืชสกุลนี้ (Asteraceae หรือ Compositae)มีหลายชนิดแต่มีลักษณะคล้ายกันมาก ได้อ่านความเห็นแล้ว ผมจึงไปสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ คือหลายชนิดที่มีลักษณะดอกคล้ายกันมาก หากดูเฉพาะภาพถ่ายส่วนของดอกอย่างเดียวแยกลำบากเหมือนกัน ครับ

..................... ผมไปเห็นบทความหนึ่งชื่อ "วัชพืช สาบม่วง ระบาดที่จังหวัดมหาสารคาม" ที่คณะทำงานแก้ไขปัญหาวัชพืชระบาดในแปลงพืชอาหารสัตว์ ร่วมกับคณะนักวิจัยของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ไปตรวจวัชพืชในแปลงพร้อมถ่ายภาพมาลงด้วย ผมดูจากภาพถ่ายแล้วต้นและใบเหมือนกันมากกับต้นที่ผมนำมาเสนอในบันทึกนี้ แต่ในบทความดังกล่าวให้ชื่อว่า สาบม่วง เพราะเห็นว่าดอกมีสีม่วงและก็แตกต่างจากสาบแร้งสาบกา โดยระบุชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Praxelis clematidea  อยู่ในวงศ์ Asteraceae

...........ในขณะเดียวกันผมก็ไปพบข้อมูลชื่อว่า มาตรฐานทางเภสัชเวทของสาบแร้งสาบกาเพื่อพัฒนาเภสัชตารับในทางการแพทย์  

โดย2 ท่านคือ สมพร ภูติยานันต์ และ วรรณนรี เจริญทรัพย์ เขียนบทคัดย่อพร้อมภาพประกอบไว้ ผมดูแล้วก็เหมือนกันมากเลยกับ สาบม่วง ที่ว่าแต่ในนี้ระบุว่าเป็น สาบแร้งสาบกา มีชื่อพฤกษศาสตร์ Ageratum conyzodides L. วงศ์ Compositae 

..........ดังนั้นเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณสามสักที่ว่าแยกลำบากมาก เพราะคล้ายกันจริงๆ

และนอกจากนั้น วันนี้ผมยังไปเก็บภาพพืชสกุล Asteraceae มาลงให้ชมเพิ่มอีกครับ

เพื่อผู้อ่านจะได้ถือโอกาสทำความรู้จักและคุ้นเคยมากขึ้น

1. ภาพแรกนี้เป็นต้นชนิดเดียวกันและที่เดียวกันกับดอกข้างบนที่ได้นำมาลงเสนอครั้งแรกโดยผมให้ชื่อว่า สาบแร้งสาบกา และต่อมา อาจจะต้องเรียกว่า สาบม่วง ซึ่งหากเรียกสาบม่วงก็ต้องให้ข้อมูลใหม่ว่า

ชื่อวิทยาศาสตร์  Praxelis clematidea  จัดอยู่ในวงศ์ Asteraceae

.................................................................

2.ภาพชุดที่ 2 นี้ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียก สาบแร้งสาบกา หรือสาบหมา

เพราะถึงตอนนี้แล้วไม่ค่อยมีความมั่นใจเลย เอาเป็นว่าชมภาพเลยครับ มีมาทั้งต้นทั้งดอกเลย

2.1 ต้น

 2.2 ดอก

2.3 ใบและดอก

.......................................

3. ภาพชุดที่3 มั่นใจมากว่าเป็น  สาบเสือ  แน่นอน

ชื่อสามัญ     siam weed ,bitter bush

ชื่อวิทยาศาสตร์  Eupatorium odoratum L. 

วงศ์   compositae or Asteraceae

3.1 ต้น ใบ

3.2 ดอก

 

:no-war

 

ดอกแรกคือ บัวดินค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท