การอบรมวิทยฐานะเชี่ยวชาญ กับ เศรษฐกิจพอเพียง


ความสุขแบบครอบครัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง

            พออ่านหัวข้อเรื่อง อาจจะมีข้อขัดแย้งในใจว่ามันไปเกี่ยวเนื่องกันได้อย่างไร ....แต่ที่แน่ๆ ก็ตอนที่ผมเข้ารับการอบรมเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ มีข้อคำถามหนึ่งให้ตอบเพื่อผ่านด่านสะสมคะแนนว่า เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับท่านหมายความว่าอย่างไร และท่านได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างที่ท่านคิดว่าสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือสร้างความพอเพียงให้เกิดกับตนเอง ครอบครัว สังคม
             เจอคำถามนี้เลยต้องนั่งสงบจิต พิจารณาลึก นึกคำพระ ( เข้ายานครับ เพราะผมไม่ค่อยเคร่งเท่าไร ) และและก็ ปิ๊งแว๊บ (ตามแบบปรามาจารณ์ เค เอม ) ก็เลยเขียนตอบไป ดังนี้ ( กรุณาอ่านแบบวิชาการ ผสานธรรมะ )
              เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การใช้ทรัพย์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่า ค้นคว้าเพิ่มทรัพย์ และมีความสุขในการใช้ทรัพย์รักษาทรัพย์
 *ทรัพย์ คือสิ่งของ ทั้งรูปธรรม และนามธรรม เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดว่ามีคุณค่า
             เมื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงครอบครัวให้เป็นสุข จึงขยายความได้คือ
            ๑ ใช้ทรัพย์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่า  เป็นการนำทรัพย์สมบัติ สิ่งของและปัญญาความรู้ที่มีอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีวิต รู้จักการคิด วางแผนชีวิต ตัดสินใจในการเลือกใช้ทรัพย์ หากเป็นสิ่งของต้องพิจารณาความคุ้มค่า ความคุ้มทุน  สิ่งของที่มีอยู่ใช้ให้เกิดประโยน์สูงสุดแล้วหรือยัง จะมีที่ดัดแปลงให้เกิดประโยชน์เพิ่มตามที่เราต้องการได้หรือไม่ หากจำเป็นต้องหาเพิ่มให้เปรียบเทียบความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และประโยชน์อันยั่งยืนคุ้มทุน มีสติปัญญาในการคิดวิเคราะห์ สร้างบุคคลในครอบครัวให้มีเจตคติที่ดีในการใช้รักษาทรัพย์
           ๒ ค้นคว้า เพิ่มทรัพย์ เป็นการเริ่มต้นโดยพัฒนาเจตคติในการใช้ชีวิตของครอบครัว ให้มีความตระหนักในการดำรงชีวิตที่มีความสุข สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ลดความกังวลให้หมดไปให้มีความสุขต่อสภาวะครอบครับ โดยการร่วมใจสร้าง แสวงหา สะสม และใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นในการค้นคว้าเพิ่มทรัพย์ของเรารวมทั้งไม่ผิดศิลธรรมอันดี ไม่ขัดกับกฏหมายบ้านเมือง ดังนี้ความรุ่งเรืองแห่งทรัพย์จะปรากฏแก่ตนและครอบครัวและมีปัญญาเพิ่มพูนเป็นทวีคูณ
          ๓ มีความสุขในการใช้ทรัพย์และรักษาทรัพย์ เป็นการใช้สติ ความรอบครอบในการคิด ทำ การหารายได้ การใช้จ่าย การเห็นคุณค่าแห่งการประหยัดอดออม การวางแผนที่ดีในการหา เก็บรักษาทรัพย์ให้มีความยั่งยืน ทั้งนี้ต้องระวังรักษาทั้งทรัพย์สินและทรัพย์ทางปัญญาควบคู่กันไปด้วย เมื่อรู้เท่าทันแห่งทรัพย์แล้วก็จะบังเกิดความสุขใจ ที่ไม่อาจหาได้จากการใช้เงินซื้อ
        และแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงกับวิทยฐานะ ก็เอวัง ลงด้วยประการฉะนี้แล.............

หมายเลขบันทึก: 184400เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2008 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การใช้ทรัพย์แต่ละครั้ง ของแต่ละคน เขาก็คิดว่าคุ้มค่าแล้วทั้งนั้นแหละ แต่อีกคนอาจคิดว่าไม่ แล้วด้วยเวลาที่จำกัด การใช้ทรัพย์อย่างไม่พอเพียงในการขอเลื่อนวิทยฐานะก็เกิดขึ้น

  • ความพอเพียงเพียงพอของแต่ละบุคคลย่อมไม่เท่าเทียมกัน
  • ครูอ้อยไม่พอเพียงกับน้ำชาในถ้วยเสมอค่ะ อาจารย์
  • เล่าเรื่อง วิทยฐานะเชี่ยวชาญบ่อยๆนะคะ  ขอบคุณค่ะ

ความพอเพียง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของครูไข่ จะขึ้นอยู่กับความมีเหตุผล และ

ความพอเพียงในการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล บางคนมีน้อยใช้น้อย บางคนมีมากใช้มาก ก็ถือว่าเป็นความพอเพียงได้เช่นกัน เมื่อมีความพอเพียงแล้วสิ่งที่จะลืมไม่ได้ก้คือ การช่วยเหลือสังคมด้วยนะคะ

ขอบคุณ ครูnongyao ครูอ้อยเจ้าแม่การสอนอังกฤษ ครูไข่เงินทองของมีค่า

ที่กรุณาให้ข้อคิด เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยพอเพียง จำต้องหาค่าตอบแทนครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท