ก้าวแรก...เริ่มนับหนึ่ง...ประสบการณ์การทำ Focus group….


ความรู้...คู่กับการปฏิบัติ

ก้าวแรก...เริ่มนับหนึ่ง...ของประสบการณ์การทำ Focus group ของห้องปฏิบัติการอิมมูโนวิทยา...เริ่มแล้ว  หลังจากที่ได้รับความกรุณาจากอาจารย์และผู้มีประสบการณ์จาก G2K หลายท่านที่เมตตาชี้แนะวิธีการและการเตรียมตัวว่าควรจะทำอย่างไรบ้าง ทำให้ผู้เขียนได้ความรู้และประสบการณ์อย่างมาก ในการเตรียมความพร้อมในการสนทนากลุ่ม

ยอมรับว่ามีความตื่นเต้นมาก แต่ก็พยายามซักซ้อมวิธีการพูดการดำเนินการพร้อมทั้งเนื้อหาที่จะนำเสนอ ข้อมูลต้องแม่นยำ และกะทัดรัด เนื่องจากกำหนดเวลาไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงสำหรับมือใหม่ในการเริ่มประเด็นที่เตรียมไว้

การค้นหาประเด็นที่ใช้ทำสนทนากลุ่ม (Focus group)

1.      ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสภาพการจัดการความรู้ของห้องปฏิบัติการกลุ่มงานพยาธิคลินิก

2.      นำข้อมูลที่ได้มาแยกประเด็น เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อน ของแต่ละงานในกลุ่มงาน

3.      เนื่องจากเลือกทำสนทนากลุ่มในหัวข้อที่เป็นจุดอ่อนหรือปัญหาที่พบจากการสำรวจสภาพการจัดการความรู้ เพื่อจะได้นำมาพัฒนางาน

การเตรียมเนื้อหานั้นใช้ 360 องศา ในการเตรียมหัวข้อหรือประเด็น

1.      โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยละเอียด ทุกด้าน ทุกประเด็น

2.      ไม่มองข้ามความคิดเห็นหรือมุมมองที่ได้จากแบบสอบถาม

3.      เตรียมหาของที่ระลึก อาหารว่าง (แรงจูงใจเล็กน้อย)

4.      นัดวันที่พร้อมเพื่อทำกิจกรรม เพื่อให้ได้ความคิดเห็นจากทุกคน(ให้ความสำคัญทุกความคิดเห็นของทุกระดับในงาน)

 

                                     เมื่อเริ่มขึ้นเวทีจริง

         ต้องขอบคุณเพื่อนร่วมงานอิมมูโนวิทยาทุกท่านที่ให้โอกาสผู้เขียนได้แสดงความสามารถในการทำกิจกรรมนี้ ซึ่งผู้เขียนเปิดประเด็นโดยบอกถึงวัตถุประสงค์ที่ทำกิจกรรมนี้และประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำ ซึ่งบรรยากาศเริ่มขึ้นเป็นไปด้วยดีทีเดียว มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่พบจากการสำรวจข้อมูลการจัดการความรู้ของกลุ่มงาน ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าสนใจมาก อยากให้พันธมิตร G2K ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับข้อมูลที่ได้ ว่าเหมือนกับหน่วยงานของท่านหรือประสบการณ์ในการแก้ไขในประเด็นที่เราพบว่าเป็นจุดอ่อนในงาน เพื่อจะได้นำข้อมูลที่พันธมิตร G2K แนะนำมาพิจารณาปรับใช้ในการพัฒนาในการสนทนากลุ่มในครั้งต่อไป เป็นการต่อยอดในสิ่งที่ทำไปแล้ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก

ผลการสำรวจสภาพการจัดการความรู้ในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานพยาธิคลินิกโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้(KM Process) และพบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจคือ พบว่ามีการจัดการความรู้ระดับปานกลาง

จุดแข็งที่พบมี 4 ด้าน คือ ด้านการค้นหาความรู้ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ด้านการเรียนรู้

จุดอ่อนที่พบมี 3 ด้าน คือ ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกงานพบว่ามีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้น้อยและการเข้าถึงความรู้ เข้าถึงยาก ไม่สะดวก ช้า และพบว่าสิ่งที่คาดไม่ถึงคือมีการใช้ห้องสมุดน้อยมากๆ ปัญหานี้คงต้องหาประเด็นว่าทำไมคนถึงไม่ยอมใช้ห้องสมุดสาเหตุเพราะอะไร?

 

สำหรับงานอิมมูโนวิทยา ซึ่งเป็นห้องแรกที่ให้โอกาสทำสนทนากลุ่มนั้น เริ่มต้นได้นำข้อมูลของกลุ่มงานมาเล่าให้ฟังแล้วนำผลการสำรวจสภาพการจัดการความรู้ของงาน ซึ่งพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง และมีจุดแข็งคือ

1. การให้ความสำคัญต่อการเพิ่มเติมความรู้และพัฒนาของบุคลากร

2. เครื่องมือของห้องปฏิบัติการที่ดูแลมีคู่มือการใช้งานสำหรับเครื่องนั้นๆ

3. บุคลากรสามารถบอกได้ว่างานที่ทำอยู่นั้น มีส่วนทำให้องค์กรบรรลุ

    พันธกิจที่กำหนด

          4. มีการแจ้งข่าวสารหรือหนังสือเวียนให้ทราบในงาน

          5. บุคลากรมีความมั่นใจในความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและ

               สามารถแนะนำคนอื่นได้

          6. บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้

          7. งานมีบรรยากาศที่เอื้อเฟื้อต่อการเรียนรู้

          8. บุคลากรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและมีโอกาสแสดงความคิดเห็น

          9. มีการหมุนเวียนในงาน

          10. การเรียนรู้เป็นความรับผิดชอบของทุกคน

          11. มีการบันทึกปัญหาและนำมาแก้ไข

          12. เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาร่วมกัน

          13. สนับสนุนและให้ความสำคัญของการเรียนรู้

          14. ให้คำแนะนำคนไข้ที่มารับบริการได้

          15. ส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานเพื่อให้เกิดองค์ความรู้

                ใหม่ๆ

จุดอ่อนที่สำคัญมี 2 ด้านคือด้านการค้นหาความรู้และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

1.      งบประมาณเป็นปัญหาสำคัญ ทำให้อุปกรณ์ IT มีไม่เพียงพอ และการอบรมการใช้งานไม่ทั่วถึง ทำให้บุคลากรขาดทักษะการใช้ IT

2.      หาความรู้ที่ต้องการไม่ได้ ไม่มีแผนที่ความรู้

3.      เวทีการแสดงออกด้านวิชาการทุกระดับ

4.      การเผยแพร่ความรู้รูปแบบต่างๆ (web ,blog,ฯ)

5.      การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการประชุมมาเล่าสู่กันฟัง

6.      ดูงานLab อื่นเพื่อปรับปรุงพัฒนา

7.      ขาดการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ประยุกต์ใช้กับงาน

8.      ฐานข้อมูลมีน้อย เข้าถึงยาก

9.      จัดให้มีการนำเสนอความรู้ที่ไปประชุมมาเล่าสู่เพื่อนในงานที่ไม่ได้ไปได้ทราบและประโยชน์ที่ได้รับ

10.  ขาดการแบ่งปันความรู้

11.  จัดให้มีการประชุมในงานอาทิตย์ละครั้งเพื่อ up date ความรู้ใหม่ๆ

12.  การนำความรู้จากผู้ปฏิบัติทุกระดับมารวบรวมและทำเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอ

 

สิ่งที่พบหลังจากการทำสนทนากลุ่ม ในงานอิมมูโนวิทยา

จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยกันเพื่อหาทางแก้จุดอ่อนในงาน

1.      ได้ถามสมาชิกว่า มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับจุดอ่อนที่พบและมีแนวทางในการพัฒนาในจุดที่ตนเองรับผิดชอบอย่างไร พบว่าได้มุมมองมากมายในการช่วยกันแก้ปัญหา มีการกระตือรือร้นมากในการที่จะช่วยกันพัฒนาจุดที่เราค้นพบจากแบบสำรวจ

2.      โชคดีที่บรรยากาศเป็นกันเอง เลยทำให้มือใหม่ไม่ตื่นเวทีมากนัก การรู้จักและคุ้นเคยกันทำให้มีการเปิดใจถึงประเด็นในการที่จะพัฒนางาน พยายามโยนประเด็นของปัญหากับทุกคน ทุกระดับ แล้วนำมาจัดกลุ่มของความคิดเห็น เพื่อที่จะนำมาช่วยกันวิเคราะห์เพื่อหา key word ในการนำไปสร้างโมเดล สำหรับงานอิมมูโนวิทยาและทำแผนการพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย(ต่อไป)และนำโมเดลที่ได้จากการร่วมกันออกความคิดเห็นมาทดลองใช้ เพื่อพัฒนาเป็นโมเดลต้นแบบของห้องปฏิบัติการต่อไป

3.      ทำให้เห็นความคิดของเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นความคิดในเชิงบวก ช่วยกันขจัดความคิดเชิงลบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากๆ หัวหน้างาน(คุณอารีย์ ประสิทธิพยงค์)มีส่วนทำให้บรรยากาศแห่งการเรียนรู้และพัฒนาอย่างมากและกระตุ้นให้ลูกน้องมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้

4.      ได้ค้นพบโครงการใหม่ๆในการทำงานร่วมกันและเป็นสิ่งที่ทุกคนร่วมกันคิดและเป็นเจ้าของร่วมกันซึ่งดีมากๆ

5.      สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การยอมที่จะพัฒนาตัวเองของคนในงาน ซึ่งก่อนหน้านี้มันเหมือนมีกำแพงแก้วบางๆกั้นไว้ เมื่อทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดตัดสินใจร่วมกัน ทำให้กำแพงโดนทำลายอย่างสิ้นเชิง

ปัญหาและอุปสรรค์ที่พบ

1.      การเป็นมือใหม่ในการทำ ซึ่งยังไม่มีประสบการณ์เพื่อให้ได้ประเด็นที่ต้องการนั้น ลูกล่อลูกชนไม่ค่อยมี มีแต่ความตั้งใจและจริงใจในการทำงาน ทำให้ความมั่นใจยังไม่มากพอคงต้องฝึกฝนและพยายามต่อไป

2.      ตอนแรกคิดว่าจะนำคนนอกมาเป็นผู้ดำเนินการ นั้นก็กลัวว่าคนนอกไม่รู้เรื่องของงาน(เฉพาะด้าน)เท่าคนในงาน และการทำจำนวนคนก็ไม่มาก(5-6 คน)และก็คนกันเอง ถ้าเป็นคนนอกที่เชิญมา บรรยากาศมันเป็นทางการมากไป การกล้าแสดงความคิดเห็นคงไม่มากนัก(อาจไม่กล้าพูด) ข้อมูลที่ได้อาจคลาดเคลื่อนไม่จริงมากนัก ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่มือใหม่ลุยเอง

3.      การมีของที่ระลึกหลังกิจกรรม เป็นการสร้างแรงจูงใจทีดีมากๆ แต่ต้องใช้งบประมาณตนเอง...

 

สิ่งที่ได้จาก ก้าวแรก..เริ่มนับหนึ่ง..ประสบการณ์การทำ Focus group…

1.      มุมมองของความคิดเห็นที่หลากหลาย ความคิดเรื่องโปรเจ็กใหม่ๆในการพัฒนางาน

2.      การเคารพในความคิดเห็นและเปิดทางให้แก้ปัญหาร่วมกัน

3.      ทำให้งานเห็นถึงความสำคัญของการทำงานเป็นทีม

4.      หาจุดยืนของงานตัวเองพบ

อยากขอคำแนะนำท่านซึ่งเป็นกัลยาณมิตร G2K ทุกท่านได้ให้คำชี้แนะว่า ยังมีส่วนไหนต้องแก้ไขบ้างเพราะจะได้นำไปพัฒนา เพื่อจะได้แก้มือใหม่ในคราวต่อไปที่จะมาถึงค่ะ เนื่องจากสถาบันฯกำลังเริ่มทำKMซึ่งยังไม่ก้าวหน้ามากนัก เมื่อมาเรียน KM ผู้เขียนเริ่มทำจากจุดเล็กๆคืองานของเราก่อน เพื่อหาทางพัฒนางานแก้ปัญหาและค่อยๆขยายแนวร่วมในการทำให้กว้างขึ้น

ถ้าพบว่าสิ่งไหนที่มากเกินกำลัง ก็จะลองนำเสนอปัญหาและความสำคัญให้ผู้บริหารพิจารณา การทำ KM เพื่อKM เป็นเป้าหมายแรกที่เข้ามาเรียน KM จุดประสงค์ของการเรียนเพื่อนำ KMมาพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กรและอยู่ได้ในสังคมแห่งการแข่งขันยุคปัจจบัน

                     ……ถ้าไม่เริ่มนับหนึ่ง...ก็คงไปไม่ถึงฝัน....

                     ......คงจะมีสักวัน.....ที่ปลายฝัน..มี KM ในงานเรา....

                             .......ความรู้......คู่การปฏิบัติ....

 

หมายเลขบันทึก: 184181เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2008 02:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับคุณผึ้งงาน

  • เป็นกำลังในการทำงานต่อไปครับ
  • ในภาครัฐมักจะประสบปัญหาคล้ายๆกันคือขาดแคลนงบประมาณในการสนับสนุน ทั้งด้านการพัฒนาบุคลาการด้านการอบรมหรืออุปกรณ์ IT ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนความรู้
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอีกปัญหาหนึ่งซึ่งยังมีการกั๊กความรู้ กลัวหมดความสำคัญ ต้องสร้างทัศนคติใหม่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้องช่วยกันครับ
  • พยายามต่อไปนะครับ.

สวัสดีค่ะคุณประจักษ์

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจค่ะ.

 

สวัสดีค่ะคุณสุรสิทธิ์

  • ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ.
  • การพัฒนาบุคลากรและเรื่องITมีส่วนจำเป็นจริงๆในการเป็นตัวขับเคลื่อน ในการแลกเปลี่ยนความรู้
  • ขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้ค่ะ.
  • แวะมาแสดงความยินดีด้วยครับ กับการเริ่มต้น
  • ถ้าไม่มีก้าวแรก ย่อมไม่มีก้าวที่สอง สาม สี่....ต่อไป

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ panda

  • รู้สึกดีใจมากค่ะที่ท่านอาจารย์แวะมาให้กำลังใจ
  • จะพยายามทำให้เต็มที่ค่ะ
  • พรุ่งนี้จะต้องเริ่ม..ก้าวที่สอง..คือห้องจุลทรรศน์วิทยาค่ะ..
  • ขอบคุณท่านที่ทำให้เกิดก้าวต่อไปค่ะ.

·       วันนี้ตั้งใจจะทำสนทนากลุ่มที่ 2 ปรากฏว่าบางคนติดภารกิจอยู่กันไม่ครบจำนวน จึงเลื่อนเป็นวันถัดไป

·       อุปสรรค์อีกอย่างคือเนื่องจากต้องการได้ความคิดเห็นของทุกคนในงาน จึงได้จัดกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการมากนัก(ที่ห้องพักปฏิบัติงาน) ทำให้เวลาที่กำลังทำกิจกรรมอยู่ ก็มักจะถูกขัดจังหวะจากผู้มารับบริการ หนึ่งในกลุ่มที่รับผิดชอบก็ต้องไปให้บริการแล้วจึงมาร่วมกิจกรรมต่อ ทำให้เกิดการขาดช่วงไปบ้าง. 
            

                 ....... ช่วยกันแสดงความคิดเห็น......

      

                    .......ผ่อนคลาย...สมานฉันท์.......

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาเยี่ยมเยียน
  • เยี่ยมมากเลยครับ

สวัสดีค่ะคุณสิงห์ป่าสัก

  • ดีใจมากๆ ที่อาจารย์ให้เกียรติมาเยี่ยมค่ะ.
  • และให้กำลังใจมือใหม่..ตั้งแต่ก้าวแรก..ที่นับหนึ่งค่ะ.
  • ขอบพระคุณค่ะ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท