ข่าวดี : เมื่อเช้านี้ (9 มีนาคม 2549) เวลาประมาณ 9 โมงเศษ ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างแห่งประเทศไทย อ.เสวก พ่วงปาน โทรมาจากอุตรดิตถ์ บอกว่า "เนสท์เล่ อนุมัติถังบรรจุน้ำผึ้ง จำนวน 970 ถัง (100% ของที่ขอไป)"
ขยายความ ความหวังของกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งก็คือ การขายน้ำผึ้งลำไยให้กับบริษัทเนสท์เล่ เนื่องจากให้ราคาที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งปีที่แล้วสมาชิกในกลุ่ม ได้รายละไม่กี่ถัง คำว่า "ถัง" หมายถึง ถึงขนาด 200 ลิตร ซึ่งเมื่อบรรจุน้ำผึ้งความชื้น 21 % จะได้น้ำผึ้งหนัก 275 กิโลกรัม (ชั่งเป็นน้ำหนักจะยุติธรรมกว่าตวงเป็นปริมาตร) ซึ่งหมายความว่าปีนี้ กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างแห่งประเทศไทยกับกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งอุตรดิตถ์ จะส่งน้ำผึ้งให้บริษัทเนสท์เล่ได้ประมาณ 267 ตัน หรือ 270,000 กิโลกรัม ซึ่งเทียบกันไม่ได้กับปีที่แล้ว ผลพวงน่าจะมาจากการจัดการกลุ่มที่มีระบบมากยิ่งขึ้น (ใช้หลักการของ KM เข้าไปช่วยจัดการ) สำหรับปีนี้ผู้เลี่ยงผึ้งของกลุ่มแต่ละคนก็จะขายน้ำผึ้งได้เงินหลักแสนกันถ้วนหน้า (มีคนสมหวัง ก็ต้องมีคนผิดหวังบ้างเป็นธรรมดา)
หมายเหตุ : วันที่ 10 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 15.30 น. อ.เสวกได้โทรมาบอกว่า เนสท์เล่จำเป็นต้องเสียคำพูด อนุมัติถังให้กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างแห่งประเทศไทยเหลือเพียง 70 ถึงเท่านั้นครับ...ปวดหัว
ข่าวไม่ดี : เมื่อวานราคาน้ำตาลทรายในประเทศขยับขึ้นราคา ราคาควบคุมมาอยู่ที่ 17.50-18.50 บาทต่อกิโลกรัม หมายความว่า ผู้เลี้ยงผึ้งซึ่งแม้จะซื้อน้ำตาลราคาถูกอยู่แล้ว ก็จะต้องควักกระเป๋าเงินจ่ายเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 3 บาท นอกจากนั้นน้ำมันดีเซลยังขยับราคาอีก 40 สตางค์ รวมความแล้ว ผลผลิตน้ำผึ้งแต่ละกิโลกรัมของปีที่แล้วซึ่งต้นทุนการผลิตอยู่ที่กิโลกรัมละ 42 บาท จะต้องเพิ่มไปเป็นประมาณ 45 บาท ครับ แต่ผลพวงเหล่านี้จะไม่กระทบกระเทือนผู้บริโภคเท่าไหร่ เพราะน้ำผึ้งราคาขายปลีกคงยังไม่กล้าขยับขึ้นราคา ครับ..
ขยายความ อ.หมอวัลลภ ถามมาว่า (ตรงแถบสี) เอาน้ำตาลไปทำอะไรในกระบวนการเลี้ยงผึ้ง น้ำตาลทราย (Sucrose) ใช้หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวน้ำผึ้ง คือ พอเราเอาน้ำผึ้งออกจากรังผึ้ง เช่น เอาน้ำผึ้งลำไยออกจากรังผึ้งในเดือนมีนาคมต่อเดือนเมษายน ผึ้งในรังก็จะอยู่ไม่ได้เพราะคนเลี้ยงผึ้งเอาน้ำหวานที่เขาจะสะสมไว้กินในรังทั้งปี ออกไปหมดแล้ว คราวนี้เราก็ต้องเสริมน้ำตาลให้เขาเพื่อให้เขาอยู่รอดไปถึงฤดูกาลเก็บน้ำผึ้งรอบใหม่ ครับ
ขอให้เข้าใจว่า น้ำผึ้งเป็นน้ำหวานจากดอกไม้ที่ผ่านกระบวนการบ่มให้เป็นน้ำผึ้งสุกในรังผึ้ง เป็นของธรรมชาติ แม้จะเป็นผึ้งเลี้ยงแต่น้ำผึ้งในรังก็เป็นของธรรมชาติ 100 % ไม่มีการใส่น้ำตาลทราย ลงไปในกระบวนการเก็บน้ำผึ้งครับ (สำหรับผู้ที่มีความซื่อสัตย์/จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ)
Note : จ่ายเงินค่าถัง 11 มีนาคม รับถัง 14 มีนาคม 2549
ขอบคุณอ.หมอวัลลภมากครับที่กรุณาถามคำถามนี้เข้ามา เพราะอาจจะทำให้มีความเข้าใจคลาดเดลื่อนได้ครับ ผมได้แทรกข้อสงสัยไว้ในบันทึกเรียบร้อยแล้วครับ คงทำให้เข้าใจดีขึ้น
ขอย้ำว่า น้ำตาลทราย เอามาใช้เลี้ยงผึ้งเพื่อเพิ่มประชากรในฤดูขาดแคลนน้ำหวานในธรรมชาติ ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 7 เดือน ในรอบ 1 ปี (และใน 7 เดือนนี้ ไม่มีกระบวนการผลิตน้ำผึ้งแต่อย่างใด)
ส่วนน้ำหวานในธรรมชาติ ที่ผึ้งจะเเก็บมาเป็นน้ำผึ้ง มีระยะเวลารวมกันประมาณ 5 เดือน ในรอบ 1 ปีครับ (แล้วคนเลี้ยงผึ้งก็ขอแบ่งเอาน้ำผึ้งที่เขาเก็บเอาไว้ใช้ตลอดปี ออกจากรังเกือบหมด ทำให้เขามีอาหารไม่พอใช้ จึงต้องเสริมน้ำตาลครับ)
เรียนอ.หมอวัลลภ
ผมว่าน่าสนใจทีเดียวที่จะมาหาหัวข้อวิจัยทางบล็อกครับ คือ