กลยุทธแนวลึกที่ทำให้ประสบความสำเร็จ


ความสำคัญว่าอยู่ที่ตัวผู้เป็นเบาหวานเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องปัญหาและความต้องการหลักที่ทำให้ต้องยอมเสียเวลามาเสียเงินทอง โดยมีความกังวลและความคาดหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือที่ดีและจะทำให้เกิดความพึงพอใจ

สมัยแรกๆที่เริ่มทำงานในหน่วยงานนี้    ดิฉันก็ยังทำงานเป็นพยาบาลที่ชอบสอนและบอกแบบที่เราคิดว่าดีให้เขาทำตามโดยลืมดูว่ามันอาจจะไม่เหมาะสม  ระยะหลังๆจากประสบการณ์ที่ทำบ่อยๆ จึงเริ่มมีการเรียนรู้และปรับปรุงตนเองในการเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้เป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น   และเริ่มเห็นความสำคัญว่าอยู่ที่ตัวผู้เป็นเบาหวานเป็นหลัก   โดยเฉพาะเรื่องปัญหาและความต้องการหลักที่ทำให้ต้องยอมเสียเวลามาเสียเงินทอง โดยมีความกังวลและความคาดหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือที่ดีและจะทำให้เกิดความพึงพอใจ

ที่จริงเป้าหมายหลักสำหรับพี่เลี้ยงอย่างเราก็คือ ทำอย่างไรให้ผู้เป็นเบาหวานยอมเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมไปทำในสิ่งที่ถูกต้อง ฟังดูน่าจะง่ายแต่ขอบอกว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมคนค่อนข้างยาก ตัวพี่เลี้ยงต้องมีการฝึกฝนตนเองตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความชำนาญและทันต่อยุคสมัยด้วย  ซึ่งดิฉันเองก็พบว่าเราต้องพัฒนาตัวเราเองหลายด้านซึ่งก็มี

  1. ต้องเรียนรู้จากภายนอก คือ เรียนจากประสบการณ์ที่ผู้เป็นเบาหวานแต่ละคนทำแล้วเกิดความสำเร็จ จดจำหลายๆวิธีเพื่อนำมาคัดลอกหรือดัดแปลงให้เป็นวิธีที่หลากหลายแก่ผู้เป็นเบาหวานทั้งหลายให้มีทางเลือกมากขึ้น เหมือนเราเป็นแหล่งเก็บอาวุธและช่วยเลือกที่จะหยิบไปใช้ให้เหมาะสม
  2. ต้องเรียนรู้จากภายใน  คือเราต้องรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง จากตำรา งานวิจัย ให้ความรู้ทันสมัยเสมอ
  3. ต้องมีแรงกระตุ้นผลักดันให้สำเร็จ คือต้องเป็นนักคิดที่จะหาวิธีช่วยกระตุ้นให้ผู้เป็นเบาหวานเกิดกำลังใจที่จะอยากดีขึ้น
  4. ต้องรู้จักหาแหล่งช่วยสนับสนุน เช่น ญาติเบาหวานให้ช่วยกระตุ้นอีกแรงเวลาอยู่บ้าน
  5. ต้องเรียนรู้คุณลักษณะของผู้เป็นเบาหวานแต่ละคนด้วยว่าควรมอบอาวุธให้มากน้อยที่จะเกิดมากสุด  บางคนบอกไม่มากแต่ทำได้ดี

ความสำเร็จของวิทยากรที่จริงขึ้นอยู่อย่างมากกับการพบปะกันครั้งแรก      การได้รับความประทับใจหรือความพึงพอใจในการได้รับการแก้ไขตรงจุดที่เป็นปัญหาหลักของเขาก่อน จะทำให้เขาเริ่มยอมรับฟังและเป็นการสร้างสัมพันธภาพเล็กๆแล้วน่าจะถือเป็นความสำเร็จเริ่มต้น  เมื่อปัญหาแรกแก้ไขผ่านไปได้พวกเราต้องรีบสืบค้นปัญหาอื่นๆต่อ และที่สำคัญต้องชี้แนะให้เขาเห็นว่าเป็นปัญหาด้วย ต้องมองว่าเป็นปัญหาร่วมกันจึงจะเกิดความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง  สุขภาพจะดีเมื่อได้รับการดูแลมากขึ้น 

หลักการก็คือ         DEMAND          สมดุลย์ตรงกัน          SUPPLY 

      ( ความต้องการให้แก้ปัญหาของผู้ป่วย)             (การแก้ปัญหาตรงกับที่ผู้ป่วยต้องการ)

อยากให้พวกเราระลึกเสมอว่า  เขาเข้ามาเพื่อต้องการให้เราช่วยแก้ไขปัญหาของเขา ไม่ใช่แก้ปัญหาอย่างที่เราวิเคราะห์ได้ ถ้ามาแล้วไม่เป็นไปดังตั้งใจ เราก็อาจไม่ประสบความสำเร็จเลย

 THE  ART  OF  BEING  WISE  IS  THE  ART  OF  KNOWING  WHAT  TO  OVERLOOK

 william  james  (  american  psychologist  and  philosopher  )

ยุวดี   มหาชัยราชัน   

หมายเลขบันทึก: 18008เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท