โครงการพัฒนาการบรรุจภัณฑ์กะปิ ที่มหู่เกาะพระทอง


แผนงานการพัฒนา
โครงการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในเชิงเศรษฐกิจ   โครงการแปรรูปผลผลิตเกษตร
       นำเสนอ
                                                     ดร.จิรพันธ์                 ไตรทิพจรัส
   ผศ.ประภาศรี             อึ่งกุล
โดย
นายกำชัย                   กลับชัย
พ.ต.ท.จักรกฤษ        แต้วัฒนา
นายกิตติ                     อินทรกุล       
นายยงยุทธ                ส่องรอบ
น.ส.รังสิมันตุ์            สุวรรณจ่าง
น.ส.สุลีพร                 ทองงาม
นางอรทัย                  อิสระมาลัย
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการวางแผนและการดำเนินการโครงการ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต    สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา
สำนักงานบัณฑิตศึกษา   มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
ภาคเรียนที่  2    ปีการศึกษา  2548
ชื่อโครงการ                          โครงการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในเชิงเศรษฐกิจ        โครงการแปรรูปผลผลิตเกษตร
แผนงาน                                งานกิจการนักศึกษา
ผู้รับผิดชอบโครงการ         นางสาวรังสิมันตุ์    สุวรรณจ่าง   และคณะ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ      มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
ลักษณะของโครงการ         โครงการใหม่
ระยะเวลาดำเนินการ         มกราคม   -    กุมภาพันธ์    2549

หลักการและเหตุผล

                จังหวัดพังงา   เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางด้านการประมงมากจังหวัดหนึ่ง    เนื่องจากสภาพพื้นที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลอันดามัน    ดังนั้น   อาชีพทำการประมงจึงเป็นอาชีพหลักสำคัญต่อสภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัด    มีผู้ประกอบอาชีพการประมงทั้งด้านการประมงทะเล    การประมงชายฝั่ง   และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง   รวมทั้งสิ้น    9,043   ครัวเรือน    โดยพื้นที่ทำการประมงทะเลส่วนใหญ่  คือ   บริเวณท้องทะเลอันดามันไปจนสุดแนวเขตประเทศพม่า   และในบริเวณอ่าวพังงา     มีการทำการประมงขนาดใหญ่ด้วยเรืออวนดำ      อวนล้อมจับ    อวนลอยปลาอินทรีย์    อวนลากแผ่นตะเฆ่    อวนไดหมึก    เป็นต้น    และการประมงขนาดเล็กส่วนมากใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้าน  ได้แก่  อวนลอยปลาประเภทต่าง ๆ   อวนจมปู   อวนจมกุ้ง    ลอบปลา    ลอบปู     จั่นปู   และระวะกุ้ง    กุ้งเคย     เป็นต้น     มีท่าขึ้นปลา     7  แห่ง   ผู้ประกอบอาชีพประมงทางทะเล      4,785   ครัวเรือน     จำนวนเรือประมง    4,050   ลำ    ปริมาณการจับสัตว์น้ำทะเลรวม    20,107,900   กิโลกรัม   ปริมาณการจับสัตว์น้ำจืด    373,650   กิโลกรัม   และปริมาณการจับกุ้งทะเลที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยง     14,400,000   กิโลกรัม
                ในส่วนของพื้นที่จังหวัดพังงา  หลังจากได้รับผลกระทบทางภัยพิบัติสึนามิ  ส่งผลให้สัตว์น้ำลดจำนวนลง    ประชาชน  กลุ่มแม่บ้าน  บริเวณหมู่   2   ตำบลท่าแป๊ะโย้ย    อำเภอคุระบุรี   จังหวัดพังงา  มีประชากรทั้งสิ้น  70   ครัวเรือน   480   คน     มีสถานศึกษาอยู่บนเกาะ   1  แห่ง  คือ   โรงเรียนเกียรติประชา   มีจำนวนนักเรียน   60   คน   ครู   11   คน  เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีการประกอบอาชีพทางการประมง    กลุ่มแม่บ้านส่วนหนึ่งประกอบอาชีพการทำกะปิจากกุ้งเคย    จากการศึกษาข้อมูลในพื้นที่  พบว่า   ขั้นตอนในการผลิตและการบรรจุภัณฑ์การทำกะปิจากกุ้งเคยยังขาดประสิทธิภาพ  เนื่องจากกลุ่มแม่บ้านส่วนใหญ่ยังขาดความรู้  และประสบการณ์ในการบรรจุภัณฑ์     หีบห่อ  การบรรจุยังไม่มีความสะดวกในการเคลื่อนย้าย  ขนส่ง   นอกจากนี้แล้วการบรรจุภัณฑ์ที่ทำอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของกะปิซึ่งผลิตจากกลุ่มแม่บ้านตำบลท่าแป๊ะโย้ย   
การแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการต่อเนื่องจากการผลิตทางการเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกิดการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างงาน สร้างอาชีพ เสริมรายได้ โดยมีภาครัฐในการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปการตลาด ตลอดจน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมสามารถดำเนินกิจกรรมได้ด้วยตนเอง และพัฒนาเป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์
                1.   เพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร    ด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์
                2.   พัฒนาขีดความสามารถให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
                3.  ให้กลุ่มผู้ผลิตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและปริมาณที่ตอบสนองความต้องการตลาดได้
                4.  พัฒนาสินค้าแปรรูปให้เป็นสินค้าเอกลักษณ์ของชุมชน
วิสัยทัศน์
                พัฒนาองค์กรเกษตรกรให้พึ่งตนเองได้ สามารถผลิตสินค้าแปรรูปที่มีคุณภาพและประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน
พันธะกิจ
1.ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูป การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์
2.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกร
3. จัดหาปัจจัยการผลิต ( ทุน วัตถุดิบ อุปกรณ์ ฯลฯ ) ที่มีคุณภาพและปริมาณ เพียงพอต่อการผลิต
4.พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม   สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค
5. แสวงหาตลาด / ช่องทางการจำหน่ายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ระยะเวลาในการดำเนินการ
                1    มกราคม   2549 – 30   กุมภาพันธ์   2549
เป้าหมาย
            อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตกะปิ  ในหมู่   2  ตำลท่าแป๊ะโย้ย  อำเภอคุระบุรี  จังหวัดพังงา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีสินค้าเอกลักษณ์ของชุมชนที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ
2. ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการบริโภคสินค้าที่ผลิตโดยชุมชน
3. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
4. สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร    ลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้ส่วนหนึ่ง

 

แนวทางและวิธีการดำเนินงาน

แนวทางและวิธีการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในเชิงเศรษฐกิจ       การแปรรูปผลผลิตเกษตร   ได้ดำเนินการตามขั้นตอน   ดังนี้
1.   วิธีดำเนินงาน
1.       ออกสำรวจความต้องการของประชาชน  ยังพื้นที่ที่คาดว่าลงนำโครงการลงไปพัฒนา
2.       วิเคราะห์ผลจากการสัมภาษณ์   
3.       เขียนโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบและอนุมัติ
4.       กำหนดระยะเวลาในการอบรมให้ความรู้
5.       ประสานงานกับวิทยากร  และผู้ที่เกี่ยวข้อง
6.       เชิญตัวแทนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม         
2.   ขั้นดำเนินการ
จัดอบรมให้ความรู้ระหว่างวันที่   22- 23   กุมภาพันธ์   2549
3.   ขั้นประเมินผล
                3.1   ประเมินผลการอบรมให้ความรู้  โดยการสอบถามผู้เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับ  และความพึงพอใจเกี่ยวกับการอบรมสัมมนา
               
เนื้อหาสาระการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มแม่บ้าน  
                ยุทธวิธีในการแปรรูปผลิตภัณฑ์  และการบรรจุภัณฑ์  ให้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มแม่บ้าน  ตำบลท่าแป๊ะโย้ย  หมู่ที่   2   อำเภอคุระบุรี    จังหวัดพังงา    ตลอดจนคำนึงถึงความสะอาด  ถูกสุขลักษณะ   เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน

งบประมาณ

            -
               

ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.        นางสาวรังสิมันตุ์   สุวรรจ่าง   และคณะนักศึกษาปริญญาโท   สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา         มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
2.       มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

การติดตามและประเมินผล

1.       จำนวนกลุ่มแม่บ้านที่เข้าร่วมอบรม   สัมมนา  แลกเปลี่ยนแนวความคิด
2.        แนวทางที่ได้รับจากการประชุม

ปัญหาที่ทำการศึกษา

·       ปัญหาการบรรจุภัณฑ์    ของกลุ่มกะปิ   จากกลุ่มแม่บ้าน   หมู่ที่   2   ตำบลท่าแป๊ะโย้ย   อำเภอคุระบุรี   จังหวัดพังงา

หัวข้อที่ทำการศึกษา

      การบรรจุภัณฑ์กะปิของกลุ่มแม่บ้านในปัจจุบัน  ยังไม่ได้มาตรฐาน    และถูกสุขลักษณะ   อีกทั้งความสะอาดในขั้นตอนการผลิต  และความสะดวกของการบรรจุภัณฑ์ส่งผลกระทบถึงการขนส่งและการจำหน่าย

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

แบบสัมภาษณ์

ขอบเขตในการเก็บข้อมูล

                 -     กลุ่มแม่บ้าน      หมู่ที่   2   ตำบลท่าแป๊ะโย้ย    อำเภอคุระบุรี   จังหวัดพังงา
                 -     ผู้นำท้องถิ่น
                 -     เจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา
                 -      เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดพังงา
การติดตามและประเมินผล
1.   ใช้การสังเกต     
                ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมมีความสนใจรับฟัง   แต่ไม่มีส่วนร่วม   หรือการแลกเปลี่ยนความรู้เพิ่มเติม    การจะได้ข้อมูลต่าง ๆ    ต้องใช้คำถามนำ   และถามผู้นำสตรีเท่านั้น     ส่วนสมาชิกท่านอื่นไม่มีการแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด
2.   การทำกลุ่มย่อย   ( Focus  Group )
                พบว่า  กลุ่มสตรีมีอาชีพหลัก  คือ  แม่บ้าน   และประกอบอาชีพการทำกะปิในฤดูทำกะปิ   ซึ่งสามารถทำได้ปีละ    2   ครั้ง     คือประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม     จะมีรายได้ครั้งละ    5,000 6,000  บาท   นอกฤดูทำกะปิชาวบ้านจะว่างงานอยู่ดูบ้านและครอบครัว    และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน   กลุ่มสตรีบางส่วนจะเก็บเม็ดมะม่วงหิมพานต์ค้าขาย
                เมื่อสอบถามถึงการจัดทำรูปแบบผลิตการบรรจุภัณฑ์ของกะปิ    ชาวบ้านเข้าใจประโยชน์และสามารถเพิ่มมูลค้าผลิตภัณฑ์ได้   โดยสนใจจะทำฉลากปิดกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์    ซึ่งมีลักษณะของผลิตภัณฑ์  ตลอดจน  ชื่อ   ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์   ให้ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรง  และขยายรูปแบบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้
                นอกจากนี้  กลุ่มชาวบ้านต้องการสร้างอาชีพเสริม  เพื่อประกอบอาชีพยามว่างงาน     โดยเสนอขอทำผ้าบาติก  เพราะเห็นว่าชุมชนอื่นสามารถทำผลิตภัณฑ์บาติกได้
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนา
               
1.   สร้างภาวะผู้นำให้กับผู้นำชุมชน
2.   สร้างยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชน
3.   ส่งเสริมการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ
4.   ส่งเสริมการดำเนินการในรูปแบบสหกรณ์
5.   ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
6.   ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์   โดยให้ดำรงอยู่ซึ่งวัฒนธรรม   ประเพณี   อาชีพดั้งเดิม
7.   ส่งเสริมการประกอบอาชีพเดิม   และถือเป็นจุดขายของการท่องเที่ยว
8.   ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ร่วมกัน
สภาพทั่วไปของหมู่เกาะพระทอง   ภายหลังจากประสบภัยสึนามิ
                ชื่อเสียงของ “เกาะพระทอง” เริ่มโด่งดังเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้หยิบยกให้เกาะพระทองเป็นหนึ่งใน    Unseen    Thailand   ปี 2546   ภาพทุ่งหญ้าสะวันนา       เหลืองอร่ามสวยงามละลานตาได้รับการตีพิมพ์บนหน้านิตยสารท่องเที่ยวแทบทุกฉบับ รวมทั้งการนำเสนอเนื้อความที่บอกเล่าถึงความงามและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นชายหาด พืชพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าเฉพาะถิ่น เช่น กวางม้า นกนกเงือก นกตะกรุม- สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ กล้วยไม้ปากนกแก้วและเอื้องเงิน-กล้วยไม้ป่าที่หายาก เกาะพระทองจึงเป็นที่หมายปองของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ กระแสธุรกิจท่องเที่ยวจึงโถมเข้าหาเกาะพระทองแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่แล้วเกาะสวรรค์แห่งนี้ก็มีอันพินาศย่อยยับลงด้วยแรงถล่มของ“คลื่นยักษ์สึนามิ”

       “เกาะพระทอง” ในวันนี้แทบจะไม่เหลือร่องรอยของความงดงาม และความอุดมสมบูรณ์ใดๆ อยู่เลย บ้านเรือนพังทลายจนแทบไม่เห็นซาก ต้นไม่ใหญ่ถูกพัดหักโค่นลงมาระเนระนาด ต้นไม้ ใบหญ้าที่เคยเขียวชอุ่มชุ่มชื่นกำลังแห้งเหี่ยวเฉาตาย ทุ่งหญ้าสะวันนาที่เคยเหลืองอร่ามงามตาเต็มไปด้วยโคลนและทราย หมู่บ้านที่เคยคึกคักมีชีวิตชีวาบัดนี้กลับกลายเป็นหมู่บ้านร้าง....

        “ตำบลเกาะพระทอง”  ประกอบด้วยสี่หมู่บ้าน คือ บ้านทุ่งดาบ บ้านท่าแป๊ะโย้ย บ้านปากจก และบ้านเกาะระ แต่หมู่บ้านที่ถูกคลื่นยักษ์ถล่มเสียหายย่อยยับ มี 2 หมู่บ้าน คือ ทุ่งดาบ และปากจก เพราะที่ตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณหน้าหาดด้านตะวันตก จากการสำรวจความเสียหาย พบว่า บ้านเรือนเสียหายทั้งหลังประมาณ   300 หลัง   เสียหายบางส่วนประมาณ   200 หลัง    ชาวบ้านเสียชีวิต   61   คน   สูญหายกว่าร้อยคน เรือและเครื่องมือประมง   เครื่องมือหากินของชาวบ้านจมหายไปกลับคลื่นยักษ์กว่า 50 ลำ...”
       
       ชาวบ้านเกาะพระทองที่รอดพ้นอันตรายจากคลื่นมัจจุราชกว่า 500 ชีวิต ถูกอพยพขึ้นฝั่งและเข้าพักอาศัยในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์บนฝั่งอำเภอคุระบุรีนับตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุ...ซึ่งแม้เวลาจะล่วงเลยผ่านมาเป็นปีแล้ว ความทุกข์โศกของพวกเขายังคงไม่จางหาย อีกทั้งยังมีความทุกข์ใหม่ๆ จากความกังวลใจต่อชะตากรรมของตัวเองในอนาคต...แม้รัฐพยายามจะให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน แต่สำหรับชาวบ้าน...การช่วยเหลือนั้นช่างมาถึงพวกเขาล่าช้าเหลือเกิน...
              
        ขณะนี้ ความต้องการของชาวบ้านปากจกแยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มหนึ่งต้องการกลับไปอยู่ที่เดิม กลุ่มสอง ไม่ต้องการย้ายกลับไปอยู่ที่เดิม ซึ่งกลุ่มนี้แตกออกเป็น 3 กลุ่มย่อยๆ คือ กลุ่มที่ต้องการย้ายไปอยู่ที่บ้านท่าแป๊ะโย้ย หมู่บ้านที่อยู่ด้านหลังเกาะ กลุ่มที่ต้องการไปอยู่ที่เกาะระ และกลุ่มที่ต้องการอยู่ที่แพปลาบริเวณท่าเรือคุระบุรี ข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้านปากจก ตรงกับข้อมูลของชาวบ้านทุ่งดาบ ซึ่งความต้องการของชาวบ้านแยกออกเป็น แยกออกเป็น 2 กลุ่มๆ เช่นกัน กลุ่มหนึ่ง ต้องการกลับไปอยู่ที่เดิมแต่อีกกลุ่มหนึ่ง ต้องการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ทุ่งละอองชุมชนซึ่งตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่
        
          อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ ชาวบ้านก็ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกที่อยู่อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะไม่ว่า อยู่ หรือ ไม่อยู่ ก็ล้วนแต่มีข้อจำกัดทั้งสิ้น สำหรับชาวบ้านที่ต้องการย้าย พื้นที่เกาะระนั้นเป็นเขตป่าสงวน การเข้าไปตั้งบ้านเรือนจึงขัดกับข้อกฎหมาย อีกทั้งจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ ส่วนพื้นที่ที่ท่าแป๊ะโย้ย พื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านมีไม่มากนัก ทั้งยังอยู่บริเวณหลังที่ทำการ อบต. ซึ่งจะมีปัญหากับชาวเลที่มีความต้องการตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับทะเลส่วนที่แพปลาคุระบุรีก็มีเอกชนเช่าไว้แล้ว
       
       ชาวบ้านที่ต้องการกลับไปอยู่ที่หมู่บ้านเดิม โดยเฉพาะกลุ่มมอแกน หรือไทยใหม่ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนบนเกาะพระทองนั้นไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ที่ผ่านมาพวกเขาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมชายฝั่งบนที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยความสัมพันธ์ที่มีต่อกันมายาวนาน       

        ที่ดินส่วนใหญ่บนเกาะเป็นเขตป่าสงวน ที่ดินซึ่งชาวบ้านเป็นเจ้าของและมีเอกสารสิทธิในการครอบครองมีเพียง 225 แปลง เนื้อที่รวมประมาณ 3,121 ไร่ เท่านั้น โดยเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ส่วนมอแกนหรือไทยใหม่ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่บนเกาะเพราะทองนั้นแทบไม่มีที่ดินของตัวเองเลย การตั้งบ้านเรือนแต่เดิมอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวมอแกลนและเจ้าของที่ดิน ต่อเมื่อกระแสการท่องเที่ยวรุกเข้าถึงเกาะพระทอง ที่ดินบนเกาะก็ถูกเปลี่ยนมือจากชาวบ้านไปเป็นของนายทุนภายนอกค่อนข้างมาก ซึ่งก่อนหน้าที่คลื่นยักษ์สึนามิถล่มได้เกิดกรณี “ไล่ที่” ชาวไทยใหม่เกิดขึ้นบ้างแล้ว
       
        ดั้งนั้นภัยพิบัติในครั้งนี้จึงถือเป็น “โอกาส” ของเจ้าของที่ดินในการปฏิเสธไม่ให้ไทยใหม่เข้ามาตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ เป็นโอกาสในการ “จัดระเบียบ” ชายหาดตามนโยบายของภาครัฐและอาจจะเป็นโอกาสในการ “จัดการ” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบนเกาะพระทองอีกหลายส่วนก็เป็นได้ รูปแบบการจัดการฟื้นฟูและพัฒนาชุมชนบนเกาะพระทอง ต่อจากนี้ไปจึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
       
        ด้วยเงื่อนไขที่จำกัดเช่นนี้ จึงไม่ง่ายที่ชาวบ้านเกาะพระทองจะคิดและตัดสินใจได้โดยลำพัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง ควรต้องมาร่วมกันคิดหาทางออกให้กับชาวบ้านให้เกิดความชัดเจนอย่างเร่งด่วน ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านผู้ประสบภัยเองก็ควรต้องละวางความทุกข์โศกที่มีไว้ชั่วคราวและลุกขึ้นมาช่วยกันคิดและช่วยกันทำให้ชีวิตในวันพรุ่งนี้และวันต่อๆไปดีขึ้นเพราะนี่อาจจะเป็นเพียงโอกาสเดียวที่ชาวบ้านเกาะพระทองจะสามารถร่วมกันกำหนดอนาคตด้วยตัวเองได้อย่างแท้จริง
ลักษณะภูมิประเทศ
         ลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัว ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ท้องที่จังหวัดพังงา ลักษณะโดยรวมของพื้นที่เป็นหาดโคลนปากแม่น้ำ มีลำคลองหลายสายไหลลงมาบริเวณดังกล่าว เป็นคลองยาวมีสาขามากมายก่อนเปิดออกสู่ทะเลมีความสมบูรณ์ของธาตุอาหารในตะกอนดิน และได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลง ของน้ำทะเล มีภูเขาสูงชันและเกาะต่างๆ วางในแนวเหนือใต้ ได้แก่ เกาะระพื้นที่เป็นเขาสูงและชัน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 235 เมตร เกาะพระพื้นที่เป็นที่ราบ เกาะคอเขาพื้นที่เป็นที่ราบส่วนใหญ่มีภูเขาสลับ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 310 เมตร และจากเกาะบริวารเล็กๆ อีก เช่น เกาะปลิง เกาะตาชัย และเขาบ่อไทรที่มียอดเขาสูงที่สุดคือ 450 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง และพื้นที่ใกล้เคียง มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบทั้งปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสะมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแบ่งได้ 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน โดยมีฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,124.7 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด คือ 366.2 มิลลิเมตร และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-มีนาคมโดยมีฝนตกในช่วงนี้บ้าง อุณหภูมิสูงสุด 37.8 องศาเซลเซียส อยู่ในเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28.97 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า / ทรัพยากรป่าไม้
จากการสำรวจสามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
1.   ป่าดิบชื้น
พบว่าขึ้นปกคลุมบริเวณที่เป็นเขา เช่น เกาะระ บริเวณลาดเขาและสันเขาพันธุ์ไม้ที่เป็นไม้เด่น เช่น ยางยุง ยางปราย ขันทอง ไม้เรือนยอดรองลงมา เช่น มะปริง มะส้าน เลือดกวาง มะไฟป่า ไม้พื้นล่าง เช่น หวาย กะพ้อ และเตย เป็นต้น
2.   ป่าชายเลน
พบขึ้นบริเวณชายฝั่ง ตามอ่าวของเกาะ เนื่องจารับอิทธิพลจากลำธาร แม่น้ำลำคลองกลายสายและการขึ้นลงของน้ำทะเล ดินเป็นเลนปนทรายหากมองจากภาพถ่ายทางอากาศ ป่าชายเลนจะเป็นผืนยาวติดต่อกันตั้งแต่ตอนเหนือจากบ้านทุ่งนางดำ ไปทางใต้จนถึงเกาะคอเขา ในพื้นที่อำเภอ ตะกั่วป่า พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะปูนขาว ถั่วดำ ฝาดอกแดง แสมขาว แสมดำ และไม้วงศ์ปาล์ม เช่น จาก เป้งทะเล หลาวชะโอน ไม้พื้นที่ล่างเช่น กระเพาะปลา และ เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
3.   ป่าชายหาด
 พบตามชายหาด ตามอ่าวที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง บริเวณเกาะระและเกาะพระทองพันธุ์ไม้ที่พบอาทิ เช่น สนทะเล ชมพู่ป่า โพทะเล มะส้าน เตยทะเล ไม้พื้นล่าง เช่น ผักบุ้งทะเล
4.   สังคมพืชทดแทน
จากการทำเหมืองแร่ดีบุกบริเวณเกาะพระทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบสภาพดินขาดแร่ธาตุ ไม้เด่นในพื้นที่จะเป็นไม้เสม็ดขาว ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณแอ่งน้ำ และพื้นที่โล่งกว้าง ไม้เสม็ดขึ้นอยู่ห่างกัน และ
5.   แหล่งหญ้าทะเล
จากการสำรวจการแพร่กระจายและพื้นที่ปกคลุมของหญ้าทะเลชนิดต่างๆ บริเวณหาดทุ่งนางดำโดยวิธี visual estimation พบว่ามีการแพร่กระจายสูง หาดดังกล่าวเป็นพื้นที่ขายหาดฝั่งปากคลองคุระ ความขุ่นใสค่อนข้างน้อย แม่น้ำต่อเนื่องไปบริเวณหาดทุ่งนางดำระหว่างเนินทรายและชายฝั่งเกิดมีลักษณะคล้ายแอ่งน้ำขนาดใหญ่เป็นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล ซึ่งพบหญ้าทะเลบริเวณนี้ 8 ชนิด โดยมีพื้นที่แพร่กระจายรวม 1.38 ตารางกิโลเมตร เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ Cymodocea serrulata, Halodule uninervis H. ovalis, Syringodium isoetipolium, Enhalus acoroides, Halophrii และ H. minor นอกจากนี้ยังพบการแพร่กระจายของหญ้าทะเลบริเวณทิศตะวันออกของเกาะระ ความสำคัญของแหล่งหญ้าทะเลนั้นมีมากมาย ตั้งแต่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งเลี้ยงตัวอ่อน แห่ลงพบซ่อนศัตรูและเป็นแหล่งหากินของสัตว์ทะเลนานาชนิดอันได้แก่ กุ้ง ปู และปลา อีกทั้งเป็นแหล่งหากินของสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ คือ เต่าทะเล และพะยูนด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลได้เกิดความเสื่อมโทรม เนื่องจากการทำประมงด้วยเครื่องมือบางชนิดและการเปลี่ยนแปลงของตะกอนในน้ำทะเลมากขึ้น จากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้หญ้าทะเลถูกทำลายลงเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อสัตว์ทะเลที่อยู่ในระบบนิเวศ ดังนั้นการควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ตามแนวชายฝั่งให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง อันจะเป็นการฟื้นฟูสภาพระบบนิเวศแนวชายฝั่งให้เกิดผลดีต่อหญ้าทะเล จึงเห็นควรให้หน่วยงายของรัฐเข้ามาควบคุมอย่างจริงจัง

ทรัพยากรสัตว์ป่า
จากการสำรวจบนเกาะทุกเกาะตามถิ่นที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ โดยทำการจำแนกและบันทึกสัตว์ป่า ที่พบตัวจริงโดยใช้กล้องส่องทางไกลสำรวจร่องรอยของสัตว์ป่า และจากการสอบถามราษฎรที่อยู่ในท้องถิ่นได้ผลดังนี้
1.   สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสำรวจเบื้องต้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กวางป่า หมูป่า ค่างแว่นถิ่นใต้ ลิงแสม อีเห็นธรรมดา นากใหญ่ขนเรียบ นิ่ม กระรอกท้องแดง กระรอกปลายหางดำ ค้างคาวแม่ไก่เกาะ บ่าง และหนูเกาะ เป็นต้น จากการสำรวจเบื้องต้นโดยการสัมภาษณ์ชาวประมงข้อมูลการขึ้นมาเกยตื้นของพะยูนของการสำรวจทางอากาศของประชากรพะยูนของฝั่งอันดามันได้กำเนิดโดยใช้เรือบิน โพลารีส เป็นพาหนะในการสำรวจบินด้วยความเร็วต่ำ (70-80 กม./ชม.) ที่ความสูง 200-1,000 ฟุต โดยสำรวจในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลพื้นที่ประมาณ 100-200 ตร.กม จำนวน 8 แห่ง ในจังหวัดพังงา กระบี่ สตูล ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2540 พบพะยูนระหว่าง 1-6 ตัว ใน 5 พื้นที่ในจังหวัดพังงาที่บ้านทุ่งนางดำ อำเภอคุระบุรี และข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2541 มีราษฎรพบเห็นพะยูนติดโป๊ะบริเวณด้านทิศตะวันออกของเกาะระ และอ่าวทุ่งนางดำบ่อยครั้งจึงเป็นหลักฐานยืนยันว่ายังพบพะยูนในพื้นที่ทำการสำรวจ ปัจจุบันพะยูนได้มีประมาณน้อยลงอย่างมากในน่านน้ำไทย เนื่องจากเป็นสัตว์ที่กินหญ้าทะเลสัตว์น้ำตื้นชายฝั่ง และเป็นสัตว์ที่เป็นอาหารของชาวประมง การเพิ่มจำนวนของเรื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการจับพะยูนมากขึ้น จนเข้าใจว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำไทยในเวลาอันใกล้พะยูนจึงเป็นทรัพยากรมีชีวิตในแหล่งหญ้าทะเลที่จัดได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการศึกษาและคุ้มครองดูแลให้คงอยู่บริเวณแหล่งหญ้าทะเลต่อไป
2.   นก ที่พบเห็น เช่น นกตะกรุม นกพญาปากกว้างท้องแดง นกเงือกกรามช้าง นกเงือกหัวงอน และจากการรายงานการสำรวจนกในพื้นที่เกาะระและเกาะพระทองของนักวิชาการจากต่างประเทศที่เข้าไปพักในสุดขอบฟ้ารีสอร์ทในช่วงระยะเวลา 1 ปี พบว่า มีนกถึง 106 ชนิด
3.   สัตว์เลื้อยคลาน จากการสำรวจพบสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ ตะกวด เหี้ย งูเหลือม งูพังกา งูลายสอใหญ่ จิ้งเหลนบ้าน เต่าหับ เต่าดำ เป็นต้น ปัจจุบันมีนักวิจัยชาวต่างประเทศได้เข้ามาทำการศึกษาวิจัยเต่าทะเล พบว่าบริเวณเกาะระและเกาะพระทองด้านทางทิศตะวันตกมีการพบเห็นเต่าทะเล โดยพบเห็นเต่าทะเลถึง 3 ชนิดด้วยกัน คือเต่ามะเฟือง เต่าหญ้า และเต่าตะนุ นอกจากนี้บริเวณชายหาดยังเป็นพื้นที่ที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมของทุกปี ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาอย่างหนักในเรื่องประชากรและอัตราการรอดตายของเต่าทะเล อันเนื่องมาจากเครื่องมือทำการประมงบางชนิด เช่นอวนลาก ทำให้เต่าทะเลในช่วงเจริญพันธุ์ลดลง จึงสมควรมีการจัดการในเรื่องของเต่าทะเลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทั้งด้านอนุรักษ์และการป้องกัน
4.   ปลา เนื่องจากพื้นที่ทำการสำรวจเป็นพื้นที่สำคัญดังนั้นจะพบปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจและในแนวปะการัง โดยการสอบถามราษฎรและชาวประมงในพื้นที่ ดังนั้นปลาที่พบในพื้นที่ป่าชายเลน เช่น ปลาสีเสียด ปลากะพงข้างปาน ปลาตะกรับ ปลากะตัก ปลาปักเป้า ปลากระทุงเหวปากแดง ปลากระพงแดง ปลากดทะเล ปลาสีกุน เป็นต้น ปลาในแนวปะการัง เช่น ปลาสิงโต ปลากะรังลายขวางจุดน้ำเงิน ปลากระพง ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า และปลาปักเป้า เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
บริเวณพื้นที่ทำการสำรวจแระกอบด้วยทรัพยากรชายฝั่งที่มีศักยภาพสูงในด้านที่จะปรับปรุงไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกิจกรรมหลายๆ ด้านปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวยังมีไม่มากนัก ท่องเที่ยวที่เข้ามาจะได้รับการบริการจากหน่วยงานของเอกชนที่บริการด้านการท่องเที่ยวเท่านั้นและรูปแบบจะเป็นบางกิจกรรมพื้นที่สามารถให้การบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้มีดังนี้
เกาะคอเขา
สภาพเป็นเขสลับกันเป็นพื้นที่ราบ ในเขตอำเภอคุระบุรีกับ อำเภอตะกั่วป่ามีความสวยงาม ชายหาดยาวตลอดความยาวเกาะ ปัจจุบันมีส่วนมะพร้าวและหมู่บ้าน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที
กิจกรรม : - กิจกรรมชายหาด - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

 

เกาะปลิง – เกาะพ่อตา

 


 

อยู่ชิดกันบริเวณด้านตะวันตกมีแนวปะการังหลากหลาย แต่แนวปะการังที่ไม่กว้างมาก สามารถดูปะการังได้ พื้นที่ชายเลน ตามลำคลองต่าง ๆ ภาพในป่าชายเลน กิจกรรมที่สามารถทำได้ เช่น พานเรือคายัด ดูนก ศึกษาสภาพป่า เป็นต้น
จากสภาพที่มีความแตกต่างกัน และมีความสวยงาม พื้นที่ดังกล่าวจึงสามารถทำกิจกรรมด้านนันทนาการได้หลายอย่าง ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบัน บางกิจกรรมเป็นกิจกรรมใหม่ เช่น พายเรือคายัด ปั่นจักรยาน ซึ่งพื้นที่มีความเหมาะสมที่จะจัดกิจกรรมได้ และเป็นการสนับสนุนกิจกรรมด้านการท
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18254เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ยังขาด วิสัยทัศน์ และพันธกิจ จ่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท