ข้อสังเกตในการจัดการความรู้เรื่องยากๆที่สนามหลวง


ลองมองในมุมที่แตกต่างบ้าง

จากเรื่องการเมืองที่เครียดๆ ร้อนๆ โดยเฉพาะที่สนามหลวงในช่วงเวลานี้ ที่มีวิธีการนำเสนอข้อมูลเพื่อการรับรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรักษาการนายกรัฐมนตรีในหลายๆประเด็น

ที่น่าสนใจคือ หลายคนเริ่มมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของรักษาการนายกรัฐมนตรีท่านนี้ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หากหลายท่าน สามารถวางแผนในการจัดการความรู้ ไม่ว่าเรื่องใดๆก็ตาม เพื่อทำการเผยแพร่ข้อมูลสู่บุคคลทั่วๆไปในวงกว้างได้แบบนั้นแล้ว คนไทยหลายคนจะมีข้อมูลที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้นแค่ไหน และจะเพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจเลือกสรรทรัพยากรต่างๆมาใช้ได้มากขึ้นเพียง ไร

นายบอนสังเกตจากบันทึกข้อมูลต่างๆที่ปรากฏใน gotoknow.org  แห่งนี้ ซึ่งข้อมูลมากมายมีประโยชน์มาก แต่การเข้าถึงข้อมูลของคนทั่วไป ยังเข้าไม่ถึง เพราะไม่รู้จักที่แห่งนี้ก็อีกเยอะ

การจัดการความรู้ที่สนามหลวง ซึ่งเป็นสื่อทางเลือก ยังสามารถนำเสนอให้คนหลายแสนหลายล้านคน ได้รับรู้ข้อมูลอีกด้าน ที่ถูกปิดกั้นจากสื่อกระแสหลักได้  คล้ายๆกับบันทึกข้อมูลต่างๆใน gotoknow.org ที่เป็นอีก 1 เวบในอีกหลายๆล้านเวบไซต์

ถ้าเป็นกลุ่มผู้ที่แวะเวียนเข้ามาที่ gotoknow และทีมงาน km แต่ละแห่ง ย่อมจะแนะนำให้อีกหลายคนที่ติดต่อกันได้รู้จักที่นี่ได้ไม่ยาก  

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การจัดการความรู้ที่เข้าถึงข้อมูลได้ยากนั้น เพราะข้อจำกัดหลายอย่าง บันทึกต่างๆใน gotoknow เช่น บันทึกแนะนำงานวิจัย บทความ ประกาศแนะนำเชิญชวนเข้าร่วมการอบรม หรือการสรุปเนื้อหาสาระที่น่าสนใจนั้น คนที่ตั้งข้อสังเกตบอกว่า ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลได้มากกว่า ที่ได้มีการบันทึกไว้ในบล๊อกต่างๆ

การจัดการความรู้ที่สนามหลวง มีหลายฝ่ายมีวิธีการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่มต่างๆ ศิลปิน กวี ที่น่าสนใจ คือสื่อที่นำเสนอที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจเรื่องยากๆได้อย่างง่ายๆ

เมื่อนำเสนอที่สนามหลวง ได้มีการถ่ายทอดตามช่องทางต่างๆ ทางทีวี วิทยุชุมชน นสพ. เอกสารต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนประเด็นการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดความรู้อยู่ตลอด

จากบันทึกใน gotoknow.org เช่นการประชุม อบรม หรือการบรรยาย คงเป็นการยากที่จะมีท่านใดท่านหนึ่งต้องมานั่งพิมพ์รายละเอียดทั้งหมดจากการ อบรมอย่างสมบูรณ์ เทคโนโลยีใหม่ๆน่าจะตอบโจทย์นส่วนนี้ได้ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กาฬสินธุ์ ใช้ MP3player บันทึกเสียงการประชุมความยาว 1 ชั่วโมง แล้วโอนไฟล์ mp3 ทำการบีบอัดให้มีขนาดไฟล์ที่เหมาะสม เพราะมีแต่เสียงบรรยายเท่านั้น แล้วนำขึ้นเวบไซต์ และส่งไฟล์ทางโปรแกรมแชร์ไฟล์ต่างๆ ให้ผู้สนใจเปิดฟังรายละเอียดได้ทุกประเด็น

ยังมีวิธีการที่ง่ายๆ ที่นักวิชาการ อาจารย์หลายท่านไม่มีเวลาที่จะเรียนรู้และศึกษามากนัก จึงต้องหาโอกาสไปศึกษาการนำเสนอข้อมูลต่างๆจากหลากหลายรูปแบบ หลายท่านอาจจะใช้รูปแบบที่คุ้นเคย เช่น การจัดสัมมนา จัดประชุมวิชาการ และดำเนินการตามขั้นตอนพร้อมงบประมาณสนับสนุน แต่การจัดการความรู้ในแบบหนุ่มสาวอีกกลุ่มหนึ่ง ใช้ mp3player ที่พวกเขาซื้อมาฟังเพลงในราคาไม่กี่พันบาท เอาไปบันทึกเสียง สัมภาษณ์ผู้รู้ในประเด็นที่สนใจ
แล้วก็นำไฟล์ mp3 มาแจกจ่ายผู้ที่สนใจฟัง ทำให้เกิดการนำความรู้จาก ปราชญ์ชาวบ้าน แม่ค้าขายขนมจีน ครู นักเรียน และชาวบ้านอีกหลายคน ที่มีโอกาสได้นำเสนอความคิดเห็น ประสบการณ์ของตนเองออกมา ทั้งๆที่ไม่ได้ผ่านเวทีวิชาการที่มีผู้สนใจหลายท่านมานั่งกันเต็มห้องประชุม แต่พวกเขาก็จัดทำไฟล์ mp3 บันทึกเก็บไว้ รวมทั้งทำใส่ในแผ่น CD เป็นข้อมูลความรู้ที่หลากหลายต่อไปได้เช่นกัน

หลายคนได้รับคำแนะนำว่า ให้คิดนอกกรอบดูบ้าง แต่ในความจริง หลายท่านก็คิดไม่ออก ลองสังเกตและติดตามการจัดการและถ่ายทอดความรู้จากสนามหลวงดูบ้างนะครับ ไม่ว่าท่านจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตามกับประเด็นและวิธีการนำเสนอของกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

แต่ถ้าหากคุณสามารถจัดการความรู้ และถ่ายทอดความรู้ที่คุณมีอยู่ ให้หลายคนเข้าใจได้มากมายหลายหมื่นคนเช่นนั้น จะมีประโยชน์มากมายแค่ไหนกันนะ???

หมายเลขบันทึก: 18147เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท