แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักจัดการความรู้


แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักจัดการความรู้ โดย อาจารย์จำนง หนูนิล กศน.อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

 

สืบเนื่องจากเวทีประชุมเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๙ ณ เทศบาลนครศรีธรรมราช ได้รับเอกสารประกอบการประชุมเรื่องแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักการจัดการความรู้ คัดลอกเอามาให้อ่านกันนะคะ

 เนื่องจากการความรู้คือการทำงานในปกติธุระของเราให้บรรลุเป้าหมายนั่นเองแต่เป็นการทำงานที่มุ่งใช้ความรู้เป็นเครื่องมือ จะเป็นงานอะไรก็ได้ ทั้งที่เป็นงานในระดับปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล องคืกร ทั้งในวงการธุรกิจ เอกชน ราชการ หรือภาคประชาสังคม งานจะสำเร็จได้เพราะด้วยการศึกษาค้นคว้ารวบรวม สร้างความรู้ ใช้ความรู้ บันทึกขุมความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งก่อนที่จะทำงาน ขณะทำงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการทำงาน เป็นสำคัญ ไม่ใช่สำเร็จลงได้เพราะฟลุ๊กหรือโชคช่วย ความรู้ที่กล่าวถึงก็ไม่ใช่ความรู้อะไรที่ไหน แต่คือความรู้ในเนื้องานที่ทำอยู่ ชนิดที่เรียกว่าความรู้นั้นเนียนอยู่ในเนื้องานหรือความรู้นั้นกลืนกันอยู่ในเนื้องาน (KM inside)

                นักจัดการความรู้จะต้องมองให้เห็นความรู้ในทุกกิจกรรมย่อยของงาน และใช้ความรู้นั้นขับเคลื่อนงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งขับเคลื่อนงานโดยใช้ความรู้เป็นเครื่องมือมากยิ่งขึ้นเท่าใดก็ยิ่งเกิดความรู้มากขึ้นเท่านั้น ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นหากได้สะสมไว้มาก ๆ ก็จะเพิ่มพลังให้การทำงานยิ่งประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นไปอีก เป็นทฤษฎี เป็นโมเดล หรือเป็นปัญญาปฏิบัติ ของคนทำงานนั้น ๆ แต่การที่นักจัดการความรู้จะมองให้เห็นความรู้ในทุกกิจกรรมย่อยของงานก็ดี จะสามารถศึกษาค้นคว้ารวบรวม สร้างความรู้ใช้ความรู้บันทึกขุมความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ดีผู้เขียนมีความเห็นว่านักจัดการความรู้จะต้องพัฒนาตนเองในหลายประการ ในที่นี้จะขอนำเสนอเพียงสองประการ คือ

๑.         แสดงบทบาทเป็นนักเรียนในบางสถานการณ์ หรือทุกสถานการณ์ได้ เพราะต้องเรียนรู้งานที่ตนรับ

ผิดชอบ เช่น คุณเอื้อก็อาจจะเป็นนักเรียนในวงเรียนรู้คุณเอื้อ คุรอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต คุณประสาน คุณวิจัย ฯลฯ ก็เช่นเดียวกัน หรือบางครั้งอาจจะจำเป็นต้องเรียนรู้ข้ามวงเรียนรู้ก็ได้แล้วแต่สถานการณ์ หากไม่ชอบเป็นผู้เรียนรู้คงต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเสีย หรืออาจจะต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองคืกรให้เป็นองค์กรที่เสริมการเรียนรู้มากขึ้น ไม่ใช่ใช้อำนาจนิยมมากเกินไป จนทำลายบรรยากาศการเรียนรู้

๒.       พัฒนาคุณลักษณะของการเรียนรู้ที่ดี เช่น การรับฟังผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) เพื่อจับ

ประเด็นหรือเชื่อมโยงประเด็นการนำเสนอ กล้าพอที่จะบอกผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้เรื่องอะไรในโอกาสที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน พูดจาโต้ตอบด้วยอาการสุนทรียสนทนากับผู้อื่น ชื่นชมผู้อื่น ให้กำลังใจผู้อื่น เติมพลังให้ผู้อื่นเป็น ติชม คิดทางบวกกับบุคคลอื่นได้ มีทักษะ ในการทำงานเป็นทีม อย่างน้อย ๆ ในทีม KM ต้องประสานกันให้ได้

                เป้าหมายงานที่นักจัดการความรู้ในโครงการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องดำเนินการนั้นมีมากมาย นักจัดการความรู้จำต้องจัดแจงตัวเองให้ได้เสียก่อน ทำตนเองให้เป็นบุคลากรของโครงการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับบุคคล ทีมงานและองค์กร ก่อนที่จะไปจัดแจงคนอื่นหรือจัดการความรู้ให้ผู้อื่น ต้องเริ่มพัฒนาตนเอง นำตนเองด้วยตนเองตั้งแต่เดี๋ยวนี้ฝึกตนเองให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เหมาะต่อการเรียนรู้ถ้าไม่ลองทำก็ไม่อาจจะพัฒนาตนเองได้ เปรียบเสมือนอยากขับรถเป็นแต่ไม่ลงมือขับ ก็ขับรถไม่ได้ในที่สุด ฝึกฝนตนเองไปพร้อม ๆ กันดีใหม ?


หมายเลขบันทึก: 18137เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณครับ ที่นำเนื้อหามาเผยแพร่ให้ได้รับความรู้ครับ
การจัดการความรู้ที่น่าคิด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท