เปิดเล้า รับไก่


ขนของ เล่นเอาเหงื่อไหล ไคลย้อย

ขอเล่าต่อจากเมื่อวานเลยนะครับ เมื่อปิดเล้าก็ต้องมีเปิดเล้าใช่ไหมครับ แต่ก่อนที่จะเปิดเล้านั้นก็ต้องมีการทำเคลียร์ของที่อยู่รอบๆเล้าให้หมดเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเศษไม้ เศษเหล็ก พลาสติก

 

ตอนแรกก็นึกว่าคงขนไม่นานหรอก น่าจะเหลือแค่นิดเดียว (สบายล่ะเราวันนี้ ฮ่าๆๆ) แต่ที่ไหนได้ขนไปขนมา ไม่หมดสักที  (คิดผิดแล้วซิเราฮือๆๆ ) เล่นเอาเหงื่อไหล ไคลย้อยเหมือนกันครับ ขนตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง ถึงหมด รถวิ่งไปวิ่งมาประมาณ 4-5 รอบ ขนขึ้นแล้วก็ยังต้องไปขนลงด้วย

 

 และต้องมีการแยกประเภทของสิ่งที่เก็บมาด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บขายต่อไป แถมยังมีรถติดร่องน้ำที่ขุดไว้เพื่อระบายท้ายเล้าด้วย รถก็เป็นรถตุ๊กๆๆ บ้านเรานี่แหละครับ น่าจะเป็นการประหยัดน้ำมันกว่ารถเครื่อง แต่ด้วยแรงจากกำลังกายของทุกคนที่ช่วยกันขนทำให้รถขึ้นจากร่องระบายน้ำด้วยดี อย่างนี้แหละที่เรียกว่า  สามัคคีคือพลัง

 

เมื่อเวลาก็มาถึงหลังจากที่ปิดเล้าแล้วก็ต้องเปิดเล้า เปิดเล้าในเวลา 10.00 น. จะเปิดพัดลมทุกตัวเพื่อเป็นการระบายอากาศ สารเคมีที่พ่นไปเมื่อวาน ให้กลิ่นหมดไป  (ยังได้กลิ่นอยู่เลยตอนรับไก่ อิอิ...)

 

ในตอนบ่ายก็ได้ดูพี่สัตวบาล swop เชื้อ เพื่อไปตรวจดูว่ามีเชื้อที่ก่อโรคอยู่หรือเปล่า จะตรวจที่ พื้นแกลบ ตามเพดาน ตามหัว nipple ตามห้องกรงไข่  จะนำตัวอย่างส่งไปที่ lap ที่โรงเชือดต่อไป

 

และในตอนเย็นเวลา 17.00 น. ก็มีการรับไก่จากฝั่ง pullets 4 โดยจะรับเอาตัวผู้มาก่อน จะลงไว้ห้องล่ะ 500 ตัว อัตราส่วนของตัวผู้  1 : 10 ตัวเมีย แต่จะรับไก่ตัวผู้ 12% ของฝูง เผื่อว่าไก่ตัวผู้ตายด้วย

 

ในการรับลูกไก่รู้สึกว่าจะสบายกว่าส่งไก่อยู่ครับ เพราะจะปล่อยไก่ออกจากกล่องเฉยๆไม่ได้ทำอะไรมาก แต่ว่าวันนี้น่าจะเป็นแค่การชิมรางดูก่อน เพราะของจริงอยู่ที่ไก่ตัวเมีย คนงานบอกว่า เหนื่อยกว่ารับไก่ตัวผู้มาก น่าจะตัวเมียมีจำนวนมากกว่าตัวผู้ หรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้

อย่างนี้ก็ต้องคอยดูกันต่อไปในวันพรุ่งนี้แล้วล่ะครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 181129เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2008 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แวะมาทักทายครับน้อง
  • ทุกอย่างอยู่ที่ใจ  อิอิ
  • เกี่ยวกันป่ะเนี่ย
  • สู้ ๆ ครับ

สวัสดีเจ้าค่ะ พี่เทพ สุดหล่อ

เป็นกำลังใจให้คุณ เป็นกำลังใจให้เธอ เป็นสิ่งเสนอให้ใจ ..ดวงตะวันทอแสง ..... อะไรต่อ ถ้าอยากรู้ ต้องไปหาฟังค่ะ คิคิ แวะมาให้กำลังใจเด้อ (อยากไปสวนป่าอ่ะพี่เทพ แต่อดไป แงๆๆ อยากจะร้อง น้องจิอยากไปเล่นวิ่งไล่จับกับเพื่อนๆอ่ะ) ไม่รู้จะไปบ่นกับใคร มาบ่นกับพี่เทพเนี่ยแหละ สบายใจดีไม่มีใครเห็น เฮ้อ! อย่าบอกใครนะว่าหนูมาบ่นว่าอยากไปอ่ะ 5555++ คิดถึงค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ --->น้องจิ ^_^

  • สวัสดีค่ะ น้องเทพ
  • โห... น้องเทพ เป็นศิษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นี่นา
  • ขอชื่นชม ในการมาฝังตัว ฝึกปฏิบัติ ที่สวนป่าฯ ของพ่อครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์
  • ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ครบถ้วนกระบวนการในทุกระบบ
  • มาเป็นกำลังใจให้น้องเทพ ค่ะ เราก็ในฐานะผู้ทำงานใน มข. (รั้วเดียวกันนะคะ)
  • น้องเทพ ทำดีแล้ว ค่ะ มีเรื่องที่ขอเสริม น้องเทพ คือ
  • วันนี้ น้องเทพ เปิดเล้าไก่ เพื่อรับไก่ใหม่ (ตัวเล็ก)
  • อยากเห็นวิธีการที่น้องเทพ เตรียมความพร้อมในการเปิดเล้าไก่ ว่า จะต้องทำอย่างไร ในการที่เล้าเก่า (มีไก่อ่อน และแก่) อยู่ด้วยกันหรือไม่อย่างไร หรือว่าเปิดเล้าไก่ใหม่ น่ะค่ะ
  • หากว่า เป็นเล้าไก่ใหม่ มีวิธีการเตรียมการอย่างไร น่ะค่ะ
  • อยากรู้ อิอิ
  • มาเป็นกำลังใจนะคะ
  • น้องเทพ จะรู้ดีกว่าคนที่ไม่มาสัมผัสเอง น่าจะตอบได้เป็นเรื่อง ๆ ตามที่ตัวเองทำน่ะค่ะ
  • เดี๋ยวจะช่วยเสริมให้ว่า ควรสรุปอย่างไร ให้คนอื่นอ่านแล้วเข้าใจ นะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ขอเรียกว่าพี่บัวปริ่มน้ำ ก็แล้วกันนะครับ

ฟาร์มที่มาฝึกงานเป็นฟาร์มที่เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ โดยจะเลี้ยงตั้งแต่ตัวเล็กอยู่ เรียกว่าไก่รุ่น เมื่ออายุได้ 19 สัปดาห์แล้วก็จะถูกย้ายมาเลี้ยงที่ฝั่งไก่ใหญ๋ ซึ่งจะเริ่มให้ไข่แล้ว เมื่ออายุถึง 23 สัปดาห์ ครับ

การเปิดเล้าก็จะเป็นการรับไก่อายุที่ได้ 19 สัปดาห์แล้วครับ เป็นเล้าที่ไม่มีไก่อยู่แล้วเพราะถูกปลดไก่ออกไปหมดแล้ว เมื่ออายุได้ประมาณ 67-69สัปดาห์

ผมก็จะขอกล่าวถึงการเตรียมเล้า ก็จะมีการขออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ระบบน้ำ ระบบอาหาร ระบบไฟฟ้า ระบบอากาศ เป็นต้น จะมีการโรยปูนขาว ป้องกันความชื้น จากนั้นก็จะมีการเอาแกลบมาลง พื้น และก็จะเช็คระบบทุกอย่างอีกทีว่าใช้ได้จริง จากนั้นก็มีการ พ่นสารเคมีฆ่าเชื้อ พ่นยาฆ่าแมลง สุดท้ายเป็นการพ่นฟอร์มารีน และก็จะปิดเล้าอย่างน้อย 24 ซม.

และก็จะเปิดเล้าเป็นการระบายอากาศอีกครั้งเมื่อครบ ระยะเวลา อย่างน้อย 24 ซม. จะเปิดพัดลมที่อยู่ท้ายเล้าครับ แล้วก็รอรับไก่ได้เลย

ไม่ทราบว่าพี่บัวปริ่มน้ำอ่านแล้วงงตรงไหนก็ บอกได้เลยครับ อิอิ...

 

  • ขอบคุณค่ะ
  • น้องเทพ คะ
  • ขั้นตอนครบ แต่ขาดรายละเอียด เช่น ระบบน้ำ ระบบอาหาร ระบบไฟฟ้า ระบบอากาศ การโรยปูนขาว
  • ควรมีรายละเอียด แต่ละขั้นตอนว่า ทำไมถึงใส่ ใส่แล้วได้อะไร ขั้นตอนการใส่ เป็นอย่างไร (มีภาพประกอบ) จะมีสีสันมั่กๆๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ระบบอาหาร จะเป็นแบบรางอาหารโดยตัวเมียจะให้แบบอัติโนมัติ

ส่วนตัวผู้จะให้โดยโรยด้วยมือ

ระบบน้ำ เป็นแบบนิปเปิ้ล จะให้กินหัวล่ะ 4-5 ตัว

ระบบแสง เป็นหลอดไฟแรกที่รับไก่มาจะให้เป็นหลอดกลม จะให้ความเข้มแสงที่ 5-10 ลักซ์ จะกระตุ้นช่วงแสงที่อายุได้ 151 วันโดยการเปลี่ยนเป็นหลอดตะเกียบ ความเข้าแสงที่ 60 ลักซ์ ความยาวแสงที่ 10 ซม.

ระบบอากาศ เป็นระบบโรงเรือนปิด ระบายความร้อนด้วยพัดลม และแผ่น cooling pad ที่อยู่ข้างโรงเรือน

ความเร็วลม จะอยู่ที่ 2.5-3 เมตร/วินาที

อุณหภูมิ ภายในเล้าปกติอยู่ที่ 27-28 องศาเซลเซียส

ปูนขาวจะโรย 2 ครั้ง/เดือน โรยเพื่อดูดความชื้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท