ทางเลือกและทางรอดของการศึกษาเอกชนบนเส้นทางรัฐบาลใหม่


คำตอบของการจัดการศึกษาเอกชนคือ "คุณภาพหรือความเป็นเลิศ"
เกริ่นนำ
                เอกชนได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาของประเทศไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่รัฐ   ไม่สามารถจัดได้หรือจัดได้ไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของรัฐในด้านทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณและด้านบุคลากร  รัฐจึงเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่บัญญัติให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม (มาตรา ๘๑) โดยรัฐต้องสนับสนุนให้ “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”  การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน (มาตรา ๔๓) และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีบทบัญญัติที่เอื้อต่อการให้เอกชนเข้ามาลงทุนด้านการศึกษา โดยกำหนดให้เอกชนมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ สามารถจัดการศึกษาได้ทุกระดับ ทุกประเภท โดยรัฐต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ในทางการศึกษาแก่สถานศึกษาเอกชนตามความเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้สถานศึกษาเอกชนมีมาตรฐานด้านและสามารถพึ่งตนเองได้ (มาตรา ๔๓-๔๖)  นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (มาตรา ๑๐) และจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดโดยรัฐและเอกชนให้เท่าเทียมกัน (มาตรา ๖๐(๑)) ทั้งนี้ต้องดำเนินการในระยะเวลาไม่เกิน ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ใช้บังคับ (มาตรา ๗๒) ซึ่งหมายถึงต้องดำเนินการภายในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๕

การบริหารและการจัดการศึกษาเอกชน
                จากรายงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  เรื่อง การติดตามและประเมินผลความก้าวหน้า “การปฏิรูปการศึกษาด้านการบริหารและการจัดการศึกษา” เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา ๒๕๔๗ ของเอกชน (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๔๘: ๔๕-๖๑) มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

๑.       การปรับระบบการบริหารจัดการของสถานศึกษาเอกชน
                 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้การบริหารจัดการศึกษาเอกชน     มีความเป็นอิสระ  โดยมีการกำกับ  ติดตาม  การประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจากรัฐและให้สถานศึกษาเอกชนเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหาร  ทั้งนี้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งขณะนี้ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกาศใช้แล้ว เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖  ส่วนร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ..... อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการได้มาของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาเอกชน พ.ศ.......อยู่ระหว่างการดำเนินการยกร่าง เนื่องจากรอให้ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนประกาศใช้บังคับก่อน  สถานศึกษาเอกชนจึงคงดำเนินการตาม พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ไปพลางก่อน

๒.      การสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน
            ๒.๑ การดำเนินการด้านกฎหมาย มีการประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ออกตามประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๗  เมื่อวันที่ ๓  ตุลาคม  ๒๕๔๗  เพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้าของสถานศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบ และ ประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ออกตามความ   ในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๒๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘ เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชน  นอกจากนี้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กิจการด้านการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน และกระทรวงศึกษาธิการได้ปรับแก้กฎ ระเบียบและแนวปฏิบัติให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาเอกชน ส่วนการยกเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับสถานศึกษาเอกชน คณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๘ มีมติให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีในอัตราต่ำสุดให้แก่สถานศึกษาเอกชนทุกระดับ โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
              ๒.๒ การดำเนินการด้านนโยบาย คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ประชาชน ชุมชน รวมทั้งเอกชนในการจัดการศึกษา เมื่อวันที่ ๒  ธันวาคม ๒๕๔๖ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการเพื่อผลักดันให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น โดยกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทบทวน ปรับปรุง แก้ไข และการออกนโยบาย กฎหมาย และระเบียบปฏิบัติ ส่งเสริมองค์กรทางสังคมต่างๆ ร่วมกันจัดการศึกษาให้ภาคประชาชน เอกชน และธุรกิจเอกชนมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดนโยบาย ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลและสร้างความพร้อมในการมีส่วนร่วม
            นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดมาตรการจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือสนับสนุนการศึกษา เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เช่น เร่งรัดแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่สถานศึกษาเอกชน รวมทั้งการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล หน่วยงาน องค์กร เป็นต้น
             ๒.๓ การอุดหนุนการจัดการศึกษาของเอกชน รัฐได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ภาคเอกชนในด้านต่างๆ เช่น อุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวซึ่งสมทบเงินเดือนครูด้วย ให้ค่ารักษาพยาบาล  ให้ครอบครัวครูโรงเรียนเอกชนเข้าโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และช่วยเหลือครูโรงเรียนเอกชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีการปรับนโยบาย กฎ ระเบียบ ให้เอื้อต่อการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาเอกชน เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน  แนวปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชน รวมทั้งจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและให้ความรู้ ตลอดจนยังอุดหนุนการทำวิจัย เรียบเรียงตำรา การสัมมนาทางวิชาการ และจัดให้มีแหล่งทุนสำหรับกู้/ยืมไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถานศึกษา คือ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชน และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อวิทยาคารสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้
            ๒.๔ การเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน เช่น จัดประชุมสัมมนาผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน เพื่อให้ความรู้ จัดฝึกอบรมครูเพื่อให้มีความรู้ในเรื่องต่างๆ และเทคนิควิธีการสอนและจัดทำคู่มือเสริมสร้างการบริหารจัดการ เป็นต้น

๓.      การมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของเอกชน
        ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ สถานศึกษาเอกชนที่เปิดสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาในระบบ รวมทั้งสิ้น ๓,๕๖๗ โรง เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๔๕ จำนวน ๒๐๐ โรง มีครูอาจารย์ที่สอนการศึกษาในระบบ จำนวน ๑๐๑,๓๐๘ คน และมีนักเรียนในระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑,๙๓๐,๗๐๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๐๘ เมื่อเทียบกับรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๒๑ ในปีการศึกษา ๒๕๔๕
          ส่วนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีจำนวนทั้งสิ้น ๕๔ แห่ง และมีผู้เรียนระดับอุดมศึกษา จำนวน ๔๒๐,๖๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๘๑ เมื่อเทียบกับรัฐ โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ ๒๑.๓๒ ในปีการศึกษา ๒๕๔๕
           เมื่อพิจารณาแนวโน้มของการจัดการศึกษาเอกชนในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา (จากตารางที่ ๒) เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐ (จากตารางที่ ๓) เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๔ โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๓.๐๑ ในปีการศึกษา ๒๕๔๒ เป็นร้อยละ ๑๕.๕๕ ในปีการศึกษา ๒๕๔๖  เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า เอกชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากร้อยละ ๑๓.๓๖ ในปีการศึกษา ๒๕๔๒ เป็นร้อยละ ๑๕.๐๘ ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา จากร้อยละ ๑๘.๓๗ เป็นร้อยละ ๒๐.๙๙ ระดับประถมศึกษา จากร้อยละ ๑๓.๓๖ เป็นร้อยละ ๑๕.๒๙ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากร้อยละ ๖.๐๖ เป็นร้อยละ ๘.๑๖ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทสามัญศึกษา จากร้อยละ ๔.๓๐ เป็นร้อยละ ๖.๔๓ ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา มีแนวโน้มลดลงในช่วงปีแรกและเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปีหลัง คือจากร้อยละ ๓๑.๓๘ ในปีการศึกษา ๒๕๔๒ เป็นร้อยละ ๒๘.๙ ในปีการศึกษา ๒๕๔๔ และเพิ่มเป็นร้อยละ ๓๑.๐๙ ในปีการศึกษา ๒๕๔๖
             ส่วนระดับอุดมศึกษาเอกชน มีส่วนร่วมจัดการศึกษาเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๗ โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีแรกและลดลงในปีหลัง คือจากร้อยละ ๑๐.๒๓ ในปีการศึกษา ๒๕๔๒ เป็นร้อยละ ๒๑.๖๙ ในปีการศึกษา ๒๕๔๔ และลดลงเป็นร้อยละ ๑๘.๑๔ ในปีการศึกษา ๒๕๔๖

ตารางที่ ๑ จำนวนสถานศึกษาของเอกชน ปีการศึกษา ๒๕๔๒-๒๕๔๖ จำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา
ปี ๒๕๔๒
ปี ๒๕๔๓
ปี ๒๕๔๔
ปี ๒๕๔๕
ปี ๒๕๔๖
ก่อนประถมศึกษา
  ๒,๕๔๑
๒,๕๙๕
๒,๖๕๘
๒,๖๙๒
ประถมศึกษา
  ๑,๕๕๗
๑,๕๙๕
๑,๖๑๗
๑,๖๑๙
มัธยมศึกษาตอนต้น
  ๕๗๑
๕๘๔
๕๘๗
๕๙๔
มัธยมศึกษาตอนปลาย
  ๕๐๐
๕๑๘
๕๒๐
๕๑๘
-ประเภทสามัญศึกษา
  ๑๕๙
๑๗๑
๑๗๑
๑๖๗
- ประเภทอาชีวศึกษา
  ๓๔๑
๓๔๗
๓๔๙
๓๕๑
รวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
  ๓,๒๒๑
๓,๒๕๘
๓,๓๖๗
๓,๕๖๗
อนุปริญญา/ปวส./เทียบเท่า
  ๓๑๒
๓๒๔
๓๒๒
๓๒๑
ปริญญาตรี
  ๔๗
๕๑
๕๔
๕๓
สูงกว่าปริญญาตรี
  ๒๕
๒๖
๒๗
๓๒
รวมสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
  ๓๕๙
๓๗๕
๓๗๖
๓๗๖
หมายเหตุ : จำนวนสถาบันจำแนกตามระดับการศึกษามีการนับซ้ำ เนื่องจากบางแห่งเปิดสอนมากกว่า ๑ ระดับ
ที่มา :   ๑. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. สถิติการศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา ๒๕๓๙-๒๕๔๓.
           ๒. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. ข้อมูลการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา ๒๕๔๒.
           ๓. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. ข้อมูลการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา ๒๕๔๔.
           ๔. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. ข้อมูลการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา ๒๕๔๕.
           ๕. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. สถิติการศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา ๒๕๔๖.

ตารางที่ ๒ จำนวนนักเรียน-นักศึกษา การศึกษาในระบบโรงเรียนของเอกชน ปีการศึกษา ๒๕๔๒-๒๕๔๖ จำแนกตามระดับการศึกษา
                                  ปีการศึกษา
ระดับการศึกษา
ปี ๒๕๔๒
ปี ๒๕๔๓
ปี ๒๕๔๔
ปี ๒๕๔๕
ปี ๒๕๔๖
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑,๗๑๘,๑๒๐
๑,๗๒๐,๘๒๒
๑,๗๖๖,๑๖๘
๑,๘๒๖,๑๘๙
๑,๙๓๐,๗๐๗
ก่อนประถมศึกษา
๕๑๓,๗๐๐
๕๓๒,๒๓๖
๕๔๗,๔๑๑
๕๔๑,๕๒๔
๕๕๐,๐๒๓
ประถมศึกษา
๗๙๖,๖๔๑
๘๑๗,๘๙๕
๘๔๙,๐๗๑
๘๘๘,๕๑๓
๙๒๗,๖๔๓
มัธยมศึกษาตอนต้น
๑๔๔,๑๑๖
๑๔๒,๖๑๘
๑๔๙,๔๕๓
๑๖๓,๗๗๕
๒๐๑,๑๒๔
มัธยมศึกษาตอนปลาย
๒๖๓,๖๖๓
๒๒๘,๐๗๓
๒๒๐,๒๓๓
๒๓๒,๓๗๗
๒๕๑,๙๑๗
-ประเภทสามัญศึกษา
๔๔,๔๙๒
๔๖,๗๐๙
๔๙,๐๘๔
๕๑,๐๗๘
๖๘,๐๙๓
- ประเภทอาชีวศึกษา
๒๑๙,๑๗๑
๑๘๑,๓๖๗
๑๗๑,๑๔๙
๑๘๑,๒๙๙
๑๘๓,๘๒๔
การศึกษาระดับอุดมศึกษา
๑๖๘,๐๙๙
๒๐๑,๕๕๕
๔๐๖,๐๒๔
๔๒๑,๒๗๖
๔๒๐,๖๔๐
อนุปริญญา/ปวส./เทียบเท่า


๑๘๒,๒๑๔
๑๗๐,๕๓๔
๑๖๗,๐๑๐
ปริญญาตรี
๑๕๙,๑๒๔
๑๙๐,๖๕๐
๒๑๒,๒๒๓
๒๓๘,๖๒๓
๒๔๒,๐๕๒
ประกาศนียบัตร




๒๕
ปริญญาโท
๘,๙๐๖
๑๐,๘๐๖
๑๑,๕๕๐
๑๒,๐๔๒
๑๑,๔๕๐
ปริญญาเอก
๖๙
๙๙
๓๗
๗๗
๑๐๓
รวมทั้งหมด
๑,๘๘๖,๒๑๙
๑,๙๒๒,๓๗๗
๒,๑๗๒,๑๙๒
๒,๒๔๗,๔๖๕
๒,๓๕๑,๓๔๗
หมายเหตุ : จำนวนสถาบันจำแนกตามระดับการศึกษามีการนับซ้ำ เนื่องจากบางแห่งเปิดสอนมากกว่า ๑ ระดับ
ที่มา :   ๑. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. สถิติการศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา ๒๕๓๙-๒๕๔๓.
           ๒. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. ข้อมูลการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา ๒๕๔๔.
           ๓. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. ข้อมูลการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา ๒๕๔๕.
           ๔. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. สถิติการศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา ๒๕๔๖.

การประเมินคุณภาพการศึกษา             
         ในด้านคุณภาพการศึกษา จากการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ ปีการศึกษา ๒๕๔๖ โดยกรมวิชาการ ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นแระถมศึกษาปีที่ ๓ ประถมศึกษาปีที่ ๖ และมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และความถนัดทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสูงกว่าโรงเรียนของรัฐในทุกวิชา ทุกระดับการศึกษา
                นอกจากนี้ จากรายงานผลการประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชน ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนตามมาตรฐานการศึกษา มีบางมาตรฐานที่อยู่ในระดับพอใช้ บางมาตรฐานอยู่ในระดับดี และไม่แตกต่างจากรัฐ  ส่วนผลการศึกษาประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนรัฐ ชี้ให้เห็นว่าไม่แตกต่างกัน  นอกจากนี้จาการวิเคราะห์ประสิทธิผลในการจัดการศึกษาโดยใช้แบบจำลอง พบว่า ในปี ๒๕๔๕ โรงเรียนเอกชนช่วยแบ่งเบาภาระด้านงบประมาณของรัฐได้ประมาณ ๒๒,๕๐๐ ล้านบาท และคาดประมาณว่า ในระหว่างปี ๒๕๔๖-๒๕๕๕ จะช่วยแบ่งเบาภาระด้านงบประมาณได้ ๓๒๘,๘๗๙ ล้านบาท
                จากรายงานดังกล่าวยังพบว่า สถานศึกษาเอกชนตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการศึกษา มีการประกันคุณภาพการศึกษา มีการบริหารจัดการที่ดี ทำให้ผู้ปกครองมีความพึงพอใจและให้ความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการศึกษา ครูมีสมรรถภาพและคุณลักษณะในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี และจัดการเรียนการสอนอยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้

ตารางที่ ๓  ร้อยละของนักเรียน-นักศึกษา การศึกษาในระบบโรงเรียนของเอกชน เมื่อเทียบกับรัฐ      ปีการศึกษา ๒๕๔๒-๒๕๔๖ จำแนกตามระดับการศึกษา
                        ปีการศึกษา
ปี ๒๕๔๒
ปี ๒๕๔๓
ปี ๒๕๔๔
ปี ๒๕๔๕
ปี ๒๕๔๖
ระดับการศึกษา
รัฐ
เอกชน
รัฐ
เอกชน
รัฐ
เอกชน
รัฐ
เอกชน
รัฐ
เอกชน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
๘๖.๖๔
๑๓.๓๖
๘๖.๖๒


๑๓.๓๘
๘๖.๒๓
๑๓.๗๗
๘๕.๗๙
๑๔.๒๑
๘๔.๙๒
๑๕.๐๘
ก่อนประถมศึกษา
๘๑.๖๓
๑๘.๓๗
๘๐.๗๘
๑๙.๒๒
๗๙.๗๗
๒๐.๒๓
๗๙.๘๒
๒๐.๑๘
๗๙.๐๑
๒๐.๙๙
ประถมศึกษา
๘๕.๖๔
๑๓.๓๖
๘๖.๔๒
๑๓.๕๘
๘๕.๙๕
๑๔.๐๒
๘๕.๔๓
๑๔.๕๗
๘๔.๗๑
๑๕.๒๙
มัธยมศึกษาตอนต้น
๙๓.๙๓
๖.๐๖
๙๓.๙๑
๖.๐๙
๙๓.๖๐
๖.๔๐
๙๓.๐๙
๖.๙๑
๙๑.๘๔
๘.๑๖
มัธยมศึกษาตอนปลาย
๘๔.๗๒
๑๕.๒๘
๘๖.๗๙
๑๓.๒๓
๘๗.๒
๑๒.๘
๘๖.๓๙
๑๓.๖๑
๘๔.๗๔
๑๕.๒๖
-ประเภทสามัญศึกษา
๙๕.๗๐
๔.๓๐
๙๕.๗๖
๔.๒๔
๙๕.๖๕
๔๐.๓๕
๙๕.๓๖
๔.๖๔
๙๓.๕๗
๖.๔๓
- ประเภทอาชีวศึกษา
๖๘.๑๖
๓๑.๘๓
๗๐.๘๙
๒๙.๑๑
๗๑.๑๐
๒๘.๙๐
๗๐.๐๙
๒๙.๙๑
๖๘.๙๑
๓๑.๐๙
การศึกษาระดับอุดมศึกษา
๘๙.๗๗
๑๐.๒๒
๘๘.๗๙
๑๑.๒๑
๗๘.๓๑
๒๑.๖๙
๙๘.๖๘
๒๑.๓๒
๘๑.๘๖
๑๘.๑๔
ต่ำกว่าปริญญาตรี
๑๐๐

๑๐๐

๖๐.๕๘
๓๙.๔๒
๖๑.๐๑
๓๘.๙๙
๗๘.๘๕
๒๑.๑๕
ปริญญาตรี
๘๕.๕๒
๑๔.๔๗
๘๔.๕๒
๑๕.๔๗
๘๓.๖๐
๑๖.๔๐
๘๒.๙๖
๑๗.๐๔
๘๒.๖๖
๑๗.๓๔
ประกาศนียบัตร
๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๙๙.๔
๐.๖
ปริญญาโท
๘๙.๓๘
๑๐.๖๑
๘๗.๙๗
๑๒.๐๓
๘๙.๓๑
๑๐.๖๙
๙๐.๔๙
๙.๕๑
๙๐.๔๗
๙.๕๓
ปริญญาเอก
๙๗.๐๖
๒.๙๔
๙๖.๙๐
๓.๑๐
๙๙.๒๗
๐.๗๓
๙๘.๗๖
๑.๒๔
๙๘.๗๒
๑.๒๘
รวมทั้งหมด
๘๖.๙๙
๑๓.๐๑
๘๖.๘๘
๑๓.๑๒
๘๕.๒๒
๑๔.๗๘
๘๔.๘๕
๑๕.๑๕
๘๔.๔๕
๑๕.๕๕
                         

หมายเหตุ : จำนวนสถาบันจำแนกตามระดับการศึกษามีการนับซ้ำ เนื่องจากบางแห่งเปิดสอนมากกว่า ๑ ระดับ
ที่มา :   ๑. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. สถิติการศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา ๒๕๓๙-๒๕๔๓.
           ๒. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. ข้อมูลการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา ๒๕๔๔.
           ๓. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. ข้อมูลการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา ๒๕๔๕.
           ๔. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. สถิติการศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา ๒๕๔๖.
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
               
จากการดำเนินการศึกษาวิเคราะห์แนวทางในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาเอกชน พบว่ามีปัญหาอุปสรรคสำคัญ ดังนี้
                ๑. ร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ..........ไม่มีการประกาศใช้ ทำให้การบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนไม่มีความชัดเจน
                ข้อเสนอแนะ
                กระทรวงศึกษาธิการควรเร่งรัด ผลักดันให้มีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พร้อมทั้งนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาตามขั้นตอนนิติบัญญัติโดยเร่งด่วน
                ๒. นโยบายการรับนักเรียนของรัฐไม่ได้มีการกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียนระหว่างสถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่ชัดเจนทุกระดับ ทำให้สถานศึกษาเอกชนขาดโอกาสในการวางแผนการศึกษาอย่างเป็นระบบ
ข้อเสนอแนะ
                กระทรวงศึกษาธิการ ควรมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ส.พ.ฐ., อาชีวศึกษาและสช. ร่วมกันกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างชัดเจน โดยเพิ่มสัดส่วนการรับนักเรียนเอกชนให้สูงขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการสนับสนุนส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น โดยมอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นผู้ประสานงาน
                ๓. การเปิดสอบบรรจุครูกลางปี ของภาครัฐ  ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนครูดี ครูเก่งของภาคเอกชน  เพราะเมื่อมีการสอบบรรจุ ครูเอกชนที่ไปสอบมักจะได้รับการคัดเลือก เพราะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ความรู้มากกว่าครูที่จบใหม่ๆ
ข้อเสนอแนะ
                กระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรหลีกเลี่ยงการเปิดสอบบรรจุครูกลางปี เพื่อไม่ให้กระทบต่อสถานศึกษาเอกชน
                ๔. การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ผู้เรียนในระดับก่อนประถมศึกษาเพียง ๒ ชั้นเรียน ตามมติคณะรัฐมนตรี ทำให้มีผลกระทบต่อสถานศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ๓ ชั้นเรียน ทั้งที่สถานศึกษาได้รับนักเรียนชั้นอนุบาล ๑ ไว้ก่อนแล้ว จึงทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการและงบประมาณของโรงเรียนไม่เพียงพอ
ข้อเสนอแนะ
                กระทรวงศึกษาธิการ ควรให้การอุดหนุนโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนอนุบาล ๑ ซึ่งเคยได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวมาก่อนที่จะมีมติคณะรัฐมนตรี  เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ปกครองนักเรียนที่เคยได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือมาก่อนแล้ว
                ๕. โรงเรียนเอกชนที่ตั้งอยู่ส่วนภูมิภาค ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเท่าที่ควร ทั้งในด้านการจัดอบรมครู การสนับสนุนช่วยเหลือเชิงวิชาการ การนิเทศภายนอก โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ มีข้อจำกัดบางประการ เช่น ไม่ได้ตั้งงบประมาณเผื่อโรงเรียนเอกชน เพราะรัฐจัดสรรมาให้เฉพาะโรงเรียนภาครัฐเท่านั้น  ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาบางเขตขาดความรู้ ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาเอกชน บางครั้งจึงไม่เห็นความสำคัญ หรือยึดระเบียบ กฎเกณฑ์ตายตัว ทำให้โรงเรียนไม่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการศึกษา
ข้อเสนอแนะ
                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส.พฐ.)ร่วมกับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ควรจัดประชุมชี้แจงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ กฎ ระเบียบ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมกา

หมายเลขบันทึก: 18034เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2006 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท