ในช่วงแห่งความโกลาหล คนที่จะรอด ต้องดำรงชีวิตแบบ "ต้นทุนต่ำ"
แนวโน้มใหญ่ระดับโลก เกิดมานับสิบปีแล้ว เราเริ่มเห็นได้จาก องค์กร-บรรษัท ที่นำมาใช้ก่อน
การ outsource ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่ทำให้องค์กร สามารถปรับตัวสู่ภาวะต้นทุนต่ำ
ดูเผิน ๆ ค่าใช้จ่ายจากการ outsource ไม่ต่างจากเดิม
แต่จริง ๆ แล้ว ความแตกต่างอยู่ตรงคำว่า "ภาระผูกพัน" ซึ่งเป็นส่วนที่มองไม่ค่อยเห็น
แต่มีอยู่จริง มีมากด้วย
มากจนเป็นภาระ
การ outsource ทำให้การจ่ายการจ้าง จบลงตรงนั้นได้อย่างบริบูรณ์ ไม่ลุกลามบานปลาย
และการ outsource ก็ทำให้โครงสร้างของต้นทุน กลายเป็น variable cost ไป (จากเดิม ที่เป็น fixed cost)
ผลคือ ต่อให้ยอดขายลดลง บริษัท ก็ยังไม่ขาดทุน
เป็นการ "ทำกำไรได้ทุกระดับของรายรับ"
นี่คือการดำรงตนแบบต้นทุนต่ำ ในแบบฉบับขององค์กร
ต้นทุนต่ำ ไม่จำเป็นต้องจ่ายถูก
อาจจ่ายแพงกว่า แต่แพงแบบมีผลดีตามหลัง หรือไม่มีผลเสียตามหลัง
...ให้เห็นภาพ...
ถ้าผมจ่ายเงินซื้อคอมพิวเตอร์มาก แต่ได้บริการที่ดี ได้การใช้งานที่เสถียร ก็เท่ากับผมได้ "ของถูก"
ถ้าผมจ่ายเงินซื้อคอมพิวเตอร์น้อย แต่สร้างปัญหาทุกย่างก้าว จ่ายเท่าไหร่ก็ "แพง"
ในระดับของคนทั่วไปบ้าง
ดำรงตนแบบต้นทุนต่ำ ก็คือ ทำให้ "ทำกำไรได้ทุกระดับของรายรับ"
หรือหากทำไม่ได้ ก็อาจทำแบบที่รองลงมา
"ไม่ขาดทุน ในทุกระดับของรายรับ"
คือใช้ชีวิตแบบไม่เกินตัว ใช้น้อยกว่าที่หาได้
ครอบครัวที่มีลูกโต บางที ลูกเจาะกระเป๋าพ่อแม่แบบเลือดเย็น เห็นแล้วสยดสยอง
สมัยก่อน เวลาคนสื่อสารด้วยโทรเลข คิดแล้วคิดอีก ว่าจะใช้คำน้อยที่สุด ว่ายังไง อีกฝ่ายจะได้รู้เรื่อง
เดี๋ยวนี้ เผาเงินส่งไปทางอากาศ ผ่านสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "มือถือ" ไม่ต้องบันยะบันยัง
แม้แต่การทำสวนทำไร่ หรือทำนา ก็เช่นกัน
แนวคิดที่ "ลงทุนหนา เพื่อกำไรหนัก" มักเป็นแนวคิดที่ดูเย้ายวนใจ ทำให้ชาวนาขาดทุนมานักต่อนัก
ทำนา ใช้ปุ๋ยมากกว่าราคาข้าว มีอะไรผิดคาดนิดเดียว หนี้ท่วมหัวท่วมหูทันที
สารเคมีที่อัดไม่ยั้ง ยังกลายเป็นยาพิษนองแผ่นดินอีกต่างหาก
เดี๋ยวนี้ บางหมู่บ้าน ปลูกผัก เพื่อขายคนอื่น หัวเด็ดตีนขาด ไม่กินสิ่งที่ตัวเองปลูก (ใส่ยาเยอะ ขืนกินก็ตาย)
ซื้อคนอื่นปลูกมากินดีกว่า (เผื่อมันใส่สารเคมีน้อยกว่าเรา 555 ... แต่กินแล้วก็ได้มะเร็งเหมือนกัน - ชีวิตหักมุมซึ่ง ๆ หน้า)
แนวคิดที่ เน้น "ทุนต่ำมาก จะขายได้เท่าไหร่ กำไรเห็น ๆ" ก็มีอยู่ให้เห็น (ตัวอย่าง: ข้าว, ต้นไม้)
ถ้าไม่ปรับตัว ปีหน้า อยู่ยากกว่านี้ครับ
สวัสดีค่ะ
เคยมีประสบการณ์ การพยายามทำให้องค์กรสามารถปรับตัวลงสู่การมีต้นทุนต่ำได้
ส่วนใหญ่คนมักเข้าใจว่า การตัดค่าใช้จ่าย" ก็คือ การลดต้นทุน
บางทีการลดต้นทุนไม่จำเป็นต้องมีการตัดค่าใช้จ่ายก็ได้
หากว่าการใช้จ่ายนั้นเกิดประสิทธิผล (Effectiveness) หรือมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
หากยังคงมุ่งหน้าที่จะตัดค่าใช้จ่าย ด้วยความหน้ามืด โดยออกคำสั่งว่า ?ขอให้ทุกแผนกไปลดค่าใช้จ่ายลงมา 5% บางที เหตุการณ์เช่นนี้ ไม่บังเกิดผลอย่างแท้จริง
หัวหน้างานเพียงแต่ทำให้ "ถูกใจ" ผู้บังคับบัญชาเท่านั้น
การผลิตสินค้าและบริการที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า หรือต้นทุนที่เกิดจากการทำผิดแล้วต้องมีการแก้ไขอยู่บ่อยๆ
มีนัยสำคัญกว่าการไปดูรายละเอียด ไปดูทีละรายการ การทำงานเป็นคุณนายละเอียด นอกจากจะไม่ทำให้ต้นทุนลดลงแล้ว กลับทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ
ที่เคยทำคือ...ต้นทุนของสินค้า และบริการเป็นภาระหน้าที่ ของทุกคนทุกระดับที่ต้องมีความรับผิดชอบ ที่จะทำให้เกิดการลดต้นทุนที่จริงจัง และสามารถควบคุมให้ระดับต้นทุนของสินค้า/บริการของเรา ไม่สูงกว่าต้นทุนของคู่แข่ง และผู้นำในตลาด
เพราะผู้ผลิตที่มีต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งมากก็ย่อมยืนระยะอยู่ได้ไม่นานนักค่ะ
และการเดินเครื่อง เต็มกำลังการผลิต คือ 80-85 % คือ Economy of Scale ที่ต้องทำให้ได้ เพราะ ต้นทุนจะต่ำทันที
ที่เหลืออีก 10-15% เป็นช่วงหยุดเครื่องจักร เพื่อบำรุงรักษาค่ะ
สวัสดีครับ พี่ Sasinanda
ส่วนใหญ่คนมักเข้าใจว่า การตัดค่าใช้จ่าย ก็คือ การลดต้นทุน
อาจารย์ใช้คำพูดได้ตรงประเด็นจริงๆนะคะ
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็น คือในโรงพยาบาล บางที มีการลดพยาบาลลง ในกะกลางคืน จริงๆก็ดู จะลดค่าใช้จ่ายอยู่...
แต่บางที ถึงคราวเคราะห์ มีคนไข้หนักมาหลายคนทีเดียวกัน เกิดการผิดพลาด ถุกฟ้องร้อง บางทีกับการมีพยาบาลตามที่ควรจะมี ก็คุ้มกว่าค่ะ
่อ่านแล้วทำให้นึกถึงหลายเรื่องด้วยกันค่ะ ^ ^ (ฟุ้ง)
"สมัยก่อน เวลาคนสื่อสารด้วยโทรเลข คิดแล้วคิดอีก ว่าจะใช้คำน้อยที่สุด ว่ายังไง อีกฝ่ายจะได้รู้เรื่อง
เดี๋ยวนี้ เผาเงินส่งไปทางอากาศ ผ่านสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "มือถือ" ไม่ต้องบันยะบันยัง"
ไหงไปจบรัฐธรรมนูญได้ไงก็ไม่รู้แฮะ ^ ^ ของใครแก้บ่อย เข้าข่ายต้นทุนต่ำ! อิอิ
"อาจารย์ใช้คำพูดได้ตรงประเด็นจริงๆนะคะ" - Sasinanda
พี่ Sasinanda: คำชมใช่ไหมครับ ? (<-- ร้อนตัวครับ อิอิ กินปูนเยอะ ไปหน่อย)
อาจารย์ กมลวัลย์:
ความเข้มข้นของแก่นแท้ ต้องวัดกันด้วย Kolmogorov complexity
แต่ก็ต้องดูว่า จะวัดเรื่อง ผลประโยชน์ใคร ?
สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์
* แวะมาอ่านมุมมองค่ะ
* ที่ทำงานก็ใช้ outsource ค่ะในบางตำแหน่ง
* เรียนถามท่านอาจารย์ เกี่ยวกับการใช้ยา ... อย่างไรให้ มีต้นทุนต่ำคะ
* ... ไม่เอาคำตอบ แบบ รักษาสุขภาพดีๆ จะได้ไม่ต้องทานยานะคะ อิ อิ
* ขอบพระคุณ ฝันดีนะคะ
สวัสดีครับ คุณ
poo
"สมัยก่อน เวลาคนสื่อสารด้วยโทรเลข คิดแล้วคิดอีก ว่าจะใช้คำน้อยที่สุด ว่ายังไง อีกฝ่ายจะได้รู้เรื่อง เดี๋ยวนี้ เผาเงินส่งไปทางอากาศ ผ่านสิ่ง(ไม่)มีชีวิตที่เรียกว่า "มือถือ" ไม่ต้องบันยะบันยัง"
เรื่องนี้ กู่ไม่กลับแล้วนะคะอาจารย์
ส่วนตัวมีไว้รับ ถ้าเลิกโดยเด็ดขาดจะเป็นยังไงหนอ
"ใช้ชีวิตแบบไม่เกินตัว ใช้น้อยกว่าที่หาได้"คำตอบ..อยู่นี่เอง
ชีวิตต้นทุนต่ำ ตามแนวคิดท่านอาจารย์wibul คือ
การทำชีวิตให้เข้าใกล้ ชีวิตภาระต่ำ ชีวิตความเสี่ยงต่ำ ชีวิตไม่ประมาท หรือชีวิตสุขใจ ทำนองนี้หรือเปล่าครับ