แนวคิดในการจัดประชุมวิชาการเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง <ควร มิควรแล้วแต่..ขอความเห็น>


คงเป็นที่ทราบกันว่า "เครือข่าย" นั้นมีความสำคัญแค่ไหน วิจัยก็เหมือนกัน เครือยข่าย ความร่วม ความรู้ ประสบการณ์ สำคัญอย่างยิ่ง

คงเป็นที่กันดีว่าในสังคมทุกวันนี้เราอยู่กันด้วยความร่วมมือซึ่งกันและกัน ความร่วมมืออาจจะเกิดขึ้นไม่ได้หรือได้แต่ก็ยากมากหากปราศจาก "เครือข่าย"  เครือข่ายนั้นมีหลายประเภท อาทิเช่น เครือข่ายระหว่างองค์กร เครือข่ายระหว่างบุคคล  สังเกตได้จากเครือข่าย ในแวดวงธุรกิจ การเมืองต่าง ๆ มีทั้งดีและไม่ดี แต่หากเรานำเครือข่ายมาใช้ในทางที่ดี เพือสร้างสิ่งดี ๆ แล้วนั้น คำว่าเครือข่ายย่อมมีคุณค่าขึ้นมา ในแวดวงวิชาการก็เหมือนกัน เรามีเครือข่ายวิชาการวิศวกรรมเครื่องกล (ME-NETT) เครือข่ายทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า (ECON) เครือข่ายพลังงาน (E-NETT) อื่น ๆ อีกมากมาย  แต่ในสังคมวิชาการภาคเหนือตอนล่างนั้น เราคงเล่งเห็นแล้วว่า มน. มีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางเครือข่ายงานวิจัยภาคเหนือตอนล่าง http://www.research.nu.ac.th/research/netframeset.htm

แต่เรายังคาดเวธี แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงเวธีแห่งการนำเสนอผลงานวิชาการของกลุ่มนักวิจัยในพื้นที่ และสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างท้องถิ่นกับนักวิจัยเอง เวธีดังกล่าวตรงนี้หน้าจะได้ประโยชน์หลาย ๆ อย่างในความคิดของผมนะ หากอาจารย์ท่านอื่นมีความคิดเห็นยังไงก็ขอให้เสนอแนะมา ประโยชน์ที่หน้าจะได้มาจากการจัดงานประชุมวิชาการเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง

  1. เวธีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์การทำวิจัย และนำเสนอผลงานของกลุ่มนักศึกษานักวิจัยต่าง ๆ
  2. ความคิดเห็น ต่าง ๆ เพื่อนำเสนอออกมาเป็นนโยบายในการพัฒนาในกลุ่มพื้นที่
  3. สร้างปฏิสัมพันธ์ทางความคิด ระหว่างผู้ใช้บริการ (ประชาชนทั่วไป หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งรัฐและเอกชน) และผู้ให้บริการ (นักวิจัยเองได้พบปะทะแลกเปลี่ยน)
  4. ทราบโจทย์ปัญหาของแต่ละพื้นที่

 ควรหรือมิควรแล้วแต่ความคิดเห็นและนโยบายของมหาวิทยาลัย หากเห็นควรผมพร้อมต่อยอดแนวคิดเหมือนการสร้างเครือข่ายพลังงานที่ประสบความสำเร็จมาในปีที่แล้ว

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17819เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2006 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่าง (สกอ.) เป็นเครือข่ายที่มีความร่วมมือกันดี เข้มแข็งมากพอสมควร ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันมาตลอดตั้งแต่ต้นปี 2547 กิจกรรมร่วมกันครั้งต่อไป คือ 29 มี.ค. 49 (รายงานผลก้าวหน้าโครงการวิจัยของเครือข่าย) 20-21 เม.ย. 49 พัฒนาชุดโครงการวิจัยร่วมกัน (ที่ทรัพย์ไพรวัลย์ ท่านอาจารย์พีรเดชเป็นวิทยากร) ดังนั้น ถ้าอาจารย์ท่านใดสนใจอยากมีเครือข่ายครอบคลุม 15 สถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างก็ขอให้ติดต่อได้ที่งานวิจัย มน. ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท