03. สร้างให้ลูกเป็นนักวางแผน กำหนดเส้นทางชีวิตด้วยตนเอง


ความเชื่อสำคัญ "คนเราสามารถกำหนดชีวิตได้ด้วยตนเอง" และ "การวางแผนจะช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น"

ฝึกทักษะการวางแผน

....ขณะที่ผมเรียนชั้นป.2 จำได้ว่า แม่สั่งให้ผมจดสิ่งที่จะต้องทำในแต่ละวัน(หลังจากที่ผมเขียนหนังสือได้แล้ว) โดยจดล่วงหน้าทุกวัน หมายความว่า “ให้มีการจดลงในสมุดว่า วันพรุ่งนี้จะทำงานสำคัญ ๆ อะไรบ้าง  อย่างน้อย 5 รายการต่อวัน” เช่น ล้างจาน จัดห้องนอน ทำความสะอาดหิ้งพระ ทำการบ้าน ฯลฯ  ถ้าเป็นวันธรรมดา จันทร์ถึงศุกร์ ให้จดไว้ 5 รายการ  เสาร์-อาทิตย์ 8 รายการ  เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ถ้าทำครบ 8 รายการตั้งแต่ภาคเช้า ก็ถือว่า มีเวลาเป็นอิสระแล้ว จะไปเที่ยวไหนก็ได้ บางวันผมอยากเที่ยวมาก หรือต้องการไปเล่นที่บ้านป้ากับพี่ ๆ ต้องรีบตื่นแต่เช้า(จริง ๆ แล้ว คุณพ่อจะปลุก ไม่เกิน 6.00 น  อยู่แล้ว)เพื่อทำงานตามที่จดไว้ให้แล้วเสร็จ แล้ววิ่งไปรายงานคุณแม่ว่า “ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว” ตอนค่ำของทุกวันจะมีการสรุปว่าวันนี้ทำงานได้ครบตามเป้าหมายหรือไม่ ก่อนที่จะจดงานที่จะต้องทำในวันถัดไป  ผมเคยถามแม่ว่า ตอนที่ผมยังไม่เข้า ป.1 แม่จดให้ผมหรือ(ผมจำเหตุการณ์ไม่ได้) แม่บอกว่า “ตอน 5-6 ขวบ แม่สั่งให้นึกไว้ในใจว่าพรุ่งนี้จะทำอะไรบ้าง(ใช้วิธีนึกไว้ในใจ)”

...หลังจากที่ผมเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ เรียนต่อ จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3(ม.ศ.3) ซึ่งต้องไปอาศัยอยู่กับพี่ชายคนโต(เนื่องจากโรงเรียนใกล้บ้าน ไม่มีชั้นประถมศึกษาตอนปลาย หรือ ป.5-7) แม่บอกว่าให้จดงานที่สำคัญ ๆ โดยให้จดบันทึกงานที่จะต้องทำเป็นรายสัปดาห์  (ผมเชื่อว่า ในขณะที่ผมเรียนปริญญาตรี ถ้าผมพักอยู่กับคุณแม่ ผมคงต้องวางแผนรายเดือน หรือรายปี อย่างแน่นอน)

....จากการ “ต้องนึกไว้ในใจ สิ่งจะต้องทำแต่ละวันในช่วงปฐมวัย”  “จดสิ่งที่จะต้องทำเป็นรายวัน ขณะเรียนชั้น ป.2-4” และ “จดบันทึกสิ่งที่จะต้องทำเป็นรายสัปดาห์ เมื่อเรียนชั้น ป.5 –ม.ศ.3”   ผมติดนิสัยเหล่านี้มาจนจบปริญญาตรีและจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือขณะเป็นครูใหม่ ๆ (หลังจบปริญญาตรี)จะมีกระดาษแผนเล็ก ๆ ใส่ไว้ในประเป๋าเสื้อเสมอ เป็นกระดาบันทึก “สิ่งที่จะต้องทำวันนี้” แต่ในปัจจุบัน ผมไม่ได้ใช้กระดาษแล้ว ใช้มือถือเพื่อการบันทึกข้อมูลแทน ขณะอยู่ที่บ้านจะใช้โปรแกรม Microsoft Outlook ทั้งเพื่อการนัดหมายและกำหนดงานที่จะต้องทำในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์(ถ้าแม่ยังอยู่ แม่คงดีใจว่า บัดนี้ ลูกชายทันสมัยมากแล้ว ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการวางแผน)

 

ปลูกฝังค่านิยมในการกำหนดเป้าหมายชีวิตหรืออนาคตของตนเอง

......นอกเหนือจากการสอนให้เป็นนักวางแผนการทำงาน ดังกล่าวข้างต้นแล้ว  คุณแม่ปฏิเสธหมอดู ไม่ให้ความสำคัญกับการตรวจดวงชะตาชีวิต โดยกล่าวเสมอว่า “เราจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเอง”  “ถ้าเราทำดี สักวันหนึ่ง คงได้ดี”  “เราจะต้องกำหนดชีวิตของเราเอง” คำสอนเหล่านี้ได้กลายมาเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตของผม  คือ “ชีวิต กำหนดได้ด้วยตนเอง ถ้าเราทำงานหนัก ความสมบูรณ์ในชีวิตจะตามมา”

......ในทางปฏิบัติ แม่จะให้ผมเลือกอนาคตของตนเอง  เช่น เมื่อผมจบชั้น ป.4 แม่ถามว่า “จะเรียนต่อ หรือ จะทำสวนยาง” ให้เลือก 2 ทาง ผมตอบว่า “ให้ผมเรียนต่อเถอะแม่ ผมสอบที่ 1 ของตำบล น่ะ”  เมื่อ ผมจบ ป.7(ประถมศึกษาตอนปลาย) แม่ถามผมเป็นครั้งที่ 2 ว่า “จะเรียนต่อ หรือว่าจะออกไปทำสวนยาง” ผมก็ยืนยันเช่นเดิมว่า “ผมขอเรียนต่อ”  แม่ย้ำและขอคำยืนยันว่า “ลูกเลือกเองน่ะ ถ้าลูกตัดสินใจที่จะเรียนต่อ จะต้องตั้งใจเรียน เพราะพ่อ-แม่ ไม่ได้ร่ำรวยหรือมีทรัพย์สมบัติที่จะฟุ่มเฟือยได้”  ผมรับคำ   และทุกครั้งที่ผมจบช่วงชั้นที่สำคัญ ๆ เช่น   ม.ต้น   ม.ปลาย  แม่จะถามว่าจะเรียนอะไรต่อไป และวางแผนไว้หรือไม่ว่า จบแล้วจะทำอะไร ที่ไหน  ทุกอย่าง ผมตัดสินใจเองหมดขอแต่เพียงอธิบายเหตุผลให้แม่ฟังก็พอ  สิ่งที่แม่จะถามก็คือ “ลูกคิดรอบคอบแล้วใช่ไหม” (คำถามนี้ ถ้าในปัจจุบัน น่าจะเป็นการสอน “ให้คิดแบบรอบคอบ ไม่เสี่ยง มีภูมิคุ้มกัน”)

....... ด้วยการมีค่านิยมในการวางแผน เลือกเป้าหมายชีวิตและกำหนดอนาคตด้วยตนเอง เมื่อผมจบปริญญาตรี ผมได้ตั้งเป้าหมายในชีวิตที่สำคัญ ที่มีผลอย่างยิ่งต่อชีวิตผม คือ 1) ผมจะอ่านหนังสือวันละ 50 หน้า (ทำยากนะท่าน สำหรับครูในชนบท  อันนี้ผมได้แรงบันดาลใจจากการไปประชุมที่บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ในซอยสวนพลู ขณะเรียนมหาวิทยาลัย ปี 3  ..ผมค่อยบอกเหตุผลนะครับว่า “มีเหตุการณ์อะไรในชีวิตผมจึงต้องไปประชุมที่บ้านท่าน) และ 2) ผมจะเป็นครูโรงเรียนบ้านไผ่ 3 ปี แล้วจะไปเรียนต่อปริญญาโท และ จะกลับไปทำงานที่บ้านไผ่ 3 ปี แล้วจะไปเรียนต่อปริญญาเอก อีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งถ้าตามแผนนี้ ผมจะจบปริญญาโท เมื่ออายุ 26 ปี และ จะจบปริญญาเอก เมื่ออายุ 32 ปี....ท่านเชื่อหรือไม่ “ผมทำได้ ใกล้เคียงกับแผนที่สุด(พลาดไปแค่ภาคเรียนเดียว)   ในปัจจุบัน  ผมได้ตั้งเป้าเป็นรายปี และเซ็นสัญญากับตนเอง(ทำ MOU กับตนเอง) โดยมีการตั้งเป้าว่า ปีนี้ จะเขียนตำรากี่เล่ม บทความกี่บท  และทำวิจัยกี่เรื่อง หรือจัดอบรมให้มหาวิทยาลัยกี่หลักสูตร...สิ่งเหล่านี้ ผมคิดว่าผมได้มาจากแม่ ป.4 น่ะ

.......ในครั้งต่อไป ผมจะขอแทรกให้ท่านทราบว่า ผมสอนให้ลูกสาวของผม “วางแผนและควบคุมการใช้จ่ายเงิน  รายวัน  รายเดือน  รายสองเดือน และรายปี อย่างไร” (ลูกสาวผมเมื่อจบ ม.5 จะขึ้นเรียน ม.6 ต้องเสนองบประมาณต่อพ่อเป็นรายปี) แล้วจะเล่าให้ฟัง

 

หมายเลขบันทึก: 178052เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2008 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ต้องขอขอบคุณและอภัยทุกท่านที่ติดตาม ผมเขียนบันทึกตอนที่ 3 เสร็จแล้วครับ

สวัสดีค่ะอ่านแล้วอยากได้ไปสอนลูกๆที่บ้านบ้างนะคะคงไม่มีลิขสิทธิ์

เรียน ครูโอ

ทำไมถึงคิดว่าไม่มีสิทธ์นำไปใช้ล่ะครับ ทุกคน สามารถนำไปใช้กับบุตร-หลานนักเรียนในความรับผิดชอบ(ประจำชั้น)ก็น่าจะได้นะครับ

เรียน รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์

“ชีวิต กำหนดได้ด้วยตนเอง ถ้าเราทำงานหนัก ความสมบูรณ์ในชีวิตจะตามมา”

ผมรู้สึกชอบคำนี้ของอาจารย์มากครับ ถ้าพ่อแม่ หรือแม้กระทั่งใครที่ปกครองเด็กอยู่ได้อ่านบทความนี้แล้วคง เป็นทางได้อย่างดี เลยครับ ถ้ามีโอกาสผมจะนำไปเผยแพร่ที่โรงเรียน ห้องเรียน ห้องประชุม

วัชระ จันทรัตน์

อภิศักดิ์ จันทร์สนาม

เรียน ดร สุพัตร์

ในบทนี้ ผมได้ความรู้ใหม่ครับ ทำ MOU กับตัวเอง เพิ่งเจอจริงๆครับ และที่สำคัญจะลองนำไปใช้กับตัวเองดู

โชคดีจัง ได้ฟัง รศ.ดร.สุัพัตร์ บรรยาย และ้กลับมาอ่านบทความอีก  ชอบมากค่ะ จะนำมาปรับใช้กับชีวิตตนเอง และลูกค่ะ

ดีมากๆ ค่ะปรับแนวคิดชีวิตเปลี่ยน จะนำไปใช้วันนี้เลยค่ะ

เป็นแนวคิดที่ดีมากค่ะอาจารย์…จะนำไปปรับใช้กับตัวเองค่ะ

เป็นแนวคิดที่ดีมากค่ะอาจารย์…จะนำไปปรับใช้กับตัวเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท