รายการ Human talk วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2551


Human talk

พิธีกร : สวัสดีครับคุณผู้ฟังครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Human Talk นะครับ ทุกเช้าวันอาทิตย์แบบนี้ นะครับ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า ทาง FM 96.5 MHz แห่งนี้ครับ กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐครับ สวัสดีครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : สวัสดีครับ คุณจีรวัฒน์ ขอต้อนรับกลับเข้าสู่รายการด้วย

พิธีกร : ขอบคุณครับ

ศ.ดร.จีระ : แล้วก็ ขอสวัสดีท่านผู้ฟังที่ติดตามรายการของเราอย่างเหนียวแน่นเลย วันนี้ก็เป็น long weekend ครับ

 พิธีกร : ต้องเรียนว่า วันนี้ต้องสวัสดีปีใหม่ไทยด้วยครับอาจารย์ ก็ตรงกับวันสงกรานต์พอดีเลย

ศ.ดร.จีระ : ความจริงเราทำรายการเรื่องวันสงกรานต์นี่เยอะ ทุก ๆ ครั้ง แต่ว่าบางครั้งเราก็จะเน้นไปที่ความปลอดภัย คงจะต้องเน้นด้วย แต่ว่าท่านผู้ฟังครับ ผมว่า นอกจากผมได้เห็นสงกรานต์มาตั้งแต่เด็ก จีรวัฒน์ก็คงเห็นด้วยกับผมว่า เดี๋ยวนี้สงกรานต์เมืองไทย มันกลายเป็น แทบจะเรียกว่าเป็นเหตุการณ์ที่โลกให้ความสนใจก็ดีนะ ไม่ว่าจะเป็นระดับถนนข้าวสาร ระดับคนที่มีคุณภาพ เขาบินมา ฝรั่งนี่บินมา ชาวต่างประเทศนี่บินมาเที่ยวงานสงกรานต์นี่เยอะนะ ผมได้ไปที่โรงแรม Oriental เห็นคนบินมาจากเมืองนอกเพื่อจะมางานสงกรานต์ก็มีกันเยอะเลย ถ้าจะพูดตรง ๆ ก็คือ เป็น Brand ที่โลกให้ความสนใจ เพราะว่าถึงประเทศอื่นจะมีสงกรานต์ก็ไม่เข้มแข็งเท่าเรา แล้วก็ถ้ารัฐบาล promote ในลักษณะเป็นเรื่องของศิลปวัฒนธรรม ก็เป็นสิ่งที่เราทำได้ดีกว่าประเทศอื่น ผมว่ามันก็จะเป็นปรากฏการณ์ของโลกที่ทุกคนให้ความสนใจ อันนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ แล้วยิ่งนานไปนานไป ความรู้สึกของวันสงกรานต์ จะมีความรู้สึกเป็นระดับโลกมากขึ้น แม้ว่าอากาศจะร้อนก็ตาม คนต่างประเทศ บินก็ไม่เยอะนะ น่าจะเป็นจุดที่เราได้ promote กันต่อไป และทุกจังหวัด คุณจีรวัฒน์ ผมสังเกตดู มันมีความหลากหลายขึ้น อย่างเมื่อวานผมดูข่าวบางช่อง เดี๋ยวนี้ภาคใต้ก็มีสงกรานต์กลางคืนด้วยนะ ที่หาดใหญ่

พิธีกร : ครับ  

ศ.ดร.จีระ : ประเด็นก็คือว่า ทุก ๆ ปีเราน่าจะ.. นอกจากประโยชน์จากการไปเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ อะไรอย่างนี้ เดี๋ยวเราไปเน้นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเราจะต้องเน้นต่อไป แต่ผมคิดว่า การที่เรายกย่องให้เป็นงาน คล้าย ๆ เป็น world festival  จะพูดอย่างนี้ก็คงได้ แล้วก็คนไทยก็มีความภาคภูมิใจ อย่างวันนี้ ทุกจุดในกรุงเทพ ฯ จะออกไปไหนก็ต้องระวัง เพราะว่าเขาก็คงสาดน้ำกัน ขออวยพรให้ทุกคนด้วย

พิธีกร : ครับ ในเรื่องของการเดินทางก็อย่างที่เรียนนะครับว่า ทั้งอาจารย์แล้วก็รายการได้ฝากความปรารถนาดีไปถึงท่านผู้ฟังทุก ๆ ท่านที่ทราบดีว่า เดินทางกันค่อนข้างเยอะมากเลยในช่วงนี้ จากในช่วงของ 7 วันอันตรายนะครับ อาจารย์ครับ สำหรับปีนี้เรียกว่าทุบสถิติปี 50 ไปเรียบร้อยแล้ว วันแรกก็มีเสียชีวิตไปแล้ว 45 cases ด้วยกันนะครับ  นี่แค่วันแรก เฉพาะวันแรกวันที่ 11 เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 17 นะครับ 7 วันอันตราย ก็ถือว่าค่อนข้างสูงทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องระมัดระวัง อย่างที่อาจารย์เคยย้ำเสมอว่า ไม่ดื่ม ตรวจเช็คสภาพรถ แล้วก็ไม่ขับรถเร็ว

ศ.ดร.จีระ : ก็ยังนึกถึงคุณหมอ ที่กรุณาเน้นว่า นอกจากเมาแล้ว กินเหล้าต้องขับรถช้า ๆ แต่คราวนี้ ถ้าวัยรุ่นใช้มอเตอร์ไซด์ ช้าก็คงไม่สนุก ก็ขอ... ท่านผู้ฟังครับก็จะขอรายงานความคืบหน้าของ golf The Master ด้วย 3 คืนนี่ผมก็ตื่นขึ้นมาดูทุกคืน วันนี้ก็.. สำหรับคนที่บ้า Tiger woods ก็ข่าวดี เขาขึ้นมาแล้วเป็น –4 ทั้งวัน จบไปแล้ว ก็ตอนนี้ก็เหลืออยู่ 5 แต่ว่าผู้นำก็อยู่ประมาณ 10 ฉะนั้นคุณ Tiger woods ถ้าจะชนะ Master ครั้งนี้ วันพรุ่งนี้ก็คงต้องเร่งหน่อย เพราะมีคนเหนืออยู่กว่าเขาประมาณ 4 คน ก็คะแนนเขาก็กลับมาแล้ว อย่างที่ทุกคนคาดหวังไว้ เขาก็เล่นได้ดีวันนี้ เผอิญผมเป็นแฟนของ Phil Mickelson ก็ผิดหวังเล็กน้อย เขาก็ทำไม่ได้ดีอย่างที่คิดไว้ ความจริงคุณจีรวัฒน์ วันหนึ่งถ้าคุณเล่น golf คุณก็จะได้เรียนรู้อะไรอีกหลายอย่าง ไม่ใช่ว่า golf นี่ท่านผู้ฟังครับ มันประกอบไปด้วย ผมขออนุญาตแนะนำแนวคิดนิดหนึ่ง เผอิญมีหนังสือออกมาเล่มหนึ่งนะ จีรวัฒน์  ผมเพิ่งไปเปิดอ่านดู หน้าปกนี่เป็น Bill gates กับอีกคนหนึ่งที่เป็นนักลงทุน แล้วเขาก็ไปเปรียบเทียบนักเล่น golf เก่ง ๆ กับนักลงทุน จริง ๆ แล้วมันก็เหมือนกัน คือถ้านักลงทุนไม่ระมัดระวัง บุ่มบ่าม ไม่ระมัดระวังนี่ ไม่เน้นความเสี่ยง ไม่ระมัดระวังความเสี่ยง จริงๆ ก็เจ๊งได้ golf ก็เหมือนกัน ต้องระมัดระวัง แล้ว golf นี่ผมว่ามันประกอบไปด้วย ปัจจัยด้วยกัน 3 เรื่อง สำหรับท่านผู้ฟังซึ่งอาจไปใช้ในการทำงาน ก็คือ

1. จะต้องมีทักษะในการทำงานให้ดี

2. ก็ต้องมีความรู้ให้ดี

ทักษะหมายความว่า ตีไกล คิดเป็น แต่ความรู้ก็คือต้องรู้ว่า course นี้เป็นอย่างไร มีสนามทรายไหม dog-leg ไหม ส่วนอันสุดท้าย  จีรวัฒน์รู้ไหมคืออะไร คือต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ และผมว่า อย่าง Phil Mickelson จะเห็นเลยว่า อารมณ์เขาไม่นิ่ง แล้วเขา เวลาเขาเสีย เขาเสียแบบเสียเยอะ

ส่วนคุณ Tiger นี่ผมว่า แกเป็นคนที่มีอารมณ์นิ่งมากเลย ถึงแกจะตามอยู่ แกก็ไม่ค่อยพลาด คนที่มีศักยภาพสูง แต่ไม่ควบคุมอารมณ์ หรือเราเรียกว่า Emotional Intelligence ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหน จะเป็นนักการเมือง จะเป็นข้าราชการ จะเป็นนักธุรกิจ ถ้าอันนี้ไม่ดี มันก็ศักยภาพของเรา เช่น เป็นคนเรียนเก่ง เป็นคนทำงานเป็น มีความรอบรู้ จีรวัฒน์ลองคิดดู เป็นผู้รอบรู้ ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องประสบความสำเร็จทุกคน แต่ว่าถ้าไม่รอบรู้ มันก็อยู่ไม่รอด

แต่ว่ารู้แล้ว แต่ใช้อารมณ์ของตัวเองในการเจอปัญหา ก็แก้ปัญหาไม่ได้ อย่าง golf คราวนี้ อย่าง Phil นี่ คราวนี้เขาก็อยู่ในจังหวะที่ดี ในที่สุดแล้วเขาก็ทำไม่ได้ ฉะนั้นก็น่าเสียดายที่เขาไม่สามารถจะนำ แล้วก็วันนี้ ก็ตีเกินไปตั้ง 3 บวก 3 สำหรับท่านที่ยังไม่ได้ตื่นมา หรือไม่ได้ติดตามเมื่อคืนนี้ ก็ golf Master เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากในเรื่องของ golf แล้วก็ คุณ Tiger ก็กลับมาแล้ว

พิธีกร : วันนี้อาจารย์มี big story น่าสนใจมาก ๆ เลยใช่ไหมครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็ตอนช่วงเบรก ผมจะพูดถึงคุณ Obama ในหนังสือที่เขาเพิ่งเขียนไป ชื่อว่า the Dreams from his Father แต่ว่าก่อนจะถึงช่วงนั้นก็จะเล่าให้จีรวัฒน์ฟังถึงรายการ TV ที่จะเกิดขึ้นในวันพุธ ซึ่งวันนั้นผมก็ได้เล่าให้ Mrs. Tuck ซึ่งเป็นครูใหญ่ของโรงเรียน ทีแรกผมก็อ่านไม่ค่อยถูกนะจีรวัฒน์ Cheltenham girl college ความจริง แล้ว ผมเป็นแฟน Tottenham ก็คือคำพูดเดียวกัน

พิธีกร : คล้าย ๆ กัน

ศ.ดร.จีระ : แล้วเผอิญคุณตุ๊ก นี่คุณรู้ไหม น้องชายแกเป็นคนบ้า Tottenham spur ด้วย ก็เลยวันนั้นที่พูดในรายการ แล้วก็มีคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ซึ่งท่านก็เรียนอยู่ที่นี่ แล้วก็ลูกสาวของคุณศิริลักษณ์ ใช่ไหม

พิธีกร : ใช่ครับ ลูกสาว

ศ.ดร.จีระ : ก็เรียนอยู่ที่นี่ 2 คน คือข้อดีของ Mrs. Tuck  แกบอกว่า โรงเรียนยุคใหม่นี่มันก็ต้องปรับตัวเองตลอดเวลา บางทีที่เราบอกว่าเด็กวัยรุ่นเมืองไทยอันตราย เขาบอกว่า ที่อังกฤษก็อันตราย ฉะนั้นครูที่ดีก็จะต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วผมขอย้ำนิดหนึ่ง เมื่อวานนี้ที่.. อาทิตย์ที่แล้วที่ผมออกรายการ แกก็บอกว่า โรงเรียนของแกนี่ต้องการจะให้คนออกมาทำงานได้ 4 เรื่อง

1. เขาต้องการให้คน ผู้หญิงที่เรียนกับแก เป็นคนที่ออกมาแล้วเป็นคน allround

Allround นี้น่าสนใจนะ อย่างวันนี้คุณพ่อคุณแม่บอกว่า allround แปลว่าไม่เอา ฉันต้องสอบเข้าก่อน ประเทศไทยเป็นประเภทบ้าคลั่งหนังสือ หนอนหนังสือ อะไรอย่างนี้ เพื่อนก็เป็นพวกก๊วนเดียวกัน เรียนเก่ง

2. เขาบอกว่าเป็นคนที่มี Caring เป็นคนเกิดมามองอะไร เห็นอกเห็นใจคน อย่างเช่นมองเห็นสังคมที่ยากจน อย่างนี้ แต่ว่าตอนหลังเราสอนคนให้เก่งเรื่องอะไรนะ Business game นะ เอาชนะโน่นเอาชนะนี่ คราวนี้เขาก็บอกว่า ตอนหลัง ๆ เรามักจะสอนให้คน เป็นคนชนะ แต่ว่าไม่ค่อยเป็นห่วงเป็นใย ผู้หญิงคนนี้พูดดี แล้วเผอิญ concept นี้ เป็น concept ค่อนข้างจะเป็นตะวันออก เพราะว่าคำว่า Caring คือเอื้ออาทร แล้วเสร็จแล้วอีกอันแกก็บอกว่า ในโลกที่อันตรายที่สุดคือ ความไม่แน่นอน พูดดีมากเลย คือ

หนึ่งต้อง Flexible แล้วยังต้อง adaptable ซึ่งท่านผู้ฟังครับ เวลามีอาจารย์ใหญ่เก่ง ๆ ของโลกมา แล้วก็เผอิญคุณจีรวัฒน์ได้เสนอให้ผมได้ไปถ่ายรายการที่โรงแรม Peninsula เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ฟังดูแล้ว แกก็ประทับใจที่มีนักการศึกษา แล้วก็ทั้งอาจารย์ ทั้งคุณชฎา Mrs. Tuck ก็ได้สรุปเรื่องการศึกษาว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง แล้วโรงเรียนนี้เรียนมาทั้งหมดนี่ 154 ปีแล้ว

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : ผมก็เลยบอกว่า ผมอยู่โรงเรียนเทพศิรินทร์ นี่ก็มาแล้วเกือบ 130 ปี ฉะนั้นโรงเรียนที่เก่าแก่ แกก็บอกว่า เก่าอย่างเดียวไม่พอ ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ก็เลยอยากให้ติดตามในวันพุธนี้ แล้วก็ตอนจบผมให้ทั้งสองท่าน อย่างที่ผมบอกคุณจีรวัฒน์ไป อยากให้เขาได้สรุปถึงการศึกษาไทย ว่ามีความเห็นอย่างไร คุณชฎาก็เลยเน้นให้เห็นถึง การศึกษาที่เน้นคุณภาพ ว่าโรงเรียนในเมืองไทยต้องมีคุณภาพสูสีกัน ไม่ใช่โรงเรียนเด่นอยู่ไม่กี่โรงเรียน อะไรอย่างนี้ แล้วก็อยากให้ครูเป็นคนที่มุ่งมั่น คืออาชีพครูต่อไปนี้ต้องเป็นอาชีพที่เป็นที่ยกย่องในสังคม แล้วก็เป็นที่ยอมรับ แล้วก็ใฝ่รู้ แล้วก็มองอะไรที่มันกว้าง

อย่างผมเมื่อวันพุธที่แล้ว ผมก็ไปประชุมที่มหาวิทยาลับสวนสุนันทา ก็มีหลักสูตรหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการบริหารการศึกษา ผมยังบอกเขาไปว่า การบริหารการศึกษายุคใหม่นี่ จีรวัฒน์รู้ไหม ผู้บริหารนี่ สิ่งแรกต้องมีคือโลกทัศน์ที่กว้าง เพราะถ้าเรามัวแต่เน้นเรื่องหลักสูตร เน้นเรื่องการบริหารโรงเรียน แต่ไม่รู้ว่าโลกเขาไปที่ไหนกันแล้ว  มันก็จะบริหารงานได้ยาก ฉะนั้นครูยุคใหม่ต้องเป็นครูที่ เป็นคนที่มีโลกทัศน์ที่กว้าง คือกว้างก่อนแล้วค่อยมาลึก บางทีสังคมก็จะก้าวหน้าไปด้วยดี ก็เลยแนะนำไปในหลักสูตรต่าง ๆ ครับ

พิธีกร : ครับก็สามารถติดตามได้นะครีบในวันพุธนี้

ศ.ดร.จีระ : อาทิตย์นี้ยังหยุดอยู่ บางคนก็อาจจะเป็นช่วงที่ดูรายการในวัน เช้า 9 โมงครึ่ง แล้วก็ถ้าสนใจก็อาจจะดูตอนดึกด้วย

พิธีกร : ช่วง 4 ทุ่ม

ศ.ดร.จีระ :  4 ทุ่ม ท่านผู้ฟังก็อาจจะเห็นแล้ว ทั้งรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ของเราก็จะเน้น..  ก่อนจะเบรกช่วงแรก ผมขอเรียนนิดหนึ่งคุณจีรวัฒน์ วันก่อนผมไปที่ Bank กรุงเทพมา ก็ไปเจอระดับกรรมการรองผู้จัดการ ท่านก็ได้ติดตามรายการเรา แต่ท่านเคยฟังตอนค่ำ ๆ ท่านก็ยังบอกว่า รายการ Human Talk นี่ เป็นรายการที่ท่านฟังแล้ว ท่านเอาไปใช้เลยจีรวัฒน์

คืออันนี้ก็จะเป็นประเด็นที่ผมขอย้ำนิดหนึ่งว่า การที่ผมมีโอกาสได้มาช่วยให้ความเห็น ไม่อยากให้ท่านฟังเสร็จแล้วก็ได้ความรู้เท่านั้น คือความรู้วันนี้มันต้องนำไปปะทะกับความจริง ไม่ว่าจะตัวท่านเอง หรือการทำงาน ท่านบอกว่าบางทีฟังรายการอยู่ มันก็มีบางประเด็น ท่านได้เอามา apply การทำงานของท่าน การดำเนินชีวิตของท่านทั้งชีวิต และครอบครัว และรวมทั้งงานด้วย ผมก็เลยคิดว่า สำหรับคนที่ฟังรายการตอนเช้าอยู่ ซึ่งเราอยู่วันอาทิตย์นี่ เราก็จะได้ลูกค้าระดับหนึ่ง แต่ก่อนนี้เราเป็นเวลาในตอน prime time ด้วย ก็คิดว่าถึงจะไม่ได้อยู่ในช่วง prime time ตอนนี้ท่านก็ติดตามใน Blog หรือใน Internet ได้ แต่ก็คิดว่ารายการของเราข้อดีก็คือว่า ผมก็จะใช้ความรู้ที่มันสด แล้วก็คำว่า Human

Human talk ของเรา เราก็ไม่ได้พูดเฉพาะเรื่ององค์กรอย่างเดียว เราจะพูดในมุมกว้างระดับ Macro ด้วย อย่างคราวที่แล้วพูดถึงโรงเรียนในอนาคตอย่างนี้  ก็อยากให้คนไทยได้ฟังเสร็จแล้ว ถ้าเป็นไปได้ก็คิดไปด้วย แล้วก็เอาไปใช้ด้วยก็จะเป็นประโยชน์ เมื่อนั้นความรู้ต่าง ๆ นี่มันก็จะ... เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็มีอีก เหมือนรายการทั้งหลาย  Information มันเยอะ อยากให้ท่านมีวิธีการคิดและวิเคราะห์ได้ด้วย ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้เล่าให้คนอื่นฟังด้วย ว่ารายการนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ผมก็ประทับใจหลายคนที่ได้แอบฟังรายการของเรา แล้วรายการเราก็ทำมานานแล้ว แล้วก็ต้องขอบคุณ 96.5 ด้วย ความจริงรายการอย่าง Human Talk ในสื่อหลาย ๆ แห่ง ผมว่าเขาก็ไม่มี เพราะว่าคนที่จะมาพูดเรื่องเกี่ยวกับคนที่มีผลกระทบในมุมกว้างและมุมแคบ ก็คงมีไม่มากนัก อยากจะให้ท่านผู้ฟังที่ได้ฟังแล้วไปช่วยกระจายต่อไปด้วย

พิธีกร : ครับเดี๋ยวเราต้องไปพักฟังสิ่งที่น่าสนใจสักครู่ แล้วกลับมาช่วงหน้ามีหนังสือ Dreams from My Father , the story of Race and Inheritance ของ Barack Obama มาฝากกันด้วย สักครู่ครับ

โฆษณา

 

พิธีกร : ครับ กลับมาพบในช่วงที่สองของ Human Talk นะครับ กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ ก็เรายังอยู่ในบรรยากาศวันขึ้นปีใหม่ไทยนะครับ วันที่ 13 เมษายน วันนี้ตรงกับวันนี้พอดีเลยนะครับ ก็หวังว่าทุกท่านคงมีความสุขมาก ๆ คงได้ออกไปเล่นน้ำดำหัว  ขอประทานโทษ ต้องบอกว่าไปรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ในวันนี้ ไปเล่นน้ำสงกรานต์กันในวันนี้ เข้าวัดเข้าวากัน วันนี้ช่วงแรกของรายการ อาจารย์ได้มีประเด็นน่าสนใจ ในเรื่องวันสงกรานต์มาฝากกันด้วย อย่างที่บอกว่าเป็น product ที่สำคัญของเมืองไทย ในแง่ของ product ทางด้านศิลปวัฒนธรรมนะครับ แล้วก็มีเรื่องของข่าวคราวแวดวง golf มาฝากกันด้วยนะครับ แล้วก็นอกจากนั้นยังมีรายการโทรทัศน์ที่จะแพร่ภาพในวันพุธนี้ทาง True visions 8   นะครับ หรือ TNN 2 นะครับ ในช่วง 9 โมงครึ่ง แล้วก็ rerun อีกครั้งหนึ่งในช่วง 4 โมง เรื่องราวของโรงเรียน Cheltenham lady college นะครับ ซึ่งมีแขกรับเชิญเป็น Mrs. Vicky Tuck และคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม มาพูดคุยกันในแง่มุมของการศึกษา ที่น่าสนใจในประเทศอังกฤษเปรียบเทียบกับประเทศไทยเป็นอย่างไร ต้องติดตามกัน ครับอาจารย์ครับ

คำสำคัญ (Tags): #human talk
หมายเลขบันทึก: 177313เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2008 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ศ.ดร.จีระ : ก็รายการโทรทัศน์ตอนนี้ก็มีแขกที่เรียกว่ามีประสบการณ์นะ เพราะว่าเราก็มี เขาเรียกอะไรนะ ผู้บริหารโรงเรียนเยอะ ผู้บริหารโรงเรียนแบบอังกฤษซึ่งผลิตบุคลากร ความจริงคุณแม่ของคุณปิยสวัสดิ์ก็เรียนที่นี่ด้วย ผมก็ไม่นึกว่าคุณหญิงชฎา ท่านจะเรียนที่นี่

คุณหญิงชฎาท่านจบที่นี่ก็ไปต่อที่ Cambridge ด้วย ก็ถือว่าโรงเรียนมัธยมอังกฤษ ก็เป็นรูปแบบที่ดี ข้อดีของเขาคือ เขาปรับตัว แล้ว 154 ปีนี่ เขาก็บอกว่า เด็กรุ่นใหม่นี่ บางทีเราก็เปลี่ยนแปลงเขาทุกอย่างไม่ได้ เพราะเขาก็มาตามกระแส อย่างเช่น จะพูดถึงเด็กวัยรุ่นบางคนบ้าคลั่ง Internet บางคนอายุไม่ถึง.. ยังไม่จบเลย มีเครื่อง computer ที่บ้าน 3 เครื่องอย่างนี้ แล้วก็วัยรุ่นคงจะไปตามกระแส แต่ขณะเดียวกันก็ต้องให้รู้ว่า เก่งยังไงก็ต้อง care สังคม อย่างเรื่องสิ่งแวดล้อม อะไรอย่างนี้ จีรวัฒน์ ซึ่งท่านพูดเยอะ บอกว่ายุคใหม่นี่ ถ้าเราไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมนี่ เราก็ไปไม่รอด อย่างที่ครั้งหนึ่งเราพูดถึง Big story D.Jeffrey Sachs อย่างนี้ D.Jeffrey Sachs มีหนังสืออีกเล่มหนึ่งแล้วออกมา ชื่อ The Common Wealth

Common Wealth เขาบางทีก็ไปพูดถึงอะไรนะ สหราชอาณาจักร แปลว่าอังกฤษรวมไปหมด ความจริงคำว่า Common ก็คือ ทรัพยากรของโลก Wealth นี่เป็นของทุกคน ซึ่งหนังสือระดับ Global นี่ ไม่มีใครเก่งเท่าคุณ Jeffrey Sachs แล้วก็จีรวัฒน์ลองคิดดู เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการประชุมสิ่งแวดล้อมโลกอีกครั้งหนึ่งที่กรุงเทพฯ มีข่าวน้อยมากเลย เพราะว่าคนไทยลืมไปแล้วเรื่องภาวะโลกร้อน อะไรอย่างนี้ สนใจแต่เรื่องอะไรนะ จะแก้ไขรัฐธรรมนูญไหม จะแก้ยังไง ยุบพรรคไหม ท่านผู้ฟังสังเกตนะครับ บางทีผมกับจีรวัฒน์ก็ไม่ได้เอาเรื่องร้อน ๆ มาคุยกันเท่านั้น แต่ว่าก่อนที่จะไปถึงเรื่องภาวะผู้นำของคุณ Obama นี่ ซึ่งผมอยากให้ท่านผู้ฟังได้มีโอกาสได้เอาไปคิดต่อ ผมก็อยากจะพูดถึงบทความผมในแนวหน้า อาทิตย์นี้นิดหนึ่ง

เผอิญผมไปอ่านข่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านได้โปรดเกล้าฯ องคมนตรีอีก 3 ท่าน ท่านแรกก็คือ ท่านสุรยุทธ์ จุลานนท์ ท่านไปเป็นนายกฯ ท่านก็ต้องลาออก แล้วก็กลับมา อีกท่านหนึ่งก็เป็น เผอิญผมรู้จักท่านดีว่าท่านเป็นอดีตประธานศาลฎีกา คือคุณชาญชัย ลิขิตจิตถะ แล้วก็ตอนที่ผมไปเป็น ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลยุติธรรมนี่ ท่านก็อยู่เป็นประธานอยู่ด้วย ประธานตุลาการศาลยุติธรรม และอีกท่านหนึ่งก็คือ คุณศุภชัย ภู่งาม ก็เป็นประธานศาลฎีกาเหมือนกัน

ผมก็เลยเขียนว่า อาจจะเป็น.. ในเมืองไทยข่าวโปรดเกล้าฯ องคมนตรี จะไม่ฮือฮาเท่ากับเป็นรัฐมนตรีใช่ไหมจีรวัฒน์

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ : แต่ว่าผมว่าอันหนึ่งที่เราน่าจะเรียนรู้ก็คือ คนที่จะได้รับคัดเลือกเป็นองคมนตรีนี่ อย่างน้อยต้องผ่านประวัติอันโชกโชนนะ มีประสบการณ์ นอกจากเก่งแล้ว ยังต้องเป็นคนดีด้วย เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงคุณธรรมจริยธรรม บางทีเราก็คิดว่าพระต้องเทศน์ อะไรอย่างนี้ จริง ๆ แล้วคุณธรรมจริยธรรมเกิดมาจากการสะสม ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ระยะยาว แล้วก็ถ้าพระเจ้าอยู่หัวท่านตัดสินใจเลือกบุคคลเหล่านั้นเป็นองคมนตรี ผมคิดว่า มันส่งสัญญาณให้เห็นว่า คุณธรรมจริยธรรมมันเป็นเรื่องสำคัญ แล้วก็เวลาเราพูดถึงองคมนตรี เราก็จะมีความรู้สึกชื่นชม เผอิญก่อนหน้านั้น เพื่อนผมคนหนึ่งก็ได้รับเลือกเป็นองคมนตรี เป็นนักเรียนรุ่นเดียวกันที่เทพศิรินทร์ ก็เป็นอดีตประธานศาลฎีกาเหมือนกัน ฉะนั้นในบทความผมก็เลยให้ข้อสังเกตไปอันหนึ่งว่า

ทำไมประธานศาลฎีกาไม่ได้เป็นทุกคน บางคนเป็น บางคนไม่เป็น ก็แสดงว่า โดยลึก ๆ แล้ว คำว่า คุณธรรมจริยธรรมก็เป็นสิ่งที่ประจักษ์ในความเห็นของพระองค์ท่าน ฉะนั้นก็เลยอยากจะให้วันสงกรานต์ ก็คิดในด้านความดีเยอะ ๆ ใช่ไหมจีรวัฒน์ ความเก่ง เก่งการเงิน การตลาด อะไรอย่างนี้ มันก็เป็นสิ่งจำเป็น ประเทศก็ต้องขยายตัวต่อไป ลึก ๆ แล้วประเทศจะอยู่ได้ ก็คือต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งก็เป็นบทเรียนที่น่าสนใจสำหรับข่าวเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะว่าเรามีองคมนตรี ก็เปรียบเสมือนที่ปรึกษาของพระองค์ท่าน ใครที่จะได้รับคัดเลือกเป็นองคมนตรีนี่ อย่างน้อยก็ต้องเป็นคนที่ได้รับโปรดเกล้าฯ จากคุณลักษณะที่พิเศษ เพราะถ้าเป็นการเมืองก็มาจากคะแนนเสียงบ้าง อะไรบ้าง มันก็จะเป็นส่วนหนึ่ง สังคมนี้มันก็ต้องมีความหลากหลาย ก็ต้องคิด คนไทยก็ต้องคิดให้รอบคอบว่า อะไรเป็นอย่างไรในสังคม ก็ผมเองนำเสนอในประเด็นเล็ก ๆ ให้ท่านผู้ฟังได้นำไปคิดต่อ

คือรายการของเราจะช่วยเรื่องการทำงานด้วย จะช่วยเรื่องสังคมด้วย ช่วยให้เรามีปัญญา แล้วก็เป็นความรู้ที่ทันเหตุการณ์

พิธีกร : ครับ ก็วันนี้ Big story ที่อาจารย์เตรียมมาฝากทุกท่านด้วยกันนะครับ ก็เป็นเรื่องราวจากหนังสือ Dreams from My Father , the story of Race and Inheritance ของคุณ Barack Obama

ศ.ดร.จีระ : คืออันแรกก็คือ Race นี่เป็นเพราะว่า คุณ Obama แกเป็นผิวสีดำ ผิวดำของแก มันไม่ได้เป็นผิวดำของคน. คล้าย ๆ เป็นผิวดำที่เกิดใน.. เขาเกิดใน

พิธีกร : Honolulu ที่ฮาวาย

ศ.ดร.จีระ : ในอเมริกาก็จริง แต่คุณพ่อเขาไม่ได้เป็นผิวดำแบบย้ายมาตั้งเป็นร้อยปี เขาเป็นนักเรียนทุน คือชีวิตผม ผมเห็นนักเรียนทุนจากอัฟริกาเยอะ เป็นคนที่ใฝ่รู้ แล้วก็คุณพ่อเขาก็เป็นผิวดำที่มาจาก ผมเข้าใจว่ามาจากพื้นฐานที่ค่อนข้างจะเป็นสังคมของอัฟริกาในช่วงนั้น 1960 เพราะฉะนั้นเขาไม่ได้เป็นคนอเมริกันมืด ซึ่งมาเป็นทาสสมัยเก็บอะไรนะ เก็บ cotton อะไรอย่างนี้ แล้วก็เติบโตขึ้นมา ฉะนั้นเขาก็มา เป็นคนที่ ข้อแรกก็คือ มีอุดมการณ์ เขามาเรียนที่ฮาวาย ก็ได้ทุนมา แล้วก็เผอิญก็มาแต่งงานกับคุณแม่ซึ่งเป็นผิวขาว เรื่องคุณแม่ ผมยังไม่พูดถึงวันนี้ แต่ให้เห็นว่าคุณ Barack Obama

ในหนังสือเล่มนี้ มันดีตอนที่ว่า เขาเขียนตอนที่ยังไม่คิดจะเป็นนักการเมือง เขาเองก็เป็นคนที่ใฝ่รู้เหมือนคุณพ่อเขา คุณพ่อเขานี่ประวัติเขาน่าสนใจ ท่านผู้ฟังครับ เพราะว่านอกจากเขาเป็นคนเรียนเก่งแล้ว พอเขาจบจากฮาวาย เขาก็ไปได้ทุนที่ Harvard นะ แล้วก็คิดว่า จบปริญญาเอกที่ Harvard แล้วแทนที่เขาจะเหมือนคนบางคน ที่จะหาเงินหาทองในอเมริกา เขามีอุดมการณ์มากเลยจีรวัฒน์ ที่จะกลับไปช่วยประเทศของเขา ฉะนั้นเขาก็เลยเป็นนักวิชาการที่มีจุดยืนค่อนข้างจะมาก และในที่สุดเขากับแม่เขาก็หย่ากัน

พิธีกร : ใช่ครับ

ฉะนั้นคุณ Barack Obama นี่ แกก็ไม่ได้รู้จักคุณพ่อแกมากนัก แต่ผมคิดว่าแกได้จิตวิญญาณ ฉะนั้นคนมีพ่อซึ่งมาจากสังคมอีกสังคมหนึ่งนี่ แล้วตัวเขาเอง ... ท่านผู้ฟังลองคิดดูสิครับ คนผิวดำจะขึ้นมามีบทบาทเป็น candidate แล้วเป็นที่ยอมรับของคนผิวขาวหรือคนผิวอื่น ๆ ในสังคมอเมริกัน แล้วก็โดดเด่น อายุแค่ 45 – 46

พิธีกร : 46 ครับ

ศ.ดร.จีระ : เขาก็ต้องมี background ที่น่าสนใจ เพราะฉะนั้นในหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เขาอธิบายชีวิตของเขา ทั้งที่จริง ๆ แล้วตัวเขาเองไม่ได้อยู่ใกล้คุณพ่อเขาเลย แต่ว่าเขาได้เห็น อาจจะได้ฟังจากคุณแม่เขา ซึ่งคุณแม่เขา วันหลังผมจะเล่าให้ฟังเหมือนกัน ก็มีข่าวออกมาว่า Barack นี่ได้ 2 อย่าง ส่วนหนึ่งก็มาจากพ่อ ส่วนหนึ่งก็มาจากแม่ แต่หนังสือเล่มนี้ ก็ไปพูดถึงคำว่าเป็นผิวดำ อย่างบางทีมันมีคำว่า Neger อย่างนี้ แปลว่า มันดูถูก ฉะนั้นเขาก็จะเห็นชีวิต แต่ขณะเดียวกัน เขาเองเขาก็เป็นผิวขาวด้วย ใช่ไหม เพราะว่าคุณแม่เขาเป็นผิวขาว ฉะนั้นเขาก็เห็นอเมริกา ในลักษณะของ..

ผมว่าประเด็นแรกคือ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผมอยากจะสรุปความโดดเด่นของ Obama นี่ 3 เรื่อง อันแรกนี่ผมคิดว่าเขาเป็นคนที่มีความเข้าใจในความหลากหลายของวัฒนธรรม พ่อเขากับแม่เขานี่มากันคนละทางเลย ฉะนั้นเขาก็จะเป็นคนที่เข้าใจ คือสังคมบางสังคมนี่ ถ้าไม่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มันก็จะ... ภาษาอังกฤษเขาเรียก Stereotype อย่างบางคนเห็นคนใส่ Rolex ขับรถ Benz ก็บอกว่าคนนี้ดี แต่จริง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้นำคือ ต้องมองอะไรที่มัน..ภาษาอังกฤษเขาเรียก intangible คือเราต้องมีความละเอียดอ่อน

ฉะนั้นเวลาคุณ Hillary เวลาแกมองคุณ Barack Obama เหมือนแกไปดูถูกว่า ประสบการณ์ในเรื่องต่างประเทศไม่มี ไปเรียนอยู่แค่อินโดนีเซีย อะไรอย่างนี้ ซึ่งคุณ Obama แกก็พูดออกมาว่า ประสบการณ์ไม่มี แต่ว่าผมอาจจะตัดสินได้ดีกว่าคุณก็ได้ คือเขาไม่ใช่หมู เขาไม่ใช่เป็นคนหมู ประเภทคุณ Hillary กับคุณ Bill ซึ่งเขาเป็น Sticker American นะจีรวัฒน์ สองคนนี้เขาเป็นคนเก่ง เพราะว่าเขาเป็นคนมาจากครอบครัวที่ยากจน ทั้ง Bill ทั้ง Hillary แต่ว่ามีมันสมอง ไปเรียนกฎหมายที่ Yale ทั้งคู่ แล้วก็มีความทะเยอทะยาน ซึ่งเรายังไม่ได้พูดถึงเขา

แต่ว่าการที่เขามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี่ มันทำให้เขา..สมมติว่าเขามาเป็นผู้นำจริง ๆ จีรวัฒน์รู้ไหม เขาจะมองโลกยังไง ผมว่าอันแรก เขาจะมองโลกว่า ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อเมริกา ที่ไม่มี GDP ยิ่งใหญ่ ไม่มี Microsoft ไม่มี Nuclear ไม่มี อะไรนะ Defence department อะไรอย่างนี้ ผมว่าเขามองด้วยความคือ ให้เกียรติ ให้เกียรติประเทศอื่น ๆ เพราะว่าจำได้ไหม คุณ Bush แกก็มาจากอีกสังคมหนึ่ง มองอเมริกาเหมือน ฉันเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่

พิธีกร : มีเวลาอีกนิดหนึ่ง

ศ.ดร.จีระ : คือท่านผู้ฟังครับ ผมนี่เป็นนักเรียนอเมริกา ผมรู้จักอเมริกาดี ผมโชคดีที่รู้จักทั้งยุโรป เอเชีย แล้วก็อเมริกา แต่ผมเห็นคนอเมริกาบางคนความรู้น้อย อย่างเช่นในบางรัฐในอเมริกานี่ จีรวัฒน์เขายังไม่รู้จักรถ Benz รถ BM รถ TOYOTA เลยนะ เขาคิดว่ารถที่ยิ่งใหญ่ของเขาคือรถอะไรนะ Oldsmobile รถ Dodge รถอะไร ครั้งหนึ่งท่านผู้ฟังครับ รถเขานี่ใหญ่มาก เพราะเขาคิดว่า เขามีน้ำมันเหลือเฟือ เห็นรถไฟ ถ้าเราเอาแผนที่อเมริกามาดู ซึ่งท่านผู้ฟังที่ติดตาม โดยเฉพาะคนที่กำลังจะไปเรียนหรือเป็นนักเรียน เอาแผนที่มาดู จะเห็นว่าอเมริกาใหญ่มาก

แล้วบางทีจีรวัฒน์รู้ไหม เขาเรียกการแข่งขัน Basketball ของเขาว่า World Championship เขาเรียกอะไรของเขาเป็น World ไปหมด แต่ปรากฏว่าส่ง Basketball ไปแข่งที่ Olympic ได้ที่ 6 เข้าใจไหม คือคนอเมริกันจะหลงตัวเอง นึกว่าฉันแน่ เหมือนคนไทยบางคน พอมีอำนาจทางการเมือง พอมีเงินเยอะหน่อย ก็จะดูถูกคนที่เสียเปรียบ

ซึ่งอันนี้การศึกษาของ Mrs.Tuck สอนให้เราเห็นอกเห็นใจคนที่เสียเปรียบในสังคม อย่างวันนี้เวลาเราเห็นการเมืองในปัจจุบันนี่ คนที่มีอำนาจทางการเมือง บางทีก็ไม่นึกถึงคนอื่น นึกถึงแต่คะแนนนิยมของฉัน เหมือน ถ้าจะพูดตรง ๆ ก็เหมือนคุณอะไรนะ คุณ Mugabe ซึ่งมีอำนาจการเมืองอยู่ในมือ

ฉะนั้นอันแรกก็คือผมคิดว่ามันจะทำให้ ถ้าเขาได้รับเลือกตั้งจริงนะ ผมคิดว่า เขาจะมองประเทศอื่นแบบพรรคเดียวกัน จีรวัฒน์ก็คงเห็น ทำไมคุณถึงชอบธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์เป็นสังคมที่เสมอภาคกัน คนยังไงก็เท่า ๆ กัน มันเป็นสังคมที่มีความเสมอภาคกัน

คราวนี้ถ้าเขาได้เป็นจริง ๆ background สมัยที่เขาโตขึ้นมา แล้วก็เห็นคุณพ่อเขา เห็นบทบาทของเขา แล้วก็ในหนังสือเล่มนี้ เขาบรรยายได้ดีมากเลย ผมอยากให้จีรวัฒน์ซื้อมาอ่านด้วย เขาจะพูดถึงความเจ็บปวด

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : ของชีวิตของเขา เพราะว่าเขาเป็นผิวดำ ฉะนั้นประเด็นที่สองที่ผมเขียนไว้ก็คือ Obama เขาเป็น Intellectual เขาไม่ได้เป็นนักการเมืองประเภทมาจากครอบครัวร่ำรวย เขาเป็นคนใฝ่รู้ เขาทะเยอทะยานมาก เขาเรียนหนังสือด้วยความสนใจ แล้วก็ไปจบที่ Columbia แล้วก็ไปเรียนที่ Harvard ด้วย

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : แล้วตอนที่เขาเขียนหนังสือเล่มนี้ เขาได้รับเลือกเป็น Editor ของ Harvard ด้วย

พิธีกร : ใช่ครับ เป็น Editor ของ Harvard Law review

ศ.ดร.จีระ : Law review ซึ่งเป็น Journal ที่ยิ่งใหญ่มาก แล้วก็ท่านผู้ฟังทราบไหมครับ ตอนที่เขายังไม่ได้เป็น Senator ในระดับรัฐนี่ เขาไปสอนหนังสือที่ Law ที่ University of Chicago เขาทำงานอยู่ที่รัฐ Illinois เรียนอยู่ที่ Chicago ที่ Chicago แค่เข้าก็เก่งแล้ว นี่เขาไปสอนด้วยนะ

อันที่สองนี่เขาเป็นคนที่มีความรู้ เป็นคนใฝ่รู้ ผมว่าเขาคิดเป็น คุณสังเกตดูเวลาเขาโต้ตอบกับ Hillary หรือคุณคู่แข่งเขานี่ ผมว่าเขาโต้ตอบได้ดี สำหรับคนที่มีอายุไม่มาก สมัยผมตอน 40 กว่า ผมว่าผมก็ยังไม่สามารถที่โดดเด่น เขาเป็นคนที่มี..

และสุดท้าย ประเด็นสุดท้ายนี่ ผมคิดว่าคำว่าผู้นำ มีภาษาอังกฤษอยู่คำหนึ่ง จีรวัฒน์ Authenticity เล่าให้ท่านผู้ฟัง คือผู้นำที่เกิดมาโดยธรรมชาติ แล้วก็ไม่ได้มีเป้าหมาย ไม่ได้มีความทะเยอทะยาน อย่างคุณ Hillary คุณ Bill เขาพูดไว้ตั้งแต่เด็ก ว่าเขาจะเป็นประธานาธิบดี

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : แต่ Barack เขาไม่ได้คิดอย่างนั้น ความจริงแล้ว ถ้าไม่มี Speech 2004 ที่เขาได้รับเลือกให้ไปพูดให้คนเขาได้ยิน เขาก็คงไม่ได้โดดเด่นเท่าวันนี้ ฉะนั้นเขามาเป็นผู้นำโดย ผมเข้าใจว่าเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสม ผมเองผมก็อยากเห็นผู้นำในอนาคต เป็นผู้นำซึ่งมาสู่ตำแหน่งเหล่านี้ด้วยความรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องที่ต้องมา serve มาให้บริการกับสังคม ให้ช่วยให้สังคมมันดีขึ้น แทนที่จะมอง มองตัวเอง เพราะว่าผู้นำที่มัน Fake ไม่เป็นของแท้ มันก็จะเห็นว่า เขาสามารถที่จะมองอะไรบางอย่าง

ฉะนั้นผมก็เลยขอฝากให้ท่านเดินไปที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะ Asia book หรือ Kino ผมเพิ่งมาอ่านตอนหลังนะจีรวัฒน์ เพราะว่าหนังสือเล่มแรกของเขานี่เป็นหนังสือที่ดังมากเขียนหลังจากที่เขาเป็น Senetor แล้ว ชื่อ The Audacity of Hope แต่เป็นหนังสือที่ค่อนข้างจะเป็นเรื่องเทคนิค เรื่องต่าง ๆ แต่ว่าหนังสือเรื่องแรกของเขา ซึ่งตอนหลังนี่มีคนสนใจอ่านเยอะ เพราะว่ามันเป็นการบรรยายความเจ็บปวด ประสบการณ์ของเขาที่เขาได้เกิดมาในสังคมซึ่ง จริง ๆ แล้วเป็นสังคมที่ไม่ปกติ แต่ก็ใช้จังหวะเวลา

เหมือนวันหนึ่งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล แกมาจากสุพรรณ แกบอกความยากจนก็คือแรงบันดาลใจให้ผมได้เรียนหนังสือที่เมืองนอก คืออยากให้สังคมไทยเป็นสังคมแบบนั้นบ้าง คือ อย่าไปรีบร้อน มีเงิน มีตำแหน่ง ทำโน่นทำนี่ เหมือนบางคน ยังไม่ทันไร บอกผมจะเป็นนักการเมือง อะไรอย่างนี้ ซึ่งความจริงแล้วนักการเมืองมันก็คืออาชีพซึ่งถ้าคุณพร้อม คุณถึงจะเข้าไป ไม่ใช่เป็นอาชีพซึ่งไปได้มา เพราะว่า มีรถนำหน้า มีเงินเยอะ มีคนนับหน้าถือตา อะไรอย่างนี้ ผมว่าในสังคมไทยก็ยังไม่ถึงจุดนั้นหรอก แต่ว่ามีคุณ Barack Obama มันก็... เมื่อเด็ก ๆ นี่แกก็ไม่ใช้ชื่อนี้นะ เขากลัวว่าเป็น.. คำว่า Barack ความจริงเป็นชื่อพ่อแกด้วยนะ

พิธีกร : คล้าย ๆ เป็น senior

ศ.ดร.จีระ : แต่ความจริงแล้วคำว่า Obama คนเขาตกใจเหมือนกัน ชื่อเป็นชื่ออัฟริกา แล้วก็เผอิญมีเมืองหนึ่งในญี่ปุ่นด้วยนะชื่อ Obama ตอนแรกแก ท่านผู้ฟังครับ ความที่แกกลัวคนจะไม่ยอมรับ แกเลยใช้ชื่อแกว่า Barry เหมือนคนไทย บางทีใช้คำว่า David บ้างอะไรบ้าง ผมคิดว่า การเป็นตัวของตัวเองนี่สำคัญ ฉะนั้นเราควรจะเรียนรู้ 3 ประเด็น

1. Authenticity

2. Diversity

แล้วก็ 3. Knowledgeable หรือ Knowledge creation เขาเป็นคนที่ ผมเชื่อว่า เป็นคนที่ใฝ่รู้มาก ๆ เลย

พิธีกร : ครับ ประวัติของคุณ Obama น่าสนใจมาก ๆ ครับหนังสือเล่มนี้จริง ๆ ต้องบอกว่าตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1995 คือเมื่อ 13 ปีที่แล้ว

ศ.ดร.จีระ : นานมากเลย แล้วตอนที่เขาเขียนก็ไม่ได้คิดจะ.. คือเขาเขียนถึงพ่อเขา แล้วชีวิตพ่อเขานี่ก็แปลก เป็นคนที่ผมเห็นนักเรียนแบบนี้เยอะนะ จีรวัฒน์ สมัยที่ผมเรียนที่ Wisconsin แล้วแกเป็น product ของคนอัฟริกาที่ได้ทุนมาเรียน แล้วก็พอเห็นสังคมที่มัน..คือระบบการเรียนในอเมริกามันเสรี มันทำให้กล้าเถียง เขาก็เลยมีความ..คือเขามีอุดมการณ์ แล้วขณะเขามีชีวิตที่มีลูก ก็เลยไม่ได้ดูแลลูกเท่าที่ควร

พิธีกร : ครับคงต้องติดตามในครั้งหน้าครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : สวัสดีท่านผู้ฟังทุกท่านครับ

พิธีกร : พบกันใหม่ได้ในสัปดาห์หน้าครับ สวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท