มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ซ้ำๆแต่จำเป็น? | เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (7)


ไปดูคนไข้ที่บ้านพักคนชราเมื่อเช้า

แผล (ulcer) ที่เหงือกของคุณยาย E.P. ยังไม่หายดี เลยจ่ายยาให้ทา ลูกสาวคุณยายถามว่าทายังไงวันละกี่  หน เราก็ตอบไปโดยหันหน้าหาคุณยายด้วย ไม่ได้ตอบลูกสาวคนเดียว

ลูกสาวคนไข้บอกว่า แม่จำไม่ได้หรอกค่ะ เดี๋ยวก็ลืม (dementia)

[ตอนที่ตอบนั้นหันหน้าไปทางคนไข้เพราะเรียนมาว่าผู้สูงอายุไม่ชอบให้พูดกับคนดูแลอย่างเดียว เหมือนกับเค้าไม่มีตัวตนอยู่ รู้เรื่องไม่รู้เรื่องก็ต้องพูดกับคนไข้ด้วย  ให้เกียรติแสดงความเอาใจใส่และความเคารพ เพราะ dementia มันเข้าๆออกๆ ไม่มีอะไรแน่]

แต่ที่ลูกสาวเค้าบอกเรานั้นก็ถูก

เราเลยบอกว่าเดี๋ยวเราจะไปเขียนไว้ในแฟ้มบอกพยาบาลด้วย ลูกสาวคุณยายขอบ-อกขอบใจใหญ่ เพราะเค้าบอกว่าพยาบาลไม่ฟังเค้า ฟังแต่หมอ

"I am just a relative"

เราบอกว่า อะไร You are not "just" a relative...you ARE a relative ต่างหาก

เค้าก็ทำหน้าเห็นด้วยแต่ยักไหล่ว่าพยาบาลไม่เห็นอย่างนั้นหนิ

สรุปในการจ่ายยาใดๆ ต้องบอก

1. คนไข้

2. ญาติคนไข้ (ให้รับรู้ขั้นตอน)

แต่ compliance นั้นขึ้นอยู่กับ

3. พยาบาลและ

4. ผู้ช่วยพยาบาล

(เพราะลูกสาวมาเยี่ยมอาทิตย์ละ 3 วัน วันละ 2-3 ชม.ไม่ได้อยู่ที่นี่)

บอกพยาบาลอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องเขียนในแฟ้มที่รพ. หรือ ที่บ้านพัก

แล้วยังต้องกลับมาเขียน dental progress note ที่คณะอีก...

รวมพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ 3 ครั้ง เขียนเหมือนกันเป๊ะๆอีก 2 ครั้ง ถึงจะมั่นใจได้ว่าเราทำดีที่สุดแล้ว

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

คลิกที่นี่เพื่อนอ่านบันทึก ทำเอางง | เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (6)

หมายเลขบันทึก: 177239เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2008 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ทำดีที่สุด  แปลว่า ทำได้ดีไม่ได้มากกว่านี้แล้ว..
  • ความดีที่มีลิมิต
  • แซวเล่นนะครับ

สวัสดีค่ะคุณกวินทรากร

ขอพร่ำต่อนะคะ...เรื่องนี้ยังไม่มีคำตอบ

ทำดีที่สุดในที่นี้หมายถึงทำดีที่สุดตามกรอบ infrastructure ที่มีอยู่

แต่ใจจริงอยากทำให้ระบบการเก็บและแชร์ข้อมูลให้ดีกว่านี้มากๆ

จะได้ย้นเวลาการเขียนซ้ำๆไปด้วย

แต่พูดถึงการที่ญาติคนไข้มานั่งดูขณะตรวจและรักษาหรือมาคุยด้วยกับหมอโดยตรงนั้นดีมากๆแล้ว เพราะไม่งั้น coordinator ที่คณะก็ต้องโทรหาญาติคนไข้อยู่ดี เป็นการใช้เวลาและกำลังคนเพิ่มอีก 1 step แถมข้อมูลอาจไม่ตรงหรือไม่ครบเท่าที่หมออยากจะสื่อ

ส่วนเรื่องการสื่อสารกับพยาบาลนั้น นอกจากF2F แล้วต้องเขียนใน progress note (ขอความร่วมมือ) หรือถ้าในกรณีที่สำคัญมากๆก็เขียนใน Doctor's order (สั่ง) เลย

ซึ่งเรื่องนี้ sensitiveมาก ผู้ช่วยพยาบาลหลายคนคิดว่าโดนบังคับ จะไม่ชอบให้หมอฟันเขียนสั่งให้แปรงฟันให้คนไข้ใน Doctor's order ต้องดู dynamic ของคนในแต่ละรพ. หรือ บ้านพักให้ดีๆ ต้องดูด้วยว่า RN ถูกกับ aide รึเปล่าเพราะบางที่ก็ไม่ถูกกัน ทางที่ดีก่อนเขียนอะไรให้ F2F ให้รู้เรื่องก่อนว่ามันสำคัญแต่ไหนถึง "สั่ง" ให้ทำ

ไม่รู้เมืองไทยเป็นแบบนี้รึเปล่า? กลับไปต้องไปศึกษาดูลาดเลาใหม่หมด ทำงานต้องให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรแต่ละที่ ไม่มีที่ไหนเหมือนกันเท่าไหร่

น้องมัทที่รัก

ถ้าเป็นเมืองไทยใครอยากจะทำอะไรต้องทำเองค่ะ เอ่อ ..เท่าที่พี่เคยเจอมานะคะ

และบทบาทของหมอฟันในโรงพยาบาลไทยๆจะไป "สั่ง"ใครเนี่ย ยากมากๆๆ

ตอนที่เคยอยู่ในระบบ พี่ต้องวางแผนในการผลักดันให้ผู้ช่วยฯและทันตาภิบาลทำงานในเวลาด้วยการจูงใจโดยใช้ค่าตอบแทนสำหรับการอยู่เวรนอกเวลาที่หักจากรายได้ของหมอฟันทุกคนที่อยู่เวร หรือจูงใจโดยวิธีอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเอื้อต่อกัน เกื้อกูลกัน หรืออย่างน้อยก็เกี่ยวข้องกัน และเป็นการปันน้ำใจ ให้กำลังใจกันด้วย ทำงานกับผู้คนหลากหลายยากมากๆค่ะ แต่ยิ่งทำงานมากยิ่งวางใจได้ดีและเข้าใจตนเองมากขึ้น แต่ยังคงต้องเรียนรู้กันต่อไปไม่มีสิ้นสุดนะคะ ;)

พี่อ๋อจ้ะ

สวัสดีค่ะ

ถ้าคุณแม่ไปหาคุณหมอมัท ท่านต้องหลงรักคุณหมอมัทแน่ๆ

เพราะท่านชอบให้คุณหมอพูดคุยด้วย ในขณะที่ท่านก็ให้ลูกสาวไปฟังด้วยค่ะ :)

  • ตอนนี้ มีหมอผู้สูงอายุ ที่น่ารักมากขึ้นเยอะแยะเลยนะคะ
  • ที่ไปจัดประชุม ลปรร. ที่ขอนแก่น พี่ก็เพิ่งได้รู้จัก อ.หมออรพิชญา จะเรียกว่า เป็นรุ่นลูกก็คงได้ ... หมอน่ารักมากเลย เรียกผู้สูงอายุว่า "พ่อจ๋าแม่จ๋า" ด้วยเสียงเจื้อยแจ้ว และทำให้คิดว่า คนไข้ของ หมอพิช ต้องรักหมอพิชมาก มาก เลย
  • และก็ได้รู้จักหมอรัชฎา กับหมออชิรวุธ (หมอฟันค่ะ) เธอบรรยายเรื่องฟันได้ คู่หู ดีเจ กันมากเลย ... พร้อมกับแสดงความเป็นห่วงในเรื่องสุขภาพช่องปากของคนไข้ ได้อย่างชัดเจน ประกอบเรื่องเล่าระหว่างบรรยาย
  • พี่เลยคิด ... อนาคต เรื่อง ฟัน ฟัน ของประเทศไทย คงมีคุณภาพคับแก้วขึ้นแน่ๆ เลยนะคะ
  • ที่คุณหมอเขียนตอบผมมาเนี่ยดีมากๆเลยนะครับ
  • เป็นแนวทาง
  • ทุกอาชีพต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ ในการทำงาน
  • คุณหมอทำได้ดีแล้วครับ ..

jaewjingjing: ขอบคุณมากๆสำหรับกำลังใจค่ะ

พี่หมอนนท์ (เพื่อนร่วมทาง): อยากเจอคุณหมอที่พี่เอ่ยชื่อมามากเลยค่ะ : ) หวังว่าจะได้มีโอกาสร่วมงานกัน

สวัสดีค่ะพี่อ๋อ

เรื่องนี้มันทำให้น่าคิดมากค่ะ เราสั่งยาได้ ไม่มีใครบ่น เพราะมันเป็น"ยา" แต่ว่าถ้าสั่งให้ช่วยคนไข้ดูแลรักษาความสะอาดช่องปากเพื่อลดจำนวนเชื้อโรคในปากกลับไม่ค่อยได้ (นี่คือปัญหาที่นี่นะคะ) มันแสดงให้เห็นถึง การให้ความสำคัญและความเข้าใจเรื่องสุขภาพช่องปากได้ดีทีเดียว

สถานการณ์ที่นี่นะคะ: aides ที่นี่งานหนักค่ะ 1 คนดูแลคนไข้ 8-10 คน เช้ามาต้องปลุก เช็ดตัว หวีผม แต่งตัว อุ้มมั่งยกมั่งจูงมั่งให้ทุกคนมาพร้อมกันทานข้าวให้ทัน 8 โมงเช้า ถ้าคนไข้ไม่ขัดขืนก็จะแปรงฟันได้ง่าย แต่คนไข้หลายคน โดยเฉพาะคนไข้ stroke คนไข้ dementia คนไข้ depression มากๆ ก็ดูแลลำบาก จะแปรงฟันทีต้องใช้เวลามากกว่า 3-5 นาที

ก็น่าเห็นใจ แต่ก็น่าคิดว่า ทำไมช่องอื่นล้างได้ แต่ช่องปากนี่ยากเหลือเกินสำหรับ aide (เพราะช่องอื่นเข้าถึงง่าย? พลิกตัวแล้วเช็ดๆจบ)

ส่วนตอนก่อนคนไข้นอนนั้นบรรยากาศไม่เร่งรีบเหมือนตอนเช้า แต่ว่ากะนี้ aide จะน้อยคนกว่ากลางวัน RN ก็มีแค่คนเดียวต่อ ward ก็เลยงานหนักเหมือนเดิมมีข้ออ้างแปรงไม่ทันอีก

แต่ถ้าว่ากันไปแล้ว ถ้าเรายอมรับได้ว่า ขอให้แปรงเถอะ กี่โมงก็ได้ไม่ต้องตอนเช้าหรือก่อนนอนก็ได้ ช่วงหลังอาหารเที่ยงนี่ไม่ยุ่งเลยค่ะ เห็น aide นั่งคุยนั่งพักกันประจำ แต่คนไข้ก็ไม่มีใครแปรงฟันให้อยู่ดี หรือเพราะวงการหมอฟันเองไม่ปรับให้เข้ากับตารางเวลาของรพ./บ้านพักคนชรา หรือว่าบอกไปก็ไม่ทำอยู่ดี เพราะไม่เห็นความสำคัญ? แต่ละรพ.ก็มีสาเหตุต่างกันไปค่ะ

มัทไม่เคยเขียนสั่งให้ aide แปรงฟันใน Doctor's order เลย ยกเว้นกรณีที่มีปัญหาซับซ้อนต้องทำอะไรมากกว่าแค่แปรงฟันธรรมดาเช่นใน palliative care ที่กำลังเจ็บมากๆจากปัญหาในช่องปาก หรือกรณี คนไข้ excessive drooling คนไข้ dysphagia หรือคนไข้ปากแห้งแบบรุนแรง ก็เขียนสั่งยาบ้วนปากหรือยาทาไปแล้วพ่วงเสริมการดูแลความสะอาดช่องปากประจำวันไปด้วยให้เนียนๆ

เวลาเขียน order ก็เขียนเป็น tip เป็น trick บอกเคล็ดลับว่าทำยังไงถึงจะง่ายขึ้น คือไม่ได้สั่งอย่างเดียวแต่บอกทางออกให้เค้าด้วย แล้วก็คุย F2F ด้วยอย่างน้อยก็กับ หัวหน้าพยาบาล หรือ RN คนอื่นบน ward

ยังไม่เคยมีปัญหานะคะ แต่หมอรุ่นพี่ท่านหนึ่งเคยโดน aide มากระแนะหระแหนที่เขียน order!

(เพราะเมื่อเราเขียน order แล้ว เค้าจะต้องทำ เพราะ RN จะตรวจแล้วเค้าต้องเซ็นชื่อใน flow sheet ประจำวันด้วยว่าได้ทำงานสำเร็จแล้ววันละกี่ครั้งๆก็ว่ากันไป)

ในงานผู้สูงอายุนั้น ต้องร่วมมือกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ"อย่างแรง"ค่ะ

สำคัญมากๆ เรื่องนี้อยู่ที่บุคลิก ความนอบน้อมด้วย ต้องเรียนรู้กันต่อไปอย่างที่พี่อ๋อบอกค่ะ แต่มัทมีความหวังกับวัฒนธรรมบ้านเรา เพราะยังไงซะผู้สูงอายุคือผู้สูงอายุ เป็นที่เคารพ น่าจะทำให้อะไรง่ายขึ้นเพราะมีทานเป็นศูนย์กลาง เราทำงานก็เพื่อนท่าน ไม่ว่า"เรา"จะมาจากสาขาวิชาชีพใดก็ตาม?

มัทอยากร่วมงานกับ PT OT นักโภชนากร Speech Pathologist พยาบาล หมอ นักการภารโรง เภสัช นักสังคมสงเคราะห์ นักจัดกิจกรรม ฯลฯ ต้องช่วยกันหมดค่ะ ขอฝากเนื้อฝากตัวกับพี่น้องผองเพื่อนวิชาชีพอื่นด้วย ณ ที่นี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท