รายการ Human talk วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2551


Human talk

พิธีกร : สวัสดีครับคุณผู้ฟังครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Human Talk นะครับ ทุกเช้าวันอาทิตย์แบบนี้ นะครับ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้ากับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศนะครับ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐครับ  ก่อนเข้าถึงเนื้อหาเข้มข้นในวันนี้นะครับ มีข่าวฝากประชาสัมพันธ์สักเล็กน้อยนะครับ ขอเชิญนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ทุกท่าน ร่วมงานชื่นชุมนุมเทพศิรินทร์ 2551

123 CHEER วันเสาร์ที่ 26 เมษายนนี้นะครับ เวลา 6 โมงเย็น ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ครับ ซึ่งตอนนี้นะครับก็อย่างที่ทราบว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่นะครับ ก็ในส่วนของ Big story นะครับ เรายังติดค้างกันอยู่ในหัวข้อจากนิตยสาร Time ที่พูดคุยกันถึงเรื่องของ 10 ความคิดที่กำลังมาเปลี่ยนแปลงโลกของเรานะครับ ซึ่งอาจารย์มีประเด็นน่าสนใจมากจากนักเขียนท่านหนึ่ง ซึ่งในแต่ละบทความก็จะไปแตะในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะมีเรื่องของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีก็มี มีหัวข้ออันหลากหลาย มีอันหนึ่งผมก็ชอบจังเลย เกี่ยวข้องกับผมเหมือนกัน ก็คือเรื่องของ customer service ถึงจุดจบ เขาเรียกถึงจุดจบของการบริการลูกค้า  เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก ๆ วันนี้จะมีประเด็นที่น่าสนใจมาฝากกัน รวมถึงเรื่องต่าง ๆ ด้วยนะครับ  อาจารย์ครับ สวัสดีครับ

ศ.ดร.จีระ : ครับ สวัสดีครับคุณจีรวัฒน์ สวัสดีครับท่านผู้ฟังที่เคารพ วันอาทิตย์ก็จะเป็นงานที่ผมกับคุณจีรวัฒน์ได้พยายามช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง นี่ก็เป็นอีกอาทิตย์หนึ่ง คุณจีรวัฒน์ พูดไปถึงเรื่องงานชื่นชุมนุมแล้วใช่ไหม

พิธีกร : ครับ ที่จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 26 เดือนหน้านี้นะครับ ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์

ศ.ดร.จีระ : คืองานนี้เป็นงานประจำปี ซึ่งในฐานะที่ผมทำงานที่สมาคม ก็เลยขออนุญาตรายการเราเป็นสื่อกลางให้เขาได้รับทราบกัน  อีกนิดหนึ่งเกี่ยวกับเทพศิรินทร์คือ เมื่อวันจันทร์ผมได้ไปเป็นประธาน รำเพยเกมส์ รำเพยเกมส์นี่ก็น่าสนใจ เพราะไม่ได้เอาเด็กมาเล่น เอาครูมาเล่น ครูเทพศิรินทร์ 8 แห่ง นี้ทั้งหมดก็เกือบเจ็ด แปดร้อยคนน่ะจีรวัฒน์  แล้วก็เขาก็เล่นกันสนุก เราไปกันที่สระบุรี  เรามีโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่พุแค ซึ่งก่อนจะมาเป็นเทพศิรินทร์นี่ก็อยู่อันดับ 7 อันดับ 8 ของจังหวัด เดี๋ยวนี้ก็ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 อันดับ 3 คืออยากเรียนให้ทราบว่า เดี๋ยวนี้การเรียนหนังสือยุคใหม่ ลักษณะจะเป็น cluster  เทพฯใหญ่ก็จะเป็นพี่เลี้ยง แต่ขณะเดียวกันเราก็ได้ความรู้จากเขา อย่างผมเป็นนายก ผมก็ไปเยี่ยมเขาทุกแห่ง  ก็เลยขออนุญาตฝากกิจกรรม 2 อัน แก่ท่านผู้ฟัง โดยเฉพาะเป็นญาติพี่น้องกับเทพศิรินทร์ ก็จะได้เตรียมตัว เพราะว่างานชื่นชุมนุมนี่ คุณจีรวัฒน์รู้ไหม แต่ละครั้งมีคนประมาณเท่าไร

พิธีกร : ครับ น่าจะเป็นหลักพัน

ศ.ดร.จีระ : ประมาณสองพันคน ปีนี้เราจะมีผู้ใหญ่ เช่น ท่านภีศเดช เป็นประธานเหมือนเดิม แล้วก็จะมีองคมนตรี ปีนี้เราจะเชิญรัฐมนตรี รองนายก คุณสุวิทย์ คุณกิตติ แล้วก็มีคุณประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ด้วย

พิธีกร : ครับ 

ศ.ดร.จีระ : ก็เป็นพี่ชายของ Boss คุณจีรวัฒน์ด้วย คุณศิริลักษณ์ ความจริงคุณก็เป็นคนที่โชคดีนะ มีเจ้านายที่มีความสามารถ แล้วก็มี connection ที่ดี

พิธีกร : ครับ  ซึ่งทราบมาว่าเดี๋ยวจะมีโรงเรียนเทพศิรินทร์ในเครืออีก 2 โรงเรียนด้วยใช่ไหมครับอาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็ขอเล่าให้ฟังนิดหนึ่งว่า โรงเรียนที่ 9 จะเป็นโรงเรียนในโครงการหลวง ที่ดอยอ่างขาง ผมก็ขึ้นไป วันนั้นก็ได้ออก TV  ร่วมกับจีรวัฒน์ด้วย ก็พยายามที่จะให้โรงเรียนหลากหลาย เผอิญอันนี้ก็จะเป็นโรงเรียนมัธยมด้วย เสร็จแล้วอันที่ 10 นี่ก็อนุมัติเรียบร้อยแล้ว คือที่โรงเรียนบางเมือง ที่สมุทรปราการ โรงเรียนนี้ก็มีนักเรียนอยู่ประมาณสองพันกว่าคนแล้ว คือไม่ใช่โรงเรียนประเภทมาพึ่งเรา แค่เผอิญเจ้าของที่ดินที่ donate ท่านเสียชีวิตไปแล้ว ความจริงท่านเป็นรุ่นก่อนพ่อผมด้วยนะ ก็ลูกสะใภ้ท่านเคยเป็นอาจารย์ใหญ่ที่สาธิตจุฬา ท่านก็ไปถามคุณพ่อท่าน พ่อตา พ่อสามีบอก ทำไมท่านพูดภาษาอังกฤษเก่งช่วงนั้น ท่านบอกฉันได้มาจากเทพศิรินทร์ คือสมัยก่อนนี้เด็กเทพศิรินทร์  แม้กระทั่งรุ่นพ่อผม จบมาแล้วพูดภาษาอังกฤษปร๋อเลยจีรวัฒน์ คือการเรียนให้เห็นว่า ในอดีตเรามีคุณภาพมากกว่านี้

ฉะนั้นวันนี้ท่านรัฐมนตรีศึกษาท่านใหม่ ก็อย่าเน้นเฉพาะประชานิยม ให้เด็กมีโอกาสเรียนเท่านั้น คือมันต้องเน้นที่คุณภาพด้วย แล้วก็ผมคิดว่าสังคมทั่ว ๆ ไป วันนี้มันอยู่ได้ด้วยคุณภาพ แล้วก็การมีความรู้ที่ดี การมีความใฝ่รู้ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มันสามารถสร้างได้ แต่มันต้องใช้เวลา

 สำหรับรายการของเรานี้ก็จะเป็นตัวอย่างเล็ก ๆ เป็น case study ที่ทำให้เราได้สามารถแนะนำท่านผู้ฟัง โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ หรือแม้กระทั่งผู้ที่สนใจ เพราะการศึกษาที่ดี มันคงไม่ได้พึ่งเฉพาะโรงเรียน แต่โรงเรียนก็ต้องมีความสามารถในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แล้วก็ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา อีกหน่อยธุรกิจก็จะช่วยการศึกษามากขึ้น ผมเชื่อ

พิธีกร : ซึ่ง ถึงเรื่องราวของในหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่คอลัมภ์เมื่อวานนี้ที่อาจารย์เขียนไว้นะครับ มีหลายประเด็นที่หลาย ๆ ท่านก็คงจับตามองเหมือนกันนะครับ อาจารย์พาดหัวไว้ว่า  อาทิตย์นี้ ขอตรงประเด็น มีกี่ประเด็นด้วยกันครับอาจารย์ มีฟุตบอลด้วย

ศ.ดร.จีระ : คือผม ความรู้สึกว่า เวลาชีวิตคนเรานี่ เราจะทำอะไร การมีชีวิตอยู่แต่ละวัน น่าจะมีหลักอยู่อันหนึ่งเรียกว่า 2 R's  R ตัวที่หนึ่ง เวลาจะทำอะไร เราต้องสะท้อนความจริง อย่างจีรวัฒน์พูดว่า อยู่การตลาดอย่างนี้ จะต้องรู้ว่า อีกหน่อย customer นี่เขาไม่พึ่งบริษัทแล้ว เขาพึ่งตัวเอง เขา self managing ตัวเอง gain of customer อะไรอย่างนี้

             ก็จะเห็นว่า trend ของโลกหรือแม้กระทั่งตอนที่ผมไปเกาหลี อีกหน่อยบ้านก็จะ control ด้วยเทคโนโลยีหมด จะกด ขอซื้อสินค้าอะไรก็ไม่ต้องใช้โทรศัพท์แล้ว ใช้ IT ซื้อวงซื้อไวน์ จะเปลี่ยนผ้าม่งผ้าม่าน ฉะนั้นความจริงนี่ก็สำคัญ และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ โลกเรามี Information  หรือข้อมูลข่าวสารเยอะไปหมดเลย เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเป็นคนเลือก ผมก็เลยเลือกหัวข้อที่ผมคิดว่าอาทิตย์นี้สำคัญอยู่ 3 4 อัน อันที่เทพศิรินทร์นี่ก็พูดไปแล้ว แต่อันหนึ่งก็คือเรื่องฟุตบอล ใช่ไหม

พิธีกร : ใช่ครับอาจารย์

ศ.ดร.จีระ : เผอิญคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง เขาเป็นแนวร่วมผม ท่านจตุรมิตร จบมาทางด้านอัสสัม เขาก็มีสปิริตลาออกไป ถึงแม้ว่าฟุตบอลจะพับสนามเล่นนะ แต่มันแพ้น่ะจีรวัฒน์ แล้วมันก็ซ้ำซากน่ะ จีรวัฒน์ก็คงทราบดี รายการนี้ก็พูดเรื่องนี้ คุณวรวีร์ท่านก็เป็นคนตั้งใจจะทำงาน แต่ว่าเผอิญโครงสร้างที่เป็นอยู่มันยังไม่ได้เปลี่ยน เพราะว่า ฟุตบอลนี่ก็เหมือนการบริหารจัดการ อยู่ดีมันจะมีความเป็นเลิศโดยการตีปี๊บไม่ได้ อย่างเช่น ส่งเด็กไปเล่นที่ Manchester City อะไรอย่างนี้ หรือไปทัวร์ที่เมืองจีน คือเรามักจะทำอะไรเชิงลิเก ฉะนั้นก็เลยบอกเขาไปว่า อยากให้สมาคมเป็นมืออาชีพจริง ๆ

ผมยกตัวอย่าง เวลาเขาจัด tournament ไม่ใช่ระดับไทยลีกนี่ เขาทำแบบชุ่ยมากเลย คือตารางแข่งก็ไม่มี ขณะที่เด็กวันนี้ คุณจีรวัฒน์ลองคิดดู ระดับมัธยม ระดับมหาวิทยาลัยนี่ มีคนเก่ง ๆ ขึ้นมาเป็นแสนนะ นักเล่นน่ะ แต่เขาไม่มีระบบ ตามปกติแล้ว มันจะต้อง ลักษณะต้องจัด tournament แบบอังกฤษ มี division one , division two แล้วก็เป็นมืออาชีพ แล้วก็มีธุรกิจเอกชนมา support มีคนดูพอควร มี Fan club

อย่างสมัยผมเล่นบอลเตรียมที่เทพศิรินทร์ 50 ปีมาแล้วนะ สนามศุภฯ นี่เต็มเลยนะ อย่างจตุรมิตรของเรา นี่ก็คนดูเป็นสี่ ห้าหมื่น สามหมื่น แต่บอลไทยลีกนี่ อย่างมีคนเขาพูดกัน จีรวัฒน์ลองคิดดู สโมสรชื่อกรุงไทยแบงค์อย่างนี้ มันจะมี Fan club ได้ไง หรือการไฟฟ้าภูมิภาคอะไรอย่างนี้ มันจะต้องเป็นจังหวัด จะต้องเป็นชุมชน ซึ่งวันนี้ก็มี Trend อันหนึ่งเกิดขึ้นมาแล้วก็คือ ชลบุรี ซึ่งผมก็ชื่นชมเขามาก แล้วก็ฟุตบอลเขาเป็นที่ยอมรับ

แล้วเผอิญอยู่ดี ทาง FIFA ระดับเอเชีย เขาก็มา comment ว่า เราส่งตัวแทนไปเล่นที่ระดับ เขาเรียก Asian championleague แต่ tournament เราห่วย เขาก็เลยจะนั่นหรือ ฉะนั้นอยากให้เรามี เขาเรียก Good governance มีธรรมาภิบาลในการ.. คุณวรวีร์ท่านก็เป็นคนมีประสบการณ์ แต่ว่า ผมไม่แน่ใจว่าท่าน ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันนี่ท่านจะเป็นผู้นำได้หรือเปล่า ก็เลยอยากให้ท่านปรับปรุงตัวเอง อาจจะมีการแก้ปัญหา เพราะฟุตบอลเป็นศักดิ์ศรีของประเทศน่ะจีรวัฒน์ เราไม่มีแม้กระทั่ง Professional league นักฟุตบอลดี ๆ ได้เงินไม่ถึงแสน ในขณะที่เรายกย่องดารา แล้วก็ tournament คุณจีรวัฒน์ลองคิดดู ฟุตบอลนี่ คนที่มาจากอัฟริกา สมมติว่ามีคนหนึ่งเขาชื่อ Drogba จากอัฟริกามาเล่นให้ Chelsea คุณรู้ไหมเงินเดือนเขาเท่าไร

พิธีกร : เท่าไรครับอาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : อาทิตย์หนึ่งนี่ ประมาณแปดหมื่นปอนด์ แปดหมื่นปอนด์ จีรวัฒน์ลองคูณดูซิ แปดหมื่นคูณด้วยหกสิบ ก็ประมาณเฉพาะอาทิตย์เดียวก็ห้าล้านบาท ไม่นับโบนัสที่เขาได้รับนะ คือนักฟุตบอลของโลกเรานี่มันได้ทุกอย่าง ได้ชื่อเสียง ได้...

            ของเรานี่เล่นหนัก เวลาบาดเจ็บมาก็ไม่มีคนดูแล ส่วนอันที่สองผมก็พูดรวมกันประเด็นสองประเด็นก็คือ เรื่องราคาอาหาร ก็วันนี้ก็มีข่าวดีว่า ประเทศของเรานี่จะโชคดี เพราะว่าอาหารนี่มีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้น แต่ว่าหลายคนก็ถาม อยู่ดีทำไมราคาข้าว ราคาข้าวสาลี ด้วยนะจีรวัฒน์ ไม่ใช่เฉพาะข้าว วันก่อนผมคุยกับบริษัทที่ทำแป้งมัน เอาข้าวสาลีเข้ามา ข้าวสาลีที่เป็นวัตถุดิบนี่ ท่านผู้ฟังครับ มันขึ้นไป 100 % เลย และเผอิญกระทรวงพาณิชย์นี่ เขาโชคดี คนกินข้าวสาลีกับคนกินเค้กนี่ ไม่ใช่เป็นคนระดับล่าง คุณก็รับภาระไป แต่ถ้าคนกินข้าวแกง มันก็....

            ฉะนั้นมันก็ต้องภูมิใจว่า ราคาสินค้าจะขึ้น แต่ว่าข้อเสียก็คือ เอ๊ะขอโทษราคาอาหารจะขึ้น ข้อเสียก็คือว่า จะมีปัญหา 2 อย่างก็คือ คนในเมืองก็อาจจะบ่นได้ สองก็คือแล้วชาวนาได้รับประโยชน์จริงหรือไม่        

พิธีกร : ใช่ครับ ตรงนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ว่า ชาวนาจะรวยขึ้นหรือเปล่า

ศ.ดร.จีระ : คือผมเป็นห่วงคุณมิ่งขวัญ ตรงที่ว่า ท่านบอกว่าให้รีบขาย ข้าวไปหรือเก็บไว้ก่อน อย่างนี้ ต้องดูให้ดีว่า เกษตรกรนี่จะได้รับไหม ก็อยากเรียนท่านผู้ฟังว่า ผมโชคดี ในปีที่แล้ว ก็มีโอกาสได้ไปเป็นผู้นำการสัมมนา แล้วก็พัฒนาข้าราชการกระทรวงเกษตร หรือสหกรณ์การเกษตรหลายครั้ง ผมเรียนท่านผู้ฟังเลยครับ ยากครับ ที่องค์กรเกษตรหรือองค์กรชาวนานี่ เขาจะได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ เพราะว่าเขาไม่ทันเหตุการณ์ แล้วก็บริหารจัดการเขาก็ช้า เพราะฉะนั้น พอมีโอกาสที่เกิดขึ้น เขาก็จะทำไม่เป็น มันเหมือนกับถูกล็อตเตอรี่แล้วไม่ไปรับ

ฉะนั้นประเด็นนี้ขอเรียนให้ทราบว่า ตัวผมเองก็โชคดีที่ได้ติดตามเรื่องนี้โดยตลอด ฉะนั้นถ้าคุณมิ่งขวัญท่านจะช่วยเกษตรกรจริง ๆ ก็ต้องร่วมมือกับสถาบันทางวิชาการ กระทรวงเกษตร พัฒนา ไม่ใช่พัฒนาพ่อค้านะ พัฒนา บริหารจัดการขององค์กรที่เป็นของเกษตรกรโดยตรง เขาช้า คุณจีรวัฒน์ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ซึ่งมีโอกาสในด้าน FTA เขาช้ามากเลย แล้วประเด็นสุดท้ายที่ผมพูดไว้ตรงประเด็นก็คือ เรื่องรัฐธรรมนูญ ก็อยากให้ระมัดระวัง อย่าไปแก้เฉพาะเพราะว่าตัวเองทำผิด แล้วเผอิญอันนี้ผมก็ไปอ่านบทความของคุณสุทธิชัย หยุ่น วันที่ 26 ท่านก็พูดดีว่า ถ้าเราแก้เพื่อจะลด หนีจากความผิดนี่ มันก็ไม่ถูก เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์ เขาก็ผิดได้ ถ้าเขาทำผิด มันไม่ใช่แค่พรรคใดพรรคหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าใครจะแก้ ก็ขอให้มีคณะกรรมการขึ้นมา แล้วก็แก้ไม่ใช่เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ฉะนั้น ถ้าใครมีอำนาจสูงสุด พอกฎหมายไม่ดี ก็แก้หมด ก็ไม่ได้ อันนี้ก็เป็นความคิดของคุณสุทธิชัย หยุ่น ที่ผมว่าเป็นจุดที่ดี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ในหนังสือพิมพ์ The Nation ก็เลยยกย่องเขาว่า เขากล้าพูด คือหนังสือพิมพ์ยุคนี้ก็ต้องกล้าพูด

พิธีกร : ใช่ครับ ต้องตรงประเด็น เดี๋ยวเราคงต้องไปพักฟังสิ่งที่น่าสนใจสักครู่ครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : เดี๋ยวเรียนท่านผู้ฟังนิดหนึ่ง ผมจะเริ่มที่ case story 2 อันนะ เราจะพูดถึงเรื่องอินเดีย

พิธีกร : ครับ TATA Group แล้วก็มีเรื่อง Bad leader

ศ.ดร.จีระ : แล้วก็ สิ่งที่ผมได้มา link กับเขา แล้วก็มาพูดถึงเรื่อง Jeffrey Sachs จะสรุปนิดหนึ่งตอนเรื่องของผู้นำที่ไม่ค่อยจะดีนัก ก็คือคุณ Mugabe เผอิญผมไม่ได้อยู่ที่บ้านก็เลยไม่ได้ติดตามข่าว ก็อยากรู้เหมือนกันว่า คุณ Mugabe แกจะชนะหรือเปล่า

พิธีกร : เดี๋ยวช่วงหน้า เรากลับมาพบกัน พักกันสักครู่ครับ

ศ.ดร.จีระ : คุณจีรวัฒน์ลอง check ข้อมูลดูหน่อย

โฆษณา

 

 

คำสำคัญ (Tags): #human talk
หมายเลขบันทึก: 175079เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2008 05:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พิธีกร : สวัสดีครับ กลับมาพบกันในช่วงที่สองของรายการนะครับ ซึ่งแหมประเด็นยังเข้มข้น แล้วก็จะเข้มข้นมากขึ้นในช่วงที่สอง ซึ่งมีเรื่องราวของ Big story นะครับ ยังอยู่กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศนะครับ อาจารย์ครับ สวัสดีครับ

ศ.ดร.จีระ : ครับ สวัสดีครับ คุณจีรวัฒน์ ก่อนจะไปถึง Big story ก็จะขอ Inform นิดหนึ่งว่าอย่าลืม TTN 2 ของผมนะ

พิธีกร : ใช่ครับ เรื่องของรายการโทรทัศน์วันพุธนี้ ใช่ไหมครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : อาทิตย์นี้เป็นนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่ ชื่อเล่นเขาชื่อคุณโอ๋ ผมได้สัมภาษณ์เรียบร้อยไปแล้ว คือ Trend ในโลกนี่ ใน 10 big Idea ที่จีรวัฒน์พูดถึงในหนังสือ Time magazine นี่ เขาจะพูดถึง Trend อันหนึ่งก็คือ ผู้หญิงกับการเป็น Entrepreneur ซึ่งอันนี้ก็น่าสนใจ อย่างจีรวัฒน์ก็เป็นผู้ชาย ซึ่งวันหนึ่ง...ความจริงคุณก็เป็น Entrepreneur อยู่แล้วในด้านการทำงาน แต่ว่าผู้หญิงนี่เขาจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น แล้วมันก็เอา case study ของ Yanus มา Yanus นี่คือคนที่ได้ Nobel prize ของ Grameen Bank ที่เขาทำ Micro credit คุณรู้ไหม Micro credit ของเขา เขาไม่ได้สอนให้กู้เงินอย่างเดียว เขาสอนให้ทำธุรกิจด้วย แล้วมาจากพื้นฐานที่เงินไม่เยอะ

เขาก็เลยบอกว่า Trend อันนี้ จะเป็นTrend ของโลก อย่างคราวที่แล้ว นอกจากคุณศิริลักษณ์ เจ้านายคุณ ก็เป็น Entrepreneur ทำโรงแรม ทำศูนย์การค้า คุณศุภลักษณ์ อัมพุช ก็ทำได้ดี วันก่อนผมเอาคุณสุรางค์รัตน์ จิราธิวัฒน์ เป็นสะใภ้จิราธิวัฒน์ แกกระโดดมาทำสปา วันก่อนผมโทรคุยกับเขา เขาก็ยังอยู่ที่อินเดีย ตอนนี้คุณสุรางค์รัตน์ ไปทำ Franchise สปา The privilege ของแก ในอินเดีย ไปที่จีน ไปที่นิวยอร์ค

ตอนนี้คุณโอ๋แกก็เป็นลูกนักธุรกิจ จบที่ประสานมิตร สาธิตประสานมิตร แล้วก็มาเรียนนิติศาสตร์ที่จุฬาฯ แต่ความที่แกเป็นคนชอบ อันนี้น่าสนใจท่านผู้ฟัง เขาเป็นคนชอบสวยงาม แล้วก็ชอบนวด ก็ไปซื้อครีมจากเมืองนอกมาเยอะแยะเลย แกก็เลยเริ่มทำวิจัยว่า เอ๊ะแกจะทำสินค้าแบบนี้ทำได้ไง แล้วใช้เวลาอยู่ 4 – 5 ปีนะจีรวัฒน์ แกเป็นคนที่ ไม่รู้แกได้ sense นี้มาจากไหน แกลงทุน แกเป็น R & D แกมี Lab แกมีนักวิทยาศาสตร์ แล้วในที่สุด สินค้าแกตอนนี้ก็ไปขายในตลาดโลก ปีหนึ่งผมว่าเป็นร้อยล้านมั้ง

พิธีกร : ครับ ก็มีทีมงานที่ดีด้วยครับอาจารย์

ศ.ดร.จีระ : ก็เลยดีใจ เผอิญผมไม่รู้จักเขาโดยตรง มีคนฝากมา ผมก็เลยให้เขาคุยกับคุณชนิตรนันทร์ แล้วก็ผมอยากเรียนให้ทราบว่า โลกปัจจุบันนี่ การเป็นมนุษย์เงินเดือนนี่ก็ดี ไม่ได้ว่าอะไร แต่ว่าขณะเดียวกันก็เปิดหูเปิดตาบ้าง ใช่ว่าบ้าคลั่งทำงานที่โต๊ะของตัวเอง ใช่ไหมจีรวัฒน์ เพราะว่ามัน โลกมันเปลี่ยน

สำหรับผมเอง ผมก็อยากให้คนไทยใฝ่รู้ อ่านหนังสือเยอะ ๆ อ่านอะไรนะ Fast company ซึ่งลองเดินในแถว Kino ดูบ้าง Magazine โลกเป็นยังไง หรือจะซื้อจาก Internet ก็ได้ อย่างวันก่อนผมลอง check เรื่องราคาหนังสือดูนะจีรวัฒน์ ตอนนี้ดอลลาร์มันลงนะ สั่งจาก Amazon อาจจะถูกกว่า โดยเฉพาะถ้าสั่งเป็นหลาย ๆ เล่ม ผมเคยสั่งแล้ว แต่ว่าถ้าสั่งเล่มเดียว ค่าขนส่งมันจะแพง แต่ดอลลาร์ตอนนี้มัน 31 หนังสือ 10 เหรียญก็สามร้อยกว่าบาทเท่านั้นเอง Amazon รู้สึกเขาจะมี discount ด้วย อะไรอย่างนี้

ก็อยากให้คนไทย โดยเฉพาะผู้หญิงไทยที่เรียนหนังสือ อยากให้คิด Entrepreneur ไปด้วย และคำว่า Entrepreneur ก็คือ คิดธุรกิจของตัวเองหรือขณะที่อยู่ในธุรกิจ อย่างจีรวัฒน์อยู่ที่บริษัท ก็คิดอะไรที่มันทำประโยชน์ให้แก่องค์กร ในลักษณะที่ทำให้ธุรกิจมันก้าวไปข้างหน้า แล้วก็ Entrepreneur มันมี 2 อัน คือ 1 Entrepreneurial spirit หรือจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ กับการเป็นผู้ประกอบการ คือการจะเป็นเองนี่ มันจะเหนื่อยหน่อย เพราะมันต้อง Take a lot responsibility ต้องดูแลการเงิน ดูแลคน อย่างผมเองผมก็เป็น Entrepreneur เล็ก ๆ คนหนึ่งทางด้านวิชาการ แล้วก็ให้ความรู้กับประชาชน มันก็ต้องอยู่รอด เช่นทำรายการ 96.5 นี่ ก็ต้องทำให้มีคุณภาพ ไม่ใช่ชุ่ย และตัวตัดสินก็คือลูกค้า ถ้าเรามีลูกค้า เราก็อยู่ได้

คราวนี้ที่คุณโอ๋ เขาทำได้ดีเพราะว่าลูกค้าเขาทั่วโลกเลยจีรวัฒน์ วันนี้นี่นักธุรกิจรุ่นใหม่ ๆ ที่ export ได้นี่ ก็จะเป็นประโยชน์ ฉะนั้นถ้าเรามีสินค้าที่ดี อย่างเช่นวันนี้ถ้าเรามีสินค้าเกษตร เราสามารถส่งออกไปที่ตลาดญี่ปุ่นอย่างนี้ แค่นิดเดียวรวยไม่รู้เรื่อง แต่กว่าจะเข้าไปในญี่ปุ่นได้ ต่อให้มี FTA อะไร มันก็ต้องทำการบ้าน เช่นต้องศึกษากฎระเบียบ ต้องอดทน ต้องวิจัย พัฒนา ต้อง packaging ฉะนั้นใครก็ตามที่อยากจะเป็นนักธุรกิจ มันก็คงต้องทำงานหนัก ก็อยากจะฝากรายการ TV ไว้ วันพุธนี้

พิธีกร : วันพุธนี้ทาง TTN ช่อง 2 หรือ Truevision ช่อง 8

ศ.ดร.จีระ : ก็มีคนแอบดูของผมเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ก็ดีใจด้วย

พิธีกร : มี 3 ช่วงเวลาใช่ไหมครับ อาจารย์ครับ มีเทป first run ตอน 9 โมงเช้า

ศ.ดร.จีระ : ครับ ตอนนี้จะออก 2 ครั้ง 9 โมงครึ่งวันพุธ แล้วก็ 4 ทุ่มวันพุธเหมือนกัน

พิธีกร : ซึ่งติดตามได้ ทุกสัปดาห์ อาจารย์มีเรื่องราวน่าสนใจเป็น story มาฝากเลย ประมาณครึ่งชั่วโมงใช่ไหมครับอาจารย์

ศ.ดร.จีระ : กว่าครับ มันทั้งหมดชั่วโมงหนึ่ง ก็รายการผมจะเป็น Interview key person 20 นาที แล้วตอนนี้ผมกับคุณชนิตรนันทร์ก็จะมาวิเคราะห์ เจาะลึก 15 นาที เสร็จแล้วเราก็มี case study ของ PACRIM ซึ่งเขาทำงานร่วมกับเราเป็น partner อีกประมาณ 5 นาที

แล้วก็สรุป เอากิจกรรมดี ๆ ที่ผมทำหรือคนอื่นทำมาออก คล้าย ๆ เป็น variety หน่อย ก็ลองดู สำหรับท่านที่มี package เก่าเป็น Fiber optic ไม่ใช่เป็นดาวเทียม รู้สึกจะยังเปิดไม่ได้ อย่างผมเองผมก็ต้องไป.. คือคนรุ่นเก่าที่เคยดู UBC 7 ก็จะไม่ได้เปิด 8 ก็ต้องไปขอเขามาติด ติด box ใหม่ แต่คุ้มครับ เพราะว่า box ใหม่ มันเพิ่มเงินไม่เท่าไร แต่ว่ารายการ TTN 2 นี่คุณสมเกียรติท่านก็จะช่วยแนะนำด้วย ผมก็ได้ออกกับท่านไปแล้ว ก็มี Idea ดี ๆ คือคนเรานี่มันต้องหาความรู้ แล้วตื่นเช้าขึ้นมาจะได้จากอะไร

อันนี้เป็นทฤษฎีที่ผมเรียกว่าตัว A คือมาจากคำว่า Acquire คือถ้าเราได้ความรู้ใหม่ แปลก ๆ มันก็จะช่วยเรา ฉะนั้นถ้าได้มาแล้ว คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มันก็จะช่วยได้เยอะ เสร็จแล้วก็เอาไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ผมเอง อย่างรายการวิทยุผมก็จะประสานงานกับทีมงาน จีรวัฒน์ แล้วตอนนี้เราก็ถอดเทป อยู่ใน Bloc ของเราแล้ว คิดว่าประโยชน์ที่ได้รับ มันก็คงจะมีมากขึ้น

พิธีกร : ครับ กลับมาที่ Big story วันนี้ อาจารย์มีเรื่องราว

ศ.ดร.จีระ : ครับ ก็จะขอพูดถึง Professor Jeffrey Sachs ก่อน

พิธีกร : เป็นคนหนุ่มไฟแรงครับอาจารย์

ศ.ดร.จีระ : ตอนที่ผมเป็นเลขาธิการมูลนิธิ 1999 ผมก็บินไปที่ ตอนนั้นเขาอยู่ที่ Havard ก็มีความรู้สึกว่า Jeffrey Sachs เขาอ่อนกว่าผมด้วย ปีนี้ผมว่าน่าจะอายุสัก 52 หรือ 53 เขาจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนเดียวในโลกนะจีรวัฒน์ที่ advise head of state มากที่สุดในโลกเลยนะ แล้วเขาเป็นคนที่เชื่อในระบบ global solution ยกตัวอย่างครั้งหนึ่ง UN เขาเคยมีการแก้ปัญหาความยากจนของโลก เขาเรียกว่า UN Millennium Goal ,

Millennium Goal คือลดความยากจน ลด infant mortality เพิ่มการศึกษานี่ 2015 เขาก็อยากจะทำให้สำเร็จ Jeffrey Sachs เขาเป็นคนที่บ้าคลั่ง global solution เขาก็คล้าย ๆ กับอีกคนหนึ่งที่จีรวัฒน์รู้จักดี ก็คือ Bill Gates ,

Bill Gates นี่คิดถึงเรื่องมาลาเรีย คิดถึงเรื่อง AIDS คิดถึงเรื่องอะไรในลักษณะ global คราวนี้บทความนี้ยังไม่กระทบเราหรอก แต่ว่าแค่พูด ผมว่าก็ทำให้เราต้องคิด แกบอกว่า 21st Century ปัญหามันยุ่งยาก แล้วทุกปัญหา ไม่ว่าพลังงาน ไม่ว่าจะ global warming ไม่ว่าจะ sub-prime นะ ผมว่าคงหมายถึงอันนั้นด้วย มันต้องมี global solution นี้มันก็เลยตรงใจผม ที่บอกว่าโลกเรายังมีรัฐบาลแต่ละประเทศเยอะเกินไป มันไม่มีรัฐบาลรวม คราวนี้รัฐบาลรวมยกให้ UN เดี๋ยวนี้ UN อะไรนะ no action talk only มัน talk a lot

พิธีกร : เป็นที่ปรึกษาของท่านบันคีมูนด้วยนะครับ

ศ.ดร.จีระ : ใช่ ผมไปเป็น APEC จีรวัฒน์ก็คงเห็น ผมว่า 21 ประเทศนี่เหนื่อย บางทีมันเถียงกัน คุณ Jeffrey Sachs ทำให้ผมคิด สมัยหนึ่งมูลนิธิก็เคยจัดสัมมนาอันหนึ่งให้ไป reform ปฏิรูปองค์กรอย่างเช่น IMF หรือ World bank หรือแม้กระทั่ง UN , คือ UN วันนี้ใครไปเป็น นี่มันสบายนะจีรวัฒน์ เงินเดือนสองสามแสน บินทั่วโลกเลย แล้วก็ไม่มี performance ก็อยู่ได้

ผมก็เลยคิดว่ามันเป็น Great Idea ผมคิดว่าคนไทยฟังรายการนี้ 10 คนก็จะบอกว่า เอ๊ะไม่ใช่เรื่องของฉัน แต่ท่านลองคิดดูสิครับ วันนี้ถ้าเรื่อง global warming อย่างเดียว จีรวัฒน์ คุณอย่าคิดเลยนะว่าคุณจะแก้ได้ด้วยตัวของตัวเอง และทุกวันมัน serious ขึ้นทุกที ฉะนั้นใน Big Idea ของแก แกก็เลยสนใจเรื่องนี้ ผมคิดว่า

สำหรับท่านทั้งหลายมี 2 เรื่องที่ผมอยากจะฝากไว้ก็คือ ถ้าเราเป็นนักเรียน เราไม่ควรจะเรียนหนังสือลักษณะที่เป็น Micro เยอะเกินไป Micro เรียน Math เรียนคณิตศาสตร์ เรียนวิชาต่าง ๆ ก็ OK แต่ขณะเดียวกัน มันต้องมีความเข้าใจว่า โลกหรือที่เราเรียกว่า External environment มันคืออะไร ถ้าเราไม่เข้าใจ เราจะไม่มีโอกาสได้ฉกฉวยมัน เพราะเราไม่พร้อม อย่างบางคนจบปริญญาตรีมาแล้ว ภาษาอังกฤษใช้ไม่ได้เลย แล้วจะ survive ได้ไง

ในขณะที่จีน ไม่ว่าเราจะ comment เขาเรื่อง อะไรนะ ทิเบตหรือไง คนขับแท็กซี่เขาพร้อมนะจีรวัฒน์ คนจีนได้ประโยชน์มากจากโอลิมปิค เพราะว่าเขาฟิตเรื่องภาษา วันนี้คนเวียดนามอาจจะพูดภาษาอังกฤษเก่งกว่าเราแล้วก็ได้ ผมจะบอกให้ แม้กระทั่งลาว เขมร พม่า เผลอ ๆ ภาษาเขาจะดีกว่าเราแล้ว เพราะเขาเห็นประโยชน์ ของเราอาจจะเป็นเพราะครูเราไม่เก่งก็ได้นะ ครูภาษาอังกฤษ พอครูไม่เก่ง เด็กเบื่อ มันก็ทิ้ง ก็สอบ 2 วิชาเมืองไทย แย่ที่สุดคือคณิตศาสตร์กับภาษาอังกฤษ เผอิญเป็นวิชาที่เป็นหลักซะด้วย O-NET , A-NET 2 วิชานี่เราจะเกลียด เกลียดที่สุด เราก็จะมีคนเก่งอยู่สักเท่าไรนะ 5 % อีกกลุ่มหนึ่งก็ออกมาได้เงินเดือน จบปริญญาตรีได้เงินเดือนแปดพันอะไรงี้ ไม่ถึงด้วยมั้ง แล้วขับรถแท็กซี่ได้สองหมื่นตอนนี้ ฉะนั้นไม่รู้เรียนไปทำไม ผมก็เลยคิดว่าอย่างที่ 1 อยากให้ครู ประชาชน 2 ก็อยากให้สื่อ อย่างสื่อตอนเช้า ๆ นี่จีรวัฒน์ลองคิดดู อย่างคุณสรยุทธ์นี่ จะเน้นเรื่องข่าวการเมือง ข่าวกีฬาเยอะ แต่ข่าว Inter ไม่ค่อยมี

ฉะนั้นเราก็เลยมีความรู้สึกว่าข่าว Inter ข่าวต่างประเทศก็คงคนกระทรวงต่างประเทศฟังอะไรงี้ มันไม่ได้ เพราะว่าโลกใบนี้เป็นโลกที่เราต้องอยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้น Jeffrey Sachs ก็เป็นคนหนึ่ง เวลาผมคุยกับเขาที่ Havard เขาก็ให้เกียรติผมมาก เราเกือบจะเชิญเขามาพูดในวันนั้น แต่เผอิญเขาพร้อมจะมา แต่เขาติดธุระ คือผมเอง ผมเรียนท่านผู้ฟัง ผมเป็นคนโชคดีที่มีอะไรที่จะทำ ผมก็จะคิดกว้างไว้ก่อน ผมจะคิดเป็น Benchmark ที่มันสูงไว้ ทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร และตอนหลังอายุมากขึ้น มันก็จะค่อย ๆ มีความเข้าใจว่า บางทีก็ให้รุ่นใหม่ ๆ เขาทำบ้างก็ดี

พิธีกร : ประวัติของ Jeffrey Sachs เรียกว่า ถ้าอ่านแล้วนี่ ปัจจุบันเขาอายุ 54

ศ.ดร.จีระ : โห 54 นี่เด็กมากเลยนะ จีรวัฒน์ ตอนที่ผมไปเจอเขา สิบปีแล้ว เขาเพิ่งสี่สิบกว่า วันนั้นผมก็ห้าสิบกว่า

พิธีกร : คุณ Jeffrey Sachs นี่เป็นนักวิชาการท่านเดียว

ศ.ดร.จีระ : จบเศรษฐศาสตร์

พิธีกร : ใช่ครับ ได้รับการโหวตให้เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลของโลกสูงสุดคนหนึ่ง ซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เป็นประจำเลยของ Time magazine

ศ.ดร.จีระ : คือเวลาเขาพูดถึงประเด็นนี่ เขาสามารถมองอะไรที่มันกว้าง ออกมาเป็นจุดเล็ก ๆ เหมือนกับทฤษฎีตรงประเด็นของเรา คือบางคนพูด Global คุณแปลว่าอะไร เพราะคนไทยนี่ก็ฟังคำว่า Global งง จีรวัฒน์นิดหนึ่ง แถมนิดหนึ่งคือในเรื่อง Global

เผอิญเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วนี่เอง ผมไปได้รับเกียรติจากองค์กรหนึ่งให้ช่วยดูแลงานวิจัยอันหนึ่งกับกระทรวงพาณิชย์ แล้วเผอิญกระทรวงพาณิชย์ข้อดีอย่าง ในจำนวนคนที่มาเป็นคณะกรรมการ ห้าในหกคนนี่เป็นลูกศิษย์ผมทั้งนั้นเลย แสดงว่า เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ครั้งหนึ่งนี่สร้างคนไว้เยอะ เขาก็เลยให้เราดูธุรกิจอันหนึ่ง ซึ่งจีรวัฒน์ฟังแล้วน่าจะเอาไปใช้

คือตอนที่เราเซ็น FTA กับออสเตรเลีย เราก็อยากจะรู้ว่าประเทศไทยได้อะไร แน่นอนคุณรู้ไหม sector 2 sectors ที่ได้เยอะคือรถยนต์กับ air condition แต่ก็ปรากฏว่าเขาอยากจะรู้ว่าธุรกิจบริการที่เปิดเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลีย มีอะไรบ้างที่คนไทยได้ประโยชน์ เขาให้ทำวิจัย แล้วก็ไม่ได้ทำเฉพาะเรื่องอาหารกับสปา นะจีรวัฒน์

ธุรกิจทางด้านบริการอาจจะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับ consultant อาจจะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเรื่อง Health care อาจจะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องประชาสัมพันธ์ก็ได้ เพราะว่าอีกหน่อยโลกเรา เพราะฉะนั้นก็อยากให้คนที่ทำงานทางด้านบริการ ที่เป็นบริการแบบใช้ปัญญานะ ได้รู้ว่าเดี๋ยวนี้มันมีการเปิดเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลียแล้ว แล้วก็กระทรวงพาณิชย์ก็จะให้ผมวิเคราะห์ว่า มีกฎระเบียบอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรค แล้วก็มีอะไรบ้าง

อย่างศูนย์การค้าของคุณนี่ วันหนึ่งคุณก็ไปเปิดที่ออสเตรเลียได้ เพราะว่าตอนนี้ Central เขาไปที่เวียดนามแล้ว ผมว่าศูนย์การค้าที่จีรวัฒน์ทำอยู่ มันก็เป็น Benchmark อันหนึ่งของคนไทย The Mall วันหนึ่งก็คงไปต่างประเทศด้วยมั้ง คงไม่ต้องเก่งเฉพาะในเมืองไทย

พิธีกร : ครับ อาจารย์ครับ เราเหลือเวลาประมาณ 6 นาทีครับ ประเด็นก็มีอยู่ 2 ประเด็น

ศ.ดร.จีระ : ประเด็นอีกประเด็นคือเรื่องต่อไปนี้ผมอยากจะเรียนว่า มีคำหนึ่ง เขาเรียก India rising

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : คือคนไทยจะช้า จะมีความรู้สึกว่า โอ๊ยตอนนี้ก็คือเมืองจีนมั้ง อะไรอย่างนี้ แต่ถ้าดูปรากฏการณ์ของโลกปัจจุบัน แม้กระทั่งมีหนังสือเล่มหนึ่งใช้คำว่า Chindia , Chindia ซึ่งคนอินเดียไม่ค่อยชอบนะ Chindia แปลว่า China + India ผมก็เลยอยากจะขอสรุปให้ทราบว่า ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ก็ดี ในเรื่องเศรษฐกิจก็ดี อะไรก็ดี อยากให้คนไทย แม้กระทั่งลูก ๆ ของคุณ ที่ฟังวิทยุอยู่นี่เริ่มสนใจประเทศอินเดียอย่างจริงจัง

แล้วก็ที่อยากจะสรุปวันนี้ก็คือมี 2 เรื่องก็คือ ดูเรื่องรถยนต์ให้ดี ผมเพิ่งทราบจากท่านทูตอินเดียว่า บริษัท TATA เขาก็ไปซื้อ JAGUAR กับ LAND ROVER เรียบร้อยแล้ว คือมาคราวนี้นี่ เขาได้เตรียมตัวที่จะมาผลิตรถยนต์ เผอิญ Motor show ครั้งนี้นี่เขาก็มาโชว์ด้วยนะ เป็นรถยนต์ประเภทกระป๋อง ไม่เกินแสนกว่าบาท

พิธีกร : city car

ศ.ดร.จีระ : ใช่ แล้วก็เขาต้องการจะเป็น... บริษัท TATA เขาทำหลายอย่าง ลิฟท์ด้วย อะไรด้วย

พิธีกร : ผมชอบ concept อย่างหนึ่งของประธาน Tata คุณ Jamsetji Tata บอกว่ารถ city car ที่เขาทำ pricing นี่ ที่บอกว่าเป็น city car ที่ถูกที่สุดในโลก คำพูดคำหนึ่งน่าสนใจมากอาจารย์ เขาบอกว่า เขาอยากจะยกมาตรฐานคนขับรถมอเตอร์ไซด์ เป็นอะไรที่เขาถึงทำรถ city car ที่ pricing ถูกที่สุดในโลกขึ้นมา

ศ.ดร.จีระ : แล้วเขา serious ใช่ไหม ได้ทราบว่าเขาขอ BOI อยู่ แล้วถ้าได้นี่ ธุรกิจรถยนต์ในเมืองไทย เขาก็จะมาเปิด มาแข่งกับพวก Japanese แล้วก็สอง ผมรู้ว่าธุรกิจอินเดียที่อยู่ในเมืองไทยขยายตัวเร็ว และวันนี้ความภาคภูมิใจของคนอินเดียในธุรกิจมีมากขึ้น แล้วคนอินเดียเป็นคนที่ใช้ความรู้ ผมพูดหลายครั้งแล้ว ผมอยากเรียนให้ท่านผู้ฟัง ในวงการวิชาการด้วยนะ มันมีสถาบันอยู่ 3 แห่ง ซึ่งผมเองก็จะไปร่วมมือกับเขา

อันหนึ่งเรียก Indian Institute of Technology เป็นการรวมตัวของโรงเรียนวิศวะชั้นนำของอินเดีย มีที่ Chennai มีที่ Madras มีอะไรต่าง ๆ 7 แห่ง ซึ่งอันนี้ ผมร่วมมือกับเขาอยู่

เสร็จแล้วก็มี Indian Institute of Science ซึ่งเป็นสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์

และอีกอันหนึ่งจีรวัฒน์ อีกหน่อยผมว่าเขาจะมาแรงนะ เขาเรียก Indian Institute of Management คือ Management เขาคงบวกเรื่อง HR ด้วย คือเผอิญหลายคนคงทราบแล้วว่า อย่างอาทิตย์ที่แล้วนี่เองเป็นตัวอย่างที่ดี ผมกับทีมงานก็กลับไปพูดอีกครั้งหนึ่งที่บริษัท Indorama ซึ่งเขาให้ผมทำทางด้านการพัฒนาบุคลากรอยู่ และวันนั้นหัวข้อที่ผมพูด มันเป็นหัวข้อซึ่งจีรวัฒน์ฟังแล้วก็คงจะรู้ว่ามันเป็นประโยชน์ ไม่ใช่เฉพาะคนงานที่อยู่ในบริษัทอินเดีย เป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกคน

ให้ผมพูดอันแรกคือ IQ เสร็จแล้วก็มาพูดเรื่อง EQ ใช่ไหม IQ คือความฉลาดเฉลียวทางปัญญา เสร็จแล้วก็มา EQ คือความฉลาดเฉลียวทางอารมณ์ เสร็จแล้วผมก็ไปพูดเรื่อง AQ ซึ่งภาษาอังกฤษมาจากคำว่า Adversity Quotient คือความอดทน เสร็จแล้วก็ไปพูดถึงเรื่อง MQ Morality จริยธรรม

แล้วปรากฏว่าคนอินเดียเขาฟังแล้ว เขาก็พยายามให้ลูกน้องเขาฟังด้วย การเรียนหนังสือแบบนี้ ผมรู้เลยว่าในธุรกิจ แม้กระทั่งธุรกิจบริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่น หรือของอเมริกา หรือของอังกฤษ เขาก็ไม่ได้ลงทุนให้คนงานของเขาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ของคนอินเดีย ผมว่าเขาไม่เป็นรองญี่ปุ่นหรอกจีรวัฒน์ และผมว่าเขาได้เปรียบตรงที่ว่า เขามีความคิดเป็นหนึ่ง system Thinking เขาดี เพราะ Math เขาดี และตอนนี้เขามาทางด้าน Creativity ด้วย ซึ่งอย่างคนญี่ปุ่นนี่ผมว่าเขาเก่งหลายเรื่องเลย แต่เรื่องความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นปัจเจกบุคคล การขัดแย้ง แต่ว่าไปสู่ความเป็นเลิศไม่ค่อยมี ของเขาจะ consensus ผมก็เลยเรียนว่ารายการนี้ก็จะเป็นจุดประกายเล็ก ๆ ให้รู้ว่า..

ผมเองก็จะบินไปที่ Bangalore เร็ว ๆ นี้ จะไปพูด คือเขาไม่ได้เชิญผมไปดูงาน เขาให้ผมพูดเกี่ยวกับเรื่องสิ่งที่ผมทำอยู่ แล้วก็จะมีไปที่อินเดียอย่างน้อยอีกหลาย ๆ งานด้วยกัน แล้วมีบริษัทหนึ่งจาก Bangalore ก็ได้เข้ามาหาผมแล้ว จะทำงานทางด้านต่าง ๆ ให้คนไทยได้รับประโยชน์ด้วย ฉะนั้นก็อยากให้นักธุรกิจไทย นักวิชาการไทยหันมาพิจารณาอินเดียอย่างรอบคอบ แล้วก็อย่าตกรถไฟอีกครั้งหนึ่ง รู้ให้มันจริง อย่างผมเองผมรู้ไม่จริง ผมก็จะไม่พูด และวันนี้ก็เรียนให้ทราบว่า ใน motor show ครั้งนี้ TATA เขาเข้ามา แล้วก็ TATA เขาจะทำทางด้าน consulting ด้วยนะ เขาก็จะทำงานครบวงจร

พิธีกร : ครับ ประวัติของ TATA Group 140 ปีมาแล้วครับ อาจารย์ครับ ก่อตั้งเมื่อ 140 ปีมาแล้ว มีบริษัทลูกอยู่ในเครือทั้งหมด 98 บริษัท

ศ.ดร.จีระ : ผมว่าตอนนี้เขาอยู่ในอันดับประมาณ 5 ของโลกแล้วนี่ อีกหน่อยผมว่าเขาอาจจะยึดประเทศได้ เพราะว่า 140 ปีนี่มันมากมาย คนอินเดียนี่เรื่อง Industrial development ผมว่าเขาทำจริง แต่ก่อนนี้เขาต้องทำเพื่อจะอยู่รอด

พิธีกร : ครับ เขามี Slogan ของ Group ไว้ว่า Improving the quality of life , of the community with growth

ศ.ดร.จีระ : คือเขาสนใจเรื่อง corporate social responsibility

พิธีกร : อาจารย์ครับ เหลือ 1 นาทีสุดท้าย สั้น ๆ สำหรับของคุณ Mugabe ครับอาจารย์

ศ.ดร.จีระ : ก็ Mugabe ก็เป็นตัวอย่างของเคยเป็น good Leader พออยู่ไปนาน ๆ ก็เลย very bad Leader , Bad ยังไง

1 Inflation เขานี่ 100,000 %

2. ว่างงานผมว่าเกิน 70 % นะ แต่ยังอยู่ได้ ก็แสดงว่าคนไทยยังโชคดี คือถ้าดู Bad Leader แล้วนี่ คนที่ suffer นี่คือประชาชนนะ

พิธีกร : ครับเดี๋ยวคงต้องมาต่อในสัปดาห์หน้าครับ

ศ.ดร.จีระ : ผมไม่ได้ตาม ยังไม่ได้ตามใน Internet ว่าเขาเลือกตั้งครั้งที่ 6 แล้วก็คราวนี้ก็มีคู่แข่ง อดีตเป็นรัฐมนตรีคลังของเขา และได้ข่าวเขาคงจะไม่สุจริตเท่าไร ในเรื่องนับคะแนน ก็จะได้ดูกันต่อไปและดูสิว่า Bad Leader แบบนี้ จะลงยังไง

พิธีกร : ในสัปดาห์เราคงมาต่อกัน ขอบคุณครับ อาจารย์ครับ สวัสดีครับ แล้วพบกันใหม่ได้ในสัปดาห์หน้าครับ สวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท