BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ค้นหาความหมายของคำว่า ดี (อภิจริยศาสตร์) ๑


อภิจริยศาสตร์

แน่นอนได้เลยว่า คนไทยทั่วไปหรือคนที่พูดภาษาไทยได้ย่อมรู้ความหมายของคำว่า ดี ชั่ว ผิด ถูก ... และย่อมใช้คำเหล่านี้ได้เหมาะสมดังที่พูด (หรือเขียน) กันอยู่... กล่าวคือ ไม่มีปัญหาในการใช้คำเหล่านี้ ซึ่งเด็กๆ ก็พูดได้ใช้เป็น...

แต่คำว่า รู้ความหมาย คำเหล่านี้ (ดี, ชั่ว , ผิด, ถูก)  อาจไม่ตรงประเด็นนัก ถ้าจะอ้างว่า พวกเราทุกคนรู้ความหมายของคำเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง  โดยมิได้แตกต่างกันเลย... หรือเมื่อคนหนึ่งบอกว่า

  • ความดีคือ.... 

การที่ทุกคนจะยอมรับสิ่งที่คนหนึ่งบอกมานั้นโดยมิได้โต้แย้งเลย ก็มิใช่สิ่งที่จะเป็นไปได้ง่ายๆ...

..............

ยกตัวอย่างว่า คำว่า วงกลม คนทั่วๆ ไป หรือแม้แต่เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยเรียนเรขาคณิต ก็อาจเข้าใจและใช้คำนี้ได้ตามความเหมาะสม... แต่ถ้าจะบอกว่า

  • วงกลมคือ....

ถ้าไม่ตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า วงกลมคือวงกลม แล้ว การที่จะให้ความหมายของคำว่า วงกลม นับว่าเป็นสิ่งที่ยาก ในเมื่อบอกไปแล้วทุกคนจะยอมรับโดยไม่โต้แย้งทำนองเดียวกับคำว่า ดี เป็นต้น

อนึ่ง สำหรับวงกลม ในวิชาเรขาคณิตอาจให้ความหมายทำนองว่า...

  • วงกลม คือ เส้นโค้งรอบ ซึ่งมีระยะทางเท่ากันหมดจากจุดหนึ่งที่ให้ไว้

...........

คำศัพท์ทางจริยะ กล่าวคือ ดี. ชั่ว. ผิด. ถูก. ก็ทำนองเดียวกับคำว่า วงกลม  ซึ่งเราอาจพูดหรือเขียนและใช้คำเหล่านี้ได้อย่างคล่องแคล่วเหมาะสม แต่ใช่ว่าเราจะรู้ความหมายของคำเหล่านี้อย่างแท้จริง หรือเมื่อเราให้ความหมายของคำเหล่านี้แล้ว ก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับควาหมายนั้นเสมอไป...

ในวิชาจริยศาสตร์ มีสาขาย่อยศึกษาถึงความหมายของคำเหล่านี้ เรียกว่า อภิจริยศาสตร์ (Metaethics) ซึ่งผู้เขียนจะปัดฝุ่นหนังสือนำมาเล่าเป็นตอนๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวยให้...

อนึ่ง สาเหตุที่นำเรื่องนี้มาเล่า เพราะรู้สึกว่า ใน GoToKnow ระยะนี้จะมีการหยิบยกเรื่อง ความดี การเป็นคนดี การกระทำดี นักการเมืองที่ ฯลฯ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่อยๆ... ซึ่งผู้เขียนคิดว่า น่าจะเป็นกระแสที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเพื่อค้นหาความหมายของคำนี้อยู่ก็ได้...

ดังนั้น จึงขอเชิญผู้สนใจติดตามเรื่องนี้ มาร่วมถกเถียง หรือวิพากษ์วิจารณ์ตามสมควรในตอนต่อๆ ไป...

 หมายเหตุ : สำหรับผู้สนใจ อ่านแนวคิดเบื้องต้น เชิญ คลิกที่นี้

หมายเลขบันทึก: 175075เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2008 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

นมัสการครับ อาจารย์

พอดีเห็นบันทึกพูดถึงความดี  บังเอิญผมมีบันทึกว่าด้วย   "คนดี"  ซึ่งกำลังหาคำจำกัดความครับ

ปัจจุบันคนพูดถึง  "คนดี"  มากครับ  แล้วปรากฏว่ายังไม่สามารถแยกแยะใช่หรือไม่ใช่   "คนดี"  ที่ว่า   ผมจึงอยากให้แลกเปลี่ยนเรื่องนี้ เป็นรูปธรรม

คุณครู สอนในวัยเด็กว่าต้องเป็น  "คนดี"  แต่  "คนดี"  ในรูปแบบปัจจุบันมันแหลกหลาย  หาใช่  "คนดี"  ที่ต้องการ    อีกหน่อยคงมีคำถามจากเด็กๆว่า  คนดีแบบไหนครับ

นมัสการ พระอาจารย์

  • ผมนึกว่าผมนอนดึกคนเดียว
  • พระอาจารย์ก็จำวัดดึกเหมือนกัน
  • เลือดชมพู เอกจริยศึกษา  ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

  อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) ถิอว่า เจตนาดี (Good will)   ถือว่าเป็นความดีเท่านั้น คานต์ กล่าวว่า "ไม่มีอะไรในโลกนี้หรือแม้นอกโลกที่เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นความดี โดยปราศจากเงื่อนไข นอกจากเจตนาดี  เจตนาดีเป็นความดีที่ปราศจากเงื่อนไข เหมือรเพชรที่ส่องประกายในตัวของมันเอง เจตนาดี เป็นความดีในตัวของมันเอง ทางพระพุทธศาสนก็ถือเอาเจตนาเป็นที่ตั้ง

มนัสการ

P

สิทธิรักษ์

 

ยินดีต้อนรับ แต่ตอนนี้ ยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง....

............

P

ครูข้างถนน

 

ประเด็นนี้ว่า ด้วยความหมายของคำทางจริยะ มิใช่ประเด็นว่าด้วยเกณฑ์ตัดสินจริยธรรม...

แนวคิดของคานต์ที่ยกมานั้น ว่าด้วยเกณฑ์ตัดสินจริยธรรม...

ดังนั้น คุณโยมครูข้างถนน อย่าผิดประเด็น (....)

คุณโยมลองดู Metaethics

จะนำเรื่องนี้แหละ มาเล่าเป็นภาษาง่ายๆ....

...........

เจริญพร

นมัสการ พระอาจารย์อีกครั้ง

  • สาธุ ยาวๆๆๆ
  • ครับ
  • นมัสการ

เวลาอธิบายเรื่องความดี...ก็ปวดหัวทุกที...เวลาเด็กๆถาม..ผมก็มักจะตอบว่า

ทำตามแนวทาง มรรค ๘ ก็น่าจะเป็นความดี หรือบางทีผมก็ตอบว่า ความดีคือทำแล้วสบายใจ สุขใจ ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และวิญญูชนรับรอง หรือไม่ก็บอกว่า อย่างเราๆเบญจศีลเบญจธรรม ก็พอ จะให้อธิบายลึกซึ้งก็ทำไม่ได้สักที ได้อ่านเรื่องราวจากท่านมหา...ผมคงได้แนวทางอธิบายแก่เด็กๆชัดเจนขึ้น..สาธุ.ขออนุโมทนา..ในธรรมทานครับ

P

ครูข้างถนน

 

  • อนุโมทนา...

............

P

พิสูจน์

 

ยังวางพล็อตเรื่องไม่ถูกว่าจะเริ่มต้นยังไงให้ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานจะเข้าใจได้ง่าย และอาจพอนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นกรอบความคิดของเขาเอง....

แต่ที่ได้แน่นอนก็คือ อาตมาได้ทบทวนและฟื้นฟูเรื่องนี้อีกครั้ง...

........

เจริญพร

นมัสการค่ะ อาจารย์

พอดีเห็นบันทึกพูดถึงความดี จึงอยากออกความคิดเห็นถึงความหมายของคนดี

ตามความเข้าใจนะคะ

ปัจจุบันคนพูดถึง "คนดี" มากค่ะ แล้วปรากฏว่ายังไม่สามารถแยกแยะใช่หรือไม่ใช่ "คนดี"

คนดีดิฉันเชื่อว่าคือ คนที่มีน้ำใจ ๑ คนที่เป็นผู้ให้ ๑ และเป็นผู้ที่รู้จักอภัย ๑

อนุโมทนา สาธุ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท