นำพาการเรียนรู้ระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์


ความเป็นมนุษย์อยู่แล้วและจะทำให้โผล่ปรากฏทำให้เกิดการรับรู้มากขึ้น และการก้าวออกจากความคุ้นชิน

การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตร “Humanize Healthcare โรงพยาบาลสมุทรสาคร

แนวคิดในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ดีต้องเกิดจากความพร้อมของการรับรู้ เกิดจากความต้องการอยากรู้ในสิ่งแปลกใหม่เกิดจากความว่างเปล่าของสมองที่พร้อมเปิดรับสิ่งที่จะเข้ามากระทบผ่านประสาทการรับรู้ และจะเลือกรับรู้เฉพาะที่ชอบ และสนใจ การรับรู้ที่ดีต้องอยู่ภาวะปกติหรือไม่อยู่ในโมดปกป้องที่เกิดจากการทำงานของสมอง การเรียนรู้ที่ดีเริ่มมาจากความต้องการของแต่ละคน ทีมงานต้องทำให้ผู้เข้ากระบวนการเรียนรู้ประหลาดใจ และคาดไม่ถึงมาก่อน ที่เป็นธรรมชาติ ตามแนวทางกระบวนการรับรู้ ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ใหม่ ของ นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ที่ได้สรุปองค์ประกอบการเรียนรู้ที่สำคัญมี 5 ประการ ได้แก่

1.      ความเป็นปกติ(Normalization=N) ที่เป็นสภาวะแห่งความปกติที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์และการรับรู้ที่ผ่าน 4 ช่องทางหลัก ได้แก่ ทางร่างกาย ทางความคิด ทางอารมณ์ และผ่านทางประสาทสัมผัส วิทยาศาตร์ใหม่มีความเชื่อว่าสภาวะปกติจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากมายจริง ที่เกิดจากการทำงานของสมองทำให้คลื่นสมองเราทำงานช้าลงเปลี่ยนจากเบต้าเวฟมาเป็นอัลฟาเวฟ เป็นภาวะแห่งสุขที่มีเอ็นเดอร์ฟินหลั่ง

2.      การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ (Rebirth หรือ Transformation=R) การเรียนรู้นั้นต้องไปที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มากเกินกว่าการทำเป็น เป็นการทำได้ภายใต้ความจำเป็นต่างๆ รวมถึงการอยากรู้เป็นการทำได้ตรงตามเป้าหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเคลื่อนไหวไปมาอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระทำที่ออกมาจากจิตใจ(ภายใน)ที่ชื่นชอบที่จะทำมาเป็นพฤติกรรมที่แต่ละคนได้แสดงออก

3.      ความอิสระ ความหลากหลาย(Autonomy=A)การเรียนรู้ไม่ได้ยึดติดกับวิธีการเดิมๆ มีความเป็นอิสระในการคิดที่ปรับตามสภาแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างๆที่เข้ามากระทบผ่านประสาทรับรู้ มีความหลากหลายไม่เป็นการคิดและทำแบบโรงงานอุสาหกรรม(แบบเดิม) ไม่มีอะไรตายตัว

4.      การผุดเกิดหรือการโผปรากฏ(Emergence=E) การเรียนรู้ในวิทยาศาสตร์ใหม่เป็นคลื่นพลังงาน ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัส และการเหนี่ยวนำ เกิดความคิดผุดเกิดขึ้นมา โผล่ปรากฏทำให้เกิดการรับรู้ที่เรียกว่า ปิ๊งแว้บการผุดเกิดหรือการโผ บางทีก็เป็นการบังเอินเกิดขึ้นมา เหมือนกับการค้นพบเพนนิซิลิน แรงโน้มถ่วงของนิวตัน หรือ อะคิมิดิส ที่ร้อง ยูเรก้า เมื่อน้ำล้นออกมาจากอ่างน้ำ เป็นการผุดเกิดหรือการโผทั้งสิ้น

5.      การก้าวออกจากความคุ้นชิน(Leaving from comfortable zone = L) การที่เราได้อยู่ในบรรยาการเก่า วิธีการเก่าทำให้เราได้ผลการทำงานแบบเดิมเหมือนเดิม  กระบวนการเรียนรู้ต้องกล้าที่จะออกไปเผชิญ กับสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนด้วยความอยากรู้ ตามสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมใหม่อยากทำและเกิดการกระทำใหม่ และเราทำได้ ได้ผลดีเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่มีการกระทำที่ต่อเนื่อง

โดยรวมเอาคำว่า LEARN ที่แปลว่า การเรียนรู้ มาเป็นคำใช้ในการอธิบาย ดังนั้ทีมงานเราต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องที่สมาชิกอยากรู้ ตรงนี้ทีมเราต้องประเมินมวลสมาชิกที่เข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ ว่ามีคนที่กะเกณฑ์มาเรียนรู้ จงใจที่จะเข้ามาเรียนรู้ หรืออย่างไร่ก็ได้ เราต้องประเมินสมาชิกผู้เข้าประชุมก่อน และประมวลผลแล้วนำมาออกแบบ/สร้างกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องที่เข้าอยากรู้ สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้สมาชิกที่มีความรู้สึกเฉย หรือไม่อยากรู้ ได้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่แปลกใหม่แล้วอยากเรียนรู้ในเบี้ยงต้นตามคำว่า “LEARN ที่แปลว่า การเรียนรู้ นั้นเปาเป้าหมายของทีมเรา

เดินทางไปถึงสำนักงานเกือบเจ็ดโมงเช้า เห็นรถโรงพยาบาลสมุทรสาคร จากอาจารย์วิชุนี พิตรากูล (ปุ) และผู้นำทางเรา เราเดินทางกับอาจารย์วราภรณ์  สักกะโต ออกจากสำนักงานเจ็ดโมงตรงเดินทางไปรับท่านรองผู้อำนวยการ อาจารย์ดวงสมร บุญผดุง ที่บ้าน ทีมเรา 2 คนในเบี้ยงต้นเริ่มประเมินความเป็น Humanize Healthcare ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร จากอาจารย์ปุ และผู้นำทางเรา เป็นการคุยกันเรื่องสัพเพเหระเกี่ยวกับการให้บริการของคนในโรงพยาบาลที่บอกให้เห็นระบบบริการบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ไปถึงบ้านอาจารย์ดวงสมร ท่านออกจากน้านทุกครั้งท่านเอาเสบียงขึ้นรถมาเหมือนเช่นทุกครั้งที่ได้ไปรับ พร้อมทั้งชัดชวนให้ทุกท่านรับประทานเข้ากับภาษิตกองทัพเดินด้วยท้อง ซึ่งทุกครั้งจะได้รับจากอาหารที่ท่านได้เตรียมมาช่วยทำให้ทีมลดความหิว และบางหิวมากๆก็อิ่มเลยที่เดียว และก็พูดคุยเรื่องราวของโรงพยาบาลสุมทรสาครต่อตั้งแต่ท่านผู้อำนวยการที่อยู่มา 3 ปีแล้วและให้การสนับสนุนงานคุณภาพของโรงพยาบาลเป็นอย่างดี เรื่องปัญหาสุขภาพที่โรงพยาบาลเผชิญอยู่ การให้บริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ใช้เวลาเดินทางประมาณชั่วโมงเรามาถึงโรงพยาบาลสมุทรสาคร ประมาณสองโมงครึ่ง เจ้าหน้าที่นำอาหารเช้ามาให้เป็นกาแฟ ขนมปังใส่ใส้ น่าอร่อยผมดูจากความรู้สึกของผู้ที่ทาน ส่วนผมควบคุมน้ำหนักที่ต้องเฝ้าระวังแบบเผลอไม่ได้ และได้เดินไปเยี่ยมชมบอร์ดของโรงพยาบาล พูดคุยกันเจ้าหน้าที่ประจำบอร์ด และผู้มาชมพร้อมทั้งประเมิมความเข้าใจและการบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ก่อนเริ่มรายการทีมเราได้หารือกันว่าจะดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร เรามีความเห็นตรงกันว่าการบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ดังกล่าวมีอยู่แล้วในทุกคน และทำให้เห็นเด่นชัดขึ้น  โดยที่เราควรทำให้ทุกคนผ่อนคลาย และได้รับรู้กับความรู้สึกของตนเอง อยู่กับตนเอง  ไว้วางใจซึ่งกันและกันก่อน แล้วจัดกิจกรรมที่มุ่งไปสู่เรื่องเล่าของประสบการณ์แต่ละคน ที่มีอยู่ และได้ทำไว้ในระบบบริการสุขภาพ ออกมาเรียนรู้ร่วมกัน ชื่มชมเผยแพร่แก่กันและกัน

หลังจากการกล่าวแนะนำวิทยากรทั้ง 3 ท่านแล้วภายใต้การนั่งเก้าอี้ที่ล้อมวงเป็นตัวยู ทีมเราเริ่มด้วยทำการรเชิญชวนให้เข้ามานั่งแถวหน้าโดยเชิญพี่ 3 ท่านที่นั่งอยู่โต๊ะกลมด้านหลังห้องมานั่งด้านหน้า ได้รับการตอบสนองทันที่(ในใจท่านอาจคิดว่าทำไม่ต้องมานั่งหน้า ในใจผมคิดว่าเราคุกครามความเป็นมนุยษ์หรือเปล่าคิดได้ตอนที่ท่านเดินมา) ให้ทุกคนผ่อนคลาย นั่งในท่าสบาย คิดถึงความเป็นตัวตนที่เป็นอัตตลักษณ์ทำให้เกิดตัวตน ที่ทำให้เกิดช่องว่างในการทำกิจกรรมร่วมกัน และอาจารย์วราภรณ์.... เชิญชวนให้ทุกคนยืนขึ้น พร้อมทั้งยื่นแขนซ้ายไปข้างหน้าหงายฝ่ามือขึ้น พร้อมทั้งสมมติให้ใช้มือขวาหยิบเอาอัตตลักษณ์ของตนเองออก ปล่อยลอยทิ้งไป ที่ละอย่างๆ ได้แก่ ความเป็นวิชาชีพ หัวหน้า ความเป็นผู้อาวุโส เป็นพี่ ความกังวล ความเครียดในเรื่องต่างๆให้เอาปล่อยทิ้งออกไป(บางคนก็เอาไปใส่มือเพื่อน(สร้างความฮือฮาได้บาง) และสุดท้ายเราชวนให้คิดว่าเราเหลืออะไรที่มีอยู่เท่ากัน เหลือแต่ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน และเราจะเริ่มเรียนรู้จากความเป็นมนุษย์ของเราต่อไป

ผมเชิญให้ทุกท่านนั่งในท่าทางที่สบาย ขยัยเก้าอี้ให้ห่างกัน นั่งห่างกันไม่สัมผัสกัน ขอความกรุณาให้ทุกท่านปิด/ปรับโทรศัพท์มือถือเป็นระบบสั่น หรือปล่อยเอาไว้นอกตัว ผมขอให้อาจารย์ปุ ให้ช่วยพาคนที่เข้ามาใหม่มานั่งเก้าอี้ที่ว่างเพราะจะหรี่ไฟ ผมเริ่มที่จะนำทุกท่านเข้าสู่การทำสมาธิ(รับรู้ในเรื่องเดียวในเวลาหนึ่ง ที่เราต้องนำด้วยการทำสมาธิ) โดยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออกของตนเอง และเฝ้าระวังการหายใจเข้า-ออก ฝึกจะจับลมหายใจตนเองรับรู้ความรู้สึกว่ามันผ่านปลายจมูกของเราเวลาหายใจเข้า และหายใจออก และผมนำพาทุกท่านมารับรู้ที่หัวใจ สมองตนเอง ในการทำหน้าที่ ที่ทำให้เกิดการมีชีวิต และมีความคิด ที่ต่างจากสัตว์เลื่อยคลาน และเลี้ยงลูกด้วยนม  และได้ทำเราได้ทำสิ่งดีๆงามๆ และความจริงของทุกๆคนทำให้ทุกท่านได้กับมาอยู่กับตัวเองถึงแม้จะเป็นช่วงสั้นๆ 15 นาที ก็จะทำให้เกิดความสดชื่น เบิกบานในจิตใจของแต่ละคน และส่งไม้ต่อให้อาจารย์ดวงสมร......ที่นำพาการเรียนรู้ ในเรื่อง Humanize Healthcare

ท่านเริ่มด้วยการเชื่อมโยงความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ที่เป็นผลมาจากความแตกต่างของสมองของมนุษย์ที่มีทั้ง 3 ส่วน ต่างจากสัตว์เลื่ยยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำให้เรามีโอกาสดีกว่าสรรพสิ่งต่างๆ การบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์เรามี ทำกันอยู่แล้ว ได้เวลาแล้วที่จะนำมาชื่นชม และขยายออกไปให้กว้างขวางเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในหน่วยงานและในโรงพยาบาลของเรา อาจารย์ท่านได้กล่าวถึงที่มา ความเป็นมาและความจำเป็นที่ต้องทำให้เห็นชัดขึ้น เริ่มจากการที่สถาบันฯพาโรงพยาบาลในโครงการ  6 โรงพยาบาลไปดูงานที่ไต้หวัน และได้นำมาลองปฏิบัติในแต่ละโรงพยาบาล พร้อมทั้งเล่าประสบการณ์ที่มีต่อโรงพยาบาล คาคลี เสาไห้ เขาวง ให้ที่ประชุมได้ทราบ มีต่อความมุ่งมั่น ความตั้งใจของทีมและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ทำให้คนส่วนใหญ่มีความสดชื่น อิ่มเอิญ เบิกบาน ใช้เวลาเรียนรู้ตรงนี้ ประมาณชั่วโมง พักกัน15 นาที ขณะที่พักได้รับรู้การพูดคุยของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่า ที่อาจารย์เล่ามาเหมือนว่าโรงพยาบาลเรามีแล้ว เราก็ทำส่วนใหญ่แล้ว เราได้ทำกิจกรรม บางคนทำกิจกรรมเราไม่เอามากล่าวถึงหรือเขียนเล่าเรื่องให้มีความชัอเจนเหมือนกับโรงพยาบาลที่อญุ่ในโครงการนำล่อง

 ช่วงพักมีคนได้ดูนิทรรศการที่อยู่ห้องถัดไปเมื่อถึงเวลาแล้วยังไม่เข้ามาในห้อง ผมใช้เสียงกระดิ่ง เรียกให้ทุกคนเข้าห้อง เพราะว่าเราจะทำกิจกรรมพร้อมๆกันรอประมาณ 5 นาทีเราเตรียมความพร้อมการให้ทุกคนนับเลข 1-5 และแสดงท่าทางเพื่อการผ่อนคลายหลุดจากจากความเป็นตัวตน โดยใช้กิจกรรม นำการเลื่อนไหลเป็นอย่างดี 2-3 รอบทำให้ทุกคนเกิดความผ่อนคลาย ทีมเราให้ทุกท่านที่ล้อมเป็นวงกลมก้มมองต่ำที่ปลายเท้าของตนเองและค่อยเคลื่อนที่ออกไปจากจุดเดิม อย่างอิสระ  ให้การรับรู้อยู้ที่ปลายเท้าทุกครั้งที่เก้าเดินไม่ยึดเกาะเพื่อนไว้ เคลื่อนไปอย่างอิสระ เราค่อยๆบอกว่าที่นี้มีความปลอด มีแต่เพื่อนๆ ของเราที่มีความรัก ความเมตตา  ด้วยจิตใจที่ดีงามแห่งความเป็นมนุษย์ ทำให้คนส่วนใหญ่มีอิสระที่เก้าเดินออกไป แบบผ่อนคลายไร้กังวลมากขึ้น  ทีมเราใช้สัญญาณด้วยระฆังให้หยุด และเอื่อมมือออกไปสัมผัสเพื่อนที่อยู่ข้างๆ เป็นคู่ๆ มีครบคู่พอดี ทีมเราให้กติกาการฟัง เรื่องเล่าวัยเยาว์ของเพื่อน พร้อมสะท้อนกลับทันทีและเพิ่มเติมข้อมูลสำคัญที่ขาดหายไปจากการสะท้อนกลับของเพื่อน โดยใช้เวลาในช่วงนี้ประมาณสิบนาที เราได้เห็นสีหน้าที่สดชื่นของทุกคน มีเสียงหัวเราะดังเป็นระยะๆ จากทุกคู่ในวัยนี้เราได้เห็นความสุขของทุกท่านจากสีหน้า แววตา เสียงหัวเราะ  เราใช้ช่วงนี้เป็นการฝึกการสื่อสารการพูด เล่าเรื่อง และการฟังที่ผู้ฟังได้รับรู้เรื่องที่เล่าออกมาจากจิตใจ และการฝึกการรับฟัง ที่ให้เห็นเนื้อหา ความรู้สึกนึกคิด อารมย์ของผู้เล่า และความต้องการของผู้เล่า  และการสะท้อนกลับอย่างตรงไปตรงมาจากการฟัง (ทีมเราบอกว่าเน้นให้ฟังไม่มีการพูดแทรก ยกเว้น เวลาสะท้อนกลับ)ทั้งที่เรามีเวลาเท่าเดิมแต่มันผ่านไปรวดเร็วมากจนเราเกือบไม่มีเวลาสรุปกิจกรรมและฝากให้ทุกท่านได้กลับไปใคร่ครวญในช่วงวัยเด็กว่ายังมีอะไรดีๆอีกมากมายที่เราน่าจะเอาเรียนรู้รวมกัน

ช่วงต่อไปเป็นการฝึกให้ทุกท่านได้ไว้วางใจเพื่อนๆของเรา ทีมได้ให้ทุกท่านยืนเป็นวงกลม โดยมีคู่ของตนเองยืนอยู่ติดกัน เราแจกผ้าปิดปากให้แก่ทุกคนเราสังเกตเห็นส่วนหนึ่งนำมาปิดปาก ทีมงานเราบอกว่าเราจะมาลองทำอะไรอย่างที่เราไม่เคยทำ หรือบางท่านอาจเคยทำมาแล้ว ทีมเราทำตัวอย่างให้ดูโดยอาจารย์วราภรณ์ และอาจารย์ปุ ที่เอาผ้าปิดปากมาปิดตา อาจารย์วราภรณ์อยู่ทางด้านหลังและนำพาอาจารย์ปุไปยังที่ต่างๆภายในวงกลมที่ทุกคนยืนล้อมอยู่ ไปอย่างช้าๆ และก้าวเร็ว บางครั้งวิ่งสลับกัน ทีมแจ้งทุกท่านให้มั่นในในเพื่อนของเรา และเน้นเรื่องความปลอดภัย ในการทำจริงกับทุกคู่ อาจารย์วราภรณ์ได้กรุณาหาเพลงประกอบการทำกิจกรรมเป็นเพลงช้า และเพลงเร็ว เราบอกว่าหากพร้อมแล้วเริ่มเคลื่อนที่ได้ ตามจังหวะของเพลง  ช่วงเวลาประมาณ 2 นาที ในแต่ช่วงที่เปลี่ยนกันปิดตา เราเห็นตอนแรกก็จะไปในทิศทางเดียวกัน แต่ตอนหลังๆก็นสะเปะสะปะ  เร็วช้าตามจังหวะเพลง  เราเห็นการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ เคลื่อนไหวของแต่ละคู่ที่มีความปลอดภัยอย่างไม่มีการชนกันเลย  ในบรรยากาศที่สนุกสนาน(ทั้งสองรอบที่สลับกัน) เราให้หยุดกิจกรรมและล้อมเป็นวงกลม พร้อมให้สะท้อนความรู้สึกในการร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งมีความกังวลในช่วงแรก และเมื่อเกิดความไว้วางใจ คลายความกังวล เกิดความสนุกสนาน ที่ได้ร่วมกิจกรรมภายใต้การไว้วางใจของเพื่อนที่ได้นำพาเราไปตามบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อและมีความปลอกภัย

ที่มเราเริ่มชักชวนให้เราได้ทำอะไรที่จะสนุกสนามมากขึ้น มีเสียงตอบรับจากวง ทีมเราได้แจ้งกติกาเบี้ยงต้น เรื่องความไว้วางใจ ความปลอดภัย ภายใต้บรรยากาศของความรักจากกัลยาณมิตร และงดการสื่อสารด้วยคำพูด เราชวนให้ทุกท่านปิดตา  ห้องเริ่มปิดไฟ พร้อมทั้งก้าวเดินอย่างช้าๆ พร้อมการเปิดเสี่ยงดนตรีเบาๆ ที่ได้เตรียมไว้และทุกคนก็เริ่มเคลื่อนที่ด้วยความระมัดระวัง ให้การรับรู้อยู่ที่เท้าเคลื่อนไปอย่างช้าๆได้นำทางเรา และเห็นบรรยากาศที่มีการไหลเลื่อนอย่างเป็นอิสระของทุกท่านเราเห็นการเดินทางไปกันคนละทิศละทาง บางครั้งไปในทิศทางเดี่ยวกันของคนส่วนใหญ่ มีการกระทบชนกันบางไม่รุนแรง เราจัดให้คนหนึ่งหยุดที่กลางห้อง และบอกว่าจะมีเพื่อนเข้ามารวมกัน เริ่มปรับทิศทางของคนที่อยู่วงนอกสุดมีบ้างไม่มากนักให้หันเข้ามากลางวงพร้อมทั้งบอกให้เดินเข้าไปหาจนชิดกัน และหยุด ทำให้พื้นที่ตรงกลางเริ่มมีประชากรหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น ๆ  และท้ายสุดทุกคนมารวมกันอยู่กลางห้อง ทีมเรากระซิบบอกทุกท่านให้ขยับเข้าไปให้มากที่สุดแน่นที่สุดจนเข้าไม่ได้ เราเห็นการขยับของของสมาชิกแน่นเข้าไปอีก และให้ทุกคนเอาผ้าปิดตาออก และเปิดไฟ เราสังเกต ความตื่นเต้น ความปลาดใจของทุกคนที่มาอยู่กันตรงกลางห้องได้อย่างไร เราเห็นสายตาที่มีความรัก ความเมตตาของทุกคน และเห็นความกลมกลืนของสมาชิก ผมนึกถึงคำพูดของอาจารย์วิธาน.....ในเรื่องพลังที่มีอยู่ในแต่ละท่านที่มีความรักให้แก่กัน และจากสภาพแวดล้อมที่ห่อหุ้มเราอยู่ และความเป็นมนุษย์จึ่งทำให้เราอยู่อย่างนี้ได้ด้วยความผ่อนคลาย และไว้วางใจกัน  และเราใช้เวลาสั้นให้สมาชิกได้สะท้อนความรู้สึกอย่างถึงการเกี่ยวโยง ซึ่งกันและกัน ความรักความผูกพันธ์ที่ได้ทำงานร่วมกัน การกระทบกระทั่งกันบ้าง และเดินทางมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันด้วยการขับเคลื่อนของทุกคน

เราเริ่มทำกิจกรรมที่นำไปสู่เรื่องเล่าจากการทำงาน ทีมเราให้วิธีการปิดตาเดินอีกครั้ง ทีมได้นำพาความคิดของสมาชิกไปยังที่ทำงานในทุกแห่งในโรงพยาบาล พร้อมทั้งหยุดเดิน 2 ครั้ง เพื่อระลึกถึงเรื่องดีๆ ที่ประทับใจ ปราบปรื้ม ยินดี ที่ความสุขของผู้ป่วย ญาติ หรือลูกค้าของเรามีความสุข จากนั้นหยุดจับคู่ใหม่ และให้เล่าเรื่องดีๆที่ได้นึกถึงให้เพื่อนฟัง พร้อมสะสท้อนกับซึ่งกันและกันใช้เวลา 5 นาที เวลาเดินมาเร็วถึงช่วงสุดท้าย เที่ยงแล้ว เลยไม่มีเวลาให้แลกเปลี่ยนในกลุ่มย่อยเลยให้มีการแลกเปลี่ยนกลุ่มใหญ่ ได้เพียง 3 รายเท่านั้น ที่สะท้อนให้เห็นระบบบริการสุขสภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร....

สรุปทีมเราได้ขยายความเอาคำว่า LEARN มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยการทำให้สมาชิกทุกคนได้อยู่ใน  สภาวะความเป็นปกติ(Normalization=N) เกิดการรับรู้ที่ผ่าน ทางร่างกาย ทางความคิด ทางอารมณ์ และประสาทสัมผัส ที่เกิดจากการทำงานของเราช้าลง  เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ (Rebirth หรือ Transformation=R) เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่ออกมาจากจิตใจ(ภายใน)ที่ตนเองชื่นชอบได้แสดงออก เช่นเรื่องเล่าในวัยเด็ก หรือจากการทำงานของทุกคน  ในความอิสระ ความหลากหลาย(Autonomy=A) ทีมได้สร้างกระบวนการเรียนรู้อีกแบบที่ที่ปรับตามสภาแวดล้อม และวัฒนธรรมความเชื่อที่ต่างไปจากแบบเดิมมีการนั่งโต๊ะแสดงความคิดเห็น  การผุดเกิดหรือการโผปรากฏ(Emergence=E) การเรียนรู้ในวิทยาศาสตร์ใหม่เป็นคลื่นพลังงาน ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัส และการเหนี่ยวนำ เกิดความคิดผุดเกิดขึ้นมา ยังไม่ชัดเจนมากนักแต่ก็ช่วยทำให้ทุกคนได้คิดว่ามีความเป็นมนุษย์อยู่แล้วและจะทำให้โผล่ปรากฏทำให้เกิดการรับรู้มากขึ้น  และการก้าวออกจากความคุ้นชิน(Leaving from comfortable zone = L) โดยการที่ทีมได้สร้างบรรยาการ และสิ่งแวดในการเรียนรู้ใหม่ ที่เกิดความผ่อนคลาย เก็บเกี่ยวสิ่งที่ได้ออกมาเป็นพฤติกรรมในการให้บริการที่ยั่งยืนของสมาชิกที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ยิ่งขึ้น มีการกระทำที่ต่อเนื่องต่อไป โรงพยาบาลจะเป็นผู้ตอบคำถามนี้ได้ดีกว่าเรา

ในส่วนของวิทยากรหากเราเห็นว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้ คือการประเมินผู้เข้าอบรม นำมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ การรับรู้ของเราที่เกิดขึ้นเมื่อมีการปรับเปลี่ยนการนำกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง พัฒนาอย่างต่อเนื่องก็เกิดการเรียนรู้ของวิทยากรเช่นกันที่ขาดอยู่คือการประเมินผลการสร้างกระบวนการ แต่ก็อาศัยการสะท้อนข้อมูลของทางโรงพยาบาลผ่านมาทางฝ่ายอบรมของสถาบันฯก็เป็นที่น่าพอใจ

 

 

.............................................................................................

หมายเลขบันทึก: 174768เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2008 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

การเรียนรู้เป็นคำที่เราใช้กันบ่อยมากโดยเฉพาะการจัดการความรู้ก็เป็นการเรียนรู้ วิทยากรมองเรื่องการเรียนรู้ไปจนถึงการเปลียนแปลงพฤติกรรม เมื่อเราได้รับความรู้ หรือเรื่องราวต่างๆมาแล้ว เช่นเราไม่สูบบุหรี่ พวกเราได้ยินวิทยุบอกว่าคนไม่สูบหากมีโอกาสไปรับควันจากคนสูบ(บุหรี่มือสอง)ก็อาจจะเป็นมะเร็งปอดได้ เพื่อนเรา 3 ใน 4 คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อเห็นคนสูบบุหรี่เดินหนี หรือขยับไปอยู่เหนือลมทุกครั้ง อย่างนี้เรียกว่าการเรียนรู้ นั้นหมายถึงได้รับรู้ มีทัศนคติที่ดี ส่งผลถึงแสดงออก

การพัฒนาคุณภาพเราได้เรียนรู้เรื่องราวในกระบวนการพัฒนาคุณภาพต่างๆมากมาย แต่ก็มีอุบัติการณ์เกิดขึ้นซำแล้วซำอีก เราน่าจะเก็บไว้เป็นบทเรียนในเรื่องนั้นๆมาเรียนรู้ การเรียนรู้ก็น่าจะมีเรื่องของความต่อเนื่อง สิ่งที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องจึงไม่ได้อยู่ที่การรู้ หรือการเรียน แต่น่าจะอยู่ที่การเรียนรู้

การเรียนรู้ของผู้คนได้ดีต้องเป็นสภาพที่สบายๆ ผ่อนคลาย ความไว้วางใจซึ่งกันและกันของวิทยากร และผู้คน อย่างเป็นธรรมชาติ ในสภาพดังกล่าววิทยากรจะนำพาผู้คนไปเรียนรู้เรื่องราวดีๆที่มีอยู่ในแต่ละตนอย่างมากมายออกมาแบ่งปันให้แก่กันและกัน มีกระบวนการบางอย่างที่ถูกนำมาใช้ในการพูดคุยเพื่อดึงเอาความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละคนออกมาได้ เช่นสุนทรียสนทนา world cafe เป็นต้น เป็นการเรียนรู้ระหว่างกันวิทยากรก็ได้เรียนรู้ด้วย

หากได้ทดลองเอาไปใช้แล้วเอาประสบการณ์จากเรียนรู้มาแบ่งปันกัน และจากประสบการณ์ตรงนั้นจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่อยากจะเรียนรู้

"การบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ สำหรับเจ้าหน้าที่ใหม่"

หน่วยงาน สำนักงานสาธารณสุขนครสวรรค์

เมื่อ 12 พฤษภาคม 2551

ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการเรียนรู้ 1. บรรยาย

2. กิจกรรมนำการเรียนรู้

วิทยากร อาจารย์ดวงสมร บุญผดุง วิทยากรหลัก

อาจารย์วราภรณ์ สักกะโต และอาจารย์ยงยุทธ สงวนชม วิทยากรกลุ่ม

จำนวนผู้เข้าเรียนรู้ ประมาณ 80 คน (แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พนักงานวิทยาศาสตร์ พนักงานเภสัช ฯ)

1.ภาพรวมของการอบรม (ความสนใจของผู้เรียน/การบรรลุวัตถุประสงค์)

การนำพาการเรียนรู้ เรื่อง “การบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ สำหรับเจ้าหน้าที่ใหม่”ของทีมวิทยากรเพื่อสร้างให้เจ้าหน้าที่ที่จบใหม่ที่เข้ามาอยู่ในระบบบริการสุขภาพได้เรียนรู้ถึงระบบดังกล่าวนั้นวิทยากรได้ออกแบบการเรียนรู้ออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

 การสร้างบรรยากาศที่มีการผ่อนคลาย

 การบรรยายเพื่อให้ความรู้

 การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้

ทีมงานเราเริ่มด้วยการให้รู้จักกันมากขึ้นโดย แบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่มตามวันเกิด เป็น 7 กลุ่มและให้แต่ละคนในกลุ่มได้แนะนำตัวเองชื่อจริง ชื่อเล่น ลักษณะที่ตัวเองชอบ และที่ทำงาน โดยให้เวลา ประมาณ 10 นาที และทีมเราจงใจเลือกกลุ่มที่เกิดวันอาทิตย์ ที่มีคนน้อยที่สุด 6 คนโดยให้สมาชิกจับมือกันและชี้ไปยังคนที่จะแนะนำพร้อมทั้งให้ทุกคนในกลุ่มออกเสียงพร้อมกัน กลุ่มได้ออกเสียงได้ครบทุกคน เราลองให้กลุ่มที่มีสมาชิก 9 คน แนะนำ ตรงนี้เริ่มกระท่อนกระแท่นแต่ก็ไปได้ครบทุกคน ทำให้บรรยายกาศดีมีการเคลื่อนไหว เราผ่านเป็นกิจกรรมที่ 2 การฝึกสติผ่านกิจกรรมปลาโลมที่แต่ละคนของผู้เข้าเรียนรู้ต้องมีสติตลอดเวลาในขณะเข้าร่วมกิจกรรม โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมล้อมจับมือกันเป็นวงกลม และจะให้ได้ปลาสัก 10 ตัว เราสังเกตว่าสมาธิของน้องยาวน้อยไปหน่อยคือได้แค่ 5 ตัวเท่านั้น(ตรงนี้หากเราทำ Body scan ก่อนน่าจะดี) แต่บรรยากาศสนุกสนานเกิดการผ่อนคลาย ผมสังเกตเห็นว่าพยาบาล และหมอที่จบมาจากที่เดียวกันนั่งอยู่ติดกัน(หากเราให้น้องนั่งเป็นวันเรียงต่อกันก็น่าจะดีจะได้อยู่ใกล้กันสนิทกันมากขึ้น) ทีมงานเลยทำลมเพลมพัด โดยอาจารย์วราภรณ์....ร้องเพลงนำ และได้เสี่ยงน้องที่อยู่วงช่วยร้อง พัด 5-6 ครั้งการกระจายเห็นสลับกันมากขึ้น เลยให้ทุกยื่นมือซ้ายออกมาเพื่อที่จะเอาความกังวลที่มีอยู่โดยการสมมุติใช้มือขวาหยิบออกไป น้องบางคนก็เอาไปใส่มือเพื่อนก็สร้างสีสรรค์ ทำให้บรรยากาศผ่อนคลายมากขึ้น ทีมงานเราให้สมมุติเอาสิ่งปรุงแต่งอื่นออกอีก ได้แก่อาชีพของทุกคน ตำแหน่งงาน พร้อมตั้งคำตามให้สมาชิกตอบว่าแต่ละคนเหลืออะไรที่เท่ากัน เสียงคำตอบตามมาคือเหลือควมเป็นคน มนุษย์เท่ากัน พอมาถึงตรงนี้ผมเลยเปิดพื้นที่ให้แก่อาจารย์ดวงสมร บุญผดุง ได้พูดถึงหลักคิดของระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ความเป็นมาที่สถาบันฯได้ร่วมสร้างระบบขึ้นมา การพาโรงพยาบาล 6 แห่งไปดูงานที่ไต้หวัน พร้อมนำกลับมาสร้างที่โรงพยาบาลของตนเอง บรรยากาศในห้องเริ่มมีการคุยกันของน้องๆมากขึ้นจนอาจารย์ท่ายต้องบอกให้ช่วยฟัง 3 ครั้ง ท่านนำพาการเรียนรู้มาหยุดเอาสิบสองนาฬิกาตรง พักทานอาหารกลางวัน ทีมเราเอาประสบการณ์ตอนเช้ามาปรับการเรียนรู้ในช่วงบ่าย

ช่วงบ่ายทีมงานเราเริ่มจากการทำสมาธิโดยการเฝ้าลมหายใจตนเองพร้อมทั้งนำพาขยายออกไปการเคลื่อนไหวของลมหายใจไปสู่ปอด หัวใจ เส้นเลือดต่างๆไปถึงการนำพาการมีชีวิตไปสู่เซลล์ต่างๆ การส่งผ่านการมีชึวิตจากเซลล์ สู่ร่างกาย ขยายต่อไปถึงพื่อนๆที่อยู่ในห้อง และสังคมที่ได้ส่งมอบให้เป็นหนึ่งของชีวิตให้แก่กันและกัน เราสังเกตุเห็นสมาชิกผ่อนคลาย หลับไป 5-6 คน (น่าจะเกิดจากความผ่อนคลาย ความเมื่อยล้า) เสียงระฆังดังขึ้นทำให้การรับรู้ที่เป็นความจริงที่เป็นอยู่ถูกกระตุ้นขึ้นมาอีครั้ง ค่อยๆลืมตาขึ้น ใช้เวลาในช่วงนี้ประมาณ 20 นาที่ที่เป็นการผ่อนคลาย แล้วทุกคนก็ยืนขึ้นภายใต้การนำพาของวิทยากรที่จะส่งมอบความดี ความงาม ที่มีพื้นฐานมาจากความรักให้แก่กันและกันผ่านกิจกรรมนวดหัวไหล่ ต้นคอ และหลังให้แก่สมาชิกโดยการสลับกัน เพื่อการเตรียมพร้อมการเรียนรู้ในกิจกรรมต่อไป

ทีมเราเริ่มใช้การเรียนรู้ของกลุ่มผ่านประสบการณ์ของทุกคน ผมทำหน้าที่จัดกลุ่มที่ผสมผสานสมาชิกให้หลากหลายด้วยการนับ 1-5 ที่สร้างความครื้นเครงตามรูปแบบของทีมเรา มีเสียงหัวเราะเป็นระยะๆ นำมาสู่การแบ่งออกมา 8 กลุ่ม อาจารย์วราภรณ์ ฯ แจ้งโจทย์ให้ทุกคนนึกถึงบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดี ได้แสดงใช้เห็นแล้วเกิดความรู้สึกดีๆที่ทุกคนนำมา ยึดถือมาเป็นแบบอย่างในการดำรงค์ชีวิต 3 ประเภท ได้แก่ บุคคลใกล้ชิดในครอบครัว ในที่ทำงาน และบุคคลสาธารณะ ให้ระลึกถึงคุณลักษณะดีๆของบุคคลแต่ละประเภท พร้อมทั้งหาลักษณะร่วมที่เกิดจากความคิดของทุกคนในแต่ละกลุ่มพร้อมทั้งเตรียมนำเสนอ โดยช้เวลาที่ให้รวบรวมตรงนี้ 30 นาที่ ผมได้แวะเวียนไปตามกลุ่มต่างๆพบบรรยากาศที่น่าสนใจในการทำงานร่วมกันของคนที่พึงรู้จักกันที่ทุกคนได้แสดงออกอย่างอิสระ และมีการรวบรวมเรื่องราวที่เพื่อนแต่ละคนได้เล่ามาผ่านการเขียน การสื่อสารเป็นรูปภาพ ที่เติมแต่งอย่างสวยงามแสดงลักษณะดีของบุคคลที่เป็นแบบอย่างทั้ง 3 ประเภท ที่ให้ความเป็นกันเอง ความรัก ความเมตตา ให้ความใกล้ชิด ความไว้วางใจ ความเข้าใจ การเป็นผู้นำ การเป็นแบบอย่าง ความเอื้ออาทร เป็นต้น การนำเสนอของแต่ละกลุ่มมีสีสรรค์ เป็นธรรมชาติของน้องที่แสดงออกอย่างเป็นกันเอง ของสมาชิกในกลุ่มแซวกันบ้างทั้งใน และนอกกลุ่ม และที่สำคัญทุกกลุ่มมีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4-5 กลุ่มแรก หลังจากทุกกลุ่มได้นำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์วราภรณ์ ฯ ก็นำสิ่งที่อาจารย์ได้รังสรรค์ มานำเสนอที่แสดงให้เห็นถึงบทสรุปของแบบอย่างดีๆที่สมาชิกนำมาเป็นแบบอย่างให้แก่ตนเอง ตลอดจนการเรียนรู้จากแบบอย่างที่มีอยู่ และแสวงหาแบบอย่างอื่นๆที่มีอีกมากมายที่นำพาการเพิ่มคุณค่าให้เกิดขึ้นแก่น้องๆทุกคน ที่จะส่งไปยังเพื่อนๆของเราที่ได้ทำงานร่วมกัน ผู้ป่วยและญาติที่เราได้มีโอกาสได้เข้าช่วยลดความทุกข์ให้แก่เขา

เราได้ให้น้องชายที่เป็นสมาชิกใหม่ามจากกำแพงเพชรได้อ่านเรื่องเล่าของมนุษย์ที่มีโอกาสดีที่ทำหน้าที่เป็นหมอ เป็นเรื่องเล่าที่สะท้อนให้เห็นความรู้สึกดีๆที่มีต่อการทำหน้าที่...........

จับขั้วหัวใจหมอ

....ผมได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมคุณหมอที่โรงพยาบาลทั่วไปและคาดหวังว่าจะไปทานกลางวันด้วยกัน ผมไปถึงก่อนเวลานิดหน่อย เข้าไปในโรงพยาบาลผมตรงไปที่ห้องทำงานของคุณหมอที่อยู่ชั้น 2 เจ้าที่บอกว่าผู้อำนวยการลงมาตรวจคนไข้ ผมตามลงมาที่ห้องตรวจดูที่ป้ายไม่พบชื่อคุณหมอที่ป้ายหน้าห้องตรวจโรค เริ่มงง! สอบถามพยาบาลได้รับคำตอบว่าผู้อำนวยการลงมาตรวจทุกวัน และจะตรวจจนกว่าคนไข้จะหมด วันนั้นผมรอคุณหมอจนถึงเวลาเที่ยงครึ่งแล้วเราก็ไปทานข้าวที่ร้านอาหารสวัสดิการของโรงพยาบาล เราคุยกันสัพเพเหระ และได้ตามจิตใจลึกๆของหมอในการมานั่งตรวจผู้ป่วย คุณหมอเล่าให้ฟังว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งในโรงพยาบาลชุมชนแห่งแรกที่ได้ออกไปทำงานในอาชีพแพทย์คืนนั้นต้องรอทำคลอดอยู่เป็นเพื่อนพี่พยาบาล เสร็จก็ห้าทุ่ม พอจะกลับไปนอนมีคนไข้ปวดท้องเข้ามาเขาปวดมา 1วันแล้ว ดูแล้วเป็นใส้ติ่งอักเสบแน่ๆ รอดีหรือไม่รอดีความคิดในใจเริ่มต่อสู่กันและแล้วตัดสินใจตามทีมงานและทำการผ่าตัด ใช้เวลาเกือบชั่วโมงเรียนร้อยดี ผมเข้านอนประมาณตี่สี่ ตกใจตื่นตอนเจ็ดโมงครึ่ง(นอนที่ห้องตรวจโรค)เริ่มมีคนไข้มารอตรวจแล้ว รีบลงไปอาบน้ำที่บ้านพักกลับมาตรวจผู้ป่วยจนเที่ยง หิวมากอารมย์เริ่มขุ่นมัว จิตใจไปอยู่ที่อาหารแล้ว(ซึ่งเกิดจากงานเมื่อคืนและเช้าที่ไม่ได้ทานอาหาร) หาเหตุผลให้ตนเอง เวลาผ่านไปเที่ยงเกือบครึ่งแล้ว พี่พยาบาลเรียกคนไข้คนสุดท้ายอยู่ 3-4 ครั้ง และคนไข้ก็ค่อยๆเดินเข้ามาในห้องตรวจ ไปอยู่ที่ไหนเรียกตั้งหลายครั้ง ที่หลังต้องมาเร็วๆหน่อย รู้มั้ย! หมอยังไปได้กินข้าวเลย คนไข้ดูซึมลงทันตา หมอเริ่มรู้สึกผิด เสียใจที่พูดใส่อารมณ์กับคนไข้(ความหิวเข้าครอบงำ ขาดสติ) คนไข้พูดว่า “ผมออกจากบ้านมาตั้งแต่ตี่สี่ รถเที่ยวแรกของหมู่บ้านมาถึงหน้าโรงพยาบาลเก้าโมง และนั่งรอหมอเรียกอยู่ทางโน้นตั้งแต่มาถึงผมยังไม่ได้ไปไหนเลย กลัวหมอเรียกแล้วจะไม่ได้ยิน ผมยังไม่ได้ทานข้าวเช้าเลยครับ” ความสงสารเห็นใจคนไข้เข้าถึงขั้วหัวใจหมอทั้นที...........25 ปีมาแล้วผมไม่ปล่อยให้คนไข้รอผมอีกเลย........ความอยากรู้ว่าทำไมผู้ป่วยมาช้า ได้ออกไปจากจิตใจของหมอตั้งแต่วันนั้น........

เรื่องดีๆที่มองเห็นความเป็นมนุษย์....................ในระบบสาธารณสุขที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ยังมีอยู่

................................................

ขณะที่น้องอ่านผมสังเกตุเห็นทุกคนนั่งนิ่งฟังดัวยความตั้งใจ โดยพาะตอนท้ายๆในห้องเงียบกริบ น้องหมอ พยาบาลบางคนเอาผ้าเช็ดหน้าออกมาซับน้ำตาที่เต็บไปด้วยความปลาบปลื้มของหมอที่อยู่ในเรื่องเล่า

ผมรับไมค์ต่อจากน้องแพทย์ที่อ่านเรื่องเล่า ผมต้องเว้นเวลาสักหน่อยเพื่อปรับความรู้สึกที่มันยินดี ที่เห็นการดูแลผู้ป่วยของคุณหมอท่านหนึ่งที่ดูแลผู้ป่วยอย่างดีมาอย่างยาวนานโดยที่ไม่ต้องการไปรู้ว่ามีเหตุผลใดๆที่ผู้ป่วยไม่ทำตามสิ่งที่เราต้องการ และได้ฟังผู้ป่วยบอกในเรื่องที่คับข้องใจที่เกิดจากเราไปทำให้แก่เขา เรื่องราวมากมายที่ผู้ป่วยยากจะบอกเรา หากให้เวลาและโอกาสแก่ผู้ป่วยที่จะบอกขุมทรัพย์ของเรา แล้วเดินทางเข้าไปหาอย่างถูกต้อง ที่มีมากกว่าที่เราได้คิดคำถามที่จะนำไปสู่การรักษาตามแบบอย่างของเรา ผมพูดเรื่องทุกข์ของผู้ป่วยและญาติที่รอการบำบัดจากพวกเรา เป็นสวนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพที่มีความเอื้ออาทร มีความรัก เมตตา ความมีคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ อย่างที่เราได้รับแบบอย่างมาจากบุคคลต้นแบบที่เราได้รับรู้มา ผมมองเห็นแววตาของน้องทุกคนที่มีแต่ความสุข ความเมตตาที่พร้อมจะช่วยบำบัด ลดความทุกข์ของผู้ป่วยและญาติ

ทีมงานเราเอากิจกรรมไหลเลื่อน เชื่อมโยง ปรับเปลี่ยน (Chaos) มาเรียนรู้ต่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ว่าในการทำงานของทุกคนนั้น ทุกวิชาชีพ ทุกตำแหน่งงาน ในสถานที่ทำงานต่างๆ ที่ดูเหมือนว่าการทำงานของเราถูกแยกออกเป็นส่วนๆ แต่กิจกรรมสอนให้เราเรียนรู้ว่าทุกคนมีความเป็นอิสระที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันอยู่ งานที่เราทำล้วนแต่มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้นและไม่สามารถทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้ด้วยตัวเราเองต้องอาศัยบุคคลอื่นๆที่แตกต่างกันในแต่ละวิชาชีพ การทำงานที่รับได้ ได้จากความรู้สึกที่ออกมาจากภายในจิตใจของแต่ละคน ที่ได้แสดงออกมาอย่างที่ไม่ต้องบอกกล่าว เป็นพลังที่เกิดขึ้นภายในของแต่ละคนจะทำให้เราเคลื่อนไหวตามแนวทางที่ทุกคนมุ่งไปสู่เป้าหมายร่วมขององค์ที่กำหนดไว้ สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์กรตลอดจนสังคมภายนอกที่องค๋กรเราเป็นส่วนหนึ่ง

ทีมงานเราเปลี่ยนประเด็นของการเรียนรู้ของน้องมาในเรื่องความไว้วางใจทีมเราใช้กิจกรรมที่ใช้ Mask ปิตตา โดยให้จับคู่กัน และปิดตาทุกคน โดยเฉพาะในขั้นตอนที่ทุกคนปิดหมด เราย้ำถึงความปลอดภัยของสถานที่ ผู้คนที่อยู่ ณ ที่นี้ ก้าวเดินไปตามความรู้สึกที่ปลอดภัยภายใต้การรับรู้ ด้วยความเชื่อมั่นของตนเอง เราใช้เวลาอยู่กับกิจกรรมนี้ประมาณ 20 นาทีจนทุกคนมารวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน น้องๆและทีมเราสรุปเรื่องความไว้วางใจของคนทำงานที่อยู่ในระบบบริการสุขภาพที่มีความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ ความเกื้อกูล ความเป็นพี่น้อง ความเป็นมนุษย์ของพวกเราที่อยู่ด้วยความไว้วางใจกันและกัน ที่เป็นสภาพธรรมดา ธรรมชาติของผู้คน มนุษย์เราต้องอยู่อย่างการให้ความไว้วางใจในเพื่อนเรา ทีมงาน และสรรพสิ่งอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือนอย่างเราไว้วางใจพ่อ แม่พี่ น้องของเรา จะเกิดความผ่อนนคลาย แล้วจะทำให้เราไม่ต้องเครียด กังวลกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราทำอย่างตั้งใจ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างดี และตั้งใจไว้แล้ว

และท้ายสุดท่านรองผู้อำนวยการสรุปภาพรวมของการทำกิจกรรมทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่และเรียนรู้ที่จะขยายออกไปเรื่อยๆ ดำเนินต่อไปในความร่วมมือของทุกท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้คนที่อยู่ในระบบบริการสุขภาพมีความทุกข์ลดลง

การเรียนรู้

 การเก็บเกี่ยวเรื่องราวดีๆที่มีอยู่ในระบบบริการสุขภาพนำมาชื่นชม ยินดี จะทำให้เกิดกำลังใจมากขึ้น การเล่าเรื่อง การเขียนเรื่องราวดีๆเป็นสิ่งที่ช่วยขัดเกลาให้จิตใจของเจ้าหน้าที่ให้เกิดความซาบซึ้ง ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น และเมื่อเราทุกข์ที่เกิดจากระบบบริการของเรา เรื่องราวดีๆตรงนี้เป็นสิ่งที่จะมาเยียวยาจิตใจให้แก่เรา

 การสร้างบรรยากาศที่ดี ผ่อนคลาย และเป็นธรรมชาติจะเอื้อให้เกิดการรับรู้ที่ดี เกิดการเรียนรู้

 การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมประชุมจะตรงกับความต้องการของสมาชิกที่มาจากบริบทเดียวกัน

 การทำกิจกรรมการเรียนรู้ควรจัดให้มีกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้จักและคุ้นเคยกันของสมาชิกให้มากจะช่วยให้การเรียนรู้ของกลุ่มง่ายขึ้น(เกิดความไว้วางใจ)

 การกระจายสมาชิกที่มาจากองค์กรเดียวกันไปตามกลุ่มต่างๆจะเพิ่มการเรียนรู้ของกลุ่มต่างๆได้เป็นอย่างดี

ยงยุทธ สงวนชม

14/05/2551

สุนทรียสนทนานำพาการทำงานคุณภาพ ในโรงพยาบาลชุมชน

ทั้งบรรยากาศ และกิจกรรมนำการเรียนรู้ "

เช้าๆ ลื่นไหล บ่ายฝืดหน่อย"

      เช้าๆ ลื่นไหล การนำพาการเรียนรู้ ทีมงานเราเปลี่ยงแปลงทีมกระทันหันท่านรองผู้อำนวยการป่วยและท่านมาร่วมออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมทั้งให้กำลังใจทีม เราเติมเต็มด้วยการเอาคุณธรสิริ แย้มเจริญ ที่เป็นผู้ประสานงานเข้ามาร่วมงานอีกครั้งหนึ่งซึ่งเคยทำงานร่วมกันมาแล้ว 2-3 ครั้ง ทั้งในองค์กร และที่โรงพยาบาลตำรวจ ถึงแม้นจะเป็นคนละเรื่องแต่กรอบแนวคิดในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ คือ เรียนรู้ที่ใช้ผู้ร่วมสนทนาเป็นศูนย์กลาง (group based learning) (เรียกตามความเข้าใจตนเอง)      

      การเรียนรู้ที่ดีต้องอยู่ในสภาพปรกติ ที่ผ่อนคลาย ไม่เครียด หากเป็นเรื่องสนใจของเราก็มีความสุข ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันตรงนี้ที่เป็นการเรียนรู้ที่ทีมงานขมวดให้ผู้เข้าร่วมสนทนาได้รับรู้ในเป้าหมายเดียวกันในการใช้สุนทรียสนทนาที่จะทำให้คนในโรงพยาบาลหันหน้าเข้ามาคุยกันเช่นเดิมเหมือนในอดีต และมีความสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด

      กระบวนการเรียนรู้ทีมเรานำพาด้วยการทำให้ทุกท่านอยู่กับกระบวนการของเรา โดยการทำให้มีความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ และทำกิจกรรมนับ 1 2 3 4 พร้อมกิจกรรมขยับซ้าย ขวา ทุกผ่อนคลายทีมงานดูจากสีหน้าท่าทาง เสียงหัวเราะที่มีอยู่เกือบตลอดเวลาของการทำกิจกรรม และปลาโลมา ส่วนใหญ่ยังสับสนไม่ได้ทำตามการนำพาได้ ได้ 1-2 ตัวก็ปล่อยปลาหนีแล้ว เราเลยสลับกิจกรรมให้ทุกคนมีสติ ผ่อนคลายผ่านการฝึกลมหายใจพร้อมออกท่าทางที่เป็นฝึกสติ ทีมนำพาสักระยะ และให้หลับตาทำความพร้อมเพรียงเป็นภาพที่สวยงาม ทีมเรานำกลับมาทำ ถึงตอนนี้จับปลาได้ครบ 10 ตัวตามเป้าหมายที่ทั้งหมดตกลงกันตอนกิจจับปลาโลมา

      และเรียนรู้ร่วมกันในสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ และไม่ชอบจริงๆ ตามกลุ่มวันต่างๆ ที่มีกลุ่มละ 4 คนที่น้อยสุด จน 9 คนมากที่สุด ทีมเรายืนยันเรื่องที่เป็นส่วนใหญ่ของกลุ่ม ทำให้กลุ่มอื่นๆ สรุปเรื่องราวเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เช่น มีลูกชายหล่อ ไม่ชอบคนโกหก ที่จุดร่วมของกลุ่ม มีเสียงเฮฮา เป็นระยะๆ และก่อนที่จะขยับไปเรื่องสุนทรียสนทนา ทีมให้กลุ่มสรุปบทเรียนที่ได้ ดังนี้

          การมีสติ มีสมาธิเราจะมำอะไรอะไรบรรลุเป้าหมายมากขึ้น การทำงานในโรงพยาบาลที่มาภาระงานมากๆ มีความซับซ้อน บางครั้งผู้คนทำอะไรสับสน การฝึกสติ และทำอย่างมีสติจะทำให้เราไม่ไปเพิ่มทุกข์ให้แก่คนอื่น

          ความเท่าเทียมกัน ความผ่อนคลาย ความเป็นปรกติ และบรรยากาศที่เอื้อ นำพาให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

       สุนทรียสนทนาเป็นเรื่องใหม่ของโรงพยาบาลและผู้คนโดยทั่วไปก็สามารถอธิบายถึงลักษณะและเป้าหมายของสุนทรียสนทนาได้ แต่ทีมนำก็ยังไม่สามารถนำพาผู้คนของโรงพยาบาล หรือแม้แต่ทีมนำเองให้พูดคุยกันให้บรรลุเป้าหมายอย่างที่สมาชิกแต่ละท่านได้นำเสนอมา ทีมได้เรียนรู้จากการถาม “ท่านคิดว่าสุนทรียสนทนาเป็นอย่างไร มีเป้าหมายอย่างไร” หากแต่เมื่อนำไปใช้แล้วมันมีข้อปลีกย่อยบางประการที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำพาการพูด/สนทนาของผู้คนให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การกำหนดกติตา การประยุกต์ใช้ U - Theory

       ทีมเรานำพาการเรียนรู้ U –Theory นำเสนอระบบคิดที่ต้องนำไปใช้ในการสนทนาที่ผมเริ่มจากการรับรู้ I-in-me แล้วก็ตอบสนองทันทีอย่างที่เคยนำมา ขาดการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง เกิดความผิดพลาดมาก แล้วนำพาการเรียนรู้ I-in-it I-in-you จน I-in-now เชื่อมโยงประสานการทำงานของจิตที่เปิดกว้าง (Open Mind) ที่เริ่มจากของแต่คน ขยายออกไปสู่เปิดการรับเสมือนหนึ่งเราเป็นเขาและทุกคน (Open Heart) นำสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของผู้คนและสภาพแวดล้อมที่มีอยู่(Open Will) พร้อมข้อระวัง 3 ข้อที่เป็นเสียงจะนำเราไปทำร้ายผู้คนต้องไม่ให้เข้ามาในการสนทนาเลยคือเสียงของการตัดสินผู้อื่น (Voice of judgement) เสียงความคลางแคลงใจ ใช่ ไม่ใช่ ถูกผิด (Voice of cynicism) และเสียงที่เกิดจากความกลัวในการรับรู้เรื่องราวต่างๆ (Voice of fear) ทีมงานอีกท่านหนึ่งก็รังสรรเรื่องที่ได้นำเสนอลงในกระดาษสีขาวด้วยสีเทียน เป็นรูป ตัวอักษร ดอกไม้ นำพาให้ผู้คนให้ฟังเสียงและมองมาที่รังสรรตามบทเพลง ผู้ร่วมสนทนาท่านหนึ่งบอกผมภายหลังจบกิจกรรมแล้ว “เสมือนวาทยากร นำพาเสียงดนตรีออกมาจากท่าทางของตนเอง” ทีมเรารู้สึกดีๆ เมื่อได้ยินอย่างนี้ ตอนท้ายๆ ของวาทยากร ได้นำพาผู้คนมาสู่เรื่องราวสำคัญ 4 เรื่อง ที่ทำให้ความสำเร็จของสุนทรียสนทนา คือ การฟังด้วยความเคารพในผู้พูดและเสียงที่เปล่งออกมา การห้อยแขวนในเรื่องที่ตนเองไม่ชอบ ไม่เห็นด้วย การฟังอย่างตั้งใจ ลึกซึ้งฟังอย่างหมดใจในน้ำเสียงให้เห็นในเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด หรือความนิ่งเงียบ และแม้นแต่เสียงของตนเองทั้งที่อยู่ในใจ และพูดออกมา และสุดท้ายคือการฟังพลังของเสียงที่มีทิศอยู่ว่าเรียกร้องให้เราได้มีความคิดไปในทิศทางใด      

       จากหลักการที่เราได้นำเสนอมาสู่เรื่องเล่าวัยเยาว์ วัยที่เปิดโลกการเรียนรู้ของมนุษย์ ที่มีแต่ความสุขอยากรู้อยากเห็นโดยการสุ่มจับคู่อย่างเรียบง่ายอย่างที่ทีมเราเคยทำกัน เห็นภาพ บรรยากาศที่สนุกสนานเสมือนวัยเด็กๆ มีทั้งความสนุกสนาน และความซาบซึ้งในตอนที่ได้มีการนำเสนอที่เกือบเห็นน้ำตาแห่งความปิติยินดี

       ทีมนำพาการเรียนรู้ให้เห็นถึงบุคคลิกภาพ พฤติกรรมของคนในโรงพยาบาลผ่านผู้นำ 4 ทิศทำให้ทีมเห็นว่าส่วนใหญ่ของผู้คนในองค์กรนั้นเป็นหนูที่มีจิตใจละเอียดอ่อน รักพวกพ้อง องค์กร รองลงมาก่อนเป็นกระทิง หมี และอินทรีย์ กิจกรรมทีมเราตั้งโจทย์ว่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรอย่าง ที่ผู้ร่วมสนทนาเป็นผู้สรุปกันเอง และทีมวิทยากรได้รังสรรเรื่องราวลงในกระดาษเช่นเดิมนอกจากฟังเสียงการเรียนรู้แล้วยังเห็นลีลาการบันทึกเรื่องราวผ่านศิลปการวาด และการเขียน จากนั้นทีมเราได้นำกิจกรรมการมองผู้อื่นในมุมของเรา กับการที่ผู้อื่นมองตัวเราที่เป็นด้านบวก และลบ ผู้เข้าร่วมประชุมได้สรุปบทเรียนนี้ว่าทำให้รู้ว่าคนเรามีทั้ง 2 ด้าน เวลาที่จะมองครในด้านบวกจะหาเหตุผลค่อนข้างยาก แต่เวลาที่จะมองคนในด้านลบนั้น ใช้เวลาสั้นๆ ก็สามารถมองผู้อื่นว่าคนนั้นว่าเป็นลบได้ จึงทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น จบกิจกรรมนี้จึงพักกันเวลาเที่ยงสิบนาทีแล้ว

บ่ายๆ ฝืดหน่อย

      ทีมเริ่มจากการผ่อนคลายสบายทั้งกายพักพิ่งทั้งจิต โดยโรงพยาบาลได้เตรียมผ้าปูเตียงนำมาปูเต็มกลางห้อง ทีมเราทำ Body scan ประมาณ 20 นาที เมื่อระฆังดังขึ้นทีมเราสังเกตเห็นว่ายังมีบางท่านหลับและยังไม่ตื่นเพื่อนที่อยู่ใกล้ต้องเรียก เราเห็นความสุขของผู้คนที่ได้พักผ่อนถึงแม้ว่าจะใช้เวลาไม่มากนักแต่ก็เรียกความสดชื่นขึ้นมาได้ หลังจากเก็บผู้เตียงหมดแล้วทุกคนล้อมวงและมีการแบ่งปันความสุขเล็กๆ น้อยให้แก่กันและกันโดยการนวดเบาๆ ที่ไหล่ ต้นคอ และบริเวณหลัง

       เมื่อทุกคนพร้อมการเรียนรู้ก็เริ่มขึ้น ทีมเราใช้กิจกรรมแบ่งกลุ่มคนแบบคละกลุ่มละ 6-7 คน (มากไปหน่อย) เพื่อจะทำ world café เราได้ 7 กลุ่มตามอุประกรณ์ที่มีอยู่ (เสียเวลาเตรียมflip chart หากเสียเวลาดูสักหน่อยจะราบรื่นกว่านี้) ช่วงนี้เป็นการนำพาให้เรียนรู้เรื่องมาตรฐานในฐานะทีมนำ (บทบาทของทีมนำในความคิดของข้าพเจ้า?) ผ่านกิจกรรม world café เราได้สอดแทรกเข้าไปอยู่ในกลุ่มแบบสังเกตการณ์ พบว่าทุกกลุ่มจะมีลักษณะที่เหมือนกันคือมีคนพูดมาก มีคนไม่ได้พูด เราก็บอกว่าการเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่นเป็นเรื่องจำเป็นในวงสนทนา พอจากวงออกมาบรรยากาศก็ดีขึ้นบาง แต่บางคนก็ยังเหมือนเดิม ตอนเปลี่ยนกลุ่ม ทีมเราให้หนูแสดงตัวซึ่งมาอยู่ทุกกลุ่มและเราถามกลุ่มว่าผู้นำแบบใครควรเป็น Host มีคำบอกลอยมาคือหนูเลยขอให้หนูอาสาสมัครเป็น Host และบอกภาระกิจ และให้สมาชิกย้ายกลุ่ม (ทีมทางภาคเหนือใช้คำว่าผึ้งผสมเกสรก็ฟังแล้วสื่อได้ดี) ที่จะเพิ่มเติมต่อยอดความรู้ที่ออกมาจากตามคิดของแต่ละคนรอบทีมได้เพิ่มโจทย์เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงในบทบาท (ข้าพเจ้าจะช่วยให้สำเร็จได้อย่างไร) เช่นเคยได้เข้าไปฟังบางกลุ่มการพูดคุยไม่ต่างจากเดิมมากนัก ยังมีแชมป์ในการพูดในกลุ่ม และยังมีการสงวนท่าทีของบางท่าน (ทีมเรามองว่าต้องแจ้งกติกาเป็นระยะหากพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะนี้) และเริ่มมีการพูดถึงอุปสรรคที่มาจากผู้อื่นโดยเมื่อมีคนหนึ่งพูด มีตามลูกตามมาเพิ่มเติมถาถมเรื่องราวให้ซับซ้อนมากขึ้น (การทำความเข้าใจเป็นรายกลุ่มจึงมีความสำคัญ จำนวนสมาชิกมากทำให้การนำพาไม่ทั่วถึง) ทีมได้นำพากลุ่มให้หมุนเวียนอีก 2 ครั้งภายใต้โจทย์ (อุปสรรคที่เกิดขึ้น และแนวทางการพัฒนา) ท้ายสุดทีมได้นำพาการสรุปจากสมาชิกในแต่ละกลุ่ม และมีการรังสรรค์ตามรูปแบบที่ได้ทำมาตั้งแต่ตอนเช้า พักย่อยในช่วงนี้ 15 นาที ช่วงสุดท้ายเราเหลือเวลาอีกประมาณหนึ่งชั่วโมงกับอีกสิบห้านาที

       ทีมเรานำพาเพื่อเรียนรู้การสร้างความไว้วางใจของคนในองค์กรที่งในระดับบุคคล ทีมต่าง และระดับองค์กร ที่บอกว่าฝืดก็เพราะว่ากิจกรรมก็ลื่นไหลดี แต่ถึงการเรียนรู้ร่วมกัน มีความคิดเห็นของผู้คนน้อยมาก ในเรื่องของความรู้สึกที่มีต่อกิจกรรม และปัจจัยที่ทำให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว หรือทีมเราเล่นถามตรงถึงปัยจัยที่ทำให้เกิดความไว้วางใจ เมื่อทีมกลับมาประเมินก็พูดตรงกันว่าเป็นคำถามที่ตอบอยาก หรือน่าจะถามว่า ท่านนึกถึงอะไรเมื่อทำกิจกรรม และอะไรทำให้คิดเช่นนั้น? ดู ดู้ ดู ดูเราทำ ทำไมเราทำกับเขาได้? (หมาป่า)

       กิจกรรมสุดท้ายลื่นไหลตามรูปแบบที่เราทำ แห่งนี้ถือว่าดีเยี่ยม ทุกคนเข้าเรียนรู้ถึงความสำคัญ ความมีคุณค่าของตนเองต่อการทำงานที่ผันเวียนเปลี่ยนไป อย่างที่เป็นอยู่และทุกคนเป็นหนึ่งที่อยู่ร่วมกันที่ผู้สัมพันธ์กันตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นใครมาใหม่ หรืออยู่มานานแล้วหากคนหนึ่งคนใดแปรเปลี่ยนไป การเคลื่อนไหวขององค์เกิดขึ้นโดยท้ายสุดก็จะเข้าสู่ความสมดุลที่เป็นไปของกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ แล้วทีมเราและมวลสมาชิกจับมือกันล้อมเป็นวงกลมร้องเพลงร่วมกัน..................

บทเรียน

      การประเมินกลุ่มเรียนต้องทำตลอดเวลา ปรับการนำพาต้องมีความเหมาะสมทั้งเนื้อหา การสร้างบรรยาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการแชร์ประสบการณ์ที่ทุกคนมีอยู่

      การเตรียมการเรื่องอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมจะทำให้การเรียนรู้ อารมณ์ของผู้คนชะงัก ไม่ราบรื่น

       จำนวนสมาชิกที่เหมาะสมทำให้การนำพาการเรียนรู้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งน่าจะประมาณไม่เกิน 30 คน (วิทยากร 3 คนๆ ละ 2 กลุ่ม การทำกลุ่มแบบ World Café ไม่ควรเกินกลุ่มละ 5 คน)

       การเรียนรู้จากการนำพา นำมาสู่ทำความเข้าใจของวิทยากรในการทำกิจกรรมนำพาการเรียนรู้โดยเฉพาะการประเมินการรับรู้ การมีส่วนร่วมในการนำพากลุ่มของมวลสมาชิก

วันนี้ผมมาเรียนรู้เกียวกับการนำพาการเรียนรู้ที่เชียงใหม่ แต่ยังไม่ได้เล่าเรื่องราวของการเรียนรู้นะครับ ท่านอาจารย์นายแพทย์วรวุฒิ โฆวัชรกุล เป็นกระบวนกรนำการเรียนรู้ ในเรื่อง โรงพยาบาลคุณภาพด้วยความรัก หรือท่านเรียกว่า โรงพยาบาลเปี่ยมรัก(Humanized Health Care Hospital)มีบางเรื่องที่ผมจะนำมาเล่าก่อนนะครับว่าในตอนเช้าที่เราเริ่ม โรงพยาบาลยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร จากการนำพาของกระบวนกรมีคำตอบในตอนจะหมดเวลาในวันแรก เป็นเรื่องเล่าจากกัลยาณมิตรในห้องคนหนึ่งได้สะท้องการเรียนรู้ ครั้งนี้ว่า.....

คนเราเกิดมาพร้อมกับความพลังในตัวเอง แต่เราสร้างระบบขึ้นมาทำลายพลังนั้น จนเราลืมไปว่าทุกคนีความเป็นตัวของตัวเอง มีพลังในตัวเองเราจะทำอย่างไร เพื่อที่จะดึงพลังแห่งความเป็นตัวตนของคนนั้นออกมาใช้ในเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อจะได้สร้างสรรค์งานและองค์กรเราโดยเฉพาะโรงพยาบาลของเราให้เป็นโรงพยาบาลในฝัน ที่เปี่ยมไปด้วยความสุข ของผู้ให้บริการและของผู้รับบริการ ความสุข ความปิตินั้นนั้นคือการให้และการช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์จากการเจ็บป่วย ทั้งทางกาย และทางใจ ให้เขามีคุณค่า และเห็นคุณค่า ความเป็นมนุษย์ มีการปฎิบัติต่อกันในองค์กร จนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร “วัฒนธรรมในการให้สิ่งดีๆให้แก่กันและกัน” ในสิ่งดีๆแก่ทุกคน

.............................

ตรงนี้เป็นเรื่องที่อาจารย์วันทนา จากโรงพยาบาลลี้ จ.ลำปาง ได้แสดงความรู้สึกกับกระบวนการเรียนรู้ที่ทีมได้นำพากรจะจบการเรียนรู้วันแรก เป็นหนึ่งใน 60 เรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นในวันนี้ครับ.....หากใครมีก็แบ่งปันกันนะครับ

ขอบพระคุณกัลยาณมิครครับ เวลาที่เรารีบเร่งเราก็ไม่ได้ดูแลเลยย้ายโรงพยาบาลลี้ ไปอยู่ลำปาง ที่จริงอยู่ที่ลำพูนครับ ต้องขอโทษอาจารย์วันทนา และผู้ที่เข้ามาเยี่ม/มาอ่านด้วยครับ

ยงยุทธ สงวนชม 

29 พ.ค.2551

20.43 น.

สรุปบทเรียนของกัลยาณมิตรในเวทีการพัฒนาคุณภาพด้วยความรัก

12-13 มิถุนายน 2551

โรงแรมเจริญธานี

             ผมเอา 2 เรื่องที่สมาชิกที่เข้าร่วมเรียนรู้ในโครงการ “การพัฒนาคุณภาพด้วยความรัก” ได้เขียนขึ้นตอนที่ทีมเราให้เขียนความในใจที่อยากจะเขียนและสื่อสารบอกเพื่อนๆที่ร่วมเรียนรู้ อยู่ด้วยกันซึ่งมีอยู่ทั้งหมดร้อยกว่าเรื่องที่ทีมเราจะได้หาโอกาสที่จะนำไปเผยแพร่ต่อไป ทั้ง 2 ท่านที่เป็นเจ้าของบทความนี้ไม่ได้ได้แจ้งชื่อไว้ และทีมเราได้ขออนุญาตเจ้าของแล้ว

 เรื่อง “สัญญาใจ ในสิ่งที่อยากพูด อยากบอก”

        ดีใจมากที่ตนเองมีบุญพอที่ได้เข้ามารับการเรียนรู้เรื่องนี้ มันเป็นคำตอบของทุกๆคำถามหากเรามีหัวใจของความเป็นมนุษย์เข้าอกเข้าใจผู้คนรอบๆตัวเราไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ผู้รับบริการ ครอบครัว หัวหน้า ความเหนื่อยยากจากภาระงานจะไม่ใช่ปัญหาและอุปสรรคในการทำความดีของเราเลยประทับใจมากและจะท่องจำเอาไว้ในใจเสมอคือ “ตัวตนเราคือมนุษย์ที่มีเบื้องหลังของเราคือพยาบาลแค่นั้นเอง” ต่อไปนี้ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงคนอื่น เราต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน ความมุ่งมั่นและมีจุดยืนจะทำให้เราไม่ท้อแท้ไม่เหนื่อยล้าอีกต่อไป “””””””””””””””””””””””“

 เรื่องที่ 2 “อย่างไรก็ต้องเป็นแพทย์”

           ผมเป็นแพทย์คนหนึ่งที่มาเป็นแพทย์โดยไม่ได้ตั้งใจตั้งแต่แรกว่าจะมาเป็น เพียงแต่บังเอิญสอบติดและพ่อแม่ก็สนับสนุนให้มาเรียนแพทย์ ในช่วงที่เป็นนักศึกษาแพทย์ผมได้เรียนไปโดยไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าในอนาคตหลังจากจบแพทย์แล้วนั้นจะทำอาชีพแพทย์หรือไม่ หรือจะไปทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ โคยมีความคิดที่จะลาออกจากการเรียนแพทย์ในปีที่ 4 เนื่องจากไม่สามารถจะปรับตัวได้ดีเท่าไหร่ ในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลตามความคิดเห็นของผมเอง แต่หลังจากที่ได้เรียนและปฎิบัติอีกระยะหนึ่ง ร่วมกับได้ดูแลซักประวัติผู้ป่วยทำให้ความคิดของตนเองเปลี่ยนไป รู้สึกเหมือนกับว่าเราได้เป็นแพทย์เป็นโอกาสดีมากที่จะได้ทำบุญให้แก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะมพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้รับบริการ และผลลัพธ์ของการรักษาที่ดีแก่ผู้ป่วย ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี และมีกำลังใจในการทำงานมากขื้นผู้ป่วยที่ยากไร้และขาดโอกาส การที่ได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยที่มากมายหลายอาชีพ หลายสังคมทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา เข้าใจความต้องการของมนุษย์มากขึ้น รู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาที่ ยืดหยุ่นในการรักษาผู้ป่วยที่มากขึ้น ซึ่งผลที่ได้กลับมาก็คือความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้รับบริการ และผลลัพธ์ของการรักษาที่ดีแก่ผู้ป่วยทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีและมีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น หากถามผมอีกครั้งในตอนนี้ว่าจะเป็นแพทย์ต่ออีกหรือไม่คำตอบตอนนี้ก็คือจะเป็นแพทย์ต่อไปจนกว่าจะรักษาผู้ป่วยไม่ไหว การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์นั้น จะได้ผลดี ไม่ได้เกิดจากระบบหรือ ขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด แต่หากจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมนุษย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปสามารถจะเข้าใจในความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งและสามารถที่จะช่วยเหลือหรือแสดงถึงความรับรู้ต่อความรู้สึกของอีกฝ่ายได้อย่างดีและมีเมตตากรุณาต่อกัน จะถามว่าขั้นตอนนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่มันเกิดขึ้นตั้งแต่มนุษย์เกิดขึ้น และจะได้รับการพัฒนาไปเรื่อยๆ ซึ่งขึ้นอยู่ที่เราจะพยายามเข้าใจหรือไม่

...................................................................

เราได้เห็นความรู้สึกลึกๆในจิตใจของหมอและพยาบาลที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความดีงามและจะถูดถ่ายทอดออกมาเป็นการกระทำในการดูแลรักษาผู้ป่วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท