หมาดมยอ
ชัยพฤกษ์ หมาดมยอ กุสุมาพรรณโญ

การสร้างความตระหนักในเรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า


ประหยัดพลังงานไฟฟ้า

จากการสุมหัวทำ dialogue ดอกอะไรเรื่อง การประหยัดพลังงานไฟฟ้า ได้ข้อคิดว่า ควรตกผลึกเป็นความรู้ใหม่ในหัวปลาที่ไม่ซ้ำกับชาวบ้านดีกว่า อ.วู้ดดี้เลยแนะว่า ลองตกผลึกซิว่า จะสร้างความตระหนักได้อย่างไร (เพราะเทคนิคการประหยัดพลังงานมีคนทำเยอะแล้ว)

การสร้างความตระหนักต้อง "เพ่งจิต" มาที่ตัวเราเองว่า เราต้องใช้พลังงานไฟฟ้าหรือไม่ ถ้าคำตอบเป็น "ไม่" ก็จบ ไม่ใช้ก็ไม่สิ้นเปลือง ไม่ต้องมาทำ KM ให้วุ่นวาย แต่พอเอาเข้าจริง ตรงนี้คงตอบได้เต็มปากว่า ยังไงก็จำเป็น เราไม่สามารถกลับไปอยู่ในยุคหิน เป็นคนบนดอย (เดี๋ยวนี้คนบนดอยมี solar cell ใช้แล้วด้วย) หรือผีตองเหลือง ดังนั้นน่าจะตกผลึกว่า ตระหนักว่าจะใช้อย่างไรให้ประหยัด

วันนี้ได้ความรู้ว่า เมื่อไหร่ที่เราเป็นคนรับภาระค่าใช้จ่าย เมื่อนั้นแหละตระหนักแน่ (พี่ใหญ่เป็นคนจ่ายค่าไฟที่บ้านเลยรู้ซึ้งดี) ส่วนตาดำก็ share ว่า คนเป็นพ่อแม่เจอลูกสอนว่าที่โรงเรียนสอนยังงั้นยังงี้ให้ประหยัดไฟ ก็เป็นอีก drive นึงที่ทำให้คนเป็นพ่อแม่ตระหนักด้วย เพราะต้องเป็น role model ให้ลูกด้วย

อยาก share เพิ่มว่า อยากประหยัดพลังงานเราต้องตระหนักด้วยว่า feasibility ของเราทำได้จริงหรือไม่ อ.วู้ดดี้บอกว่า ศกพ. อยากประหยัด ยังไงก็ต้องมีค่าใช้จ่าย basic จำนวนนึงจากการที่ปิดแอร์ central ไม่ได้เลย ไม่งั้นแอร์พัง (ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ต้องใช้ไฟตลอด 24 ชม.) ถ้าเมื่อไหร่ที่เราคิดว่า feasibility สูง ก็น่าจะเป็นตัวแปรนึงที่ทำให้เราอยากหรือตระหนักว่า ประหยัดไฟเนี่ยสำคัญ ตราบใดที่คิดว่า ทำไปเหอะยังไงก็ประหยัดไม่ได้ เราก็ไม่มีความตระหนักในเรื่องนี้

KSF ที่ทำให้เกิดความตระหนักก็คือ

1. ถ้าเป็นประสบการณ์ตรงในเรื่องค่าไฟที่ต้องจ่ายเอง เรานั่นแหละที่เป็นคนแรกที่อยากประหยัด

2. คนรอบข้างที่กระตุ้น + บังคับให้เราต้องทำและเรายินดีด้วย (ก็ลูกทั้งคนนี่นา)

3. ความเป็นไปได้ หรือ feasibility

หมายเลขบันทึก: 174763เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2008 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท