มีอะไรที่ "กลันตัน" ๑


แต่อย่างไรก็ตามเขาต่างก็มีความผูกพันกับประเทศไทย เพรายังมีญาติพี่น้องจำนวนมากที่ประเทศไทย ที่สำคัญเขามีความรักและเทิดทูนสถาบันพระมาหากษัตริย์เฉกเช่นเดียวกันคนไทย

ผมได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ไปศึกษา "บทบาททางสังคมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคนไทยในรัฐกลันตัน  ประเทศมาเลเซีย"  และกว่า ๖ เดือนที่ได้ศึกษาเรื่องนี้ก็พบประเด็นสำคัญหลายประการที่ขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่าน

รัฐกลันตัน เป็นรัฐทางเหนือของประเทศมาเลเซีย มีพรมแดนติดกับประเทศไทยที่จังหวัดนราธิวาส แต่เดิมรัฐนี้เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของสยาม  แต่เมื่อมีการทำสันธิสัญญากับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๕  จำต้องยกดินแดนส่วนนี้ พร้อมด้วย ไทรบุรี (เคดาห์) และ ตรังกานู  ให้อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ  และเมื่อมาเลเซียได้มีการประกาศเอกราช ทำให้รัฐทั้งหลายเหล่านี้อยู่ภายใต้การปกครองของมาเลเซีย

รัฐกลันตัน ถือว่าเป็นรัฐที่มีความเคร่งครัดในหลักของศาสนาอิสลาม มีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายมาลายู  นอกจากนี้ก็ยังมีชาวสยาม ชาวจีน และชาวอินเดียอยู่ปะปนกันไป

คนสยาม หรือคนไทย อาศัยอยู่ในแผ่นดินแห่งนี้อย่างยาวนาน ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่ามาตั้งถิ่นฐานกันตั้งแต่เมื่อไหร่  จากการสอบถามชาวไทยในแถบนี้บ้างก็ว่ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา  บ้างก็ว่ามาตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ บ้างก็ฟันธงว่าเราก็อยู่ที่นี่อยู่แล้ว

ผมไม่ได้สนใจเท่าไหร่หรอกว่าชาวไทยมาอยู่แถบนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่  แต่ที่สนใจคือ  การเป็นชนกลุ่มน้อยในดินแดนที่ต่างภาษาและวัฒนธรรม  คนไทยมีการรักษาอัตลักษณ์  ปรับตัว และมีส่วนร่วมทางการพัฒนาอย่างไรบ้าง  กอปรกับภาครัฐของมาเลเซียเองมีการจัดการกับกลุ่มคนไทยเหล่านี้อย่างไรจึงมีความปกติสุขเสมอมา  อย่างน้อยก็น่าจะเอามาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดนโยบายในการพัฒนาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้บ้าง

จำนวนคนไทยในกลันตัน จากข้อมูลของสมาคมชาวสยามในกลันตัน  พบว่ามีประมาณ ๑๑,๐๐๐  คน กระจายอยู่แทบทุกอำเภอ โดยมีความหนาแน่นที่สุดอยู่ที่ อ.ตุมปัต ซึ่งคนไทยเหล่านี้ล้วนใช้ภาษาไทยเป็นภาษาท้องถิ่น  ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ภาษามาลายูเป็นภาษาราชการ  มีการอยู่รวมกันเป็นชุมชน  มีวัดทางพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ

จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าคนไทยเหล่านี้มีความพึงพอใจที่จะเป็นคนสัญชาติมาเลเซีย  เพราะได้รับการปฏิบัติที่ดีพอสมควร แม้บางเรื่องอาจจะไม่เท่าเทียมกับคนมาลายู  แต่เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้ว เขาคิดว่าเป็นคนมาเลเซียน่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า  แต่อย่างไรก็ตามเขาต่างก็มีความผูกพันกับประเทศไทย  เพรายังมีญาติพี่น้องจำนวนมากที่ประเทศไทย  ที่สำคัญเขามีความรักและเทิดทูนสถาบันพระมาหากษัตริย์เฉกเช่นเดียวกันคนไทย

การค้นหาข้อมูลเชิงลึกของผมยังต้องดำเนินการต่อไป  หากมีเรื่องราวดี ๆ ก็จะได้นำมาแลกเปลี่ยนต่อไป  และสำหรับท่านที่เคยศึกษาหรือมีความรู้ในเรื่องเดียวกันนี้ ผมจะยินดีอย่างยิ่งหากท่านได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะ

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 173382เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีคะ

อาจารย์ห่างหายจาก GotoKnow.org ไปสักระยะนึง ดิฉันดีใจคะ ที่เห็นอาจารย์กลับมาเขียนบันทึกอีกครั้ง :) ได้อ่านแล้ว ก็ต้องมาลงชื่อรออ่านต่อคะ

เรื่องราวน่าสนใจมากครับ ผมกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่พอดี ช่วงนี้ต้องอ่านงานภาคใต้เยอะมากครับ และไม่กี่วันผ่านมาผมผ่านหน้า มอ.ปัตตานี ด้วย แต่ก็จะไปอีกครับน่าจะอีกไม่นานนี้

คิดว่าจะไปนั่งคุยกันที่ มอ.ปัตตานี นะครับ

1. มะปรางเปรี้ยว

หลัง ๆ มาอ่านเฉย ๆ ครับ ไม่ค่อยได้ลง ต่อไปจะไม่เกเร ขอสัญญาว่าจะลงอย่างต่อเนื่องครับ..อิอิ

2. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เมื่อไม่กี่วันผมก็ผ่าน แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน เมืองปายมาเหมือนกัน ครับ ตอนนี้ผมไปเป็นคนเชียงใหม่แล้วนะครับพี่ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยแล้วกัน...

เป็นคนเชียงใหม่ ยังไงครับ??

ผมกำลังจะไปเป็นคนใต้ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยเหมือนกัน

-------------------------------

ผมอีเมลไปหาเมื่อสักครู่ครับ ตอบด้วยครับ

ตอนนี้ผมมาเรียน ป.เอก ที่ ม.แม่โจ้ครับ แล้วพี่เอกหล่ะไปทำอะไรที่ใต้

ผมไม่เห็นได้รับ e-mail เลย ของผมส่งผ่านระบบ Gotoknow ไม่ค่อยถึงครับ

งั้นพี่เอกส่งมาทางนี้เลยครับ [email protected]

สวัสดีครับ

  • คิดว่าหายไปไหน  ที่แท้ไปกลันตัน
  • น่าจะเป็นงานวิจันที่ต้องติดดาม
  • ชอบคุณมากครับ

7. เกษตรยะลา

โทษทีครับพี่ ที่เกเรชั่วขณะ...จะกลับสู่บล็อกตามเดิมครับ...

สำหรับงานวิจัย ก็กำลังมะงุมมะงาหรา อยู่เลยครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

โดยส่วนตัวแล้วผมสนใจวิถีชีวิตของคนไทยพลัดถิ่นครับ ตั้งใจไว้ว่าจะไปฟังภาษาไทยเหนือที่ กลันตัน ไทรบุรี สักครั้ง เขาว่าคล้ายๆกับภาษาชาวยองที่ลำพูน เพราะถูกกวาดต้อนมาจากแหล่งเดียวกันเห็นทีต้องจัดสรรเวลา ขอเกาะนายเอกไปเที่ยวเสียแล้ว

นำงานวิจัยมาเล่าสู่กันฟังอีกนะครับ

9. paleeyon

ภาษาไทยที่ภาคเหนือของมาเลเซีย จะไม่เหมือนภาษาใต้ครับ แต่เหมือนภาษาไทยกลาง ตอนบนมากกว่า... ถ้าสนใจอยากศึกษาไปด้วยกันสิครับ ประมาณเดือน พ.ค.

ดีใจด้วยครับที่อาจารยืได้ต่อ ป.เอก ผมเป็นอาจารยือยู่ที่ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้ทราบว่าอาจารย์ทำเรื่องคนไทยในรัฐกลันตัน เมื่อต้นปีที่ผ่านมาผมก็ได้ลงไปกลันตันเก็บข้อมูลด้านเสียง วรรณยุกต์และวรรณกรรมมาเหมือนกันครับ ก็ได้เรียนรู้วิถีชีวิตคนที่นั่นเยอะเหมือนกัน และผมก็เห็นว่าวิถีชีวิตของคนไทย(คนสยาม)ในรัฐกลันตันน่าสนใจจริงๆ ในฐานะศิษย์เก่า ม.อ.ก็ขอให้อาจารย์ประสบความสำเร็จในการเรียนนะครับ ผมเองก็กำลังต่อโท ภาษาไทยอยู่ อาจารย์คงรู้จักอับดุลคอเล็ดใช่ไหมครับ เขาเคยเป็นลูกศิษย์ผมเช่นกันได้ข่าว่าเรียนเอกพัฒฯที่ ม.อ. โชคดีนะครับอาจารย์

11. เสียงเล็กๆ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนคับ...

งานวิจัยที่กลันตัน ยังต้องทำต่อไปครับ... กว่าจะปิดโครงการก็ราวเดือนตุลาคม คงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์เรื่อง "กลันตัน"

อับดุลคอเล็ด รู้จักคับ... ตอนนี้ว่าจะให้เขาทำผลงานเพื่อขอรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ หากเจอเขาให้ติดต่อผมด้วย

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท