แววขน วนแขว


ฝรั่งไขไทยสติวิปลาต
บุราณชาติขลาดเขลาเบาสมอง
มีตำราดารดาษปราชญ์เนืองนอง
เก็บงำผองภูมิรู้อดสูใจ


เพราะเจียมตัวหัวเก่าไม่เข้าท่า
หวงวิชาสารพัน แบ่งปันไฉน
ซ่อนสามารถศาสตร์และศิลป์จวบสิ้นใจ
จึงเด็กไทยไร้ความคิดพิจารณา


เพราะติว่าอย่าโม้คุยโวหาร
ให้กราบกรานคลานเข่าเข้าไปหา
ห้ามแหกคอกนอกรั้วดั่งวัวลา
ชมนาคาเจียมอิทธิฤทธิ์ตน


มีมีดคมจมฝักไม่ชักออก
สนิมพอกพูนหนาพาขัดสน
อันศาสตราเวลาใช้ไม่ได้กล
มีเพื่อผลใดเล่าเศร้าฤทัย


โอ้นกยูงจูงหางอำพรางขน
จะมีคนยลเห็นเด่นไฉน
อันแมงป่องต้องด้นชูก้นไป
จึงจักไม่วายดิ้นสิ้นชีวัน


ดรุณเยาว์เหล่าสหายคล้ายพยัคฆ์
ใช่เรือจักยักยื้อถือหางหัน
คนมีดีทวีคูณมิสูญพันธุ์
ต้องช่วยกันหมั่นอ้างอวดทางดี



คำไขอธิบายกลอน


 
สังคมไทยมีความเชื่อในเรื่อง ความอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาษิตและสำนวนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่าให้เป็นคน คมในฝัก (ไม่ให้อวดตนในที่สาธารณะ) เช่น

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
(จากเพลงยาวถวายโอวาท ของสุนทรภู่) 


หรือสอนเป็นโคลง (โคลงโลกนิติ) โดยเปรียบเทียบว่าให้ทำตัวเยี่ยงพญานาคผู้มีฤทธิ์เดชมาก แต่ก็เลื้อยไปอย่างแช่มช้าไม่อวดอ้างอิทธิฤทธิ์ ผิดกับแมลงป่องผู้มีพิษน้อยแต่ชอบชูหางอวดพิษอันนิดน้อยนั้น ดังเช่นในโคลงโลกนิติบทที่ว่า

นาคีมีพิษเพี้ยง       สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช       แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส   แมลงป่อง
ชูแต่หางเอง อ้า     อวดอ้างฤทธี



นอกจากนี้ยังมีสำนวนที่ว่า (ลูก)นอกคอก (ใช้ด่าว่า เด็กที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ โดยเปรียบเทียบเด็กกับ วัว กับ ควาย ที่จะต้องอยู่ในคอก หรือโอวาทของบิดามารดา)  

ทว่าในข้อดี ย่อมมีข้อเสีย เมื่อเด็กไทยถูก กล่อมเกลาทางสังคม (socialization) เช่นนี้ เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่กล้าแสดงออก ส่งผลให้ภูมิปัญญาต่างๆ ต้องสูญหาย อันเกิดจากการ อมภูมิ หรือคมในฝัก รวมทั้งการหวง(แหน) ในภูมิปัญญา(ประจำตระกูล) นั้นๆ ท้ายที่สุด ภูมิปัญญาไทย ก็ตายอยู่ในปาก (เพราะโดนอมเอาไว้)   

ผู้ใหญ่สมัยโบราณ มองว่าเด็กๆ เหมือน เรือ ที่จะต้องคอย ถือหางเสือ เพื่อควบคุมทิศทาง

แต่กวินอยากจะสอนเสียใหม่ว่าให้เด็กๆ มีความคิดเป็นของตัวเองด้วย นั่นคือให้เด็ก ทำตัวเปรียบเสมือน เสือ (ที่มีหาง) ใครก็ไม่กล้ามาถือหาง เพราะจะโดนเสือขบ หรือ กัดเอา นั่นคือเสือนั้น ยกหาง ตัวเองได้ โดยไม่ต้องการ ผู้ที่จะมาคอย ถือหาง เจ๋งมั้ยความคิดนี้

คำสำคัญ (Tags): #แววขน
หมายเลขบันทึก: 173015เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2008 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับอาจารย์วิบุล

ชอบบทนี้ค่ะ.....

ดรุณเยาว์เหล่าสหายคล้ายพยัคฆ์      ใช่เรือจักยักยื้อถือหางหัน

 คนมีดีทวีคูณมิสูญพันธุ์     ต้องช่วยกันหมั่นอ้างอวดทางดี

หางเสือ เรือ ต้องคอยถือ

แต่หางเสือจริงๆ ไปถือไม่ได้ ครับเดี๋ยวโดนเสือขบ

อวดทางดี นะครับ ไม่ได้อวดดี 555

ขอบคุณครับอาจารย์พรรณา

มาเยี่ยม

จงอวดดี เมื่อมีดีให้อวดนะครับ

ฮา ๆ เอิก ๆ

มาเยี่ยมเช่นกันกับท่านอาจารย์ข้างบน

เมื่อมีดี ทำอย่างไรไม่ให้ดีนั้นขม ^^

 

 

 

 

 

สวัสดีคะ

ขอมาชื่นชมบทกลอนด้วยนะคะ

"ห้ามแหกคอกนอกวัวดั่งวัวลา" ...หึ หึ หึ

---^.^---

สวัสดีครับอาจารย์อุทัย ผมก็ว่างั้นล่ะครับ แฮ่ะๆ

สวัสดีครับอาจารย์ จันทรรัตน์ เอาไปดองเหล้าอ่ะครับ ดีงูเห่า อะไรทำนองนี้ อิๆๆ

สวัสดีครับคุณพิมพ์ดีด (สร้อยฟ้า ) ชื่อเพราะจัง

เจ้าบท เจ้ากลอน จริงนะ... อิ อิ (อ่ะล้อเล่น)

แวะมาแอบดูอีกแล้ว...

สวัสดีครับคุณ วิลาวัณย์

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ

เมื่อก่อนนานมาแล้วเคยช่วยเพื่อน(ผู้ชาย)แต่งกลอนไปจีบสาว(ซึ่งก็เป็นเพื่อนดิฉันนั่นแหละ)

เดี๋ยวนี้ห่างมานาน แต่เคยเล่นอีกเวปนึงแล้วโพสกับเพื่อนๆ เป็นกลอนโต้ตอบกันก็สนุกดีค่ะ

เอาเร็วเข้าว่า สัมผัสนอกสัมผัสในไม่ถูกนัก แต่ทำให้รู้ว่าคนไทยสายเลือดเจ้าบทเจ้ากลอนนี่ก็ยังมีอยู่จริงๆ

อย่างน้อยที่นี่ก็มีคุณกวินเป็นหนึ่งในด้านนี้ล่ะ

ขอบคุณที่ชม ครับ นานๆ แต่งได้สักบท สมัยก่อนแต่งไว้เยอะ ตอนนี้กำลังว่าจะเคาะสนิมครับ มาแต่งด้วยกันสิครับ อิๆ เริ่มที่สัมผัสใจ ก่อน

สวัสดีครับคุณกวิน

ตามมาอ่านจากบันทึกคนไม่มีรากครับ

กลอนนี้ได้อารมณ์ บอกสภาวะของ "คนไทย" บางคนได้ชัดเจนจัง

นับถือกวีเอกครับ

ขอบคุณพี่อาจารย์คนตัดไม้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท