Nan & Ball Chongbunwatana
นายและนาง คมกฤชและประณยา จองบุญวัฒนา

21:สมาคมสตรีอาเซียนประจำประเทศบังกลาเทศ :ASEAN Ladies Association หรือ ALA


ASEAN « We Are One » ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ไม่ว่าจะอยู่ซีกโลกไหน ก็มักจะต้องรวมตัวกันอยู่เสมอ นับว่ากลุ่มอาเซียนของเรา ก็มีความเข้มแข็งไม่แพ้กลุ่มสหภาพยุโรปเลยทีเดียว แต่การจะก้าวไปเป็นสหภาพเดียวนั้น หนทางคงอีกยาวไกล เพราะประเทศในกลุ่มอาเซียน แม้จะมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันอยู่หลายด้าน เช่น วัฒนธรรม ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี แต่สิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญของการรวมตัวเป็นสหภาพเดียวได้นั้น น่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก ที่ยังมีความแตกต่างและเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก

แณณได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมสมาคมสตรีอาเซียนประจำประเทศบังกลาเทศหรือ ASEAN Ladies Association: ALA แทนภริยาท่านเอกอัครราชทูตมาสองครั้ง คือ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 และวันที่ 16 มีนาคม 2551 

ภูมิหลังการจัดตั้งสมาคมอาเซียนประจำประเทศ        บังกลาเทศ น่าแปลกใจที่สามีไม่สามารถหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา ได้เลย ด้วยความอยากทราบที่มาของการจัดตั้ง ALA  แณณจึงสอบถามจากในที่ประชุมและจากการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตด้วยตนเอง ทราบว่าเหล่าภริยาของนักการทูตกลุ่มประเทศอาเซียน ได้รวมตัวกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดตั้ง ALA  ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2002 (พ.ศ. 2545) จนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2003 (พ.ศ. 2546) มีการจัดงาน Inaugural Ceremony เพื่อประกาศการจัดตั้ง ALA  ขึ้นที่สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศบังกลาเทศ               

 

ครั้งนั้น ALA  มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 35 คน แบ่งเป็นสมาชิกประเภท Patron (หรือ สมาชิกผู้อุปถัมภ์ ) คือภริยาของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตกลุ่มประเทศอาเซียน ในปีนั้นมีจำนวน  7 คน (ในปี 2003 เวียดนามยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกแต่เข้าร่วมในภายหลัง ปัจจุบันจำนวน Patron จึงมีทั้งสิ้นรวม 8 คน  ) ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของ ALA  คือ Madam Rini Mansjur  ภริยาของเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียในขณะนั้น  ในปีนั้น ประเทศไทย ได้มีส่วนสำคัญคือดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยเหรัญญิก ของ ALA  (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์  Financial Express  ประจำวันที่ 3 มีนาคม 2003)

การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ ALA  จะเป็นไปตาม Constitution (ธรรมนูญของสมาคม)  การดำรงตำแหน่งประธาน ALA  จะมีวาระคราวละ 1 ปี ตามที่ระบุไว้ใน Constitution  วาระของการดำรงตำแหน่งประธานฯ หากจะว่ากันตามธรรมนูญแล้ว จะต้องเรียงกันไปตามลำดับตัวอักษร ต่อมาประมาณช่วง 2-3 ปีที่แล้วมีการหารือกันระหว่าง Patron และเห็นชอบว่าการดำรงตำแหน่งประธาน  ALA นั้น เพื่อความยืดหยุ่นและเป็นการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ ควรจะใช้หลักอาวุโส  (Seniority) เนื่องจากที่ผ่านมา บางครั้ง เมื่อถึงวาระการดำรงตำแหน่งประธานของประเทศหนึ่งแล้วแต่ประเทศนั้นอาจจะอยู่ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน หัวหน้าคณะผู้แทนฯ ทำให้ไม่มีผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธาน เป็นต้น ดังนั้นการใช้หลักอาวุโส จะทำให้แก้ไขปัญหานี้ได้ ALA  ก็จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไปได้โดยไม่ติดขัด ธรรมนูญ ยังระบุไว้ด้วยว่า ALA  ควรจะจัดการประชุม หรือ การรวมตัว ระหว่างสมาชิก อย่างน้อยทุกๆ 2 เดือน และควรจัด Annual General Meeting:AGM (หรือการประชุมสามัญประจำปี ) ขึ้นในเดือนมีนาคมของทุกปี  (เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการบอกเล่าในที่ประชุม ปัจจุบันแณณยังไม่มีสำเนา Constitution  ค่ะ) 

ALA  มีการเก็บค่าสมาชิกในอัตรา 500 ตากา หรือประมาณ  250 บาท ต่อปี  ส่วนค่าสมาชิกประเภท  Patron  นั้น ในช่วงแรกๆ เก็บในอัตราปีละ 3,000  ตากา หรือประมาณ 1,500 บาท ต่อมาลดลงเหลือเพียง ปีละ 2,000 ตากา หรือประมาณ 1,000  บาท  มีการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และเปิดโอกาสให้สมาชิกสอบถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายได้ทุกรายการ นับว่าเป็นการดำเนินงานที่เป็นไปตามหลักโปร่งใส  (Transparency)  กิจกรรมต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาของ ALA ได้แก่ การบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยเช่น เหตุการณ์พายุไซโคลน และ น้ำท่วมใหญ่ ในประเทศบังกลาเทศ การจัดนิทรรศการอาหารและศิลปะหัตถกรรม ในปี 2550 การจัดการแข่งขันโบว์ลิ่งเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคณะผู้แทนทางการทูตในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน การไปเยี่ยมและเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้า ฯลฯ   

ปัจจุบัน (ณ วันที่ 16 มีนาคม 2551) ALA  มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 33 คน แบ่งเป็น Patron (สมาชิกอุปถัมภ์) 7 คนและสมาชิกทั่วไป 26 คน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธาน ALA ในวาระปัจจุบันคือ Madam Datin Jamilah Malek ภริยาของ High Commissioner of Malaysia ประจำประเทศบังกลาเทศ Madam Jamilah เน้นย้ำในที่ประชุมว่า “ผู้ที่จะเป็นสมาชิก ALA  นั้น แท้จริงแล้ว ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงภริยาเท่านั้น ในธรรมนูญยังได้หมายความรวมถึงเจ้าหน้าที่การทูตหญิงที่ออกประจำการในประเทศบังกลาเทศด้วย เพราะอาจเป็นไปได้ว่า ในบางปีคณะผู้แทนทางการทูตหรือสถานเอกอัครราชทูตแห่งใดแห่งหนึ่ง อาจจะไม่มีภริยาของนักการทูตติดตามมาด้วยเลยก็เป็นได้ หากเจ้าหน้าที่การทูตหญิงไม่มาร่วมกิจกรรม  ALA ก็จะไม่สามารถคงอยู่ต่อไปได้  ที่ผ่านมาทุกประเทศก็จะมีเหตุผลว่าเจ้าหน้าที่การทูตหญิงไม่สามารถมาเข้าร่วมได้เพราะมีภารกิจมากมายอยู่แล้ว แต่ก็ขอให้ทราบด้วยว่าในธรรมนูญได้ระบุไว้เช่นนี้ ”

Madam Jamilah  มักจะเน้นย้ำคำว่า " ASEAN Spirit " เพื่อโน้มน้าวให้สมาชิกทุกท่านมาเข้าร่วมกิจกรรมและการประชุม ของ ALA อย่างสม่ำเสมอ และในจดหมายเชิญประชุมมักจะลงท้ายว่า  ASEAN « We  Are One » เพื่อตอกย้ำความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ไม่ว่าจะอยู่ซีกโลกไหน ก็มักจะต้องรวมตัวกันอยู่เสมอ นับว่ากลุ่มอาเซียนของเรา ก็มีความเข้มแข็งไม่แพ้กลุ่มสหภาพยุโรปเลยทีเดียว แต่การจะก้าวไปเป็นสหภาพเดียวนั้น หนทางคงอีกยาวไกล เพราะประเทศในกลุ่มอาเซียน แม้จะมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันอยู่หลายด้าน เช่น วัฒนธรรม ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี  แต่สิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญของการรวมตัวเป็นสหภาพเดียวได้นั้น น่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก ที่ยังมีความแตกต่างและเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก

ประณยา จองบุญวัฒนา

25 มีนาคม 2551

แก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องหลักการดำรงตำแหน่งประธาน เนื่องจากที่ประชุม ALA ในวันที่ 10 มิ.ย. 2551  เห็นว่าหลักอาวุโสน่าจะใช้ได้ดีในทางปฏิบัติ

หมายเลขบันทึก: 173010เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2008 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แณณ

เป็นรายงานที่ดีมาก ของฝ่ายใน

ปรกติแล้ว ALA จะมีทุกประเทศอาเซียน รวมทั้งในประเทศอื่นๆ ด้วย

เป็นกลุ่มที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์เสมอมา

การคงอยู่ของกลุ่มนี้ เห็นด้วยว่าอยู่ที่ ASEAN spirit จริงๆ โดยเฉพาะประธานกลุ่ม ซึ่งตามปรกติก็จะเวียนกันเป็น

ดีมากจ๊ะ

P พี่พลเดช ขอบคุณค่ะ

  • แณณขอให้บอลช่วยหาเอกสารเดิมๆ ที่สอท.ให้แต่ไม่มีค่ะ เลยต้องหาข้อมูลเอาเอง
  • ตอนนี้ที่อยากค้นคว้าต่อมากๆ คือ ธรรมนูญ ALA ของที่นี่ค่ะ ได้ทราบมาว่าร่างได้ดี จึงถูกนำไปเป็นต้นแบบของ ธรรมนูญ ALA ในประเทศอื่นๆ ด้วยค่ะ

 

ดีใจที่คุณแณณหายป่วยแล้ว

อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้นึกขึ้นมาได้ว่างานหนึ่งที่พี่เป็นอาสาสมัครช่วยเขาอยู่เป็นครั้งคราวคือ ASEAN Handicraft Promotion And Development Association หรือ AHPADA อ่านว่าอาพาด้า คนไทยเป็นผู้ริเริ่ม และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพ หากอาพาด้าร่วมมือกับ ALA ในแต่ละประเทศอาจช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เรื่องหัตถกรรมกับผู้หญิงนี่เป็นเรื่องเกี่ยวกันอยู่แล้วนะคะ

ขอบคุณค่ะที่ทำให้ทราบข้อมูลนี้

P   ขอบพระคุณพี่นุชค่ะ

  • ข้อเสนอของพี่นุชที่ว่า หากอาพาด้าร่วมมือกับ ALA ในแต่ละประเทศอาจช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้  แณณเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ
  • เสียดายที่ปีนี้เราไม่ได้เป็นประธาน ALA ไม่งั้นคงได้จัดกิจกรรมขอนำอาสาสมัครของASEAN Handicraft Promotion And Development Association หรือ AHPADA  มาที่นี่เลย น่าจะดีนะคะ
  • เพราะเป็นสมาคมที่คนไทยริเริ่มและที่สำคัญอยู่ในกรอบของอาเซียนด้วยค่ะ น่าสนใจมากเลยค่ะ พี่นุช
  • อย่างไรแณณลองไปหารือสามีดีกว่าค่ะ ว่าอาจจะทำเป็นโครงการปีต่อไปได้หรือไม่นะคะ แล้วแณณจะเรียนให้พี่นุชทราบนะคะ ขอบพระคุณมากๆ เลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท