Open Source


 

เวลาได้ยินคำว่า Open Sorce ผมเชื่อว่า เรานึกถึงคำว่า "software"

open source เป็นการเปิดอก ให้คนอื่นเห็นไส้ใน

open souce software คือ software ที่คนอื่นเห็นรายละเอียดข้างในโปรแกรมได้ ทำให้เข้าไปปรับแต่งแก้ได้

อย่าง gotoknow นี่ ก็เป็็น open source

แต่ open source ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ software

ลองมาดูกันนะครับ ว่าเราพบ open source ตรงไหนได้บ้าง

 

 

Hardware:

hardware ก็มีนะครับ

ผมเคยเขียนเล่าไว้ใน เครื่องสร้างเอนกประสงค์แบบ open source 

เป็น printer สำหรับพิมพ์วัตถุ 3 มิติ เรียกว่า Fab@home

ย่อจากคำว่า Fabrication at home

ก็คือ เครื่องเลียนแบบวัตถุนี่ดี ๆ นี่เอง

เขาทำเป็น open souce แผนผัง คุยว่า ทำตามแผนผังนี้แล้ว ประหยัดกว่าซื้อสำเร็จรูปนับสิบเท่า

แต่ตอนนี้ ดูเหมือนยังไม่ถึงขั้นโคลนนิง เพราะวัตถุใด ๆ เป็นส่วนผสมของหลายธาตุ กรณีนี้ เหมือนเครื่องหล่อศะมากกว่า คือ นิยามรูปทรงสามมิติ แล้วสั่งหล่อรูปทรงนั้นออกมา

แนวคิดในเรื่องเครื่องโคลนนิงวัตถุ ไม่แน่ใจว่าเคยอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ของเซอร์ อาเธอร์ ซี คล้าก หรือเปล่า เขาเขียนไว้เมื่อนานมาแล้ว จินตนาการถึงเทคโนโลยีนี้ตั้งแต่หลายสิบปีก่อน

 

เชื้อโรค:

เชื้อโรค open source สายพันธุกรรมด้วยครับ

ปรกติ ไว้ถ่ายเทเคล็ดวิชาการดื้อยา ให้เชื้อตัวอื่น หรือแม้แต่ข้ามสายพันธ์ให้สายพันธุ์อื่น ผ่านท่อที่เรียก pilus

ใช้ท่อ pilus นี่ แตะเชื้ออื่น ดึงมาจุ๊บ ๆ กันทีนึง แล้วถ่ายเท ลปรร สารพันธุกรรมกัน สามารถสอนการดื้อยาให้เชื้ออื่นได้

คนที่ยุ่งเกี่ยวกับโรคติดเชื้อมาก ๆ จะเป็นกลุ่มคนที่เชื้อดื้อยา เจ็บคอติดเชื้อที ยาพื้น ๆ เอาไม่อยู่ เพราะเชื้อในตัว ลปรร กับเชื้อรอบตัวที่ดื้อยา จนพลอยดื้อยาตามไปด้วย

ทั่วโลกเดี๋ยวนี้ เขากลัวเชื้อดื้อยา เพราะดื้อยาแล้ว เวลาติดเชื้อ ก็มีสิทธิตายได้สูง เพราะไม่มียารักษา

ต้นตอดื้อยา คนมักคิดเอาว่า เกิดจากการใช้ยาไม่เหมาะเหมาะสมจากโรงพยาบาล หรือร้านยา ออกกฏคุมกันบ้าเลือด แต่ไม่ได้ฉุกคิดว่า อาจมีช่องหมาลอดเบ้อเร่อในกฎที่เป็นตาข่ายรั้วกั้น ยาปฎิชีวนะที่เกษตรกรใช้กันบ้าเลือดในฟาร์ม ในนา บางครั้ง อาจเป็นต้นตอการดื้อยาขนานแท้ที่ใหญ่ที่สุดของสังคมก็ได้

เชื้อ ไม่ได้แบ่งชั้นวรรณะ เลือกดื้อแต่ยาที่จ่ายผ่านโรงพยาบาลหรือจ่ายผ่านร้านยา จ่ายผ่านฟาร์มเลี้ยงสัตว์บกสัตว์น้ำ ก็ดื้อได้เช่นกัน ดื้อแล้ว สามารถไป ลปรร กับเชื้อที่อื่นที่มันไปพบเจอได้ อยู่ไหนในสังคม ก็หนีไม่พ้น

 

ชีวิต:

พูดเป็นเล่นไป มีด้วยเหรอ

มีครับ

บางคนเรียก มุขปาฐะ

บางคนเรียก ลปรร (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)

บางคนเรียก KM

เขียนบล็อกนี่ ก็ใช่

คือ เป็นการ open source วิธีคิด วิถีชีวิต

คนที่เรียนรู้จากคนอื่นผ่านทางนี้ พึงตระหนัก ว่า ท่านกำลังใช้ open source อยู่ ในรูปแบบ social network

ไม่ใช่แต่ในคน

ในสัตว์ก็มี

สัตว์ที่ฉลาด ๆ สามารถเรียนรู้ และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลูกไม้ของนักล่า ทำให้เก่งทั้งฝูง

กลุ่มที่มีวิวัฒนาการให้ ลปรร ระดับฝูงได้ ตามปรกติ จะมีโอกาสรอดสูญพันธ์ได้ดีกว่า 

ลปรร คือ แกนหลักของปัจจัยอยู่รอดของฝูง

 

 

ลองมองออกไป คงมี open source ในรูปแบบที่หลุดนิยามอยู่อีกไม่น้อย

 

ขอเพียงจะเปิดตา ขอเพียงแต่เปิดใจ

 

...มอง...

 

คำสำคัญ (Tags): #km#open source#ลปรร#pilus
หมายเลขบันทึก: 172193เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2008 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นมุมมอง Open Source ที่ดีมากครับ สิ่งที่เราเรียกว่า Open Source ในปัจจุบันนี้แท้จริงแล้วสอดคล้องกับวิถีปกติของ "ชีวิต" มาตลอดหลายล้านล้านปีแล้วนั่นเอง มุมมองนี้ลึกซึ้งมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท