มีเพียงวัดที่เปลี่ยนไป เท่านั้นหรือ?


ไม่เว้นแม้แต่วัดเมื่อต้องเผชิญก็ต้องปรับตัวจนนำไปสู่การสังเกตได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องธรรมดาเสียจริง ๆ

     วันที่ 10 มีนาคม 2551 เป็นครั้งแรกที่ได้พบกับหลวงพี่ พระมหาชัยวุธ แห่งวัดยางทอง วัดที่มีต้นยางสูงเด่นในอดีต จนสามารถแลเห็นได้เมื่อยามออกทะเลไปทางเกาะยอ ยังได้รู้อีกว่าวัดแห่งนี้ยังมีบ่อน้ำหลงเหลือและใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน ตามนามท้ายที่บอกว่าเมืองลุง(นา) สงขลา(บ่อ) ข้อมูลเหล่านี้ได้รับรู้มาจากหนังสือ "วัดเปลี่ยนไป" ที่ท่านมหาชัยวุธมอบให้ตอนไปถึง สำหรับประเด็นเนื้อหาในหนังสือหากท่านใดต้องการทราบรายละเอียดต่อ โปรดติดตามสอบถามเอาได้จาก link ข้างต้น

    วันนั้นไปรับหลวงพี่ก็เพื่อนิมนต์ไปร่วมประชุมยกร่างหลักสูตรพัฒนานักวิจัย R2R ที่ มรภ.สงขลา ทราบจากครูนงฯ ว่าหลวงพี่รับนิมนต์เพราะ ชอบใจคนนิมนต์ จนเป็นที่ขำกันว่า หลวงพี่รับนิมนต์แบบนี้บ่อยไหม หรือนี่ก็เป็นอีกแบบนึงของประเด็น "วัดเปลี่ยนไป" วัดเปลี่ยนไปหรือเพราะคนสังเกตเปลี่ยนไป ตรงนี้แหละที่ผมติดใจจะนำมาบันทึก ประเด็นว่าเปลี่ยนไปด้วยเพราะการวัดประเมิน เป็นการใช้เกณฑ์อ้างอิงจากห้วงเวลาในอดีต ไม่ได้ย้ายจุดตามเวลาที่ล่วงเลยไป หรือจะพูดง่าย ๆ คือเปลี่ยนไปตามนัยยะของการสัมพัทธ์

     เข้าเรื่องเลยดีกว่าหากผมมองว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย นั่นหมายถึงว่าผมยอมรับได้และยอมย้ายจุดอ้างอิงไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปจากเดิม และยอมรับได้ว่าเป็นธรรมดาที่วัดจะเปลี่ยนไป หรือทุกอย่างจะเปลี่ยนไป จึงเสมือนว่าไม่ได้เปลี่ยนอะไรไปเลย เพราะจุดอ้างอิงก็เปลี่ยน คนสังเกตก็เปลี่ยนไปด้วย ทีนี้ที่ใคร ๆ บอกว่า "เปลี่ยนไป" ก็เพราะยึดโยงหรือติดแน่นกับประสบการณ์เดิมที่ใช้เป็นจุดอ้างอิง จึงมองเห็นเป็นความเปลี่ยนแปลง ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายถึงว่าหลวงพี่ยึดติด แต่อยากจะสื่อสารว่าการประเมินโดยใช้เกณฑ์อ้างอิงใด ๆ นั้น ต้องระวังเรื่องกาลเวลาด้วยเป็นสำคัญ คุณสมบัติที่สำคัญของเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดประเมินคือความยืดหยุ่นตามกาลเวลา

     ต่อไปจะเอาตามหลวงพี่ว่าคือใช้เกณฑ์ในการประเมิน คือประสบการณ์/ความทรงจำในอดีต มาเทียบกับสิ่งที่เป็นไปและปรากฎอยู่ในปัจจุบัน จึงไม่น่าจะมีเพียงวัดเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป ยังมีปรากฎการณ์อื่น ๆ อีกมากมายที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนเป็นการปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะสมดุลใหม่ ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ก็ทั้งทางเสื่อมโทรมและการพัฒนา อะไรที่เป็นความเสื่อมโทรม หรือการพัฒนา หากเราจะใช้ประเด็นคุณธรรม/จริยธรรม จะสัมผัสได้เร็วและง่ายกว่า แม้จะเป็นนามธรรมกว่า เช่น โรงเรียนเสื่อมโทรมลงเพราะไม่มีเอื้ออาทรกันอย่างเก่า (จะเห็นกาลเวลา...เข้ามเกี่ยวข้อง) หากใช้ภาพลักษณ์เป็นเด็นในการสังเกต เช่น วัดพัฒนาขึ้นเพราะมีถนน คสล.ภายในวัด (ไม่แน่ใจ สัมผัสยากกว่า และยังตัดสินไม่ได้ว่าพัฒนาหรือเสื่อมโทรม) อย่างนี้เป็นต้น

     การเปลี่ยนไปจึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ เพื่อให้เท่าทัน อย่างที่หลวงพี่ลิขิตไว้ จึงเป็นถ่ายทอดให้เห็นความเป็นปกติของสิ่งที่เกิดขึ้น มีอยู่ และดับไป เป็นธรรมดาของโลก ในหนังสือเล่มนี้จึงป็นหนังสือที่ทำให้ผมอ่านแล้วคิดอะไรได้หลายประการ ในเรื่องความพยายามที่จะพัฒนาความเป็นชุมชน บางเรื่องเราน่าจะถอยกลับสู่ภาวะก่อนเปลี่ยนมา และจะยังกลับได้อยู่หากเราได้รู้เท่าทัน ในหนังสือเล่มนี้ยังบอกอะไรอีกมากมายถึงเงื่อนไขการเปลี่ยนไป และความจำเป็นต้องอยู่รอดของระบบต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่วัดเมื่อต้องเผชิญก็ต้องปรับตัวจนนำไปสู่การสังเกตได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องธรรมดาเสียจริง ๆ

 

หมายเลขบันทึก: 172185เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2008 01:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

P

ชายขอบ

 

  • อาจารย์มาช่วยโฆษณาให้อีกแล้ว...

รู้สึกว่าต้นฉบับหนังสือเล่มนี้ไม่มีแล้ว เพราะแผ่น diskette ที่บันทึกข้อมูลก็เสื่อมไปตามธรรมชาติ ส่วน hard disk ก็พังไปนานแล้ว... ที่บันทึกไว้ในแผ่น CD RW ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่ ?  ถ้ามีโอกาสค่อยลองค้นหาดูอีกครั้ง...

อีกอย่างหนึ่ง ที่คุณโยมครูนงเล่ามานั้น ถูกต้อง ! เพราะอาตมาไม่ชอบการประชุม โดยเฉพาะแวดวงวิชาการก็น่าเบื่อ... (เบื่อคนบ่น...) ที่ไปๆ โดยมาก ถ้าไม่เป็นหน้าที่ ก็มีความชอบพอหรือเกรงใจผู้นิมนต์เป็นกรณีพิเศษ...

เจริญพร

นมัสการหลวงพี่ชัยวุธ

     บันทึกนี้ผมกลับมาอ่าน มันมีอะไรที่อยู่ในห้วงคามคิดอีกเยอะ แต่ถ่ายไปไม่ออก เพราะยังไม่แม่น ผมบันทึกกันลืมว่าคิดอะไรไว้มากกว่าครับ เหมือนเรื่องการทำนอกหน้าที่เลยครับ (คาใจ ผมยังไม่แจ่ม แต่คิดอะไรไว้ต่อยอดเยอะมาก รอเวลาสุกงอม ตอนนี้ขอเอาตัวรอดจากงานประจำก่อนครับ)

สวัสดีครับ แวะมาทักทายครับ

ผมชอบ blog นี้ ขอรวมไว้ใน planet นะครับ

ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดาของโลกค่ะ ..เราต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงกัน

ตลอดชีวิต ต้องทำความเข้าใจและเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง

ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเรา กับสังคม กับโลกของเรากันดีกว่า...

น้องแสงตะวันครับ

     แน่นอนที่สุดคือ"ความไม่แน่นอน" เพราะมันเปลี่ยนแปลง จริงไหมครับ

อ อนุชาครับ ผมฟังมาว่าคำลงท้ายมีดังนี้

> พัทลุงมี ดอน

> นครมี ท่า

> ตรังมี นา

> สงขลามี บ่อ(ชื่อบ้าน)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท