ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร นำ Balanced Scorecard(BSC) มาใช้ในการวางแผนกลยุทธของสำนักหอสมุด โดยจะมีการจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ใหม่ในระหว่าง วันที่ 7-8 มีนาคม 2549 โดยเชิญ รองศาสตราจารย์ เทียมจันทร์ พานิชผลินไชย ทำ SWAT วิสัยทัศน์ และพันธกิจ และเชิญ อ.ดนัย เทียนพุฒ ซึ่งเป็นผู้นำสัมมนาด้านการจัดการธุรกิจ-ความรู้การสร้างวิสัยทัศน์และจัดทำกลยุทธการบริหารและพัฒนาทุนมนุษย์เชิงกลยุทธรวมถึงการสร้างพัฒนาและการวัด ความสามารถที่แท้จริง มาเป็นวิทยากร
Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน
Balanced Scorecard จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ขององค์กรจากระบบ “การทำงานตามคำสั่งหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา (academic exercise)” ไปสู่ระบบ “การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร
โดยกิจกรรมดังกล่าว จะมีการวางแผนในการที่จะพัฒนาห้องสมุด ซึ่งต้องอาศัยมุมมองที่หลากหลาย จากผู้ใช้บริการ ผู้บริหาร และบุคลากรของห้องสมุดเอง พัฒนาห้องสมุดของมหาวิทยาลัยนเรศวรให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต รองรับการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยที่จะปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์สู่มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ในอนาคต
ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างแนวคิดที่หลากหลายมุมมอง เพื่อเป็นแนวทาง เช่น
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ พูดถึงห้องสมุดไว้อย่างน่าคิด
- ผมเคยใช้บริการหอสมุด(มน.) รู้สึกว่า หอสมุดมีขนาดเล็กมาก ไม่พอที่จะบริการอาจารย์ นิสิต และเจ้าหน้าที่ได้เลย
- เรื่องนี้ได้เรียนเสนอให้ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ทดลองทำห้องสมุด "ภาควิชาฯ" ดู โดยเฉพาะหนังสือภาษาไทย และหนังสือเฉพาะสาขาที่ห้องสมุดกลางมักจะมีไม่พอ
- ถ้าเปรียบหอสมุดกลางเป็นคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (server) อาจจะเปรียบเทียบหอสมุดสาขาเป็นลูกข่าย (clients) ได้
- ถ้าเราสนับสนุนให้คณะ ภาควิชา หรือหน่วยงานต่างๆ เป็น "สาขาย่อย" คล้ายกับเป็น "ร้านค้าปลีกใกล้บ้าน" แล้ว มน.น่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่ห้องสมุดได้มาก โดยไม่ต้องลงทุนด้านอาคารสถานที่เพิ่มขึ้นมากนัก
- แนวคิดสำคัญที่ขอเรียนเสนออาจารย์และทีมงานทั้งหลายได้แก่ ถ้าเป็นไปได้...น่าจะมีฐานข้อมูลหนังสือ (database) ร่วมกัน เพื่อให้หนังสือหรือวารสารที่มีอยู่ "มีชีวิต (active)" หรือมีการหมุนเวียน (circulate) มากรอบที่สุด
- ขอเรียนเสนอให้ทำ
"ห้องอ่านหนังสือ (reading rooms)" ไว้ด้วย
จะคิดค่าไฟ(แอร์)นิสิตก็น่าจะได้ ขอให้มีคนดูแลกฎกติกาให้สว่าง เงียบ
และเย็นสบาย เพราะอากาศที่มน.ร้อนมาก ต้นไม้ใหญ่ เช่น หู
กวาง ฯลฯ มีน้อยมาก - ถ้ามี "ห้องอ่านหนังสือติดแอร์" คล้ายๆ กับที่ผมเคยเห็นในม.รามคำแหงได้... น่าจะมีประโยชน์มากครับ
ส่วนเรื่องพื้นที่ให้บริการห้องสมุดไม่เพียงพอ นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ให้แง่คิดไว้ว่า
- เรียนเสนอให้หา sponsorship ครับ... จะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ปูนซีเมนต์ไทยฯ หรืออะไรก็ได้ เมืองไทยมีคนรวยๆ หรือบริษัทรวยๆ เยอะครับ
- ใครเป็น sponsors ใหญ่... ตั้งชื่อหอสมุด(ทั้งหลัง)ตามสปอนเซอร์เลย ใครเป็น sponsors น้อย... ตั้งชื่อห้องสมุด(แต่ละห้อง)ตามสปอนเซอร์เลย
- ทำหอสมุดทั้งที ทำให้ดังแบบ "TKpark-มน." ไปเลยครับ
- ถ้าเป็นไปได้... มหาวิทยาลัยควรมองให้ไกลออกไป ทำให้เป็นหอสมุดที่คนทั้งพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียงอยากมาใช้บริการ
- ไม่เพียงแต่บริการ "คนใน" เท่านั้น ควรมองให้บริการ "คนนอก" หรือพันธมิตรในจังหวัดและภูมิภาคให้ได้ เช่น โรงเรียน วิทยาลัยฯ สถาบันการศึกษาฯ ฯลฯ
- ขอขอบคุณอาจารย์ ทีมงาน และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน...